ที่มาของโครงการ
ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการปรับตัวสูง
ขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันต้องปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับการเก็งกำไร
ของนักลงทุนและข่าวการไม่เพิ่มโควต้าการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปก ปัจจัยเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับความต้องการใน
ภูมิภาคที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ผู้บริโภคไม่
ตระหนักถึงการประหยัดน้ำมัน ส่งผลให้รัฐบาลต้องเร่งหาแนวทางในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาดัง
กล่าว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนผู้ขับขี่ยานพาหนะทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อการดำเนิน
นโยบายแก้ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลง
พื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายการแก้ปัญหาราคาน้ำมันของรัฐบาล
2. เพื่อประเมินถึงความจำเป็นและความสำเร็จของแนวทางการดำเนินการเพื่อช่วยประหยัด
น้ำมันของรัฐบาล
3. เพื่อทราบถึงข้อเสนอแนะของกลุ่มเป้าหมายในการแก้ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันแพง
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “วิกฤติ
ราคาน้ำมันภาค 2 ในทรรศนะของผู้ขับขี่รถยนต์ : กรณีศึกษาประชาชนผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 6 - 7 กรกฎาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการแบ่ง
เขตพื้นที่ของจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในการเข้าถึง
ประชากร เป้าหมาย
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,255 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 78.7 ระบุเป็นชาย ร้อยละ 21.3
ระบุเป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 2.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 38.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 36.6
อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 15.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 6.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวอย่าง
ร้อยละ 51.5 ระบุสถานภาพโสด ร้อยละ 45.2 ระบุสถานภาพสมรส ร้อยละ 2.5 ระบุเป็นหม้าย และร้อย
ละ 0.8 ระบุหย่าร้าง/แยกกันอยู่
ตัวอย่างร้อยละ 63.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 31.0 ระบุสำเร็จการ
ศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 6.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 34.3 ระบุอาชีพ
พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นนักศึกษา ร้อยละ 2.5 ระบุไม่ได้
ประกอบอาชีพ ร้อยละ 2.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 0.5 ระบุอาชีพเกษตรกร
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผล
สำรวจ เรื่อง “วิกฤติราคาน้ำมันภาค 2 ในทรรศนะของผู้ขับขี่รถยนต์” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจาก
ตัวอย่างประชาชนผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,255 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 6 — 7 กรกฎาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างในการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านราคา
น้ำมันของประเทศ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.8 ระบุว่าได้ติดตามอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ ร้อยละ 41.1 ระบุ
ติดตามเป็นบางครั้ง และร้อยละ 1.1 ระบุไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการปล่อยลอยตัวราคา
น้ำมันเบนซินในเดือนมีนาคมเทียบกับเดือนกรกฎาคมพบว่า ตัวอย่างมีความพึงพอใจลดลง จากเดิมร้อยละ 34.9 ลดลง
เหลือร้อยละ 27.6
และเมื่อสอบถามถึงประเด็นความคิดเห็นต่อการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลในช่วงเวลาที่ต่างกัน ประชาชน
ส่วนใหญ่ยังคงไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลหลักๆ ว่า เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน น้ำมันดีเซลส่วนใหญ่ใช้ในการ
ประกอบอาชีพ ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ในขณะที่ส่วนน้อยเห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่า ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของ
ตลาด ทำให้ประชาชนรู้จักประหยัด
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจครั้งนี้ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแนวทางในการปรับราคา
น้ำมันดีเซลที่ต้องการให้รัฐบาลใช้ปฏิบัติ ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 37.8 ระบุต้องการปรับราคามากหน่อยแต่น้อยครั้ง
ร้อยละ 22.7 ระบุต้องการให้ปล่อยลอยตัวตามกลไกตลาด ร้อยละ 21.4 ระบุต้องการปรับแบบขั้นบันได และ
ร้อยละ 18.1 ระบุไม่มีความเห็น
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงระดับราคาน้ำมันสูงสุดที่ยอมรับได้โดยไม่เดือดร้อน ผลสำรวจพบ
ว่า ราคาสูงสุดของน้ำมันเบนซิน 91 ที่ยอมรับได้เฉลี่ยอยู่ที่ 23.41 บาท/ลิตร แต่ราคา ปตท.วันนี้อยู่ที่ 24.54
บาท/ลิตร สำหรับราคาสูงสุดของน้ำมันเบนซิน 95 ที่ยอมรับได้เฉลี่ยอยู่ที่ 24.40 บาท/ลิตร แต่ราคา ปตท.วันนี้อยู่
ที่ 25.34 บาท/ลิตร และราคาสูงสุดของน้ำมันดีเซลที่ยอมรับได้เฉลี่ยอยู่ที่ 21.20 บาท/ลิตร ในขณะที่ราคา ปตท.
วันนี้อยู่ที่ 21.69 บาท/ลิตร
สำหรับปัญหาวิกฤติน้ำมันที่เกิดขึ้นนั้น ตัวอย่างร้อยละ 60.2 เชื่อว่าเกิดจากการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย
ของคนในประเทศ รองลงมาร้อยละ 58.0 เชื่อว่าเกิดจากกลไกราคาน้ำมันของตลาดโลก และ ร้อยละ 54.9
เชื่อว่าเกิดจากการเก็งกำไรของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ตามลำดับ และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความวิตกกังวลต่อ
ปัญหาผลกระทบจากการปรับขึ้นน้ำมันดีเซล พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 84.5 ระบุวิตกกังวลต่อราคาสินค้าอุปโภค
บริโภค รองลงมา ร้อยละ58.4 ระบุวิตกกังวลต่อค่าบริการทางสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปาฯ และร้อยละ
55.5 ระบุวิตกกังวลต่อค่าใช้จ่ายและบริการจากระบบขนส่ง ตามลำดับ
นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความมั่นใจในการแก้ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันของ รมว. พลังงาน และ
ความมั่นใจต่อการแก้ปัญหาผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลของรัฐบาลจากเดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พบว่า
ตัวอย่างมีความมั่นใจน้อยลง ส่วนประเด็นความศรัทธาในตัวรัฐบาลจากปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันแพงซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่
เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อความศรัทธาในตัวรัฐบาล และยังมีบางส่วนที่คิดว่าปัญหาราคาน้ำมันแพงไม่มีผลกระทบต่อความ
ศรัทธาที่มีต่อรัฐบาล
สำหรับประเด็นการรับรู้ / รับทราบต่อการรณรงค์เพื่อประหยัดน้ำมันของรัฐบาล ตัวอย่างรับรู้ / รับ
ทราบเพิ่มมากขึ้น จากเดิม รับทราบ ร้อยละ 80.1 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 90.5 สำหรับแนวทางในการประหยัดน้ำมันที่
ตัวอย่างได้ปฏิบัติอย่างเป็นประจำมากที่สุด 3 อันดับนั้น อันดับหนึ่ง คือ ใช้บริการรถขนส่งสาธารณะ ร้อยละ66.9
รองลงมา คือ วิ่งรถด้วยความเร็วพอเหมาะ ร้อยละ 41.4 และการประหยัดพลังงาน/การใช้พลังงานอย่างรู้
คุณค่า ร้อยละ 25.0 ตามลำดับ
ในการประเมินถึง “ความจำเป็น” ของมาตรการประหยัดน้ำมันของรัฐบาลเปรียบเทียบกับ “ความ
สำเร็จ” ของมาตรการ ผลสำรวจพบว่า มาตรการที่ประสบความสำเร็จน้อยที่สุดเรียงลำดับดังนี้ (เพราะมีช่องว่าง
มากที่สุดระหว่างสิ่งที่ประชาชนเห็นว่ามาตรการนั้นจำเป็นและเห็นว่าสำเร็จ) อันดับแรกได้แก่ การส่งเสริมให้
ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะ (เห็นว่าจำเป็นร้อยละ 85.9 แต่เห็นว่าสำเร็จเพียงร้อยละ 46.5 ส่วนต่างเท่า
กับ —39.4) อันดับที่สองได้แก่ การตรวจจับการแข่งรถยนต์ / จักรยานยนต์ (เห็นว่าจำเป็นร้อยละ 88.8 แต่เห็นว่า
ทำสำเร็จเพียงร้อยละ 50.8 ส่วนต่างเท่ากับ — 38.0) อันดับที่สามได้แก่ การเข้มงวดตรวจจับรถยนต์ที่ใช้ความเร็ว
เกินกฎหมายกำหนด (เห็นว่าจำเป็นร้อยละ 74.2 แต่เห็นว่าสำเร็จร้อยละ 45.0 ส่วนต่างเท่ากับ — 29.2) อันดับ
ที่สี่ ได้แก่ ทางเดียวกันไปด้วยกัน (เห็นว่าจำเป็นร้อยละ 68.2 แต่เห็นว่าสำเร็จร้อยละ 39.3 ส่วนต่างเท่ากับ —
28.9) อันดับที่ห้า ได้แก่ การตรวจจับควันดำ ควันขาว และเสียงตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด (เห็นว่าจำเป็นร้อย
ละ 81.6 แต่เห็นว่าทำสำเร็จร้อยละ 52.9 ส่วนต่างเท่ากับ — 28.7)
เมื่อสอบถามถึงความจำเป็นต่อมาตรการเปิด-ปิดปั๊มน้ำมันตั้งแต่ 21.00-05.00 น. นั้น ผลสำรวจพบ
ว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 63.8 เห็นว่าไม่จำเป็น ในขณะที่ร้อยละ 25.3 เห็นว่าจำเป็น และร้อยละ
10.9 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.1 เห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องการเก็บค่าจอดรถ
ยนต์ส่วนบุคคลให้แพงขึ้น ร้อยละ 17.9 เห็นว่าจำเป็น และร้อยละ 13.0 ไม่มีความเห็น ในทางกลับกันตัวอย่างร้อย
ละ 80.4 เห็นว่าจำเป็นที่ควรมีมาตรการการจัดจุดจอดรถแท็กซี่ เช่นในห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 13.3 เห็นว่าไม่จำ
เป็น และร้อยละ 6.3 ไม่มีความเห็น สำหรับมาตรการการจัดจุดจอดรถส่วนบุคคลเพื่อขึ้นรถขนส่งสาธารณะนั้นพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 80.0 เห็นว่าจำเป็น ร้อยละ 13.0 เห็นว่าไม่จำเป็น และร้อยละ 7.0 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจครั้งนี้ได้แก่ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติราคา
น้ำมันแพง ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 32.2 ระบุควรรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดน้ำมัน ร้อยละ 23.4 อยากให้หา
พลังงานสำรองมาทดแทน ร้อยละ 17.8 อยากให้รัฐบาลตรึงราคาน้ำมัน ร้อยละ 13.4 ควรใช้บริการรถสาธารณะ
แทนการใช้รถส่วนตัว ร้อย 12.6 ต้องการให้แก้ปัญหาคอรัปชั่นไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ร้อยละ 9.1 ระบุควรจัด
ระบบจราจรรวมถึงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร้อยละ 7.4 อยากให้ปล่อยราคาน้ำมันลอยตัว
ร้อยละ 6.8 เก็บภาษีรถนำเข้าที่มีขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) สูง และร้อยละ 6.2 ต้องการให้แก้ปัญหาระบบจราจร
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจติดตามเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านน้ำมันของประเทศ
ลำดับที่ ความสนใจติดตามข่าวสาร ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 57.8
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 41.1
3 ไม่ได้ติดตาม 1.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทเชื้อเพลิงรถยนต์ที่ใช้เป็นประจำมากที่สุด
ลำดับที่ ประเภทเชื้อเพลิง ค่าร้อยละ
1 เบนซิน 91 36.2
2 เบนซิน 95 29.5
3 ดีเซล 22.4
4 แก๊สโซฮอล์ 95 7.3
5 แก๊สยานพาหนะ LPG 2.7
6 แก๊สโซฮอล์ 91 1.0
7 แก๊สธรรมชาติ NGV 0.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยของราคาน้ำมันสูงสุดที่ยอมรับได้โดยไม่เดือดร้อน ภายในระยะเวลา 3 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ประเภทน้ำมัน มี.ค. 48 ก.ค. 48 ราคา ปตท.วันนี้
1 เบนซิน ออกเทน 91 22.89 23.41 24.54
2 เบนซิน ออกเทน 95 24.09 24.40 25.34
3 น้ำมันดีเซล 17.72 21.20 21.69
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันเบนซิน
ลำดับที่ ความพอใจ มี.ค. 48 ก.ค. 48
1 พอใจ 34.9 27.6
2 ไม่พอใจ 38.7 48.8
3 ไม่มีความเห็น 26.4 23.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตัวอย่างที่ระบุ “พอใจต่อการปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันเบนซิน” ระบุเหตุผลที่สำคัญ อาทิ
1. ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด
2. จะได้ช่วยกันประหยัด
3. รัฐบาลไม่ต้องแบกรับภาระมากเกินไป
4. ทำให้ประชาชนมีทางเลือก เช่น การใช้แก๊สแทนน้ำมัน
5. อื่นๆ อาทิ ทำให้คนใช้รถน้อยลง นำเงินไปพัฒนาประเทศ
ตัวอย่างที่ระบุ “ไม่พอใจต่อการปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันเบนซิน” ระบุเหตุผลที่สำคัญ อาทิ
1. มีผลกระทบต่อราคาสินค้าประเภทอื่น
2. ประชาชนแบกรับภาระไม่ไหว
3. ควรมีมาตรการแก้ไขอย่างอื่นแทน
4. อื่นๆ อาทิ อาจมีผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เกิดความไม่เท่าเทียมกันของผู้ใช้รถ
ในแต่ละประเภท
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง มี.ค. 48 ก.ค. 48
1 เห็นด้วย 31.1 28.1
2 ไม่เห็นด้วย 48.4 50.3
3 ไม่มีความเห็น 20.5 21.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตัวอย่างที่ระบุ “เห็นด้วยต่อการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล” ระบุเหตุผลที่สำคัญ อาทิ
1. รัฐบาลต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด
2. เพื่อลดภาระของรัฐบาล
3. ให้ประชาชนเป็นผู้รับภาระเอง
4. อื่นๆ อาทิ ต้นทุนการผลิตน้ำมันแพง ทำให้ประชาชนรู้จักประหยัด
ตัวอย่างที่ระบุ “ไม่เห็นด้วยต่อการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล” ระบุเหตุผลที่สำคัญ อาทิ
1. เพิ่มภาระให้กับประชาชน
2. ขึ้นราคามากเกินไป
3. ดีเซลส่วนใหญ่ใช้ในการประกอบอาชีพ
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางที่ต้องการให้รัฐบาลปฏิบัติในการปรับราคาน้ำมันดีเซล
ลำดับที่ แนวทางที่ต้องการให้รัฐบาลปฏิบัติ ร้อยละ
1 ปรับแบบขั้นบันได (ขยับทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) 21.4
2 ปล่อยลอยตัวตามกลไกตลาด 22.7
3 ปรับราคามากหน่อย แต่น้อยครั้ง 37.8
4 ไม่มีความเห็น 18.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาวิกฤติน้ำมัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาวิกฤติน้ำมัน ค่าร้อยละ
1 การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยของคนในประเทศ 60.2
2 กลไกราคาน้ำมันของตลาดโลก 58.0
3 การเก็งกำไรของกลุ่มผู้ขายน้ำมัน 54.9
4 การทุจริตคอรัปชั่นของหน่วยงานที่ดูแลงานด้านน้ำมัน 37.6
5 การรวมหัว (ฮั้วกัน) เพื่อผลประโยชน์ระหว่างบริษัทน้ำมัน 35.8
6 การเกิดสงครามระหว่างสหรัฐฯ — อิรัก 28.5
7 ความล้าหลังในการผลิตพลังงานทดแทนของประเทศ 28.4
8 การแปรรูป ป.ต.ท. เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ 17.5
9 การขัดขวางการผลิตพลังงานทดแทนของบริษัทน้ำมัน 15.0
10 อื่นๆ อาทิ การใช้ขนาดของรถมากเกินความจำเป็น ปัญหาชายแดนภาคใต้ การนำทรัพยากร
มาใช้มากเกินไป เป็นต้น 3.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบที่วิตกกังวลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลกระทบที่วิตกกังวลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล ค่าร้อยละ
1 ราคาสินค้าอุปโภค บริโภค 84.5
2 ค่าบริการทางสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา 58.4
3 ค่าใช้จ่ายและบริการจากระบบขนส่ง 55.5
4 ภาวะเงินเฟ้อของประเทศ 24.1
5 ภาวะการว่างงาน 20.3
6 การปรับมาตรการทางด้านภาษี 16.9
7 ภาวะขาดดุลทางการค้า 16.4
8 ความสามารถของรัฐบาลในการจ่ายคืนเงินกองทุนน้ำมัน 15.3
9 การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร 13.1
10 การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ 6.3
11 อื่นๆ อาทิ มีผลต่อความมั่นคงของรัฐบาล โดนพ่อค้าเอาเปรียบ 1.2
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อ “การแก้ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันของ
รมว. พลังงาน (นายวิเศษ จูภิบาล)”
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อการแก้ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันของ รมว. พลังงาน มี.ค. 48 ก.ค. 48
1 มั่นใจ 20.9 10.0
2 ไม่มั่นใจ 50.2 61.7
3 ไม่มีความเห็น 28.9 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อ “การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากราคาน้ำมัน
ดีเซลที่สูงขึ้นของรัฐบาล”
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อการแก้ปัญหาผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลของรัฐบาล มี.ค. 48 ก.ค. 48
1 มั่นใจ 27.0 13.9
2 ไม่มั่นใจ 58.3 73.0
3 ไม่มีความเห็น 14.7 13.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่า “ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันแพงมีผลกระทบ
ต่อความเชื่อถือศรัทธาของรัฐบาลหรือไม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง มี.ค. 48 ก.ค. 48
1 มีผลกระทบ 50.6 63.2
2 ไม่มีผลกระทบ 33.0 23.0
3 ไม่มีความเห็น 16.4 13.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ / รับทราบต่อการรณรงค์เพื่อประหยัดน้ำมันของรัฐบาล
ลำดับที่ การรับรู้ / รับทราบของตัวอย่าง มี.ค. 48 ก.ค. 48
1 รับรู้ / รับทราบ 80.1 90.5
2 ไม่รับรู้ / ไม่รับทราบ 9.5 4.6
3 ไม่แน่ใจ 10.4 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางในการประหยัดน้ำมันที่ปฏิบัติเป็นประจำ
ลำดับที่ แนวทางในการประหยัดน้ำมัน ค่าร้อยละ
1 ใช้บริการรถขนส่งสาธารณะ 66.9
2 วิ่งรถด้วยความเร็วพอเหมาะ 41.4
3 ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า 25.0
4 ทางเดียวกันไปด้วยกัน 13.5
5 วางแผนก่อนการเดินทาง 13.3
6 ดับเครื่องทุกครั้งที่จอดรถ 9.5
7 ตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง 9.5
8 พยายามลดการเดินทาง 7.7
9 ใช้รถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานแทนการใช้รถยนต์ 4.8
10 อื่นๆ อาทิ ใช้การเดินแทนการใช้รถ ใช้น้ำมันให้เหมาะ
กับรถ ไม่บรรทุกของเกินความจำเป็น เป็นต้น 20.7
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความจำเป็นและความสำเร็จของมาตรการดำเนินการ
เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันของรัฐบาล
แนวทางการดำเนินการ เห็นว่าจำเป็น ทำสำเร็จ ส่วนต่าง
ด้านการรณรงค์1. ส่งเสริมให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ 85.9 46.5 -39.4
2. ทางเดียวกันไปด้วยกัน (Car Pool) 68.2 39.3 -28.9
3. วางแผนก่อนเดินทาง เพื่อลดเที่ยวการเดินทาง 92.0 73.2 -18.8
4. ใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ แฟกซ์ แทนการเดินทาง 78.0 61.3 -16.7
5. ใช้น้ำมันเบนซินออกเทนให้เหมาะสมกับรถยนต์ 82.2 64.4 -17.8
6. ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ 72.6 50.1 -22.5
ด้านการใช้กฎหมาย1. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่จอดรถ 79.1 57.5 -21.6
2. เข้มงวดตรวจจับรถยนต์ที่ใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนด 74.2 45.0 -29.2
3. ตรวจจับควันดำ ควันขาว และเสียงตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด 81.6 52.9 -28.7
4. ตรวจจับการแข่งรถยนต์ / จักรยานยนต์ 88.8 50.8 -38.0
5. จัดเก็บภาษีตามขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) 52.2 43.4 -8.8
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อมาตรการเปิด-ปิดปั๊มน้ำมัน
ตั้งแต่ 21.00 — 05.00 น.
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 25.3
2 ไม่จำเป็น 63.8
3 ไม่มีความเห็น 10.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการเก็บค่าที่จอดรถยนต์ส่วนบุคคลให้แพงขึ้น
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 17.9
2 ไม่จำเป็น 69.1
3 ไม่มีความเห็น 13.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อการจัดจุดจอดรถแท็กซี่ เช่น ในห้างสรรพสินค้า
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 80.4
2 ไม่จำเป็น 13.3
3 ไม่มีความเห็น 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการจัดจุดจอดรถส่วนบุคคลเพื่อขึ้นรถ
ขนส่งสาธารณะ
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 80.0
2 ไม่จำเป็น 13.0
3 ไม่มีความเห็น 7.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันแพง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 รณรงค์ให้ประชาชนประหยัดน้ำมัน 32.2
2 หาพลังงานสำรองมาทดแทน 23.4
3 ให้รัฐบาลตรึงราคาน้ำมัน 17.8
4 ใช้บริการรถสาธารณะแทนการใช้รถส่วนตัว 13.4
5 แก้ปัญหาคอรัปชั่นไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว 12.6
6 จัดระบบจราจรรวมถึงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 9.1
7 ปล่อยราคาน้ำมันลอยตัว 7.4
8 เก็บภาษีรถนำเข้าที่มี ซีซี สูง เพิ่มขึ้น 6.8
9 แก้ปัญหาระบบจราจร 6.2
10 อื่นๆ อาทิ เช่น หามาตรการที่ดีกว่าการขึ้นราคาน้ำมัน
เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้กับประชาชน ควบคุมราคาสินค้า เป็นต้น 15.6
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเผชิญกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการปรับตัวสูง
ขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันต้องปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับการเก็งกำไร
ของนักลงทุนและข่าวการไม่เพิ่มโควต้าการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปก ปัจจัยเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับความต้องการใน
ภูมิภาคที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้ผู้บริโภคไม่
ตระหนักถึงการประหยัดน้ำมัน ส่งผลให้รัฐบาลต้องเร่งหาแนวทางในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาดัง
กล่าว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนผู้ขับขี่ยานพาหนะทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อการดำเนิน
นโยบายแก้ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลง
พื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายการแก้ปัญหาราคาน้ำมันของรัฐบาล
2. เพื่อประเมินถึงความจำเป็นและความสำเร็จของแนวทางการดำเนินการเพื่อช่วยประหยัด
น้ำมันของรัฐบาล
3. เพื่อทราบถึงข้อเสนอแนะของกลุ่มเป้าหมายในการแก้ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันแพง
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “วิกฤติ
ราคาน้ำมันภาค 2 ในทรรศนะของผู้ขับขี่รถยนต์ : กรณีศึกษาประชาชนผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 6 - 7 กรกฎาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการแบ่ง
เขตพื้นที่ของจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในการเข้าถึง
ประชากร เป้าหมาย
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,255 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 78.7 ระบุเป็นชาย ร้อยละ 21.3
ระบุเป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 2.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 38.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 36.6
อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 15.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อยละ 6.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวอย่าง
ร้อยละ 51.5 ระบุสถานภาพโสด ร้อยละ 45.2 ระบุสถานภาพสมรส ร้อยละ 2.5 ระบุเป็นหม้าย และร้อย
ละ 0.8 ระบุหย่าร้าง/แยกกันอยู่
ตัวอย่างร้อยละ 63.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 31.0 ระบุสำเร็จการ
ศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 6.0 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 34.3 ระบุอาชีพ
พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 23.9 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 18.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.9 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นนักศึกษา ร้อยละ 2.5 ระบุไม่ได้
ประกอบอาชีพ ร้อยละ 2.1 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 0.5 ระบุอาชีพเกษตรกร
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผล
สำรวจ เรื่อง “วิกฤติราคาน้ำมันภาค 2 ในทรรศนะของผู้ขับขี่รถยนต์” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจาก
ตัวอย่างประชาชนผู้ขับขี่ยานพาหนะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,255 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 6 — 7 กรกฎาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างในการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านราคา
น้ำมันของประเทศ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.8 ระบุว่าได้ติดตามอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ ร้อยละ 41.1 ระบุ
ติดตามเป็นบางครั้ง และร้อยละ 1.1 ระบุไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการปล่อยลอยตัวราคา
น้ำมันเบนซินในเดือนมีนาคมเทียบกับเดือนกรกฎาคมพบว่า ตัวอย่างมีความพึงพอใจลดลง จากเดิมร้อยละ 34.9 ลดลง
เหลือร้อยละ 27.6
และเมื่อสอบถามถึงประเด็นความคิดเห็นต่อการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลในช่วงเวลาที่ต่างกัน ประชาชน
ส่วนใหญ่ยังคงไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลหลักๆ ว่า เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน น้ำมันดีเซลส่วนใหญ่ใช้ในการ
ประกอบอาชีพ ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ในขณะที่ส่วนน้อยเห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่า ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของ
ตลาด ทำให้ประชาชนรู้จักประหยัด
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจครั้งนี้ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแนวทางในการปรับราคา
น้ำมันดีเซลที่ต้องการให้รัฐบาลใช้ปฏิบัติ ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 37.8 ระบุต้องการปรับราคามากหน่อยแต่น้อยครั้ง
ร้อยละ 22.7 ระบุต้องการให้ปล่อยลอยตัวตามกลไกตลาด ร้อยละ 21.4 ระบุต้องการปรับแบบขั้นบันได และ
ร้อยละ 18.1 ระบุไม่มีความเห็น
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงระดับราคาน้ำมันสูงสุดที่ยอมรับได้โดยไม่เดือดร้อน ผลสำรวจพบ
ว่า ราคาสูงสุดของน้ำมันเบนซิน 91 ที่ยอมรับได้เฉลี่ยอยู่ที่ 23.41 บาท/ลิตร แต่ราคา ปตท.วันนี้อยู่ที่ 24.54
บาท/ลิตร สำหรับราคาสูงสุดของน้ำมันเบนซิน 95 ที่ยอมรับได้เฉลี่ยอยู่ที่ 24.40 บาท/ลิตร แต่ราคา ปตท.วันนี้อยู่
ที่ 25.34 บาท/ลิตร และราคาสูงสุดของน้ำมันดีเซลที่ยอมรับได้เฉลี่ยอยู่ที่ 21.20 บาท/ลิตร ในขณะที่ราคา ปตท.
วันนี้อยู่ที่ 21.69 บาท/ลิตร
สำหรับปัญหาวิกฤติน้ำมันที่เกิดขึ้นนั้น ตัวอย่างร้อยละ 60.2 เชื่อว่าเกิดจากการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย
ของคนในประเทศ รองลงมาร้อยละ 58.0 เชื่อว่าเกิดจากกลไกราคาน้ำมันของตลาดโลก และ ร้อยละ 54.9
เชื่อว่าเกิดจากการเก็งกำไรของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ตามลำดับ และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความวิตกกังวลต่อ
ปัญหาผลกระทบจากการปรับขึ้นน้ำมันดีเซล พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 84.5 ระบุวิตกกังวลต่อราคาสินค้าอุปโภค
บริโภค รองลงมา ร้อยละ58.4 ระบุวิตกกังวลต่อค่าบริการทางสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปาฯ และร้อยละ
55.5 ระบุวิตกกังวลต่อค่าใช้จ่ายและบริการจากระบบขนส่ง ตามลำดับ
นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความมั่นใจในการแก้ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันของ รมว. พลังงาน และ
ความมั่นใจต่อการแก้ปัญหาผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลของรัฐบาลจากเดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พบว่า
ตัวอย่างมีความมั่นใจน้อยลง ส่วนประเด็นความศรัทธาในตัวรัฐบาลจากปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันแพงซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่
เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อความศรัทธาในตัวรัฐบาล และยังมีบางส่วนที่คิดว่าปัญหาราคาน้ำมันแพงไม่มีผลกระทบต่อความ
ศรัทธาที่มีต่อรัฐบาล
สำหรับประเด็นการรับรู้ / รับทราบต่อการรณรงค์เพื่อประหยัดน้ำมันของรัฐบาล ตัวอย่างรับรู้ / รับ
ทราบเพิ่มมากขึ้น จากเดิม รับทราบ ร้อยละ 80.1 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 90.5 สำหรับแนวทางในการประหยัดน้ำมันที่
ตัวอย่างได้ปฏิบัติอย่างเป็นประจำมากที่สุด 3 อันดับนั้น อันดับหนึ่ง คือ ใช้บริการรถขนส่งสาธารณะ ร้อยละ66.9
รองลงมา คือ วิ่งรถด้วยความเร็วพอเหมาะ ร้อยละ 41.4 และการประหยัดพลังงาน/การใช้พลังงานอย่างรู้
คุณค่า ร้อยละ 25.0 ตามลำดับ
ในการประเมินถึง “ความจำเป็น” ของมาตรการประหยัดน้ำมันของรัฐบาลเปรียบเทียบกับ “ความ
สำเร็จ” ของมาตรการ ผลสำรวจพบว่า มาตรการที่ประสบความสำเร็จน้อยที่สุดเรียงลำดับดังนี้ (เพราะมีช่องว่าง
มากที่สุดระหว่างสิ่งที่ประชาชนเห็นว่ามาตรการนั้นจำเป็นและเห็นว่าสำเร็จ) อันดับแรกได้แก่ การส่งเสริมให้
ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะ (เห็นว่าจำเป็นร้อยละ 85.9 แต่เห็นว่าสำเร็จเพียงร้อยละ 46.5 ส่วนต่างเท่า
กับ —39.4) อันดับที่สองได้แก่ การตรวจจับการแข่งรถยนต์ / จักรยานยนต์ (เห็นว่าจำเป็นร้อยละ 88.8 แต่เห็นว่า
ทำสำเร็จเพียงร้อยละ 50.8 ส่วนต่างเท่ากับ — 38.0) อันดับที่สามได้แก่ การเข้มงวดตรวจจับรถยนต์ที่ใช้ความเร็ว
เกินกฎหมายกำหนด (เห็นว่าจำเป็นร้อยละ 74.2 แต่เห็นว่าสำเร็จร้อยละ 45.0 ส่วนต่างเท่ากับ — 29.2) อันดับ
ที่สี่ ได้แก่ ทางเดียวกันไปด้วยกัน (เห็นว่าจำเป็นร้อยละ 68.2 แต่เห็นว่าสำเร็จร้อยละ 39.3 ส่วนต่างเท่ากับ —
28.9) อันดับที่ห้า ได้แก่ การตรวจจับควันดำ ควันขาว และเสียงตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด (เห็นว่าจำเป็นร้อย
ละ 81.6 แต่เห็นว่าทำสำเร็จร้อยละ 52.9 ส่วนต่างเท่ากับ — 28.7)
เมื่อสอบถามถึงความจำเป็นต่อมาตรการเปิด-ปิดปั๊มน้ำมันตั้งแต่ 21.00-05.00 น. นั้น ผลสำรวจพบ
ว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 63.8 เห็นว่าไม่จำเป็น ในขณะที่ร้อยละ 25.3 เห็นว่าจำเป็น และร้อยละ
10.9 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.1 เห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องการเก็บค่าจอดรถ
ยนต์ส่วนบุคคลให้แพงขึ้น ร้อยละ 17.9 เห็นว่าจำเป็น และร้อยละ 13.0 ไม่มีความเห็น ในทางกลับกันตัวอย่างร้อย
ละ 80.4 เห็นว่าจำเป็นที่ควรมีมาตรการการจัดจุดจอดรถแท็กซี่ เช่นในห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 13.3 เห็นว่าไม่จำ
เป็น และร้อยละ 6.3 ไม่มีความเห็น สำหรับมาตรการการจัดจุดจอดรถส่วนบุคคลเพื่อขึ้นรถขนส่งสาธารณะนั้นพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 80.0 เห็นว่าจำเป็น ร้อยละ 13.0 เห็นว่าไม่จำเป็น และร้อยละ 7.0 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจครั้งนี้ได้แก่ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติราคา
น้ำมันแพง ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 32.2 ระบุควรรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดน้ำมัน ร้อยละ 23.4 อยากให้หา
พลังงานสำรองมาทดแทน ร้อยละ 17.8 อยากให้รัฐบาลตรึงราคาน้ำมัน ร้อยละ 13.4 ควรใช้บริการรถสาธารณะ
แทนการใช้รถส่วนตัว ร้อย 12.6 ต้องการให้แก้ปัญหาคอรัปชั่นไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ร้อยละ 9.1 ระบุควรจัด
ระบบจราจรรวมถึงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร้อยละ 7.4 อยากให้ปล่อยราคาน้ำมันลอยตัว
ร้อยละ 6.8 เก็บภาษีรถนำเข้าที่มีขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) สูง และร้อยละ 6.2 ต้องการให้แก้ปัญหาระบบจราจร
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจติดตามเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านน้ำมันของประเทศ
ลำดับที่ ความสนใจติดตามข่าวสาร ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 57.8
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 41.1
3 ไม่ได้ติดตาม 1.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทเชื้อเพลิงรถยนต์ที่ใช้เป็นประจำมากที่สุด
ลำดับที่ ประเภทเชื้อเพลิง ค่าร้อยละ
1 เบนซิน 91 36.2
2 เบนซิน 95 29.5
3 ดีเซล 22.4
4 แก๊สโซฮอล์ 95 7.3
5 แก๊สยานพาหนะ LPG 2.7
6 แก๊สโซฮอล์ 91 1.0
7 แก๊สธรรมชาติ NGV 0.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยของราคาน้ำมันสูงสุดที่ยอมรับได้โดยไม่เดือดร้อน ภายในระยะเวลา 3 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ ประเภทน้ำมัน มี.ค. 48 ก.ค. 48 ราคา ปตท.วันนี้
1 เบนซิน ออกเทน 91 22.89 23.41 24.54
2 เบนซิน ออกเทน 95 24.09 24.40 25.34
3 น้ำมันดีเซล 17.72 21.20 21.69
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันเบนซิน
ลำดับที่ ความพอใจ มี.ค. 48 ก.ค. 48
1 พอใจ 34.9 27.6
2 ไม่พอใจ 38.7 48.8
3 ไม่มีความเห็น 26.4 23.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตัวอย่างที่ระบุ “พอใจต่อการปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันเบนซิน” ระบุเหตุผลที่สำคัญ อาทิ
1. ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด
2. จะได้ช่วยกันประหยัด
3. รัฐบาลไม่ต้องแบกรับภาระมากเกินไป
4. ทำให้ประชาชนมีทางเลือก เช่น การใช้แก๊สแทนน้ำมัน
5. อื่นๆ อาทิ ทำให้คนใช้รถน้อยลง นำเงินไปพัฒนาประเทศ
ตัวอย่างที่ระบุ “ไม่พอใจต่อการปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันเบนซิน” ระบุเหตุผลที่สำคัญ อาทิ
1. มีผลกระทบต่อราคาสินค้าประเภทอื่น
2. ประชาชนแบกรับภาระไม่ไหว
3. ควรมีมาตรการแก้ไขอย่างอื่นแทน
4. อื่นๆ อาทิ อาจมีผลประโยชน์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เกิดความไม่เท่าเทียมกันของผู้ใช้รถ
ในแต่ละประเภท
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลในขณะนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง มี.ค. 48 ก.ค. 48
1 เห็นด้วย 31.1 28.1
2 ไม่เห็นด้วย 48.4 50.3
3 ไม่มีความเห็น 20.5 21.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตัวอย่างที่ระบุ “เห็นด้วยต่อการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล” ระบุเหตุผลที่สำคัญ อาทิ
1. รัฐบาลต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด
2. เพื่อลดภาระของรัฐบาล
3. ให้ประชาชนเป็นผู้รับภาระเอง
4. อื่นๆ อาทิ ต้นทุนการผลิตน้ำมันแพง ทำให้ประชาชนรู้จักประหยัด
ตัวอย่างที่ระบุ “ไม่เห็นด้วยต่อการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล” ระบุเหตุผลที่สำคัญ อาทิ
1. เพิ่มภาระให้กับประชาชน
2. ขึ้นราคามากเกินไป
3. ดีเซลส่วนใหญ่ใช้ในการประกอบอาชีพ
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางที่ต้องการให้รัฐบาลปฏิบัติในการปรับราคาน้ำมันดีเซล
ลำดับที่ แนวทางที่ต้องการให้รัฐบาลปฏิบัติ ร้อยละ
1 ปรับแบบขั้นบันได (ขยับทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) 21.4
2 ปล่อยลอยตัวตามกลไกตลาด 22.7
3 ปรับราคามากหน่อย แต่น้อยครั้ง 37.8
4 ไม่มีความเห็น 18.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาวิกฤติน้ำมัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาวิกฤติน้ำมัน ค่าร้อยละ
1 การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยของคนในประเทศ 60.2
2 กลไกราคาน้ำมันของตลาดโลก 58.0
3 การเก็งกำไรของกลุ่มผู้ขายน้ำมัน 54.9
4 การทุจริตคอรัปชั่นของหน่วยงานที่ดูแลงานด้านน้ำมัน 37.6
5 การรวมหัว (ฮั้วกัน) เพื่อผลประโยชน์ระหว่างบริษัทน้ำมัน 35.8
6 การเกิดสงครามระหว่างสหรัฐฯ — อิรัก 28.5
7 ความล้าหลังในการผลิตพลังงานทดแทนของประเทศ 28.4
8 การแปรรูป ป.ต.ท. เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ 17.5
9 การขัดขวางการผลิตพลังงานทดแทนของบริษัทน้ำมัน 15.0
10 อื่นๆ อาทิ การใช้ขนาดของรถมากเกินความจำเป็น ปัญหาชายแดนภาคใต้ การนำทรัพยากร
มาใช้มากเกินไป เป็นต้น 3.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบที่วิตกกังวลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลกระทบที่วิตกกังวลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล ค่าร้อยละ
1 ราคาสินค้าอุปโภค บริโภค 84.5
2 ค่าบริการทางสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา 58.4
3 ค่าใช้จ่ายและบริการจากระบบขนส่ง 55.5
4 ภาวะเงินเฟ้อของประเทศ 24.1
5 ภาวะการว่างงาน 20.3
6 การปรับมาตรการทางด้านภาษี 16.9
7 ภาวะขาดดุลทางการค้า 16.4
8 ความสามารถของรัฐบาลในการจ่ายคืนเงินกองทุนน้ำมัน 15.3
9 การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร 13.1
10 การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ 6.3
11 อื่นๆ อาทิ มีผลต่อความมั่นคงของรัฐบาล โดนพ่อค้าเอาเปรียบ 1.2
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อ “การแก้ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันของ
รมว. พลังงาน (นายวิเศษ จูภิบาล)”
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อการแก้ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันของ รมว. พลังงาน มี.ค. 48 ก.ค. 48
1 มั่นใจ 20.9 10.0
2 ไม่มั่นใจ 50.2 61.7
3 ไม่มีความเห็น 28.9 28.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อ “การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากราคาน้ำมัน
ดีเซลที่สูงขึ้นของรัฐบาล”
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อการแก้ปัญหาผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลของรัฐบาล มี.ค. 48 ก.ค. 48
1 มั่นใจ 27.0 13.9
2 ไม่มั่นใจ 58.3 73.0
3 ไม่มีความเห็น 14.7 13.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นว่า “ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันแพงมีผลกระทบ
ต่อความเชื่อถือศรัทธาของรัฐบาลหรือไม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง มี.ค. 48 ก.ค. 48
1 มีผลกระทบ 50.6 63.2
2 ไม่มีผลกระทบ 33.0 23.0
3 ไม่มีความเห็น 16.4 13.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ / รับทราบต่อการรณรงค์เพื่อประหยัดน้ำมันของรัฐบาล
ลำดับที่ การรับรู้ / รับทราบของตัวอย่าง มี.ค. 48 ก.ค. 48
1 รับรู้ / รับทราบ 80.1 90.5
2 ไม่รับรู้ / ไม่รับทราบ 9.5 4.6
3 ไม่แน่ใจ 10.4 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางในการประหยัดน้ำมันที่ปฏิบัติเป็นประจำ
ลำดับที่ แนวทางในการประหยัดน้ำมัน ค่าร้อยละ
1 ใช้บริการรถขนส่งสาธารณะ 66.9
2 วิ่งรถด้วยความเร็วพอเหมาะ 41.4
3 ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า 25.0
4 ทางเดียวกันไปด้วยกัน 13.5
5 วางแผนก่อนการเดินทาง 13.3
6 ดับเครื่องทุกครั้งที่จอดรถ 9.5
7 ตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง 9.5
8 พยายามลดการเดินทาง 7.7
9 ใช้รถจักรยานยนต์ หรือรถจักรยานแทนการใช้รถยนต์ 4.8
10 อื่นๆ อาทิ ใช้การเดินแทนการใช้รถ ใช้น้ำมันให้เหมาะ
กับรถ ไม่บรรทุกของเกินความจำเป็น เป็นต้น 20.7
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความจำเป็นและความสำเร็จของมาตรการดำเนินการ
เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันของรัฐบาล
แนวทางการดำเนินการ เห็นว่าจำเป็น ทำสำเร็จ ส่วนต่าง
ด้านการรณรงค์1. ส่งเสริมให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ 85.9 46.5 -39.4
2. ทางเดียวกันไปด้วยกัน (Car Pool) 68.2 39.3 -28.9
3. วางแผนก่อนเดินทาง เพื่อลดเที่ยวการเดินทาง 92.0 73.2 -18.8
4. ใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรศัพท์ แฟกซ์ แทนการเดินทาง 78.0 61.3 -16.7
5. ใช้น้ำมันเบนซินออกเทนให้เหมาะสมกับรถยนต์ 82.2 64.4 -17.8
6. ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ 72.6 50.1 -22.5
ด้านการใช้กฎหมาย1. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่จอดรถ 79.1 57.5 -21.6
2. เข้มงวดตรวจจับรถยนต์ที่ใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนด 74.2 45.0 -29.2
3. ตรวจจับควันดำ ควันขาว และเสียงตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด 81.6 52.9 -28.7
4. ตรวจจับการแข่งรถยนต์ / จักรยานยนต์ 88.8 50.8 -38.0
5. จัดเก็บภาษีตามขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) 52.2 43.4 -8.8
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อมาตรการเปิด-ปิดปั๊มน้ำมัน
ตั้งแต่ 21.00 — 05.00 น.
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 25.3
2 ไม่จำเป็น 63.8
3 ไม่มีความเห็น 10.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการเก็บค่าที่จอดรถยนต์ส่วนบุคคลให้แพงขึ้น
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 17.9
2 ไม่จำเป็น 69.1
3 ไม่มีความเห็น 13.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อการจัดจุดจอดรถแท็กซี่ เช่น ในห้างสรรพสินค้า
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 80.4
2 ไม่จำเป็น 13.3
3 ไม่มีความเห็น 6.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการจัดจุดจอดรถส่วนบุคคลเพื่อขึ้นรถ
ขนส่งสาธารณะ
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 80.0
2 ไม่จำเป็น 13.0
3 ไม่มีความเห็น 7.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันแพง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 รณรงค์ให้ประชาชนประหยัดน้ำมัน 32.2
2 หาพลังงานสำรองมาทดแทน 23.4
3 ให้รัฐบาลตรึงราคาน้ำมัน 17.8
4 ใช้บริการรถสาธารณะแทนการใช้รถส่วนตัว 13.4
5 แก้ปัญหาคอรัปชั่นไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว 12.6
6 จัดระบบจราจรรวมถึงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 9.1
7 ปล่อยราคาน้ำมันลอยตัว 7.4
8 เก็บภาษีรถนำเข้าที่มี ซีซี สูง เพิ่มขึ้น 6.8
9 แก้ปัญหาระบบจราจร 6.2
10 อื่นๆ อาทิ เช่น หามาตรการที่ดีกว่าการขึ้นราคาน้ำมัน
เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้กับประชาชน ควบคุมราคาสินค้า เป็นต้น 15.6
--เอแบคโพลล์--
-พห-