ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ประกาศตัดสินคำวินิจฉัยคดีปกปิดบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี เมื่อวันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2544 มีมติว่าไม่มีความผิด ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 7 จากผลการตัดสินดังกล่าวก่อให้
เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนเกี่ยวกับ ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาทั้งในทางบวกและทางลบต่อระบบสังคม การเมืองและ
เศรษฐกิจของประเทศ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่ว
กรุงเทพมหานคร และประชาชนในต่างจังหวัดต่อประเด็นดังกล่าวขึ้นระหว่างวันที่ 3 - 5 สิงหาคม 2544 พบว่า ประชาชนที่ทราบ
ข่าวในกรุงเทพฯ ร้อยละ 93.9 นั้นพอใจ ร้อยละ 69.8 ไม่พอใจ ร้อยละ 13.2 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 17.0 ในต่างจังหวัด
ร้อยละ 90.0 ที่ทราบข่าว พอใจ ร้อยละ 73.4 ไม่พอใจ ร้อยละ 15.0 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 11.6
เหตุผลของผู้ที่ระบุว่าพอใจ ส่วนใหญ่ระบุเหตุผลสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้
1) อยากให้พ.ต.ท.ดร.ทักษิณบริหารประเทศต่อไป
2) ต้องการให้รัฐบาลทำงานตามนโยบายที่ประกาศไว้อย่างต่อเนื่อง
3) เชื่อมั่นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณมีความสุจริตใจ/เป็นคนดี
4) เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาด้วยความยุติธรรม และ
5) เหตุผลอื่น ๆ เช่น ทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ไม่อยากเห็นการเปลี่ยนผู้นำบ่อย ๆ
ส่วนเหตุผลของคนที่ไม่พอใจ ส่วนใหญ่ระบุว่า
1) เชื่อว่าการกระทำของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณมีความผิดตามกฎหมาย
2) เห็นว่าเป็นการตัดสินที่ไม่ได้อยู่บนหลักการที่แท้จริง
3) ยังไม่มีเหตุผลที่เพียงพอจะยืนยันความบริสุทธิ์ของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ
4) เชื่อว่าการปกปิดทรัพย์สินของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณมีเจตนาเคลือบแฝงที่ไม่ชอบมาพากล
5) การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาจากแรงกดดัน/ไม่ใช่การชี้ขาดด้วยเหตุผล และ
6) เหตุผล อื่นๆ เช่น กระบวนการพิจารณาไม่รอบคอบ ท่าทีตุลาการบางคนทำให้เกิดปัญหา
ตารางแสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ผลดี" ต่อประเทศเมื่อพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรพ้นผิดในคดี
(ค่าร้อยละเป็นค่าร้อยละของผู้ที่ระบุว่ามีผลดี จากกลุ่มตัวอย่างในกทม.ร้อยละ 67.1 และกลุ่มตัวอย่างในต่างจังหวัดร้อยละ
70.6 โดยระบุได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่างที่ระบุผลดีต่อประเทศ กทม. ต่างจังหวัด
1เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้น 41.2 46.1
2นโยบายของรัฐบาลจะได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเต็มที่ 32.1 29.6
3จะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น 20.1 18.1
4การบริหารประเทศจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 19.1 23.5
5ผลดีอื่น ๆ เช่น ปัญหาสังคมจะลดลง รัฐบาลมีเสถียรภาพ 24.2 24.1
ไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งในประเทศ ฯลฯ
ตารางแสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ผลเสีย" ต่อประเทศเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรพ้นผิดในคดี
(ค่าร้อยละเป็นค่าร้อยละของผู้ที่ระบุว่ามีผลเสีย จากกลุ่มตัวอย่างในกทม.ร้อยละ 19.8 และกลุ่มตัวอย่างในต่างจังหวัด
ร้อยละ 26.3 โดยระบุได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่างที่ระบุผลเสียต่อประเทศ กทม. ต่างจังหวัด
1ความศรัทธาต่อศาลรัฐธรรมนูญลดลง 31.4 21.4
2เป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ได้มาตรฐานทางกฎหมายต่อไป 19.1 16.7
3ประชาชนจะให้ความเชื่อมั่นศรัทธาต่อกฎหมายลดลง 15.9 28.6
4อาจเกิดความขัดแย้งจนส่งผลเสียต่อสภาพเศรษฐกิจ 10 4.8
5ไม่ได้รับการยอมรับเชื่อถือจากต่างชาติ 9.1 8.3
6ผู้นำมีภาพลักษณ์ที่อยู่เหนือกฎหมาย 9.1 10.7
7เหตุผลอื่น ๆ เช่น เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปการเมือง ความเชื่อถือต่อปปช.ลดลง 20.4 25.2
เกิดความรู้สึกว่ามีการใช้อภิสิทธิ์ของชนชั้นในสังคม ฯลฯ
เมื่อถามความเชื่อมั่นต่อแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หลังจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณพ้นผิดในคดีปกปิดทรัพย์สิน ในกรุงเทพฯ
เห็นว่า มั่นใจ ร้อยละ 37.2 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 33.4 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 17.0 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 3.8 ขณะที่ต่างจังหวัด
มั่นใจ ร้อยละ 39.4 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 29.4 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 15.3 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 7.5 และเมื่อถามถึงความเชื่อมั่น
ต่อแนวทางการการปฏิรูปการเมืองไทย หลังจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณพ้นผิดในคดีปกปิดทรัพย์สิน ในกรุงเทพฯ เห็นว่า มั่นใจ ร้อยละ
36.2 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 29.2 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 18.0 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 7.8 ขณะที่ต่างจังหวัด มั่นใจ ร้อยละ 28.1 ค่อน
ข้างมั่นใจ ร้อยละ 24.7 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 25.6 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 11.6
--เอแบคโพลล์--
นายกรัฐมนตรี เมื่อวันศุกร์ ที่ 3 สิงหาคม 2544 มีมติว่าไม่มีความผิด ด้วยคะแนนเสียง 8 ต่อ 7 จากผลการตัดสินดังกล่าวก่อให้
เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชนเกี่ยวกับ ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาทั้งในทางบวกและทางลบต่อระบบสังคม การเมืองและ
เศรษฐกิจของประเทศ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่ว
กรุงเทพมหานคร และประชาชนในต่างจังหวัดต่อประเด็นดังกล่าวขึ้นระหว่างวันที่ 3 - 5 สิงหาคม 2544 พบว่า ประชาชนที่ทราบ
ข่าวในกรุงเทพฯ ร้อยละ 93.9 นั้นพอใจ ร้อยละ 69.8 ไม่พอใจ ร้อยละ 13.2 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 17.0 ในต่างจังหวัด
ร้อยละ 90.0 ที่ทราบข่าว พอใจ ร้อยละ 73.4 ไม่พอใจ ร้อยละ 15.0 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 11.6
เหตุผลของผู้ที่ระบุว่าพอใจ ส่วนใหญ่ระบุเหตุผลสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้
1) อยากให้พ.ต.ท.ดร.ทักษิณบริหารประเทศต่อไป
2) ต้องการให้รัฐบาลทำงานตามนโยบายที่ประกาศไว้อย่างต่อเนื่อง
3) เชื่อมั่นว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณมีความสุจริตใจ/เป็นคนดี
4) เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาด้วยความยุติธรรม และ
5) เหตุผลอื่น ๆ เช่น ทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ไม่อยากเห็นการเปลี่ยนผู้นำบ่อย ๆ
ส่วนเหตุผลของคนที่ไม่พอใจ ส่วนใหญ่ระบุว่า
1) เชื่อว่าการกระทำของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณมีความผิดตามกฎหมาย
2) เห็นว่าเป็นการตัดสินที่ไม่ได้อยู่บนหลักการที่แท้จริง
3) ยังไม่มีเหตุผลที่เพียงพอจะยืนยันความบริสุทธิ์ของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ
4) เชื่อว่าการปกปิดทรัพย์สินของพ.ต.ท.ดร.ทักษิณมีเจตนาเคลือบแฝงที่ไม่ชอบมาพากล
5) การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาจากแรงกดดัน/ไม่ใช่การชี้ขาดด้วยเหตุผล และ
6) เหตุผล อื่นๆ เช่น กระบวนการพิจารณาไม่รอบคอบ ท่าทีตุลาการบางคนทำให้เกิดปัญหา
ตารางแสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ผลดี" ต่อประเทศเมื่อพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรพ้นผิดในคดี
(ค่าร้อยละเป็นค่าร้อยละของผู้ที่ระบุว่ามีผลดี จากกลุ่มตัวอย่างในกทม.ร้อยละ 67.1 และกลุ่มตัวอย่างในต่างจังหวัดร้อยละ
70.6 โดยระบุได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่างที่ระบุผลดีต่อประเทศ กทม. ต่างจังหวัด
1เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้น 41.2 46.1
2นโยบายของรัฐบาลจะได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเต็มที่ 32.1 29.6
3จะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น 20.1 18.1
4การบริหารประเทศจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 19.1 23.5
5ผลดีอื่น ๆ เช่น ปัญหาสังคมจะลดลง รัฐบาลมีเสถียรภาพ 24.2 24.1
ไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งในประเทศ ฯลฯ
ตารางแสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ผลเสีย" ต่อประเทศเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรพ้นผิดในคดี
(ค่าร้อยละเป็นค่าร้อยละของผู้ที่ระบุว่ามีผลเสีย จากกลุ่มตัวอย่างในกทม.ร้อยละ 19.8 และกลุ่มตัวอย่างในต่างจังหวัด
ร้อยละ 26.3 โดยระบุได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่างที่ระบุผลเสียต่อประเทศ กทม. ต่างจังหวัด
1ความศรัทธาต่อศาลรัฐธรรมนูญลดลง 31.4 21.4
2เป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ได้มาตรฐานทางกฎหมายต่อไป 19.1 16.7
3ประชาชนจะให้ความเชื่อมั่นศรัทธาต่อกฎหมายลดลง 15.9 28.6
4อาจเกิดความขัดแย้งจนส่งผลเสียต่อสภาพเศรษฐกิจ 10 4.8
5ไม่ได้รับการยอมรับเชื่อถือจากต่างชาติ 9.1 8.3
6ผู้นำมีภาพลักษณ์ที่อยู่เหนือกฎหมาย 9.1 10.7
7เหตุผลอื่น ๆ เช่น เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปการเมือง ความเชื่อถือต่อปปช.ลดลง 20.4 25.2
เกิดความรู้สึกว่ามีการใช้อภิสิทธิ์ของชนชั้นในสังคม ฯลฯ
เมื่อถามความเชื่อมั่นต่อแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หลังจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณพ้นผิดในคดีปกปิดทรัพย์สิน ในกรุงเทพฯ
เห็นว่า มั่นใจ ร้อยละ 37.2 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 33.4 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 17.0 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 3.8 ขณะที่ต่างจังหวัด
มั่นใจ ร้อยละ 39.4 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 29.4 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 15.3 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 7.5 และเมื่อถามถึงความเชื่อมั่น
ต่อแนวทางการการปฏิรูปการเมืองไทย หลังจาก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณพ้นผิดในคดีปกปิดทรัพย์สิน ในกรุงเทพฯ เห็นว่า มั่นใจ ร้อยละ
36.2 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 29.2 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 18.0 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 7.8 ขณะที่ต่างจังหวัด มั่นใจ ร้อยละ 28.1 ค่อน
ข้างมั่นใจ ร้อยละ 24.7 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 25.6 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 11.6
--เอแบคโพลล์--