ที่มาของโครงการ
ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง ส.ส. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 มากขึ้นเท่าใด ประชาชนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก็ยิ่งมีความกระตือรือล้น และให้ความสนใจในข่าวสาร และความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงการเลือกตั้ง ส.ส. มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในทางการเมืองของประชาชนมากขึ้น เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนได้รับความสนใจและวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนในวงกว้าง และต่างฝ่ายต่างเฝ้าจับตามอง และรอคอยผลการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ นี้ว่าจะออกมาในรูปแบบใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสำรวจทรรศนะ และความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเด็นความเคลื่อนไหวต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส. ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีต่อการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2548 ในแง่มุมต่างๆ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อบรรยากาศการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริณฑล ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม พ.ศ. 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,250 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ ร้อยละ 46.9 ระบุเป็นชาย ร้อยละ 36.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 28.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 19.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี ร้อยละ 11.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 4.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 70.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 26.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 31.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจ ส่วนตัว ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.6 เป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 8.2 ระบุพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ และร้อยละ 3.0 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อบรรยากาศในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.
ทั่วไปครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อบรรยากาศในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไปครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 เฉยๆ 39.0
2 น่าสนใจติดตาม 32.7
3 รู้สึกกระตือรือล้นที่จะไปเลือกตั้ง 18.1
4 มีความขัดแย้งรุนแรง 10.8
5 น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจติดตาม 10.4
6 รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ 10.2
7 ขาดข้อมูลประกอบการตัดสินใจ 8.0
8 เป็นเรื่องน้ำเน่า 7.8
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อผลการเลือกตั้ง ส.ส.ที่กำลังจะมีขึ้นในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อผลการเลือกตั้ง ส.ส.ที่กำลังจะมีขึ้นในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะได้ ส.ส.หน้าใหม่มากกว่า 15.8
2 ได้ ส.ส.หน้าเก่ามากกว่า 47.0
3 พอๆกัน 25.3
4 ไม่มีความเห็น 11.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก่งแย่งตำแหน่งทางการเมืองของ ส.ส.
ในพรรคการเมืองใหญ่ที่จะได้เป็นรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะมีการแย่งตำแหน่งทางการเมืองกัน 67.2
2 ไม่คิดว่าจะมี 14.3
3 ไม่มีความเห็น 18.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี การเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้จะทำให้ได้
ส.ส.ที่เป็นคนดีแท้จริงมากน้อยเพียงใด
ลำดับที่ การเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้จะทำให้ได้ส.ส.ที่เป็นคนดีแท้จริงมากน้อยเพียงใด ค่าร้อยละ
1 ไม่มีเลย 8.4
2 น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร 37.9
3 ประมาณครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร 32.3
4 เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร 14.0
5 ทุกคนที่ได้เป็น ส.ส.เป็นคนดีอย่างแท้จริง 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เป็นตัวตัดสินการแพ้ชนะในผลการเลือกตั้งของผู้สมัคร
แบบแบ่งเขตการเลือกตั้ง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่เป็นตัวตัดสินการแพ้ชนะในผลการเลือกตั้งของผู้สมัคร ค่าร้อยละ
แบบแบ่งเขตการเลือกตั้ง
1 กระแสความนิยม 73.3
2 การชี้นำของสื่อมวลชน 36.3
3 เงิน (ซื้อเสียง) 33.1
4 การวางตัวไม่เป็นกลางของข้าราชการในพื้นที่ 20.3
5 การวางตัวไม่เป็นกลางของคณะกรรมการการเลือกตั้ง 11.7
6 มาเฟีย/กลุ่มนักเลง 9.0
7 การใช้มือปืนสังหารคู่แข่ง 7.0
8 การพนันต่อรอง 6.1
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อกรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ประกาศห้ามเผยแพร่ผลสำรวจคะแนนนิยมต่อผู้สมัครในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อกรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศห้ามเผยแพร่ ค่าร้อยละ
ผลสำรวจคะแนนนิยมต่อผู้สมัครในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
1 รู้สึกถูกปิดกั้นสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร 38.8
2 เห็นด้วยกับ กกต. เพราะช่วยลดปัญหาการซื้อเสียง 21.0
3 รู้สึกว่าดีไม่ถูกชี้นำ 20.8
4 รู้สึกว่าพรรคการเมืองได้เปรียบประชาชน เพราะพรรคการเมือง
รู้แต่ประชาชนไม่รู้ 20.0
5 ไม่เห็นด้วยเพราะทำให้สื่อมวลชนขาดข้อมูลทางสถิติที่เชื่อถือได้
ในการนำเสนอข่าวเลือกตั้ง 19.9
6 รู้สึกบรรยากาศการเลือกตั้งขาดสีสัน 17.5
7 เห็นด้วยเพราะช่วยลดการพนัน 14.6
8 การวางตัวไม่เป็นกลางของกรรมการการเลือกตั้ง 0.8
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อกรณี การเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้จะทำให้การ
ปฏิรูปการเมืองไทยบรรลุผลสำเร็จ
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อกรณี การเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้จะทำให้ ค่าร้อยละ
การปฏิรูปการเมืองไทยบรรลุผลสำเร็จ
1 มั่นใจ 23.0
2 ไม่มั่นใจ 49.6
3 ไม่มีความเห็น 27.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี มีพรรคการเมืองใหญ่บางพรรคสามารถ
แทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน เพื่อสร้างกระแสความนิยมต่อพรรคของตน ในช่วงการ
รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามี 66.1
2 คิดว่าไม่มี 15.4
3 ไม่มีความเห็น 18.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีมีพรรคการเมืองบางพรรคสามารถ
แทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระที่ทำหน้าที่จัดการการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามี 58.7
2 คิดว่าไม่มี 16.2
3 ไม่มีความเห็น 25.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการใช้งบประมาณ
ในการทำป้ายหาเสียงของผู้สมัคร
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเกินงบประมาณที่ กกต. กำหนด 63.2
2 คิดว่าไม่เกิน 15.7
3 ไม่มีความเห็น 21.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อความเด็ดขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.)ชุดปัจจุบัน ในการตัดสินให้ใบเหลืองใบแดงแก่ผู้สมัครที่กระทำผิดกฏหมายเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคาดหวังต่อความเด็ดขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน ค่าร้อยละ
ในการตัดสินให้ใบเหลืองใบแดงแก่ผู้สมัครที่กระทำผิดกฏหมายเลือกตั้ง
1 คาดหวังจะให้ กกต.มีความเด็ดขาด 64.0
2 ไม่คาดหวัง 19.0
3 ไม่มีความเห็น 17.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ว่าจะสามารถควบคุมจัดการการเลือกตั้งให้บรรลุผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ว่าจะสามารถ ค่าร้อยละ
ควบคุมจัดการการเลือกตั้งให้บรรลุผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี
1 มั่นใจ 38.0
2 ไม่มั่นใจ 41.3
3 ไม่มีความเห็น 20.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของ คณะกรรมการ
การเลือกตั้งกกต.) ชุดปัจุบัน เปรียบเทียบกับชุดเก่าจากการเลือกตั้งเมื่อสี่ปีที่แล้ว
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการทำงานของ กกต. ชุดปัจจุบันกับชุดเก่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ค่าร้อยละ
1 พอใจ กกต. ชุดเก่ามากกว่า 21.7
2 พอใจ กกต. ชุดปัจจุบันมากกว่า 19.9
3 ไม่มีความเห็น 58.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ประทับใจในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ประทับใจในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 รูปแบบ/เทคนิคการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละพรรค 31.5
2 นโยบายของแต่ละพรรค 22.7
3 นักการเมืองรุ่นใหม่/มีคนรุ่นใหม่อาสาเข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น/
มีผู้สมัครจากหลายวงการเข้ามาให้เลือก อาทิ นักแสดง นักธุรกิจ เป็นต้น 21.0
4 การประชาสัมพันธ์ และการนำเสนอข่าวสารของสื่อ 7.0
5 มีการแข่งขันมากขึ้น/มีพรรคการเมืองใหม่มากขึ้น ไม่ผูกขาดเหมือนแต่ก่อน 7.0
6 มีการเข้าถึงประชาชนมากขึ้น/ผู้สมัครลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น 5.9
7 ไม่ค่อยมีการโจมตี/สาดโคลนกันมากเหมือนเมื่อก่อน 5.2
8 อื่นๆ อาทิ มีการซื้อเสียงน้อยลง /ประชาชนมีความกระตือรือล้น
ในการเลือกตั้งมากขึ้น เป็นต้น 10.7
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่รู้สึกหดหู่ใจในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่รู้สึกหดหู่ใจในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 การโจมตีใส่ร้ายป้ายสีซึ่งกันและกัน/รูปแบบการหาเสียงที่มักจะเอาจุดด้อย
ของพรรคอื่นมาประจาน มากกว่าที่จะนำเสนอจุดเด่นของพรรคตน 39.2
2 มีการใช้อิทธิพลในการหาเสียง /ใช้ความรุนแรงในการหาเสียง /
การทำร้ายร่างกาย /การฆ่าหัวคะแนน 32.6
3 การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันของผู้สมัครภายในพรรค
ความขัดแย้งภายในพรรคการเมืองเดียวกัน 16.9
4 การซื้อสิทธิขายเสียง 14.4
5 การหาเสียงเกินความเป็นจริง /ไม่สามารถทำตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้
ในช่วงการหาเสียงได้ 10.3
6 อื่นๆ อาทิ หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐวางตัวไม่เป็นกลาง/
การทำลายป้ายหาเสียงของคู่แข่ง /ผู้สมัครไม่ค่อยลงพื้นที่พบปะประชาชน /
มีจำนวนป้ายหาเสียงมากเกินไปเป็นต้น 14.4
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ประชาชนคิดย่างไรต่อบรรยากาศการเลือกตั้ง ส.ส. 2548” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,250 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการใน วันที่ 28-29 มกราคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
คณะผู้วิจัยของเอแบคโพลล์ได้เริ่มต้นการสำรวจ ด้วยการสอบถามตัวอย่างถึงความรู้สึกที่มีต่อบรรยากาศในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.0 ระบุว่าความรู้สึกของตนที่มีต่อบรรยากาศในช่วงนี้ว่า รู้สึกว่าเฉยๆ ในขณะที่ตัวอย่างในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 32.7 ระบุว่ามีความน่าสนใจติดตาม ร้อยละ 18.1 ระบุตนเองมีความรู้สึกกระตือรือล้นที่จะไปลงคะแนนเสียง เลือกตั้ง ร้อยละ 10.8 รู้สึกว่ามีปัญหาความขัดแย้งรุนแรง และร้อยละ 10.4 ระบุรู้สึกว่าน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจติดตาม ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงผลการเลือกตั้งที่คาดไว้จากการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้ นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.0 มีความคิดเห็นว่า คงจะได้ ส.ส.หน้าเก่ามากกว่า ส.ส.หน้าใหม่ ร้อยละ 25.3 ระบุ พอๆกัน และร้อยละ 15.8 ระบุคิดว่าจะได้ ส.ส.หน้าใหม่มากกว่า ส.ส.หน้าเก่า ในขณะที่ร้อยละ 11.9 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงสถานการณ์การทางการเมืองหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 67.2 ระบุคิดว่าส.ส.ของพรรคการเมืองใหญ่ที่จะได้เป็นรัฐบาล คงจะมีการแย่งตำแหน่งทางการเมืองกันเหมือนเช่นเคย ในขณะร้อยละ 14.3 คิดว่าคงจะไม่มีการแย่งตำแหน่งกัน และร้อยละ 18.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปในกรณี การเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้จะทำให้ได้ ส.ส.ที่เป็นคนดีแท้จริงมากน้อยเพียงใด ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 37.9 ระบุ คงจะได้ ส.ส.ที่เป็นคนดีอย่างแท้จริงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 32.3 ระบุประมาณครึ่งหนึ่งของสภาฯ ร้อยละ 14.0 ระบุเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในสภา ในขณะที่ร้อยละ 8.4 ระบุคิดว่าจะไม่ได้คนดีอย่างแท้จริงเลย และร้อยละ 7.4 ระบุว่าทุกคนที่ได้เป็น ส.ส.เป็นคนดีอย่างแท้จริง
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็คือ ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีสิ่งที่จะเป็นตัวตัดสินการแพ้ชนะ ในผลการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตการเลือกตั้ง ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 73.3 ระบุ ว่ากระแสความนิยม จะเป็นตัวตัดสินผลการแพ้ชนะ ร้อยละ 36.3 ระบุการชี้นำของสื่อมวลขน ร้อยละ 33.1 ระบุเงินซื้อเสียง และ ร้อยละ 20.3 ระบุการวางตัวไม่เป็นกลางของข้าราชการในพื้นที่ ตามลำดับ
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความรู้สึกของตัวอย่างกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต.ประกาศห้ามเผยแพร่ผลสำรวจคะแนนนิยมต่อผู้สมัคร ในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้ นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.8 ระบุรุ้สึกว่าประชาชนถูกปิดกั้นในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ 20.0 ระบุรู้สึกว่าพรรคการเมืองได้เปรียบประชาชนเพราะพรรคการเมืองรู้แต่ประชาชนไม่รู้ ร้อยละ 19.9 ระบุไม่เห็นด้วยเพราะทำให้สื่อมวลชนขาดข้อมูลทางสถิติที่เชื่อถือได้ในการนำเสนอข่าวการเลือกตั้ง ร้อยละ 17.5 ระบุรู้สึกว่าบรรยากาศการเลือตั้งขาดสีสัน อย่างไรก็ตามตัวอย่างร้อยละ 21.0 ระบุเห็นด้วยกับ กกต. เพราะจะช่วยลดปัญหาการซื้อเสียง ร้อยละ 20.8 ระบุรู้สึกว่าดีไม่ถูกชี้นำ และร้อยละ 14.6 ระบุเห็นด้วยเพราะช่วยลดการพนัน
สำหรับผลสำรวจกรณีความมั่นใจของตัวอย่างต่อความสำเร็จในการปฏิรูปการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.6 ระบุไม่มั่นใจว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้จะสามารถทำให้การปฏิรูปการเมืองไทยบรรลุผลสำเร็จได้ ในขณะที่ร้อยละ 23.0 ระบุมั่นใจและร้อยละ 27.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการทำงานของหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 66.1 ระบุคิดว่ามีพรรคการเมืองใหญ่บางพรรคสามารถแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน เพื่อสร้างกระแสความนิยมต่อพรรคของตนในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ ในขณะที่ร้อยละ 15.4 ระบุคิดว่าไม่มี และร้อยละ 18.5 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 58.7 ระบุคิดว่ามีพรรคการเมืองบางพรรคสามารถแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระที่ทำหน้าที่จัดการการเลือกตั้งได้ ในขณะที่ร้อยละ 16.2 ระบุคิดว่าไม่มี และร้อยละ 25.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการใช้งบประมาณในการหาเสียงของผู้สมัคร ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.2 ระบุคิดว่าผู้สมัครจะใช้เงินในการหาเสียงเกินงบประมาณที่ กกต. กำหนด ร้อยละ 15.7 ระบุคิดว่าไม่เกิน และร้อยละ 21.1 ไม่ระบุความคิดเห็น ซึ่งประเด็นดังกล่าวนำไปสู่ความคาดหวังของตัวอย่างต่อความเด็ดขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันในการตัดสินให้ใบเหลืองใบแดงแก่ผู้สมัครที่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 64.0 ระบุคาดหวังจะให้ กกต.มีความเด็ดขาดในกรณีดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 19.0 ระบุไม่คาดหวัง และร้อยละ 17.0 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างถึงความมั่นใจต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าจะสามารถควบคุมจัดการการเลือกตั้งให้บรรลุผลสำเร็จได้เป็นอย่างดีหรือไม่นั้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.3 ระบุไม่มั่นใจ ร้อยละ 38.0 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 20.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
และผลสำรวจเมื่อเปรียบความพึงพอใจต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันกับชุดเก่าที่ทำหน้าที่เมื่อการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งที่ผ่านมา (2544) นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ระบุพอใจในการทำงานของ กกต.ชุดเก่ามากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 19.9 ระบุพอใจการทำงานของ กกต.ชุดปัจจุบันมากกว่า และร้อยละ 58.4 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากผลสำรวจของเอแบคโพลล์ ได้แก่ สิ่งที่ประทับใจ-สิ่งที่รู้สึกหดหู่ใจ ในการเลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งนี้ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.5 ระบุประทับใจในรูปแบบและเทคนิคการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละพรรค ร้อยละ 22.7 ระบุประทับใจในนโยบายของพรรคการเมือง และร้อยละ 21.0 ระบุประทับใจที่มีนักการเมืองรุ่นใหม่/มีคนรุ่นใหม่อาสาเข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อสิ่งที่รู้สึกหดหู่ใจในการเลือกตั้งในครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.2 ระบุรู้สึกหดหู่ใจที่ ผู้สมัครแต่ละพรรคมีการใส่ร้ายป้ายสีกัน และมักจะมีการใช้รูปแบบการหาเสียงที่นำเอาจุดด้อยของพรรคที่เป็นคู่แข่งมาประจาน มากกว่าที่จะนำเสนอจุดเด่นของตนเอง ร้อยละ 32.6 ระบุรู้สึกหดหู่ที่มีการใช้อิทธิพล และความรุนแรงในการหาเสียง และร้อยละ 16.9 ระบุปัญหาความขัดแย้ง/แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันระหว่าง ส.ส.ภายในพรรคเดียวกัน เป็นสิ่งที่รู้สึกหดหู่ใจในการเลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งนี้
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ยิ่งใกล้วันเลือกตั้ง ส.ส. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 มากขึ้นเท่าใด ประชาชนไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก็ยิ่งมีความกระตือรือล้น และให้ความสนใจในข่าวสาร และความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงการเลือกตั้ง ส.ส. มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในทางการเมืองของประชาชนมากขึ้น เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนได้รับความสนใจและวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนในวงกว้าง และต่างฝ่ายต่างเฝ้าจับตามอง และรอคอยผลการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ นี้ว่าจะออกมาในรูปแบบใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสำรวจทรรศนะ และความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประเด็นความเคลื่อนไหวต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส. ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีต่อการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2548 ในแง่มุมต่างๆ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อบรรยากาศการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริณฑล ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม พ.ศ. 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,250 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ ร้อยละ 46.9 ระบุเป็นชาย ร้อยละ 36.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 28.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 19.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี ร้อยละ 11.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 4.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 70.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 26.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 2.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 31.1 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 18.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจ ส่วนตัว ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.6 เป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 8.2 ระบุพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ และร้อยละ 3.0 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อบรรยากาศในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.
ทั่วไปครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อบรรยากาศในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วไปครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 เฉยๆ 39.0
2 น่าสนใจติดตาม 32.7
3 รู้สึกกระตือรือล้นที่จะไปเลือกตั้ง 18.1
4 มีความขัดแย้งรุนแรง 10.8
5 น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจติดตาม 10.4
6 รู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ 10.2
7 ขาดข้อมูลประกอบการตัดสินใจ 8.0
8 เป็นเรื่องน้ำเน่า 7.8
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อผลการเลือกตั้ง ส.ส.ที่กำลังจะมีขึ้นในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อผลการเลือกตั้ง ส.ส.ที่กำลังจะมีขึ้นในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะได้ ส.ส.หน้าใหม่มากกว่า 15.8
2 ได้ ส.ส.หน้าเก่ามากกว่า 47.0
3 พอๆกัน 25.3
4 ไม่มีความเห็น 11.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการแก่งแย่งตำแหน่งทางการเมืองของ ส.ส.
ในพรรคการเมืองใหญ่ที่จะได้เป็นรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะมีการแย่งตำแหน่งทางการเมืองกัน 67.2
2 ไม่คิดว่าจะมี 14.3
3 ไม่มีความเห็น 18.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี การเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้จะทำให้ได้
ส.ส.ที่เป็นคนดีแท้จริงมากน้อยเพียงใด
ลำดับที่ การเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้จะทำให้ได้ส.ส.ที่เป็นคนดีแท้จริงมากน้อยเพียงใด ค่าร้อยละ
1 ไม่มีเลย 8.4
2 น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร 37.9
3 ประมาณครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร 32.3
4 เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร 14.0
5 ทุกคนที่ได้เป็น ส.ส.เป็นคนดีอย่างแท้จริง 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เป็นตัวตัดสินการแพ้ชนะในผลการเลือกตั้งของผู้สมัคร
แบบแบ่งเขตการเลือกตั้ง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่เป็นตัวตัดสินการแพ้ชนะในผลการเลือกตั้งของผู้สมัคร ค่าร้อยละ
แบบแบ่งเขตการเลือกตั้ง
1 กระแสความนิยม 73.3
2 การชี้นำของสื่อมวลชน 36.3
3 เงิน (ซื้อเสียง) 33.1
4 การวางตัวไม่เป็นกลางของข้าราชการในพื้นที่ 20.3
5 การวางตัวไม่เป็นกลางของคณะกรรมการการเลือกตั้ง 11.7
6 มาเฟีย/กลุ่มนักเลง 9.0
7 การใช้มือปืนสังหารคู่แข่ง 7.0
8 การพนันต่อรอง 6.1
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อกรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ประกาศห้ามเผยแพร่ผลสำรวจคะแนนนิยมต่อผู้สมัครในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อกรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศห้ามเผยแพร่ ค่าร้อยละ
ผลสำรวจคะแนนนิยมต่อผู้สมัครในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
1 รู้สึกถูกปิดกั้นสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร 38.8
2 เห็นด้วยกับ กกต. เพราะช่วยลดปัญหาการซื้อเสียง 21.0
3 รู้สึกว่าดีไม่ถูกชี้นำ 20.8
4 รู้สึกว่าพรรคการเมืองได้เปรียบประชาชน เพราะพรรคการเมือง
รู้แต่ประชาชนไม่รู้ 20.0
5 ไม่เห็นด้วยเพราะทำให้สื่อมวลชนขาดข้อมูลทางสถิติที่เชื่อถือได้
ในการนำเสนอข่าวเลือกตั้ง 19.9
6 รู้สึกบรรยากาศการเลือกตั้งขาดสีสัน 17.5
7 เห็นด้วยเพราะช่วยลดการพนัน 14.6
8 การวางตัวไม่เป็นกลางของกรรมการการเลือกตั้ง 0.8
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อกรณี การเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้จะทำให้การ
ปฏิรูปการเมืองไทยบรรลุผลสำเร็จ
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อกรณี การเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้จะทำให้ ค่าร้อยละ
การปฏิรูปการเมืองไทยบรรลุผลสำเร็จ
1 มั่นใจ 23.0
2 ไม่มั่นใจ 49.6
3 ไม่มีความเห็น 27.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี มีพรรคการเมืองใหญ่บางพรรคสามารถ
แทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน เพื่อสร้างกระแสความนิยมต่อพรรคของตน ในช่วงการ
รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามี 66.1
2 คิดว่าไม่มี 15.4
3 ไม่มีความเห็น 18.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีมีพรรคการเมืองบางพรรคสามารถ
แทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระที่ทำหน้าที่จัดการการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ามี 58.7
2 คิดว่าไม่มี 16.2
3 ไม่มีความเห็น 25.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการใช้งบประมาณ
ในการทำป้ายหาเสียงของผู้สมัคร
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเกินงบประมาณที่ กกต. กำหนด 63.2
2 คิดว่าไม่เกิน 15.7
3 ไม่มีความเห็น 21.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคาดหวังต่อความเด็ดขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.)ชุดปัจจุบัน ในการตัดสินให้ใบเหลืองใบแดงแก่ผู้สมัครที่กระทำผิดกฏหมายเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคาดหวังต่อความเด็ดขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน ค่าร้อยละ
ในการตัดสินให้ใบเหลืองใบแดงแก่ผู้สมัครที่กระทำผิดกฏหมายเลือกตั้ง
1 คาดหวังจะให้ กกต.มีความเด็ดขาด 64.0
2 ไม่คาดหวัง 19.0
3 ไม่มีความเห็น 17.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ว่าจะสามารถควบคุมจัดการการเลือกตั้งให้บรรลุผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ว่าจะสามารถ ค่าร้อยละ
ควบคุมจัดการการเลือกตั้งให้บรรลุผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี
1 มั่นใจ 38.0
2 ไม่มั่นใจ 41.3
3 ไม่มีความเห็น 20.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการทำงานของ คณะกรรมการ
การเลือกตั้งกกต.) ชุดปัจุบัน เปรียบเทียบกับชุดเก่าจากการเลือกตั้งเมื่อสี่ปีที่แล้ว
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการทำงานของ กกต. ชุดปัจจุบันกับชุดเก่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ค่าร้อยละ
1 พอใจ กกต. ชุดเก่ามากกว่า 21.7
2 พอใจ กกต. ชุดปัจจุบันมากกว่า 19.9
3 ไม่มีความเห็น 58.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ประทับใจในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ประทับใจในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 รูปแบบ/เทคนิคการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละพรรค 31.5
2 นโยบายของแต่ละพรรค 22.7
3 นักการเมืองรุ่นใหม่/มีคนรุ่นใหม่อาสาเข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น/
มีผู้สมัครจากหลายวงการเข้ามาให้เลือก อาทิ นักแสดง นักธุรกิจ เป็นต้น 21.0
4 การประชาสัมพันธ์ และการนำเสนอข่าวสารของสื่อ 7.0
5 มีการแข่งขันมากขึ้น/มีพรรคการเมืองใหม่มากขึ้น ไม่ผูกขาดเหมือนแต่ก่อน 7.0
6 มีการเข้าถึงประชาชนมากขึ้น/ผู้สมัครลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น 5.9
7 ไม่ค่อยมีการโจมตี/สาดโคลนกันมากเหมือนเมื่อก่อน 5.2
8 อื่นๆ อาทิ มีการซื้อเสียงน้อยลง /ประชาชนมีความกระตือรือล้น
ในการเลือกตั้งมากขึ้น เป็นต้น 10.7
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่รู้สึกหดหู่ใจในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่รู้สึกหดหู่ใจในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 การโจมตีใส่ร้ายป้ายสีซึ่งกันและกัน/รูปแบบการหาเสียงที่มักจะเอาจุดด้อย
ของพรรคอื่นมาประจาน มากกว่าที่จะนำเสนอจุดเด่นของพรรคตน 39.2
2 มีการใช้อิทธิพลในการหาเสียง /ใช้ความรุนแรงในการหาเสียง /
การทำร้ายร่างกาย /การฆ่าหัวคะแนน 32.6
3 การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันของผู้สมัครภายในพรรค
ความขัดแย้งภายในพรรคการเมืองเดียวกัน 16.9
4 การซื้อสิทธิขายเสียง 14.4
5 การหาเสียงเกินความเป็นจริง /ไม่สามารถทำตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้
ในช่วงการหาเสียงได้ 10.3
6 อื่นๆ อาทิ หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐวางตัวไม่เป็นกลาง/
การทำลายป้ายหาเสียงของคู่แข่ง /ผู้สมัครไม่ค่อยลงพื้นที่พบปะประชาชน /
มีจำนวนป้ายหาเสียงมากเกินไปเป็นต้น 14.4
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ประชาชนคิดย่างไรต่อบรรยากาศการเลือกตั้ง ส.ส. 2548” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,250 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการใน วันที่ 28-29 มกราคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
คณะผู้วิจัยของเอแบคโพลล์ได้เริ่มต้นการสำรวจ ด้วยการสอบถามตัวอย่างถึงความรู้สึกที่มีต่อบรรยากาศในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.0 ระบุว่าความรู้สึกของตนที่มีต่อบรรยากาศในช่วงนี้ว่า รู้สึกว่าเฉยๆ ในขณะที่ตัวอย่างในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 32.7 ระบุว่ามีความน่าสนใจติดตาม ร้อยละ 18.1 ระบุตนเองมีความรู้สึกกระตือรือล้นที่จะไปลงคะแนนเสียง เลือกตั้ง ร้อยละ 10.8 รู้สึกว่ามีปัญหาความขัดแย้งรุนแรง และร้อยละ 10.4 ระบุรู้สึกว่าน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจติดตาม ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงผลการเลือกตั้งที่คาดไว้จากการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้ นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.0 มีความคิดเห็นว่า คงจะได้ ส.ส.หน้าเก่ามากกว่า ส.ส.หน้าใหม่ ร้อยละ 25.3 ระบุ พอๆกัน และร้อยละ 15.8 ระบุคิดว่าจะได้ ส.ส.หน้าใหม่มากกว่า ส.ส.หน้าเก่า ในขณะที่ร้อยละ 11.9 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงสถานการณ์การทางการเมืองหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 67.2 ระบุคิดว่าส.ส.ของพรรคการเมืองใหญ่ที่จะได้เป็นรัฐบาล คงจะมีการแย่งตำแหน่งทางการเมืองกันเหมือนเช่นเคย ในขณะร้อยละ 14.3 คิดว่าคงจะไม่มีการแย่งตำแหน่งกัน และร้อยละ 18.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปในกรณี การเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้จะทำให้ได้ ส.ส.ที่เป็นคนดีแท้จริงมากน้อยเพียงใด ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 37.9 ระบุ คงจะได้ ส.ส.ที่เป็นคนดีอย่างแท้จริงน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 32.3 ระบุประมาณครึ่งหนึ่งของสภาฯ ร้อยละ 14.0 ระบุเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในสภา ในขณะที่ร้อยละ 8.4 ระบุคิดว่าจะไม่ได้คนดีอย่างแท้จริงเลย และร้อยละ 7.4 ระบุว่าทุกคนที่ได้เป็น ส.ส.เป็นคนดีอย่างแท้จริง
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็คือ ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีสิ่งที่จะเป็นตัวตัดสินการแพ้ชนะ ในผลการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตการเลือกตั้ง ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 73.3 ระบุ ว่ากระแสความนิยม จะเป็นตัวตัดสินผลการแพ้ชนะ ร้อยละ 36.3 ระบุการชี้นำของสื่อมวลขน ร้อยละ 33.1 ระบุเงินซื้อเสียง และ ร้อยละ 20.3 ระบุการวางตัวไม่เป็นกลางของข้าราชการในพื้นที่ ตามลำดับ
ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความรู้สึกของตัวอย่างกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต.ประกาศห้ามเผยแพร่ผลสำรวจคะแนนนิยมต่อผู้สมัคร ในการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้ นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.8 ระบุรุ้สึกว่าประชาชนถูกปิดกั้นในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ 20.0 ระบุรู้สึกว่าพรรคการเมืองได้เปรียบประชาชนเพราะพรรคการเมืองรู้แต่ประชาชนไม่รู้ ร้อยละ 19.9 ระบุไม่เห็นด้วยเพราะทำให้สื่อมวลชนขาดข้อมูลทางสถิติที่เชื่อถือได้ในการนำเสนอข่าวการเลือกตั้ง ร้อยละ 17.5 ระบุรู้สึกว่าบรรยากาศการเลือตั้งขาดสีสัน อย่างไรก็ตามตัวอย่างร้อยละ 21.0 ระบุเห็นด้วยกับ กกต. เพราะจะช่วยลดปัญหาการซื้อเสียง ร้อยละ 20.8 ระบุรู้สึกว่าดีไม่ถูกชี้นำ และร้อยละ 14.6 ระบุเห็นด้วยเพราะช่วยลดการพนัน
สำหรับผลสำรวจกรณีความมั่นใจของตัวอย่างต่อความสำเร็จในการปฏิรูปการเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.6 ระบุไม่มั่นใจว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้จะสามารถทำให้การปฏิรูปการเมืองไทยบรรลุผลสำเร็จได้ ในขณะที่ร้อยละ 23.0 ระบุมั่นใจและร้อยละ 27.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการทำงานของหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 66.1 ระบุคิดว่ามีพรรคการเมืองใหญ่บางพรรคสามารถแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน เพื่อสร้างกระแสความนิยมต่อพรรคของตนในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ได้ ในขณะที่ร้อยละ 15.4 ระบุคิดว่าไม่มี และร้อยละ 18.5 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 58.7 ระบุคิดว่ามีพรรคการเมืองบางพรรคสามารถแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระที่ทำหน้าที่จัดการการเลือกตั้งได้ ในขณะที่ร้อยละ 16.2 ระบุคิดว่าไม่มี และร้อยละ 25.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการใช้งบประมาณในการหาเสียงของผู้สมัคร ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.2 ระบุคิดว่าผู้สมัครจะใช้เงินในการหาเสียงเกินงบประมาณที่ กกต. กำหนด ร้อยละ 15.7 ระบุคิดว่าไม่เกิน และร้อยละ 21.1 ไม่ระบุความคิดเห็น ซึ่งประเด็นดังกล่าวนำไปสู่ความคาดหวังของตัวอย่างต่อความเด็ดขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันในการตัดสินให้ใบเหลืองใบแดงแก่ผู้สมัครที่กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 64.0 ระบุคาดหวังจะให้ กกต.มีความเด็ดขาดในกรณีดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 19.0 ระบุไม่คาดหวัง และร้อยละ 17.0 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างถึงความมั่นใจต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าจะสามารถควบคุมจัดการการเลือกตั้งให้บรรลุผลสำเร็จได้เป็นอย่างดีหรือไม่นั้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.3 ระบุไม่มั่นใจ ร้อยละ 38.0 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 20.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
และผลสำรวจเมื่อเปรียบความพึงพอใจต่อการทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันกับชุดเก่าที่ทำหน้าที่เมื่อการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งที่ผ่านมา (2544) นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 21.7 ระบุพอใจในการทำงานของ กกต.ชุดเก่ามากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 19.9 ระบุพอใจการทำงานของ กกต.ชุดปัจจุบันมากกว่า และร้อยละ 58.4 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากผลสำรวจของเอแบคโพลล์ ได้แก่ สิ่งที่ประทับใจ-สิ่งที่รู้สึกหดหู่ใจ ในการเลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งนี้ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.5 ระบุประทับใจในรูปแบบและเทคนิคการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละพรรค ร้อยละ 22.7 ระบุประทับใจในนโยบายของพรรคการเมือง และร้อยละ 21.0 ระบุประทับใจที่มีนักการเมืองรุ่นใหม่/มีคนรุ่นใหม่อาสาเข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อสิ่งที่รู้สึกหดหู่ใจในการเลือกตั้งในครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.2 ระบุรู้สึกหดหู่ใจที่ ผู้สมัครแต่ละพรรคมีการใส่ร้ายป้ายสีกัน และมักจะมีการใช้รูปแบบการหาเสียงที่นำเอาจุดด้อยของพรรคที่เป็นคู่แข่งมาประจาน มากกว่าที่จะนำเสนอจุดเด่นของตนเอง ร้อยละ 32.6 ระบุรู้สึกหดหู่ที่มีการใช้อิทธิพล และความรุนแรงในการหาเสียง และร้อยละ 16.9 ระบุปัญหาความขัดแย้ง/แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันระหว่าง ส.ส.ภายในพรรคเดียวกัน เป็นสิ่งที่รู้สึกหดหู่ใจในการเลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งนี้
--เอแบคโพลล์--
-พห-