ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า หลังจาก
ได้ประมาณการจำนวนที่นั่ง ส.ส.แบบสัดส่วนที่พบว่า พรรคพลังประชาชนจะได้ 39 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์จะได้ 33 ที่นั่ง และพรรคอื่นจะได้ 8 ที่นั่ง
ไปแล้วนั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนใจเลือกพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้ชนะของการเลือกตั้ง
2550 จากตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศจำนวน 7,589 ตัวอย่าง พบประเด็นที่น่าพิจารณาที่เป็นความแน่นอนและไม่แน่นอนที่อาจทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้ชนะของการเลือกตั้ง 2550 ดังนี้
ผลการสำรวจพบว่า ไม่ว่าประชาชนตั้งใจจะเลือกพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นเดียวกันคือ
ต้องการเห็นเศรษฐกิจที่ดีขึ้นหลังการเลือกตั้ง ซึ่งมีอยู่กว่าร้อยละ 90 โดยเมื่อจำแนกตามพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกนั้น โดยผู้ที่ตั้งใจจะเลือก
พรรคพลังประชาชนมีอยู่ร้อยละ 93.6 ตั้งจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ มีอยู่ร้อยละ 90.6 และตั้งใจจะเลือกพรรคอื่นๆ มีอยู่ร้อยละ 88.5 นอกจาก
นี้ผลการสำรวจยังพบว่าสิ่งที่ประชาชนอยากเห็นหลังการเลือกตั้งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือความรักความสามัคคีของคนในชาติ ซึ่งพบว่าทั้ง 3 กลุ่มมีอยู่
ประมาณร้อยละ 80 และพบว่าร้อยละ 75.3 ของประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์อยากเห็นสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ดีขึ้นหลัง
การเลือกตั้ง
นอกจากนี้ร้อยละ 76.3 ของประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกพรรคพลังประชาชนอยากเห็นปัญหายาเสพติดหมดไปหลังการเลือกตั้ง ในขณะที่ผู้ที่
ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์มีสัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 68.1 และตั้งใจจะเลือกพรรคอื่นๆ มีอยู่ร้อยละ 67.7 ตามลำดับ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาลใหม่ในการทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้นั้น ผลการสำรวจพบว่า ประมาณร้อยละ 60 ของทั้ง
สามกลุ่มระบุอยากเห็นรัฐบาลใหม่ทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ในช่วงเลือกตั้ง
และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกตั้ง 2550 นี้โดยพิจารณาจำแนกตามพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก
นั้น ผลการสำรวจพบว่า ในกลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคพลังประชาชน ร้อยละ 57.2 ระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้งอันดับ 1
ได้แก่ หัวหน้าพรรคการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 55.1 ระบุใช้ข้อมูลจากคนในครอบครัว ร้อยละ 52.7 ระบุใช้ข้อมูลจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง
และร้อยละ 50.7 ระบุใช้ข้อมูลจากสื่อมวลชนที่วิเคราะห์ข่าว โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์
สำหรับกลุ่มประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์นั้น ร้อยละ 59.2 ระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจคือหัวหน้าพรรค
การเมือง รองลงมาคือ ร้อยละ 57.4 ระบุข้อมูลจากสื่อมวลชนที่วิเคราะห์ข่าวโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 52.8 ระบุผู้สมัครรับเลือกตั้ง
และร้อยละ 50.6 ระบุคนในครอบครัวตามลำดับ
และเมื่อวิเคราะห์การตัดสินใจของประชาชนต่อ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.ประจำเขตเลือกตั้ง โดยภาพรวมพบว่า ประมาณ
1 ใน 3 ของประชาชนที่ถูกศึกษาระบุได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด ซึ่งมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันทั้งหญิงและชาย อย่างไรก็ตามร้อย
ละ 34.6 ของประชาชนเพศชายที่ถูกศึกษาระบุมีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ ในขณะที่เพศหญิงมีสัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 29.5 อย่าง
ไรก็ตามร้อยละ 41.0 ของประชาชนที่ถูกศึกษาที่เป็นหญิง ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือก ส.ส.จากพรรคการเมืองใด ในขณะที่เพศชายมีกลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้
ตัดสินใจคิดเป็นร้อยละ 35.9 นอกจากนี้เมื่อพิจารณาตามช่วงอายุนั้นพบว่า ร้อยละ 42.9 ของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปยังไม่ตัดสินใจว่าจะ
เลือกพรรคการเมืองใดซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่นๆ
สำหรับการตัดสินใจของกลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษาชั้นนั้น พบว่ามากกว่า 2 ใน 3ของกลุ่มผู้ที่สำเร็จการศึกษา
ระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีพรรคการเมืองอยู่ในใจแล้ว โดยร้อยละ 37.3 ได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด ในขณะที่ร้อยละ 35.1 นั้น
ยังมีโอกาสที่จะเปลี่ยนใจได้ ทั้งนี้ร้อยละ 27.6 ยังไม่ได้สินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด สำหรับในกลุ่มผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญา
ตรีนั้น พบว่ามากกว่า 1 ใน 3 ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด
และเมื่อพิจารณาการตัดสินใจของประชาชนจำแนกตามสภาพพื้นที่พักอาศัยนั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 34.9 ของประชาชนที่อาศัยอยู่
ในหมู่บ้าน/ชุมชนดั้งเดิมในเขตเทศบาล มีโอกาสเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคการเมืองอื่น ถึงแม้ว่าจะมีพรรคการเมืองอยู่ในใจแล้วก็ตาม สำหรับในกลุ่มผู้ที่
พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนเดิมนอกเขตเทศบาลนั้นผลการสำรวจพบว่าร้อยละ 42.6 ยังไม่ตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองใด ในขณะที่ร้อยละ 38.9
ของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนหมู่บ้านจัดสรรใหม่นั้นได้ตัดสินอย่างแน่นอนแล้วว่าจะเลือกพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้งครั้งนี้
นอกเหนือไปจากการตัดสินใจของประชาชนในการเลือก ส.ส. ประจำเขตเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ แล้ว ผลการสำรวจพบว่าใน
กลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคการเมืองต่างๆ นั้น มากกว่าครึ่งหนึ่งยังไม่ทราบว่า ส.ส.ของพรรคการเมืองที่ตนเองตั้งใจจะเลือกมีเบอร์อะไรบ้าง อาทิ
ในกลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเลือก ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์นั้นร้อยละ 56.1 ยังไม่ทราบว่า ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ในเขตของตนมีเบอร์อะไรบ้าง
เช่นเดียวกัน ร้อยละ 63.3 ของผู้ที่ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อแผ่นดินก็ยังไม่ทราบเบอร์ของผู้สมัคร ร้อยละ 61.5 ยังไม่ทราบเบอร์ของ ผู้
สมัครที่ตนจะเลือกจากพรรคมัชฌิมาธิปไตย และร้อยละ 58.2 ยังไม่ทราบเบอร์ของผู้สมัครที่ตนจะเลือกจากพรรคประชาราช ตามลำดับ ในขณะที่ใน
กลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคพลังประชาชนนั้นมีพบว่าร้อยละ 44.2 ระบุยังไม่ทราบเบอร์ของผู้สมัครที่ตนเองตั้งใจจะเลือก
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ผลวิเคราะห์พรรคการเมืองที่ประชาชนตั้งใจจะเลือกจำแนกตามจุดยืนทางการเมือง ที่พบว่า ร้อยละ
59.0 ของกลุ่มผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ จะเลือกพรรคพลังประชาชนในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 ของกลุ่มนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ สำหรับในกลุ่มผู้ที่ไม่
สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณนั้น ร้อยละ 61.4 ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 25.9 ยังไม่ตัดสิดใจเลือกพรรคใด ที่น่าสนใจคือการตัดสิน
ใจ ของคนในกลุ่มที่เรียกตนเองว่าพลังเงียบ ที่พบว่า ประมาณ 2 ใน 3 คือร้อยละ 61.3 ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด ในขณะที่ร้อย
ละ 18.1 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 13.2 จะเลือกพรรคพลังประชาชน โดยมีเพียงร้อยละ 7.4 ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคอื่นๆ
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่พบว่าเป็นความชัดเจนแน่นอนในการสำรวจครั้งนี้คือ สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นภายหลังการเลือกตั้ง ได้แก่ อยาก
เห็นเศรษฐกิจดีขึ้น อยากเห็นความรักความสามัคคีของคนในชาติ อยากเห็นความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยากเห็นปัญหายาเสพติดหมดไป
และอยากเห็นรัฐบาลใหม่ทำได้ตามนโยบายที่ประกาศไว้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นเหล่านี้ยังไม่ได้รับความชัดเจนจากพรรคการเมืองให้
เกิดการรับรู้อย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน ส่งผลให้กลุ่มพลังเงียบยังไม่เทคะแนนให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งในขณะนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วง
คือ พรรคการเมืองต่างๆ อาจไม่สนใจความต้องการของกลุ่มพลังเงียบ และอาจกำลังพยายามทำให้กลุ่มพลังเงียบเบื่อหน่ายต่อการเมืองจนไม่ออกไปใช้
สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งอาจทำให้แผนที่พรรคการเมืองบางพรรควางไว้เพื่อชนะการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปได้ง่ายขึ้นโดยพยายามรักษาฐานเสียงของตนไว้ตามที่มี
อยู่ขณะนี้ก็เพียงพอที่จะชนะการเลือกตั้งแล้ว แต่ถ้ากลุ่มพลังเงียบออกมาใช้สิทธิเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปจากการทำ
นายของโพลล์และการคาดเดาของกลุ่มต่างๆ ได้ ดังนั้น การชี้ขาดผลการเลือกตั้ง 2550 จึงน่าจะอยู่ที่กลุ่มพลังเงียบที่สำรวจพบว่าเป็นประชาชนกลุ่ม
ใหญ่ที่สุดในขณะนี้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้
2. เพื่อสำรวจแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้
3. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนใจเลือกพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้
ชนะของการเลือกตั้ง 2550
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนใจ
เลือกพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้ชนะของการเลือกตั้ง 2550” ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัย
เชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 33 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
สมุทรปราการ พิจิตร พิษณุโลก สระแก้ว ตราด ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ลำพูน เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ลำปาง
ตาก หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี เลย สุโขทัย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างประชาชนที่ทำการสำรวจ จำนวน 7,589 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.0 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 46.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.5 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.6 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 24.2 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 23.1 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 29.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 64.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 18.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 5.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 11.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.8 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 5.5 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 45.1 ระบุรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร
ร้อยละ 3.3 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.2 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 3.3 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ร้อยละ 3.4 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุสิ่งที่อยากเห็นหลังการเลือกตั้งในเดือนธันวาคมนี้ จำแนก
ตามพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากเห็นหลังการเลือกตั้ง ผู้ตั้งใจจะเลือก พปช. ผู้ตั้งใจจะเลือก ปชป. ผู้ตั้งใจจะเลือก อื่นๆ
1 เศรษฐกิจดีขึ้น 93.6 90.6 88.5
2 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 82.1 81.9 78.3
3 สถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น 71.3 75.3 68.0
4 ปัญหายาเสพติดหมดไป 76.3 68.1 67.7
5 รัฐบาลใหม่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ 65.9 61.5 61.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกตั้ง 2550 จำแนกตามพรรค
การเมืองที่ตั้งใจจะเลือก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ ผู้ตั้งใจจะเลือก พปช. ผู้ตั้งใจจะเลือก ปชป. ผู้ตั้งใจจะเลือก อื่นๆ
1 คนในครอบครัว 55.1 50.6 55.6
2 เพื่อน 31.9 27.7 30.0
3 พระ/ผู้นำทางศาสนา 7.2 6.4 8.5
4 นักวิชาการ 12.9 22.0 21.2
5 ผู้อาวุโสในชุมชน 15.7 15.1 21.3
6 สื่อมวลชนที่วิเคราะห์ข่าว โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ 50.7 57.4 53.7
7 ผู้นำท้องถิ่น (อาทิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต./เทศบาล อบจ.) 19.1 16.7 23.3
8 ข้าราชการในท้องถิ่น พื้นที่ 10.5 9.7 14.6
9 หัวคะแนน 5.1 5.1 8.1
10 ผู้มีอิทธิพล/ผู้กว้างขวางในชุมชน 5.1 4.7 6.3
11 ผลโพลล์ 9.9 9.8 10.3
12 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง 52.7 52.8 57.3
13 หัวหน้าพรรคการเมือง 57.2 59.2 56.1
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้งจำแนกตามเพศ
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้ง เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1 ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพรรคใดแน่นอน 29.5 29.5 25.6
2 มีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ 34.6 29.5 27.8
3 ยังไม่ตัดสินใจ 35.9 41.0 38.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้งจำแนกตามช่วงอายุ
การมีพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส. ต่ำกว่า 20 ปีค่าร้อยละ 20-29 ปีค่าร้อยละ 30-39 ปีค่าร้อยละ 40-49 ปีค่าร้อยละ ตั้งแต่50 ปีขึ้น
แบบประจำเขตเลือกตั้ง
1. ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพรรคใดแน่นอน 35.0 36.0 31.3 28.2 24.1
2. มีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ 28.1 27.5 31.8 34.6 33.0
3. ยังไม่ตัดสินใจ 36.9 36.5 36.9 37.2 42.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้งจำแนก
ตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้ง ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรี ขึ้นไปค่าร้อยละ
1 ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพรรคใดแน่นอน 28.3 37.3
2 มีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ 31.4 35.1
3 ยังไม่ตัดสินใจ 40.3 27.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้งจำแนกตาม
สภาพพื้นที่พักอาศัย
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้ง หมู่บ้าน/ชุมชนดั้งเดิม หมู่บ้าน/ชุมชนดั้งเดิม ชุมชนหมู่บ้าน
นอกเขตเทศบาล ในเขตเทศบาล จัดสรรใหม่
1 ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพรรคใดแน่นอน 27.3 32.6 38.9
2 มีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ 30.1 34.9 30.5
3 ยังไม่ตัดสินใจ 42.6 32.5 30.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุการรับทราบเบอร์ของ ส.ส.ประจำเขตเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือก จำแนก
ตามพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.ประจำเขตเลือกตั้ง ทราบเบอร์แล้ว ยังไม่ทราบเบอร์ รวมทั้งสิ้น
1 พรรคเพื่อแผ่นดิน 36.7 63.3 100.0
2 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 45.4 54.6 100.0
3 พรรคประชาธิปัตย์ 43.9 56.1 100.0
4 พรรคประชาราช 41.8 58.2 100.0
5 พรรคพลังประชาชน 55.8 44.2 100.0
6 พรรคชาติไทย 42.4 57.6 100.0
7 พรรคมัชฌิมาประชาธิปไตย 38.5 61.5 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก จำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่ พรรคการเมือง ผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ไม่สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี กลุ่มพลังเงียบ
1 พรรคพลังประชาชน 59.0 3.6 13.2
2 พรรคประชาธิปัตย์ 3.6 61.4 18.1
3 พรรคอื่นๆ เช่น พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทย เป็นต้น 7.0 9.1 7.4
4 ยังไม่ตัดสินใจ 30.4 25.9 61.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 (n=2,397) 100.0(n=744) 100.0(n=4,448)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ได้ประมาณการจำนวนที่นั่ง ส.ส.แบบสัดส่วนที่พบว่า พรรคพลังประชาชนจะได้ 39 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์จะได้ 33 ที่นั่ง และพรรคอื่นจะได้ 8 ที่นั่ง
ไปแล้วนั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนใจเลือกพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้ชนะของการเลือกตั้ง
2550 จากตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศจำนวน 7,589 ตัวอย่าง พบประเด็นที่น่าพิจารณาที่เป็นความแน่นอนและไม่แน่นอนที่อาจทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้ชนะของการเลือกตั้ง 2550 ดังนี้
ผลการสำรวจพบว่า ไม่ว่าประชาชนตั้งใจจะเลือกพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้งครั้งนี้ก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นเดียวกันคือ
ต้องการเห็นเศรษฐกิจที่ดีขึ้นหลังการเลือกตั้ง ซึ่งมีอยู่กว่าร้อยละ 90 โดยเมื่อจำแนกตามพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกนั้น โดยผู้ที่ตั้งใจจะเลือก
พรรคพลังประชาชนมีอยู่ร้อยละ 93.6 ตั้งจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ มีอยู่ร้อยละ 90.6 และตั้งใจจะเลือกพรรคอื่นๆ มีอยู่ร้อยละ 88.5 นอกจาก
นี้ผลการสำรวจยังพบว่าสิ่งที่ประชาชนอยากเห็นหลังการเลือกตั้งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือความรักความสามัคคีของคนในชาติ ซึ่งพบว่าทั้ง 3 กลุ่มมีอยู่
ประมาณร้อยละ 80 และพบว่าร้อยละ 75.3 ของประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์อยากเห็นสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ดีขึ้นหลัง
การเลือกตั้ง
นอกจากนี้ร้อยละ 76.3 ของประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกพรรคพลังประชาชนอยากเห็นปัญหายาเสพติดหมดไปหลังการเลือกตั้ง ในขณะที่ผู้ที่
ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์มีสัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 68.1 และตั้งใจจะเลือกพรรคอื่นๆ มีอยู่ร้อยละ 67.7 ตามลำดับ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐบาลใหม่ในการทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้นั้น ผลการสำรวจพบว่า ประมาณร้อยละ 60 ของทั้ง
สามกลุ่มระบุอยากเห็นรัฐบาลใหม่ทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ในช่วงเลือกตั้ง
และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกตั้ง 2550 นี้โดยพิจารณาจำแนกตามพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก
นั้น ผลการสำรวจพบว่า ในกลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคพลังประชาชน ร้อยละ 57.2 ระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้งอันดับ 1
ได้แก่ หัวหน้าพรรคการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 55.1 ระบุใช้ข้อมูลจากคนในครอบครัว ร้อยละ 52.7 ระบุใช้ข้อมูลจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง
และร้อยละ 50.7 ระบุใช้ข้อมูลจากสื่อมวลชนที่วิเคราะห์ข่าว โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์
สำหรับกลุ่มประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์นั้น ร้อยละ 59.2 ระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจคือหัวหน้าพรรค
การเมือง รองลงมาคือ ร้อยละ 57.4 ระบุข้อมูลจากสื่อมวลชนที่วิเคราะห์ข่าวโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 52.8 ระบุผู้สมัครรับเลือกตั้ง
และร้อยละ 50.6 ระบุคนในครอบครัวตามลำดับ
และเมื่อวิเคราะห์การตัดสินใจของประชาชนต่อ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.ประจำเขตเลือกตั้ง โดยภาพรวมพบว่า ประมาณ
1 ใน 3 ของประชาชนที่ถูกศึกษาระบุได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด ซึ่งมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันทั้งหญิงและชาย อย่างไรก็ตามร้อย
ละ 34.6 ของประชาชนเพศชายที่ถูกศึกษาระบุมีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ ในขณะที่เพศหญิงมีสัดส่วนดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 29.5 อย่าง
ไรก็ตามร้อยละ 41.0 ของประชาชนที่ถูกศึกษาที่เป็นหญิง ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือก ส.ส.จากพรรคการเมืองใด ในขณะที่เพศชายมีกลุ่มผู้ที่ยังไม่ได้
ตัดสินใจคิดเป็นร้อยละ 35.9 นอกจากนี้เมื่อพิจารณาตามช่วงอายุนั้นพบว่า ร้อยละ 42.9 ของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปยังไม่ตัดสินใจว่าจะ
เลือกพรรคการเมืองใดซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่นๆ
สำหรับการตัดสินใจของกลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษา จำแนกตามระดับการศึกษาชั้นนั้น พบว่ามากกว่า 2 ใน 3ของกลุ่มผู้ที่สำเร็จการศึกษา
ระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีพรรคการเมืองอยู่ในใจแล้ว โดยร้อยละ 37.3 ได้ตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด ในขณะที่ร้อยละ 35.1 นั้น
ยังมีโอกาสที่จะเปลี่ยนใจได้ ทั้งนี้ร้อยละ 27.6 ยังไม่ได้สินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด สำหรับในกลุ่มผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญา
ตรีนั้น พบว่ามากกว่า 1 ใน 3 ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด
และเมื่อพิจารณาการตัดสินใจของประชาชนจำแนกตามสภาพพื้นที่พักอาศัยนั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 34.9 ของประชาชนที่อาศัยอยู่
ในหมู่บ้าน/ชุมชนดั้งเดิมในเขตเทศบาล มีโอกาสเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคการเมืองอื่น ถึงแม้ว่าจะมีพรรคการเมืองอยู่ในใจแล้วก็ตาม สำหรับในกลุ่มผู้ที่
พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนเดิมนอกเขตเทศบาลนั้นผลการสำรวจพบว่าร้อยละ 42.6 ยังไม่ตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองใด ในขณะที่ร้อยละ 38.9
ของประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนหมู่บ้านจัดสรรใหม่นั้นได้ตัดสินอย่างแน่นอนแล้วว่าจะเลือกพรรคการเมืองใดในการเลือกตั้งครั้งนี้
นอกเหนือไปจากการตัดสินใจของประชาชนในการเลือก ส.ส. ประจำเขตเลือกตั้งของพรรคการเมืองต่างๆ แล้ว ผลการสำรวจพบว่าใน
กลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคการเมืองต่างๆ นั้น มากกว่าครึ่งหนึ่งยังไม่ทราบว่า ส.ส.ของพรรคการเมืองที่ตนเองตั้งใจจะเลือกมีเบอร์อะไรบ้าง อาทิ
ในกลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเลือก ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์นั้นร้อยละ 56.1 ยังไม่ทราบว่า ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ในเขตของตนมีเบอร์อะไรบ้าง
เช่นเดียวกัน ร้อยละ 63.3 ของผู้ที่ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อแผ่นดินก็ยังไม่ทราบเบอร์ของผู้สมัคร ร้อยละ 61.5 ยังไม่ทราบเบอร์ของ ผู้
สมัครที่ตนจะเลือกจากพรรคมัชฌิมาธิปไตย และร้อยละ 58.2 ยังไม่ทราบเบอร์ของผู้สมัครที่ตนจะเลือกจากพรรคประชาราช ตามลำดับ ในขณะที่ใน
กลุ่มผู้ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคพลังประชาชนนั้นมีพบว่าร้อยละ 44.2 ระบุยังไม่ทราบเบอร์ของผู้สมัครที่ตนเองตั้งใจจะเลือก
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ผลวิเคราะห์พรรคการเมืองที่ประชาชนตั้งใจจะเลือกจำแนกตามจุดยืนทางการเมือง ที่พบว่า ร้อยละ
59.0 ของกลุ่มผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ จะเลือกพรรคพลังประชาชนในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 ของกลุ่มนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ สำหรับในกลุ่มผู้ที่ไม่
สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณนั้น ร้อยละ 61.4 ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 25.9 ยังไม่ตัดสิดใจเลือกพรรคใด ที่น่าสนใจคือการตัดสิน
ใจ ของคนในกลุ่มที่เรียกตนเองว่าพลังเงียบ ที่พบว่า ประมาณ 2 ใน 3 คือร้อยละ 61.3 ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคการเมืองใด ในขณะที่ร้อย
ละ 18.1 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 13.2 จะเลือกพรรคพลังประชาชน โดยมีเพียงร้อยละ 7.4 ที่ตั้งใจจะเลือกพรรคอื่นๆ
ดร.นพดล กล่าวว่า สิ่งที่พบว่าเป็นความชัดเจนแน่นอนในการสำรวจครั้งนี้คือ สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นภายหลังการเลือกตั้ง ได้แก่ อยาก
เห็นเศรษฐกิจดีขึ้น อยากเห็นความรักความสามัคคีของคนในชาติ อยากเห็นความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยากเห็นปัญหายาเสพติดหมดไป
และอยากเห็นรัฐบาลใหม่ทำได้ตามนโยบายที่ประกาศไว้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนอยากเห็นเหล่านี้ยังไม่ได้รับความชัดเจนจากพรรคการเมืองให้
เกิดการรับรู้อย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน ส่งผลให้กลุ่มพลังเงียบยังไม่เทคะแนนให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งในขณะนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วง
คือ พรรคการเมืองต่างๆ อาจไม่สนใจความต้องการของกลุ่มพลังเงียบ และอาจกำลังพยายามทำให้กลุ่มพลังเงียบเบื่อหน่ายต่อการเมืองจนไม่ออกไปใช้
สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งอาจทำให้แผนที่พรรคการเมืองบางพรรควางไว้เพื่อชนะการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปได้ง่ายขึ้นโดยพยายามรักษาฐานเสียงของตนไว้ตามที่มี
อยู่ขณะนี้ก็เพียงพอที่จะชนะการเลือกตั้งแล้ว แต่ถ้ากลุ่มพลังเงียบออกมาใช้สิทธิเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ผลการเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปจากการทำ
นายของโพลล์และการคาดเดาของกลุ่มต่างๆ ได้ ดังนั้น การชี้ขาดผลการเลือกตั้ง 2550 จึงน่าจะอยู่ที่กลุ่มพลังเงียบที่สำรวจพบว่าเป็นประชาชนกลุ่ม
ใหญ่ที่สุดในขณะนี้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้
2. เพื่อสำรวจแหล่งข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้
3. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนใจเลือกพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้
ชนะของการเลือกตั้ง 2550
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ศึกษาความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนใจ
เลือกพรรคการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการเปลี่ยนแปลงในผลแพ้ชนะของการเลือกตั้ง 2550” ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัย
เชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 33 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
สมุทรปราการ พิจิตร พิษณุโลก สระแก้ว ตราด ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ลำพูน เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ลำปาง
ตาก หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี เลย สุโขทัย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างประชาชนที่ทำการสำรวจ จำนวน 7,589 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.0 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 46.0 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.5 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.6 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 24.2 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 23.1 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 29.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 64.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 18.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 5.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 11.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 0.8 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 5.5 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 45.1 ระบุรับจ้างทั่วไป/เกษตรกร
ร้อยละ 3.3 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 8.2 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 3.3 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ร้อยละ 3.4 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุสิ่งที่อยากเห็นหลังการเลือกตั้งในเดือนธันวาคมนี้ จำแนก
ตามพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่อยากเห็นหลังการเลือกตั้ง ผู้ตั้งใจจะเลือก พปช. ผู้ตั้งใจจะเลือก ปชป. ผู้ตั้งใจจะเลือก อื่นๆ
1 เศรษฐกิจดีขึ้น 93.6 90.6 88.5
2 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 82.1 81.9 78.3
3 สถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดีขึ้น 71.3 75.3 68.0
4 ปัญหายาเสพติดหมดไป 76.3 68.1 67.7
5 รัฐบาลใหม่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ 65.9 61.5 61.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกตั้ง 2550 จำแนกตามพรรค
การเมืองที่ตั้งใจจะเลือก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ ผู้ตั้งใจจะเลือก พปช. ผู้ตั้งใจจะเลือก ปชป. ผู้ตั้งใจจะเลือก อื่นๆ
1 คนในครอบครัว 55.1 50.6 55.6
2 เพื่อน 31.9 27.7 30.0
3 พระ/ผู้นำทางศาสนา 7.2 6.4 8.5
4 นักวิชาการ 12.9 22.0 21.2
5 ผู้อาวุโสในชุมชน 15.7 15.1 21.3
6 สื่อมวลชนที่วิเคราะห์ข่าว โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ 50.7 57.4 53.7
7 ผู้นำท้องถิ่น (อาทิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต./เทศบาล อบจ.) 19.1 16.7 23.3
8 ข้าราชการในท้องถิ่น พื้นที่ 10.5 9.7 14.6
9 หัวคะแนน 5.1 5.1 8.1
10 ผู้มีอิทธิพล/ผู้กว้างขวางในชุมชน 5.1 4.7 6.3
11 ผลโพลล์ 9.9 9.8 10.3
12 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง 52.7 52.8 57.3
13 หัวหน้าพรรคการเมือง 57.2 59.2 56.1
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้งจำแนกตามเพศ
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้ง เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ ภาพรวมค่าร้อยละ
1 ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพรรคใดแน่นอน 29.5 29.5 25.6
2 มีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ 34.6 29.5 27.8
3 ยังไม่ตัดสินใจ 35.9 41.0 38.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้งจำแนกตามช่วงอายุ
การมีพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส. ต่ำกว่า 20 ปีค่าร้อยละ 20-29 ปีค่าร้อยละ 30-39 ปีค่าร้อยละ 40-49 ปีค่าร้อยละ ตั้งแต่50 ปีขึ้น
แบบประจำเขตเลือกตั้ง
1. ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพรรคใดแน่นอน 35.0 36.0 31.3 28.2 24.1
2. มีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ 28.1 27.5 31.8 34.6 33.0
3. ยังไม่ตัดสินใจ 36.9 36.5 36.9 37.2 42.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้งจำแนก
ตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้ง ต่ำกว่า ป.ตรีค่าร้อยละ ป.ตรี ขึ้นไปค่าร้อยละ
1 ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพรรคใดแน่นอน 28.3 37.3
2 มีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ 31.4 35.1
3 ยังไม่ตัดสินใจ 40.3 27.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้งจำแนกตาม
สภาพพื้นที่พักอาศัย
ลำดับที่ การมีพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.แบบประจำเขตเลือกตั้ง หมู่บ้าน/ชุมชนดั้งเดิม หมู่บ้าน/ชุมชนดั้งเดิม ชุมชนหมู่บ้าน
นอกเขตเทศบาล ในเขตเทศบาล จัดสรรใหม่
1 ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกพรรคใดแน่นอน 27.3 32.6 38.9
2 มีพรรคในใจแล้วแต่อาจเปลี่ยนใจได้ 30.1 34.9 30.5
3 ยังไม่ตัดสินใจ 42.6 32.5 30.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุการรับทราบเบอร์ของ ส.ส.ประจำเขตเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือก จำแนก
ตามพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ส.ส.ประจำเขตเลือกตั้ง ทราบเบอร์แล้ว ยังไม่ทราบเบอร์ รวมทั้งสิ้น
1 พรรคเพื่อแผ่นดิน 36.7 63.3 100.0
2 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 45.4 54.6 100.0
3 พรรคประชาธิปัตย์ 43.9 56.1 100.0
4 พรรคประชาราช 41.8 58.2 100.0
5 พรรคพลังประชาชน 55.8 44.2 100.0
6 พรรคชาติไทย 42.4 57.6 100.0
7 พรรคมัชฌิมาประชาธิปไตย 38.5 61.5 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก จำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่ พรรคการเมือง ผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี ผู้ไม่สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรี กลุ่มพลังเงียบ
1 พรรคพลังประชาชน 59.0 3.6 13.2
2 พรรคประชาธิปัตย์ 3.6 61.4 18.1
3 พรรคอื่นๆ เช่น พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทย เป็นต้น 7.0 9.1 7.4
4 ยังไม่ตัดสินใจ 30.4 25.9 61.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 (n=2,397) 100.0(n=744) 100.0(n=4,448)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-