ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง นโยบายและพรรคการเมืองในใจของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในกลุ่มจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
(นนทบุรี และสมุทรปราการ) ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 1,548 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจใน
ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน -1 ธันวาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ ประชาชนที่ถูกศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 56.3 ระบุว่าการนำเสนอ
นโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ในขณะนี้ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ นอกจากนี้ ร้อยละ 29.1 ระบุไม่มีความชัดเจนเลย ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 14.6 ที่
ระบุว่าชัดเจนแล้ว
ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงนโยบายที่ต้องการให้เป็นจริง ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งนั้น ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาร้อยละ
77.7 ระบุนโยบายแก้ปัญหาสังคม เช่นยาเสพติด อาชญากรรม รองลงมาคือร้อยละ 59.6 ระบุการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาค
ใต้ ร้อยละ 56.4 ระบุนโยบายแก้ปัญหาราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ร้อยละ 56.0 ระบุนโยบายแก้ปัญหาราคาเชื้อเพลิง เช่น แก๊ส น้ำมันเชื้อเพลิง
ร้อยละ 55.2 ระบุแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการ และร้อยละ 55.0 ระบุแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมือง ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามประชาชนที่ถูกศึกษาถึงการมีพรรคการเมืองในใจในการเลือกตั้งครั้งนี้นั้น พบว่า ประมาณ 1 ใน 3 คือร้อยละ 39.9
ของประชาชนที่ถูกศึกษา มีพรรคการเมืองที่อยู่ในใจแล้ว ในขณะที่กว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 50.5 ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ ร้อยละ 5.8 กำลัง
มองๆ อยู่ และร้อยละ 3.8 มีแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามเพศแล้วพบว่า ร้อยละ 53.0 ของประชาชนที่ถูก
ศึกษาเป็นเพศหญิง ระบุยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ ในขณะที่เพศชายมีสัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 47.2
อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุนั้น ร้อยละ 53.8 ของประชาชนที่ถูกศึกษาที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ระบุมีพรรคการเมืองที่อยู่ใน
ใจแล้ว ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ นอกจากนี้ เมื่อจำแนกตามกลุ่มรายได้ พบว่า ร้อยละ 49.2 ของประชาชนที่ถูกศึกษาที่
มีรายได้มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป ระบุมีพรรคการเมืองอยู่ในใจแล้ว ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าประชาชนในกลุ่มรายได้อื่นๆ เช่นเดียวกัน
และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายที่ต้องการให้เป็นจริงหลังการเลือกตั้ง จำแนกตามการมีพรรคการเมืองที่จะเลือกอยู่ในใจนั้น พบ
ว่า นโยบายสำคัญอันดับหนึ่งที่ทุกกลุ่มต้องการให้เป็นจริงหลังการเลือกตั้งคือ นโยบายแก้ปัญหาสังคม เช่นยาเสพติด อาชญากรรม ซึ่งในกลุ่มผู้ที่มีโอกาส
เปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่นนั้น มีสัดส่วนดังกล่าวสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างชัดเจน
สำหรับแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจเลือกตั้งในครั้งนี้นั้น พบว่า ร้อยละ 50.0 ระบุข้อมูลจากสื่อมวลชน รองลงมาคือร้อย
ละ 34.2 ระบุข้อมูลจากหัวหน้าพรรคการเมือง ร้อยละ 34.0 ระบุข้อมูลจากนักวิเคราะห์ข่าว และ ร้อยละ 33.8 ระบุข้อมูลจากคนในครอบครัว
นอกจากนี้ ยังพบว่า สื่อมวลชน ยังคงเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญอันดับหนึ่งในกลุ่มผู้ที่ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ (ร้อยละ 52.1) รองลงมาคือข้อมูลจากคน
ในครอบครัว (ร้อยละ 38.7) และข้อมูลจากนักวิเคราะห์ข่าว (ร้อยละ 34.8) ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หัวใจของคนในกลุ่มจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี และสมุทรปราการ) ที่
ถูกศึกษาครั้งนี้ประมาณครึ่งหนึ่งยังคงว่างพอให้พรรคการเมืองต่างๆ รณรงค์หาเสียงได้อย่างเต็มที่เพื่อเสนอสิ่งที่โดนใจถูกใจประชาชน นอกจากนี้ กลุ่ม
ประชาชนที่ยังไม่มีพรรคการเมืองใดๆ ในใจจะเป็นผู้หญิงมากกว่า และเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย สิ่งที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ นโยบายที่กลุ่มประชาชนผู้
ยังไม่ตัดสินใจต้องการให้พรรคการเมืองต่างๆ ประกาศให้ชัดเจนคือ แนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาสังคม เช่น
ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการและนักการเมือง เป็นต้น นอกจากนี้ ประเด็นที่ได้ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เมื่อ
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากรณีผลโพลล์อาจมีส่วนชี้นำประชาชนนั้น ผลสำรวจกลับพบว่า ผลโพลล์เป็นสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างประชาชนระบุว่ามีส่วนชี้นำในอันดับ
ท้ายๆ ของตาราง แต่แหล่งข้อมูลที่กลุ่มประชาชนคนในกลุ่มจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี และสมุทรปราการ) ในการศึกษาครั้งนี้นำมา
พิจารณามากที่สุดคือสื่อมวลชน หัวหน้าพรรคการเมือง นักวิเคราะห์ข่าว และคนในครอบครัว อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มคนที่ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ
จะอาศัยแหล่งข้อมูลจากสื่อมวลชน คนในครอบครัว นักวิเคราะห์ข่าว และหัวหน้าพรรคการเมือง ตามลำดับ ในการตัดสินใจเลือกตั้งครั้งนี้
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมืองต่างๆ จะได้ใช้เวลาที่เหลืออยู่อีกไม่มากนักในการเร่งปรับกล
ยุทธรณรงค์หาเสียงเสนอนโยบายและแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศที่กลุ่มประชาชนผู้ยังไม่ตัดสินใจกำลังรออยู่ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มชี้ขาดใคร
แพ้หรือชนะในสนามเลือกตั้งกลุ่มจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี และสมุทรปราการ)
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความชัดเจนของนโยบายพรรคการเมืองที่กำลังหาเสียงในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายพรรคการเมืองที่ต้องการให้เป็นจริงหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง
3. เพื่อสำรวจแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “นโยบายและพรรคการเมืองในใจของ
ประชาชน :กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในกลุ่มจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี และสมุทรปราการ)” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน -1 ธันวาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกลุ่มจังหวัด กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,548 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำ
เข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.2 ระบุเป็นหญิงและร้อยละ 47.8 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ
8.3 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 29.0 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 24.7 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 19.9 ระบุอายุ
ระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 18.1 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 35.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลายหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อย
ละ 1.7 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 36.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.1 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 20.6 ระบุรับจ้างทั่วไป/
เกษตรกร ร้อยละ 5.2 ระบุนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 7.8 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ ร้อยละ 3.7 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ในขณะ
ที่ร้อยละ 8.5 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความชัดเจนในการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ในขณะนี้
ลำดับที่ ความชัดเจนในการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมือง ค่าร้อยละ
1 ชัดเจนแล้ว 14.6
2 ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ 56.3
3 ไม่ชัดเจนเลย 29.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบายที่ต้องการให้เป็นจริง ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นโยบายที่ต้องการให้เป็นจริง ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 นโยบายแก้ปัญหาสังคม เช่นยาเสพติด อาชญากรรม 77.7
2 แก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 59.6
3 นโยบายแก้ปัญหาราคาสินค้าอุปโภค บริโภค 56.4
4 นโยบายแก้ปัญหาราคาเชื้อเพลิง เช่น แก๊ส น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น 56.0
5 แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการ 55.2
6 แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมือง 55.0
7 นโยบายแก้ปัญหาเด็กและเยาวชน 52.1
8 นโยบายการดูแลเด็ก ผู้พิการและผู้สูงอายุ 47.6
9 นโยบายแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน 46.9
10 นโยบายสร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ 43.9
11 นโยบายจัดระเบียบสังคม 38.6
12 ความรักความสามัคคีของพรรคการเมืองต่างๆ 32.9
13 อื่นๆ ได้แก่ นโยบายแก้ปัญหารถติด นโยบายแก้ปัญหาสื่อลามกอนาจาร
นโยบายจัดการสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย เป็นต้น 8.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก ค่าร้อยละ
1 มีพรรคการเมืองที่อยู่ในใจแล้ว 39.9
2 มีแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่น 3.8
3 กำลังมองๆ อยู่ 5.8
4 ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ 50.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก จำแนกตาม เพศ
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก ชาย หญิง ภาพรวม
1 มีพรรคการเมืองที่อยู่ในใจแล้ว 44.0 36.9 39.9
2 มีแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่น 3.9 3.7 3.8
3 กำลังมองๆ อยู่ 4.9 6.4 5.8
4 ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ 47.2 53.0 50.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก จำแนกตาม กลุ่มอายุ
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก ต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี 50 ปีขึ้นไป
1 มีพรรคการเมืองที่อยู่ในใจแล้ว 23.0 30.2 39.6 48.6 53.8
2 มีแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่น 5.4 3.9 3.7 4.0 3.2
3 กำลังมองๆ อยู่ 4.1 6.2 8.8 2.9 5.8
4 ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ 67.5 59.7 47.9 44.5 37.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก จำแนกตาม ระดับรายได้
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก ต่ำกว่า 10,000 /เดือน 10,000 — 30,000/เดือน มากกว่า30,000/เดือน
1 มีพรรคการเมืองที่อยู่ในใจแล้ว 37.2 44.7 49.2
2 มีแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่น 4.1 4.3 1.7
3 กำลังมองๆ อยู่ 5.8 4.8 5.1
4 ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ 52.9 46.2 44.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบายที่ต้องการให้เป็นจริง ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง จำแนกตามพรรค
การเมืองที่อยู่ในใจที่จะเลือก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นโยบายที่ต้องการให้เป็นจริง มีพรรคในใจแล้ว มีแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจ ยังไม่มีแต่กำลังติดตามอยู่ ยังไม่มีเลย
1 นโยบายแก้ปัญหาสังคม เช่นยาเสพติด อาชญากรรม 77.6 88.2 75.0 77.5
2 แก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 57.6 50.0 51.9 63.5
3 นโยบายแก้ปัญหาราคาสินค้าอุปโภค บริโภค 57.6 55.9 51.9 56.0
4 นโยบายแก้ปัญหาราคาเชื้อเพลิง เช่น แก๊ส น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น 56.5 55.9 46.2 56.9
5 แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการ 56.2 55.9 59.6 54.7
6 แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมือง 52.9 58.8 61.5 55.8
7 นโยบายแก้ปัญหาเด็กและเยาวชน 52.4 64.7 51.9 51.4
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจเลือกตั้งครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 สื่อมวลชน 50.0
2 หัวหน้าพรรคการเมือง 34.2
3 นักวิเคราะห์ข่าว 34.0
4 คนในครอบครัว 33.8
5 แกนนำชุมชน 18.6
6 เพื่อนๆ และคนใกล้ชิด 18.2
7 นักวิชาการ 17.2
8 ผลโพลล์ 7.5
9 นักธุรกิจ 7.3
10 อื่นๆ 7.1
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจเลือกตั้งครั้งนี้
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ยังไม่มีพรรคการเมืองอยู่ในใจและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจเลือกตั้งครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 สื่อมวลชน 52.1
2 คนในครอบครัว 38.7
3 นักวิเคราะห์ข่าว 34.8
4 หัวหน้าพรรคการเมือง 28.7
5 เพื่อนๆ และคนใกล้ชิด 21.0
6 แกนนำชุมชน 19.5
7 นักวิชาการ 17.9
8 นักธุรกิจ 8.8
9 ผลโพลล์ 5.7
10 อื่นๆ 5.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เรื่อง นโยบายและพรรคการเมืองในใจของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในกลุ่มจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
(นนทบุรี และสมุทรปราการ) ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 1,548 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจใน
ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน -1 ธันวาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ ประชาชนที่ถูกศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 56.3 ระบุว่าการนำเสนอ
นโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ในขณะนี้ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ นอกจากนี้ ร้อยละ 29.1 ระบุไม่มีความชัดเจนเลย ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 14.6 ที่
ระบุว่าชัดเจนแล้ว
ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงนโยบายที่ต้องการให้เป็นจริง ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งนั้น ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาร้อยละ
77.7 ระบุนโยบายแก้ปัญหาสังคม เช่นยาเสพติด อาชญากรรม รองลงมาคือร้อยละ 59.6 ระบุการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาค
ใต้ ร้อยละ 56.4 ระบุนโยบายแก้ปัญหาราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ร้อยละ 56.0 ระบุนโยบายแก้ปัญหาราคาเชื้อเพลิง เช่น แก๊ส น้ำมันเชื้อเพลิง
ร้อยละ 55.2 ระบุแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการ และร้อยละ 55.0 ระบุแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมือง ตามลำดับ
และเมื่อสอบถามประชาชนที่ถูกศึกษาถึงการมีพรรคการเมืองในใจในการเลือกตั้งครั้งนี้นั้น พบว่า ประมาณ 1 ใน 3 คือร้อยละ 39.9
ของประชาชนที่ถูกศึกษา มีพรรคการเมืองที่อยู่ในใจแล้ว ในขณะที่กว่าครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 50.5 ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ ร้อยละ 5.8 กำลัง
มองๆ อยู่ และร้อยละ 3.8 มีแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามเพศแล้วพบว่า ร้อยละ 53.0 ของประชาชนที่ถูก
ศึกษาเป็นเพศหญิง ระบุยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ ในขณะที่เพศชายมีสัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 47.2
อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุนั้น ร้อยละ 53.8 ของประชาชนที่ถูกศึกษาที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ระบุมีพรรคการเมืองที่อยู่ใน
ใจแล้ว ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ นอกจากนี้ เมื่อจำแนกตามกลุ่มรายได้ พบว่า ร้อยละ 49.2 ของประชาชนที่ถูกศึกษาที่
มีรายได้มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป ระบุมีพรรคการเมืองอยู่ในใจแล้ว ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าประชาชนในกลุ่มรายได้อื่นๆ เช่นเดียวกัน
และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายที่ต้องการให้เป็นจริงหลังการเลือกตั้ง จำแนกตามการมีพรรคการเมืองที่จะเลือกอยู่ในใจนั้น พบ
ว่า นโยบายสำคัญอันดับหนึ่งที่ทุกกลุ่มต้องการให้เป็นจริงหลังการเลือกตั้งคือ นโยบายแก้ปัญหาสังคม เช่นยาเสพติด อาชญากรรม ซึ่งในกลุ่มผู้ที่มีโอกาส
เปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่นนั้น มีสัดส่วนดังกล่าวสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างชัดเจน
สำหรับแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจเลือกตั้งในครั้งนี้นั้น พบว่า ร้อยละ 50.0 ระบุข้อมูลจากสื่อมวลชน รองลงมาคือร้อย
ละ 34.2 ระบุข้อมูลจากหัวหน้าพรรคการเมือง ร้อยละ 34.0 ระบุข้อมูลจากนักวิเคราะห์ข่าว และ ร้อยละ 33.8 ระบุข้อมูลจากคนในครอบครัว
นอกจากนี้ ยังพบว่า สื่อมวลชน ยังคงเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญอันดับหนึ่งในกลุ่มผู้ที่ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ (ร้อยละ 52.1) รองลงมาคือข้อมูลจากคน
ในครอบครัว (ร้อยละ 38.7) และข้อมูลจากนักวิเคราะห์ข่าว (ร้อยละ 34.8) ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หัวใจของคนในกลุ่มจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี และสมุทรปราการ) ที่
ถูกศึกษาครั้งนี้ประมาณครึ่งหนึ่งยังคงว่างพอให้พรรคการเมืองต่างๆ รณรงค์หาเสียงได้อย่างเต็มที่เพื่อเสนอสิ่งที่โดนใจถูกใจประชาชน นอกจากนี้ กลุ่ม
ประชาชนที่ยังไม่มีพรรคการเมืองใดๆ ในใจจะเป็นผู้หญิงมากกว่า และเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย สิ่งที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ นโยบายที่กลุ่มประชาชนผู้
ยังไม่ตัดสินใจต้องการให้พรรคการเมืองต่างๆ ประกาศให้ชัดเจนคือ แนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาสังคม เช่น
ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการและนักการเมือง เป็นต้น นอกจากนี้ ประเด็นที่ได้ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เมื่อ
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากรณีผลโพลล์อาจมีส่วนชี้นำประชาชนนั้น ผลสำรวจกลับพบว่า ผลโพลล์เป็นสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างประชาชนระบุว่ามีส่วนชี้นำในอันดับ
ท้ายๆ ของตาราง แต่แหล่งข้อมูลที่กลุ่มประชาชนคนในกลุ่มจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี และสมุทรปราการ) ในการศึกษาครั้งนี้นำมา
พิจารณามากที่สุดคือสื่อมวลชน หัวหน้าพรรคการเมือง นักวิเคราะห์ข่าว และคนในครอบครัว อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มคนที่ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ
จะอาศัยแหล่งข้อมูลจากสื่อมวลชน คนในครอบครัว นักวิเคราะห์ข่าว และหัวหน้าพรรคการเมือง ตามลำดับ ในการตัดสินใจเลือกตั้งครั้งนี้
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมืองต่างๆ จะได้ใช้เวลาที่เหลืออยู่อีกไม่มากนักในการเร่งปรับกล
ยุทธรณรงค์หาเสียงเสนอนโยบายและแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศที่กลุ่มประชาชนผู้ยังไม่ตัดสินใจกำลังรออยู่ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มชี้ขาดใคร
แพ้หรือชนะในสนามเลือกตั้งกลุ่มจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี และสมุทรปราการ)
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความชัดเจนของนโยบายพรรคการเมืองที่กำลังหาเสียงในขณะนี้
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายพรรคการเมืองที่ต้องการให้เป็นจริงหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง
3. เพื่อสำรวจแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “นโยบายและพรรคการเมืองในใจของ
ประชาชน :กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในกลุ่มจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (นนทบุรี และสมุทรปราการ)” ซึ่งดำเนิน
โครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน -1 ธันวาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น
ไป ในกลุ่มจังหวัด กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,548 ตัวอย่าง ช่วง
ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำ
เข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.2 ระบุเป็นหญิงและร้อยละ 47.8 ระบุเป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ
8.3 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 29.0 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 24.7 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 19.9 ระบุอายุ
ระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 18.1 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 35.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลายหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อย
ละ 1.7 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 36.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.1 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 20.6 ระบุรับจ้างทั่วไป/
เกษตรกร ร้อยละ 5.2 ระบุนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 7.8 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ ร้อยละ 3.7 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ในขณะ
ที่ร้อยละ 8.5 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความชัดเจนในการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ในขณะนี้
ลำดับที่ ความชัดเจนในการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมือง ค่าร้อยละ
1 ชัดเจนแล้ว 14.6
2 ยังไม่ชัดเจนเพียงพอ 56.3
3 ไม่ชัดเจนเลย 29.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบายที่ต้องการให้เป็นจริง ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นโยบายที่ต้องการให้เป็นจริง ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 นโยบายแก้ปัญหาสังคม เช่นยาเสพติด อาชญากรรม 77.7
2 แก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 59.6
3 นโยบายแก้ปัญหาราคาสินค้าอุปโภค บริโภค 56.4
4 นโยบายแก้ปัญหาราคาเชื้อเพลิง เช่น แก๊ส น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น 56.0
5 แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการ 55.2
6 แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมือง 55.0
7 นโยบายแก้ปัญหาเด็กและเยาวชน 52.1
8 นโยบายการดูแลเด็ก ผู้พิการและผู้สูงอายุ 47.6
9 นโยบายแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน 46.9
10 นโยบายสร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ 43.9
11 นโยบายจัดระเบียบสังคม 38.6
12 ความรักความสามัคคีของพรรคการเมืองต่างๆ 32.9
13 อื่นๆ ได้แก่ นโยบายแก้ปัญหารถติด นโยบายแก้ปัญหาสื่อลามกอนาจาร
นโยบายจัดการสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย เป็นต้น 8.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก ค่าร้อยละ
1 มีพรรคการเมืองที่อยู่ในใจแล้ว 39.9
2 มีแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่น 3.8
3 กำลังมองๆ อยู่ 5.8
4 ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ 50.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก จำแนกตาม เพศ
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก ชาย หญิง ภาพรวม
1 มีพรรคการเมืองที่อยู่ในใจแล้ว 44.0 36.9 39.9
2 มีแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่น 3.9 3.7 3.8
3 กำลังมองๆ อยู่ 4.9 6.4 5.8
4 ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ 47.2 53.0 50.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก จำแนกตาม กลุ่มอายุ
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก ต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี 50 ปีขึ้นไป
1 มีพรรคการเมืองที่อยู่ในใจแล้ว 23.0 30.2 39.6 48.6 53.8
2 มีแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่น 5.4 3.9 3.7 4.0 3.2
3 กำลังมองๆ อยู่ 4.1 6.2 8.8 2.9 5.8
4 ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ 67.5 59.7 47.9 44.5 37.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก จำแนกตาม ระดับรายได้
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองอยู่ในใจที่จะเลือก ต่ำกว่า 10,000 /เดือน 10,000 — 30,000/เดือน มากกว่า30,000/เดือน
1 มีพรรคการเมืองที่อยู่ในใจแล้ว 37.2 44.7 49.2
2 มีแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคอื่น 4.1 4.3 1.7
3 กำลังมองๆ อยู่ 5.8 4.8 5.1
4 ยังไม่มีพรรคการเมืองในใจ 52.9 46.2 44.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบายที่ต้องการให้เป็นจริง ภายหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง จำแนกตามพรรค
การเมืองที่อยู่ในใจที่จะเลือก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นโยบายที่ต้องการให้เป็นจริง มีพรรคในใจแล้ว มีแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจ ยังไม่มีแต่กำลังติดตามอยู่ ยังไม่มีเลย
1 นโยบายแก้ปัญหาสังคม เช่นยาเสพติด อาชญากรรม 77.6 88.2 75.0 77.5
2 แก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 57.6 50.0 51.9 63.5
3 นโยบายแก้ปัญหาราคาสินค้าอุปโภค บริโภค 57.6 55.9 51.9 56.0
4 นโยบายแก้ปัญหาราคาเชื้อเพลิง เช่น แก๊ส น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น 56.5 55.9 46.2 56.9
5 แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มข้าราชการ 56.2 55.9 59.6 54.7
6 แก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมือง 52.9 58.8 61.5 55.8
7 นโยบายแก้ปัญหาเด็กและเยาวชน 52.4 64.7 51.9 51.4
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจเลือกตั้งครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 สื่อมวลชน 50.0
2 หัวหน้าพรรคการเมือง 34.2
3 นักวิเคราะห์ข่าว 34.0
4 คนในครอบครัว 33.8
5 แกนนำชุมชน 18.6
6 เพื่อนๆ และคนใกล้ชิด 18.2
7 นักวิชาการ 17.2
8 ผลโพลล์ 7.5
9 นักธุรกิจ 7.3
10 อื่นๆ 7.1
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจเลือกตั้งครั้งนี้
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ยังไม่มีพรรคการเมืองอยู่ในใจและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจเลือกตั้งครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 สื่อมวลชน 52.1
2 คนในครอบครัว 38.7
3 นักวิเคราะห์ข่าว 34.8
4 หัวหน้าพรรคการเมือง 28.7
5 เพื่อนๆ และคนใกล้ชิด 21.0
6 แกนนำชุมชน 19.5
7 นักวิชาการ 17.9
8 นักธุรกิจ 8.8
9 ผลโพลล์ 5.7
10 อื่นๆ 5.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-