เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคของการปฏิวัติเทคโนโลยีและสังคมอุตสาหกรรมใหม่ของโลก ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ต่อโครงสร้างเชิงหน้าที่ (functional structure) และการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ของบุคคลภายในสถาบันครอบครัว ผลที่ตามมาก็คือ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กๆ และ เยาวชนได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพของเยาวชนไทย (Monitoring the Future Study of Thai Youth's Quality) ขึ้น เพื่อติดตาม เฝ้าระวัง ชี้สถานการณ์ และประเมินผลการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของเยาวชนไทยโดยรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 4 กันยายน 2544
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียน-นักศึกษาภาคปกติ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จนถึง ปริญญาตรีจากทุกสังกัดการศึกษาในเขต กรุงเทพมหานคร ได้แก่ โรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) / สังกัดเอกชน / กรมสามัญศึกษา / สปช. / อาชีวศึกษา / ราชมงคล / กรมศิลปากร / ทบวงมหาวิทยาลัย / และสถาบัน ราชภัฎ รวมจำนวนทั้งสิ้น 893,249 คน โดยไม่นับรวมกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พบว่า เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดถึงร้อยละ 53.0 (ไม่นับรวมเหล้าและบุหรี่) โดยในจำนวนนี้ จำแนกเป็น ชาย ร้อยละ 70.9 หญิง ร้อยละ 29.1 และสำรวจพบ สิ่งเสพติดต่างๆ ได้แก่ ยาบ้า ร้อยละ 58.7 กัญชา ร้อยละ 47.2 ยากล่อมประสาท เช่น โดมีคุ่ม / แวเลี่ยม ร้อยละ 45.5 ยาอี ร้อยละ 20.7 สารระเหย / กาว / แลค ร้อยละ 19.8 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ยาเลิฟ ยาเค เฮโรอีน โคเคน ฝิ่น มอร์ฟีน อีกด้วย
เมื่อจำแนกตามสังกัดพบว่าเป็น นักเรียน นักศึกษาจาก ทบวงมหาวิทยาลัย ร้อยละ 39.25 เอกชน ร้อยละ 19.51 กรมสามัญศึกษา ร้อยละ 19.49 อาชีวศึกษา ร้อยละ 9.6 สถาบันราชภัฎ ร้อยละ 8.59 เป็นต้น ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.1 บอกว่าเคยเสพแต่เลิกแล้ว เสพแต่บางโอกาส ร้อยละ 27.5 เสพแต่ไม่ติด (ไม่เกิน 20 วัน / เดือน) ร้อยละ 5.5 ค้าอย่างเดียว ร้อยละ 3.8 ค้าและติด ร้อยละ 2.9 เป็นผู้ติดยา(เสพเกิน 20 วัน / เดือน) ร้อยละ 1.6 และ เป็นทั้งผู้ค้าและผู้เสพ ร้อยละ 1.6 โดยระบุสาเหตุการเสพสิ่งเสพติดว่า อยากรู้อยากลอง ร้อยละ 74.3 ทำตามเพื่อน ร้อยละ 43.1 มีปัญหาครอบครัว ร้อยละ 27.9 เพื่อค่านิยม/ต้องการโก้เก๋ ร้อยละ 24.4 หรือ ถูกชักจูง ประชดสังคม อยากตื่นตัวเสมอ อยากมีเงิน และ ถูกบังคับ เป็นต้น โดยทั้งหมด ทราบว่า จะซื้อ ที่ไหน กับใคร ร้อยละ 36.2 ซึ่งมีทั้ง ในชุมชน โรงเรียน หรือ แม้แต่ในครอบครัว ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของนักเรียน - นักศึกษาที่เที่ยวสถานบันเทิงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา กับพฤติกรรมของนักเรียน - นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด (ไม่นับรวมเหล้าและบุหรี่) ซึ่งผลการทดสอบทางสถิติ พบว่า มักจะมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง กับยาเสพติดในรูปแบบต่างๆ กัน อาทิ การเสพ การติดยา การค้าและเสพ การค้าและติดยา หรือการค้ายาเพียงอย่างเดียว ซึ่งผลวิจัยพบว่า ร้อยละ 19.8 ของนักเรียนนักศึกษาที่เที่ยวสถานบันเทิงเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ในขณะที่เพียงร้อยละ 3.7 ของนักเรียน - นักศึกษาที่ไม่เที่ยวสถานบันเทิง เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
โดยธรรมชาติ เด็กนักเรียน - นักศึกษาส่วนใหญ่กำลังอยู่ในสภาวะเคว้งคว้างทางจิตใจ (Alienation) จึงได้แสดงออกในรูปแบบต่างๆ กัน ภาพที่ปรากฏในพฤติกรรมของเด็กนักเรียน - นักศึกษาตามสถานบันเทิงเป็นเพียงแค่เสี้ยวส่วนหนึ่งของภาพใหญ่ แต่ประเทศไทยยังขาดหน่วยงานที่เอาจริงเอาจัง ในความพยายามเข้าใจทัศนคติและ พฤติกรรมของเด็กนักเรียน - นักศึกษาอย่างแท้จริงและต่อเนื่อง จึงเน้นแก้ปัญหากันแต่เฉพาะสิ่งที่ปรากฎออกมาในที่เปิดเผยเพียงเท่านั้น
--เอแบคโพลล์--
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพของเยาวชนไทย (Monitoring the Future Study of Thai Youth's Quality) ขึ้น เพื่อติดตาม เฝ้าระวัง ชี้สถานการณ์ และประเมินผลการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของเยาวชนไทยโดยรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 4 กันยายน 2544
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียน-นักศึกษาภาคปกติ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จนถึง ปริญญาตรีจากทุกสังกัดการศึกษาในเขต กรุงเทพมหานคร ได้แก่ โรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) / สังกัดเอกชน / กรมสามัญศึกษา / สปช. / อาชีวศึกษา / ราชมงคล / กรมศิลปากร / ทบวงมหาวิทยาลัย / และสถาบัน ราชภัฎ รวมจำนวนทั้งสิ้น 893,249 คน โดยไม่นับรวมกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พบว่า เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดถึงร้อยละ 53.0 (ไม่นับรวมเหล้าและบุหรี่) โดยในจำนวนนี้ จำแนกเป็น ชาย ร้อยละ 70.9 หญิง ร้อยละ 29.1 และสำรวจพบ สิ่งเสพติดต่างๆ ได้แก่ ยาบ้า ร้อยละ 58.7 กัญชา ร้อยละ 47.2 ยากล่อมประสาท เช่น โดมีคุ่ม / แวเลี่ยม ร้อยละ 45.5 ยาอี ร้อยละ 20.7 สารระเหย / กาว / แลค ร้อยละ 19.8 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ยาเลิฟ ยาเค เฮโรอีน โคเคน ฝิ่น มอร์ฟีน อีกด้วย
เมื่อจำแนกตามสังกัดพบว่าเป็น นักเรียน นักศึกษาจาก ทบวงมหาวิทยาลัย ร้อยละ 39.25 เอกชน ร้อยละ 19.51 กรมสามัญศึกษา ร้อยละ 19.49 อาชีวศึกษา ร้อยละ 9.6 สถาบันราชภัฎ ร้อยละ 8.59 เป็นต้น ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.1 บอกว่าเคยเสพแต่เลิกแล้ว เสพแต่บางโอกาส ร้อยละ 27.5 เสพแต่ไม่ติด (ไม่เกิน 20 วัน / เดือน) ร้อยละ 5.5 ค้าอย่างเดียว ร้อยละ 3.8 ค้าและติด ร้อยละ 2.9 เป็นผู้ติดยา(เสพเกิน 20 วัน / เดือน) ร้อยละ 1.6 และ เป็นทั้งผู้ค้าและผู้เสพ ร้อยละ 1.6 โดยระบุสาเหตุการเสพสิ่งเสพติดว่า อยากรู้อยากลอง ร้อยละ 74.3 ทำตามเพื่อน ร้อยละ 43.1 มีปัญหาครอบครัว ร้อยละ 27.9 เพื่อค่านิยม/ต้องการโก้เก๋ ร้อยละ 24.4 หรือ ถูกชักจูง ประชดสังคม อยากตื่นตัวเสมอ อยากมีเงิน และ ถูกบังคับ เป็นต้น โดยทั้งหมด ทราบว่า จะซื้อ ที่ไหน กับใคร ร้อยละ 36.2 ซึ่งมีทั้ง ในชุมชน โรงเรียน หรือ แม้แต่ในครอบครัว ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของนักเรียน - นักศึกษาที่เที่ยวสถานบันเทิงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา กับพฤติกรรมของนักเรียน - นักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด (ไม่นับรวมเหล้าและบุหรี่) ซึ่งผลการทดสอบทางสถิติ พบว่า มักจะมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง กับยาเสพติดในรูปแบบต่างๆ กัน อาทิ การเสพ การติดยา การค้าและเสพ การค้าและติดยา หรือการค้ายาเพียงอย่างเดียว ซึ่งผลวิจัยพบว่า ร้อยละ 19.8 ของนักเรียนนักศึกษาที่เที่ยวสถานบันเทิงเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ในขณะที่เพียงร้อยละ 3.7 ของนักเรียน - นักศึกษาที่ไม่เที่ยวสถานบันเทิง เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
โดยธรรมชาติ เด็กนักเรียน - นักศึกษาส่วนใหญ่กำลังอยู่ในสภาวะเคว้งคว้างทางจิตใจ (Alienation) จึงได้แสดงออกในรูปแบบต่างๆ กัน ภาพที่ปรากฏในพฤติกรรมของเด็กนักเรียน - นักศึกษาตามสถานบันเทิงเป็นเพียงแค่เสี้ยวส่วนหนึ่งของภาพใหญ่ แต่ประเทศไทยยังขาดหน่วยงานที่เอาจริงเอาจัง ในความพยายามเข้าใจทัศนคติและ พฤติกรรมของเด็กนักเรียน - นักศึกษาอย่างแท้จริงและต่อเนื่อง จึงเน้นแก้ปัญหากันแต่เฉพาะสิ่งที่ปรากฎออกมาในที่เปิดเผยเพียงเท่านั้น
--เอแบคโพลล์--