ตามที่ได้มีการประชุมสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติที่ผ่านมา และปิดประชุมไปเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2544 นั้น ได้เกิดปัญหาการถกเถียงโต้แย้งกัน ภายในกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ในที่ประชุม โดยมีการใช้คำพูดที่รุนแรงเกิดขึ้น เช่น การระบุว่า ส.ส.เป็นนักการเมืองสำส่อน ที่มีการย้ายพรรคบ่อย ๆ มีการท้าทายให้ยกพวกตีกัน มีการอภิปรายโต้ตอบกันระหว่าง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลกับ ส.ส.ฝ่ายค้าน ระหว่าง ส.ว.กับฝ่ายรัฐบาล เป็นต้น พฤติกรรมและปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุมรัฐสภาดังกล่าว กลายเป็นประเด็นถกเถียงและเกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนอย่างกว้างขวาง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ 27 - 29 พฤศจิกายน 2544 พบว่าประชาชน เห็นด้วยต่อ การที่ ส.ว. วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 65.2 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 15.8 และอีก ร้อยละ 19.0 ไม่มีความเห็น ส่วนความเห็นต่อ การที่นักวิชาการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลนั้น เห็นด้วย ร้อยละ 70.6 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 15.5
เมื่อสำรวจความเห็นต่อท่าทีของรัฐบาลที่ออกมาตอบโต้นักวิชาการ ที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลนั้น ร้อยละ 39.5 เห็นด้วย และอีก ร้อยละ 32.5 ไม่เห็นด้วย ส่วนอีก ร้อยละ 28.0 ไม่มีความเห็น ซึ่งผู้ที่ระบุว่า "ไม่เห็นด้วย" ให้เหตุผลดังนี้
1) รัฐบาลควรจะเปิดใจรับฟังมากกว่า
2) เป็นสิทธิของประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไม่ควรโต้ตอบ
3) รัฐบาลพยายามปกป้องภาพของตนเองมากเกินไป
4) การตอบโต้จะทำให้ปัญหายืดเยื้อบานปลาย
5) อื่น ๆ เช่น การวิจารณ์ช่วยเป็นกระจกให้รัฐบาลสะท้อนภาพของตนเอง การตอบโต้ไม่มีเหตุผลเพียงพอ เป็นต้น
ผลยังระบุว่าประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการประชุมสภาฯ ที่เพิ่งปิดสมัยประชุมไป ร้อยละ 42.2 เห็นว่าค่อนข้างน้อย ร้อยละ 19.0 เห็นว่าน้อย ร้อยละ 18.1 เห็นว่าค่อนข้างมาก ร้อยละ 15.9 ไม่มีความเห็น และร้อยละ 4.8 เท่านั้นที่เห็นว่าได้ประโยชน์มาก ส่วนความเห็นต่อ คำกล่าวของ ส.ว. ที่มีการกล่าวหาว่านักการเมือง สำส่อนเพราะย้ายพรรคบ่อย ร้อยละ 47.2 เห็นว่าน่าตำหนิ ร้อยละ 30.7 เห็นว่าไม่น่าตำหนิ ด้านความเห็นต่อ ส.ส. ที่ออกมาท้า ส.ว. ให้ยกพวกตีกันในสภาฯ ร้อยละ 85.1 เห็นว่าน่าตำหนิ ร้อยละ 4.0 เห็นว่าไม่น่าตำหนิ ทำให้ความเห็นต่อมาตรฐานจรรยาบรรณของสมาชิกรัฐสภาไทยนั้น ประชาชนเห็นว่า ดีขึ้น ร้อยละ 11.6 เหมือนเดิม ร้อยละ 43.7 และแย่ลง ร้อยละ 35.4
ด้านความเห็นต่อ การเดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศของสมาชิกรัฐสภา ร้อยละ 41.0 เห็นด้วย ขณะที่ ร้อยละ 37.4 ไม่เห็นด้วย ซึ่งผู้ที่ระบุว่า "เห็นด้วย" ให้เหตุผลว่า เป็นการหาความรู้มาพัฒนาประเทศ / ช่วยเปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างขึ้น / ช่วยให้รับรู้ความเป็นไปของโลก/ได้รู้สิ่งใหม่ๆ / เพื่อหาลู่ทางทางการค้ากับต่างประเทศ ส่วนผู้ที่ระบุว่า "ไม่เห็นด้วย" ให้เหตุผลเพราะ เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ /ไม่ประหยัด / ยังไม่มีความจำเป็นในขณะนี้ / ไม่เชื่อว่าจะไปดูงานจริง / อื่น ๆ เช่น ไม่คุ้มค่า ไม่มีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัด ไม่เชื่อว่าจะนำความรู้มาใช้ในประเทศได้ ฯลฯ นอกนั้นยังระบุข้อเสนอแนะที่สมาชิกรัฐสภาควรกระทำเพื่อประชาชน หลังจากมีเวลาว่างไม่ต้อง ประชุมสภาว่า ควรออกพบปะเยี่ยมเยือน/รับทราบปัญหาของประชาชน ร้อยละ 41.7 คิดแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 16.4 รับฟังความคิดเห็น / เปิด รับข่าวสารจากประชาชน ร้อยละ 10.9 แก้ปัญหาสังคม/ปัญหายาเสพติด ตรวจสอบพฤติกรรมที่ไม่โปร่งใสของสมาชิกด้วยกัน ศึกษาแก้ไขกฎหมายที่คั่งค้างอยู่ หรือ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน นั่งสมาธิ/อบรมธรรมะ ทำความเข้าใจกันและกัน ติดตามการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ฯลฯ
--เอแบคโพลล์--
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวขึ้น ระหว่างวันที่ 27 - 29 พฤศจิกายน 2544 พบว่าประชาชน เห็นด้วยต่อ การที่ ส.ว. วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 65.2 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 15.8 และอีก ร้อยละ 19.0 ไม่มีความเห็น ส่วนความเห็นต่อ การที่นักวิชาการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลนั้น เห็นด้วย ร้อยละ 70.6 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 15.5
เมื่อสำรวจความเห็นต่อท่าทีของรัฐบาลที่ออกมาตอบโต้นักวิชาการ ที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลนั้น ร้อยละ 39.5 เห็นด้วย และอีก ร้อยละ 32.5 ไม่เห็นด้วย ส่วนอีก ร้อยละ 28.0 ไม่มีความเห็น ซึ่งผู้ที่ระบุว่า "ไม่เห็นด้วย" ให้เหตุผลดังนี้
1) รัฐบาลควรจะเปิดใจรับฟังมากกว่า
2) เป็นสิทธิของประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไม่ควรโต้ตอบ
3) รัฐบาลพยายามปกป้องภาพของตนเองมากเกินไป
4) การตอบโต้จะทำให้ปัญหายืดเยื้อบานปลาย
5) อื่น ๆ เช่น การวิจารณ์ช่วยเป็นกระจกให้รัฐบาลสะท้อนภาพของตนเอง การตอบโต้ไม่มีเหตุผลเพียงพอ เป็นต้น
ผลยังระบุว่าประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการประชุมสภาฯ ที่เพิ่งปิดสมัยประชุมไป ร้อยละ 42.2 เห็นว่าค่อนข้างน้อย ร้อยละ 19.0 เห็นว่าน้อย ร้อยละ 18.1 เห็นว่าค่อนข้างมาก ร้อยละ 15.9 ไม่มีความเห็น และร้อยละ 4.8 เท่านั้นที่เห็นว่าได้ประโยชน์มาก ส่วนความเห็นต่อ คำกล่าวของ ส.ว. ที่มีการกล่าวหาว่านักการเมือง สำส่อนเพราะย้ายพรรคบ่อย ร้อยละ 47.2 เห็นว่าน่าตำหนิ ร้อยละ 30.7 เห็นว่าไม่น่าตำหนิ ด้านความเห็นต่อ ส.ส. ที่ออกมาท้า ส.ว. ให้ยกพวกตีกันในสภาฯ ร้อยละ 85.1 เห็นว่าน่าตำหนิ ร้อยละ 4.0 เห็นว่าไม่น่าตำหนิ ทำให้ความเห็นต่อมาตรฐานจรรยาบรรณของสมาชิกรัฐสภาไทยนั้น ประชาชนเห็นว่า ดีขึ้น ร้อยละ 11.6 เหมือนเดิม ร้อยละ 43.7 และแย่ลง ร้อยละ 35.4
ด้านความเห็นต่อ การเดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศของสมาชิกรัฐสภา ร้อยละ 41.0 เห็นด้วย ขณะที่ ร้อยละ 37.4 ไม่เห็นด้วย ซึ่งผู้ที่ระบุว่า "เห็นด้วย" ให้เหตุผลว่า เป็นการหาความรู้มาพัฒนาประเทศ / ช่วยเปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างขึ้น / ช่วยให้รับรู้ความเป็นไปของโลก/ได้รู้สิ่งใหม่ๆ / เพื่อหาลู่ทางทางการค้ากับต่างประเทศ ส่วนผู้ที่ระบุว่า "ไม่เห็นด้วย" ให้เหตุผลเพราะ เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ /ไม่ประหยัด / ยังไม่มีความจำเป็นในขณะนี้ / ไม่เชื่อว่าจะไปดูงานจริง / อื่น ๆ เช่น ไม่คุ้มค่า ไม่มีจุดมุ่งหมายที่แน่ชัด ไม่เชื่อว่าจะนำความรู้มาใช้ในประเทศได้ ฯลฯ นอกนั้นยังระบุข้อเสนอแนะที่สมาชิกรัฐสภาควรกระทำเพื่อประชาชน หลังจากมีเวลาว่างไม่ต้อง ประชุมสภาว่า ควรออกพบปะเยี่ยมเยือน/รับทราบปัญหาของประชาชน ร้อยละ 41.7 คิดแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 16.4 รับฟังความคิดเห็น / เปิด รับข่าวสารจากประชาชน ร้อยละ 10.9 แก้ปัญหาสังคม/ปัญหายาเสพติด ตรวจสอบพฤติกรรมที่ไม่โปร่งใสของสมาชิกด้วยกัน ศึกษาแก้ไขกฎหมายที่คั่งค้างอยู่ หรือ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน นั่งสมาธิ/อบรมธรรมะ ทำความเข้าใจกันและกัน ติดตามการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ฯลฯ
--เอแบคโพลล์--