ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง “สำรวจความตื่นตัวในการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน และบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง 2550 :กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มี
สิทธิเลือกตั้งใน 33 จังหวัดของประเทศ และแกนนำ อบต./อบจ. ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ” ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง
ประชาชนจำนวน 7,589 ตัวอย่าง และแกนนำชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 2,109 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 9,698 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่าง
วันที่ 20 พฤศจิกายน -5 ธันวาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 83.9 ทราบวันเลือกตั้งแล้วว่าเป็นวันที่ 23 ธันวาคมนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 16.1 ไม่ทราบ
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.6 ทราบที่ตั้งของหน่วยเลือกตั้งแล้ว ขณะที่ร้อยละ 14.4 ยังไม่ทราบ เมื่อสอบถามความตั้งใจจะไปใช้
สิทธิเลือกตั้ง ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.2 ตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 26.8 คิดว่าจะไม่ไป อย่างไรก็ตาม
ยังมีประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 41.4 ไม่เข้าใจการแบ่งพื้นที่เขตการเลือกตั้งครั้งใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 58.6 เข้าใจแล้ว
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.6ยังไม่ตัดสินใจว่าจะ เลือกผู้สมัครพรรคการเมืองใดในระบบ
สัดส่วน และเกินกว่า 1 ใน3 หรือร้อยละ38.7ที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือก พรรคใดในระบบเขตเลือกตั้ง ขณะที่เพียงร้อยละ25.6 ระบุตัดสินใจแล้วว่า
จะเลือกพรรคใดแน่นอนและ ร้อยละ27.8 ระบุมีพรรคการเมืองในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ในการเลือกพรรคการเมืองในระบบสัดส่วนขณะที่ร้อยละ
29.5 ระบุตัดสินใจแล้วว่าจะ เลือกพรรคใดแน่นอนในระบบเขตเลือกตั้ง และร้อยละ 31.8 ระบุมีพรรคการเมืองในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ในการ
เลือกตั้ง ส.ส. ในระบบเขตเลือกตั้ง เป็นที่น่าสังเกตว่า จำนวนประชาชนที่มีพรรคการเมืองในใจแล้วสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบเขตเลือกตั้ง
มีมากกว่าจำนวนประชาชนที่มีพรรคการเมืองในใจแล้วสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วน
สำหรับผลประมาณการจำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบสัดส่วนทั่วประเทศในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ถ้ามีการเลือกตั้งในช่วงที่ทำการสำรวจ พรรค
พลังประชาชนคาดว่าจะได้ 39 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 33 ที่นั่ง และพรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
และพรรคประชาราช เป็นต้นจะได้ 8 ที่นั่ง โดยมีค่าบวกลบความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 5 ที่นั่ง กรณีตัดกลุ่มผู้ยังไม่ตัดสินใจออกจากการวิเคราะห์ครั้งนี้
ที่น่าสนใจคือ สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นหลังการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.7 อยากเห็นเศรษฐกิจดีขึ้น ร้อยละ 81.4 อยากเห็น
ความรักความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 72.8 อยากเห็นสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น ร้อยละ71.6 อยากเห็นปัญหายาเสพติดหมด
ไป ร้อยละ 62.6 อยากเห็นรัฐบาลใหม่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ ร้อยละ 60.7 อยากเห็นความเป็นธรรมในสังคมมีมากขึ้น และร้อยละ 47.9
อยากเห็นคนที่ซื้อเสียงถูกลงโทษ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า คณะผู้วิจัยยังได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของแกนนำชุมชนท้องถิ่นระดับ อบต. และ อบจ. ในทุกจังหวัดของ
ประเทศจำนวน 2,109 ตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ระบุ พรรคพลังประชาชนเป็นพรรคการเมืองที่เข้ามาหาเสียงในพื้นที่ของตน รอง
ลงมาคือ ร้อยละ 63.7 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 47.6 ระบุ พรรคมัชฌิมาธิปไตย ร้อยละ 44.5 ระบุพรรคชาติไทย ร้อยละ 44.4 ระบุพรรค
เพื่อแผ่นดิน ร้อยละ 23.5 ระบุพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และร้อยละ 13.4 ระบุพรรคประชาราช เป็นต้น
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างแกนนำชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.8 ระบุ พรรคพลังประชาชนเป็นพรรคการเมืองที่ลงพื้นที่หาเสียงแบบ
เข้มข้น รองลงมาคือร้อยละ 35.8 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 22.4 ระบุพรรคเพื่อแผ่นดิน ร้อยละ 21.2 ระบุพรรคชาติไทย ร้อยละ 15.8 ระบุ
พรรคมัชฌิมาธิปไตย ร้อยละ 9.1 ระบุพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และร้อยละ 3.1 ระบุพรรคประชาราช เป็นต้น
เมื่อจำแนกออกตามภูมิภาคต่างๆ พบประเด็นที่น่าสนใจคือ กลุ่มตัวอย่างแกนนำชุมชนท้องถิ่นที่ระบุพรรคพลังประชาชนหาเสียงแบบเข้มข้น
มากที่สุดหรือร้อยละ 63.9 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือร้อยละ 61.8 อยู่ในภาคกลาง ร้อยละ 56.6 อยู่ในภาคเหนือ และร้อยละ
36.6 อยู่ในภาคใต้ แต่เมื่อพิจารณาการหาเสียงที่เข้มข้นของพรรคประชาธิปัตย์ พบว่าพื้นที่ที่มีการหาเสียงมากที่สุดหรือร้อยละ 60.8 อยู่ในภาคใต้ รอง
ลงมาคือร้อยละ 45.6 อยู่ในภาคกลาง ร้อยละ 42.9 อยู่ในภาคเหนือ และร้อยละ 17.8 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจนี้ทำให้เกิดสมมติฐานได้หลายประการ เช่น โอกาสที่พรรคพลังประชาชนจะชนะการเลือกตั้งมีสูงกว่าพรรค
ประชาธิปัตย์เพราะถ้าเทียบกันแต่ละภูมิภาคแล้ว อาจสะท้อนให้เห็นถึง ความทุ่มเทหาเสียงและการบริหารจัดการรณรงค์เพื่อชนะการเลือกตั้งของพรรค
พลังประชาชนมีมากกว่าทุกพรรคการเมืองในแต่ละภูมิภาค แม้แต่พื้นที่ที่คนทั่วไปอาจมองว่าเป็นพื้นที่ที่พรรคพลังประชาชนไม่มีโอกาสจะชนะได้ แต่กลับพบ
ว่ามีแกนนำชุมชนท้องถิ่นในภาคใต้สูงถึงร้อยละ 36.6 ที่รับรู้ว่าพรรคพลังประชาชนได้หาเสียงแบบเข้มข้น ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ กลับได้รับการรับรู้
จากแกนนำชุมชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพียงร้อยละ 17.8 เท่านั้น คล้ายกับว่า พรรคการเมืองที่รู้ตัวว่าจะแพ้ก็จะลดระดับของการหาเสียง
ลงไป แต่พรรคพลังประชาชนที่อาจทราบว่าจะชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ ก็ไม่ประมาทและในพื้นที่ที่คิดว่าจะแพ้ เช่น ในพื้นที่ภาคใต้ ก็ยังคงทุ่มเทรณรงค์หา
เสียงอย่างเข้มข้น จึงอาจเกิดปรากฏการณ์การเมืองที่หลายฝ่ายอาจคิดไม่ถึงในการเลือกตั้งครั้งนี้
ประเด็นที่น่าสนใจอีกบางประการคือ บทบาทแกนนำชุมชนท้องถิ่นในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผลสำรวจพบส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.9 ช่วยชี้แจง
ให้ประชาชนเข้าใจวิธีการออกเสียงเลือกตั้ง รองลงมาคือร้อยละ 80.7 ช่วยป้องกันการซื้อเสียงและทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ร้อยละ 24.9 เป็น
กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ร้อยละ 24.6 จัดหากำลังอาสาสมัครช่วยงานกรรมการการเลือกตั้ง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อย
ละ 26.5 ระบุได้รับการร้องขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัครของพรรคการเมืองร้อยละ1.9 ช่วยประสานงานระหว่างผู้สมัครของพรรคการ
เมืองกับประชาชนในพื้นที่ ร้อยละ 11.3 พบปะผู้สมัครของพรรคการเมืองในพื้นที่ ร้อยละ11.0 ได้รับการติดต่อจากผู้สมัครของพรรคการเมือง และร้อย
ละ 4.2 ช่วยรณรงค์ให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกผู้สมัครพรรคการเมืองบางคน เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า กลุ่มแกนนำชุมชนท้องถิ่นประเมินว่า ประชาชนจะออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งโดยภาพรวมทั้งประเทศเฉลี่ย
ร้อยละ 67.9 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้
2. เพื่อสำรวจแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจความตื่นตัวในการใช้สิทธิเลือก
ตั้งของประชาชน และบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง 2550 :กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 33 จังหวัดของประเทศ และแกน
นำ อบต./อบจ. ในทุกจังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน -5 ธันวาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือก
ตั้งใน 33 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พิจิตร พิษณุโลก สระแก้ว ตราด ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ลำพูน เชียงใหม่
นครราชสีมา ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ลำปาง ตาก หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี เลย สุโขทัย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจ
เจริญ นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างประชาชนที่ทำการสำรวจ จำนวน 7,589 ตัวอย่าง และแกนนำชุมชนจำนวน 2,109 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 9,698
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.0 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 46.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.5 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.6 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 24.2 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 23.1 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 29.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 64.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 18.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 5.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 11.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.7 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 5.5 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 45.1 ระบุรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร
ร้อยละ 3.3 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.2 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 3.3 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ร้อยละ 3.4 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุการรับทราบกำหนดวันเลือกตั้งครั้งใหม่
ลำดับที่ การรับทราบกำหนดวันเลือกตั้งครั้งใหม่ ร้อยละ
1 ทราบ 83.9
2 ไม่ทราบ 16.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุความเข้าในเรื่องการจัดแบ่งพื้นที่เขตการเลือกตั้งครั้งใหม่
ลำดับที่ ความเข้าใจเรื่องการแบ่งพื้นที่เขตการเลือกตั้งครั้งใหม่ ร้อยละ
1 เข้าใจ 58.6
2 ไม่เข้าใจ 41.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุการรับทราบหน่วยเลือกตั้งที่จะไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งนี้
ลำดับที่ การรับทราบหน่วยเลือกตั้งที่จะไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ร้อยละ
1 ทราบ 85.6
2 ไม่ทราบ 14.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งเดือนธันวาคมนี้
ลำดับที่ ควมตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งเดือนธันวาคมนี้ ค่าร้อยละ
1 ไม่ไป 26.8
2 ไป 73.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุ การตัดสินใจเลือก ส.ส. ทั้งระบบสัดส่วน และระบบเขตเลือกตั้ง
ลำดับที่ การตัดสินใจ ส.ส.ระบบสัดส่วนค่าร้อยละ ส.ส.ระบบเขตค่าร้อยละ
1 ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพรรคใดแน่นอน 25.6 29.5
2 มีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ 27.8 31.8
3 ยังไม่ตัดสินใจ 46.6 38.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงผลประมาณการจำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบสัดส่วนทั่วประเทศ จำแนกตามพรรคการเมือง
ลำดับที่ พรรคการเมือง จำนวนที่นั่ง
1 พรรคพลังประชาชน 39
2 พรรคประชาธิปัตย์ 33
3 พรรคอื่นๆ ได้แก่ ชาติไทย เพื่อแผ่นดิน รวมใจไทยชาติพัฒนา และประชาราช เป็นต้น 8
รวมทั้งสิ้น 80
ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 5 ที่นั่ง กรณีตัดกลุ่มผู้ยังไม่ตัดสินใจออกจากการวิเคราะห์
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุสิ่งที่อยากเห็นหลังการเลือกตั้งในเดือนธันวาคมนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากเห็นหลังการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 เศรษฐกิจดีขึ้น 91.7
2 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 81.4
3 สถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น 72.8
4 ปัญหายาเสพติดหมดไป 71.6
5 รัฐบาลใหม่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ 62.6
6 ความเป็นธรรมในสังคมจะมีมากขึ้น 60.7
7 คนที่ซื้อเสียงถูกลงโทษ 47.9
8 อื่นๆ 3.7
ผลสำรวจจากแกนนำชุมชน อบต. และ อบจ. ในทุกจังหวัดของประเทศ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุพรรคการเมืองที่มาหาเสียงในพื้นที่ของตน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่มาหาเสียงในพื้นที่ ค่าร้อยละ
1 พรรคพลังประชาชน 80.6
2 พรรคประชาธิปัตย์ 63.7
3 พรรคมัชฌิมาธิปไตย 47.6
4 พรรคชาติไทย 44.5
5 พรรคเพื่อแผ่นดิน 44.4
6 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 23.5
7 พรรคประชาราช 13.4
8 อื่นๆ 2.4
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุพรรคการเมืองในพื้นที่มีการหาเสียงแบบเข้มข้น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมืองในพื้นที่ที่มีการหาเสียงแบบเข้มข้น ค่าร้อยละ
1 พรรคพลังประชาชน 57.8
2 พรรคประชาธิปัตย์ 35.8
3 พรรคเพื่อแผ่นดิน 22.4
4 พรรคชาติไทย 21.2
5 พรรคมัชฌิมาธิปไตย 15.8
6 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9.1
7 พรรคประชาราช 3.1
8 อื่นๆ 0.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุพรรคการเมืองที่มีการหาเสียงแบบเข้มข้น จำแนกตามภูมิภาค
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่มีการหาเสียงแบบเข้มข้น เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ
1 พรรคพลังประชาชน 56.6 61.8 63.9 36.6
2 พรรคประชาธิปัตย์ 42.9 45.6 17.8 60.8
3 พรรคชาติไทย 21.9 37.8 15.5 11.4
4 พรรคมัชฌิมาธิปไตย 20.2 15.1 16.1 9.5
5 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 10.5 3.5 13.0 3.9
6 พรรคเพื่อแผ่นดิน 12.2 10.5 37.4 13.4
7 พรรคประชาราช 1.1 4.4 3.4 3.3
8 อื่นๆ 0.2 0.2 0.1 1.6
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุบทบาทของตนเองในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ช่วยชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจวีธีการออกเสียงเลือกตั้ง 88.9
2 ช่วยป้องกันการซื้อเสียง และการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง 80.7
3 ได้รับการร้องขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัครของพรรคการเมือง 26.5
4 เป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง 24.9
5 จัดหากำลังอาสาสมัครช่วยเป็นกรรมการการเลือกตั้ง 24.6
6 ช่วยประสานงานระหว่างผู้สมัครของพรรคการเมืองกับประชาชนในพื้นที่ 11.9
7 พบปะกับผู้สมัครของพรรคการเมืองในพื้นที่ 11.3
8 ได้รับการติดต่อจากผู้สมัครของพรรคการเมือง 11.0
9 ช่วยรณรงค์ให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกผู้สมัครของพรรคการเมืองบางคน 4.2
10 อื่นๆ 10.7
ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ยร้อยละของประชาชนที่แกนนำชุมชนในพื้นที่คาดว่าจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
ภาพรวมค่าร้อยละ
คาดว่าประชาชนในพื้นที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้ คิดเป็นร้อยละ ................67.9
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เรื่อง “สำรวจความตื่นตัวในการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน และบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง 2550 :กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มี
สิทธิเลือกตั้งใน 33 จังหวัดของประเทศ และแกนนำ อบต./อบจ. ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ” ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง
ประชาชนจำนวน 7,589 ตัวอย่าง และแกนนำชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 2,109 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 9,698 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่าง
วันที่ 20 พฤศจิกายน -5 ธันวาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 83.9 ทราบวันเลือกตั้งแล้วว่าเป็นวันที่ 23 ธันวาคมนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 16.1 ไม่ทราบ
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.6 ทราบที่ตั้งของหน่วยเลือกตั้งแล้ว ขณะที่ร้อยละ 14.4 ยังไม่ทราบ เมื่อสอบถามความตั้งใจจะไปใช้
สิทธิเลือกตั้ง ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.2 ตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 26.8 คิดว่าจะไม่ไป อย่างไรก็ตาม
ยังมีประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 41.4 ไม่เข้าใจการแบ่งพื้นที่เขตการเลือกตั้งครั้งใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 58.6 เข้าใจแล้ว
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 46.6ยังไม่ตัดสินใจว่าจะ เลือกผู้สมัครพรรคการเมืองใดในระบบ
สัดส่วน และเกินกว่า 1 ใน3 หรือร้อยละ38.7ที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือก พรรคใดในระบบเขตเลือกตั้ง ขณะที่เพียงร้อยละ25.6 ระบุตัดสินใจแล้วว่า
จะเลือกพรรคใดแน่นอนและ ร้อยละ27.8 ระบุมีพรรคการเมืองในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ในการเลือกพรรคการเมืองในระบบสัดส่วนขณะที่ร้อยละ
29.5 ระบุตัดสินใจแล้วว่าจะ เลือกพรรคใดแน่นอนในระบบเขตเลือกตั้ง และร้อยละ 31.8 ระบุมีพรรคการเมืองในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ในการ
เลือกตั้ง ส.ส. ในระบบเขตเลือกตั้ง เป็นที่น่าสังเกตว่า จำนวนประชาชนที่มีพรรคการเมืองในใจแล้วสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบเขตเลือกตั้ง
มีมากกว่าจำนวนประชาชนที่มีพรรคการเมืองในใจแล้วสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วน
สำหรับผลประมาณการจำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบสัดส่วนทั่วประเทศในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ถ้ามีการเลือกตั้งในช่วงที่ทำการสำรวจ พรรค
พลังประชาชนคาดว่าจะได้ 39 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 33 ที่นั่ง และพรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
และพรรคประชาราช เป็นต้นจะได้ 8 ที่นั่ง โดยมีค่าบวกลบความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 5 ที่นั่ง กรณีตัดกลุ่มผู้ยังไม่ตัดสินใจออกจากการวิเคราะห์ครั้งนี้
ที่น่าสนใจคือ สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นหลังการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.7 อยากเห็นเศรษฐกิจดีขึ้น ร้อยละ 81.4 อยากเห็น
ความรักความสามัคคีของคนในชาติ ร้อยละ 72.8 อยากเห็นสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น ร้อยละ71.6 อยากเห็นปัญหายาเสพติดหมด
ไป ร้อยละ 62.6 อยากเห็นรัฐบาลใหม่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ ร้อยละ 60.7 อยากเห็นความเป็นธรรมในสังคมมีมากขึ้น และร้อยละ 47.9
อยากเห็นคนที่ซื้อเสียงถูกลงโทษ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า คณะผู้วิจัยยังได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของแกนนำชุมชนท้องถิ่นระดับ อบต. และ อบจ. ในทุกจังหวัดของ
ประเทศจำนวน 2,109 ตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ระบุ พรรคพลังประชาชนเป็นพรรคการเมืองที่เข้ามาหาเสียงในพื้นที่ของตน รอง
ลงมาคือ ร้อยละ 63.7 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 47.6 ระบุ พรรคมัชฌิมาธิปไตย ร้อยละ 44.5 ระบุพรรคชาติไทย ร้อยละ 44.4 ระบุพรรค
เพื่อแผ่นดิน ร้อยละ 23.5 ระบุพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และร้อยละ 13.4 ระบุพรรคประชาราช เป็นต้น
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างแกนนำชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.8 ระบุ พรรคพลังประชาชนเป็นพรรคการเมืองที่ลงพื้นที่หาเสียงแบบ
เข้มข้น รองลงมาคือร้อยละ 35.8 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 22.4 ระบุพรรคเพื่อแผ่นดิน ร้อยละ 21.2 ระบุพรรคชาติไทย ร้อยละ 15.8 ระบุ
พรรคมัชฌิมาธิปไตย ร้อยละ 9.1 ระบุพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และร้อยละ 3.1 ระบุพรรคประชาราช เป็นต้น
เมื่อจำแนกออกตามภูมิภาคต่างๆ พบประเด็นที่น่าสนใจคือ กลุ่มตัวอย่างแกนนำชุมชนท้องถิ่นที่ระบุพรรคพลังประชาชนหาเสียงแบบเข้มข้น
มากที่สุดหรือร้อยละ 63.9 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือร้อยละ 61.8 อยู่ในภาคกลาง ร้อยละ 56.6 อยู่ในภาคเหนือ และร้อยละ
36.6 อยู่ในภาคใต้ แต่เมื่อพิจารณาการหาเสียงที่เข้มข้นของพรรคประชาธิปัตย์ พบว่าพื้นที่ที่มีการหาเสียงมากที่สุดหรือร้อยละ 60.8 อยู่ในภาคใต้ รอง
ลงมาคือร้อยละ 45.6 อยู่ในภาคกลาง ร้อยละ 42.9 อยู่ในภาคเหนือ และร้อยละ 17.8 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจนี้ทำให้เกิดสมมติฐานได้หลายประการ เช่น โอกาสที่พรรคพลังประชาชนจะชนะการเลือกตั้งมีสูงกว่าพรรค
ประชาธิปัตย์เพราะถ้าเทียบกันแต่ละภูมิภาคแล้ว อาจสะท้อนให้เห็นถึง ความทุ่มเทหาเสียงและการบริหารจัดการรณรงค์เพื่อชนะการเลือกตั้งของพรรค
พลังประชาชนมีมากกว่าทุกพรรคการเมืองในแต่ละภูมิภาค แม้แต่พื้นที่ที่คนทั่วไปอาจมองว่าเป็นพื้นที่ที่พรรคพลังประชาชนไม่มีโอกาสจะชนะได้ แต่กลับพบ
ว่ามีแกนนำชุมชนท้องถิ่นในภาคใต้สูงถึงร้อยละ 36.6 ที่รับรู้ว่าพรรคพลังประชาชนได้หาเสียงแบบเข้มข้น ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ กลับได้รับการรับรู้
จากแกนนำชุมชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพียงร้อยละ 17.8 เท่านั้น คล้ายกับว่า พรรคการเมืองที่รู้ตัวว่าจะแพ้ก็จะลดระดับของการหาเสียง
ลงไป แต่พรรคพลังประชาชนที่อาจทราบว่าจะชนะการเลือกตั้งครั้งนี้ ก็ไม่ประมาทและในพื้นที่ที่คิดว่าจะแพ้ เช่น ในพื้นที่ภาคใต้ ก็ยังคงทุ่มเทรณรงค์หา
เสียงอย่างเข้มข้น จึงอาจเกิดปรากฏการณ์การเมืองที่หลายฝ่ายอาจคิดไม่ถึงในการเลือกตั้งครั้งนี้
ประเด็นที่น่าสนใจอีกบางประการคือ บทบาทแกนนำชุมชนท้องถิ่นในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผลสำรวจพบส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.9 ช่วยชี้แจง
ให้ประชาชนเข้าใจวิธีการออกเสียงเลือกตั้ง รองลงมาคือร้อยละ 80.7 ช่วยป้องกันการซื้อเสียงและทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ร้อยละ 24.9 เป็น
กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ร้อยละ 24.6 จัดหากำลังอาสาสมัครช่วยงานกรรมการการเลือกตั้ง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อย
ละ 26.5 ระบุได้รับการร้องขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัครของพรรคการเมืองร้อยละ1.9 ช่วยประสานงานระหว่างผู้สมัครของพรรคการ
เมืองกับประชาชนในพื้นที่ ร้อยละ 11.3 พบปะผู้สมัครของพรรคการเมืองในพื้นที่ ร้อยละ11.0 ได้รับการติดต่อจากผู้สมัครของพรรคการเมือง และร้อย
ละ 4.2 ช่วยรณรงค์ให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกผู้สมัครพรรคการเมืองบางคน เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า กลุ่มแกนนำชุมชนท้องถิ่นประเมินว่า ประชาชนจะออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งโดยภาพรวมทั้งประเทศเฉลี่ย
ร้อยละ 67.9 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้
2. เพื่อสำรวจแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สำรวจความตื่นตัวในการใช้สิทธิเลือก
ตั้งของประชาชน และบทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้ง 2550 :กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 33 จังหวัดของประเทศ และแกน
นำ อบต./อบจ. ในทุกจังหวัดของประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน -5 ธันวาคม 2550
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือก
ตั้งใน 33 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พิจิตร พิษณุโลก สระแก้ว ตราด ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ลำพูน เชียงใหม่
นครราชสีมา ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ลำปาง ตาก หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี เลย สุโขทัย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจ
เจริญ นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างประชาชนที่ทำการสำรวจ จำนวน 7,589 ตัวอย่าง และแกนนำชุมชนจำนวน 2,109 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 9,698
ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.0 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 46.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.5 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.6 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 24.2 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 23.1 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 29.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 64.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 18.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 5.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 11.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.7 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 5.5 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 45.1 ระบุรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร
ร้อยละ 3.3 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.2 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 3.3 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ร้อยละ 3.4 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุการรับทราบกำหนดวันเลือกตั้งครั้งใหม่
ลำดับที่ การรับทราบกำหนดวันเลือกตั้งครั้งใหม่ ร้อยละ
1 ทราบ 83.9
2 ไม่ทราบ 16.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุความเข้าในเรื่องการจัดแบ่งพื้นที่เขตการเลือกตั้งครั้งใหม่
ลำดับที่ ความเข้าใจเรื่องการแบ่งพื้นที่เขตการเลือกตั้งครั้งใหม่ ร้อยละ
1 เข้าใจ 58.6
2 ไม่เข้าใจ 41.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุการรับทราบหน่วยเลือกตั้งที่จะไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งครั้งนี้
ลำดับที่ การรับทราบหน่วยเลือกตั้งที่จะไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ร้อยละ
1 ทราบ 85.6
2 ไม่ทราบ 14.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งเดือนธันวาคมนี้
ลำดับที่ ควมตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งเดือนธันวาคมนี้ ค่าร้อยละ
1 ไม่ไป 26.8
2 ไป 73.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุ การตัดสินใจเลือก ส.ส. ทั้งระบบสัดส่วน และระบบเขตเลือกตั้ง
ลำดับที่ การตัดสินใจ ส.ส.ระบบสัดส่วนค่าร้อยละ ส.ส.ระบบเขตค่าร้อยละ
1 ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพรรคใดแน่นอน 25.6 29.5
2 มีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ 27.8 31.8
3 ยังไม่ตัดสินใจ 46.6 38.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงผลประมาณการจำนวนที่นั่ง ส.ส. แบบสัดส่วนทั่วประเทศ จำแนกตามพรรคการเมือง
ลำดับที่ พรรคการเมือง จำนวนที่นั่ง
1 พรรคพลังประชาชน 39
2 พรรคประชาธิปัตย์ 33
3 พรรคอื่นๆ ได้แก่ ชาติไทย เพื่อแผ่นดิน รวมใจไทยชาติพัฒนา และประชาราช เป็นต้น 8
รวมทั้งสิ้น 80
ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 5 ที่นั่ง กรณีตัดกลุ่มผู้ยังไม่ตัดสินใจออกจากการวิเคราะห์
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุสิ่งที่อยากเห็นหลังการเลือกตั้งในเดือนธันวาคมนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากเห็นหลังการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 เศรษฐกิจดีขึ้น 91.7
2 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 81.4
3 สถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น 72.8
4 ปัญหายาเสพติดหมดไป 71.6
5 รัฐบาลใหม่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ 62.6
6 ความเป็นธรรมในสังคมจะมีมากขึ้น 60.7
7 คนที่ซื้อเสียงถูกลงโทษ 47.9
8 อื่นๆ 3.7
ผลสำรวจจากแกนนำชุมชน อบต. และ อบจ. ในทุกจังหวัดของประเทศ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุพรรคการเมืองที่มาหาเสียงในพื้นที่ของตน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่มาหาเสียงในพื้นที่ ค่าร้อยละ
1 พรรคพลังประชาชน 80.6
2 พรรคประชาธิปัตย์ 63.7
3 พรรคมัชฌิมาธิปไตย 47.6
4 พรรคชาติไทย 44.5
5 พรรคเพื่อแผ่นดิน 44.4
6 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 23.5
7 พรรคประชาราช 13.4
8 อื่นๆ 2.4
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุพรรคการเมืองในพื้นที่มีการหาเสียงแบบเข้มข้น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมืองในพื้นที่ที่มีการหาเสียงแบบเข้มข้น ค่าร้อยละ
1 พรรคพลังประชาชน 57.8
2 พรรคประชาธิปัตย์ 35.8
3 พรรคเพื่อแผ่นดิน 22.4
4 พรรคชาติไทย 21.2
5 พรรคมัชฌิมาธิปไตย 15.8
6 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 9.1
7 พรรคประชาราช 3.1
8 อื่นๆ 0.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุพรรคการเมืองที่มีการหาเสียงแบบเข้มข้น จำแนกตามภูมิภาค
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่มีการหาเสียงแบบเข้มข้น เหนือค่าร้อยละ กลางค่าร้อยละ ตะวันออกเฉียงเหนือค่าร้อยละ ใต้ค่าร้อยละ
1 พรรคพลังประชาชน 56.6 61.8 63.9 36.6
2 พรรคประชาธิปัตย์ 42.9 45.6 17.8 60.8
3 พรรคชาติไทย 21.9 37.8 15.5 11.4
4 พรรคมัชฌิมาธิปไตย 20.2 15.1 16.1 9.5
5 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 10.5 3.5 13.0 3.9
6 พรรคเพื่อแผ่นดิน 12.2 10.5 37.4 13.4
7 พรรคประชาราช 1.1 4.4 3.4 3.3
8 อื่นๆ 0.2 0.2 0.1 1.6
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของแกนนำชุมชนที่ระบุบทบาทของตนเองในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บทบาทของแกนนำชุมชนในการเลือกตั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ช่วยชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจวีธีการออกเสียงเลือกตั้ง 88.9
2 ช่วยป้องกันการซื้อเสียง และการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง 80.7
3 ได้รับการร้องขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัครของพรรคการเมือง 26.5
4 เป็นกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง 24.9
5 จัดหากำลังอาสาสมัครช่วยเป็นกรรมการการเลือกตั้ง 24.6
6 ช่วยประสานงานระหว่างผู้สมัครของพรรคการเมืองกับประชาชนในพื้นที่ 11.9
7 พบปะกับผู้สมัครของพรรคการเมืองในพื้นที่ 11.3
8 ได้รับการติดต่อจากผู้สมัครของพรรคการเมือง 11.0
9 ช่วยรณรงค์ให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกผู้สมัครของพรรคการเมืองบางคน 4.2
10 อื่นๆ 10.7
ตารางที่ 5 แสดงค่าเฉลี่ยร้อยละของประชาชนที่แกนนำชุมชนในพื้นที่คาดว่าจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งนี้
ภาพรวมค่าร้อยละ
คาดว่าประชาชนในพื้นที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้ คิดเป็นร้อยละ ................67.9
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-