ที่มาของโครงการ
ถึงแม้ว่าปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ จะยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจน
ได้ แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างก็กำลังพยายามที่จะคลี่คลายปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าว
มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดจะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) ในวันที่ 28
ก.ค. นี้ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในการประชุม ซึ่งเชื่อ
ว่าจะมีการอธิบายในที่ประชุมเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การออกมาเคลื่อนไหวจากทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลในเรื่องนี้นั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่
สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นของการเมืองไทยในการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งทำให้
เกิดการตื่นตัวของสังคมไทยในการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้นกว่าเดิม
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้น
ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลัก
วิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในการก่อสร้างสนามบิน
สุวรรณภูมิ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้
เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อข่าวปัญหาการทุจริตในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ:กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive
sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,321 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.9 เป็นหญิง ร้อยละ 48.1 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 33.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 23.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 19.3 อายุ
ระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี และร้อยละ 4.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่าง
ร้อยละ 67.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 25.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ ร้อย
ละ 6.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 33.2 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 21.8 ระบุอาชีพพนักงาน
บริษัทเอกชน ร้อยละ 18.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.7 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.9 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ/ เกษตรกร ร้อยละ 5.2 ระบุเป็นนักเรียน/นัก
ศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 2.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อข่าวปัญหาการ
ทุจริตในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ” ในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,321 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม
2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการทราบข่าวปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในการก่อสร้างสนามบิน
สุวรรณภูมิ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 93.5 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 6.5 ระบุไม่ทราบข่าว
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการเร่งสร้างสนามบินสุวรรณภูมิให้
เสร็จตามเวลาที่กำหนดนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 72.4 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 18.5 ระบุไม่เห็นด้วย และ
ร้อยละ 9.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความคิดเห็นกรณีที่กระทรวงคมนาคมต้องการซื้อเครื่อง
ตรวจวัตถุระเบิดโดยตรงไม่ต้องผ่านคนกลางนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 76.0 ระบุเห็นด้วย/เห็นด้วยอย่างยิ่งกับ
กรณีดังกล่าว ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 15.8 ที่ระบุไม่เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และ ร้อยละ 8.2 ไม่
ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีจะยังคงมีความสงสัยอยู่หรือไม่ถ้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
คมนาคม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) สามารถซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดได้ในราคาที่ถูกลงโดยไม่ผ่านคนกลาง ซึ่ง
ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 34.1 ระบุยังคงสงสัย ในขณะที่ร้อยละ 45.7 ระบุไม่สงสัยแล้ว และร้อยละ
20.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
จากการสอบถามเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ยังสงสัยอยู่ พบว่า เพราะยังมีประเด็นอื่นๆ อีกเช่น ข่าวเรียกรับผล
ประโยชน์จากนักการเมืองเรื่องที่จอดรถ และข่าวเงินที่จ่ายล่วงหน้าไป เป็นต้น
ในขณะที่เหตุผลที่ไม่สงสัยแล้ว พบว่า เพราะมีความโปร่งใสมากขึ้น/ตัดกลุ่มผลประโยชน์ออกไปได้
ประหยัดงบประมาณของประเทศ เป็นต้น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อเหตุผลที่คิดว่า
ทำให้รัฐบาลต้องหาวิธีการซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 81.5 ระบุ
คิดว่าเป็นเพราะการเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่ชี้ให้ประชาชนเห็นปัญหาความไม่ชอบมาพากล ในขณะที่ร้อยละ 66.9
ระบุคิดว่าเป็นเพราะการตื่นตัวของคนไทยในสังคมที่ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 62.3 ระบุคิดว่าเป็นเพราะ
การออกมาวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการและกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม ร้อยละ 61.8 ระบุคิดว่าเป็นเพราะรัฐบาลกลัว
คะแนนนิยมตกต่ำ ร้อยละ 59.2 ระบุคิดว่าเป็นเพราะการทำงานของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ในขณะที่ ร้อยละ
52.2 ระบุคิดว่าเป็นเพราะรัฐบาลกำลังเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และร้อยละ 21.7 เพราะ
รัฐบาลต้องการลดกระแสต่อต้านรัฐบาล / เป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในการก่อสร้างสนามบิน
สุวรรณภูมิ
ลำดับที่ การทราบข่าวปัญหาการทุจริตในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 93.5
2 ไม่ทราบข่าว 6.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการเร่งก่อสร้างสนามบิน
สุวรรณภูมิให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการเร่งก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 72.4
2 ไม่เห็นด้วย 18.5
3 ไม่มีความเห็น 9.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีกระทรวงคมนาคมต้องการให้มีการซื้อเครื่อง
ตรวจวัตถุระเบิดโดยตรงไม่ต้องผ่านคนกลาง
ลำดับที่ ทัศนคติของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยอย่างยิ่ง 28.8
2 เห็นด้วย 47.2
3 ไม่เห็นด้วย 13.1
4 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 2.7
5 ไม่มีความเห็น 8.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคำถามที่ว่า ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) สามารถทำให้มีการซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดได้ในราคาที่ถูกลงโดยไม่ผ่าน
คนกลาง ท่านจะยังมีข้อสงสัยในการแก้ปัญหาข่าวทุจริตสินบนอยู่หรือไม่
ลำดับที่ ความสงสัยของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ยังสงสัยอยู่ 34.1
2 ไม่สงสัยแล้ว 45.7
3 ไม่มีความเห็น 20.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
จากการสอบถามเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ยังสงสัยอยู่ พบว่า เพราะยังมีประเด็นอื่นๆ อีกเช่น ข่าวเรียกรับผล
ประโยชน์จากนักการเมืองเรื่องที่จอดรถ และข่าวเงินที่จ่ายล่วงหน้าไป เป็นต้น
ในขณะที่เหตุผลที่ไม่สงสัยแล้ว พบว่า เพราะมีความโปร่งใสมากขึ้น/ตัดกลุ่มผลประโยชน์ออกไปได้
ประหยัดงบประมาณของประเทศ เป็นต้น
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลต้องหาวิธีการซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด
ให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลอะไรที่ทำให้รัฐบาลต้องหาวิธีการซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ค่าร้อยละ
1 การเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่ชี้ให้ประชาชนเห็นปัญหาความไม่ชอบมาพากล 81.5
2 การตื่นตัวของคนไทยในสังคมที่ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น 66.9
3 การออกมาวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการและกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม 62.3
4 รัฐบาลกลัวคะแนนนิยมตกต่ำ 61.8
5 การทำงานของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน 59.2
6 รัฐบาลกำลังเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 52.2
7 อื่นๆ อาทิ ต้องการลดกระแสต่อต้านรัฐบาล / เป็นนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น 21.7
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ถึงแม้ว่าปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ จะยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจน
ได้ แต่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างก็กำลังพยายามที่จะคลี่คลายปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าว
มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดจะมีการประชุมคณะกรรมการบริหารพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (กทภ.) ในวันที่ 28
ก.ค. นี้ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในการประชุม ซึ่งเชื่อ
ว่าจะมีการอธิบายในที่ประชุมเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การออกมาเคลื่อนไหวจากทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลในเรื่องนี้นั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่
สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นของการเมืองไทยในการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งทำให้
เกิดการตื่นตัวของสังคมไทยในการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้นกว่าเดิม
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้น
ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลัก
วิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในการก่อสร้างสนามบิน
สุวรรณภูมิ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้
เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อข่าวปัญหาการทุจริตในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ:กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive
sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,321 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.9 เป็นหญิง ร้อยละ 48.1 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 33.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 23.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 19.3 อายุ
ระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี และร้อยละ 4.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่าง
ร้อยละ 67.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 25.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ ร้อย
ละ 6.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 33.2 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 21.8 ระบุอาชีพพนักงาน
บริษัทเอกชน ร้อยละ 18.9 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.7 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.9 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ/ เกษตรกร ร้อยละ 5.2 ระบุเป็นนักเรียน/นัก
ศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 2.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อข่าวปัญหาการ
ทุจริตในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ” ในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,321 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 26-27 กรกฎาคม
2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการทราบข่าวปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในการก่อสร้างสนามบิน
สุวรรณภูมิ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 93.5 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 6.5 ระบุไม่ทราบข่าว
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อรัฐบาลในการเร่งสร้างสนามบินสุวรรณภูมิให้
เสร็จตามเวลาที่กำหนดนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 72.4 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 18.5 ระบุไม่เห็นด้วย และ
ร้อยละ 9.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความคิดเห็นกรณีที่กระทรวงคมนาคมต้องการซื้อเครื่อง
ตรวจวัตถุระเบิดโดยตรงไม่ต้องผ่านคนกลางนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 76.0 ระบุเห็นด้วย/เห็นด้วยอย่างยิ่งกับ
กรณีดังกล่าว ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 15.8 ที่ระบุไม่เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง และ ร้อยละ 8.2 ไม่
ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีจะยังคงมีความสงสัยอยู่หรือไม่ถ้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
คมนาคม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) สามารถซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดได้ในราคาที่ถูกลงโดยไม่ผ่านคนกลาง ซึ่ง
ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 34.1 ระบุยังคงสงสัย ในขณะที่ร้อยละ 45.7 ระบุไม่สงสัยแล้ว และร้อยละ
20.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
จากการสอบถามเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ยังสงสัยอยู่ พบว่า เพราะยังมีประเด็นอื่นๆ อีกเช่น ข่าวเรียกรับผล
ประโยชน์จากนักการเมืองเรื่องที่จอดรถ และข่าวเงินที่จ่ายล่วงหน้าไป เป็นต้น
ในขณะที่เหตุผลที่ไม่สงสัยแล้ว พบว่า เพราะมีความโปร่งใสมากขึ้น/ตัดกลุ่มผลประโยชน์ออกไปได้
ประหยัดงบประมาณของประเทศ เป็นต้น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อเหตุผลที่คิดว่า
ทำให้รัฐบาลต้องหาวิธีการซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 81.5 ระบุ
คิดว่าเป็นเพราะการเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่ชี้ให้ประชาชนเห็นปัญหาความไม่ชอบมาพากล ในขณะที่ร้อยละ 66.9
ระบุคิดว่าเป็นเพราะการตื่นตัวของคนไทยในสังคมที่ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 62.3 ระบุคิดว่าเป็นเพราะ
การออกมาวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการและกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม ร้อยละ 61.8 ระบุคิดว่าเป็นเพราะรัฐบาลกลัว
คะแนนนิยมตกต่ำ ร้อยละ 59.2 ระบุคิดว่าเป็นเพราะการทำงานของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ในขณะที่ ร้อยละ
52.2 ระบุคิดว่าเป็นเพราะรัฐบาลกำลังเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น และร้อยละ 21.7 เพราะ
รัฐบาลต้องการลดกระแสต่อต้านรัฐบาล / เป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในการก่อสร้างสนามบิน
สุวรรณภูมิ
ลำดับที่ การทราบข่าวปัญหาการทุจริตในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 93.5
2 ไม่ทราบข่าว 6.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการเร่งก่อสร้างสนามบิน
สุวรรณภูมิให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการเร่งก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิให้เสร็จตามเวลาที่กำหนด ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 72.4
2 ไม่เห็นด้วย 18.5
3 ไม่มีความเห็น 9.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีกระทรวงคมนาคมต้องการให้มีการซื้อเครื่อง
ตรวจวัตถุระเบิดโดยตรงไม่ต้องผ่านคนกลาง
ลำดับที่ ทัศนคติของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยอย่างยิ่ง 28.8
2 เห็นด้วย 47.2
3 ไม่เห็นด้วย 13.1
4 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 2.7
5 ไม่มีความเห็น 8.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคำถามที่ว่า ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) สามารถทำให้มีการซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดได้ในราคาที่ถูกลงโดยไม่ผ่าน
คนกลาง ท่านจะยังมีข้อสงสัยในการแก้ปัญหาข่าวทุจริตสินบนอยู่หรือไม่
ลำดับที่ ความสงสัยของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ยังสงสัยอยู่ 34.1
2 ไม่สงสัยแล้ว 45.7
3 ไม่มีความเห็น 20.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
จากการสอบถามเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ยังสงสัยอยู่ พบว่า เพราะยังมีประเด็นอื่นๆ อีกเช่น ข่าวเรียกรับผล
ประโยชน์จากนักการเมืองเรื่องที่จอดรถ และข่าวเงินที่จ่ายล่วงหน้าไป เป็นต้น
ในขณะที่เหตุผลที่ไม่สงสัยแล้ว พบว่า เพราะมีความโปร่งใสมากขึ้น/ตัดกลุ่มผลประโยชน์ออกไปได้
ประหยัดงบประมาณของประเทศ เป็นต้น
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลต้องหาวิธีการซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด
ให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุผลอะไรที่ทำให้รัฐบาลต้องหาวิธีการซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ค่าร้อยละ
1 การเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่ชี้ให้ประชาชนเห็นปัญหาความไม่ชอบมาพากล 81.5
2 การตื่นตัวของคนไทยในสังคมที่ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น 66.9
3 การออกมาวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการและกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม 62.3
4 รัฐบาลกลัวคะแนนนิยมตกต่ำ 61.8
5 การทำงานของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน 59.2
6 รัฐบาลกำลังเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 52.2
7 อื่นๆ อาทิ ต้องการลดกระแสต่อต้านรัฐบาล / เป็นนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น 21.7
--เอแบคโพลล์--
-พห-