ที่มาของโครงการ
ปัจจุบัน มีเหตุการณ์ภัยอันตรายที่เกิดขึ้นกับรถแท็กซี่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร ล้วนแต่สร้างความหวาดกลัวและวิตกกังวลด้วยกันทั้ง
สองฝ่าย ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบปัญหาและข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและผู้ขับขี่รถแท็กซี่ต่อความปลอดภัยในการใช้บริการรถแท็กซี่
และรถร่วมบริการ ขสมก. รวมทั้ง ความปลอดภัยของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ตามระเบียบวิธีวิจัย
ทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความปลอดภัยในการใช้บริการรถแท็กซี่ และรถร่วมบริการ ขสมก.
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ต่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่รถแท็กซี่
3. เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะจากประชาชนต่อการแก้ปัญหาในกรณีปัญหาเหล่านี้ในครั้งต่อไป
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อความปลอดภัย
ในการใช้บริการรถแท็กซี่ และรถร่วมบริการ ขสมก.” และ “ความคิดเห็นของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ต่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่รถแท็กซี่” : กรณีศึกษาตัวอย่าง
ประชาชนและผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 21 — 22 พฤศจิกายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัย คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปและผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการแบ่งเขตพื้นที่ของจังหวัดกรุงเทพมหานคร
และเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,899 ตัวอย่าง โดยจำแนกเป็นประชาชนทั่วไป 1,396 ตัวอย่าง และผู้ขับขี่รถแท็กซี่ 503 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ + / - ร้อยละ 7
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าเพศ ตัวอย่างร้อยละ 53.8 ระบุเป็นหญิง ร้อย
ละ 46.2 ระบุเป็นชาย
อายุ ตัวอย่างร้อยละ 10.9 ระบุอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 22.3 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 21.6 ระบุอายุระหว่าง 30-39
ปี ร้อยละ 20.9 ระบุอายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 24.3 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
สถานภาพ ตัวอย่างร้อยละ 57.8 ระบุสถานภาพสมรส ร้อยละ 37.9 ระบุสถานภาพโสด และร้อยละ 4.3 ระบุสถานภาพม่าย /
หย่า / แยกกันอยู่
ระดับการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 82.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 16.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
อาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 33.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 16.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 15.3 ระบุอาชีพ
ลูกจ้าง / พนักงานบริษัท ร้อยละ 11.8 ระบุเป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 10.3 ระบุเป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / เกษียณอายุ ร้อยละ 7.8 ระบุ
อาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.2 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ และร้อยละ 1.1 ระบุอาชีพเกษตรกร
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า เพศ ตัวอย่างร้อยละ 99.0 ระบุเป็นชาย ร้อย
ละ 1.0 ระบุเป็นหญิง
อายุ ตัวอย่างร้อยละ 9.0 ระบุอายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 30.5 ระบุอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 33.5 ระบุอายุระหว่าง
40-49 ปี และร้อยละ 27.0 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
สถานภาพ ตัวอย่างร้อยละ 80.8 ระบุสถานภาพสมรส ร้อยละ 13.8 ระบุสถานภาพโสด และร้อยละ 5.4 ระบุสถานภาพม่าย /
หย่า / แยกกันอยู่
ระดับการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 95.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และร้อยละ 4.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อความปลอดภัยใน
การใช้บริการรถแท็กซี่ และรถร่วมบริการ ขสมก.” และ “ความคิดเห็นของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ต่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่รถแท็กซี่” : กรณีศึกษาตัวอย่าง
ประชาชนและผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 21 — 22 พฤศจิกายน 2548 จำนวนทั้งสิ้น 1,899
ตัวอย่าง ซึ่งมีสาระสำคัญที่ค้นพบ ดังนี้
ความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้บริการหรือโดยสารรถแท็กซี่
ประชาชนคนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.0 เคยใช้บริการหรือโดยสารรถแท็กซี่ ในขณะที่ร้อยละ 7.0 ไม่เคยใช้บริการ
โดยตัวอย่างที่เคยใช้บริการรถแท็กซี่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.2 ระบุใช้บริการเฉพาะคราวจำเป็น รองลงมา คือ ร้อยละ 10.3 ระบุใช้
บริการ 2 — 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 6.2 ระบุใช้บริการ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 5.5 ระบุใช้บริการ 4 — 5 ครั้งต่อสัปดาห์ และร้อยละ 3.8
ระบุใช้บริการทุกวัน
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับอาชญากรรม / อุบัติเหตุ / ความไม่ปลอดภัยที่เกิดกับผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ ตัวอย่าง
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.2 ระบุเคยรับทราบข่าวสาร ในขณะที่ร้อยละ 6.4 ระบุไม่เคย และร้อยละ 2.4 ระบุไม่แน่ใจ
อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างร้อยละ 47.0 ระบุไม่มั่นใจในความปลอดภัยในการใช้บริการหรือโดยสารรถแท็กซี่ ในขณะ
ที่ร้อยละ 22.5 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 30.5 ระบุไม่แน่ใจ
ประเด็นสำคัญอีกประเด็น คือ เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงปัญหาที่เคยรับทราบหรือเคยประสบกับตนเองในการใช้บริการหรือโดยสารรถแท็กซี่
ปรากฏว่า ตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุจี้ / ปล้น / ชิงทรัพย์ผู้โดยสาร ร้อยละ 22.2 ระบุลวงไปข่มขืน ร้อยละ 16.5 ระบุวิ่งอ้อมเส้นทางปกติ / ขับ
นอกเส้นทาง ร้อยละ 15.7 ระบุขับรถเร็ว / ประมาท / ใจร้อน / ใช้อารมณ์ และร้อยละ 12.6 ระบุพูดไม่สุภาพ / พูดจาไม่ดี
ส่วนประเด็นสำคัญประเด็นสุดท้าย คือ เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงข้อเสนอแนะเพื่อสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยและความมั่นใจแก่ประชาชนผู้
ใช้บริการหรือโดยสารรถแท็กซี่ ปรากฏว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.5 ระบุให้จัดอบรมจริยธรรม / มารยาทให้แก่คนขับ ร้อยละ 23.5 ระบุให้จัดสอบคัด
เลือกคุณสมบัติของคนที่จะมาขับแท็กซี่ ร้อยละ 18.1 ระบุให้ขึ้นทะเบียนคนขับรถแท็กซี่ ร้อยละ 16.5 ระบุให้มีการติดป้ายชื่อและข้อมูลของคนขับไว้ใน
รถ และร้อยละ 5.4 ระบุให้มีลูกกรงกั้นระหว่างคนขับกับผู้โดยสาร
ความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้บริการหรือโดยสารรถร่วมบริการ ขสมก.
ประชาชนคนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.9 เคยใช้บริการหรือโดยสารรถร่วมบริการ ขสมก. ในขณะที่ร้อยละ 6.1 ไม่เคย
ใช้บริการ
โดยตัวอย่างที่เคยใช้บริการรถร่วมบริการ ขสมก. ร้อยละ 42.7 ระบุใช้บริการเฉพาะคราวจำเป็น รองลงมา คือ ร้อยละ 21.4 ระบุ
ใช้บริการทุกวัน ร้อยละ 15.2 ระบุใช้บริการ 2 — 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 14.5 ระบุใช้บริการ 4 — 5 ครั้งต่อสัปดาห์ และร้อยละ 6.2 ระบุใช้
บริการ 1 ครั้งต่อสัปดาห์
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับอาชญากรรม / อุบัติเหตุ / ความไม่ปลอดภัยที่เกิดกับผู้ใช้บริการรถร่วมบริการ ขสม
ก. ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.2 ระบุเคยรับทราบข่าวสาร ในขณะที่ร้อยละ 8.4 ระบุไม่เคย และร้อยละ 4.2 ระบุไม่แน่ใจ
อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 ระบุไม่มั่นใจในความปลอดภัยในการใช้บริการหรือโดยสารรถ
ร่วมบริการ ขสมก. ในขณะที่ร้อยละ 21.9 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 20.9 ระบุไม่แน่ใจ
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงปัญหาที่เคยรับทราบหรือเคยประสบกับตนเองในการใช้บริการหรือโดยสารรถร่วมบริการ ขสมก. ปรากฏว่า
ตัวอย่างร้อยละ 47.5 ระบุขับรถเร็ว / ขับรถอันตราย ร้อยละ 27.7 ระบุพูดจาไม่สุภาพ / มารยาทไม่ดี ร้อยละ 15.2 ระบุผู้โดยสารยังขึ้น — ลง
ไม่เรียบร้อยก็ออกรถ / ผู้โดยสารตกรถ ร้อยละ 13.0 ระบุรถชน / รถเกิดอุบัติเหตุ / ชนคนตาย และร้อยละ 6.1 ระบุไม่จอดป้าย
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงข้อเสนอแนะเพื่อสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยและความมั่นใจแก่ประชาชนผู้ใช้บริการหรือโดยสารรถร่วมบริการ
ขสมก. ปรากฏว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.4 ระบุให้จัดอบรมจริยธรรม / มารยาทให้แก่คนขับและคนเก็บค่าโดยสาร ร้อยละ 21.7 ระบุให้ตรวจสภาพรถ
ให้พร้อมที่จะออกให้บริการ ร้อยละ 16.4 ระบุให้เพิ่มบทลงโทษให้หนักขึ้น ร้อยละ 14.0 ระบุให้จำกัดความเร็วในการขับรถ และร้อยละ 8.1 ระบุให้
จัดอบรมเรื่องกฎจราจรแก่คนขับ
ประเด็นสำคัญอีกประเด็น คือ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการที่ทางราชการให้มีการตรวจสภาพรถและอุปกรณ์ต่างๆ ของรถ
ร่วมบริการ ขสมก. (มินิบัส) เพื่อให้เจ้าของรถดำเนินการปรับปรุงสภาพรถและอุปกรณ์ต่างๆ ให้ได้มาตรฐานก่อนนำรถออกมาให้บริการรับ — ส่งผู้
โดยสาร ปรากฏว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.0 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 2.0 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.0 ระบุไม่มีความเห็น
ส่วนประเด็นสำคัญประเด็นสุดท้าย คือ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการที่ทางราชการจะไม่ต่อสัมปทานให้กับอู่รถร่วมบริการ
ขสมก. (มินิบัส) ที่สภาพรถและอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ได้มาตรฐาน นำรถออกมาให้บริการรับ — ส่งผู้โดยสาร ปรากฏว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ
81.7 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 10.3 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 8.0 ระบุไม่มีความเห็น
ความคิดเห็นของผู้ขับขี่รถแท็กซี่เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ขับขี่รถแท็กซี่
ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.5 ระบุขับรถแท็กซี่มานาน 5 ปีขึ้นไป รองลงมา คือ ร้อยละ 16.0 ระบุขับ
มานาน 1 — 2 ปี ร้อยละ 15.5 ระบุขับมานานน้อยกว่า 1 ปี และร้อยละ 13.5 ระบุขับมานาน 3 — 4 ปี
เมื่อสอบถามถึงปัญหาที่ผู้โดยสารเคยสร้างให้กับผู้ขับขี่รถแท็กซี่ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ปรากฏว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.8 ระบุไม่จ่าย
ค่าโดยสาร / จ่ายค่าโดยสารไม่ครบ ร้อยละ 31.1 ระบุผู้โดยสารเมา / โวยวาย ร้อยละ 10.2 ระบุทิ้งขยะบนรถ / ทำรถสกปรก / อาเจียนบน
รถ ร้อยละ 9.5 ระบุผู้โดยสารพูดจาไม่สุภาพ และร้อยละ 8.0 ระบุบอกทางผิด / สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง / บอกจุดหมายไม่ชัดเจน
เมื่อสอบถามถึงปัญหาที่ผู้โดยสารเคยระบายกับผู้ขับขี่รถแท็กซี่ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ปรากฏว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.0 ระบุปัญหา
ครอบครัว ร้อยละ 29.0 ระบุปัญหาส่วนตัว / ปัญหาเรื่องความรัก ร้อยละ 18.7 ระบุปัญหาเศรษฐกิจ / การเงิน ร้อยละ 18.5 ระบุปัญหาการ
เมือง และร้อยละ 18.3 ระบุปัญหาการจราจร / รถติด
เมื่อสอบถามถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมซึ่งผู้โดยสารเคยปฏิบัติต่อผู้ขับขี่รถแท็กซี่และทรัพย์สิน ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ปรากฏว่า
ตัวอย่างร้อยละ 33.6 ระบุพูดจาประชดประชัน / พูดจาไม่สุภาพ ร้อยละ 16.8 ระบุถูกจี้ / ปล้น / ชิงทรัพย์ / ทำร้ายร่างกาย / ขโมยโทรศัพท์มือ
ถือ ร้อยละ 11.2 ระบุไม่จ่ายค่าโดยสาร ร้อยละ 7.2 ระบุพูดจาข่มขู่ / ตวาดใส่ และร้อยละ 6.4 ระบุรื้อค้นของในรถ / เปิดลิ้นชักหน้ารถ
เมื่อสอบถามถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมขัดต่อศีลธรรมและกฎหมายซึ่งผู้โดยสารเคยปฏิบัติขณะอยู่บนรถแท็กซี่ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ปรากฏว่า ตัวอย่างร้อยละ 69.5 ระบุกอดจูบบนรถ ร้อยละ 14.0 ระบุชวนไปโรงแรม / ชวนไปโรงแรมม่านรูด ร้อยละ 6.8 ระบุทำอนาจาร ร้อย
ละ 5.5 ระบุชวนมีเพศสัมพันธ์ และร้อยละ 3.9 ระบุขายบริการทางเพศ
อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.7 ระบุมั่นใจในความปลอดภัยของอาชีพขับรถแท็กซี่ ในขณะที่ร้อย
ละ 34.1 ไม่มั่นใจ และร้อยละ 3.2 ไม่มีความเห็น โดยผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่ระบุไม่มั่นใจในความปลอดภัยของอาชีพขับรถแท็กซี่ให้เหตุผลที่ไม่มั่นใจ ดังนี้
ร้อยละ 41.8 ระบุกลัวอันตรายจากผู้โดยสาร ร้อยละ 25.9 ระบุกลัวถูกปล้น / จี้ ร้อยละ 15.2 ระบุกลัวอุบัติเหตุบนถนน ร้อยละ 13.3 ระบุมีความ
เสี่ยง และร้อยละ 3.2 ระบุสถานการณ์ไม่แน่นอน
ส่วนประเด็นสำคัญประเด็นสุดท้าย คือ เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ขับขี่แท็กซี่ ปรากฏว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 26.3 ระบุให้เลือกรับผู้โดยสาร ร้อยละ 21.5 ระบุให้ระวังตัวเอง / ไม่ประมาท ร้อยละ 19.0 ระบุให้สังเกตพฤติกรรมผู้โดยสาร ร้อยละ
18.1 ระบุให้พูดจาสุภาพกับผู้โดยสาร และร้อยละ 12.6 ระบุไม่ไปส่งในที่ไม่ปลอดภัย
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ผลการสำรวจประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
ความปลอดภัยในการใช้บริการหรือโดยสารรถแท็กซี่
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การใช้บริการหรือโดยสารรถแท็กซี่
ลำดับที่ การใช้บริการหรือโดยสารรถแท็กซี่ ค่าร้อยละ
1 เคย 93.0
2 ไม่เคย 7.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการใช้บริการหรือโดยสารรถแท็กซี่
ลำดับที่ ความถี่ในการใช้บริการหรือโดยสารรถแท็กซี่ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน 3.8
2 4 — 5 ครั้งต่อสัปดาห์ 5.5
3 2 — 3 ครั้งต่อสัปดาห์ 10.3
4 1 ครั้งต่อสัปดาห์ 6.2
5 ใช้เฉพาะคราวจำเป็น 74.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับอาชญากรรม / อุบัติเหตุ /
ความไม่ปลอดภัยที่เกิดกับผู้ใช้บริการรถแท็กซี่
ลำดับที่ การรับทราบข่าวสารที่เกิดกับผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ ค่าร้อยละ
1 เคย 91.2
2 ไม่เคย 6.4
3 ไม่แน่ใจ 2.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง “ผู้โดยสาร” ระบุ ความมั่นใจในความปลอดภัยในการใช้บริการ
หรือโดยสารรถแท็กซี่
ลำดับที่ ความมั่นใจในความปลอดภัย ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 22.5
2 ไม่มั่นใจ 47.0
3 ไม่แน่ใจ 30.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่เคยรับทราบหรือเคยประสบกับตนเองในการใช้
บริการหรือโดยสารรถแท็กซี่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่เคยรับทราบหรือเคยประสบกับตนเอง ค่าร้อยละ
1 จี้ / ปล้น / ชิงทรัพย์ ผู้โดยสาร 35.5
2 ลวงไปข่มขืน 22.2
3 วิ่งอ้อมเส้นทางปกติ / ขับนอกเส้นทาง 16.5
4 ขับรถเร็ว / ประมาท / ใจร้อน / ใช้อารมณ์ 15.7
5 พูดไม่สุภาพ / พูดจาไม่ดี 12.6
6 มิเตอร์ไม่ได้มาตรฐาน 10.1
7 คิดค่ารถมากกว่าที่มิเตอร์ปรากฎ 4.8
8 ส่งกลางทาง / ให้ลงกลางทาง / ส่งไม่ถึงที่ 3.4
9 ไม่มีเงินทอน 3.3
10 ไม่รับผู้โดยสาร / เลือกรับผู้โดยสาร 2.9
11 อื่นๆ อาทิเช่น ไม่รู้เส้นทาง / ไม่ชำนาญทาง,
สภาพรถไม่ดี / รถเก่ามาก เป็นต้น 13.4
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยและ
ความมั่นใจแก่ประชาชนผู้ใช้บริการหรือโดยสารรถแท็กซี่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 จัดอบรมจริยธรรม / มารยาท ให้แก่คนขับ 30.5
2 จัดสอบคัดเลือกคุณสมบัติของคนที่จะมาขับแท็กซี่ 23.5
3 ขึ้นทะเบียนคนขับรถแท็กซี่ 18.1
4 มีการติดป้ายชื่อและข้อมูลของคนขับไว้ในรถ 16.5
5 ให้มีลูกกรงกั้นระหว่างคนขับกับผู้โดยสาร 5.4
6 มีมาตรฐานของรถที่จะมาขับเป็นแท็กซี่ 4.5
7 ตรวจจับความเร็ว 4.1
8 มีวิทยุสื่อสารในรถ 3.8
9 มีการตรวจเช็คมิเตอร์ให้ได้มาตรฐาน 2.0
10 อื่นๆ อาทิเช่น ควบคุมปริมาณรถแท็กซี่, ตรวจสอบสภาพรถ เป็นต้น 5.2
ความปลอดภัยในการใช้บริการหรือโดยสารรถร่วมบริการ ขสมก.
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การใช้บริการหรือโดยสารรถร่วมบริการ ขสมก.
ลำดับที่ การใช้บริการหรือโดยสารรถร่วมบริการ ขสมก. ค่าร้อยละ
1 เคย 93.9
2 ไม่เคย 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการใช้บริการหรือโดยสารรถร่วมบริการ ขสมก.
ลำดับที่ ความถี่ในการใช้บริการหรือโดยสารรถร่วมบริการ ขสมก. ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน 21.4
2 4 — 5 ครั้งต่อสัปดาห์ 14.5
3 2 — 3 ครั้งต่อสัปดาห์ 15.2
4 1 ครั้งต่อสัปดาห์ 6.2
5 ใช้เฉพาะคราวจำเป็น 42.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบข่าวสารเกี่ยวกับอาชญากรรม / อุบัติเหตุ /
ความไม่ปลอดภัยที่เกิดกับผู้ใช้บริการรถร่วมบริการ ขสมก.
ลำดับที่ การรับทราบข่าวสารที่เกิดกับผู้ใช้บริการรถร่วมบริการ ขสมก. ค่าร้อยละ
1 เคย 87.4
2 ไม่เคย 8.4
3 ไม่แน่ใจ 4.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ตัวอย่าง “ผู้โดยสาร” ระบุ ความมั่นใจในความปลอดภัยในการใช้
บริการหรือโดยสารรถร่วมบริการ ขสมก.
ลำดับที่ ความมั่นใจในความปลอดภัย ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 21.9
2 ไม่มั่นใจ 57.2
3 ไม่แน่ใจ 20.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่เคยรับทราบหรือเคยประสบกับตนเองในการใช้
บริการหรือโดยสารรถร่วมบริการ ขสมก. (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่เคยรับทราบหรือเคยประสบกับตนเอง ค่าร้อยละ
1 ขับรถเร็ว / ขับรถอันตราย 47.5
2 พูดจาไม่สุภาพ / มารยาทไม่ดี 27.7
3 ผู้โดยสารยังขึ้น - ลงไม่เรียบร้อยก็ออกรถ / ผู้โดยสารตกรถ 15.2
4 รถชน / รถเกิดอุบัติเหตุ / ชนคนตาย 13.0
5 ไม่จอดป้าย 6.1
6 มีการทะเลาะวิวาท / ตีกันบนรถ 5.1
7 สภาพรถแย่ไม่เหมาะที่จะนำออกมาขับ / รถเสีย / รถควันดำ 4.4
8 จอดรถนอกป้าย / จอดรถขวางการจราจร 4.2
9 ขับรถไม่มีวินัย / ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร 4.0
10 ปิดประตูหนีบผู้โดยสาร 3.8
11 อื่นๆ อาทิเช่น ออกรถแรง / ออกรถกระชาก , ไม่ปิดประตู / ประตูปิดไม่สนิท เป็นต้น 16.7
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยและความ
มั่นใจแก่ประชาชาชนผู้ใช้บริการหรือโดยสารรถร่วมบริการ ขสมก. . (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 จัดอบรมจริยธรรม / มารยาท ให้แก่คนขับและคนเก็บค่าโดยสาร 39.4
2 ตรวจสภาพรถให้พร้อมที่จะออกให้บริการ 21.7
3 เพิ่มบทลงโทษให้หนักขึ้น 16.4
4 จำกัดความเร็วในการขับรถ 14.0
5 จัดอบรมเรื่องกฎจราจรแก่คนขับ 8.1
6 มีการตรวจสอบ บันทึกประวัติคนขับและคนเก็บค่าโดยสาร 7.3
7 เพิ่มจำนวนสายตรวจให้มากขึ้น 4.0
8 มีการตรวจความพร้อมของพนักงานก่อนออกวิ่งทุกรอบ 3.5
9 อื่นๆ อาทิเช่น ยกเลิกสัมปทานรถร่วมบริการ /
ติดเบอร์โทรแจ้งกรณีฉุกเฉินบนรถทุกคัน เป็นต้น 4.4
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการที่ทางราชการให้มีการตรวจสภาพรถและ
อุปกรณ์ต่างๆ ของรถร่วมบริการ ขสมก. (มินิบัส) เพื่อให้เจ้าของรถดำเนินการปรับปรุงสภาพรถ
และอุปกรณ์ต่างๆ ให้ได้มาตรฐานก่อนนำรถออกมาให้บริการรับ - ส่งผู้โดยสาร
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 95.0
2 ไม่เห็นด้วย 2.0
3 ไม่มีความเห็น 3.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการที่ทางราชการจะไม่ต่อสัมปทานให้กับอู่รถ
ร่วมบริการ ขสมก. (มินิบัส) ที่สภาพรถและอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ได้มาตรฐาน นำรถออกมาให้
บริการรับ - ส่งผู้โดยสาร
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 81.7
2 ไม่เห็นด้วย 10.3
3 ไม่มีความเห็น 8.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ส่วนที่ 2 ผลการสำรวจผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ความปลอดภัยของผู้ขับขี่รถแท็กซี่
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระยะเวลาในการขับรถแท็กซี่
ลำดับที่ ระยะเวลาในการขับรถแท็กซี่ ค่าร้อยละ
1 น้อยกว่า 1 ปี 15.5
2 1 — 2 ปี 16.0
3 3 — 4 ปี 13.5
4 5 ปีขึ้นไป 55.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่ผู้โดยสารเคยสร้างให้กับผู้ขับขี่รถแท็กซี่ ในช่วง 12
เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ผู้โดยสารเคยสร้างให้กับผู้ขับขี่รถแท็กซี่ ค่าร้อยละ
1 ไม่จ่ายค่าโดยสาร / จ่ายค่าโดยสารไม่ครบ 63.8
2 ผู้โดยสารเมา /โวยวาย 31.1
3 ทิ้งขยะบนรถ / ทำรถสกปรก / อาเจียนบนรถ 10.2
4 ผู้โดยสารพูดจาไม่สุภาพ 9.5
5 บอกทางผิด / สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง/บอกจุดหมายไม่ชัดเจน 8.0
6 ผู้โดยสารเอาปืนมาจี้ / ข่มขู่ 7.6
7 ผู้โดยสารเรื่องมาก 4.6
8 ทะเลาะกันบนรถ 4.1
9 ให้ขับรถเร็ว 3.2
10 อื่นๆ อาทิเช่น ด่าคนขับ, ผู้โดยสารขึ้นรถเยอะ เป็นต้น 20.5
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่ผู้โดยสารเคยระบายกับผู้ขับขี่รถแท็กซี่ ในช่วง 12
เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ผู้โดยสารเคยระบายกับผู้ขับขี่รถแท็กซี่ ค่าร้อยละ
1 ปัญหาครอบครัว 59.0
2 ปัญหาส่วนตัว / ปัญหาเรื่องความรัก 29.0
(ยังมีต่อ)