ที่มาของโครงการ
หลังจากที่ประเทศไทยได้ประสบกับวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปี 2540 ประกอบกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้เป็นผู้นำ
รัฐบาลในสมัยที่ 2 นั้น ได้พยายามทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง กลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ คือ เป็น
อีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของประเทศไทย ซึ่งก็คือ ความเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ
ของประเทศไทย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามในเรื่องที่เกี่ยวกับทรรศนะของนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติต่อ
ปัจจัยต่างๆ ด้านการลงทุน สังคม และการเมืองในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจทรรศนะของกลุ่มนักธุรกิจ — นักลงทุนต่างชาติต่อความเป็นเลิศและอุปสรรคในปัจจัยด้านสังคม การเมือง และการลงทุน
ในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
2. เพื่อสำรวจการให้ความสำคัญ และความพึงพอใจต่อปัจจัยต่างๆ ของกลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจจุดแข็งและจุดอ่อนในบรรยากาศด้านการลงทุน สังคม และ
การเมืองในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนในสายตาของนักธุรกิจ - นักลงทุนต่างชาติ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ระหว่างวันที่ 7 กันยายน — 15 ตุลาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Sampling
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ 498 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูล และงบประมาณสนับ
สนุนโครงการเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 74.9 ระบุเป็นชาย ในขณะที่ร้อยละ 25.1 ระบุ
เป็นหญิง ในขณะที่ตัวอย่าง ร้อยละ 56.2 ระบุเป็นชาวยุโรป ร้อยละ 28.3 ระบุเป็นชาวเอเซีย ร้อยละ 9.5 ระบุเป็นชาวอเมริกัน และร้อยละ
6.0 ระบุอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกา ในขณะที่ร้อยละ 51.2 ระบุอาศัยอยู่ในเอเซีย ร้อยละ 32.7 ระบุอาศัยอยู่ในยุโรป ร้อย
ละ 9.5 ระบุอาศัยอยู่ในอเมริกา และร้อยละ 6.6 ระบุอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกา ส่วนระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 54.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 37.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 8.8 ระบุ
สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “สำรวจจุดแข็งและจุดอ่อนในบรรยากาศด้านการลง
ทุน สังคม และการเมืองในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนในสายตาของนักธุรกิจ - นักลงทุนต่างชาติ” ได้ทำการเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ ซึ่งได้ดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 7 กันยายน — 15 ตุลาคม 2548 โดยมีขนาดตัวอย่าง
รวมทั้งสิ้น 498 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังนี้
คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาภาพลักษณ์ด้านต่างๆ ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน พบว่า ประเทศสิงคโปร์
เป็นประเทศที่กลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติเห็นตรงกันว่ามีความเป็นเลิศในด้านความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 70.3) มีความเป็นเลิศ
ในด้านการปกครอง (ร้อยละ 65.7) มีความเป็นเลิศในด้านความมั่นคงของสกุลเงินตรา (ร้อยละ 65.3) มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถในการ
จัดการธุรกิจ (ร้อยละ 64.8) มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน (ร้อยละ 63.6) มีความเป็นเลิศในระบบสาธารณูปโภค (ร้อยละ
62.5) มีความเข้มงวดในข้อบังคับของสัญญาธุรกิจ (ร้อยละ 62.3) และมีความเสถียรภาพทางการเมือง (ร้อยละ 62.1)
ในขณะเดียวกัน ประเทศจีน ก็เป็นประเทศที่นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติมีความเห็นตรงกันว่า ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีความเป็นเลิศใน
โอกาสการเติบโตทางการตลาด (ร้อยละ 69.2) มีความเป็นเลิศในผลตอบแทนในการลงทุน (ร้อยละ 60.4) มีความเป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น
(ร้อยละ 58.9) และมีวัตถุดิบเพียงพอ (ร้อยละ 56.0)
สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่า มีความเป็นเลิศในความเป็นมิตรของประชาชน (ร้อยละ 72.2) มีความเป็นเลิศในด้านการส่งเสริมการลง
ทุน (ร้อยละ 53.1) และมีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพของแรงงาน (ร้อยละ 52.7)
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงก็คือ ผลจาการสำรวจครั้งนี้ระบุว่า ประเทศที่นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติเห็นว่ามีปัญหาคอรัปชั่นมากที่สุด คือ ประเทศ
อินโดนีเซีย (ร้อยละ 38.6) รองลงมา คือ ประเทศไทย (ร้อยละ 31.7) ประเทศจีน (ร้อยละ 30.1) ประเทศกัมพูชา (ร้อยละ 28.5)
และประเทศฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 28.2)
นอกจากนี้ นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติยังคงระบุว่าประเทศไทยยังคงมีปัญหาจราจรติดขัด (ร้อยละ 71.9) และปัญหามลภาวะเป็นพิษ
(ร้อยละ 48.4)
เมื่อสอบถามถึงประเทศที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหานั้น พบว่า ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ถูกระบุเป็นอับดับ 1 (ร้อยละ
35.2) รองลงมา คือ ประเทศอินโดนีเซีย (ร้อยละ 32.2) สำหรับประเทศไทยนั้นนักธุรกิจ- นักลงทุนต่างชาติประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ
25.1 ระบุว่าเป็นประเทศที่ใข้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านส่งเสริมการลงทุน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านส่งเสริมการลงทุน ร้อยละ
1 ประเทศไทย 53.1
2 ประเทศจีน 51.2
3 ประเทศสิงคโปร์ 48.5
4 ประเทศมาเลเซีย 31.6
5 ประเทศเวียดนาม 12.9
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ ร้อยละ
1 ประเทศจีน 56.0
2 ประเทศไทย 45.2
3 ประเทศอินโดนีเชีย 32.0
4 ประเทศมาเลเซีย 29.3
5 ประเทศสิงคโปร์ 16.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น ร้อยละ
1 ประเทศจีน 58.9
2 ประเทศไทย 50.0
3 ประเทศมาเลเซีย 23.2
4 ประเทศอินโดนีเชีย 22.3
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 21.4
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพของแรงงาน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพของแรงงาน ร้อยละ
1 ประเทศไทย 52.7
2 ประเทศจีน 46.4
3 ประเทศสิงคโปร์ 43.2
4 ประเทศมาเลเซีย 29.0
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 18.3
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในโอกาสการเติบโตทางการตลาด
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในโอกาสการเติบโตทางการตลาด ร้อยละ
1 ประเทศจีน 69.2
2 ประเทศไทย 41.4
3 ประเทศมาเลเซีย 26.9
4 ประเทศสิงคโปร์ 22.5
5 ประเทศอินโดนีเซีย 21.9
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถในการจัดการธุรกิจ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถในการจัดการธุรกิจ ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 64.8
2 ประเทศไทย 44.8
3 ประเทศจีน 39.4
3 ประเทศมาเลเซีย 39.4
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 9.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเข้มงวดในข้อบังคับของสัญญาธุรกิจ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเข้มงวดในข้อบังคับของสัญญาธุรกิจ ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 62.3
2 ประเทศไทย 39.9
3 ประเทศจีน 36.4
4 ประเทศมาเลเซีย 34.8
5 ประเทศบรูไน 13.1
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความมั่นคงสกุลเงินตรา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความมั่นคงสกุลเงินตรา ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 65.3
2 ประเทศจีน 47.3
3 ประเทศไทย 41.6
4 ประเทศมาเลเซีย 32.9
5 ประเทศบรูไน 14.1
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในผลตอบแทนในการลงทุน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในผลตอบแทนในการลงทุน ร้อยละ
1 ประเทศจีน 60.4
2 ประเทศไทย 46.4
3 ประเทศสิงคโปร์ 35.0
4 ประเทศมาเลเซีย 26.6
5 ประเทศเวียดนาม 17.3
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีปัญหาคอร์รัปชั่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีปัญหาคอร์รัปชั่น ร้อยละ
1 ประเทศอินโดนีเซีย 38.6
2 ประเทศไทย 31.7
3 ประเทศจีน 30.1
4 ประเทศกัมพูชา 28.5
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 28.2
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีปัญหาจราจรติดขัด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีปัญหาจราจรติดขัด ร้อยละ
1 ประเทศไทย 71.9
2 ประเทศจีน 35.8
3 ประเทศสิงคโปร์ 25.4
4 ประเทศอินโดนีเซีย 23.9
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 23.2
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีปัญหามลพิษ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีปัญหามลพิษ ร้อยละ
1 ประเทศไทย 48.4
2 ประเทศจีน 41.4
3 ประเทศอินโดนีเซีย 30.3
4 ประเทศฟิลิปปินส์ 29.0
5 ประเทศสิงคโปร์ 17.2
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความล่าช้าในระบบราชการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความล่าช้าในระบบราชการ ร้อยละ
1 ประเทศจีน 32.5
2 ประเทศกัมพูชา 24.5
3 ประเทศฟิลิปปินส์ 24.2
4 ประเทศอินโดนีเซีย 23.5
5 ประเทศพม่า 23.2
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในระบบสาธารณูปโภค
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในระบบสาธารณูปโภค ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 62.5
2 ประเทศไทย 52.5
3 ประเทศจีน 44.9
4 ประเทศมาเลเซีย 41.9
5 ประเทศบรูไน 12.6
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในความเป็นมิตรของประชาชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในความเป็นมิตรของประชาชน ร้อยละ
1 ประเทศไทย 72.2
2 ประเทศสิงคโปร์ 33.8
3 ประเทศมาเลเซีย 25.7
4 ประเทศฟิลิปปินส์ 19.2
5 ประเทศจีน 18.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความรุนแรงมากที่สุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความรุนแรงมากที่สุด ร้อยละ
1 ประเทศฟิลิปปินส์ 35.2
2 ประเทศอินโดนีเซีย 32.2
3 ประเทศกัมพูชา 31.9
4 ประเทศไทย 25.1
5 ประเทศจีน 23.5
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 70.3
2 ประเทศไทย 49.5
3 ประเทศมาเลเซีย 30.9
4 ประเทศบรูไน 19.6
4 ประเทศจีน 19.6
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 63.6
2 ประเทศไทย 50.3
3 ประเทศมาเลเซีย 37.3
4 ประเทศจีน 21.8
5 ประเทศบรูไน 18.5
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 62.1
2 ประเทศไทย 46.6
3 ประเทศจีน 38.5
4 ประเทศมาเลเซีย 27.6
5 ประเทศบรูไน 17.4
ตารางที่ 20 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านการปกครอง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านการปกครอง ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 65.7
2 ประเทศไทย 53.7
3 ประเทศมาเลเซีย 34.0
4 ประเทศจีน 30.2
5 ประเทศบรูไน 15.6
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
หลังจากที่ประเทศไทยได้ประสบกับวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปี 2540 ประกอบกับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรได้เป็นผู้นำ
รัฐบาลในสมัยที่ 2 นั้น ได้พยายามทำให้ประเทศไทยมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง กลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ คือ เป็น
อีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของประเทศไทย ซึ่งก็คือ ความเจริญเติบโตและเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ
ของประเทศไทย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามในเรื่องที่เกี่ยวกับทรรศนะของนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติต่อ
ปัจจัยต่างๆ ด้านการลงทุน สังคม และการเมืองในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจทรรศนะของกลุ่มนักธุรกิจ — นักลงทุนต่างชาติต่อความเป็นเลิศและอุปสรรคในปัจจัยด้านสังคม การเมือง และการลงทุน
ในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน
2. เพื่อสำรวจการให้ความสำคัญ และความพึงพอใจต่อปัจจัยต่างๆ ของกลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจจุดแข็งและจุดอ่อนในบรรยากาศด้านการลงทุน สังคม และ
การเมืองในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนในสายตาของนักธุรกิจ - นักลงทุนต่างชาติ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ระหว่างวันที่ 7 กันยายน — 15 ตุลาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบ Cluster Sampling
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ 498 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูล และงบประมาณสนับ
สนุนโครงการเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 74.9 ระบุเป็นชาย ในขณะที่ร้อยละ 25.1 ระบุ
เป็นหญิง ในขณะที่ตัวอย่าง ร้อยละ 56.2 ระบุเป็นชาวยุโรป ร้อยละ 28.3 ระบุเป็นชาวเอเซีย ร้อยละ 9.5 ระบุเป็นชาวอเมริกัน และร้อยละ
6.0 ระบุอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกา ในขณะที่ร้อยละ 51.2 ระบุอาศัยอยู่ในเอเซีย ร้อยละ 32.7 ระบุอาศัยอยู่ในยุโรป ร้อย
ละ 9.5 ระบุอาศัยอยู่ในอเมริกา และร้อยละ 6.6 ระบุอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแอฟริกา ส่วนระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 54.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 37.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 8.8 ระบุ
สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “สำรวจจุดแข็งและจุดอ่อนในบรรยากาศด้านการลง
ทุน สังคม และการเมืองในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีนในสายตาของนักธุรกิจ - นักลงทุนต่างชาติ” ได้ทำการเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติ ซึ่งได้ดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 7 กันยายน — 15 ตุลาคม 2548 โดยมีขนาดตัวอย่าง
รวมทั้งสิ้น 498 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังนี้
คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาภาพลักษณ์ด้านต่างๆ ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศจีน พบว่า ประเทศสิงคโปร์
เป็นประเทศที่กลุ่มนักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติเห็นตรงกันว่ามีความเป็นเลิศในด้านความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 70.3) มีความเป็นเลิศ
ในด้านการปกครอง (ร้อยละ 65.7) มีความเป็นเลิศในด้านความมั่นคงของสกุลเงินตรา (ร้อยละ 65.3) มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถในการ
จัดการธุรกิจ (ร้อยละ 64.8) มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน (ร้อยละ 63.6) มีความเป็นเลิศในระบบสาธารณูปโภค (ร้อยละ
62.5) มีความเข้มงวดในข้อบังคับของสัญญาธุรกิจ (ร้อยละ 62.3) และมีความเสถียรภาพทางการเมือง (ร้อยละ 62.1)
ในขณะเดียวกัน ประเทศจีน ก็เป็นประเทศที่นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติมีความเห็นตรงกันว่า ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีความเป็นเลิศใน
โอกาสการเติบโตทางการตลาด (ร้อยละ 69.2) มีความเป็นเลิศในผลตอบแทนในการลงทุน (ร้อยละ 60.4) มีความเป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น
(ร้อยละ 58.9) และมีวัตถุดิบเพียงพอ (ร้อยละ 56.0)
สำหรับประเทศไทยนั้น พบว่า มีความเป็นเลิศในความเป็นมิตรของประชาชน (ร้อยละ 72.2) มีความเป็นเลิศในด้านการส่งเสริมการลง
ทุน (ร้อยละ 53.1) และมีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพของแรงงาน (ร้อยละ 52.7)
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงก็คือ ผลจาการสำรวจครั้งนี้ระบุว่า ประเทศที่นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติเห็นว่ามีปัญหาคอรัปชั่นมากที่สุด คือ ประเทศ
อินโดนีเซีย (ร้อยละ 38.6) รองลงมา คือ ประเทศไทย (ร้อยละ 31.7) ประเทศจีน (ร้อยละ 30.1) ประเทศกัมพูชา (ร้อยละ 28.5)
และประเทศฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 28.2)
นอกจากนี้ นักธุรกิจ-นักลงทุนต่างชาติยังคงระบุว่าประเทศไทยยังคงมีปัญหาจราจรติดขัด (ร้อยละ 71.9) และปัญหามลภาวะเป็นพิษ
(ร้อยละ 48.4)
เมื่อสอบถามถึงประเทศที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหานั้น พบว่า ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่ถูกระบุเป็นอับดับ 1 (ร้อยละ
35.2) รองลงมา คือ ประเทศอินโดนีเซีย (ร้อยละ 32.2) สำหรับประเทศไทยนั้นนักธุรกิจ- นักลงทุนต่างชาติประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ
25.1 ระบุว่าเป็นประเทศที่ใข้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านส่งเสริมการลงทุน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านส่งเสริมการลงทุน ร้อยละ
1 ประเทศไทย 53.1
2 ประเทศจีน 51.2
3 ประเทศสิงคโปร์ 48.5
4 ประเทศมาเลเซีย 31.6
5 ประเทศเวียดนาม 12.9
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีวัตถุดิบเพียงพอ ร้อยละ
1 ประเทศจีน 56.0
2 ประเทศไทย 45.2
3 ประเทศอินโดนีเชีย 32.0
4 ประเทศมาเลเซีย 29.3
5 ประเทศสิงคโปร์ 16.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศด้านแรงงานท้องถิ่น ร้อยละ
1 ประเทศจีน 58.9
2 ประเทศไทย 50.0
3 ประเทศมาเลเซีย 23.2
4 ประเทศอินโดนีเชีย 22.3
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 21.4
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพของแรงงาน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพของแรงงาน ร้อยละ
1 ประเทศไทย 52.7
2 ประเทศจีน 46.4
3 ประเทศสิงคโปร์ 43.2
4 ประเทศมาเลเซีย 29.0
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 18.3
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในโอกาสการเติบโตทางการตลาด
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในโอกาสการเติบโตทางการตลาด ร้อยละ
1 ประเทศจีน 69.2
2 ประเทศไทย 41.4
3 ประเทศมาเลเซีย 26.9
4 ประเทศสิงคโปร์ 22.5
5 ประเทศอินโดนีเซีย 21.9
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถในการจัดการธุรกิจ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความสามารถในการจัดการธุรกิจ ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 64.8
2 ประเทศไทย 44.8
3 ประเทศจีน 39.4
3 ประเทศมาเลเซีย 39.4
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 9.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเข้มงวดในข้อบังคับของสัญญาธุรกิจ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเข้มงวดในข้อบังคับของสัญญาธุรกิจ ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 62.3
2 ประเทศไทย 39.9
3 ประเทศจีน 36.4
4 ประเทศมาเลเซีย 34.8
5 ประเทศบรูไน 13.1
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความมั่นคงสกุลเงินตรา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความมั่นคงสกุลเงินตรา ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 65.3
2 ประเทศจีน 47.3
3 ประเทศไทย 41.6
4 ประเทศมาเลเซีย 32.9
5 ประเทศบรูไน 14.1
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในผลตอบแทนในการลงทุน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในผลตอบแทนในการลงทุน ร้อยละ
1 ประเทศจีน 60.4
2 ประเทศไทย 46.4
3 ประเทศสิงคโปร์ 35.0
4 ประเทศมาเลเซีย 26.6
5 ประเทศเวียดนาม 17.3
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีปัญหาคอร์รัปชั่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีปัญหาคอร์รัปชั่น ร้อยละ
1 ประเทศอินโดนีเซีย 38.6
2 ประเทศไทย 31.7
3 ประเทศจีน 30.1
4 ประเทศกัมพูชา 28.5
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 28.2
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีปัญหาจราจรติดขัด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีปัญหาจราจรติดขัด ร้อยละ
1 ประเทศไทย 71.9
2 ประเทศจีน 35.8
3 ประเทศสิงคโปร์ 25.4
4 ประเทศอินโดนีเซีย 23.9
5 ประเทศฟิลิปปินส์ 23.2
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีปัญหามลพิษ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีปัญหามลพิษ ร้อยละ
1 ประเทศไทย 48.4
2 ประเทศจีน 41.4
3 ประเทศอินโดนีเซีย 30.3
4 ประเทศฟิลิปปินส์ 29.0
5 ประเทศสิงคโปร์ 17.2
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความล่าช้าในระบบราชการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความล่าช้าในระบบราชการ ร้อยละ
1 ประเทศจีน 32.5
2 ประเทศกัมพูชา 24.5
3 ประเทศฟิลิปปินส์ 24.2
4 ประเทศอินโดนีเซีย 23.5
5 ประเทศพม่า 23.2
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในระบบสาธารณูปโภค
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในระบบสาธารณูปโภค ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 62.5
2 ประเทศไทย 52.5
3 ประเทศจีน 44.9
4 ประเทศมาเลเซีย 41.9
5 ประเทศบรูไน 12.6
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในความเป็นมิตรของประชาชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในความเป็นมิตรของประชาชน ร้อยละ
1 ประเทศไทย 72.2
2 ประเทศสิงคโปร์ 33.8
3 ประเทศมาเลเซีย 25.7
4 ประเทศฟิลิปปินส์ 19.2
5 ประเทศจีน 18.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความรุนแรงมากที่สุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความรุนแรงมากที่สุด ร้อยละ
1 ประเทศฟิลิปปินส์ 35.2
2 ประเทศอินโดนีเซีย 32.2
3 ประเทศกัมพูชา 31.9
4 ประเทศไทย 25.1
5 ประเทศจีน 23.5
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 70.3
2 ประเทศไทย 49.5
3 ประเทศมาเลเซีย 30.9
4 ประเทศบรูไน 19.6
4 ประเทศจีน 19.6
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 63.6
2 ประเทศไทย 50.3
3 ประเทศมาเลเซีย 37.3
4 ประเทศจีน 21.8
5 ประเทศบรูไน 18.5
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมือง ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 62.1
2 ประเทศไทย 46.6
3 ประเทศจีน 38.5
4 ประเทศมาเลเซีย 27.6
5 ประเทศบรูไน 17.4
ตารางที่ 20 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านการปกครอง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านการปกครอง ร้อยละ
1 ประเทศสิงคโปร์ 65.7
2 ประเทศไทย 53.7
3 ประเทศมาเลเซีย 34.0
4 ประเทศจีน 30.2
5 ประเทศบรูไน 15.6
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-