ที่มาของโครงการ
สถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่ามีข่าวสารที่ปรากฏผ่านทางสื่อมวลชนและกำลังอยู่ในความสนใจของประชาชนหลายประเด็นด้วยกัน โดยเฉพาะข่าวสารทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ในกรณีของการปลดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ และกรณีความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรี กับ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ซึ่งกำลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ติดตามข่าวสารทางการเมืองต่อประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการติดตามข่าวสารทางการเมือง
2. เพื่อสำรวจความมั่นใจในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน
3. เพื่อสำรวจความมั่นใจต่อรัฐบาลในการให้เสรีภาพการทำงานของสื่อมวลชน
4. เพื่อสำรวจความน่าเชื่อถือต่อ พ.ต.ท ดร.ทักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี)
5. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
6. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “การนำเสนอข่าวสารทางการเมืองและความคิดเห็นต่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 12 — 16 พฤศจิกายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,282 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “การนำเสนอข่าวสารทางการเมืองและความคิดเห็นต่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไป ในเขตกรุงเทพมหานคร” จำนวนทั้งสิ้น 1,282 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 12 - 16 พฤศจิกายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.7 เป็นหญิง ร้อยละ 49.3 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 4.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 23.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 83.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 15.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 24.4 ระบุอาชีพค้าขายทั่วไป / รายย่อย ร้อยละ 21.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 18.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 8.9 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 8.4 ระบุเป็นนักศึกษา ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นผู้ประกอบการ / เจ้าของกิจการ ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 3.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 2.1 ระบุช่วยงาน / กิจการของครอบครัว ร้อยละ 1.1 ระบุประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทนาย ฯลฯ ร้อยละ 0.7 อาชีพเกษตรกร และร้อยละ 0.2 อาชีพอื่นๆ
“ภาคใต้-น้ำมันแพง-หวัดนก” ข่าวเด่นที่คนสนใจมาก
ข่าวเด่นที่ตัวอย่างติดตามมากที่สุดในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาอันดับที่ 1 คือร้อยละ 88.8 ได้แก่ ข่าวความไม่สงบ 3 จังหวัดภาคใต้ รองลงมา คือร้อยละ 71.7 ข่าวราคาน้ำมันแพง ร้อยละ 70.0 ข่าวการแพร่ระบาดไข้หวัดนก ร้อยละ 55.9 ข่าวการห้ามตั้งบุหรี่โชว์ในร้านค้า และร้อยละ 44.5 ข่าวการทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิตามลำดับ
ส่วนในด้านข่าวที่เกี่ยวกับการที่สื่อมวลชนถูกกระทำ ที่ประชาชนติดตาม (รับรู้) มากที่สุดได้แก่ข่าวการข่มขู่ / คุกคาม / ทำร้ายนักข่าว คิดเป็นร้อยละ 58.0 รองลงมาคือข่าวนักการเมืองฟ้องคดีสื่อมวลชน คิดเป็นร้อยละ 36.1 และข่าวปลดรายการวิเคราะห์การเมืองทางทีวี คิดเป็นร้อยละ 33.0
เปรียบเทียบ “ข่าวยกย่อง — ข่าวท้วงติงรัฐบาล”
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงการนำเสนอข่าวสารทางการเมืองของสื่อมวลชนในด้านต่างๆ พบว่า การนำเสนอข่าวในด้าน “การยกย่องชมเชย” และข่าวด้าน “วิพากษ์ท้วงติง” การทำงานของรัฐบาลตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าสื่อมวลชนมีการนำเสนอข่าวดังกล่าวพอดีแล้ว
โดยข่าวที่ยกย่องชมเชยรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.2 ระบุมากเกินไป ร้อยละ 16.4 น้อยเกินไป และร้อยละ 53.4 เห็นว่าพอดีแล้ว ส่วนข่าวที่วิพากษ์ท้วงติงรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 22.9 ระบุมากเกินไป ร้อยละ 33.9 น้อยเกินไป และร้อยละ 43.2 เห็นว่าพอดีแล้ว
เสนอข่าวฝ่ายค้าน-ข่าวความเดือดร้อนของชาวบ้านน้อยเกินไป
ในขณะที่การนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของฝ่ายค้าน และข่าวปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่เห็นว่าสื่อมวลชนมีการนำเสนอ “น้อยเกินไป” โดยข่าวการทำงานของฝ่ายค้านร้อยละ 12.4 เห็นว่ามากเกินไป ขณะที่ร้อยละ 47.3 เห็นว่าน้อยเกินไป และร้อยละ 40.3 เห็นว่าพอดีแล้ว ส่วนข่าวความเดือดร้อนของประชาชน มีเพียงร้อยละ 8.8 ที่เห็นว่ามากเกินไป ในขณะที่ร้อยละ 59.3 เห็นว่าน้อยเกินไป และร้อยละ 31.9 เห็นว่าพอดีแล้ว
ระบุ “ความไม่เป็นกลาง- การถูกคุกคาม-ไม่มีเสรีภาพ” คือเหตุสำคัญที่ทำให้สื่อไม่สามารถรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมได้
สำหรับความมั่นใจว่าสื่อมวลชนจะสามารถรักษาจุดยืนในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมได้หรือไม่นั้น ผลปรากฏว่าคนที่ “ไม่มั่นใจ” มีมากกว่าคนที่ “มั่นใจ”
ทั้งนี้ร้อยละ 33.2 ระบุไม่มั่นใจว่าสื่อมวลชนจะมีจุดยืนในการรักษาผลประโยชน์ต่อส่วนรวมได้ โดยให้เหตุผลสำคัญคือสื่อมวลชนวางตัวไม่เป็นกลาง มีการถูกคุกคามจากภาครัฐ/อิทธิพล ไม่มีเสรีภาพในการนำเสนอข่าว และสื่อมวลชนมีการนำเสนอข่าวบิดเบือนความจริง เป็นต้น
ในขณะที่ร้อยละ 22.8 ระบุว่ามั่นใจ โดยให้เหตุผลสำคัญคือ สื่อมวลชนมีฐานะเป็นตัวกลาง มีเสรีภาพในการทำงาน มีจรรยาบรรณ และความกล้าพูด/กล้าถาม เป็นต้น ส่วนที่เหลือร้อยละ 44.0 ไม่มีความเห็น
ชี้เหตุ “รัฐบาลมีอำนาจมาก” ทำให้กระทบต่อเสรีภาพของสื่อมวลชน
ส่วนประเด็นความมั่นใจว่ารัฐบาลจะให้เสรีภาพในการทำงานแก่สื่อมวลชนได้หรือไม่ ปรากฏว่าคนที่ “ไม่มั่นใจ” มีมากกว่าคนที่มั่นใจ
ทั้งนี้มีประชาชนมากกว่า 1 ใน 3 (ร้อยละ 34.9) ที่ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะให้ “เสรีภาพในการทำงาน” แก่สื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารได้อย่างแท้จริงได้ โดยให้เหตุผลคือ รัฐบาลมีอำนาจมาก/มีการแทรกแซงสื่อ และมองไม่เห็นการสนับสนุนเสรีภาพแก่สื่อมวลชนอย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้น
มีเพียงร้อยละ 15.1 ที่ระบุว่ามั่นใจ โดยให้เหตุผลคือ มีระบบกลไกการทำงานที่สามารถให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายได้ รัฐบาลสนับสนุน / ให้เสรีภาพในการทำงานของสื่ออยู่แล้ว นอกจากนี้ยังให้เหตุผลว่ามั่นใจเพราะสื่อมวลชนและรัฐบาลมีเป้าหมายร่วมกันคือต้องการพัฒนาบ้านเมืองและสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 50.0 ไม่มีความเห็น
“ไทยรักไทย” คะแนนนำ “ประชาธิปัตย์” ตามติด
ส่วนความคิดเห็นต่อประเด็นการเมือง คณะผู้วิจัยได้ถามตัวอย่างถึงความเชื่อถือต่อพรรคการเมืองต่าง ๆ พบว่า พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคที่ตัวอย่างให้ความน่าเชื่อถือมากที่สุด (ร้อยละ 44.3) รองลงมาได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 36.5) พรรคชาติไทย(ร้อยละ 23.5) และพรรคมหาชน (ร้อยละ 11.3) ตามลำดับ
คนกรุงยังเชื่อถือ “ทักษิณ”
นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงความน่าเชื่อถือต่อตัว พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.7 ให้ความเชื่อถือต่อท่านนายกทักษิณ ชินวัตร โดยให้เหตุผลสำคัญว่า ทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า พูดจริง/ ทำจริง มีความตั้งใจในการทำงาน มีความรู้/ความสามารถในการบริหารงาน
ส่วนคนที่ไม่เชื่อถือมีร้อยละ 19.4 โดยให้เหตุผลสำคัญว่า มีความไม่โปร่งใสในการทำงาน แก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ไม่ได้ มีการแบ่งพรรค/แบ่งพวก เป็นต้น และร้อยละ 35.9 ไม่มีความเห็น
น่าเป็นห่วงคนกรุง “ไม่ถึงครึ่ง” ที่ยังสนับสนุนรัฐบาล
ประเด็นที่น่าสนใจจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็คือการสนับสนุนให้รัฐบาล (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) บริหารประเทศต่อไป พบว่ามีตัวอย่าง “ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง” คือร้อยละ 39.9 ที่สนับสนุนให้รัฐบาลชุดปัจจุบันบริหารประเทศต่อ โดยให้เหตุผลว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณสามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐบาลที่ผ่านมามีการบริหารงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ตัวอย่างยังให้เหตุผลว่าผลงานที่ผ่านมามีความเด่นชัด ตลอดจนการมีความรู้/ความสามารถในการบริหารประเทศได้ ในขณะที่ร้อยละ 20.4 ไม่สนับสนุนให้บริหารประเทศต่อโดยให้เหตุผลสำคัญคือ ไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะปัญหา 3 จังหวัดชายภาคใต้ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น อยากได้คนรุ่นใหม่มาบริหารประเทศ ตามลำดับ และร้อยละ 39.7 ไม่มีความเห็น
คนกรุงเกือบ 1 ใน 3 เคยดูรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์”
สำหรับในกรณีรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์”ที่เคยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 พบว่ามีตัวอย่างประชาชนร้อยละ 30.3 ที่เคยดูรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
ประชาชนที่เคยดูรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ร้อยละ 68.7 ระบุว่าชอบรายการนี้ โดยให้เหตุผลว่า รายการนี้ให้ความรู้ในเรื่องที่น่าสนใจ/มีสาระ/มีประโยชน์ มีการวิจารณ์ได้ตรงไปตรงมา/กล้าพูด มีความคิดเห็นที่เจาะลึกและตรงประเด็น เป็นต้น ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 8.3 ที่ไม่ชอบ โดยให้เหตุผลว่าพูดแรงเกินไป/วิจารณ์แรงเกินไป ชอบเอาเบื้องสูงมาเล่น และให้ความคิดเห็นที่ไม่ดี/เสนอข่าวไม่สร้างสรรค์ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 23.0 ไม่มีความเห็น
ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ยังพบอีกว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.0 ให้ความน่าเชื่อถือในตัว “คุณสนธิ ลิ้มทองกุล” (ผู้จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์) มีเพียงร้อยละ 8.4 ที่ไม่น่าเชื่อถือ ส่วนร้อยละ 35.6 ไม่มีความเห็น
ผู้ชมส่วนใหญ่คัดค้าน “ปลด” เมืองไทยรายสัปดาห์ และอยากชมต่อ
เมื่อสอบถามกลุ่มผู้ชมรายการต่อการ“ปลด”รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ออกจากผังรายการของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 นั้น ร้อยละ 12.4 เห็นด้วยต่อการปลดครั้งนี้ ร้อยละ 61.1 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 26.5 ไม่มีความเห็น
และเมื่อสอบถามตัวอย่างต่อความสนใจที่จะติดตามชมรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” นั้น พบว่า กลุ่มคนที่เคยชมรายการนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.9 มีความสนใจที่จะติดตามชมรายการนี้ต่อไป ร้อยละ 14.9 ไม่สนใจ และร้อยละ 18.2 ไม่มีความเห็น
ชาวบ้านไม่เห็นด้วยที่ “ทักษิณ” ฟ้อง “สนธิ”
สำหรับการรับทราบว่า พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทเรียกค่าเสียหาย 500 ล้านบาทจากคุณสนธิ ลิ้มทองกุล นั้น ตัวอย่างร้อยละ 30.3 ระบุว่าทราบมาก่อน และร้อยละ 69.7 ไม่ทราบ (เพิ่งจะทราบ)
ในกลุ่มคนที่ทราบข่าวนี้ร้อยละ 18.2 เห็นด้วยที่ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ฟ้องร้องเอาผิดกับ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล โดยให้เหตุผลว่า เป็นการดูหมิ่นอย่างรุนแรง /ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ ให้ความคิดเห็นที่เกินความเป็นจริง เสนอข่าวแรงเกินไป จะได้ทราบข้อเท็จจริง เป็นต้น
ในขณะที่ร้อยละ 48.9 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ไม่ควรทำให้เป็นเรื่องใหญ่โต/ควรยอมความกันได้ ทุกคนสามารถวิจารณ์ผู้นำของประเทศได้ รายการนี้มีประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นต้น และร้อยละ 32.9 ไม่มีความเห็น
ประเด็นการนำเสนอในเมืองไทยรายสัปดาห์ที่คนสนใจ
คณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงประเด็นที่นำเสนอในรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” มีประเด็นใดที่น่าสนใจบ้าง ผลปรากฎว่าเรื่องที่น่าสนใจ 5 อันดับแรกได้แก่ เบื้องหลังความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 51.6) อภิมหาโกงโครงการสุวรรณภูมิ (ร้อยละ 42.4) การคอรัปชั่นของคนใกล้ชิดรัฐบาล (ร้อยละ 31.8) เส้นสายอำนาจเครือญาติชินวัตร (ร้อยละ 26.0) และแปรรูปรัฐวิสาหกิจใครได้ประโยชน์ (ร้อยละ 24.6) ตามลำดับ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน พบว่ามีข่าวสารที่ปรากฏผ่านทางสื่อมวลชนและกำลังอยู่ในความสนใจของประชาชนหลายประเด็นด้วยกัน โดยเฉพาะข่าวสารทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ในกรณีของการปลดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ และกรณีความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรี กับ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ซึ่งกำลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ติดตามข่าวสารทางการเมืองต่อประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการติดตามข่าวสารทางการเมือง
2. เพื่อสำรวจความมั่นใจในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน
3. เพื่อสำรวจความมั่นใจต่อรัฐบาลในการให้เสรีภาพการทำงานของสื่อมวลชน
4. เพื่อสำรวจความน่าเชื่อถือต่อ พ.ต.ท ดร.ทักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี)
5. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
6. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “การนำเสนอข่าวสารทางการเมืองและความคิดเห็นต่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 12 — 16 พฤศจิกายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,282 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “การนำเสนอข่าวสารทางการเมืองและความคิดเห็นต่อรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไป ในเขตกรุงเทพมหานคร” จำนวนทั้งสิ้น 1,282 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 12 - 16 พฤศจิกายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.7 เป็นหญิง ร้อยละ 49.3 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 4.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 23.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 83.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 15.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 24.4 ระบุอาชีพค้าขายทั่วไป / รายย่อย ร้อยละ 21.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 18.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 8.9 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 8.4 ระบุเป็นนักศึกษา ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นผู้ประกอบการ / เจ้าของกิจการ ร้อยละ 5.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 3.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 2.1 ระบุช่วยงาน / กิจการของครอบครัว ร้อยละ 1.1 ระบุประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทนาย ฯลฯ ร้อยละ 0.7 อาชีพเกษตรกร และร้อยละ 0.2 อาชีพอื่นๆ
“ภาคใต้-น้ำมันแพง-หวัดนก” ข่าวเด่นที่คนสนใจมาก
ข่าวเด่นที่ตัวอย่างติดตามมากที่สุดในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมาอันดับที่ 1 คือร้อยละ 88.8 ได้แก่ ข่าวความไม่สงบ 3 จังหวัดภาคใต้ รองลงมา คือร้อยละ 71.7 ข่าวราคาน้ำมันแพง ร้อยละ 70.0 ข่าวการแพร่ระบาดไข้หวัดนก ร้อยละ 55.9 ข่าวการห้ามตั้งบุหรี่โชว์ในร้านค้า และร้อยละ 44.5 ข่าวการทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิตามลำดับ
ส่วนในด้านข่าวที่เกี่ยวกับการที่สื่อมวลชนถูกกระทำ ที่ประชาชนติดตาม (รับรู้) มากที่สุดได้แก่ข่าวการข่มขู่ / คุกคาม / ทำร้ายนักข่าว คิดเป็นร้อยละ 58.0 รองลงมาคือข่าวนักการเมืองฟ้องคดีสื่อมวลชน คิดเป็นร้อยละ 36.1 และข่าวปลดรายการวิเคราะห์การเมืองทางทีวี คิดเป็นร้อยละ 33.0
เปรียบเทียบ “ข่าวยกย่อง — ข่าวท้วงติงรัฐบาล”
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงการนำเสนอข่าวสารทางการเมืองของสื่อมวลชนในด้านต่างๆ พบว่า การนำเสนอข่าวในด้าน “การยกย่องชมเชย” และข่าวด้าน “วิพากษ์ท้วงติง” การทำงานของรัฐบาลตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าสื่อมวลชนมีการนำเสนอข่าวดังกล่าวพอดีแล้ว
โดยข่าวที่ยกย่องชมเชยรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.2 ระบุมากเกินไป ร้อยละ 16.4 น้อยเกินไป และร้อยละ 53.4 เห็นว่าพอดีแล้ว ส่วนข่าวที่วิพากษ์ท้วงติงรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 22.9 ระบุมากเกินไป ร้อยละ 33.9 น้อยเกินไป และร้อยละ 43.2 เห็นว่าพอดีแล้ว
เสนอข่าวฝ่ายค้าน-ข่าวความเดือดร้อนของชาวบ้านน้อยเกินไป
ในขณะที่การนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับการทำงานของฝ่ายค้าน และข่าวปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน กลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มที่เห็นว่าสื่อมวลชนมีการนำเสนอ “น้อยเกินไป” โดยข่าวการทำงานของฝ่ายค้านร้อยละ 12.4 เห็นว่ามากเกินไป ขณะที่ร้อยละ 47.3 เห็นว่าน้อยเกินไป และร้อยละ 40.3 เห็นว่าพอดีแล้ว ส่วนข่าวความเดือดร้อนของประชาชน มีเพียงร้อยละ 8.8 ที่เห็นว่ามากเกินไป ในขณะที่ร้อยละ 59.3 เห็นว่าน้อยเกินไป และร้อยละ 31.9 เห็นว่าพอดีแล้ว
ระบุ “ความไม่เป็นกลาง- การถูกคุกคาม-ไม่มีเสรีภาพ” คือเหตุสำคัญที่ทำให้สื่อไม่สามารถรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมได้
สำหรับความมั่นใจว่าสื่อมวลชนจะสามารถรักษาจุดยืนในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมได้หรือไม่นั้น ผลปรากฏว่าคนที่ “ไม่มั่นใจ” มีมากกว่าคนที่ “มั่นใจ”
ทั้งนี้ร้อยละ 33.2 ระบุไม่มั่นใจว่าสื่อมวลชนจะมีจุดยืนในการรักษาผลประโยชน์ต่อส่วนรวมได้ โดยให้เหตุผลสำคัญคือสื่อมวลชนวางตัวไม่เป็นกลาง มีการถูกคุกคามจากภาครัฐ/อิทธิพล ไม่มีเสรีภาพในการนำเสนอข่าว และสื่อมวลชนมีการนำเสนอข่าวบิดเบือนความจริง เป็นต้น
ในขณะที่ร้อยละ 22.8 ระบุว่ามั่นใจ โดยให้เหตุผลสำคัญคือ สื่อมวลชนมีฐานะเป็นตัวกลาง มีเสรีภาพในการทำงาน มีจรรยาบรรณ และความกล้าพูด/กล้าถาม เป็นต้น ส่วนที่เหลือร้อยละ 44.0 ไม่มีความเห็น
ชี้เหตุ “รัฐบาลมีอำนาจมาก” ทำให้กระทบต่อเสรีภาพของสื่อมวลชน
ส่วนประเด็นความมั่นใจว่ารัฐบาลจะให้เสรีภาพในการทำงานแก่สื่อมวลชนได้หรือไม่ ปรากฏว่าคนที่ “ไม่มั่นใจ” มีมากกว่าคนที่มั่นใจ
ทั้งนี้มีประชาชนมากกว่า 1 ใน 3 (ร้อยละ 34.9) ที่ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะให้ “เสรีภาพในการทำงาน” แก่สื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารได้อย่างแท้จริงได้ โดยให้เหตุผลคือ รัฐบาลมีอำนาจมาก/มีการแทรกแซงสื่อ และมองไม่เห็นการสนับสนุนเสรีภาพแก่สื่อมวลชนอย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้น
มีเพียงร้อยละ 15.1 ที่ระบุว่ามั่นใจ โดยให้เหตุผลคือ มีระบบกลไกการทำงานที่สามารถให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายได้ รัฐบาลสนับสนุน / ให้เสรีภาพในการทำงานของสื่ออยู่แล้ว นอกจากนี้ยังให้เหตุผลว่ามั่นใจเพราะสื่อมวลชนและรัฐบาลมีเป้าหมายร่วมกันคือต้องการพัฒนาบ้านเมืองและสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 50.0 ไม่มีความเห็น
“ไทยรักไทย” คะแนนนำ “ประชาธิปัตย์” ตามติด
ส่วนความคิดเห็นต่อประเด็นการเมือง คณะผู้วิจัยได้ถามตัวอย่างถึงความเชื่อถือต่อพรรคการเมืองต่าง ๆ พบว่า พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคที่ตัวอย่างให้ความน่าเชื่อถือมากที่สุด (ร้อยละ 44.3) รองลงมาได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ (ร้อยละ 36.5) พรรคชาติไทย(ร้อยละ 23.5) และพรรคมหาชน (ร้อยละ 11.3) ตามลำดับ
คนกรุงยังเชื่อถือ “ทักษิณ”
นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงความน่าเชื่อถือต่อตัว พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.7 ให้ความเชื่อถือต่อท่านนายกทักษิณ ชินวัตร โดยให้เหตุผลสำคัญว่า ทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า พูดจริง/ ทำจริง มีความตั้งใจในการทำงาน มีความรู้/ความสามารถในการบริหารงาน
ส่วนคนที่ไม่เชื่อถือมีร้อยละ 19.4 โดยให้เหตุผลสำคัญว่า มีความไม่โปร่งใสในการทำงาน แก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ไม่ได้ มีการแบ่งพรรค/แบ่งพวก เป็นต้น และร้อยละ 35.9 ไม่มีความเห็น
น่าเป็นห่วงคนกรุง “ไม่ถึงครึ่ง” ที่ยังสนับสนุนรัฐบาล
ประเด็นที่น่าสนใจจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็คือการสนับสนุนให้รัฐบาล (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) บริหารประเทศต่อไป พบว่ามีตัวอย่าง “ไม่ถึงครึ่งหนึ่ง” คือร้อยละ 39.9 ที่สนับสนุนให้รัฐบาลชุดปัจจุบันบริหารประเทศต่อ โดยให้เหตุผลว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณสามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐบาลที่ผ่านมามีการบริหารงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ตัวอย่างยังให้เหตุผลว่าผลงานที่ผ่านมามีความเด่นชัด ตลอดจนการมีความรู้/ความสามารถในการบริหารประเทศได้ ในขณะที่ร้อยละ 20.4 ไม่สนับสนุนให้บริหารประเทศต่อโดยให้เหตุผลสำคัญคือ ไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะปัญหา 3 จังหวัดชายภาคใต้ ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น อยากได้คนรุ่นใหม่มาบริหารประเทศ ตามลำดับ และร้อยละ 39.7 ไม่มีความเห็น
คนกรุงเกือบ 1 ใน 3 เคยดูรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์”
สำหรับในกรณีรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์”ที่เคยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 พบว่ามีตัวอย่างประชาชนร้อยละ 30.3 ที่เคยดูรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
ประชาชนที่เคยดูรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ร้อยละ 68.7 ระบุว่าชอบรายการนี้ โดยให้เหตุผลว่า รายการนี้ให้ความรู้ในเรื่องที่น่าสนใจ/มีสาระ/มีประโยชน์ มีการวิจารณ์ได้ตรงไปตรงมา/กล้าพูด มีความคิดเห็นที่เจาะลึกและตรงประเด็น เป็นต้น ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 8.3 ที่ไม่ชอบ โดยให้เหตุผลว่าพูดแรงเกินไป/วิจารณ์แรงเกินไป ชอบเอาเบื้องสูงมาเล่น และให้ความคิดเห็นที่ไม่ดี/เสนอข่าวไม่สร้างสรรค์ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 23.0 ไม่มีความเห็น
ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ยังพบอีกว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.0 ให้ความน่าเชื่อถือในตัว “คุณสนธิ ลิ้มทองกุล” (ผู้จัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์) มีเพียงร้อยละ 8.4 ที่ไม่น่าเชื่อถือ ส่วนร้อยละ 35.6 ไม่มีความเห็น
ผู้ชมส่วนใหญ่คัดค้าน “ปลด” เมืองไทยรายสัปดาห์ และอยากชมต่อ
เมื่อสอบถามกลุ่มผู้ชมรายการต่อการ“ปลด”รายการเมืองไทยรายสัปดาห์ออกจากผังรายการของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 นั้น ร้อยละ 12.4 เห็นด้วยต่อการปลดครั้งนี้ ร้อยละ 61.1 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 26.5 ไม่มีความเห็น
และเมื่อสอบถามตัวอย่างต่อความสนใจที่จะติดตามชมรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” นั้น พบว่า กลุ่มคนที่เคยชมรายการนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.9 มีความสนใจที่จะติดตามชมรายการนี้ต่อไป ร้อยละ 14.9 ไม่สนใจ และร้อยละ 18.2 ไม่มีความเห็น
ชาวบ้านไม่เห็นด้วยที่ “ทักษิณ” ฟ้อง “สนธิ”
สำหรับการรับทราบว่า พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทเรียกค่าเสียหาย 500 ล้านบาทจากคุณสนธิ ลิ้มทองกุล นั้น ตัวอย่างร้อยละ 30.3 ระบุว่าทราบมาก่อน และร้อยละ 69.7 ไม่ทราบ (เพิ่งจะทราบ)
ในกลุ่มคนที่ทราบข่าวนี้ร้อยละ 18.2 เห็นด้วยที่ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ฟ้องร้องเอาผิดกับ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล โดยให้เหตุผลว่า เป็นการดูหมิ่นอย่างรุนแรง /ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ ให้ความคิดเห็นที่เกินความเป็นจริง เสนอข่าวแรงเกินไป จะได้ทราบข้อเท็จจริง เป็นต้น
ในขณะที่ร้อยละ 48.9 ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า ไม่ควรทำให้เป็นเรื่องใหญ่โต/ควรยอมความกันได้ ทุกคนสามารถวิจารณ์ผู้นำของประเทศได้ รายการนี้มีประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นต้น และร้อยละ 32.9 ไม่มีความเห็น
ประเด็นการนำเสนอในเมืองไทยรายสัปดาห์ที่คนสนใจ
คณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงประเด็นที่นำเสนอในรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” มีประเด็นใดที่น่าสนใจบ้าง ผลปรากฎว่าเรื่องที่น่าสนใจ 5 อันดับแรกได้แก่ เบื้องหลังความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 51.6) อภิมหาโกงโครงการสุวรรณภูมิ (ร้อยละ 42.4) การคอรัปชั่นของคนใกล้ชิดรัฐบาล (ร้อยละ 31.8) เส้นสายอำนาจเครือญาติชินวัตร (ร้อยละ 26.0) และแปรรูปรัฐวิสาหกิจใครได้ประโยชน์ (ร้อยละ 24.6) ตามลำดับ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-