สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของโลก และเป็นประเทศพันธมิตรที่ดี กับประเทศไทย
มาโดยตลอด เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นในวินาศกรรมครั้งใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ประชาชนคนไทยรู้สึกอย่างไร และส่งผล
กระทบต่อความรู้สึกเชื่อมั่นในรัฐบาลที่จะป้องกันเหตุการณ์การก่อการร้ายข้ามชาติ ในประเทศไทยได้หรือไม่ เป็นประเด็นคำถามสำคัญใน
การสำรวจครั้งนี้ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมใน
สหรัฐอเมริกาและความมั่นใจของประชาชนต่อรัฐบาล ในการป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12 - 13
กันยายน 2544 พบว่า ประชาชน ทราบข่าว ร้อยละ 98.2 ไม่ทราบ ร้อยละ 1.8 และแสดงความเสียใจร่วมกับประชาชนชาวอเมริกัน
ในวินาศกรรมที่เกิดขึ้น ว่า เสียใจมาก ร้อยละ 70.1 ค่อนข้างมาก ร้อยละ 25.7 ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 3.8 น้อย ร้อยละ 0.4
ผลยังระบุอีกว่า เป็นการน่าตำหนิ เพราะทำให้ประชาชนธรรมดาเสียชีวิต / เป็นการกระทำที่ไม่คำนึงถึงมนุษยธรรม / มีผล
กระทบ ทำให้ทั่วโลกต้องเดือดร้อน / เศรษฐกิจแย่ลง / ก่อให้เกิดความแตกแยก/ เกรงว่าจะกลายเป็นสงครามโลก ร้อยละ 77.0
ไม่ควรตำหนิ ร้อยละ 4.8 (อันนี้ไม่แน่ใจว่า เป็นเรื่องของเวรกรรมรึเปล่า...ผลไม่ได้ระบุ) ไม่มีความเห็น ร้อยละ 18.2 และยัง
เห็นว่า ควรตอบโต้ ร้อยละ 64.5 ไม่ควรตอบโต้ ร้อยละ 15.0 โดยเห็นว่าสหรัฐอเมริกาควรตอบโต้ ได้แก่ วิธีการรุนแรง / รวมตัว
กับนานาประเทศ ต่อต้านขบวนการก่อการร้าย / จับผู้นำขบวนการให้ได้ / ใช้วิธีประนีประนอมและสันติ / ลงโทษทางการค้าและเศรษฐกิจ
เป็นต้น
ทั้งนี้ ตัวอย่างระบุว่า สหรัฐอเมริกาควรทบทวนบทบาทเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ร้อยละ 79.5 ไม่ควรทบทวน
(ที่ผ่านมาดีอยู่แล้ว) ร้อยละ 11.1 และเมื่อถามถึงความมั่นใจต่อมาตรการป้องกันภัยจากการก่อการร้ายภายในประเทศไทย พบว่า มั่นใจแค่
ร้อยละ 14.7 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 21.7 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 40.9 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 16.9 ทำให้เห็นว่ารัฐบาล ควรเพิ่มมาตรการ
รักษาความมั่นคงปลอดภัย ร้อยละ 80.3
ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทยในการป้องกันภัยจากการก่อการร้าย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของตัวอย่างต่อรัฐบาลไทยในการป้องกันภัยจากการก่อการร้าย ร้อยละ
1ตรวจสอบการเดินทางเข้าออกของชาวต่างชาติอย่างเข้มงวด 38.9
2เพิ่มการฝึกซ้อมสถานการณ์ กำลังคน เทคโนโลยี และงบประมาณ 35.6
3เพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานข่าวกรองและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 23.5
4เพิ่มการมีส่วนร่วมจากประชาชนในการป้องกัน 21.1
5อื่นๆ อาทิ ควรวางตัวเป็นกลาง / เข้มงวดใช้กฎหมาย / สร้างสัมพันธ์ที่ดี 19.2
กับประเทศมหาอำนาจต่างๆ / ดูแลป้องกันสถานทูตต่างๆ เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
มาโดยตลอด เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นในวินาศกรรมครั้งใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ประชาชนคนไทยรู้สึกอย่างไร และส่งผล
กระทบต่อความรู้สึกเชื่อมั่นในรัฐบาลที่จะป้องกันเหตุการณ์การก่อการร้ายข้ามชาติ ในประเทศไทยได้หรือไม่ เป็นประเด็นคำถามสำคัญใน
การสำรวจครั้งนี้ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจความรู้สึกของประชาชนต่อเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมใน
สหรัฐอเมริกาและความมั่นใจของประชาชนต่อรัฐบาล ในการป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12 - 13
กันยายน 2544 พบว่า ประชาชน ทราบข่าว ร้อยละ 98.2 ไม่ทราบ ร้อยละ 1.8 และแสดงความเสียใจร่วมกับประชาชนชาวอเมริกัน
ในวินาศกรรมที่เกิดขึ้น ว่า เสียใจมาก ร้อยละ 70.1 ค่อนข้างมาก ร้อยละ 25.7 ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 3.8 น้อย ร้อยละ 0.4
ผลยังระบุอีกว่า เป็นการน่าตำหนิ เพราะทำให้ประชาชนธรรมดาเสียชีวิต / เป็นการกระทำที่ไม่คำนึงถึงมนุษยธรรม / มีผล
กระทบ ทำให้ทั่วโลกต้องเดือดร้อน / เศรษฐกิจแย่ลง / ก่อให้เกิดความแตกแยก/ เกรงว่าจะกลายเป็นสงครามโลก ร้อยละ 77.0
ไม่ควรตำหนิ ร้อยละ 4.8 (อันนี้ไม่แน่ใจว่า เป็นเรื่องของเวรกรรมรึเปล่า...ผลไม่ได้ระบุ) ไม่มีความเห็น ร้อยละ 18.2 และยัง
เห็นว่า ควรตอบโต้ ร้อยละ 64.5 ไม่ควรตอบโต้ ร้อยละ 15.0 โดยเห็นว่าสหรัฐอเมริกาควรตอบโต้ ได้แก่ วิธีการรุนแรง / รวมตัว
กับนานาประเทศ ต่อต้านขบวนการก่อการร้าย / จับผู้นำขบวนการให้ได้ / ใช้วิธีประนีประนอมและสันติ / ลงโทษทางการค้าและเศรษฐกิจ
เป็นต้น
ทั้งนี้ ตัวอย่างระบุว่า สหรัฐอเมริกาควรทบทวนบทบาทเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ร้อยละ 79.5 ไม่ควรทบทวน
(ที่ผ่านมาดีอยู่แล้ว) ร้อยละ 11.1 และเมื่อถามถึงความมั่นใจต่อมาตรการป้องกันภัยจากการก่อการร้ายภายในประเทศไทย พบว่า มั่นใจแค่
ร้อยละ 14.7 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 21.7 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 40.9 ไม่มั่นใจ ร้อยละ 16.9 ทำให้เห็นว่ารัฐบาล ควรเพิ่มมาตรการ
รักษาความมั่นคงปลอดภัย ร้อยละ 80.3
ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทยในการป้องกันภัยจากการก่อการร้าย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของตัวอย่างต่อรัฐบาลไทยในการป้องกันภัยจากการก่อการร้าย ร้อยละ
1ตรวจสอบการเดินทางเข้าออกของชาวต่างชาติอย่างเข้มงวด 38.9
2เพิ่มการฝึกซ้อมสถานการณ์ กำลังคน เทคโนโลยี และงบประมาณ 35.6
3เพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานข่าวกรองและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 23.5
4เพิ่มการมีส่วนร่วมจากประชาชนในการป้องกัน 21.1
5อื่นๆ อาทิ ควรวางตัวเป็นกลาง / เข้มงวดใช้กฎหมาย / สร้างสัมพันธ์ที่ดี 19.2
กับประเทศมหาอำนาจต่างๆ / ดูแลป้องกันสถานทูตต่างๆ เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--