ที่มาของโครงการ
ในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศฝ่ายบริหาร ซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้การปกครองตามระบอบ
ประชาธิปไตย ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีจึงนับว่ามีความสำคัญต่อความเชื่อมั่นของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาวิจัยความคิดเห็น
และความมั่นใจของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองโดยรวมของประเทศ
สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูล
เชิงสถิติศาสตร์เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ซึ่งคาดว่าจะเป็น
ประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองและสังคมโดยรวมได้ในทางใดทางหนึ่ง สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบ
รวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
เพื่อสำรวจทรรศนะของกลุ่มตัวอย่างประชาชนต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี
เพื่อสำรวจระดับความมั่นใจของประชาชนต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้
เรื่อง “สำรวจภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาทรรศนะของตัวอย่างประชาชนทั่วไปใน 13 จังหวัดทั่ว
ประเทศ” ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 12 - 19 เมษายน 2544
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบ่งกลุ่ม (stratified cluster sampling) ในการเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง 13 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร เชียงราย แพร่ เชียงใหม่ ชัยนาท กาญจนบุรี จันทบุรี อุบลราชธานี
ยโสธร ขอนแก่น ชุมพร สงขลา และสุราษฎร์ธานี หลังจากนั้นได้ใช้เทคนิคแบบ quota sampling ในการเข้าถึงกลุ่มตัวอย่าง
ให้มีลักษณะตัวแปรสอดคล้องกับลักษณะของประชากรที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ 2,450 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของ
มหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
ร้อยละ 51.5 ระบุเป็นหญิง
ขณะที่ร้อยละ 48.5 ระบุเป็นชาย
ซึ่งร้อยละ 28.4 ระบุอายุระหว่าง 30 - 39 ปี
รองลงมาคือร้อยละ 25.8 ระบุอายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 19.7 ระบุอายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 16.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ในขณะที่ร้อยละ 9.9 ระบุอายุน้อยกว่า 20 ปี
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.3 ระบุค้าขายส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 18.5 ระบุเป็นเกษตรกร
ร้อยละ 15.6 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.2 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.1 ระบุเป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.4 ระบุเป็นแม่บ้าน /เกษียณอายุ
และร้อยละ 4.8 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ
ร้อยละ 4.1 ระบุเป็นนักศึกษา
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39.7 ระบุสำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดที่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 28.6 สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลาย / ปวช.
ร้อยละ 17.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 12.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา / ปวส.
และร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตาราง ต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่นมาก 14.6
2 ค่อนข้างมาก 38.7
3 ค่อนข้างน้อย 21.4
4 น้อย 8.8
5 ไม่มีความเห็น 16.5
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า “ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องพ้นจากตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี เนื่องจากคดีปกปิดหุ้น จะทำให้คุณเสียความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหรือไม่
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เสียความเชื่อมั่น 37.6
2 ไม่เสียความเชื่อมั่น 37
3 ไม่มีความคิดเห็น 25.4
รวมทั้งสิ้น 100
จากการพิจารณาตารางที่ 1 และ 2 จะเห็นว่าประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 38.7
และร้อยละ 14.6 เชื่อมั่นค่อนข้างมากและเชื่อมั่นมากต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ
ในขณะที่ร้อยละ 21.4 และร้อยละ 8.8 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยและน้อย ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามว่า ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากคดีปกปิดหุ้น จะทำให้
ประชาชนเสียความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหรือไม่ ซึ่งผลสำรวจพบว่า สัดส่วนของตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันหรือก่ำกึ่งกันมาก
เนื่องจากร้อยละ 37.6 ระบุเสียความเชื่อมั่นแต่ร้อยละ 37.0 ไม่เสียความเชื่อมั่น ดังนั้นประเด็นที่น่าสนใจพิจารณาจึงอยู่ที่ตัวอย่างที่ไม่มี
ความเห็น ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 25.4
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงช่วงระยะเวลาที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า
ตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.3 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรอยู่จนครบวาระ อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 14.6 ระบุไม่ควร
เกิน 1 ปี ร้อยละ 14.9 ระบุอยู่ในช่วง 1 - 2 ปี ร้อยละ 6.8 ระบุ 2 - 3 ปี ในขณะที่ ร้อยละ 5.0 ระบุ 3 - 4 ปี และร้อยละ 7.4
ไม่ระบุช่วงเวลา ตามลำดับ (ดูตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า “ คุณคิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ควรเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกนานเพียงไร”
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 1 ปี 14.6
2 1-2 ปี 14.9
3 2-3 ปี 6.8
4 3-4 ปี 5
5 อยู่ครบวาระ 51.3
6 ไม่ระบุช่วงเวลา 7.4
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุภาพลักษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่ประทับใจ
(ตอบได้มากกว่า1 ข้อ)
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ประทับใจ ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจทำงานเพื่อแก้ปัญหาประเทศ 36.8
2 ประสบความสำเร็จด้านการทำธุรกิจ 19.1
3 รวดเร็วฉับไวในการเข้าถึงปัญหา 13.4
4 กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ 12
5 มีความเป็นผู้นำ 8.8
6 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 7.6
7 ทำงานตรงไปตรงมา 6.6
8 มีครอบครัวดี 6
9 มีอุดมการณ์ 4.5
10 อื่นๆ อาทิ มีมนุษยสัมพันธ์ / เห็นใจคนจน / วางแผนที่ดี / มีการศึกษาสูง เป็นต้น 17.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุภาพลักษณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่ไม่ประทับใจ
(ตอบได้มากกว่า1 ข้อ)
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ไม่ประทับใจ ค่าร้อยละ
1 การปกปิดหุ้น / การโอนหุ้น 41.3
2 ให้ความหวังแก่ประชาชนมากเกินไป 18.3
3 การแก้ปัญหาที่ฉาบฉวย 15.6
4 บุคคลแวดล้อมไม่น่าเลื่อมใสศรัทธา 9.1
5 เป็นนักธุรกิจมากเกิน 8.1
6 สร้างภาพ 2.9
7 ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ 2.7
8 อื่นๆ อาทิ ข่าวเลี่ยงการเสียภาษี / ช่วยพวกพ้อง / ไม่จริงใจ เป็นต้น 6.9
สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ (เอแบคโพลล์) 7191577 หรือ 7191550 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
ในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศฝ่ายบริหาร ซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ภายใต้การปกครองตามระบอบ
ประชาธิปไตย ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีจึงนับว่ามีความสำคัญต่อความเชื่อมั่นของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาวิจัยความคิดเห็น
และความมั่นใจของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองโดยรวมของประเทศ
สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูล
เชิงสถิติศาสตร์เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ซึ่งคาดว่าจะเป็น
ประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองและสังคมโดยรวมได้ในทางใดทางหนึ่ง สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบ
รวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
เพื่อสำรวจทรรศนะของกลุ่มตัวอย่างประชาชนต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี
เพื่อสำรวจระดับความมั่นใจของประชาชนต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้
เรื่อง “สำรวจภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาทรรศนะของตัวอย่างประชาชนทั่วไปใน 13 จังหวัดทั่ว
ประเทศ” ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 12 - 19 เมษายน 2544
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบ่งกลุ่ม (stratified cluster sampling) ในการเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง 13 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร เชียงราย แพร่ เชียงใหม่ ชัยนาท กาญจนบุรี จันทบุรี อุบลราชธานี
ยโสธร ขอนแก่น ชุมพร สงขลา และสุราษฎร์ธานี หลังจากนั้นได้ใช้เทคนิคแบบ quota sampling ในการเข้าถึงกลุ่มตัวอย่าง
ให้มีลักษณะตัวแปรสอดคล้องกับลักษณะของประชากรที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ 2,450 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของ
มหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
ร้อยละ 51.5 ระบุเป็นหญิง
ขณะที่ร้อยละ 48.5 ระบุเป็นชาย
ซึ่งร้อยละ 28.4 ระบุอายุระหว่าง 30 - 39 ปี
รองลงมาคือร้อยละ 25.8 ระบุอายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 19.7 ระบุอายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 16.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ในขณะที่ร้อยละ 9.9 ระบุอายุน้อยกว่า 20 ปี
นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.3 ระบุค้าขายส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 18.5 ระบุเป็นเกษตรกร
ร้อยละ 15.6 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.2 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.1 ระบุเป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.4 ระบุเป็นแม่บ้าน /เกษียณอายุ
และร้อยละ 4.8 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ
ร้อยละ 4.1 ระบุเป็นนักศึกษา
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39.7 ระบุสำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดที่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 28.6 สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลาย / ปวช.
ร้อยละ 17.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 12.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา / ปวส.
และร้อยละ 1.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตาราง ต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่นมาก 14.6
2 ค่อนข้างมาก 38.7
3 ค่อนข้างน้อย 21.4
4 น้อย 8.8
5 ไม่มีความเห็น 16.5
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า “ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องพ้นจากตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี เนื่องจากคดีปกปิดหุ้น จะทำให้คุณเสียความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหรือไม่
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เสียความเชื่อมั่น 37.6
2 ไม่เสียความเชื่อมั่น 37
3 ไม่มีความคิดเห็น 25.4
รวมทั้งสิ้น 100
จากการพิจารณาตารางที่ 1 และ 2 จะเห็นว่าประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 38.7
และร้อยละ 14.6 เชื่อมั่นค่อนข้างมากและเชื่อมั่นมากต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ
ในขณะที่ร้อยละ 21.4 และร้อยละ 8.8 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยและน้อย ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามว่า ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากคดีปกปิดหุ้น จะทำให้
ประชาชนเสียความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหรือไม่ ซึ่งผลสำรวจพบว่า สัดส่วนของตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันหรือก่ำกึ่งกันมาก
เนื่องจากร้อยละ 37.6 ระบุเสียความเชื่อมั่นแต่ร้อยละ 37.0 ไม่เสียความเชื่อมั่น ดังนั้นประเด็นที่น่าสนใจพิจารณาจึงอยู่ที่ตัวอย่างที่ไม่มี
ความเห็น ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 25.4
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงช่วงระยะเวลาที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า
ตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51.3 ระบุ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรอยู่จนครบวาระ อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 14.6 ระบุไม่ควร
เกิน 1 ปี ร้อยละ 14.9 ระบุอยู่ในช่วง 1 - 2 ปี ร้อยละ 6.8 ระบุ 2 - 3 ปี ในขณะที่ ร้อยละ 5.0 ระบุ 3 - 4 ปี และร้อยละ 7.4
ไม่ระบุช่วงเวลา ตามลำดับ (ดูตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า “ คุณคิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ควรเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกนานเพียงไร”
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 1 ปี 14.6
2 1-2 ปี 14.9
3 2-3 ปี 6.8
4 3-4 ปี 5
5 อยู่ครบวาระ 51.3
6 ไม่ระบุช่วงเวลา 7.4
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุภาพลักษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่ประทับใจ
(ตอบได้มากกว่า1 ข้อ)
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ประทับใจ ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจทำงานเพื่อแก้ปัญหาประเทศ 36.8
2 ประสบความสำเร็จด้านการทำธุรกิจ 19.1
3 รวดเร็วฉับไวในการเข้าถึงปัญหา 13.4
4 กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ 12
5 มีความเป็นผู้นำ 8.8
6 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 7.6
7 ทำงานตรงไปตรงมา 6.6
8 มีครอบครัวดี 6
9 มีอุดมการณ์ 4.5
10 อื่นๆ อาทิ มีมนุษยสัมพันธ์ / เห็นใจคนจน / วางแผนที่ดี / มีการศึกษาสูง เป็นต้น 17.4
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุภาพลักษณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่ไม่ประทับใจ
(ตอบได้มากกว่า1 ข้อ)
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ไม่ประทับใจ ค่าร้อยละ
1 การปกปิดหุ้น / การโอนหุ้น 41.3
2 ให้ความหวังแก่ประชาชนมากเกินไป 18.3
3 การแก้ปัญหาที่ฉาบฉวย 15.6
4 บุคคลแวดล้อมไม่น่าเลื่อมใสศรัทธา 9.1
5 เป็นนักธุรกิจมากเกิน 8.1
6 สร้างภาพ 2.9
7 ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ 2.7
8 อื่นๆ อาทิ ข่าวเลี่ยงการเสียภาษี / ช่วยพวกพ้อง / ไม่จริงใจ เป็นต้น 6.9
สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ (เอแบคโพลล์) 7191577 หรือ 7191550 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--