ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง
การสืบค้นข้อเท็จจริง (fact findings) ในสงครามแย่งชิงเวลาดี (ไพร์มไทม์) ของสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอข่าวพรรคการเมืองเพื่อชนะการ
เลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9 — 24 พฤศจิกายน 2550 ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสังเกตการณ์และจดบันทึกเทป
วิดีโอข้อมูลการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ TITV ในช่วงข่าว
ภาคเย็นและค่ำ (17.00 — 22.00 น.) โดยทำการบันทึกเทประหว่างวันที่ 9 — 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
ดร.นพดล กล่าวถึงที่มาของโครงการวิจัยครั้งนี้ว่า การศึกษาวิจัยครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะได้ทบทวนผลวิจัยก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า สื่อโทรทัศน์เป็น
สื่อที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกว่าร้อยละ 90 ได้ติดตามข่าวสารประจำวันโดยเฉพาะช่วงเวลาดีของข่าวภาคเย็นและค่ำ และจากการวิจัยหลาย
โครงการที่ผ่านมาพบว่า ข่าวสารที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อโทรทัศน์ถูกจัดอันดับให้เป็นสื่อที่ประชาชนส่วนใหญ่ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากเป็น
อันดับต้นๆ ของข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนได้รับแต่ละวัน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สำหรับผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า พรรคพลังประชาชนได้รับการนำเสนอ 121 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 20.6 ของข่าว
ทั้งหมดที่ได้รับการนำเสนอ รองลงมาคือ พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ 107 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 18.2 อันดับสามได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 99 ข่าว คิด
เป็นร้อยละ 16.8 อันดับสี่ได้แก่ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ได้ 77 ข่าว หรือคิดเป็นร้อยละ 13.1 อันดับห้าได้แก่ พรรคมัชฌิมาธิปไตยได้ 61 ข่าว
หรือคิดเป็นร้อยละ 10.4 อันดับหกได้แก่ พรรคชาติไทยได้ 51 ข่าว หรือคิดเป็นร้อยละ 8.7 อันดับเจ็ด และอันดับแปดได้แก่ พรรคประชาราช และ
พรรคประชามติ ได้ 14 ข่าวหรือร้อยละ 2.4 เท่ากัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ระยะเวลารวมของแต่ละพรรคการเมือง กลับพบว่า พรรคการเมืองที่ได้ระยะเวลารวมของการถูกนำเสนอ
เป็นข่าวมากที่สุดอันดับที่หนึ่งได้แก่ พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ 203 นาที 8 วินาที อันดับที่สองได้แก่ พรรคพลังประชาชน ได้ 132 นาที 26 วินาที อันดับที่
สามได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 107 นาที 13 วินาที อันดับที่สี่ได้แก่ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ได้ 91 นาที 23 วินาที อันดับที่ห้าได้แก่ พรรค
มัชฌิมาธิปไตย ได้ 42 นาที 57 วินาที และอันดับที่หกได้แก่ พรรคชาติไทย ได้ 37 นาที 57 วินาที ตามลำดับ
และเมื่อพิจารณาในรายละเอียดของรูปแบบข่าวที่ได้รับการนำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์ พบว่า เรื่องการนำเสนอข่าวที่เป็นการให้สัมภาษณ์หัว
หน้าพรรคและสมาชิกพรรค อันดับที่หนึ่ง พรรคเพื่อแผ่นดินได้ 105 นาที 57 วินาที อันดับสอง พรรคประชาธิปัตย์ได้ 41 นาที 47 วินาที และอันดับที่
สาม พรรคพลังประชาชนได้ 24 นาที 58 วินาที ตามลำดับ เรื่องการนำเสนอข่าวที่เป็นภาพขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียง อันดับหนึ่ง ได้แก่ พรรคประชาธิ
ปัตย์ ได้ 13 นาที 33 วินาที อันดับสองได้แก่ พรรคพลังประชาชน ได้ 13 นาที และอันดับที่สาม ได้แก่ พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ 2 นาที 19 วินาที ตาม
ลำดับ ในขณะที่ภาพข่าวการลงพื้นที่หาเสียง พบว่าอันดับที่หนึ่งได้แก่ พรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ 13 นาที 5 วินาที อันดับที่สองได้แก่ พรรคเพื่อแผ่นดิน
ได้ 12 นาที 32 วินาที และอันดับสามได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 12 นาที 23 วินาที ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบผลวิจัยครั้งนี้กับผลวิจัยในเรื่องเดียวกันช่วงปี พ.ศ. 2548 และ ปีพ.ศ. 2549 พบว่า การนำเสนอ
ข่าวของสื่อโทรทัศน์โดยภาพรวมในการวิจัยครั้งนี้ดูจะให้ความเป็นธรรมกับพรรคการเมืองต่างๆ มากขึ้น คือกระจายจำนวนข่าวและเวลาของการนำ
เสนอข่าวไปยังพรรคการเมืองต่างๆ อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น เพราะข้อมูลที่เคยวิจัยไว้ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า มีการนำ
เสนอข่าวช่วงหนึ่งในการรณรงค์หาเสียงของพรรคไทยรักไทย มีข่าวของพรรคไทยรักไทยมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ถึงเกือบ 3 เท่า คือเป็นข่าวของ
พรรคไทยรักไทย 369 ครั้ง ในขณะที่เป็นข่าวของพรรคประชาธิปัตย์ 136 ครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อหาของข่าวที่ถูกนำเสนอก็เป็นข่าวด้านบวกต่อพรรค
ไทยรักไทยเพราะหัวหน้าพรรคไทยรักไทยอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงให้ข่าวถึงผลงานของรัฐบาล ข่าวนโยบายใหม่ของรัฐบาล ขณะที่พรรคการเมือง
อื่นๆ จะถูกนำเสนอข่าวขึ้นโรงพัก ถูกดำเนินคดีต่างๆ และถ้าเป็นภาพข่าวของพรรคการเมืองคู่แข่งกับรัฐบาลก็จะได้รับการนำเสนอข่าวลงพื้นที่หาเสียงที่
มีประชาชนสนับสนุนเพียงเล็กน้อย เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าวิเคราะห์ผลวิจัยครั้งนี้ในรายละเอียดของกลยุทธหาเสียงพรรคการเมืองต่างๆ จะพบว่า แกนนำของพรรค
ไทยรักไทยเดิมได้แยกออกเป็น พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ถ้ารวมจำนวนข่าว เนื้อหา
ข่าวเช่น การลงพื้นที่หาเสียง ข่าวนโยบายพรรค ข่าวขึ้นเวทีปราศรัย และระยะเวลาเป็นนาทีของการนำเสนอข่าวรวมกันแล้วก็จะได้จำนวนข่าว
เนื้อหาข่าว และจำนวนเวลาของการนำเสนอข่าว มากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย จนอาจเกิดคำถามวิจัยว่า พรรคไทยรักไทยเดิมกำลัง
เดินเกมการเมืองเพื่อชนะการเลือกตั้งแบบ “แยกกันตี” เพื่อกลับมา “รวมกันใหม่” แบบจับขั้วการเมืองและเข้าสู่เส้นทางการครอบครองอำนาจรัฐหรือ
ไม่
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ เกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ
2. เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการนำเสนอข่าวของแต่ละพรรคการเมือง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการวิจัยครั้งนี้ ได้จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 9-24 พฤศจิกายน 2550 ทั้งนี้โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกตการณ์
(Observation Method) และจดบันทึกเทปวีดีโอข้อมูลการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ช่อง 3 ช่อง 5
ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ TITV ในช่วง 17.00 น. — 22.00 น. ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. จนถึง วันที่ 20 พ.ย. 2550
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนข่าวของพรรคการเมืองที่ถูกนำเสนอในสื่อโทรทัศน์ในช่วงระยะเวลาทำการสำรวจ
พรรคการเมือง จำนวนข่าว คิดเป็นร้อยละ
1. พรรคพลังประชาชน 121 20.6
2. พรรคเพื่อแผ่นดิน 107 18.2
3. พรรคประชาธิปัตย์ 99 16.8
4. พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 77 13.1
5. พรรคมัชฌิมาธิปไตย 61 10.4
6. พรรคชาติไทย 51 8.7
7. พรรคประชาราช 14 2.4
8. พรรคประชามติ 14 2.4
9. อื่นๆ อาทิ พรรคความหวังใหม่ /พรรคประชากรไทย/
และพรรคพลังแผ่นดินไทย 44 7.4
รวมทั้งสิ้น 588 ข่าว 100.0
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนเวลาในการถูกนำเสนอข่าวพรรคการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ในระหว่างที่มีการจดบันทึก
พรรคการเมืองและรูปแบบข่าว เพื่อแผ่นดิน รวมใจไทยฯ ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน ชาติไทย มัชฌิมาธิปไตย
การหาเสียงที่ถูกนำเสนอ
1. เวทีปราศรัยหาเสียง 2 นาที / 1 นาที / 13 นาที/ 13 นาที 50 วินาที 1 นาที /
19 วินาที 40 วินาที 33 วินาที 17 วินาที
2. ลงพื้นที่หาเสียง 12 นาที/ 6 นาที/ 12 นาที/ 4 นาที / 3 นาที/ 13 นาที/
32 วินาที 31 วินาที 23 วินาที 25 วินาที 2 วินาที 5 วินาที
3. แถลงนโยบายพรรคทางโทรทัศน์ 38 นาที 6 นาที/ 22 นาที/ 5 นาที/ 1 นาที / 32 วินาที
37 วินาที 9 วินาที 28 วินาที 2 วินาที
4. การให้สัมภาษณ์ 105 นาที/ 20 นาที/ 41 นาที/ 24 นาที/ 8 นาที 12 นาที
57 วินาที 40 วินาที 47 วินาที 58 วินาที 15 วินาที
5. อื่นๆ 44 นาที/ 54 นาที/ 17 นาที/ 84 นาที/ 25 นาที / 15 นาที/
20 วินาที 55 วินาที 21 วินาที 35 วินาที 3 วินาที 48 วินาที
รวมเวลาทั้งสิ้น 203 นาที 91 นาที 107 นาที 132 นาที 37 นาที 42 นาที
8 วินาที 23 วินาที 13 วินาที 26 วินาที 57 วินาที 57 วินาที
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การสืบค้นข้อเท็จจริง (fact findings) ในสงครามแย่งชิงเวลาดี (ไพร์มไทม์) ของสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอข่าวพรรคการเมืองเพื่อชนะการ
เลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 โดยดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 9 — 24 พฤศจิกายน 2550 ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสังเกตการณ์และจดบันทึกเทป
วิดีโอข้อมูลการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ TITV ในช่วงข่าว
ภาคเย็นและค่ำ (17.00 — 22.00 น.) โดยทำการบันทึกเทประหว่างวันที่ 9 — 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
ดร.นพดล กล่าวถึงที่มาของโครงการวิจัยครั้งนี้ว่า การศึกษาวิจัยครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะได้ทบทวนผลวิจัยก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า สื่อโทรทัศน์เป็น
สื่อที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกว่าร้อยละ 90 ได้ติดตามข่าวสารประจำวันโดยเฉพาะช่วงเวลาดีของข่าวภาคเย็นและค่ำ และจากการวิจัยหลาย
โครงการที่ผ่านมาพบว่า ข่าวสารที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อโทรทัศน์ถูกจัดอันดับให้เป็นสื่อที่ประชาชนส่วนใหญ่ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากเป็น
อันดับต้นๆ ของข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนได้รับแต่ละวัน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สำหรับผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า พรรคพลังประชาชนได้รับการนำเสนอ 121 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 20.6 ของข่าว
ทั้งหมดที่ได้รับการนำเสนอ รองลงมาคือ พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ 107 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 18.2 อันดับสามได้แก่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 99 ข่าว คิด
เป็นร้อยละ 16.8 อันดับสี่ได้แก่ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ได้ 77 ข่าว หรือคิดเป็นร้อยละ 13.1 อันดับห้าได้แก่ พรรคมัชฌิมาธิปไตยได้ 61 ข่าว
หรือคิดเป็นร้อยละ 10.4 อันดับหกได้แก่ พรรคชาติไทยได้ 51 ข่าว หรือคิดเป็นร้อยละ 8.7 อันดับเจ็ด และอันดับแปดได้แก่ พรรคประชาราช และ
พรรคประชามติ ได้ 14 ข่าวหรือร้อยละ 2.4 เท่ากัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ระยะเวลารวมของแต่ละพรรคการเมือง กลับพบว่า พรรคการเมืองที่ได้ระยะเวลารวมของการถูกนำเสนอ
เป็นข่าวมากที่สุดอันดับที่หนึ่งได้แก่ พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ 203 นาที 8 วินาที อันดับที่สองได้แก่ พรรคพลังประชาชน ได้ 132 นาที 26 วินาที อันดับที่
สามได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 107 นาที 13 วินาที อันดับที่สี่ได้แก่ พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ได้ 91 นาที 23 วินาที อันดับที่ห้าได้แก่ พรรค
มัชฌิมาธิปไตย ได้ 42 นาที 57 วินาที และอันดับที่หกได้แก่ พรรคชาติไทย ได้ 37 นาที 57 วินาที ตามลำดับ
และเมื่อพิจารณาในรายละเอียดของรูปแบบข่าวที่ได้รับการนำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์ พบว่า เรื่องการนำเสนอข่าวที่เป็นการให้สัมภาษณ์หัว
หน้าพรรคและสมาชิกพรรค อันดับที่หนึ่ง พรรคเพื่อแผ่นดินได้ 105 นาที 57 วินาที อันดับสอง พรรคประชาธิปัตย์ได้ 41 นาที 47 วินาที และอันดับที่
สาม พรรคพลังประชาชนได้ 24 นาที 58 วินาที ตามลำดับ เรื่องการนำเสนอข่าวที่เป็นภาพขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียง อันดับหนึ่ง ได้แก่ พรรคประชาธิ
ปัตย์ ได้ 13 นาที 33 วินาที อันดับสองได้แก่ พรรคพลังประชาชน ได้ 13 นาที และอันดับที่สาม ได้แก่ พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ 2 นาที 19 วินาที ตาม
ลำดับ ในขณะที่ภาพข่าวการลงพื้นที่หาเสียง พบว่าอันดับที่หนึ่งได้แก่ พรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ 13 นาที 5 วินาที อันดับที่สองได้แก่ พรรคเพื่อแผ่นดิน
ได้ 12 นาที 32 วินาที และอันดับสามได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 12 นาที 23 วินาที ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบผลวิจัยครั้งนี้กับผลวิจัยในเรื่องเดียวกันช่วงปี พ.ศ. 2548 และ ปีพ.ศ. 2549 พบว่า การนำเสนอ
ข่าวของสื่อโทรทัศน์โดยภาพรวมในการวิจัยครั้งนี้ดูจะให้ความเป็นธรรมกับพรรคการเมืองต่างๆ มากขึ้น คือกระจายจำนวนข่าวและเวลาของการนำ
เสนอข่าวไปยังพรรคการเมืองต่างๆ อย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น เพราะข้อมูลที่เคยวิจัยไว้ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี พบว่า มีการนำ
เสนอข่าวช่วงหนึ่งในการรณรงค์หาเสียงของพรรคไทยรักไทย มีข่าวของพรรคไทยรักไทยมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ถึงเกือบ 3 เท่า คือเป็นข่าวของ
พรรคไทยรักไทย 369 ครั้ง ในขณะที่เป็นข่าวของพรรคประชาธิปัตย์ 136 ครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อหาของข่าวที่ถูกนำเสนอก็เป็นข่าวด้านบวกต่อพรรค
ไทยรักไทยเพราะหัวหน้าพรรคไทยรักไทยอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงให้ข่าวถึงผลงานของรัฐบาล ข่าวนโยบายใหม่ของรัฐบาล ขณะที่พรรคการเมือง
อื่นๆ จะถูกนำเสนอข่าวขึ้นโรงพัก ถูกดำเนินคดีต่างๆ และถ้าเป็นภาพข่าวของพรรคการเมืองคู่แข่งกับรัฐบาลก็จะได้รับการนำเสนอข่าวลงพื้นที่หาเสียงที่
มีประชาชนสนับสนุนเพียงเล็กน้อย เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าวิเคราะห์ผลวิจัยครั้งนี้ในรายละเอียดของกลยุทธหาเสียงพรรคการเมืองต่างๆ จะพบว่า แกนนำของพรรค
ไทยรักไทยเดิมได้แยกออกเป็น พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ถ้ารวมจำนวนข่าว เนื้อหา
ข่าวเช่น การลงพื้นที่หาเสียง ข่าวนโยบายพรรค ข่าวขึ้นเวทีปราศรัย และระยะเวลาเป็นนาทีของการนำเสนอข่าวรวมกันแล้วก็จะได้จำนวนข่าว
เนื้อหาข่าว และจำนวนเวลาของการนำเสนอข่าว มากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทย จนอาจเกิดคำถามวิจัยว่า พรรคไทยรักไทยเดิมกำลัง
เดินเกมการเมืองเพื่อชนะการเลือกตั้งแบบ “แยกกันตี” เพื่อกลับมา “รวมกันใหม่” แบบจับขั้วการเมืองและเข้าสู่เส้นทางการครอบครองอำนาจรัฐหรือ
ไม่
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ เกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ
2. เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการนำเสนอข่าวของแต่ละพรรคการเมือง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการวิจัยครั้งนี้ ได้จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 9-24 พฤศจิกายน 2550 ทั้งนี้โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกตการณ์
(Observation Method) และจดบันทึกเทปวีดีโอข้อมูลการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ช่อง 3 ช่อง 5
ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ TITV ในช่วง 17.00 น. — 22.00 น. ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย. จนถึง วันที่ 20 พ.ย. 2550
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนข่าวของพรรคการเมืองที่ถูกนำเสนอในสื่อโทรทัศน์ในช่วงระยะเวลาทำการสำรวจ
พรรคการเมือง จำนวนข่าว คิดเป็นร้อยละ
1. พรรคพลังประชาชน 121 20.6
2. พรรคเพื่อแผ่นดิน 107 18.2
3. พรรคประชาธิปัตย์ 99 16.8
4. พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 77 13.1
5. พรรคมัชฌิมาธิปไตย 61 10.4
6. พรรคชาติไทย 51 8.7
7. พรรคประชาราช 14 2.4
8. พรรคประชามติ 14 2.4
9. อื่นๆ อาทิ พรรคความหวังใหม่ /พรรคประชากรไทย/
และพรรคพลังแผ่นดินไทย 44 7.4
รวมทั้งสิ้น 588 ข่าว 100.0
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนเวลาในการถูกนำเสนอข่าวพรรคการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ในระหว่างที่มีการจดบันทึก
พรรคการเมืองและรูปแบบข่าว เพื่อแผ่นดิน รวมใจไทยฯ ประชาธิปัตย์ พลังประชาชน ชาติไทย มัชฌิมาธิปไตย
การหาเสียงที่ถูกนำเสนอ
1. เวทีปราศรัยหาเสียง 2 นาที / 1 นาที / 13 นาที/ 13 นาที 50 วินาที 1 นาที /
19 วินาที 40 วินาที 33 วินาที 17 วินาที
2. ลงพื้นที่หาเสียง 12 นาที/ 6 นาที/ 12 นาที/ 4 นาที / 3 นาที/ 13 นาที/
32 วินาที 31 วินาที 23 วินาที 25 วินาที 2 วินาที 5 วินาที
3. แถลงนโยบายพรรคทางโทรทัศน์ 38 นาที 6 นาที/ 22 นาที/ 5 นาที/ 1 นาที / 32 วินาที
37 วินาที 9 วินาที 28 วินาที 2 วินาที
4. การให้สัมภาษณ์ 105 นาที/ 20 นาที/ 41 นาที/ 24 นาที/ 8 นาที 12 นาที
57 วินาที 40 วินาที 47 วินาที 58 วินาที 15 วินาที
5. อื่นๆ 44 นาที/ 54 นาที/ 17 นาที/ 84 นาที/ 25 นาที / 15 นาที/
20 วินาที 55 วินาที 21 วินาที 35 วินาที 3 วินาที 48 วินาที
รวมเวลาทั้งสิ้น 203 นาที 91 นาที 107 นาที 132 นาที 37 นาที 42 นาที
8 วินาที 23 วินาที 13 วินาที 26 วินาที 57 วินาที 57 วินาที
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-