สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องดัชนีความเครียดของคนไทย ไตรมาส 4 กรณีศึกษา: ตัวอย่างประชาชนทั่วไป ในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,016 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1–22 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา พบว่า
ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.99 เป็นหญิง และร้อยละ 45.01 เป็นชาย เมื่อจำแนกออกเป็นเจเนอเรชั่น พบว่า ร้อยละ 6.69 เป็นเจเนอเรชั่น Z (ตัวอย่างที่มีอายุ 15-18 ปี) ร้อยละ 12.52 เป็นเจเนอเรชั่น M (ตัวอย่างที่มีอายุ 19-24 ปี) ร้อยละ 21.36 เป็นเจเนอเรชั่น Y (ตัวอย่างที่มีอายุ 25-35 ปี) ร้อยละ 30.69 เป็นเจเนอเรชั่น X (ตัวอย่างที่มีอายุ 36-50 ปี) และร้อยละ 28.74 เป็นเจเนอเรชั่น B (ตัวอย่างที่มีอายุ 51-69 ปี) ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.97 สมรสแล้ว ร้อยละ 35.86 เป็นโสด ในขณะที่ร้อยละ 10.17 เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่าง ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.50 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 26.60 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.90 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 32.76 มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 42.01 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท และร้อยละ 25.23 มีรายได้สูงกว่า 20,000 บาท สำหรับอาชีพ พบว่า ร้อยละ 20.02 อาชีพพนักงาน/บริษัทเอกชน ร้อยละ 13.93 รับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.18 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 13.58 เป็น นักเรียน-นักศึกษาร้อยละ 10.33 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.43 ประกอบธุรกิจส่วนตัว และร้อยละ 13.53 ประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น พ่อบ้านแม่บ้าน เกษตรกร เกษียณอายุ ว่างงาน พนักงานมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ผลสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นี้ ในภาพรวมพบว่า คนไทยมีความเครียดคล้ายคลึงกับการสำรวจในครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 ที่ ผ่านมา โดยคนไทยส่วนใหญ่มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมากกว่าเรื่องอื่นๆ (ร้อยละ 78.52) รองลงมา คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 72.47) และ เรื่องการงาน (ร้อยละ 56.30) เป็นต้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ระดับความเครียดของคนไทยในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน สิ่งแวดล้อม และการเมืองพุ่งสูงกว่า ไตรมาสที่ผ่านมาค่อนข้างมาก โดยความเครียดเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.07 ส่วนเรื่องสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.84 รวมถึงความเครียด เรื่องการเมืองที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.10 ซึ่งความเครียดในด้านต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลให้คนไทยส่วนใหญ่รู้สึกไม่มีความสุข (ร้อยละ 61.56) และเบื่อหน่าย (ร้อยละ 72.72) เป็นต้น
เมื่อให้คนไทยคาดการณ์สภาพปัญหาที่ต้องประสบในชีวิตประจำวันภายหลังการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่คิดว่า สภาพปัญหาต่างๆ ยังคงเป็นเหมือนเดิม ได้แก่ ปัญหาการจราจร (ร้อยละ 43.65) ปัญหาฝุ่นละออง มลพิษ (ร้อยละ 40.93) ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 43.84) และปัญหาอาชญากรรม (ร้อยละ 45.06) ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ทำให้คนไทยเกิดความเครียดมาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจครั้งแรกในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบันในขณะที่ปัญหาสำคัญที่ คนไทยหวังว่า น่าจะดีขึ้น คือ ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน (ร้อยละ 56.60) และคุณภาพชีวิตหลังการเลือกตั้ง (ร้อยละ 49.53)
ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เกิดความเครียด คือ สินค้าราคาแพง หนี้สิน/รายรับไม่พอกับรายจ่าย ความไม่ซื่อสัตย์สุจริต ของนักการเมืองและการแบ่งพรรคแบ่งพวก และมลพิษทางสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยช่วงนี้เป็นช่วงการหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ทำให้ หลายฝ่ายเริ่มมีความกังวลถึงความวุ่นวายทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งในเรื่องของความขัดแย้งระหว่างนักการเมือง และปัญหาเศรษฐกิจที่ดูจะคาราคาซังมานาน รวมทั้ง ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้น ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบและหน่วยงานต่างๆ ควรเตรียมความพร้อมและ วางแผนการทำงานเพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ที่มีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เมื่อถึงเวลาที่เกิดปัญหาขึ้นก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
ลำดับที่ ความรู้สึก ระดับความรู้สึก รวมทั้งสิ้น บ่อยๆ เป็นครั้งคราว ไม่รู้สึกเลย 1 ไม่มีความสุขเลย 12.90 48.66 38.44 100.00 2 รู้สึกเบื่อหน่าย 18.80 53.92 27.28 100.00 3 ไม่อยากพบปะผู้คน 7.10 33.33 59.57 100.00 4 รู้สึกหมดกำลังใจ 9.28 33.18 57.54 100.00 5 รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า 5.26 23.61 71.13 100.00 ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อชีวิตหลังการเลือกตั้ง ปัญหาด้านต่างๆ น่าจะดีขึ้น เหมือนเดิม น่าจะแย่ลง รวมทั้งสิ้น 1 ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน 56.60 33.73 9.67 100.00 2 ปัญหาการจราจร 40.28 43.65 16.07 100.00 3 ปัญหาฝุ่นละออง มลพิษ 38.19 40.93 20.88 100.00 4 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 36.02 43.84 20.14 100.00 5 ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ 37.22 45.06 17.72 100.00 6 คุณภาพชีวิตของท่าน หลังการเลือกตั้ง 49.53 35.22 15.25 100.00 ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเครียดด้านต่างๆ จำแนกรายไตรมาส ลำดับที่ ด้าน/ไตรมาส/ปีที่สำรวจ 2/2016 3/2016 4/2016 1/2017 2/2017 4/2017 1/2018 2/2018 3/2018 4/2018 1 เศรษฐกิจ/การเงิน 79.01 74.60 73.05 75.22 83.28 61.30 65.64 77.08 67.45 78.52 2 ครอบครัว 57.01 52.05 50.64 49.08 58.46 37.63 42.83 55.06 51.07 50.00 3 เพื่อน 35.79 34.25 28.19 25.24 22.87 21.18 26.10 37.27 26.96 22.87 4 ความรัก (แฟน/คนรัก) 37.76 35.95 33.88 31.52 32.16 25.66 32.22 42.25 29.21 29.07 5 การงาน 55.66 51.05 46.39 47.31 44.90 36.66 39.06 50.77 44.64 56.30 6 สุขภาพ 49.70 43.45 40.90 42.91 43.18 42.06 43.48 50.27 43.68 55.06 7 การเรียน 23.81 22.40 18.85 16.77 18.58 15.00 16.05 15.70 32.31 15.87 8 การเมือง 38.72 33.55 25.17 31.11 27.58 19.91 22.61 39.21 22.67 53.77 9 สิ่งแวดล้อม 58.60 52.15 52.92 52.27 57.54 43.33 52.59 66.52 44.63 72.47 10 ตัวเอง 34.10 33.10 27.86 28.09 29.23 21.08 20.17 39.11 25.76 16.47
เอยูโพลมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร. 0-2723-2163-8
--เอยูโพล--