กรณีศึกษา : ตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องดัชนีความเครียดของคนไทยไตรมาส 1/2562 กรณีศึกษา : ตัวอย่างประชาชนทั่วไป ในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,019 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3–24 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา พบว่า
ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.5 เป็นหญิง และร้อยละ 45.5 เป็นชาย เมื่อจำแนกออกเป็นเจเนอเรชั่น พบว่า ร้อยละ 6.93 เป็นเจเนอเรชั่นZ (ตัวอย่างที่มีอายุ 15-18 ปี) ร้อยละ 11.69 เป็นเจเนอเรชั่นM (ตัวอย่างที่มีอายุ 19-24 ปี) ร้อยละ 20.90 เป็นเจเนอเรชั่นY (ตัวอย่างที่มีอายุ 25-35 ปี) ร้อยละ 30.96 เป็นเจเนอเรชั่นX (ตัวอย่างที่มีอายุ 36-50 ปี) และร้อยละ 29.52 เป็นเจเนอเรชั่นB (ตัวอย่างที่มีอายุ 51-69 ปี) ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 54.33สมรสแล้ว ร้อยละ 35.22 เป็นโสด ในขณะที่ร้อยละ 8.82เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.63 ไม่ระบุ ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมา ชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.37 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 39.67 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 4.66 ระดับสูงกว่าปริญญาตรีและ ร้อยละ 0.30 ไม่ระบุ ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 23.53 มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 40.17 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ในขณะที่ร้อยละ 21.10 มีรายได้ 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 14.71 มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทและร้อยละ 0.50 ไม่ระบุรายได้ สำหรับอาชีพ พบว่า ร้อยละ 19.66 อาชีพพนักงาน/บริษัทเอกชน ร้อยละ 17.73 รับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.65 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 13.08 เป็นนักเรียน-นักศึกษา ร้อยละ 10.65 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.32ประกอบธุรกิจส่วนตัว และร้อยละ 14.91 ประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น พ่อบ้านแม่บ้าน เกษตรกร เกษียณอายุ ว่างงาน พนักงานมหาวิทยาลัย เป็นต้น
ผลสำรวจในเดือนพฤษภาคม 2562 นี้ ในภาพรวมพบว่า คนไทยมีความเครียดคล้ายคลึงกับการสำรวจในครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา โดยคนไทยส่วนใหญ่มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมากกว่าเรื่องอื่นๆ (ร้อยละ 69.39) รองลงมา คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 46.85) และเรื่อง การงาน (ร้อยละ 46.19) แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ระดับความเครียดของคนไทยในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน สิ่งแวดล้อม และการเมืองลดลงกว่าไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งความเครียดในด้านต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อคนไทยในด้านสุขภาพจิต โดยส่วนใหญ่รู้สึกไม่มีความสุข (ร้อยละ 60.88) และเบื่อหน่าย (ร้อยละ 64.85) เป็นต้น
เมื่อพิจารณาความเครียดของคนในแต่ละวัยก็พบว่า คนไทยในช่วงวัยทำงานจนถึงวัยชรา (อายุ 18 ปีขึ้นไป) ต่างก็มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน มาเป็นอันดับ 1 เหมือนๆ กัน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากปัจจัยที่ทำให้คนไทยเกิดความเครียด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาราคาสินค้าและบริการที่แพงขึ้น (ร้อยละ 55.58) ภาวะ เศรษฐกิจในปัจจุบัน (ร้อยละ 50.83) ปัญหาหนี้สินและรายรับไม่พอกับรายจ่าย (ร้อยละ 44.28) ส่งผลให้คนไทยส่วนใหญ่รู้สึกเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ คนไทยส่วนใหญ่ยังเครียดเรื่องการเมือง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความไม่ซื่อสัตย์สุจริตของนักการเมือง (ร้อยละ 64.01) และการแบ่งพรรค แบ่งพวก (ร้อยละ 54.89) รวมทั้งปัญหาการจราจร (ร้อยละ 58.85) อีกด้วย
ส่วนที่เห็นว่า ความเครียดในไตรมาสนี้ลดลงกว่าไตรมาสที่ผ่านมา เป็นไปได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่เริ่มที่จะปรับตัวและสามารถรับมือกับความเครียดใน เรื่องเหล่านี้ได้ดีขึ้น รวมทั้งคาดหวังว่า รัฐบาลใหม่ที่ได้มาจากการเลือกตั้งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้
จากผลการสำรวจพบว่า แนวทางแก้ปัญหาเพื่อลดความเครียดในเรื่องสภาพเศรษฐกิจ/การเงินที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คนไทยส่วนใหญ่เลือกที่จะพึ่งตนเอง โดยใช้จ่ายอย่างประหยัด ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 56.44) ปล่อยวางยอมรับความจริงและมีสติ (ร้อยละ 10.49) และหาอาชีพเสริมและทำงานมากขึ้น (ร้อยละ 14.46) เป็นต้น
นอกจากนี้ จากผลการสำรวจจะเห็นว่า ปัญหาหลักๆ ที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เกิดความเครียด คือ ปัญหาสินค้าราคาแพง ปัญหาหนี้สิน/รายรับไม่พอกับรายจ่าย ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์สุจริตของนักการเมืองและการแบ่งพรรคแบ่งพวก และปัญหาการจราจร เป็นต้น ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงของการที่พรรคการเมืองต่างๆ เริ่มที่จะฟอร์มทีม เพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ รวมทั้งกำหนดนโยบายที่จะใช้เป็นแนวทางในการทำงานต่อไปในอนาคต หากรัฐบาลใหม่สร้างความมั่นใจแก่คนไทยและแสดงความตั้งใจใน การแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจริงจัง ก็จะสามารถช่วยให้คนไทยมีความเครียดต่อปัญหาต่างๆ เหล่านี้น้อยลง และมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของรัฐบาลใหม่มากยิ่งขึ้น ?
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
ลำดับที่ ความเครียด Generation ภาพรวม Gen Z Gen M Gen Y Gen X Gen B 1 เศรษฐกิจ/การเงิน 44.29 64.83 73.70 75.68 67.45 69.39 2 ครอบครัว 51.43 48.31 44.08 46.24 35.40 43.19 3 เพื่อน 38.57 32.20 19.67 15.52 8.89 17.98 4 ความรัก (แฟน/คนรัก) 32.14 38.98 30.81 27.20 9.73 24.52 5 การงาน - 40.25 57.35 55.04 31.38 46.19 6 สุขภาพ 17.86 23.73 27.49 41.12 60.74 40.42 7 การเรียน 77.86 42.37 3.32 - - 27.94 8 การเมือง 18.57 30.08 34.60 32.48 29.70 30.86 9 สิ่งแวดล้อม 37.14 44.92 51.90 52.64 40.27 46.85 10 ตัวเอง 27.14 26.69 18.96 20.00 11.58 18.57 ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียดเรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียด ร้อยละ 1 ราคาสินค้าแพง 55.58 2 สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน 50.83 3 ปัญหาหนี้สิน/รายรับไม่พอกับรายจ่าย 44.28 4 ค่าครองชีพสูง 41.40 5 การบริหารงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล 1.15 ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีแก้ไขความเครียดเรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน ลำดับที่ วิธีแก้ไขความเครียด ร้อยละ 1 ประหยัด/พอเพียงใช้จ่ายอย่างประหยัด/ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง 56.44 2 ปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสติ 10.49 3 ทำอาชีพเสริมทำงานให้มากขึ้น 9.25 4 วางแผนการใช้เงินใช้จ่ายอย่างมีวินัย 9.18 5 หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำแล้วมีความสุข 4.09 6 มองโลกในแง่ดีไม่คิดมาก 2.16 7 อื่นๆ เช่น ออกกำลังกายเล่นกีฬา ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ทำบุญไหว้พระ 8.39 ปฏิบัติธรรม พูดคุยปรึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น ตั้งใจทำงาน ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด กู้ยืมผู้อื่นหรือธนาคารเพื่อนำมาใช้จ่าย ใช้เวลากับครอบครัว เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 100.00 ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียดเรื่องครอบครัว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียด ร้อยละ 1 ความไม่เข้าใจกันระหว่างคนในครอบครัว 36.79 2 ความคาดหวังของคนในครอบครัว 33.56 3 ภาระความรับผิดชอบต่อครอบครัว 30.10 4 ไม่มีเวลาให้กับคนในครอบครัว 28.95 5 ความรักความอบอุ่นจากคนในครอบครัว 17.42 6 การทะเลาะเบาะแว้งกับคนในครอบครัว 17.30 7 การไม่ได้รับการสนับสนุนจากคนในครอบครัว 9.46 8 การใช้ความรุนแรงในครอบครัว 8.42 9 อื่น ๆ เช่น การศึกษาของลูกหลาน หนี้สินของครอบครัว 0.58 ความสูญเสียของคนในครอบครัว แยกทางกับสามี ลูกหลาน เสียคน สุขภาพของคนในครอบครัว เป็นต้น ? ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีแก้ไขความเครียดเรื่องครอบครัว ลำดับที่ วิธีแก้ไขความเครียด ร้อยละ 1 พูดคุย/ปรับความเข้าใจกันลดทิฐิลดความรุนแรงในครอบครัว 29.13 2 หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำแล้วมีความสุข 11.22 3 ปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสติ 11.1 4 ให้เวลากับครอบครัวมากขึ้นสร้างความอบอุ่นในครอบครัว 10.21 5 ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด/พิสูจน์ตัวเองให้ครอบครัวเห็น 8.32 6 ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวมากขึ้น 7.19 7 มองโลกในแง่ดีไม่คิดมาก 4.04 8 พูดคุยปรึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น 3.40 9 ทำอาชีพเสริมทำงานให้มากขึ้น 2.14 10 ทำบุญไหว้พระปฏิบัติธรรม 2.02 11 อื่นๆ เช่น เที่ยว อยู่คนเดียว นอน ออกกำลังกายเล่นกีฬา 11.23 อดทนอดกลั้น อยู่ห่างกันสักพัก ช่วยกันแบ่งเบาภาระคนใน ครอบครัว ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนให้มากขึ้น ไม่คาดหวังกับ คนในครอบครัวมากเกินไป เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียดเรื่องเพื่อน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียด ร้อยละ 1 ความไม่เข้าใจกันระหว่างเพื่อน 44.86 2 การไม่มีเวลาให้กัน 38.57 3 ทะเลาะกับเพื่อน 25.43 4 อื่น ๆ เช่น เพื่อนยืมเงิน ไม่มีเพื่อนมีเพื่อนน้อย เพื่อนมีการแบ่งกลุ่ม เป็นต้น 6.29 ? ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีแก้ไขความเครียดเรื่องเพื่อน ลำดับที่ วิธีแก้ไขความเครียด ร้อยละ 1 พูดคุย/ปรับความเข้าใจกันลดทิฐิฟังเหตุผลของกันและกันมากขึ้น 50.17 2 ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนมากขึ้น 9.15 3 หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำแล้วมีความสุข 9.15 4 ปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสติ 6.78 5 ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนให้มากขึ้น 6.10 6 ไม่ยุ่งเรื่องส่วนตัวของเพื่อน 3.05 7 มองโลกในแง่ดีไม่คิดมาก 2.71 8 ออกกำลังกายเล่นกีฬา 2.03 9 อื่นๆ เช่น เลิกคบ ออกห่างจากเพื่อน ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด 10.86 หาเพื่อนใหม่ พูดคุยปรึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น ทำบุญไหว้พระ ปฏิบัติธรรม เที่ยว ให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 100.00 ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียดเรื่องความรัก (แฟน/คนรัก) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียด ร้อยละ 1 การไม่มีเวลาให้กัน 38.62 2 ความไม่เข้าใจกันระหว่างแฟน/คนรัก 34.76 3 ทะเลาะกับแฟน/คนรัก 27.85 4 ไม่มีแฟน/คนรัก 18.50 5 ผิดหวังในเรื่องความรัก 16.46 6 แฟน/คนรักนอกใจ 9.35 7 อื่นๆ ได้แก่การสูญเสียแฟน ความไม่เชื่อใจกัน ความไม่รับผิดชอบ เลิกรากัน 1.63 ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีแก้ไขความเครียดเรื่องความรัก (แฟน/คนรัก) ลำดับที่ วิธีแก้ไขความเครียด ร้อยละ 1 พูดคุย/ปรับความเข้าใจกันลดทิฐิฟังเหตุผลของกันและกันมากขึ้น 35.13 2 หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำแล้วมีความสุข 18.74 3 ปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสติ 11.48 4 ให้เวลากับแฟน/คนรักมากขึ้น 5.85 5 ทำกิจกรรมร่วมกับแฟน/คนรักมากขึ้น 5.62 6 เลิกคบแฟน/คนรัก 2.81 7 กิน 2.34 8 ดูแลตัวเองให้มากขึ้นทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด 2.11 9 อื่นๆ เช่น พูดคุยปรึกษาและแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการทะเลาะ 15.92 ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนให้มากขึ้น เที่ยว ทำบุญไหว้พระ ปฏิบัติธรรม หาคนรักใหม่ ไม่ต้องมีคนรัก ใช้ชีวิตโสดอย่างมีความสุข มองโลกในแง่ดี ไม่คิดมาก เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 100.00 ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียดเรื่องการงาน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียด ร้อยละ 1 ปริมาณงานที่ทำ/ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ 38.62 2 สวัสดิการและค่าตอบแทน 30.69 3 ความก้าวหน้าในอาชีพ 30.34 4 ความมั่นคงในงานที่ทำ 28.59 5 ไม่ถนัดในงานที่ทำ/งานยาก 18.55 6 ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 14.35 7 ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน 6.42 8 อื่น ๆ เช่น มีคู่แข่งทางการค้ามากขึ้น ตกงาน หางานยาก ทำงานจน 10.27 ไม่มีเวลาพักผ่อน เพื่อนร่วมงานไม่ดี เจ้านายไม่มียุติธรรม เป็นต้น ? ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีแก้ไขความเครียดเรื่องการงาน ลำดับที่ วิธีแก้ไขความเครียด ร้อยละ 1 ปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสติ อดทน 19.90 2 หาอาชีพเสริม/ทำธุรกิจส่วนตัว/หางานพิเศษทำ 12.79 3 ตั้งใจทำงานทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด/รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้ดีที่สุด 12.53 4 หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำแล้วมีความสุข 12.40 5 ลาออก/หางานใหม่/หางานอื่นทำ/หางานทำที่เหมาะกับตัวเอง 11.24 6 ปรึกษาหรือปรับความเข้าใจกับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน และคนในครอบครัว 5.68 7 หาความรู้เพิ่มเติมและฝึกฝนในการทำงานให้มากขึ้น 4.26 8 วางแผนการทำงานให้เหมาะสม 3.62 9 กิน 3.36 10 พัฒนาและปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ 3.23 11 นอนพักผ่อน 2.84 12 มองโลกในแง่ดีไม่คิดมาก 2.71 13 อื่นๆ เช่น ไม่ไปวุ่นวายกับผู้อื่น ใช้เวลาอยู่คนเดียว ทำบุญไหว้พระ 5.44 ปฏิบัติธรรม ประหยัดพอเพียง ลดความคาดหวังที่มีต่องานลง ใช้เวลา อยู่กับเพื่อนให้มากขึ้น ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของหน่วยงาน เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 100.00 ตารางที่ 12 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียดเรื่องสุขภาพ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียด ร้อยละ 1 ร่างกายไม่แข็งแรง 48.00 2 มีโรคประจำตัว 45.13 3 เจ็บป่วย/ไม่สบายบ่อย 26.13 4 ค่าใช้จ่ายในการรักษา 8.00 5 เจ็บป่วย/ไม่สบาย โดยไม่รู้สาเหตุ 7.63 6 อื่นๆ เช่น ไมเกรน เป็นโรคประสาท ปวดเมื่อยตามร่างกาย 2.88 เป็นภูมิแพ้ อ้วน เป็นต้น ? ตารางที่ 13 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีแก้ไขความเครียดเรื่องสุขภาพ ลำดับที่ วิธีแก้ไขความเครียด ร้อยละ 1 ออกกำลังกายเล่นกีฬา 29.17 2 ไปหาหมอ/ปรึกษาแพทย์/รับประทานยา 27.22 3 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 13.06 4 รักษาสุขภาพให้แข็งแรง/ดูแลสุขภาพ 8.61 5 นอนพักผ่อนให้เพียงพอ 5.28 6 ปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสติ 5.00 7 มองโลกในแง่ดีไม่คิดมาก ไม่เครียด 3.33 8 หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำแล้วมีความสุข 2.5 9 ทำบุญไหว้พระปฏิบัติธรรม 2.08 10 อื่นๆ ได้แก่ ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ ไม่ทำงานหนักเกินไป 3.75 ควบคุมอาหาร ทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ พูดคุยปรึกษาครอบครัว ลดอาหารและเครื่องดื่มที่ทำลายสุขภาพ รับประทานอาหารเสริม/ วิตามินเสริม เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 100.00 ตารางที่ 14 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียดเรื่องการเรียน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียด ร้อยละ 1 ผลการเรียน 47.30 2 การศึกษาต่อ 44.59 3 อาชีพในอนาคต/อนาคตในการทำงาน 34.68 4 เนื้อหาการเรียน 34.68 5 ชั่วโมงเรียนมากเกินไป 15.77 6 ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียน 5.86 ? ตารางที่ 15 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีแก้ไขความเครียดเรื่องการเรียน ลำดับที่ วิธีแก้ไขความเครียด ร้อยละ 1 ตั้งใจเรียน/ขยันมากขึ้น 34.8 2 หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำแล้วมีความสุข 22.55 3 วางแผนการเรียนอย่างเป็นระบบ 6.86 4 ปรึกษาครูอาจารย์ 6.86 5 เรียนพิเศษเพิ่มเติม 6.37 6 ปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสติ 5.39 7 ศึกษาข้อมูลการเรียนเพิ่มเติมเพื่อวางแผนการศึกษาหรือทำงานในอนาคต 4.42 8 ปรึกษาเพื่อน 3.44 9 นอน 2.45 10 อื่นๆ ได้แก่ ไม่เครียดไม่คิดมาก มองโลกในแง่ดี ปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง 6.86 เที่ยว ใช้จ่ายเรื่องการเรียนเท่าที่จำเป็น ออกกำลังกายเล่นกีฬา เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 100.000 ตารางที่ 16 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียดเรื่องการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียด ร้อยละ 1 ความไม่ซื่อสัตย์สุจริตของนักการเมือง 64.01 2 การแบ่งพรรคแบ่งพวก 54.89 3 นักการเมืองทะเลาะกัน 33.22 4 อยากให้เร่งจัดตั้งรัฐบาล 7.65 ? ตารางที่ 17 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีแก้ไขความเครียดเรื่องการเมือง ลำดับที่ วิธีแก้ไขความเครียด ร้อยละ 1 ปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสติ 30.02 2 หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำแล้วมีความสุข 28.83 3 ติดตามข่าวสารการเมืองให้น้อยลง 24.05 4 ทำตัวเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 3.18 5 ติดตามข่าวสารการเมือง 2.98 6 ทำบุญไหว้พระปฏิบัติธรรม 2.18 7 อื่นๆ เช่น ไม่เครียด ไม่คิดมาก มองโลกในแง่ดี มองการเมืองเป็นเรื่องปกติ 8.76 ออกกำลังกาย ไม่สนับสนุนนักการเมืองที่ทุจริต สนับสนุนคนดี ใช้วิจารณญาณใน การรับฟังข่าวสารด้านการเมือง เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 100.00 ตารางที่ 18 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียดเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพอากาศ การจราจร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียด ร้อยละ 1 ปัญหาการจราจร/รถติด 58.85 2 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 29.37 3 ปัญหายาเสพติด 23.54 4 สภาพแวดล้อม เช่น บ้าน ขยะ เสียงดัง น้ำเสีย ฯลฯ 21.85 5 ภัยแล้ง 16.86 6 น้ำท่วม 2.55 7 อื่นๆ ได้แก่ ปัญหาสิ่งปลูกสร้าง มลพิษ ฝุ่นละลอง อากาศร้อน 17.07 ตารางที่ 19 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีแก้ไขความเครียดเรื่องสิ่งแวดล้อม เช่น สภาพอากาศ การจราจร ลำดับที่ วิธีแก้ไขความเครียด ร้อยละ 1 ปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสติ 16.00 2 หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำแล้วมีความสุข 12.28 3 วางแผนการเดินทาง 11.41 4 ใช้ผ้าปิดจมูกเพื่อหลีกเลี่ยงโรคติดต่อต่างๆ 10.42 5 ไม่ประมาท/ระมัดระวังในการใช้ชีวิตเพิ่มขึ้น 8.93 6 ช่วยกันลดโลกร้อน/รักษาสิ่งแวดล้อม/ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม 7.44 7 ไม่ออกนอกบ้าน 5.96 8 ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ใช้รถสาธารณะแทน/มอเตอร์ไซด์/ใช้จักรยาน 4.71 9 รักษาความสะอาดของร่างกาย 4.09 10 หลีกเลี่ยงเส้นทางรถติด/ใช้เส้นทางอื่น 3.60 11 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งตัวเองและครอบครัว 3.10 12 รักษาความสะอาดสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ 2.61 13 ไม่เครียด/ไม่คิดมาก/มองโลกในแง่ดี 2.12 14 แจ้งเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดระเบียบสิ่งต่างๆ 2.12 15 อื่นๆ เช่น คุยปรึกษาปัญหากับคนอื่นๆ ออกกำลังกาย เที่ยว ย้ายที่อยู่อาศัย 5.21 ปฏิบัติตามกฎจราจร นอน เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 100.00 ตารางที่ 20 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียดเรื่องตัวเอง เช่น ความคาดหวัง รูปร่างหน้าตา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่ทำให้รู้สึกเครียด ร้อยละ 1 ไม่สามารถทำอย่างที่ตัวเองคาดหวัง 54.62 2 รูปร่างหน้าตา/บุคลิกภาพของตัวเอง 32.88 3 รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า 27.72 4 การปรับตัวให้เข้ากับสังคมภายนอก 17.66 5 อยากมีข้าวของเครื่องใช้เหมือนคนอื่น 16.03 6 อื่นๆ ได้แก่ อ้วน ผมร่วง เป็นคนคิดมาก 2.45 ตารางที่ 21 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีแก้ไขความเครียดเรื่องตัวเอง เช่น ความคาดหวัง รูปร่างหน้าตา ลำดับที่ วิธีแก้ไขความเครียด ร้อยละ 1 ปล่อยวางทำใจยอมรับความเป็นจริงและมีสติ/ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ 24.50 2 รู้จักคุณค่าของตน/มองโลกในแง่ดี/ไม่คิดมาก/ไม่เครียด 16.56 3 พัฒนาและปรับปรุงบุคลิกภาพของตนอยู่เสมอ/มั่นใจในตนเอง 9.60 4 ดูแลตัวเองให้มากขึ้น/รักษาความสะอาดของร่างกายเสมอ 7.95 5 หากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำแล้วมีความสุข 7.28 6 ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด/ทำสิ่งต่างๆ อย่างเต็มที่ 6.95 7 ออกกำลังกายเล่นกีฬา 5.96 8 ทำบุญไหว้พระปฏิบัติธรรม 3.64 9 พูดคุยปรึกษาผู้อื่น/ปรึกษาครอบครัว/ปรึกษาเพื่อน/ปรึกษาแพทย์ 3.32 10 ลดความอยากได้ของตนลง 2.98 11 วางแผนในการใช้ชีวิตใหม่ 2.33 12 นอน 2.33 13 อื่นๆ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์/หลีกเลี่ยงอาหารหรือ 6.60 เครื่องดื่มที่ทำลายสุขภาพ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง พยายามหารายได้มากขึ้น รู้จักควบคุมอาหาร ซื้อของที่อยากได้ ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนให้มากขึ้น เป็นต้น รวมทั้งสิ้น 100.00 ตารางที่ 22 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้สึกต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ลำดับที่ ความรู้สึก ระดับความรู้สึก รวมทั้งสิ้น บ่อยๆ เป็นครั้งคราว ไม่รู้สึกเลย 1 ไม่มีความสุขเลย 14.23 46.65 39.12 100.00 2 รู้สึกเบื่อหน่าย 21.82 43.03 35.15 100.00 3 ไม่อยากพบปะผู้คน 4.76 29.25 65.99 100.00 4 รู้สึกหมดกำลังใจ 7.68 33.32 59.00 100.00 5 รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า 4.22 19.78 76.00 100.00
เอยูโพลมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร. 0-2723-2163-8
--เอยูโพล--