ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง “อนาคตประเทศไทยในทรรศนะของประชาชน” ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างประชาชนจำนวน 5,213 ตัวอย่าง ซึ่ง
ดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน -20 ธันวาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีฝันร้ายของประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2549-2550 พบว่าอันดับหนึ่งได้แก่ การกลับ
มาของปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 65.7) รองลงมาคือ ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ร้อยละ 64.4) ปัญหาสินค้าราคาแพง (ร้อยละ
61.2) ปัญหาพลังงานเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น (ร้อยละ 56.0) และปัญหารทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มการเมือง (ร้อยละ 50.6) ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์ต่างๆ อาจเกิดขึ้นในประเทศภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า
ทุกประเด็นที่สอบถามประชาชนได้คะแนนไม่ถึงครึ่งหนึ่ง คือ เรื่องเศรษฐกิจจะดีขึ้นได้เพียง 4.70 คะแนน เรื่องความรักความสามัคคีของคนในชาติได้
4.55 คะแนน เรื่อง รัฐบาลใหม่จะทำได้ตามนโยบายที่ประกาศ ช่วงหาเสียงได้ 4.36 คะแนน เรื่อง พรรคการเมืองต่างๆ จะช่วยกันจัดตั้งรัฐบาล
ด้วยความเรียบร้อยได้ 4.30 คะแนน เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ 4.25 คะแนน เรื่องรัฐบาลใหม่จะอยู่บริหารประเทศจน
ครบ วาระได้ 4.18 คะแนน เรื่องความซื่อสัตย์สุจริตของกลุ่มนักการเมืองได้ 3.68 คะแนน เรื่องความสงบใน 3 จังหวัดชาย แดนภาคใต้จะกลับคืน
มาได้ 3.58 คะแนน และเรื่องปัญหายาเสพติดจะหมดไป ได้เพียง 3.30 คะแนน
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ สิ่งที่ประชาชนเลือกระหว่างความหวัง กับ ความกลัวต่อเหตุการณ์บ้านเมืองของประเทศ พบว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อย
ละ 50.0 เลือกที่จะหวังก้าวต่อไปข้างหน้า เพราะคิดว่าสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศน่าจะคลี่ คลายลงได้แล้ว และมีความหวังต่อนโยบายและท่าที
ของพรรคการเมืองต่างๆ ขณะนี้ ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50 เช่นกันเลือกที่จะกลัวและกังวลต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศ เนื่องจาก ยังมี
ความไม่แน่นอน/ไม่ชัดเจนทางการเมือง การเมืองยังไม่มีเสถียรภาพ ยังมีการแบ่งแยกทางความคิดของกลุ่มการเมืองต่างๆ และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นยัง
คงมีอยู่
เมื่อจำแนกออกตามลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ชายเลือกที่จะหวังเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้ามากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นหญิง ขณะที่
ตัวอย่างผู้หญิงจะมีความกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศมากกว่าชาย นอกจากนี้ที่น่าสนใจคือ ผู้มีอายุมากมีความกังวลและกลัวมากกว่า
กลุ่มผู้มีอายุน้อย และผู้ที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีสัดส่วนของผู้กังวลและกลัวต่อเหตุกาณ์ข้างหน้าของประเทศมากกว่าผู้ที่สำเร็จปริญญาตรีขึ้นไป
แต่ที่น่าสนใจคือประชาชนที่มีรายได้ปานกลางมีสัดส่วนของผู้ที่เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปมากกว่ากลุ่มผู้มีรายได้ระดับอื่นๆ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาใหญ่ของประเทศในรอบปี 2549-2550
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศในขณะนี้
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อนาคตประเทศไทยในทรรศนะ
ประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 27 จังหวัดทั่วประเทศ” ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ
(Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 27 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ
พิษณุโลก สระแก้ว ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ลำพูน เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา ลำปาง ตาก หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี
สุโขทัย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ซึ่งมีระยะเวลา
การดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน -20 ธันวาคม 2550
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างประชาชนที่ทำการสำรวจ จำนวน 5,213 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.2 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 43.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.4 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.1 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 21.0 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 25.3 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 21.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 22.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 7.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 14.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.1 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 29.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.3 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 7.6 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 3.8 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.9 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ร้อยละ 5.9 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ “ฝันร้ายของคนไทยในช่วงปี 2549-2550” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ฝันร้ายของคนไทยในช่วงปี พ.ศ. 2549-2550 ค่าร้อยละ
1 ปัญหายาเสพติดกลับคืนมา 65.7
2 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 64.4
3 ปัญหาสินค้าราคาแพง 61.2
4 ปัญหาพลังงานเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น 56.0
5 ปัญหาทุจริต คอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมือง 50.6
6 คนไทยทะเลาะทำร้ายกัน เรื่องการเมือง เช่นที่ห้างพารากอน 39.9
7 ปัญหาโจรผู้ร้าย 39.7
8 การปฏิวัติรัฐประหาร 30.4
9 ปัญหาแกงค์และกลุ่มอิทธิพลต่างๆ 27.9
10 การชุมนุมประท้วงของกลุ่มหนุน กลุ่มต้านทักษิณ 27.5
11 ปัญหาซื้อสิทธิขายเสียง 26.8
12 ปัญหาเด็กและเยาวชน 22.5
13 ปํญหาการเล่นการพนัน 20.9
14 ปัญหาอุบัติเหตุบนถนน 18.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง
(จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง คะแนนเฉลี่ย
1 เศรษฐกิจจะดีขึ้น 4.70
2 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 4.55
3 รัฐบาลใหม่จะทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ช่วงหาเสียง 4.36
4 พรรคการเมืองต่างๆ จะช่วยกันจัดตั้งรัฐบาลด้วยความเรียบร้อย 4.30
5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะมีมากขึ้น 4.25
6 รัฐบาลใหม่จะอยู่บริหารประเทศได้นานจนครบวาระ 4.18
7 ความซื่อสัตย์สุจริตของกลุ่มนักการเมือง 3.68
8 ความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะกลับคืนมา 3.58
9 ปัญหายาเสพติดจะหมดไป 3.30
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เลือก ระหว่างความหวังกับความหวาดกลัวต่อสถานการณ์บ้านเมืองภายหลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ทางเลือกของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า เพราะ..... คิดว่าสถานการณ์ของประเทศน่าจะคลี่คลายลงแล้ว /
หวังในนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ที่กำลังหาเสียงอยู่ในขณะนี้ 50.0
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทยเนื่องจาก... ยังมีความไม่แน่นอนทางการเมือง /
การเมืองยังไม่มีเสถียรภาพ/ยังมีการแบ่งแยกทางความคิดของกลุ่มการเมืองต่างๆ และปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นยังคงมีอยู่ 50.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เลือก ระหว่างความหวังกับความหวาดกลัวต่อสถานการณ์บ้านเมือง
ภายหลังการเลือกตั้ง จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ ทางเลือกของประชาชน เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 53.1 47.7
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 46.9 52.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เลือก ระหว่างความหวังกับความหวาดกลัวต่อสถานการณ์บ้านเมือง
ภายหลังการเลือกตั้งจำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ ทางเลือกของประชาชน ต่ำกว่า20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี 50 ปีขึ้นไป
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 56.3 51.7 47.5 51.3 49.1
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 43.7 48.3 52.5 48.7 50.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เลือก ระหว่างความหวังกับความหวาดกลัวต่อสถานการณ์บ้านเมือง
ภายหลังการเลือกตั้ง จำอนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ทางเลือกของประชาชน ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรีขึ้นไป
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 49.5 53.2
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 50.5 46.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เลือก ระหว่างความหวังกับความหวาดกลัวต่อสถานการณ์บ้านเมืองภายหลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ทางเลือกของประชาชน ไม่เกิน 5,000 บ. 5,001-10,000 บ. 10,001-15,000 บ. 15,001-20,000 บ. มากกว่า 20,000 บ.
/เดือน /เดือน /เดือน /เดือน /เดือน
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 49.1 50.7 57.2 54.9 51.2
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ -
ข้างหน้าของประเทศไทย 50.9 49.3 42.8 45.1 48.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เรื่อง “อนาคตประเทศไทยในทรรศนะของประชาชน” ครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างประชาชนจำนวน 5,213 ตัวอย่าง ซึ่ง
ดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน -20 ธันวาคม 2550 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีฝันร้ายของประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2549-2550 พบว่าอันดับหนึ่งได้แก่ การกลับ
มาของปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 65.7) รองลงมาคือ ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ร้อยละ 64.4) ปัญหาสินค้าราคาแพง (ร้อยละ
61.2) ปัญหาพลังงานเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น (ร้อยละ 56.0) และปัญหารทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มการเมือง (ร้อยละ 50.6) ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์ต่างๆ อาจเกิดขึ้นในประเทศภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า
ทุกประเด็นที่สอบถามประชาชนได้คะแนนไม่ถึงครึ่งหนึ่ง คือ เรื่องเศรษฐกิจจะดีขึ้นได้เพียง 4.70 คะแนน เรื่องความรักความสามัคคีของคนในชาติได้
4.55 คะแนน เรื่อง รัฐบาลใหม่จะทำได้ตามนโยบายที่ประกาศ ช่วงหาเสียงได้ 4.36 คะแนน เรื่อง พรรคการเมืองต่างๆ จะช่วยกันจัดตั้งรัฐบาล
ด้วยความเรียบร้อยได้ 4.30 คะแนน เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ 4.25 คะแนน เรื่องรัฐบาลใหม่จะอยู่บริหารประเทศจน
ครบ วาระได้ 4.18 คะแนน เรื่องความซื่อสัตย์สุจริตของกลุ่มนักการเมืองได้ 3.68 คะแนน เรื่องความสงบใน 3 จังหวัดชาย แดนภาคใต้จะกลับคืน
มาได้ 3.58 คะแนน และเรื่องปัญหายาเสพติดจะหมดไป ได้เพียง 3.30 คะแนน
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ สิ่งที่ประชาชนเลือกระหว่างความหวัง กับ ความกลัวต่อเหตุการณ์บ้านเมืองของประเทศ พบว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อย
ละ 50.0 เลือกที่จะหวังก้าวต่อไปข้างหน้า เพราะคิดว่าสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศน่าจะคลี่ คลายลงได้แล้ว และมีความหวังต่อนโยบายและท่าที
ของพรรคการเมืองต่างๆ ขณะนี้ ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50 เช่นกันเลือกที่จะกลัวและกังวลต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศ เนื่องจาก ยังมี
ความไม่แน่นอน/ไม่ชัดเจนทางการเมือง การเมืองยังไม่มีเสถียรภาพ ยังมีการแบ่งแยกทางความคิดของกลุ่มการเมืองต่างๆ และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นยัง
คงมีอยู่
เมื่อจำแนกออกตามลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ชายเลือกที่จะหวังเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้ามากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นหญิง ขณะที่
ตัวอย่างผู้หญิงจะมีความกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศมากกว่าชาย นอกจากนี้ที่น่าสนใจคือ ผู้มีอายุมากมีความกังวลและกลัวมากกว่า
กลุ่มผู้มีอายุน้อย และผู้ที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีสัดส่วนของผู้กังวลและกลัวต่อเหตุกาณ์ข้างหน้าของประเทศมากกว่าผู้ที่สำเร็จปริญญาตรีขึ้นไป
แต่ที่น่าสนใจคือประชาชนที่มีรายได้ปานกลางมีสัดส่วนของผู้ที่เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปมากกว่ากลุ่มผู้มีรายได้ระดับอื่นๆ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาใหญ่ของประเทศในรอบปี 2549-2550
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศในขณะนี้
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อนาคตประเทศไทยในทรรศนะ
ประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 27 จังหวัดทั่วประเทศ” ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ
(Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 27 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ
พิษณุโลก สระแก้ว ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ลำพูน เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา ลำปาง ตาก หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี
สุโขทัย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ซึ่งมีระยะเวลา
การดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน -20 ธันวาคม 2550
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างประชาชนที่ทำการสำรวจ จำนวน 5,213 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อน
จากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.2 ระบุเป็นหญิง
และร้อยละ 43.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.4 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.1 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี
ร้อยละ 21.0 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 25.3 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี
และร้อยละ 21.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 22.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 7.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 14.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.1 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 29.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.3 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 7.6 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 3.8 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.9 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ร้อยละ 5.9 ไม่ระบุอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ “ฝันร้ายของคนไทยในช่วงปี 2549-2550” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ฝันร้ายของคนไทยในช่วงปี พ.ศ. 2549-2550 ค่าร้อยละ
1 ปัญหายาเสพติดกลับคืนมา 65.7
2 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 64.4
3 ปัญหาสินค้าราคาแพง 61.2
4 ปัญหาพลังงานเชื้อเพลิงมีราคาสูงขึ้น 56.0
5 ปัญหาทุจริต คอรัปชั่นในกลุ่มนักการเมือง 50.6
6 คนไทยทะเลาะทำร้ายกัน เรื่องการเมือง เช่นที่ห้างพารากอน 39.9
7 ปัญหาโจรผู้ร้าย 39.7
8 การปฏิวัติรัฐประหาร 30.4
9 ปัญหาแกงค์และกลุ่มอิทธิพลต่างๆ 27.9
10 การชุมนุมประท้วงของกลุ่มหนุน กลุ่มต้านทักษิณ 27.5
11 ปัญหาซื้อสิทธิขายเสียง 26.8
12 ปัญหาเด็กและเยาวชน 22.5
13 ปํญหาการเล่นการพนัน 20.9
14 ปัญหาอุบัติเหตุบนถนน 18.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง
(จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง คะแนนเฉลี่ย
1 เศรษฐกิจจะดีขึ้น 4.70
2 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 4.55
3 รัฐบาลใหม่จะทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ช่วงหาเสียง 4.36
4 พรรคการเมืองต่างๆ จะช่วยกันจัดตั้งรัฐบาลด้วยความเรียบร้อย 4.30
5 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะมีมากขึ้น 4.25
6 รัฐบาลใหม่จะอยู่บริหารประเทศได้นานจนครบวาระ 4.18
7 ความซื่อสัตย์สุจริตของกลุ่มนักการเมือง 3.68
8 ความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะกลับคืนมา 3.58
9 ปัญหายาเสพติดจะหมดไป 3.30
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เลือก ระหว่างความหวังกับความหวาดกลัวต่อสถานการณ์บ้านเมืองภายหลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ทางเลือกของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า เพราะ..... คิดว่าสถานการณ์ของประเทศน่าจะคลี่คลายลงแล้ว /
หวังในนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ที่กำลังหาเสียงอยู่ในขณะนี้ 50.0
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทยเนื่องจาก... ยังมีความไม่แน่นอนทางการเมือง /
การเมืองยังไม่มีเสถียรภาพ/ยังมีการแบ่งแยกทางความคิดของกลุ่มการเมืองต่างๆ และปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นยังคงมีอยู่ 50.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เลือก ระหว่างความหวังกับความหวาดกลัวต่อสถานการณ์บ้านเมือง
ภายหลังการเลือกตั้ง จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ ทางเลือกของประชาชน เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 53.1 47.7
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 46.9 52.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เลือก ระหว่างความหวังกับความหวาดกลัวต่อสถานการณ์บ้านเมือง
ภายหลังการเลือกตั้งจำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่ ทางเลือกของประชาชน ต่ำกว่า20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี 50 ปีขึ้นไป
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 56.3 51.7 47.5 51.3 49.1
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 43.7 48.3 52.5 48.7 50.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เลือก ระหว่างความหวังกับความหวาดกลัวต่อสถานการณ์บ้านเมือง
ภายหลังการเลือกตั้ง จำอนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่ ทางเลือกของประชาชน ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรีขึ้นไป
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 49.5 53.2
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 50.5 46.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เลือก ระหว่างความหวังกับความหวาดกลัวต่อสถานการณ์บ้านเมืองภายหลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ทางเลือกของประชาชน ไม่เกิน 5,000 บ. 5,001-10,000 บ. 10,001-15,000 บ. 15,001-20,000 บ. มากกว่า 20,000 บ.
/เดือน /เดือน /เดือน /เดือน /เดือน
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 49.1 50.7 57.2 54.9 51.2
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ -
ข้างหน้าของประเทศไทย 50.9 49.3 42.8 45.1 48.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-