ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบันนั้น เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานและยังไม่สามารถหาทางออกซึ่งเป็น
ข้อยุติของปัญหาได้ เมื่อวันที่ 21 กันยายน ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้า สลดใจต่อการเสียชีวิตของ 2 นาวิกโยธินที่ ต.ตันหยงลิมอ อ.ละแวะ
จ.นราธิวาส ซึ่งหลายต่อหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่านั้น น่าจะมีสาเหตุส่วนหนึ่ง
มาจากการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาดไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงเพราะไม่เข้าใจถึงสภาพที่แท้จริงของปัญหา รวมทั้ง
ความหย่อนประสิทธิภาพของมาตรการต่างๆ ที่รัฐใช้ในการดำเนินการควบคุมและป้องกันการก่อความ ไม่สงบ ซึ่งนับวันเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น
ยิ่งจะทวีความรุนแรงและแผ่ขยายออกไปในวงกว้างมากขึ้นทุกขณะ และเกิดขึ้นจนแทบจะกลายเป็นชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชนใน 3 จังหวัดชาย
แดนภาคใต้ไปแล้ว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น รวมทั้งความเห็นต่อแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธี
วิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสาเหตุของการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เพื่อสำรวจถึงความเห็นต่อแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญครั้งนี้ เรื่อง “ทรรศนะของประชาชนต่อแนวทางของรัฐบาล
ในการแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 23 — 24 กันยายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,659 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 6.2
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของสำนัก
วิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.8 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุเป็นชาย ตัวอย่าง
ร้อยละ 34.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 21.9 อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 18.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี ร้อยละ 17.2 อายุ 50 ปีขึ้น
ไป และร้อยละ 8.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 28.7 ระบุรับจ้างทั่วไป /เกษตรกร ตัวอย่างร้อยละ 15.7 ระบุค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 14.4 ระบุนัก
ศึกษา ร้อยละ 13.3 ระบุพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.8 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 8.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐ
วิสาหกิจ ในขณะที่ร้อยละ 6.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 22.2 ระบุปัจจุบันนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 77.4 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.4 นับถือศาสนาคริสต์
ตัวอย่างร้อยละ 24.3 ระบุภาษาพูดที่ใช้ในครอบครัว คือ ภาษาไทย ร้อยละ 41.2 ระบุทั้งภาษาไทยและมลายู ร้อยละ 34.2 ระบุ
ภาษามลายู และร้อยละ 0.3 ระบุอื่นๆ อาทิ ภาษาจีน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัส
สัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง “ทรรศนะของประชาชนต่อแนวทางของ รัฐบาลในการแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” ในครั้ง
นี้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,659 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ
สำรวจระหว่างวันที่ 23-24 กันยายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 58.4 ติดตามข่าวความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 32.1 ติดตามเป็น
บางครั้ง และร้อยละ 9.5 ติดตามน้อยมาก หรือไม่ได้ติดตามเลย
สำหรับกรณีการเสียชีวิตของ 2 นาวิกโยธินที่ปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พบว่า มี ตัวอย่างถึงร้อยละ 93.7 รู้สึก
สะเทือนใจและเสียใจ ร้อยละ 1.4 ไม่รู้สึกอะไรกับเหตุการณ์นี้เลย และร้อยละ 4.9 ไม่มีความคิดเห็น
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ ยังค้นพบอีกว่า สาเหตุของการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 อันดับแรก ได้แก่ ช่องว่าง
ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน (ร้อยละ 74.2) กลุ่มเสียผลประโยชน์จากสิ่งผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ค้าอาวุธ (ร้อยละ 68.1) ช่องว่าง
ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง / ไม่ประสานงานกัน (ร้อยละ 65.2) ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ (ร้อยละ 63.9) และขบวน
การแบ่งแยกดินแดน (ร้อยละ 52.9) ตามลำดับ
สำหรับความคิดเห็นต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่กล่าวว่า “จะไม่ยอมให้ใครมาแยกดินแดนภาคใต้แม้เพียงตารางนิ้วเดียว” นั้นพบว่า
ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.3 มีความเห็นว่าเป็นคำพูดที่เหมาะสม ร้อยละ 6.1 มีความเห็นว่าเป็นคำพูดที่ไม่เหมาะสม และร้อยละ 14.6 ไม่มี
ความเห็น
เมื่อพิจารณาถึงแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 64.2 เห็นว่าแนวทางแก้ปัญหามี
ความเหมาะสมแล้ว ร้อยละ 25.2 เห็นว่าไม่เหมาะสม และร้อยละ 10.6 ไม่มีความเห็น สำหรับความคิดเห็นต่อการใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหานั้น พบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 81.8 เห็นด้วยกับวิธีนี้ เพราะ เมืองไทยเป็นเมืองที่รักความสงบ / ควรใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น ร้อยละ 11.7
ไม่เห็นด้วย เพราะ ต้องการให้ปราบปรามอย่างเด็ดขาด / ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ / ฝ่ายตรงข้ามจะได้ใจ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 6.5 ไม่มี
ความเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่น่าพิจารณา คือ ความนิยมต่อนายกรัฐมนตรี พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 นิยมเชื่อถือต่อนายก
รัฐมนตรี ร้อยละ 24.1 ไม่นิยม ไม่เชื่อถือ และร้อยละ 12.1 ไม่มีความเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจติดตามข่าวความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความสนใจติดตามข่าวสาร ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 58.4
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 32.1
3 ไม่ได้ติดตาม (ติดตามน้อยมาก) 9.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อการเสียชีวิตของ 2 นาวิกโยธินที่ปฏิบัติหน้าที่ใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สะเทือนใจและเสียใจ 93.7
2 ไม่รู้สึกอะไรเลย 1.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุของการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ช่องว่างระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน 74.2
2 กลุ่มเสียผลประโยชน์จากสิ่งผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ค้าอาวุธ 68.1
3 ช่องว่างระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง (ไม่ประสานกัน) 65.2
4 ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ 63.9
5 ขบวนการแบ่งแยกดินแดน 52.9
6 เจ้าหน้าที่ของรัฐแสวงหาผลประโยชน์เสียเอง 51.8
7 การเสนอข่าวของสื่อมวลชน 33.1
8 ช่องทางให้ประชาชนแจ้งเบาะแสไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ 32.8
9 อื่นๆ อาทิ การข่าวและข้อมูลให้นายกผิดพลาด/ การถือสองสัญชาติของคนในพื้นที่ /
อารมณ์และคำพูดของนายกรัฐมนตรี เป็นต้น 22.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่กล่าวว่า
“จะไม่ยอมให้ใครมาแยกดินแดนภาคใต้แม้เพียงตารางนิ้วเดียว”
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เป็นคำพูดที่เหมาะสม 79.3
2 เป็นคำพูดที่ไม่เหมาะสม 6.1
3 ไม่มีความเห็น 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เหมาะสมแล้ว 64.2
2 ไม่เหมาะสม 25.2
3 ไม่มีความเห็น 10.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหา
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ เมืองไทยเป็นเมืองที่รักความสงบ / ควรใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหา /
ยิ่งใช้กำลัง ยิ่งสร้างความแตกแยก เป็นต้น 81.8
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ต้องการให้ปราบปรามอย่างเด็ดขาด / ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ /
ฝ่ายตรงข้ามจะได้ใจ เป็นต้น 11.7
3 ไม่มีความเห็น 6.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมต่อนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 นิยมเชื่อถือ 63.8
2 ไม่นิยมไม่เชื่อถือ 24.1
3 ไม่มีความเห็น 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ข้อยุติของปัญหาได้ เมื่อวันที่ 21 กันยายน ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์ที่น่าเศร้า สลดใจต่อการเสียชีวิตของ 2 นาวิกโยธินที่ ต.ตันหยงลิมอ อ.ละแวะ
จ.นราธิวาส ซึ่งหลายต่อหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่านั้น น่าจะมีสาเหตุส่วนหนึ่ง
มาจากการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาดไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงเพราะไม่เข้าใจถึงสภาพที่แท้จริงของปัญหา รวมทั้ง
ความหย่อนประสิทธิภาพของมาตรการต่างๆ ที่รัฐใช้ในการดำเนินการควบคุมและป้องกันการก่อความ ไม่สงบ ซึ่งนับวันเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น
ยิ่งจะทวีความรุนแรงและแผ่ขยายออกไปในวงกว้างมากขึ้นทุกขณะ และเกิดขึ้นจนแทบจะกลายเป็นชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชนใน 3 จังหวัดชาย
แดนภาคใต้ไปแล้ว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น รวมทั้งความเห็นต่อแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธี
วิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสาเหตุของการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เพื่อสำรวจถึงความเห็นต่อแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญครั้งนี้ เรื่อง “ทรรศนะของประชาชนต่อแนวทางของรัฐบาล
ในการแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 23 — 24 กันยายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,659 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 6.2
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของสำนัก
วิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.8 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุเป็นชาย ตัวอย่าง
ร้อยละ 34.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 21.9 อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 18.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี ร้อยละ 17.2 อายุ 50 ปีขึ้น
ไป และร้อยละ 8.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 28.7 ระบุรับจ้างทั่วไป /เกษตรกร ตัวอย่างร้อยละ 15.7 ระบุค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 14.4 ระบุนัก
ศึกษา ร้อยละ 13.3 ระบุพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.8 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 8.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐ
วิสาหกิจ ในขณะที่ร้อยละ 6.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 22.2 ระบุปัจจุบันนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 77.4 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.4 นับถือศาสนาคริสต์
ตัวอย่างร้อยละ 24.3 ระบุภาษาพูดที่ใช้ในครอบครัว คือ ภาษาไทย ร้อยละ 41.2 ระบุทั้งภาษาไทยและมลายู ร้อยละ 34.2 ระบุ
ภาษามลายู และร้อยละ 0.3 ระบุอื่นๆ อาทิ ภาษาจีน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัส
สัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง “ทรรศนะของประชาชนต่อแนวทางของ รัฐบาลในการแก้ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” ในครั้ง
นี้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,659 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ
สำรวจระหว่างวันที่ 23-24 กันยายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 58.4 ติดตามข่าวความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 32.1 ติดตามเป็น
บางครั้ง และร้อยละ 9.5 ติดตามน้อยมาก หรือไม่ได้ติดตามเลย
สำหรับกรณีการเสียชีวิตของ 2 นาวิกโยธินที่ปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พบว่า มี ตัวอย่างถึงร้อยละ 93.7 รู้สึก
สะเทือนใจและเสียใจ ร้อยละ 1.4 ไม่รู้สึกอะไรกับเหตุการณ์นี้เลย และร้อยละ 4.9 ไม่มีความคิดเห็น
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ ยังค้นพบอีกว่า สาเหตุของการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 อันดับแรก ได้แก่ ช่องว่าง
ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน (ร้อยละ 74.2) กลุ่มเสียผลประโยชน์จากสิ่งผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ค้าอาวุธ (ร้อยละ 68.1) ช่องว่าง
ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง / ไม่ประสานงานกัน (ร้อยละ 65.2) ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ (ร้อยละ 63.9) และขบวน
การแบ่งแยกดินแดน (ร้อยละ 52.9) ตามลำดับ
สำหรับความคิดเห็นต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่กล่าวว่า “จะไม่ยอมให้ใครมาแยกดินแดนภาคใต้แม้เพียงตารางนิ้วเดียว” นั้นพบว่า
ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.3 มีความเห็นว่าเป็นคำพูดที่เหมาะสม ร้อยละ 6.1 มีความเห็นว่าเป็นคำพูดที่ไม่เหมาะสม และร้อยละ 14.6 ไม่มี
ความเห็น
เมื่อพิจารณาถึงแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 64.2 เห็นว่าแนวทางแก้ปัญหามี
ความเหมาะสมแล้ว ร้อยละ 25.2 เห็นว่าไม่เหมาะสม และร้อยละ 10.6 ไม่มีความเห็น สำหรับความคิดเห็นต่อการใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหานั้น พบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 81.8 เห็นด้วยกับวิธีนี้ เพราะ เมืองไทยเป็นเมืองที่รักความสงบ / ควรใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น ร้อยละ 11.7
ไม่เห็นด้วย เพราะ ต้องการให้ปราบปรามอย่างเด็ดขาด / ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ / ฝ่ายตรงข้ามจะได้ใจ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 6.5 ไม่มี
ความเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่น่าพิจารณา คือ ความนิยมต่อนายกรัฐมนตรี พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 นิยมเชื่อถือต่อนายก
รัฐมนตรี ร้อยละ 24.1 ไม่นิยม ไม่เชื่อถือ และร้อยละ 12.1 ไม่มีความเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจติดตามข่าวความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความสนใจติดตามข่าวสาร ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 58.4
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 32.1
3 ไม่ได้ติดตาม (ติดตามน้อยมาก) 9.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อการเสียชีวิตของ 2 นาวิกโยธินที่ปฏิบัติหน้าที่ใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความรู้สึกของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สะเทือนใจและเสียใจ 93.7
2 ไม่รู้สึกอะไรเลย 1.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 4.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุของการก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ช่องว่างระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน 74.2
2 กลุ่มเสียผลประโยชน์จากสิ่งผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด ค้าอาวุธ 68.1
3 ช่องว่างระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง (ไม่ประสานกัน) 65.2
4 ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ 63.9
5 ขบวนการแบ่งแยกดินแดน 52.9
6 เจ้าหน้าที่ของรัฐแสวงหาผลประโยชน์เสียเอง 51.8
7 การเสนอข่าวของสื่อมวลชน 33.1
8 ช่องทางให้ประชาชนแจ้งเบาะแสไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ 32.8
9 อื่นๆ อาทิ การข่าวและข้อมูลให้นายกผิดพลาด/ การถือสองสัญชาติของคนในพื้นที่ /
อารมณ์และคำพูดของนายกรัฐมนตรี เป็นต้น 22.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่กล่าวว่า
“จะไม่ยอมให้ใครมาแยกดินแดนภาคใต้แม้เพียงตารางนิ้วเดียว”
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เป็นคำพูดที่เหมาะสม 79.3
2 เป็นคำพูดที่ไม่เหมาะสม 6.1
3 ไม่มีความเห็น 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เหมาะสมแล้ว 64.2
2 ไม่เหมาะสม 25.2
3 ไม่มีความเห็น 10.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหา
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะ เมืองไทยเป็นเมืองที่รักความสงบ / ควรใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหา /
ยิ่งใช้กำลัง ยิ่งสร้างความแตกแยก เป็นต้น 81.8
2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ต้องการให้ปราบปรามอย่างเด็ดขาด / ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ /
ฝ่ายตรงข้ามจะได้ใจ เป็นต้น 11.7
3 ไม่มีความเห็น 6.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมต่อนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความนิยมของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 นิยมเชื่อถือ 63.8
2 ไม่นิยมไม่เชื่อถือ 24.1
3 ไม่มีความเห็น 12.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-