นักเรียนนักศึกษา เป็นกลุ่มเยาวชนไทยในระบบการศึกษาที่ถูกคาดหวังว่าในอนาคตข้างหน้า เยาวชนเหล่านี้จะมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของประเทศ อย่างไรก็ตามขบวนการค้ายาเสพติดกำลังพยายามกอบโกยผลประโยชน์มหาศาลจากเด็กนักเรียน - นักศึกษาทุกวิถีทาง โดยไม่คำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ในกลุ่มเยาวชนเหล่านั้นที่ถูกชักจูงให้หลงทางไปได้โดยง่าย เพราะไม่มีผู้ใหญ่ที่ดี คอยให้คำแนะนำปรึกษา ดังนั้นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาจำนวนมากพักอาศัยตามหอพักต่างๆ ซึ่งกลุ่มเด็กและเยาวชนเหล่านี้ไม่ได้อยู่ใกล้ชิด กับบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ที่ดีที่คอยให้คำแนะนำสั่งสอน โอกาสที่พวกเขาเหล่านั้นจะตัดสินใจโดยคำชักจูงของเครือข่ายขบวนการ ค้ายาเสพติดยิ่งมีความเป็นไปได้สูงมาก นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่อาจส่งผลทำให้นักเรียนนักศึกษามีโอกาสเสี่ยงสูง ที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด นั่นคือ การใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์และการใช้เวลาว่างที่ผิดกฎหมายและเสี่ยงต่อการใช้สิ่งเสพติด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 10 - 20 กันยายน 2544 การทำกิจกรรม "ที่ไม่สร้างสรรค์" ระบุว่า ดื่มเหล้า เบียร์ และไวน์ เป็นต้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้อยละ 11.5 ดูหนังสือ / นิตยสาร / อินเตอร์เน็ต / ภาพยนตร์ที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้อยละ 11.3 สูบบุหรี่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้อยละ 8.2 หนีเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทะเลาะวิวาทกับนักเรียน / นักศึกษา เล่นการพนัน มีเพศสัมพันธ์
จากการพิจารณาผลสำรวจพบว่า นักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ยังคงทำกิจกรรมในเวลาว่างที่สร้างสรรค์อยู่โดยทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อาทิ การติดตามข่าวสารร้อยละ 91.0 อยู่กับครอบครัวร้อยละ 86.6 เล่นกีฬาร้อยละ 72.8 เข้าห้องสมุดค้นคว้าวิจัยร้อยละ 52.1 ทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์เพื่อสังคมร้อยละ 35.9 เล่นดนตรีร้อยละ 35.6 ศึกษาดูงานร้อยละ 33.2 ทำกิจกรรมศาสนา เช่น ทำบุญ ตักบาตร ร้อยละ 26.8 และร้อยละ 16.2 ทำงานหารายได้พิเศษโดยสุจริต
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณากิจกรรมของนักเรียนนักศึกษาที่กระทำแบบไม่สร้างสรรค์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แล้วทำการประมาณ การจำนวนออกมาในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า กิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ที่นักเรียนนักศึกษากระทำมากที่สุด ได้แก่ การดื่มเหล้า เบียร์ และ ไวน์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งมีอยู่กว่า 1 แสนคน (102,723 คน) หรือร้อยละ 11.5 ของนักเรียนนักศึกษาทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร อันดับที่ 2 ได้แก่ การดูหนังสือ นิตยสาร อินเตอร์เนต และภาพยนต์ที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งมีอยู่กว่า 1 แสนคน เช่นกัน (100,937 คน) หรือร้อยละ 11.3 อันดับที่ 3 ได้แก่ สูบบุหรี่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีอยู่จำนวน 73,246 คน (เจ็ดหมื่นสามพัน สองร้อยสี่สิบหกคน) หรือร้อยละ 8.2 อันดับที่ 4 ได้แก่ หนีเรียน 50,022 คน หรือร้อยละ 5.6 อันดับที่ 5 ได้แก่ ทะเลาะวิวาทกับนักเรียน นักศึกษา จำนวน 47,342 คน อันดับที่ 6 ได้แก่ เล่นการพนัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 42,846 คน อันดับที่ 7 ได้แก่ มี เพศสัมพันธ์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 41,983 คน และยังมีการ ขายบริการทางเพศ ถ่ายภาพนู้ด ลักขโมย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า นักเรียนนักศึกษาที่ขายบริการทางเพศมีเพียงร้อยละ 0.6 เท่านั้นหรือประมาณ 5,000 คนในเขตกรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ สัดส่วนของนักเรียนนักศึกษาที่ใช้เวลาว่างแบบ "ไม่สร้างสรรค์" มีโอกาสในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด สูงกว่า กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมแบบ "สร้างสรรค์" ถึงร้อยละ 24.0 กล่าวคือ ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ใช้เวลาว่างแบบ ไม่สร้างสรรค์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้อยละ 75.6 เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด ในขณะที่กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ใช้เวลาว่างแบบสร้างสรรค์ มีอยู่ร้อยละ 51.6 เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด และยังพบอีกว่า นักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 71.7 นิยมซื้อสินค้าต่างประเทศ ได้แก่ เสื้อผ้าต่างประเทศ ร้อยละ 34.1 อาหาร / ขนมต่างประเทศ ร้อยละ 32.2 รองเท้า ร้อยละ 23.5 นาฬิการ้อยละ 23.0 หนังสือร้อยละ 19.1 กระเป๋าถือร้อยละ 16.1 และ เครื่องสำอาง / น้ำหอมร้อยละ 15.0 เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 10 - 20 กันยายน 2544 การทำกิจกรรม "ที่ไม่สร้างสรรค์" ระบุว่า ดื่มเหล้า เบียร์ และไวน์ เป็นต้น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้อยละ 11.5 ดูหนังสือ / นิตยสาร / อินเตอร์เน็ต / ภาพยนตร์ที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้อยละ 11.3 สูบบุหรี่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้อยละ 8.2 หนีเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทะเลาะวิวาทกับนักเรียน / นักศึกษา เล่นการพนัน มีเพศสัมพันธ์
จากการพิจารณาผลสำรวจพบว่า นักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ยังคงทำกิจกรรมในเวลาว่างที่สร้างสรรค์อยู่โดยทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อาทิ การติดตามข่าวสารร้อยละ 91.0 อยู่กับครอบครัวร้อยละ 86.6 เล่นกีฬาร้อยละ 72.8 เข้าห้องสมุดค้นคว้าวิจัยร้อยละ 52.1 ทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์เพื่อสังคมร้อยละ 35.9 เล่นดนตรีร้อยละ 35.6 ศึกษาดูงานร้อยละ 33.2 ทำกิจกรรมศาสนา เช่น ทำบุญ ตักบาตร ร้อยละ 26.8 และร้อยละ 16.2 ทำงานหารายได้พิเศษโดยสุจริต
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณากิจกรรมของนักเรียนนักศึกษาที่กระทำแบบไม่สร้างสรรค์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แล้วทำการประมาณ การจำนวนออกมาในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า กิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ที่นักเรียนนักศึกษากระทำมากที่สุด ได้แก่ การดื่มเหล้า เบียร์ และ ไวน์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งมีอยู่กว่า 1 แสนคน (102,723 คน) หรือร้อยละ 11.5 ของนักเรียนนักศึกษาทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร อันดับที่ 2 ได้แก่ การดูหนังสือ นิตยสาร อินเตอร์เนต และภาพยนต์ที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งมีอยู่กว่า 1 แสนคน เช่นกัน (100,937 คน) หรือร้อยละ 11.3 อันดับที่ 3 ได้แก่ สูบบุหรี่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีอยู่จำนวน 73,246 คน (เจ็ดหมื่นสามพัน สองร้อยสี่สิบหกคน) หรือร้อยละ 8.2 อันดับที่ 4 ได้แก่ หนีเรียน 50,022 คน หรือร้อยละ 5.6 อันดับที่ 5 ได้แก่ ทะเลาะวิวาทกับนักเรียน นักศึกษา จำนวน 47,342 คน อันดับที่ 6 ได้แก่ เล่นการพนัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 42,846 คน อันดับที่ 7 ได้แก่ มี เพศสัมพันธ์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 41,983 คน และยังมีการ ขายบริการทางเพศ ถ่ายภาพนู้ด ลักขโมย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า นักเรียนนักศึกษาที่ขายบริการทางเพศมีเพียงร้อยละ 0.6 เท่านั้นหรือประมาณ 5,000 คนในเขตกรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้ สัดส่วนของนักเรียนนักศึกษาที่ใช้เวลาว่างแบบ "ไม่สร้างสรรค์" มีโอกาสในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด สูงกว่า กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมแบบ "สร้างสรรค์" ถึงร้อยละ 24.0 กล่าวคือ ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ใช้เวลาว่างแบบ ไม่สร้างสรรค์อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ร้อยละ 75.6 เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด ในขณะที่กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ใช้เวลาว่างแบบสร้างสรรค์ มีอยู่ร้อยละ 51.6 เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด และยังพบอีกว่า นักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 71.7 นิยมซื้อสินค้าต่างประเทศ ได้แก่ เสื้อผ้าต่างประเทศ ร้อยละ 34.1 อาหาร / ขนมต่างประเทศ ร้อยละ 32.2 รองเท้า ร้อยละ 23.5 นาฬิการ้อยละ 23.0 หนังสือร้อยละ 19.1 กระเป๋าถือร้อยละ 16.1 และ เครื่องสำอาง / น้ำหอมร้อยละ 15.0 เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--