จากแนวคิดของนักการเมืองและกลุ่มผู้ประกอบการบางกลุ่ม ต้องการให้มีการแก้ไขกฎหมายในการเพิ่มน้ำหนักรถบรรทุกจาก 21 ตัน เป็น 30 ตัน ขณะเดียวกัน สถานการณ์ความมั่นคงของประเทศตามแนวชายแดนไทย | พม่า ก็เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่น่าจับตามองในขณะนี้ ทางสำนักวิจัยฯ ได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23 - 24 กุมภาพันธ์ 2544 และได้สอบถามความเห็นต่างๆ จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
ด้านความเห็นต่อแนวคิดที่จะเพิ่มน้ำหนักรถบรรทุกจาก 21 ตันเป็น 30 ตันนั้น ร้อยละ 24.1 เห็นด้วย โดยให้ ทัศนะว่า สามารถ บรรทุกสินค้าได้มาก 51.5 % ด้านการลดต้นทุนการผลิต/ขนส่ง 31 % ด้านประหยัดเวลาในการขนส่ง 19.3 % ด้านลดการรีดไถ/ส่วน 19.3 % ด้านลดการสิ้นเปลืองน้ำมัน 15.5 % ด้านลดการทุจริตคอร์รัปชั่น 11.8 % ด้านอื่นๆอีก 5.6 % ส่วนด้านไม่เห็นด้วย ร้อยละ 56.5 นั้นให้ความเห็นว่า ทำให้ถนนชำรุด 78.6 % ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย 25 % ด้านสิ้นเปลืองงบประมาณการซ่อมถนน 11.4 % ด้านเพิ่งมลพิษ 7.1 % ทำให้สภาพรถบรรทุกเสื่อมเร็ว 3.3 % ด้านอื่นๆอีก 7.6 % ส่วนไม่มีความเห็น คิดเป็นร้อยละ 19.4
ในด้านความคิดเห็น กรณีปัญหาชายแดนไทย | พม่า สิ่งสำคัญที่รัฐบาลไทย ควรแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนนั้น ร้อยละ 69.8 ไม่ยอมให้กองกำลังต่างชาติรุกล้ำดินแดนไทย ร้อยละ 55 เห็นว่า เจรจากับผู้นำของประเทศพม่าเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
ร้อยละ 52.6 นั้นเห็นว่าเจรจาร่วมมือกับประเทศพม่าปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 36.7 เห็นว่าทวงถามค่าเสียหายที่พม่ากระทำต่อประเทศไทย ร้อยละ 36.1 เห็นว่า กองทัพไทยควรตอบโต้ในทุกกรณีที่มีกองกำลังติดอาวุธรุกล้ำดินแดนไทยโดยไม่ต้องมีการเจรจาใดๆ ร้อยละ 35.9 เห็นว่า สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยต่อชาวโลก
ร้อยละ 35.3 เห็นว่า ฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวชายแดนไทย-พม่า ร้อยละ 27 เห็นว่า ร่วมมือกับประเทศพม่า แก้ปัญหาชนกลุ่มน้อย ส่วนในความพอใจต่อท่าทีกองทัพไทยกรณีปัญหาชายแดนนั้น ร้อยละ 67 พอใจ อีก 20.8 ไม่พอใจ ร้อยละ 12.2 ไม่มีความเห็น โดยกลุ่มไม่พอใจเห็นว่า ประเทศไทยไม่มีความจำเป็นต้องเจรจา / เสียศักดิ์ศรี
การเจรจาไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
ควรเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ หรือ กองทัพ มากกว่า
ต้องการให้นายกรัฐมนตรีไปเจรจาเอง
ควรมีการเจรจาที่ประเทศที่สามดีกว่าที่ประเทศพม่า
ประเทศไทยไม่ใช่ฝ่ายที่ก่อปัญหาขึ้นมา
--เอแบคโพลล์--
ด้านความเห็นต่อแนวคิดที่จะเพิ่มน้ำหนักรถบรรทุกจาก 21 ตันเป็น 30 ตันนั้น ร้อยละ 24.1 เห็นด้วย โดยให้ ทัศนะว่า สามารถ บรรทุกสินค้าได้มาก 51.5 % ด้านการลดต้นทุนการผลิต/ขนส่ง 31 % ด้านประหยัดเวลาในการขนส่ง 19.3 % ด้านลดการรีดไถ/ส่วน 19.3 % ด้านลดการสิ้นเปลืองน้ำมัน 15.5 % ด้านลดการทุจริตคอร์รัปชั่น 11.8 % ด้านอื่นๆอีก 5.6 % ส่วนด้านไม่เห็นด้วย ร้อยละ 56.5 นั้นให้ความเห็นว่า ทำให้ถนนชำรุด 78.6 % ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย 25 % ด้านสิ้นเปลืองงบประมาณการซ่อมถนน 11.4 % ด้านเพิ่งมลพิษ 7.1 % ทำให้สภาพรถบรรทุกเสื่อมเร็ว 3.3 % ด้านอื่นๆอีก 7.6 % ส่วนไม่มีความเห็น คิดเป็นร้อยละ 19.4
ในด้านความคิดเห็น กรณีปัญหาชายแดนไทย | พม่า สิ่งสำคัญที่รัฐบาลไทย ควรแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนนั้น ร้อยละ 69.8 ไม่ยอมให้กองกำลังต่างชาติรุกล้ำดินแดนไทย ร้อยละ 55 เห็นว่า เจรจากับผู้นำของประเทศพม่าเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
ร้อยละ 52.6 นั้นเห็นว่าเจรจาร่วมมือกับประเทศพม่าปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 36.7 เห็นว่าทวงถามค่าเสียหายที่พม่ากระทำต่อประเทศไทย ร้อยละ 36.1 เห็นว่า กองทัพไทยควรตอบโต้ในทุกกรณีที่มีกองกำลังติดอาวุธรุกล้ำดินแดนไทยโดยไม่ต้องมีการเจรจาใดๆ ร้อยละ 35.9 เห็นว่า สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยต่อชาวโลก
ร้อยละ 35.3 เห็นว่า ฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวชายแดนไทย-พม่า ร้อยละ 27 เห็นว่า ร่วมมือกับประเทศพม่า แก้ปัญหาชนกลุ่มน้อย ส่วนในความพอใจต่อท่าทีกองทัพไทยกรณีปัญหาชายแดนนั้น ร้อยละ 67 พอใจ อีก 20.8 ไม่พอใจ ร้อยละ 12.2 ไม่มีความเห็น โดยกลุ่มไม่พอใจเห็นว่า ประเทศไทยไม่มีความจำเป็นต้องเจรจา / เสียศักดิ์ศรี
การเจรจาไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
ควรเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ หรือ กองทัพ มากกว่า
ต้องการให้นายกรัฐมนตรีไปเจรจาเอง
ควรมีการเจรจาที่ประเทศที่สามดีกว่าที่ประเทศพม่า
ประเทศไทยไม่ใช่ฝ่ายที่ก่อปัญหาขึ้นมา
--เอแบคโพลล์--