ที่มาของโครงการ
การอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูบุตรถือเป็นหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ที่จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ในชีวิต
ให้บุตรได้เรียนรู้ ทั้งมาตรฐานของสังคม การปฏิบัติตัว รวมทั้งด้านศีลธรรม คือ คุณธรรมและจริยธรรม โดยการ
อบรมเลี้ยงดูบุตรได้มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของยุคสมัยนั้นๆ การศึกษา
ถึงความแตกต่างในการอบรมเลี้ยงบุตรด้านศีลธรรมของคน 3 วัย ทำให้ทราบถึงแนวโน้มและพัฒนาการด้านศีลธรรมใน
การอบรมเลี้ยงดูบุตรว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ทำให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปวางแผน
ป้องกัน และแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เยาวชนรุ่นลูกต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อ
ประเมินตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับความแตกต่างในการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรมของคน 3 วัย ด้วยการสำรวจ
ประสบการณ์ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ที่มีสถานภาพย่า/ยาย แม่ และลูก ต่อการอบรมเลี้ยงดู ด้วยการ
จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธี
วิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสัมพันธภาพทั่วไประหว่างแม่และลูก รวมทั้งกิจกรรมที่แม่และลูกได้กระทำร่วมกันใน
ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจระดับความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูที่แม่มีต่อลูก
3. เพื่อศึกษาความแตกต่างในการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรม
4. เพื่อสำรวจถึงการให้ความสำคัญวันแม่ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “วิจัยความแตกต่าง
ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรมของคน 3 วัย: กรณีศึกษาผู้ที่มีสถานภาพย่า/ยาย แม่ และลูกในกรุงเทพมหา
นคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 1-9 สิงหาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีสถานภาพย่า/ยาย แม่ และลูกในกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของ
ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,540 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.9 มีอายุระหว่าง 25-44 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 31.6 มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และตัวอย่างร้อยละ 26.4 มีอายุระหว่าง 12-24 ปี โดยตัวอย่าง
ร้อยละ 54.4 มีสถานภาพลูก ตัวอย่างร้อยละ 31.8 มีสถานภาพแม่ และตัวอย่างร้อยละ 13.8 มีสถานภาพย่า/ยาย
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 41.4 ประกอบอาชีพค้าขายหรือกิจการส่วนตัว ตัวอย่างร้อยละ 27.5 ประกอบอาชีพอื่นๆ
เช่น นักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัทเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 17.5 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และตัวอย่างร้อย
ละ 13.6 ประกอบอาชีพแม่บ้านหรือเกษียณอายุ
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “วิจัยความแตกต่างในการอบรม
เลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรมของคน 3 วัย: กรณีศึกษาผู้ที่มีสถานภาพย่า/ยาย แม่ และลูกในกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้
ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนที่มีอายุระหว่าง 12-80 ปี ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,540
ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังนี้
ผลการสำรวจพฤติกรรมการพบปะพูดคุยระหว่างแม่กับลูกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้นพบว่าตัวอย่าง ร้อย
ละ 63.6 ระบุว่ามีการพบปะพูดคุยกันทุกวันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 28.3 ระบุว่าพบปะ พูดคุยกัน
บ้างเป็นบางวัน ในขณะที่ร้อยละ 8.1 ระบุว่าไม่ได้พบปะพูดคุยกันเลย นอกจากนี้ผลการสำรวจกิจกรรมที่ตัวอย่างระบุ
ว่าได้ทำร่วมกันบ่อยๆ ได้แก่ การรับประทานอาหารร่วมกัน (ร้อยละ 61.9) รองลงมาได้แก่การ ดูข่าว/ดูละคร
ร่วมกัน (ร้อยละ 58.6) และการพูดคุยเรื่องส่วนตัว (ร้อยละ 50.7) ตามลำดับ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกโดยภาพรวมนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 36.0 ระบุความสัมพันธ์อยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก” ร้อยละ 58.2 ระบุความสัมพันธ์อยู่ในเกณฑ์ “ดี” ใน
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 5.1 เท่านั้นที่ระบุว่าอยู่ในเกณฑ์ “ไม่ค่อยดี” และร้อยละ 0.7 ระบุว่าอยู่ในเกณฑ์ “ไม่ดี”
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อเอแบคโพลล์สอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงความเคร่งครัดของแม่ในการอบรม
เลี้ยงดูด้านต่างๆ ผลสำรวจพบความแตกต่างอย่างชัดเจนในความเคร่งครัดของแม่ที่ห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย อันควร
เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพเป็นย่า/ยายกับผู้ที่มีสถานภาพเป็นแม่และลูกในปัจจุบัน กล่าวคือ กลุ่ม
ตัวอย่างที่เป็น “ย่า/ยาย” ในปัจจุบันส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.0 ระบุว่าแม่ของตนเคร่งครัดมาก ในการห้ามมีเพศ
สัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เป็น “แม่” ร้อยละ 60.3 และ ผู้ที่เป็น “ลูก” ร้อยละ 50.6 ระบุว่าแม่
ของตนเคร่งครัดมากในการห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ไม่พบความแตกต่างในความเคร่งครัดของแม่ที่ห้ามไม่ให้ลูก
เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่เป็นย่า/ยายส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.4 ตัวอย่างที่เป็นแม่ร้อยละ 69.8 และ
ตัวอย่างที่เป็นลูกร้อยละ 67.6 ต่างก็ระบุตรงกันว่าแม่ของตนเคร่งครัดมากในการห้ามไม่ให้ลูกเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติด
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างที่มีสถานภาพเป็น “แม่” ในปัจจุบันส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.7 ระบุว่าแม่
ของตนเคร่งครัดมากให้ซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 65.1 ระบุว่าแม่ของตนเคร่งครัดมากในการห้ามเล่นการพนัน และร้อย
ละ 60.2 ระบุแม่เคร่งครัดมากในการห้ามนอนค้างบ้านเพื่อนต่างเพศ
แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพเป็นลูกในปัจจุบันหรือกล่าวได้ว่าเป็นเยาวชนในขณะ
นี้มีจำนวนไม่ถึงครึ่งหรือต่ำกว่าร้อยละ 50 ที่ระบุว่าแม่ของตนเคร่งครัดมากในเรื่องกิริยามารยาท การใช้วาจา การ
ห้ามดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ ห้ามนอนค้างบ้านเพื่อนต่างเพศ และห้ามใช้ความรุนแรงทำร้ายชีวิตผู้อื่น และประมาณครึ่ง
หนึ่งหรือร้อยละ 50.2 เท่านั้นที่ระบุว่าแม่ของตนเคร่งครัดมากในการห้ามพูดโกหก
เมื่อสอบถามประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ถึงแนวโน้มการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน
ผลสำรวจพบว่า ทุกกลุ่มตัวอย่างเห็นตรงกันว่ามีการยึดหลักศีลธรรมน้อยลง กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่เป็น ย่า/ยายส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 76.6 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นแม่ ร้อยละ 68.9 และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกร้อยละ 66.5 ระบุว่ามีการยึด
หลักศีลธรรมน้อยลงในการอบรมเลี้ยงดูบุตรของคนในสังคมไทย
นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามถึงความไม่เคร่งครัดของคนในสังคมไทยปัจจุบันในการอบรมเลี้ยงดู
บุตร ซึ่งพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 24.2 ระบุว่าไม่เคร่งครัดในเรื่องประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ รวมถึงเรื่องกิริยา
มารยาท การวางตัว การพูดจา และการเคารพผู้อาวุโส รองลงมาคือร้อยละ 16.8 ระบุว่าไม่เคร่งครัดเรื่องการให้
เวลาในการเลี้ยงดูลูก และร้อยละ 16.7 ระบุคนในสังคมไทยปัจจุบันไม่เคร่งครัดในการห้ามลูกของตน แต่งตัวล่อ
แหลมยั่วยุทางเพศ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตที่ ตน
เองได้รับจากแม่ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 28.7 ระบุว่าได้แบบอย่างที่ดีจากแม่ในเรื่องความซื่อสัตย์ ความมีน้ำใจ ให้
อภัย และช่วยเหลือผู้อื่น รองลงมาคือร้อยละ 22.8 ระบุว่าได้แบบอย่างที่ดีในเรื่องการทำงาน/แม่ทำงานเก่ง/ มี
ความขยันและกระตือรือร้นในการทำงาน และร้อยละ 12.3 ระบุว่าเป็นเรื่องของความเป็นคนสู้ชีวิต เข้มแข็ง อด
ทน และไม่ยอมแพ้
ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.7 ระบุว่าตนเองให้ความสำคัญกับวันแม่ (โดยให้เห็นผลว่าเป็นวันพิเศษ
ที่แสดงความรัก บอกรัก และระลึกถึงพระคุณแม่) ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 8.0 ระบุไม่ให้ความสำคัญ (เพราะคิดว่า
ควรต้องทำดีกับแม่ทุกวันไม่ใช่แค่วันแม่วันเดียว/แม่อยู่ต่างจังหวัด/แม่เสียชีวิตแล้ว) และร้อยละ 15.3 ไม่ระบุความคิด
เห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ ได้แก่ สิ่งที่ตั้งใจจะทำเพื่อแม่เนื่อง
ในโอกาสวันแม่ที่จะมาถึงนี้พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.7 ระบุตั้งใจจะให้สิ่งของ เช่น ดอกมะลิ ของขวัญ และการ์ด
อวยพร รองลงมาคือร้อยละ 32.8 ตั้งใจจะไปทำบุญตักบาตร ร้อยละ 32.2 ตั้งใจจะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันในครอบ
ครัว ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ามีช่องว่างระหว่างคน 3 วัยในการอบรมเลี้ยงดูบุตร
ด้าน ศีลธรรม กล่าวคือ คนที่เป็นย่า/ยายและคนที่เป็นแม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่บอกว่าแม่ของตนเองเคร่งครัดมากใน
เกือบทุกเรื่องของการอบรมเลี้ยงดู เช่น การวางตัวให้เหมาะสมกับผู้ใหญ่ การแสดงกิริยามารยาท การรักนวลสงวน
ตัว ความซื่อสัตย์สุจริต การไม่พูดโกหก เป็นต้น แต่ผลวิจัยพบว่า คนที่เป็นลูกหรือเยาวชนในปัจจุบันประมาณร้อยละ
50 ขึ้นไปบอกว่าแม่ของตนเองไม่ได้เคร่งครัดมากในบางเรื่อง เช่น ไม่เคร่งครัดมากเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอัน
ควร การพูดโกหก/พูดเท็จ การนอนค้างบ้านเพื่อนต่างเพศ การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ การใช้ความรุนแรง
ทำร้ายชีวิตผู้อื่น และการวางตัวที่ไม่เหมาะสมกับผู้ใหญ่ เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือ การเป็นสังคมน่า
อยู่หรือสังคมเห่งการเอื้ออาทรกันของคนไทยอาจกำลังถูกลดทอนลงไปจาก แนวทางการอบรมเลี้ยงดูของผู้เป็น
แม่ในปัจจุบันนี้ที่ไม่เคร่งครัดในการใช้หลีกศีลธรรมเพื่ออบรมสั่งสอนเลี้ยง ดูบุตร
“อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวัง คือ ความเคร่งครัดที่มากเกินไปอาจสร้างความกดดันให้กับลูกรู้สึกว่าถูก
ก้าวก่ายชีวิตส่วนตัวและส่งผลทางจิตวิทยาให้เยาวชนมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เก็บกด และทำร้ายตัวเอง แต่การให้อิสระ
มากเกินไปก็จะทำให้ผู้เป็นลูกหรือเยาวชนสามารถไปนัดพบกับใครก็ได้ กลับบ้านดึกแค่ไหนก็ไม่ว่าอะไร แต่งตัวยั่วยุทาง
เพศอย่างไรก็ได้ ผลที่ตามมาก็คือเยาวชนที่ได้อิสระมากไปอาจใช้เสรีภาพไปในทางที่เสี่ยงต่อความประพฤติไม่ดีไม่
เหมาะสม ขาดความรับผิดชอบต่อผู้อื่นและสังคม ดังนั้น ผู้เป็นแม่ควรค้นหาแนวทางสายกลางที่พอเหมาะพอควรเปิด
โอกาสให้ลูกๆ มีช่องทางเล่าเรื่องราวกิจกรรมที่พวกเขาทำโดยไม่ทำให้พวกเขาอึดอัด ผสมผสานกับการใช้หลัก
ศีลธรรมและการให้ความรักความอบอุ่นที่เพียงพอต่อการอบรมเลี้ยงดูและใช้ชีวิตอยู่ ร่วมกันในครอบครัว ซึ่งน่าจะเป็น
แนวทางช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีบุตรหลานประพฤติตนไม่เหมาะสมเบี่ยงเบนไปจากกฎเกณฑ์ที่ดีงามของสังคมโดยส่วน
รวมได้” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเจอ/พูดคุยระหว่างแม่และลูก
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ประเด็น ทุกวัน บางวัน ไม่ได้พบเลย รวม
พบเจอ / พูดคุย 63.6 28.3 8.1 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างแม่และลูกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
กิจกรรม บ่อยๆ ไม่บ่อย ไม่เคยทำเลย รวม
1. รับประทานอาหารร่วมกัน 61.9 20.5 17.6 100.0
2. ดูข่าว ดูละคร 58.6 18.7 22.7 100.0
3. พูดคุยเรื่องส่วนตัว 50.7 31.7 17.6 100.0
4. ช็อปปิ้ง 21.3 41.9 36.8 100.0
5. ท่องเที่ยว 15.9 48.9 35.2 100.0
6. ชมภาพยนตร์ 14.1 26.6 59.3 100.0
7. เล่นกีฬา / ออกกำลังกาย 9.7 27.6 62.7 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก
ลำดับที่ เกณฑ์ความสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 ดีมาก 36.0
2 ดี 58.2
3 ไม่ค่อยดี 5.1
4 ไม่ดีเลย 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูของแม่จำแนกตามสถานภาพ
การอบรมเลี้ยงดูของแม่ในด้านต่างๆ เคร่งครัดมาก(ค่าร้อยละ)
ย่า/ยาย แม่ ลูก
1. คำพูดคำจาที่ใช้ / กิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย 37.4 32.6 21.0
2. สูบบุหรี่ 49.8 59.0 50.2
3. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่นเหล้า ไวน์ เบียร์ 52.6 57.7 45.1
4. ยาเสพติด 58.4 69.8 67.6
5. การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 69.0 60.3 50.6
6. เล่นการพนัน 56.4 65.1 54.6
7. การนอนค้างบ้านเพื่อนต่างเพศ 65.2 60.2 44.2
8. ความซื่อสัตย์สุจริต 58.3 66.7 56.7
9. การใช้ความรุนแรงทำร้ายชีวิตผู้อื่น 54.5 55.7 47.9
10. พูดโกหก/พูดเท็จ 55.5 58.6 50.2
11. การลักขโมยสิ่งของของผู้อื่น 60.2 70.7 68.6
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวโน้มการอบรมเลี้ยงดูด้านศีลธรรม
ของสังคมไทยในปัจจุบัน จำแนกตามสถานภาพ
แนวโน้มการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรม ย่า/ยาย แม่ ลูก
ยึดหลักศีลธรรมมากขึ้น 23.4 31.1 33.5
ยึดหลักศีลธรรมน้อยลง 76.6 68.9 66.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุถึงสิ่งที่ไม่เคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูของแม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ไม่เคร่งครัด ค่าร้อยละ
1 เรื่องประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ เช่น กิริยามารยาท/
การวางตัว/การพูดจาและการเคารพผู้อาวุโส 24.2
2 การให้เวลาในการเลี้ยงดูลูก 16.8
3 การแต่งกายล่อแหลม ยั่วยุทางเพศ 16.7
4 การเที่ยวเตร่นอกบ้าน 14.6
5 ศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรม 13.8
6 การคบเพื่อน 13.3
7 การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 10.7
8 การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด 9.9
9 การตามใจลูกมากเกินไป /เลี้ยงลูกแบบตามใจ 9.2
10 อื่นๆอาทิ การเลี้ยงลูกด้วยวัตถุ/ความฟุ่มเฟือย/การศึกษา
เล่าเรียนความมีระเบียบวินัย/ความอดทน เป็นต้น 13.5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแบบอย่างที่ดีของแม่ในการดำเนินชีวิต
ลำดับที่ แบบอย่างที่ดีของแม่ ค่าร้อยละ
1 ความดีของแม่ อาทิ ความซื่อสัตย์ /มีน้ำใจ /ให้อภัย/ ช่วยเหลือผู้อื่น 28.7
2 ทำงานเก่ง / ขยัน / กระตือรือร้น 22.8
3 สู้ชีวิต เข้มแข็ง อดทน ไม่ยอมแพ้ 12.3
4 ความรักต่อครอบครัว/รักลูก/การให้ความอบอุ่นกับครอบครัว 6.5
5 การอบรมเลี้ยงดูลูก/การให้ความรู้/การเอาใจใส่ 6.0
6 มีศีลธรรม/คุณธรรม 5.3
7 อื่นๆ อาทิ การพูดจาไพเราะ/ไม่โกหก/สุภาพอ่อนโยน/ใจเย็น/
อารมณ์ดี/ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข/มีความกตัญญู เป็นต้น 18.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความสำคัญวันแม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญ 76.7
2 ไม่ให้ความสำคัญ 8.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ผู้ที่ระบุว่าให้ความสำคัญวันแม่ ให้เหตุผลว่า
1. แม่คือผู้ให้กำเนิด มีบุญคุณ และเสียสละเพื่อลูก
2. เป็นวันพิเศษที่แสดงความรัก บอกรัก และระลึกถึงพระคุณแม่
3. รักแม่
ผู้ที่ระบุว่า ไม่ ให้ความสำคัญวันแม่ ให้เหตุผลว่า
1. ต้องทำดีกับแม่ทุกวัน ไม่ใช่แค่วันแม่วันเดียว
2. ไม่ได้อยู่กับแม่ เนื่องจากอยู่ต่างจังหวัดหรือเสียชีวิตแล้ว
3. ไม่มีเวลาให้ เพราะต้องทำงาน หรือไม่ได้หยุดวันแม่
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่สิ่งที่ตั้งใจจะทำเพื่อแม่ เนื่องในโอกาสวันแม่ที่จะถึงนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรม ค่าร้อยละ
1 ให้สิ่งของ เช่น ดอกมะลิ ของขวัญ การ์ด 38.7
2 ทำบุญ ตักบาตร 32.8
3 อยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน 32.2
4 ทำบุญอุทิศส่วนกุศล 19.4
5 ให้เงิน 19.0
6 ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ ทำกับข้าว 18.2
7 ไปทานข้าวนอกบ้าน 13.8
8 ไปพักผ่อนตามสถานที่ต่างๆ 8.7
9 ช็อปปิ้ง / ชมภาพยนตร์ 4.5
10 เล่นกีฬา 1.8
11 อื่นๆ อาทิ กราบไหว้ /พาไปตรวจสุขภาพ/ โทรศัพท์พูดคุย/ ตั้งใจเรียน 11.2
12 ไม่ทำเลย เพราะ อาย /ไม่มีเวลา /ไม่ได้อยู่ด้วยกัน /เสียชีวิตแล้ว 5.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูบุตรถือเป็นหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ที่จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ในชีวิต
ให้บุตรได้เรียนรู้ ทั้งมาตรฐานของสังคม การปฏิบัติตัว รวมทั้งด้านศีลธรรม คือ คุณธรรมและจริยธรรม โดยการ
อบรมเลี้ยงดูบุตรได้มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของยุคสมัยนั้นๆ การศึกษา
ถึงความแตกต่างในการอบรมเลี้ยงบุตรด้านศีลธรรมของคน 3 วัย ทำให้ทราบถึงแนวโน้มและพัฒนาการด้านศีลธรรมใน
การอบรมเลี้ยงดูบุตรว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ทำให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปวางแผน
ป้องกัน และแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เยาวชนรุ่นลูกต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อ
ประเมินตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับความแตกต่างในการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรมของคน 3 วัย ด้วยการสำรวจ
ประสบการณ์ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ที่มีสถานภาพย่า/ยาย แม่ และลูก ต่อการอบรมเลี้ยงดู ด้วยการ
จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธี
วิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสัมพันธภาพทั่วไประหว่างแม่และลูก รวมทั้งกิจกรรมที่แม่และลูกได้กระทำร่วมกันใน
ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจระดับความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูที่แม่มีต่อลูก
3. เพื่อศึกษาความแตกต่างในการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรม
4. เพื่อสำรวจถึงการให้ความสำคัญวันแม่ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “วิจัยความแตกต่าง
ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรมของคน 3 วัย: กรณีศึกษาผู้ที่มีสถานภาพย่า/ยาย แม่ และลูกในกรุงเทพมหา
นคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 1-9 สิงหาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีสถานภาพย่า/ยาย แม่ และลูกในกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของ
ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,540 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 41.9 มีอายุระหว่าง 25-44 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 31.6 มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และตัวอย่างร้อยละ 26.4 มีอายุระหว่าง 12-24 ปี โดยตัวอย่าง
ร้อยละ 54.4 มีสถานภาพลูก ตัวอย่างร้อยละ 31.8 มีสถานภาพแม่ และตัวอย่างร้อยละ 13.8 มีสถานภาพย่า/ยาย
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 41.4 ประกอบอาชีพค้าขายหรือกิจการส่วนตัว ตัวอย่างร้อยละ 27.5 ประกอบอาชีพอื่นๆ
เช่น นักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัทเอกชน ตัวอย่างร้อยละ 17.5 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และตัวอย่างร้อย
ละ 13.6 ประกอบอาชีพแม่บ้านหรือเกษียณอายุ
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “วิจัยความแตกต่างในการอบรม
เลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรมของคน 3 วัย: กรณีศึกษาผู้ที่มีสถานภาพย่า/ยาย แม่ และลูกในกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ได้
ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนที่มีอายุระหว่าง 12-80 ปี ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,540
ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังนี้
ผลการสำรวจพฤติกรรมการพบปะพูดคุยระหว่างแม่กับลูกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้นพบว่าตัวอย่าง ร้อย
ละ 63.6 ระบุว่ามีการพบปะพูดคุยกันทุกวันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 28.3 ระบุว่าพบปะ พูดคุยกัน
บ้างเป็นบางวัน ในขณะที่ร้อยละ 8.1 ระบุว่าไม่ได้พบปะพูดคุยกันเลย นอกจากนี้ผลการสำรวจกิจกรรมที่ตัวอย่างระบุ
ว่าได้ทำร่วมกันบ่อยๆ ได้แก่ การรับประทานอาหารร่วมกัน (ร้อยละ 61.9) รองลงมาได้แก่การ ดูข่าว/ดูละคร
ร่วมกัน (ร้อยละ 58.6) และการพูดคุยเรื่องส่วนตัว (ร้อยละ 50.7) ตามลำดับ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกโดยภาพรวมนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 36.0 ระบุความสัมพันธ์อยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก” ร้อยละ 58.2 ระบุความสัมพันธ์อยู่ในเกณฑ์ “ดี” ใน
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 5.1 เท่านั้นที่ระบุว่าอยู่ในเกณฑ์ “ไม่ค่อยดี” และร้อยละ 0.7 ระบุว่าอยู่ในเกณฑ์ “ไม่ดี”
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ เมื่อเอแบคโพลล์สอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงความเคร่งครัดของแม่ในการอบรม
เลี้ยงดูด้านต่างๆ ผลสำรวจพบความแตกต่างอย่างชัดเจนในความเคร่งครัดของแม่ที่ห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย อันควร
เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพเป็นย่า/ยายกับผู้ที่มีสถานภาพเป็นแม่และลูกในปัจจุบัน กล่าวคือ กลุ่ม
ตัวอย่างที่เป็น “ย่า/ยาย” ในปัจจุบันส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.0 ระบุว่าแม่ของตนเคร่งครัดมาก ในการห้ามมีเพศ
สัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เป็น “แม่” ร้อยละ 60.3 และ ผู้ที่เป็น “ลูก” ร้อยละ 50.6 ระบุว่าแม่
ของตนเคร่งครัดมากในการห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ไม่พบความแตกต่างในความเคร่งครัดของแม่ที่ห้ามไม่ให้ลูก
เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่เป็นย่า/ยายส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.4 ตัวอย่างที่เป็นแม่ร้อยละ 69.8 และ
ตัวอย่างที่เป็นลูกร้อยละ 67.6 ต่างก็ระบุตรงกันว่าแม่ของตนเคร่งครัดมากในการห้ามไม่ให้ลูกเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติด
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างที่มีสถานภาพเป็น “แม่” ในปัจจุบันส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.7 ระบุว่าแม่
ของตนเคร่งครัดมากให้ซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 65.1 ระบุว่าแม่ของตนเคร่งครัดมากในการห้ามเล่นการพนัน และร้อย
ละ 60.2 ระบุแม่เคร่งครัดมากในการห้ามนอนค้างบ้านเพื่อนต่างเพศ
แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มตัวอย่างที่มีสถานภาพเป็นลูกในปัจจุบันหรือกล่าวได้ว่าเป็นเยาวชนในขณะ
นี้มีจำนวนไม่ถึงครึ่งหรือต่ำกว่าร้อยละ 50 ที่ระบุว่าแม่ของตนเคร่งครัดมากในเรื่องกิริยามารยาท การใช้วาจา การ
ห้ามดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ ห้ามนอนค้างบ้านเพื่อนต่างเพศ และห้ามใช้ความรุนแรงทำร้ายชีวิตผู้อื่น และประมาณครึ่ง
หนึ่งหรือร้อยละ 50.2 เท่านั้นที่ระบุว่าแม่ของตนเคร่งครัดมากในการห้ามพูดโกหก
เมื่อสอบถามประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ถึงแนวโน้มการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน
ผลสำรวจพบว่า ทุกกลุ่มตัวอย่างเห็นตรงกันว่ามีการยึดหลักศีลธรรมน้อยลง กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างที่เป็น ย่า/ยายส่วน
ใหญ่หรือร้อยละ 76.6 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นแม่ ร้อยละ 68.9 และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกร้อยละ 66.5 ระบุว่ามีการยึด
หลักศีลธรรมน้อยลงในการอบรมเลี้ยงดูบุตรของคนในสังคมไทย
นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ยังได้สอบถามถึงความไม่เคร่งครัดของคนในสังคมไทยปัจจุบันในการอบรมเลี้ยงดู
บุตร ซึ่งพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 24.2 ระบุว่าไม่เคร่งครัดในเรื่องประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ รวมถึงเรื่องกิริยา
มารยาท การวางตัว การพูดจา และการเคารพผู้อาวุโส รองลงมาคือร้อยละ 16.8 ระบุว่าไม่เคร่งครัดเรื่องการให้
เวลาในการเลี้ยงดูลูก และร้อยละ 16.7 ระบุคนในสังคมไทยปัจจุบันไม่เคร่งครัดในการห้ามลูกของตน แต่งตัวล่อ
แหลมยั่วยุทางเพศ
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตที่ ตน
เองได้รับจากแม่ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 28.7 ระบุว่าได้แบบอย่างที่ดีจากแม่ในเรื่องความซื่อสัตย์ ความมีน้ำใจ ให้
อภัย และช่วยเหลือผู้อื่น รองลงมาคือร้อยละ 22.8 ระบุว่าได้แบบอย่างที่ดีในเรื่องการทำงาน/แม่ทำงานเก่ง/ มี
ความขยันและกระตือรือร้นในการทำงาน และร้อยละ 12.3 ระบุว่าเป็นเรื่องของความเป็นคนสู้ชีวิต เข้มแข็ง อด
ทน และไม่ยอมแพ้
ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.7 ระบุว่าตนเองให้ความสำคัญกับวันแม่ (โดยให้เห็นผลว่าเป็นวันพิเศษ
ที่แสดงความรัก บอกรัก และระลึกถึงพระคุณแม่) ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 8.0 ระบุไม่ให้ความสำคัญ (เพราะคิดว่า
ควรต้องทำดีกับแม่ทุกวันไม่ใช่แค่วันแม่วันเดียว/แม่อยู่ต่างจังหวัด/แม่เสียชีวิตแล้ว) และร้อยละ 15.3 ไม่ระบุความคิด
เห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ ได้แก่ สิ่งที่ตั้งใจจะทำเพื่อแม่เนื่อง
ในโอกาสวันแม่ที่จะมาถึงนี้พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.7 ระบุตั้งใจจะให้สิ่งของ เช่น ดอกมะลิ ของขวัญ และการ์ด
อวยพร รองลงมาคือร้อยละ 32.8 ตั้งใจจะไปทำบุญตักบาตร ร้อยละ 32.2 ตั้งใจจะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันในครอบ
ครัว ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ามีช่องว่างระหว่างคน 3 วัยในการอบรมเลี้ยงดูบุตร
ด้าน ศีลธรรม กล่าวคือ คนที่เป็นย่า/ยายและคนที่เป็นแม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่บอกว่าแม่ของตนเองเคร่งครัดมากใน
เกือบทุกเรื่องของการอบรมเลี้ยงดู เช่น การวางตัวให้เหมาะสมกับผู้ใหญ่ การแสดงกิริยามารยาท การรักนวลสงวน
ตัว ความซื่อสัตย์สุจริต การไม่พูดโกหก เป็นต้น แต่ผลวิจัยพบว่า คนที่เป็นลูกหรือเยาวชนในปัจจุบันประมาณร้อยละ
50 ขึ้นไปบอกว่าแม่ของตนเองไม่ได้เคร่งครัดมากในบางเรื่อง เช่น ไม่เคร่งครัดมากเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอัน
ควร การพูดโกหก/พูดเท็จ การนอนค้างบ้านเพื่อนต่างเพศ การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ การใช้ความรุนแรง
ทำร้ายชีวิตผู้อื่น และการวางตัวที่ไม่เหมาะสมกับผู้ใหญ่ เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือ การเป็นสังคมน่า
อยู่หรือสังคมเห่งการเอื้ออาทรกันของคนไทยอาจกำลังถูกลดทอนลงไปจาก แนวทางการอบรมเลี้ยงดูของผู้เป็น
แม่ในปัจจุบันนี้ที่ไม่เคร่งครัดในการใช้หลีกศีลธรรมเพื่ออบรมสั่งสอนเลี้ยง ดูบุตร
“อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวัง คือ ความเคร่งครัดที่มากเกินไปอาจสร้างความกดดันให้กับลูกรู้สึกว่าถูก
ก้าวก่ายชีวิตส่วนตัวและส่งผลทางจิตวิทยาให้เยาวชนมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เก็บกด และทำร้ายตัวเอง แต่การให้อิสระ
มากเกินไปก็จะทำให้ผู้เป็นลูกหรือเยาวชนสามารถไปนัดพบกับใครก็ได้ กลับบ้านดึกแค่ไหนก็ไม่ว่าอะไร แต่งตัวยั่วยุทาง
เพศอย่างไรก็ได้ ผลที่ตามมาก็คือเยาวชนที่ได้อิสระมากไปอาจใช้เสรีภาพไปในทางที่เสี่ยงต่อความประพฤติไม่ดีไม่
เหมาะสม ขาดความรับผิดชอบต่อผู้อื่นและสังคม ดังนั้น ผู้เป็นแม่ควรค้นหาแนวทางสายกลางที่พอเหมาะพอควรเปิด
โอกาสให้ลูกๆ มีช่องทางเล่าเรื่องราวกิจกรรมที่พวกเขาทำโดยไม่ทำให้พวกเขาอึดอัด ผสมผสานกับการใช้หลัก
ศีลธรรมและการให้ความรักความอบอุ่นที่เพียงพอต่อการอบรมเลี้ยงดูและใช้ชีวิตอยู่ ร่วมกันในครอบครัว ซึ่งน่าจะเป็น
แนวทางช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีบุตรหลานประพฤติตนไม่เหมาะสมเบี่ยงเบนไปจากกฎเกณฑ์ที่ดีงามของสังคมโดยส่วน
รวมได้” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการพบเจอ/พูดคุยระหว่างแม่และลูก
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ประเด็น ทุกวัน บางวัน ไม่ได้พบเลย รวม
พบเจอ / พูดคุย 63.6 28.3 8.1 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างแม่และลูกในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
กิจกรรม บ่อยๆ ไม่บ่อย ไม่เคยทำเลย รวม
1. รับประทานอาหารร่วมกัน 61.9 20.5 17.6 100.0
2. ดูข่าว ดูละคร 58.6 18.7 22.7 100.0
3. พูดคุยเรื่องส่วนตัว 50.7 31.7 17.6 100.0
4. ช็อปปิ้ง 21.3 41.9 36.8 100.0
5. ท่องเที่ยว 15.9 48.9 35.2 100.0
6. ชมภาพยนตร์ 14.1 26.6 59.3 100.0
7. เล่นกีฬา / ออกกำลังกาย 9.7 27.6 62.7 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก
ลำดับที่ เกณฑ์ความสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 ดีมาก 36.0
2 ดี 58.2
3 ไม่ค่อยดี 5.1
4 ไม่ดีเลย 0.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูของแม่จำแนกตามสถานภาพ
การอบรมเลี้ยงดูของแม่ในด้านต่างๆ เคร่งครัดมาก(ค่าร้อยละ)
ย่า/ยาย แม่ ลูก
1. คำพูดคำจาที่ใช้ / กิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย 37.4 32.6 21.0
2. สูบบุหรี่ 49.8 59.0 50.2
3. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่นเหล้า ไวน์ เบียร์ 52.6 57.7 45.1
4. ยาเสพติด 58.4 69.8 67.6
5. การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 69.0 60.3 50.6
6. เล่นการพนัน 56.4 65.1 54.6
7. การนอนค้างบ้านเพื่อนต่างเพศ 65.2 60.2 44.2
8. ความซื่อสัตย์สุจริต 58.3 66.7 56.7
9. การใช้ความรุนแรงทำร้ายชีวิตผู้อื่น 54.5 55.7 47.9
10. พูดโกหก/พูดเท็จ 55.5 58.6 50.2
11. การลักขโมยสิ่งของของผู้อื่น 60.2 70.7 68.6
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวโน้มการอบรมเลี้ยงดูด้านศีลธรรม
ของสังคมไทยในปัจจุบัน จำแนกตามสถานภาพ
แนวโน้มการอบรมเลี้ยงดูบุตรด้านศีลธรรม ย่า/ยาย แม่ ลูก
ยึดหลักศีลธรรมมากขึ้น 23.4 31.1 33.5
ยึดหลักศีลธรรมน้อยลง 76.6 68.9 66.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุถึงสิ่งที่ไม่เคร่งครัดในการอบรมเลี้ยงดูของแม่
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ไม่เคร่งครัด ค่าร้อยละ
1 เรื่องประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ เช่น กิริยามารยาท/
การวางตัว/การพูดจาและการเคารพผู้อาวุโส 24.2
2 การให้เวลาในการเลี้ยงดูลูก 16.8
3 การแต่งกายล่อแหลม ยั่วยุทางเพศ 16.7
4 การเที่ยวเตร่นอกบ้าน 14.6
5 ศีลธรรม จริยธรรม และคุณธรรม 13.8
6 การคบเพื่อน 13.3
7 การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร 10.7
8 การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด 9.9
9 การตามใจลูกมากเกินไป /เลี้ยงลูกแบบตามใจ 9.2
10 อื่นๆอาทิ การเลี้ยงลูกด้วยวัตถุ/ความฟุ่มเฟือย/การศึกษา
เล่าเรียนความมีระเบียบวินัย/ความอดทน เป็นต้น 13.5
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแบบอย่างที่ดีของแม่ในการดำเนินชีวิต
ลำดับที่ แบบอย่างที่ดีของแม่ ค่าร้อยละ
1 ความดีของแม่ อาทิ ความซื่อสัตย์ /มีน้ำใจ /ให้อภัย/ ช่วยเหลือผู้อื่น 28.7
2 ทำงานเก่ง / ขยัน / กระตือรือร้น 22.8
3 สู้ชีวิต เข้มแข็ง อดทน ไม่ยอมแพ้ 12.3
4 ความรักต่อครอบครัว/รักลูก/การให้ความอบอุ่นกับครอบครัว 6.5
5 การอบรมเลี้ยงดูลูก/การให้ความรู้/การเอาใจใส่ 6.0
6 มีศีลธรรม/คุณธรรม 5.3
7 อื่นๆ อาทิ การพูดจาไพเราะ/ไม่โกหก/สุภาพอ่อนโยน/ใจเย็น/
อารมณ์ดี/ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข/มีความกตัญญู เป็นต้น 18.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความสำคัญวันแม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญ 76.7
2 ไม่ให้ความสำคัญ 8.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 15.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ผู้ที่ระบุว่าให้ความสำคัญวันแม่ ให้เหตุผลว่า
1. แม่คือผู้ให้กำเนิด มีบุญคุณ และเสียสละเพื่อลูก
2. เป็นวันพิเศษที่แสดงความรัก บอกรัก และระลึกถึงพระคุณแม่
3. รักแม่
ผู้ที่ระบุว่า ไม่ ให้ความสำคัญวันแม่ ให้เหตุผลว่า
1. ต้องทำดีกับแม่ทุกวัน ไม่ใช่แค่วันแม่วันเดียว
2. ไม่ได้อยู่กับแม่ เนื่องจากอยู่ต่างจังหวัดหรือเสียชีวิตแล้ว
3. ไม่มีเวลาให้ เพราะต้องทำงาน หรือไม่ได้หยุดวันแม่
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่สิ่งที่ตั้งใจจะทำเพื่อแม่ เนื่องในโอกาสวันแม่ที่จะถึงนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กิจกรรม ค่าร้อยละ
1 ให้สิ่งของ เช่น ดอกมะลิ ของขวัญ การ์ด 38.7
2 ทำบุญ ตักบาตร 32.8
3 อยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตากัน 32.2
4 ทำบุญอุทิศส่วนกุศล 19.4
5 ให้เงิน 19.0
6 ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เช่น ปลูกต้นไม้ ทำกับข้าว 18.2
7 ไปทานข้าวนอกบ้าน 13.8
8 ไปพักผ่อนตามสถานที่ต่างๆ 8.7
9 ช็อปปิ้ง / ชมภาพยนตร์ 4.5
10 เล่นกีฬา 1.8
11 อื่นๆ อาทิ กราบไหว้ /พาไปตรวจสุขภาพ/ โทรศัพท์พูดคุย/ ตั้งใจเรียน 11.2
12 ไม่ทำเลย เพราะ อาย /ไม่มีเวลา /ไม่ได้อยู่ด้วยกัน /เสียชีวิตแล้ว 5.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-