หลังจากที่อัยการมีคำสั่ง “ไม่ฟ้อง” ในคดีฆาตรกรรม พ.ญ.ผัสพร จนมีผลทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เนื่องจากกรณีนี้แสดงให้เห็นความคิดเห็น ที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างความเห็นของตำรวจกับอัยการซึ่งทั้งสองหน่วยงานมีบทบาทสำคัญในกระบวนยุติธรรมของประเทศ และผลจากการสำรวจระหว่างวันที่ 11 - 12 พฤษภาคม 2544 ประชาชน ร้อยละ 94.3 ได้ทราบข่าว ของคดีนี้แล้ว ในจำนวนนี้ ร้อยละ 76 เชื่อว่า พ.ญ.ผัสพร เสียชีวิตแล้ว และไม่เชื่อว่าเสียชีวิต ร้อยละ 8
หลังจากที่อัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ความเห็นของประชาชนที่มีต่อการตัดสินครั้งนี้เห็นด้วย ร้อยละ 33.4
และให้เหตุผลว่า หลักฐานยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะฟ้องได้,
เชื่อมั่นในการพิจารณาของอัยการ,
เพื่อให้การสอบสวนเพิ่มเติมมีหลักฐานรัดกุมมากขึ้น,
เกรงว่าถ้ารีบส่งให้ศาลพิจารณา คดีจะสิ้นสุดโดยผู้ต้องหาหลุดพ้นความผิดได้,
ไม่เชื่อมั่นการทำงานของตำรวจ,
เชื่อว่าผู้ต้องหาไม่กระทำผิด
แต่ไม่เห็นด้วยกับอัยการถึง ร้อยละ 52.4 โดยให้เหตุผลว่า
เชื่อว่าหลักฐานและพยานแวดล้อมชัดเจนเพียงพอแล้ว,
เชื่อว่าผู้ต้องหากระทำผิดจริง,
อัยการรวบรัดตัดสินเร็วเกินไป,
ไม่ต้องการให้อัยการตัดสินแทนศาลในคดีนี้,
สงสัยในความไม่ชอบมาพากลในกระบวนการยุติธรรม,
เชื่อถือยอมรับ การทำงานของตำรวจ,
ไม่เชื่อมั่นในการพิจารณาของอัยการ
ถ้าหากคดีนี้ไม่สามารถหาคนผิดมาลงโทษได้
ประชาชน ร้อยละ 79.2 เห็นว่าจะมีผลกระทบในทางลบต่อความเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรม ด้านผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ร้อยละ 36.6 เห็นว่าประชาชนจะเสื่อมศรัทธาทั้งตำรวจและอัยการมากยิ่งขึ้น
และ ร้อยละ 30.8 ประชาชนรู้สึกไร้ที่พึ่งพาใน กระบวนการยุติธรรม ส่วนข้อเสนอแนะที่มีต่อตำรวจ
ร้อยละ 69.6 เห็นว่าให้สอบสวนหาหลักฐานเพิ่มเติม / ยืนยันการกระทำผิดให้ได้
แต่มีอยู่ร้อยละ 3.8 ต้องการให้ทบทวนทำความเข้าใจกับให้อัยการมากขึ้น
ในขณะที่ข้อเสนอแนะต่ออัยการ
ร้อยละ 22.7 เห็นว่าให้อัยการรับฟังทุกฝ่าย / พิจารณาให้รอบคอบ / อย่ายึดความคิดตนเองเป็นใหญ่
ร้อยละ 19.1 เห็นว่าให้อัยการพิจารณาคดีใหม่ให้รัดกุมมากขึ้น
และ ร้อยละ 17.2 มีความเห็นอื่น ๆ เช่น ต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ / เปลี่ยนตัวคนที่พิจารณา / มีการตรวจสอบกันเอง ฯลฯ
ซึ่งที่จริงแล้วใครทำอะไรก็รู้ดีอยู่แก่ใจ แต่กลับกลายเป็นว่า ประชาชนต้องมาสับสนกับการตัดสินใจไปซ้าย-ไปขวา ของกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ประเทศชาติก็ประสบปัญหามากมายอยู่แล้ว ทำให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นในภาพรวมของระบบการปกครองอีกด้วย
--เอแบคโพลล์--
หลังจากที่อัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ความเห็นของประชาชนที่มีต่อการตัดสินครั้งนี้เห็นด้วย ร้อยละ 33.4
และให้เหตุผลว่า หลักฐานยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะฟ้องได้,
เชื่อมั่นในการพิจารณาของอัยการ,
เพื่อให้การสอบสวนเพิ่มเติมมีหลักฐานรัดกุมมากขึ้น,
เกรงว่าถ้ารีบส่งให้ศาลพิจารณา คดีจะสิ้นสุดโดยผู้ต้องหาหลุดพ้นความผิดได้,
ไม่เชื่อมั่นการทำงานของตำรวจ,
เชื่อว่าผู้ต้องหาไม่กระทำผิด
แต่ไม่เห็นด้วยกับอัยการถึง ร้อยละ 52.4 โดยให้เหตุผลว่า
เชื่อว่าหลักฐานและพยานแวดล้อมชัดเจนเพียงพอแล้ว,
เชื่อว่าผู้ต้องหากระทำผิดจริง,
อัยการรวบรัดตัดสินเร็วเกินไป,
ไม่ต้องการให้อัยการตัดสินแทนศาลในคดีนี้,
สงสัยในความไม่ชอบมาพากลในกระบวนการยุติธรรม,
เชื่อถือยอมรับ การทำงานของตำรวจ,
ไม่เชื่อมั่นในการพิจารณาของอัยการ
ถ้าหากคดีนี้ไม่สามารถหาคนผิดมาลงโทษได้
ประชาชน ร้อยละ 79.2 เห็นว่าจะมีผลกระทบในทางลบต่อความเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรม ด้านผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ร้อยละ 36.6 เห็นว่าประชาชนจะเสื่อมศรัทธาทั้งตำรวจและอัยการมากยิ่งขึ้น
และ ร้อยละ 30.8 ประชาชนรู้สึกไร้ที่พึ่งพาใน กระบวนการยุติธรรม ส่วนข้อเสนอแนะที่มีต่อตำรวจ
ร้อยละ 69.6 เห็นว่าให้สอบสวนหาหลักฐานเพิ่มเติม / ยืนยันการกระทำผิดให้ได้
แต่มีอยู่ร้อยละ 3.8 ต้องการให้ทบทวนทำความเข้าใจกับให้อัยการมากขึ้น
ในขณะที่ข้อเสนอแนะต่ออัยการ
ร้อยละ 22.7 เห็นว่าให้อัยการรับฟังทุกฝ่าย / พิจารณาให้รอบคอบ / อย่ายึดความคิดตนเองเป็นใหญ่
ร้อยละ 19.1 เห็นว่าให้อัยการพิจารณาคดีใหม่ให้รัดกุมมากขึ้น
และ ร้อยละ 17.2 มีความเห็นอื่น ๆ เช่น ต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ / เปลี่ยนตัวคนที่พิจารณา / มีการตรวจสอบกันเอง ฯลฯ
ซึ่งที่จริงแล้วใครทำอะไรก็รู้ดีอยู่แก่ใจ แต่กลับกลายเป็นว่า ประชาชนต้องมาสับสนกับการตัดสินใจไปซ้าย-ไปขวา ของกระบวนการยุติธรรม ในขณะที่ประเทศชาติก็ประสบปัญหามากมายอยู่แล้ว ทำให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นในภาพรวมของระบบการปกครองอีกด้วย
--เอแบคโพลล์--