จากการเฝ้าระวังและติดตามคุณภาพของเยาวชนไทยที่อยู่ในระบบการศึกษาอันเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนา และความเจริญของประเทศ พบว่ามีนักเรียน - นักศึกษาจำนวนมากที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียคุณภาพที่ดี ของทรัพยากรมนุษย์ไปอย่างน่าเสียดาย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการวิจัยภาคสนามครั้งนี้ขึ้นเพื่อชี้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของสิ่งเสพติดในกลุ่มนักเรียน - นักศึกษา รวมทั้งปัจจัยสำคัญในพฤติกรรมของนักเรียน - นักศึกษาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 6 กันยายน 2544 โดยพบว่า
นักเรียน - นักศึกษาที่สูบบุหรี่ มีร้อยละ 23.0
ดื่มเหล้า ร้อยละ 57.5
ดื่มเบียร์ / ไวน์ ร้อยละ 78.9
ดื่มน้ำผลไม้ผสมเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ร้อยละ 69.6
เมื่อดูในกลุ่มที่สูบบุหรี่ พบว่า ร้อยละ 33.9 เกี่ยวข้องกับยาเสพติดชนิดอื่นๆ อาทิ ยาบ้า กัญชา ยากล่อมประสาท ยาอี ยาเลิฟ เป็นต้น
ในกลุ่มที่ดื่มเหล้า ร้อยละ 22.4
กลุ่มที่ดื่มเบียร์ / ไวน์ ร้อยละ 17.2
ดื่มน้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอล์ ร้อยละ 17.7
จากการพิจารณาพบว่า พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียงลำดับดังนี้
อันดับที่ 1 ได้แก่ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ .423
อันดับที่ 2 ได้แก่ พฤติกรรมการดื่มสุราาบ้า ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ .334
อันดับที่ 3 ได้แก่ พฤติกรรมการดื่มเบียร์ / ไวน์ ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ .267
อันดับที่ 4 ได้แก่ พฤติกรรมการดื่มน้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอล์ ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ .254
ในขณะที่ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีสัดส่วนของนักเรียนนักศึกษา ส่วนใหญ่ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
--เอแบคโพลล์--
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการวิจัยภาคสนามครั้งนี้ขึ้นเพื่อชี้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของสิ่งเสพติดในกลุ่มนักเรียน - นักศึกษา รวมทั้งปัจจัยสำคัญในพฤติกรรมของนักเรียน - นักศึกษาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 6 กันยายน 2544 โดยพบว่า
นักเรียน - นักศึกษาที่สูบบุหรี่ มีร้อยละ 23.0
ดื่มเหล้า ร้อยละ 57.5
ดื่มเบียร์ / ไวน์ ร้อยละ 78.9
ดื่มน้ำผลไม้ผสมเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ร้อยละ 69.6
เมื่อดูในกลุ่มที่สูบบุหรี่ พบว่า ร้อยละ 33.9 เกี่ยวข้องกับยาเสพติดชนิดอื่นๆ อาทิ ยาบ้า กัญชา ยากล่อมประสาท ยาอี ยาเลิฟ เป็นต้น
ในกลุ่มที่ดื่มเหล้า ร้อยละ 22.4
กลุ่มที่ดื่มเบียร์ / ไวน์ ร้อยละ 17.2
ดื่มน้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอล์ ร้อยละ 17.7
จากการพิจารณาพบว่า พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียงลำดับดังนี้
อันดับที่ 1 ได้แก่ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ .423
อันดับที่ 2 ได้แก่ พฤติกรรมการดื่มสุราาบ้า ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ .334
อันดับที่ 3 ได้แก่ พฤติกรรมการดื่มเบียร์ / ไวน์ ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ .267
อันดับที่ 4 ได้แก่ พฤติกรรมการดื่มน้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอล์ ขนาดความสัมพันธ์เท่ากับ .254
ในขณะที่ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีสัดส่วนของนักเรียนนักศึกษา ส่วนใหญ่ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
--เอแบคโพลล์--