6 เดือนข้างหน้าของรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในสายตาประชาชน และเปรียบเทียบแนวโน้มความนิยมของประชาชนระหว่าง พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กับ นายชวน หลีกภัย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 22 จังหวัดทั่วประเทศ
ในช่วงเวลา 9 เดือน ที่รัฐบาลได้ทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ มานั้น มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมายที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่และปัญหาปากท้องของประชาชน ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐบาลยังไม่สามารถ ทำให้ความคาดหวังของประชาชนเป็นจริงขึ้นมาได้ ยิ่งไปกว่านั้นแล้วในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ยังมีข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลปรากฎสู่สายตา ของประชาชนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข่าวความแตกแยกของ ส.ส. ในพรรคร่วมรัฐบาล เหตุการณ์สภาฯล่ม รวมทั้งการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น โดยรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้
ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ 9 เดือนที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ร่วมกับภาควิชาสถิติ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น และ เครือข่ายสถาบันการศึกษาทั่วประเทศดำเนินโครงการวิจัยสัญญาณเตือนภัยต่อเสถียรภาพของรัฐบาล เพื่อค้นหาข้อมูลสำคัญจากทรรศนะของประชาชน ในส่วนที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 21 พ.ย. | 9 ธ.ค. 2544 ประเด็นสำคัญที่ ค้นพบได้แก่
ความมั่นใจของตัวอย่างต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า ประชาชนมั่นใจ ร้อยละ 9.3 ลดลง -3.7 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 20.8 ลดลง -7.3 และส่วนใหญ่ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 45.3 เพิ่มขึ้น +6.2 หรือ ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 16.2 เพิ่มขึ้น +5.0 ทางด้านความมั่นใจต่อความสามัคคีไม่แตกแยก ระหว่าง ส.ส. ของรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผลระบุประชาชนมั่นใจ ร้อยละ 8.1 ลดลง -2.5 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 14.7 ลดลง -3.9 และส่วนใหญ่ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 40.6 เพิ่มขึ้น +1.0 หรือ ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 24.8 เพิ่มขึ้น +6.8
ความมั่นใจต่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้ในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น ประชาชนมั่นใจ ร้อยละ 7.3 ลดลง -3.1 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 14.7 ลดลง -5.7 และส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 41.4 เพิ่มขึ้น +1.5 หรือ ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 30.6 เพิ่มขึ้น +8.2 และ ความมั่นใจต่อการแก้ปัญหายาเสพย์ติดได้ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ประชาชน มั่นใจ ร้อยละ 9.7 ลดลง -6.7 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 20.3 ลดลง -7.3 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 36.7 เพิ่มขึ้น +3.7 หรือ ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 29.3 เพิ่มขึ้น +11.3 สรุปแล้วประชาชนมีความมั่นใจในทิศทางที่ลดลงต่อการแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ของรัฐบาล
ส่วนความนิยมต่อ นายชวน หลีกภัย ร้อยละ 15.1 เพิ่มขึ้น 0.6 และ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 48.2 ลดลง -4.1 ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยขึ้นสูงสุด ถึงร้อยละ 71.9 ในเดือนพฤษภาคม แต่ในการสำรวจครั้งล่าสุด พบว่าความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ลดลงกว่าร้อยละ 20 และเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มประชาชนผู้ไม่ระบุความนิยมต่อใครเลย มีแนวโน้มสัดส่วนสูงขึ้นมาโดยตลอด จนในครั้งล่าสุดมีจำนวนเกินกว่า 1 ใน 3 เล็กน้อย หรือร้อยละ 36.7 จากทั้งหมด ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ประชาชนยังต้องการให้โอกาสรัฐบาล ทำงานต่อไป ร้อยละ 66.5 ไม่ต้องการ ร้อยละ 5.2
--เอแบคโพลล์--
ในช่วงเวลา 9 เดือน ที่รัฐบาลได้ทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ มานั้น มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมายที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่และปัญหาปากท้องของประชาชน ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐบาลยังไม่สามารถ ทำให้ความคาดหวังของประชาชนเป็นจริงขึ้นมาได้ ยิ่งไปกว่านั้นแล้วในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ยังมีข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลปรากฎสู่สายตา ของประชาชนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของข่าวความแตกแยกของ ส.ส. ในพรรคร่วมรัฐบาล เหตุการณ์สภาฯล่ม รวมทั้งการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น โดยรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้
ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ 9 เดือนที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ร่วมกับภาควิชาสถิติ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น และ เครือข่ายสถาบันการศึกษาทั่วประเทศดำเนินโครงการวิจัยสัญญาณเตือนภัยต่อเสถียรภาพของรัฐบาล เพื่อค้นหาข้อมูลสำคัญจากทรรศนะของประชาชน ในส่วนที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 21 พ.ย. | 9 ธ.ค. 2544 ประเด็นสำคัญที่ ค้นพบได้แก่
ความมั่นใจของตัวอย่างต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า ประชาชนมั่นใจ ร้อยละ 9.3 ลดลง -3.7 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 20.8 ลดลง -7.3 และส่วนใหญ่ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 45.3 เพิ่มขึ้น +6.2 หรือ ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 16.2 เพิ่มขึ้น +5.0 ทางด้านความมั่นใจต่อความสามัคคีไม่แตกแยก ระหว่าง ส.ส. ของรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผลระบุประชาชนมั่นใจ ร้อยละ 8.1 ลดลง -2.5 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 14.7 ลดลง -3.9 และส่วนใหญ่ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 40.6 เพิ่มขึ้น +1.0 หรือ ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 24.8 เพิ่มขึ้น +6.8
ความมั่นใจต่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นได้ในอีก 6 เดือนข้างหน้านั้น ประชาชนมั่นใจ ร้อยละ 7.3 ลดลง -3.1 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 14.7 ลดลง -5.7 และส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 41.4 เพิ่มขึ้น +1.5 หรือ ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 30.6 เพิ่มขึ้น +8.2 และ ความมั่นใจต่อการแก้ปัญหายาเสพย์ติดได้ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ประชาชน มั่นใจ ร้อยละ 9.7 ลดลง -6.7 ค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 20.3 ลดลง -7.3 ไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 36.7 เพิ่มขึ้น +3.7 หรือ ไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 29.3 เพิ่มขึ้น +11.3 สรุปแล้วประชาชนมีความมั่นใจในทิศทางที่ลดลงต่อการแก้ไขปัญหาสำคัญๆ ของรัฐบาล
ส่วนความนิยมต่อ นายชวน หลีกภัย ร้อยละ 15.1 เพิ่มขึ้น 0.6 และ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 48.2 ลดลง -4.1 ซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่เคยขึ้นสูงสุด ถึงร้อยละ 71.9 ในเดือนพฤษภาคม แต่ในการสำรวจครั้งล่าสุด พบว่าความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ลดลงกว่าร้อยละ 20 และเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มประชาชนผู้ไม่ระบุความนิยมต่อใครเลย มีแนวโน้มสัดส่วนสูงขึ้นมาโดยตลอด จนในครั้งล่าสุดมีจำนวนเกินกว่า 1 ใน 3 เล็กน้อย หรือร้อยละ 36.7 จากทั้งหมด ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ประชาชนยังต้องการให้โอกาสรัฐบาล ทำงานต่อไป ร้อยละ 66.5 ไม่ต้องการ ร้อยละ 5.2
--เอแบคโพลล์--