ที่มาของโครงการ
ในช่วง 2 — 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ปรากฏข่าวสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองเกิดขึ้นหลาก
หลายประเด็นซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนหมู่มาก ยังผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่าง
กว้างขวาง เช่น ปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหายาเสพติดที่ยังคงมี
อยู่ ปัญหามาเฟียในเมืองหลวง และปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการเมืองที่
สะท้อนถึงความขัดแย้งและความแตกแยกในกลุ่ม ส.ส. ของพรรคไทยรักไทย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญ
ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่
ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็น ทัศนคติของประชาชนต่อประเด็นสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่าง
ไรต่อประเด็นข่าวสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 31 มีนาคม — 2 เมษายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ใน
การสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,328 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.4 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.6 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.1อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ24.8 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 17.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 9.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.4 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป
และร้อยละ 3.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 31.6 อาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
รองลงมาคือร้อยละ21.2 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.1 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.3 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.2 เป็นนักศึกษา/นักเรียน
ร้อยละ9.6 ระบุอื่นๆ อาทิ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผล
สำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อประเด็นสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,328 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 31 มีนาคม — 2
เมษายน ปี พ.ศ. 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมิ่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวสำคัญต่างๆ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.3 ระบุ
ติดตามทุกวัน ร้อยละ 42.3 ระบุติดตามบางวัน ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 1.4 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงประเด็นข่าวปัญหาสำคัญที่กำลังสนใจติดตามนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 72.5 ระบุกำลังสนใจติดตามข่าวมาเฟียโบ๊เบ๊ รองลงมาคือ ร้อยละ 71.4 ระบุสนใจติดตามข่าว
ราคาน้ำมัน/ราคาสินค้าที่เพิ่งสูงขึ้น ร้อยละ 70.9 ระบุ ข่าวปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่นกรณี ทุบ
รถ ประจานรถยนต์ป้ายแดง ร้อยละ 66.0 ระบุข่าวแผ่นดินไหวและสึนามิรอบใหม่ และร้อยละ 58.1 ระบุข่าวปัญหา
ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามลำดับ สำหรับข่าวปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนาย
เสนาะ นั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 43.3 ระบุกำลังสนใจติดตามข่าวนี้อยู่
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาต่างๆนั้น พบ
ว่า ปัญหาที่ตัวอย่างระบุมีความมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ไขได้มากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ ปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างนายเสนาะกับนายกรัฐมนตรี (มั่นใจ ร้อยละ 53.7) รองลงมาคือปัญหายาเสพติด (มั่นใจร้อยละ 47.3)
และปัญหาภัยแล้ง (มั่นใจ ร้อยละ 41.7)
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างได้ระบุปัญหาที่ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะไม่สามารถแก้ไขได้ 3 อันดับแรกได้แก่ ปัญหา
ความยากจน (ไม่มั่นใจ ร้อยละ 57.8 ) ปัญหาราคาน้ำมัน/ราคาสินค้าสูงขึ้น (ไม่มั่นใจ ร้อยละ 56.0) และปัญหา
คอรัปชั่น (ไม่มั่นใจ ร้อยละ 55.6)
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อความชัดเจนในนโยบายโดยรวมของรัฐบาลทักษิณ 1 กับนโยบาย
โดยรวมของรัฐบาลทักษิณ 2 นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 34.7 ระบุนโยบายของรัฐบาลทักษิณ 1 มีความชัดเจน
มากกว่านโยบายของรัฐบาลทักษิณ 2 ในขณะที่ร้อยละ 21.5 ระบุนโยบายของรัฐบาลทักษิณ 2 ชัดเจนกว่านโยบาย
ของรัฐบาลทักษิณ 1 ร้อยละ 30.8 ระบุชัดเจนพอๆ กัน ร้อยละ 4.7 ระบุไม่ชัดเจนพอๆกัน และร้อยละ 8.3
ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ ผลการเปรียบเทียบความเชื่อมั่นของ
ประชาชนต่อรัฐบาลทักษิณที่จะอยู่จนครบวาระ 4 ปี ระหว่างการสำรวจในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2548 กับการสำรวจใน
ครั้งนี้ (ต้นเดือนเมษายน) ซึ่งพบว่า ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในครั้งนี้ ลดลงจากผลการสำรวจเมื่อ
เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยผลการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคมนั้น ตัวอย่างร้อยละ 70.4 ระบุมีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลทักษิณ
จะอยู่จนครบวาระ 4 ปี ในขณะที่ผลการสำรวจในครั้งนี้พบว่ามีตัวอย่างร้อยละ 62.9 ที่ระบุว่ามีความเชื่อมั่นใน
ประเด็นดังกล่าว ซึ่งลดลงจากเดิม และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เพิ่มเติมต่อไป ก็พบว่าสาเหตุที่ทำให้ประชาชนไม่เชื่อ
มั่นว่ารัฐบาลทักษิณจะอยู่จนครบวาระ 4 ปีนั้น เป็นเพราะประชาชนกำลังประสบปัญหา ความเดือดร้อนหลายประการ
เช่น ราคาน้ำมันและสินค้าที่สูงขึ้น ปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม ปัญหาความขัดแย้งภายในกลุ่มแกนนำของ
รัฐบาลเอง ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ปัญหา ม็อบต่างๆ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าว
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตามทุกวัน 56.3
2 ติดตามบางวัน 42.3
3 ไม่ได้ติดตามเลย 1.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวปัญหาสำคัญที่กำลังสนใจติดตาม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเด็นข่าวปัญหาที่กำลังสนใจติดตาม ค่าร้อยละ
1 มาเฟียโบ๊เบ๊ 72.5
2 ราคาน้ำมัน ราคาสินค้าสูงขึ้น 71.4
3 ปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น กรณีทุบรถ
ประจานรถยนต์ป้ายแดง 70.9
4 ข่าวแผ่นดินไหวและสึนามิรอบใหม่ 66.0
5 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 58.1
6 ปัญหาคอรัปชั่น 54.4
7 ปัญหายาเสพติด 51.7
8 ความขัดแย้งระหว่างนายเสนาะกับนายกรัฐมนตรี 43.3
9 ปัญหาม็อบต่างๆ 40.3
10 ปัญหาภัยแล้ง 36.7
11 อื่นๆ อาทิ ปัญหาความยากจน ปัญหาย้ายอุเทนถวาย 26.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหา
ลำดับที่ ประเด็นข่าวที่กำลังสนใจติดตาม มั่นใจ ไม่มั่นใจ ไม่มีความเห็น
1 มาเฟียโบ๊เบ๊ 38.2 38.9 22.9
2 ราคาน้ำมัน ราคาสินค้าสูงขึ้น 33.8 56.0 10.2
3 ปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น กรณีทุบรถ
ประจานรถยนต์ป้ายแดง 39.4 50.4 10.2
4 ข่าวแผ่นดินไหวและสึนามิรอบใหม่ 32.7 54.3 13.0
5 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 40.1 47.7 12.2
6 ปัญหาคอรัปชั่น 38.8 55.6 5.6
7 ปัญหายาเสพติด 47.3 43.9 8.8
8 ความขัดแย้งระหว่างนายเสนาะกับนายกรัฐมนตรี 53.7 24.8 21.5
9 ปัญหาม็อบต่างๆ 38.9 42.2 18.9
10 ปัญหาภัยแล้ง 41.7 30.4 27.9
11 ปัญหาความยากจน 25.6 57.8 16.6
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความชัดเจนในนโยบายโดยรวมของรัฐบาล
ทักษิณ 1 กับนโยบายโดยรวมของรัฐบาลทักษิณ 2
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชนต่อความชัดเจนในนโยบายรัฐบาลทักษิณ 1 และทักษิณ 2 ร้อยละ
1 นโยบายของรัฐบาลทักษิณ 1 ชัดเจนกว่านโยบายของรัฐบาลทักษิณ 2 34.7
2 นโยบายของรัฐบาลทักษิณ 2 ชัดเจนกว่านโยบายทักษิณ 1 21.5
3 ชัดเจนพอๆ กัน 30.8
4 ไม่ชัดเจนพอๆ กัน 4.7
5 ไม่มีความเห็น 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลทักษิณที่จะอยู่จนครบวาระ4 ปี
(ผลสำรวจระหว่างต้นเดือนมีนาคม กับต้นเดือนเมษายน ปีพ.ศ. 2548)
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลทักษิณที่จะอยู่จนครบวาระ ผลสำรวจ ผลสำรวจ
(12 มีนาคม) % (2 เมษายน) %
1 เชื่อมั่น 70.4 62.9
2 ไม่เชื่อมั่น 12.9 17.8
3 ไม่มีความเห็น 16.7 19.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
จากการสัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ประชาชนไม่เชื่อมั่น พบว่า
1. ประชาชนกำลังประสบปัญหาความเดือดร้อนหลายประการ เช่น ราคาน้ำมันและสินค้าที่สูงขึ้น
ปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม
2. ปัญหาความขัดแย้งภายในกลุ่มแกนนำของรัฐบาลเอง
3. ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
4. ปัญหาม็อบต่างๆ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในช่วง 2 — 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ปรากฏข่าวสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองเกิดขึ้นหลาก
หลายประเด็นซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนหมู่มาก ยังผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่าง
กว้างขวาง เช่น ปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหายาเสพติดที่ยังคงมี
อยู่ ปัญหามาเฟียในเมืองหลวง และปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการเมืองที่
สะท้อนถึงความขัดแย้งและความแตกแยกในกลุ่ม ส.ส. ของพรรคไทยรักไทย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญ
ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่
ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็น ทัศนคติของประชาชนต่อประเด็นสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่าง
ไรต่อประเด็นข่าวสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 31 มีนาคม — 2 เมษายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ใน
การสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,328 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.4 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.6 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.1อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ24.8 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 17.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 9.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.4 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป
และร้อยละ 3.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 31.6 อาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
รองลงมาคือร้อยละ21.2 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 20.1 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.3 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.2 เป็นนักศึกษา/นักเรียน
ร้อยละ9.6 ระบุอื่นๆ อาทิ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผล
สำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อประเด็นสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,328 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 31 มีนาคม — 2
เมษายน ปี พ.ศ. 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมิ่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามข่าวสำคัญต่างๆ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.3 ระบุ
ติดตามทุกวัน ร้อยละ 42.3 ระบุติดตามบางวัน ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 1.4 ระบุไม่ได้ติดตามเลย
ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงประเด็นข่าวปัญหาสำคัญที่กำลังสนใจติดตามนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 72.5 ระบุกำลังสนใจติดตามข่าวมาเฟียโบ๊เบ๊ รองลงมาคือ ร้อยละ 71.4 ระบุสนใจติดตามข่าว
ราคาน้ำมัน/ราคาสินค้าที่เพิ่งสูงขึ้น ร้อยละ 70.9 ระบุ ข่าวปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่นกรณี ทุบ
รถ ประจานรถยนต์ป้ายแดง ร้อยละ 66.0 ระบุข่าวแผ่นดินไหวและสึนามิรอบใหม่ และร้อยละ 58.1 ระบุข่าวปัญหา
ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามลำดับ สำหรับข่าวปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนาย
เสนาะ นั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 43.3 ระบุกำลังสนใจติดตามข่าวนี้อยู่
นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาต่างๆนั้น พบ
ว่า ปัญหาที่ตัวอย่างระบุมีความมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ไขได้มากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ ปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างนายเสนาะกับนายกรัฐมนตรี (มั่นใจ ร้อยละ 53.7) รองลงมาคือปัญหายาเสพติด (มั่นใจร้อยละ 47.3)
และปัญหาภัยแล้ง (มั่นใจ ร้อยละ 41.7)
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างได้ระบุปัญหาที่ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะไม่สามารถแก้ไขได้ 3 อันดับแรกได้แก่ ปัญหา
ความยากจน (ไม่มั่นใจ ร้อยละ 57.8 ) ปัญหาราคาน้ำมัน/ราคาสินค้าสูงขึ้น (ไม่มั่นใจ ร้อยละ 56.0) และปัญหา
คอรัปชั่น (ไม่มั่นใจ ร้อยละ 55.6)
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อความชัดเจนในนโยบายโดยรวมของรัฐบาลทักษิณ 1 กับนโยบาย
โดยรวมของรัฐบาลทักษิณ 2 นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 34.7 ระบุนโยบายของรัฐบาลทักษิณ 1 มีความชัดเจน
มากกว่านโยบายของรัฐบาลทักษิณ 2 ในขณะที่ร้อยละ 21.5 ระบุนโยบายของรัฐบาลทักษิณ 2 ชัดเจนกว่านโยบาย
ของรัฐบาลทักษิณ 1 ร้อยละ 30.8 ระบุชัดเจนพอๆ กัน ร้อยละ 4.7 ระบุไม่ชัดเจนพอๆกัน และร้อยละ 8.3
ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ ผลการเปรียบเทียบความเชื่อมั่นของ
ประชาชนต่อรัฐบาลทักษิณที่จะอยู่จนครบวาระ 4 ปี ระหว่างการสำรวจในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2548 กับการสำรวจใน
ครั้งนี้ (ต้นเดือนเมษายน) ซึ่งพบว่า ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในครั้งนี้ ลดลงจากผลการสำรวจเมื่อ
เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยผลการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคมนั้น ตัวอย่างร้อยละ 70.4 ระบุมีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลทักษิณ
จะอยู่จนครบวาระ 4 ปี ในขณะที่ผลการสำรวจในครั้งนี้พบว่ามีตัวอย่างร้อยละ 62.9 ที่ระบุว่ามีความเชื่อมั่นใน
ประเด็นดังกล่าว ซึ่งลดลงจากเดิม และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เพิ่มเติมต่อไป ก็พบว่าสาเหตุที่ทำให้ประชาชนไม่เชื่อ
มั่นว่ารัฐบาลทักษิณจะอยู่จนครบวาระ 4 ปีนั้น เป็นเพราะประชาชนกำลังประสบปัญหา ความเดือดร้อนหลายประการ
เช่น ราคาน้ำมันและสินค้าที่สูงขึ้น ปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม ปัญหาความขัดแย้งภายในกลุ่มแกนนำของ
รัฐบาลเอง ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ปัญหา ม็อบต่างๆ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการติดตามข่าว
ลำดับที่ พฤติกรรมการติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตามทุกวัน 56.3
2 ติดตามบางวัน 42.3
3 ไม่ได้ติดตามเลย 1.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวปัญหาสำคัญที่กำลังสนใจติดตาม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเด็นข่าวปัญหาที่กำลังสนใจติดตาม ค่าร้อยละ
1 มาเฟียโบ๊เบ๊ 72.5
2 ราคาน้ำมัน ราคาสินค้าสูงขึ้น 71.4
3 ปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น กรณีทุบรถ
ประจานรถยนต์ป้ายแดง 70.9
4 ข่าวแผ่นดินไหวและสึนามิรอบใหม่ 66.0
5 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 58.1
6 ปัญหาคอรัปชั่น 54.4
7 ปัญหายาเสพติด 51.7
8 ความขัดแย้งระหว่างนายเสนาะกับนายกรัฐมนตรี 43.3
9 ปัญหาม็อบต่างๆ 40.3
10 ปัญหาภัยแล้ง 36.7
11 อื่นๆ อาทิ ปัญหาความยากจน ปัญหาย้ายอุเทนถวาย 26.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ความมั่นใจต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหา
ลำดับที่ ประเด็นข่าวที่กำลังสนใจติดตาม มั่นใจ ไม่มั่นใจ ไม่มีความเห็น
1 มาเฟียโบ๊เบ๊ 38.2 38.9 22.9
2 ราคาน้ำมัน ราคาสินค้าสูงขึ้น 33.8 56.0 10.2
3 ปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม เช่น กรณีทุบรถ
ประจานรถยนต์ป้ายแดง 39.4 50.4 10.2
4 ข่าวแผ่นดินไหวและสึนามิรอบใหม่ 32.7 54.3 13.0
5 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 40.1 47.7 12.2
6 ปัญหาคอรัปชั่น 38.8 55.6 5.6
7 ปัญหายาเสพติด 47.3 43.9 8.8
8 ความขัดแย้งระหว่างนายเสนาะกับนายกรัฐมนตรี 53.7 24.8 21.5
9 ปัญหาม็อบต่างๆ 38.9 42.2 18.9
10 ปัญหาภัยแล้ง 41.7 30.4 27.9
11 ปัญหาความยากจน 25.6 57.8 16.6
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความชัดเจนในนโยบายโดยรวมของรัฐบาล
ทักษิณ 1 กับนโยบายโดยรวมของรัฐบาลทักษิณ 2
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชนต่อความชัดเจนในนโยบายรัฐบาลทักษิณ 1 และทักษิณ 2 ร้อยละ
1 นโยบายของรัฐบาลทักษิณ 1 ชัดเจนกว่านโยบายของรัฐบาลทักษิณ 2 34.7
2 นโยบายของรัฐบาลทักษิณ 2 ชัดเจนกว่านโยบายทักษิณ 1 21.5
3 ชัดเจนพอๆ กัน 30.8
4 ไม่ชัดเจนพอๆ กัน 4.7
5 ไม่มีความเห็น 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลทักษิณที่จะอยู่จนครบวาระ4 ปี
(ผลสำรวจระหว่างต้นเดือนมีนาคม กับต้นเดือนเมษายน ปีพ.ศ. 2548)
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลทักษิณที่จะอยู่จนครบวาระ ผลสำรวจ ผลสำรวจ
(12 มีนาคม) % (2 เมษายน) %
1 เชื่อมั่น 70.4 62.9
2 ไม่เชื่อมั่น 12.9 17.8
3 ไม่มีความเห็น 16.7 19.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
จากการสัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงสาเหตุที่ประชาชนไม่เชื่อมั่น พบว่า
1. ประชาชนกำลังประสบปัญหาความเดือดร้อนหลายประการ เช่น ราคาน้ำมันและสินค้าที่สูงขึ้น
ปัญหาผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม
2. ปัญหาความขัดแย้งภายในกลุ่มแกนนำของรัฐบาลเอง
3. ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
4. ปัญหาม็อบต่างๆ
--เอแบคโพลล์--
-พห-