กรณีศึกษา : ตัวอย่างประชาชนทั่วไป ในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องปีใหม่ 2563 : คนไทยคิดอะไร? : ตัวอย่างประชาชนทั่วไป ในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,007 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1–20 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา พบว่า ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างกว่าครึ่งหรือร้อยละ 55.67 เป็นหญิง และร้อยละ 44.33 เป็นชาย เมื่อจำแนกออกเป็น เจเนอเรชั่น พบว่า ร้อยละ 28.20 เป็นเจเนอเรชั่น B (ตัวอย่างที่มีอายุ 51-69 ปี) ร้อยละ 31.25 เป็นเจเนอเรชั่น X (ตัวอย่างที่มีอายุ 36-50 ปี) ร้อยละ 21.92 เป็นเจเนอเรชั่น Y (ตัวอย่างที่มีอายุ 25-36 ปี) ร้อยละ 10.81 เป็นเจเนอเรชั่น M (ตัวอย่างที่มีอายุ 19-24 ปี) และร้อยละ 7.82 เป็นเจเนอเรชั่น Z (ตัวอย่างที่มีอายุ 15-18 ปี) การศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.10 ระบุต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 25.52 ระบุปริญญาตรี และร้อยละ 4.38 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
ผลสำรวจในเดือนพฤศจิกายน 2562 ในภาพรวมพบว่าคนไทยส่วนใหญ่หรือประมาณ 2 ใน 3 (ร้อยละ 65.82) ระบุว่าเศรษฐกิจปีนี้แย่กว่าปีที่แล้ว และประมาณครึ่ง (ร้อยละ 50.02) คาดว่าปีหน้าจะแย่กว่าปีนี้อีก และประชาชนบางกลุ่มร้อยละ 32.59 ระบุว่าเหมือนๆ กับปีที่แล้ว และร้อยละ 41.43 คาดว่าปีหน้า กับปีนี้ก็ไม่แตกต่างกัน
ปัญหาจราจรเป็นปัญหาลำดับแรกๆ ที่ประชาชนคาดหวังต่อการแก้ปัญหาของรัฐบาลโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ซึ่งจากผลสำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่ปัญหาดังกล่าว ยังคงเหมือนเดิม (ร้อยละ 58.28) เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และคาดว่าปีหน้ายังคาดว่ายังคงเหมือนเดิม (ร้อยละ 55.35) ทำนองเดียวกันปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นส่วนใหญ่ เห็นว่ายังคงเหมือนเดิม (ร้อยละ 52.24) เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และคาดว่าปีหน้าก็ยังคงเหมือนเดิมเช่นกัน (ร้อยละ 52.08)
ปัญหาฝุ่นละอองเป็นปัญหาหนึ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรง ซึ่งปัญหาดังกล่าวประชาชนส่วนใหญ่มองว่าปีนี้แย่กว่าปีที่แล้ว (ร้อยละ 55.48) และปีหน้าร้อยละ 46.45 คาดกว่าก็น่าจะเหมือนๆ ปีนี้เช่นกัน ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 18.70 ที่คาดว่าปัญหาฝุ่นละอองในปีหน้าน่าจะดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีนี้ ดังนั้นประชาชนรวมทั้ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหาวิธีหรือมาตรการในการดูแลเพื่อป้องกันผลกระทบจากปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น
กิจกรรมในช่วงปีใหม่ที่จะมาถึงนี้ประชาชนตั้งใจจะทำมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว (ร้อยละ 47.55) รองลงมาคือ 2) ทำบุญ/ไหว้พระ (ร้อยละ 41.16) 3) พบปะสังสรรค์ (ร้อยละ 28.32) 4) กลับภูมิลำเนา (ร้อยละ 23.53) และ 5) เที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ (ร้อยละ 20.63) ทั้งนี้ยังมีประชาชนไม่น้อยหรือร้อยละ 20.53 ที่ระบุว่าในช่วงปีใหม่จะไม่ได้ทำอะไรโดยใช้เวลาพักผ่อน อยู่บ้านเฉยๆ
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะมาถึงนี้ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.38 วางแผนการใช้จ่ายตามปกติ (โดยไม่ได้เตรียมเงินสำรองไว้) ในขณะที่ร้อยละ 36.62 เตรียมเงินไว้ใช้จ่ายในช่วงปีใหม่ โดยเตรียมค่าใช้จ่ายไว้ประมาณ 11,884 บาทต่อคน
ของขวัญปีใหม่ที่ประชาชนอยากได้จากรัฐบาลมากที่สุด คือ การแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ / ลดค่าครองชีพ/ ปากท้องของประชาชน (ร้อยละ 32.39) รองลงมาคือ อยากให้ปรับเปลี่ยนการบริหารงานใหม่ / สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน (ร้อยละ 27.91) และต้องการให้เพิ่มรายได้รวมทั้งเงินช่วยเหลือต่างๆ ให้กับประชาชน (ร้อยละ 17.72) นอกจากความต้องการดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้นรัฐบาลควรแก้ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ รวมทั้งปัญหารถติด ปัญหาการคอรัปชั่น ความเหลื่อมลำทางสังคม ตลอดจนควรส่งเสริมด้านการศึกษาหรือทำตามนโยบายที่เคยหาเสียงไว้ รวมทั้งความสามัคคีของผู้นำประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ กับประชาชนภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
ลำดับที่ ความรู้สึก ปัญหาต่างๆ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วและปีหน้า
ปีนี้เหมือนกับปีที่แล้ว ปีนี้แย่กว่าปีที่แล้ว ปีหน้าน่าจะเหมือนปีนี้ ปีหน้าน่าจะแย่กว่าปีนี้
1 ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน 32.59 65.82 41.43 50.02 2 ปัญหาจราจร 58.28 39.08 55.35 33.75 3 ปัญหาฝุ่นละออง มลพิษ 39.98 55.48 46.45 34.85 4 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 52.24 45.51 52.08 40.67 5 ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ 48.31 49.35 48.32 42.61 ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกิจกรรมที่ความตั้งใจในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 ลำดับที่ กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 ร้อยละ 1 ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว 47.55 2 ทำบุญ/ไหว้พระ 41.16 3 พบปะสังสรรค์ 28.32 4 กลับภูมิลำเนา 23.53 5 เที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ 20.63 6 เยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง 20.58 7 พักผ่อนอยู่บ้านเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร 20.53 8 สวดมนต์ข้ามปี 19.18 9 ซื้อของขวัญ/ของฝาก 16.33 10 ให้เงินครอบครัว 11.44 11 อื่นๆ เช่น ทำงาน อ่านหนังสือเตรียมสอบ 0.75
เดินทางไปต่างประเทศ
ลำดับที่ การเตรียมค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ ร้อยละ 1 เตรียมค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ประมาณ 11,884 บาทต่อคน 36.62
- ไม่เกิน 3,000 บาท ร้อยละ 18.22
- 3,001-5,000 บาท ร้อยละ 21.18
- 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 26.20
- 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 9.79
- 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 11.85
- มากกว่า 20,000 บาท ร้อยละ 12.76
2 ไม่ได้เตรียม ใช้จ่ายปกติ 63.38 รวมทั้งสิ้น 100.00 ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล ลำดับที่ ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล ร้อยละ 1 แก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ / ลดค่าครองชีพ/ ปากท้องของประชาชน 32.39 2 ปรับเปลี่ยนการบริหารงานใหม่ / สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน 27.91 3 เพิ่มรายได้ / เงินช่วยเหลือและเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้กับประชาชน 17.72 4 แก้ปัญหารถติด / การจราจร 4.63 5 แก้ไขปัญหาด้านคอรัปชั่น 2.31 6 แก้ไขปัญหาด้านอาชญากรรม 2.17 7 วันหยุดเพิ่มในช่วงปีใหม่ 1.81 8 สร้างสังคมให้น่าอยู่ / ความสุขของประชาชน 1.59 9 แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม 1.52 10 อื่นๆ ได้แก่ ส่งเสริมด้านการศึกษา, ลดภาษีลง, 7.95
ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้,เพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะ, แก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ,
ปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้า รถไฟ,
เพิ่มกองทุนกู้ยืมเพื่อประชาชน, แก้ไขปัญหาการว่างงาน,
กวาดล้างปัญหาชายแดนภาคใต้, ความสามัคคีของผู้นำประเทศ,
ส่งเสริมด้านสาธารณะสุข, ช่วยเหลือ/ดูแลผู้สูงอายุ,
แก้ปัญหาราคาสินค้าทางการเกษตร
--เอยูโพล--