ที่มาของโครงการ
การเล่นสาดน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นประเพณีไทยเก่าแก่ที่สืบทอดมาช้านาน แต่ในระยะหลัง
รูปแบบการเล่นน้ำสงกรานต์ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา
การลวนลาม / ล่วงเกินทางเพศ ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ทำให้
หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องเร่งหามาตรการ และเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่คอยสอดส่องดูแลให้เล่นน้ำสงกรานต์กันอย่าง
สุภาพตามหลักประเพณีอันดีงามของไทย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากกลุ่มผู้หญิงใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ ถึงความคิดเห็นต่อพฤติกรรมในการเล่นน้ำสงกรานต์ รวมไปถึงความมั่นใจใน
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่
ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้หญิงที่มีต่อพฤติกรรมในการเล่นน้ำสงกรานต์
2. เพื่อประมาณการจำนวนผู้หญิงที่ถูกลวนลามจากการเล่นน้ำสงกรานต์
3. เพื่อสำรวจความต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแก้ปัญหาผู้หญิงถูกลวนลามทางเพศในช่วงสงกรานต์
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “หัวอกผู้หญิงในช่วง
เทศกาลสงกรานต์: กรณีศึกษากลุ่มผู้หญิงอายุระหว่าง 15 - 24 ปีใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจระหว่างวันที่ 15 มีนาคม — 11 เมษายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ผู้หญิงอายุระหว่าง 15 — 24 ปี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ใน
การสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,843 ตัวอย่างใน 23 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ น่าน เพชรบูรณ์ ขอนแก่น
อุดรธานี ศรีสะเกษ นครราชสีมา หนองคาย พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี นครศรี
ธรรมราช ชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 78.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 19.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 47.9 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
รองลงมา คือ ร้อยละ 21.4 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.7 ค้าขาย/ ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 10.8 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.7 เป็นข้าราชการ และ
ร้อยละ 3.5 ระบุอื่นๆ อาทิ เกษตรกร แม่บ้าน และไม่ได้ประกอบอาชีพ เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง “หัวอกผู้หญิงในช่วงเทศกาลสงกรานต์” โดยทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างผู้หญิงอายุระหว่าง 15 -
24 ปีใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,843 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15
มีนาคม - 11 เมษายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 77.9 ได้เล่นน้ำสงกรานต์ในปีที่แล้ว (ปี 2547) และร้อยละ 22.1 ไม่ได้เล่นน้ำ
สงกรานต์ เมื่อคณะผู้วิจัยได้ประมาณการจำนวนผู้หญิงที่ถูกลวนลาม / ล่วงเกินในเทศกาลสงกรานต์ปี 2547 นั้น พบ
ว่า จำนวนผู้หญิงที่เคยถูกลวนลามในการเล่นน้ำสงกรานต์ ปี 2547 มีทั้งสิ้น 560,598 คน หรือคิดเป็นร้อยละ
11.53 ของประชากรที่เป็นผู้หญิงทั้งหมด
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงประสบการณ์ในการแจ้งความตำรวจเพื่อดำเนินคดี
ในกรณีที่เคยโดนลวนลามนั้น พบว่า ร้อยละ 82.6 ไม่ได้แจ้งความ และร้อยละ 17.4 ได้แจ้งความ และเมื่อสอบ
ถามถึงการทำงานของตำรวจภายหลังที่ตัวอย่างได้แจ้งความเอาไว้ พบว่า มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 8.9 ที่ระบุว่า
รับแจ้งความแล้วตำรวจสามารถจับคนทำผิดได้ นอกจากนั้นร้อยละ 48.2 ระบุว่ารับแจ้งความแต่ไม่สามารถดำเนิน
การใดๆ กับคนทำผิดได้ ร้อยละ 28.9 ระบุไม่ยอมรับแจ้งความ โดยบอกว่าเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ร้อยละ
14.0 ระบุไม่ยอมรับแจ้งความแล้วยังพูดเสียดสีซ้ำเติมอื่นๆ สำหรับความมั่นใจของตัวอย่างต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการ
ช่วยเหลือทันเหตุการณ์เมื่อเกิดเหตุลวนลามขณะเล่นน้ำสงกรานต์ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 55.9 ไม่มั่นใจ ร้อย
ละ 33.7 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 10.4 ไม่มีความคิดเห็น
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ต่อความกลัวของผู้หญิงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่าง “ถูกลวนลาม”
กับ “การก่อการร้าย” นั้น พบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 42.8 กลัวถูกลวนลามจากพวกฉวยโอกาส ร้อยละ
34.6 กลัวการก่อการร้าย และร้อยละ 22.6 ไม่กลัวอะไรเลย นอกจากนั้น ตัวอย่างร้อยละ 47.1 ยังระบุอีกว่า
พฤติกรรมในการเล่นสงกรานต์ของผู้ชายจะแย่กว่าปีที่แล้ว (ปี 2547) ร้อยละ 39.2 ระบุว่าจะดีขึ้น (สุภาพมากขึ้น
ตามประเพณีไทยที่ดีงาม) และร้อยละ 13.7 ไม่ระบุความคิดเห็น เมื่อสอบถามต่อไปถึงความต้องการให้ เจ้า
หน้าที่ของรัฐเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาผู้ชายที่ฉวยโอกาสล่วงเกินผู้หญิงในช่วงสงกรานต์ พบว่า ร้อยละ 81.9
ต้องการให้เอาจริงเอาจัง ร้อยละ 7.4 ไม่ต้องการ และร้อยละ 10.7 ไม่มีความเห็น
สำหรับความเห็นต่อปัญหาสตรีถูกคุกคามทางเพศนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 68.3 มีความเห็นว่าปัญหา
สตรีถูกคุกคามทางเพศนั้นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.9 มีความเห็นว่าลดลง และร้อยละ 17.8 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบ
ถามต่อไปถึงความจริงใจของรัฐบาลในการแก้ปัญหาผู้หญิงถูกคุกคามทางเพศ พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อย
ละ 54.6 ไม่จริงใจในการแก้ปัญหา ร้อยละ 31.8 มีความจริงใจ และร้อยละ 13.6 ไม่มีความเห็น
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้หญิงที่ระบุ ประสบการณ์ในการเล่นน้ำสงกรานต์ในปี พ.ศ. 2547
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการเล่นน้ำสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ได้เล่นน้ำสงกรานต์ในปีที่แล้ว 77.9
2 ไม่ได้เล่น 22.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงผลประมาณการจำนวนผู้หญิงที่ถูกลวนลามจากการเล่นน้ำสงกรานต์ ปี พ.ศ. 2547
จำนวน ร้อยละ
จำนวนผู้หญิงอายุระหว่าง 15 — 24 ปีที่เคยถูกลวนลาม
จากการเล่นน้ำสงกรานต์ในปี พ.ศ. 2547 560,598 11.53
ฐานประชากรหญิงอายุระหว่าง 15 — 24 ปีทั่วประเทศ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 4,862,422 คน
* ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 5.4 (30,272 คน)
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่เคยโดนลวนลามระบุ ประสบการณ์ในการแจ้งความกับตำรวจเพื่อ
ดำเนินคดี
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการแจ้งความกับตำรวจเพื่อดำเนินคดี ค่าร้อยละ
1 ได้แจ้งความ 17.4
2 ไม่ได้แจ้งความ 82.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่เคยแจ้งความกับตำรวจเพื่อดำเนินคดีระบุ การทำงานของตำรวจ
ภายหลังการแจ้งความ
ลำดับที่ การทำงานของตำรวจภายหลังแจ้งความ ค่าร้อยละ
1 รับแจ้งความแต่ไม่สามารถดำเนินการใดๆ กับคนทำผิดได้ 48.2
2 รับแจ้งความแล้วจับคนทำผิดได้ 8.9
3 ไม่ยอมรับแจ้งความ โดยบอกว่าเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ 28.9
4 ไม่ยอมรับแจ้งความแล้วยังพูดเสียดสีซ้ำเติมอื่นๆ 14.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า กลัวอะไรมากกว่ากันระหว่าง
“ถูกลวนลาม” กับ “การก่อการร้าย” ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้
ลำดับที่ ความกลัวของผู้หญิงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 กลัวถูกลวนลามจากพวกฉวยโอกาส 42.8
2 กลัวการก่อการร้าย 34.6
3 ไม่กลัวอะไรเลย 22.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการช่วยเหลือทันเหตุการณ์
เมื่อเกิดเหตุลวนลามขณะเล่นสงกรานต์
ลำดับที่ ความมั่นใจของผู้หญิงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 33.7
2 ไม่มั่นใจ 55.9
3 ไม่มีความเห็น 10.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า คุณมองว่าพฤติกรรมของผู้ชาย
ในการเล่นสงกรานต์ปีนี้จะดีขึ้น (สุภาพมากขึ้นตามประเพณีไทยที่ดีงาม) หรือแย่งลงกว่าปีที่แล้ว
ลำดับที่ พฤติกรรมของผู้ชายในการเล่นสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 พฤติกรรมของผู้ชายจะดีขึ้น (สุภาพมากขึ้นตามประเพณีไทยที่ดีงาม) 39.2
2 พฤติกรรมของผู้ชายจะแย่กว่าปีที่แล้ว 47.1
3 ไม่มีความเห็น 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเอาจริงเอาจังในแก้ปัญหากับ
ผู้ชายที่ฉวยโอกาสล่วงเกินผู้หญิงในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ ความต้องการของผู้หญิงต่อการแก้ปัญหา ค่าร้อยละ
1 ต้องการ 81.9
2 ไม่ต้องการ 7.4
3 ไม่มีความเห็น 10.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อปัญหาสตรีถูกคุกคามทางเพศเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 68.3
2 ลดลง 13.9
3 ไม่มีความเห็น 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความจริงใจของรัฐบาลในการแก้ปัญหาผู้หญิงถูกคุกคามทางเพศ
ลำดับที่ ความจริงใจของรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 จริงใจ 31.8
2 ไม่จริงใจ 54.6
3 ไม่มีความเห็น 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
การเล่นสาดน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นประเพณีไทยเก่าแก่ที่สืบทอดมาช้านาน แต่ในระยะหลัง
รูปแบบการเล่นน้ำสงกรานต์ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา
การลวนลาม / ล่วงเกินทางเพศ ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ทำให้
หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องเร่งหามาตรการ และเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่คอยสอดส่องดูแลให้เล่นน้ำสงกรานต์กันอย่าง
สุภาพตามหลักประเพณีอันดีงามของไทย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากกลุ่มผู้หญิงใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ ถึงความคิดเห็นต่อพฤติกรรมในการเล่นน้ำสงกรานต์ รวมไปถึงความมั่นใจใน
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่
ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้หญิงที่มีต่อพฤติกรรมในการเล่นน้ำสงกรานต์
2. เพื่อประมาณการจำนวนผู้หญิงที่ถูกลวนลามจากการเล่นน้ำสงกรานต์
3. เพื่อสำรวจความต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแก้ปัญหาผู้หญิงถูกลวนลามทางเพศในช่วงสงกรานต์
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “หัวอกผู้หญิงในช่วง
เทศกาลสงกรานต์: กรณีศึกษากลุ่มผู้หญิงอายุระหว่าง 15 - 24 ปีใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจระหว่างวันที่ 15 มีนาคม — 11 เมษายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ผู้หญิงอายุระหว่าง 15 — 24 ปี
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ใน
การสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,843 ตัวอย่างใน 23 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ น่าน เพชรบูรณ์ ขอนแก่น
อุดรธานี ศรีสะเกษ นครราชสีมา หนองคาย พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี นครศรี
ธรรมราช ชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 78.1 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 19.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 47.9 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
รองลงมา คือ ร้อยละ 21.4 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.7 ค้าขาย/ ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 10.8 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 4.7 เป็นข้าราชการ และ
ร้อยละ 3.5 ระบุอื่นๆ อาทิ เกษตรกร แม่บ้าน และไม่ได้ประกอบอาชีพ เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง “หัวอกผู้หญิงในช่วงเทศกาลสงกรานต์” โดยทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างผู้หญิงอายุระหว่าง 15 -
24 ปีใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,843 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15
มีนาคม - 11 เมษายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 77.9 ได้เล่นน้ำสงกรานต์ในปีที่แล้ว (ปี 2547) และร้อยละ 22.1 ไม่ได้เล่นน้ำ
สงกรานต์ เมื่อคณะผู้วิจัยได้ประมาณการจำนวนผู้หญิงที่ถูกลวนลาม / ล่วงเกินในเทศกาลสงกรานต์ปี 2547 นั้น พบ
ว่า จำนวนผู้หญิงที่เคยถูกลวนลามในการเล่นน้ำสงกรานต์ ปี 2547 มีทั้งสิ้น 560,598 คน หรือคิดเป็นร้อยละ
11.53 ของประชากรที่เป็นผู้หญิงทั้งหมด
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงประสบการณ์ในการแจ้งความตำรวจเพื่อดำเนินคดี
ในกรณีที่เคยโดนลวนลามนั้น พบว่า ร้อยละ 82.6 ไม่ได้แจ้งความ และร้อยละ 17.4 ได้แจ้งความ และเมื่อสอบ
ถามถึงการทำงานของตำรวจภายหลังที่ตัวอย่างได้แจ้งความเอาไว้ พบว่า มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 8.9 ที่ระบุว่า
รับแจ้งความแล้วตำรวจสามารถจับคนทำผิดได้ นอกจากนั้นร้อยละ 48.2 ระบุว่ารับแจ้งความแต่ไม่สามารถดำเนิน
การใดๆ กับคนทำผิดได้ ร้อยละ 28.9 ระบุไม่ยอมรับแจ้งความ โดยบอกว่าเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ร้อยละ
14.0 ระบุไม่ยอมรับแจ้งความแล้วยังพูดเสียดสีซ้ำเติมอื่นๆ สำหรับความมั่นใจของตัวอย่างต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการ
ช่วยเหลือทันเหตุการณ์เมื่อเกิดเหตุลวนลามขณะเล่นน้ำสงกรานต์ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 55.9 ไม่มั่นใจ ร้อย
ละ 33.7 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 10.4 ไม่มีความคิดเห็น
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ต่อความกลัวของผู้หญิงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่าง “ถูกลวนลาม”
กับ “การก่อการร้าย” นั้น พบว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 42.8 กลัวถูกลวนลามจากพวกฉวยโอกาส ร้อยละ
34.6 กลัวการก่อการร้าย และร้อยละ 22.6 ไม่กลัวอะไรเลย นอกจากนั้น ตัวอย่างร้อยละ 47.1 ยังระบุอีกว่า
พฤติกรรมในการเล่นสงกรานต์ของผู้ชายจะแย่กว่าปีที่แล้ว (ปี 2547) ร้อยละ 39.2 ระบุว่าจะดีขึ้น (สุภาพมากขึ้น
ตามประเพณีไทยที่ดีงาม) และร้อยละ 13.7 ไม่ระบุความคิดเห็น เมื่อสอบถามต่อไปถึงความต้องการให้ เจ้า
หน้าที่ของรัฐเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาผู้ชายที่ฉวยโอกาสล่วงเกินผู้หญิงในช่วงสงกรานต์ พบว่า ร้อยละ 81.9
ต้องการให้เอาจริงเอาจัง ร้อยละ 7.4 ไม่ต้องการ และร้อยละ 10.7 ไม่มีความเห็น
สำหรับความเห็นต่อปัญหาสตรีถูกคุกคามทางเพศนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 68.3 มีความเห็นว่าปัญหา
สตรีถูกคุกคามทางเพศนั้นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.9 มีความเห็นว่าลดลง และร้อยละ 17.8 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบ
ถามต่อไปถึงความจริงใจของรัฐบาลในการแก้ปัญหาผู้หญิงถูกคุกคามทางเพศ พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อย
ละ 54.6 ไม่จริงใจในการแก้ปัญหา ร้อยละ 31.8 มีความจริงใจ และร้อยละ 13.6 ไม่มีความเห็น
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้หญิงที่ระบุ ประสบการณ์ในการเล่นน้ำสงกรานต์ในปี พ.ศ. 2547
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการเล่นน้ำสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 ได้เล่นน้ำสงกรานต์ในปีที่แล้ว 77.9
2 ไม่ได้เล่น 22.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงผลประมาณการจำนวนผู้หญิงที่ถูกลวนลามจากการเล่นน้ำสงกรานต์ ปี พ.ศ. 2547
จำนวน ร้อยละ
จำนวนผู้หญิงอายุระหว่าง 15 — 24 ปีที่เคยถูกลวนลาม
จากการเล่นน้ำสงกรานต์ในปี พ.ศ. 2547 560,598 11.53
ฐานประชากรหญิงอายุระหว่าง 15 — 24 ปีทั่วประเทศ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 4,862,422 คน
* ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 5.4 (30,272 คน)
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่เคยโดนลวนลามระบุ ประสบการณ์ในการแจ้งความกับตำรวจเพื่อ
ดำเนินคดี
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการแจ้งความกับตำรวจเพื่อดำเนินคดี ค่าร้อยละ
1 ได้แจ้งความ 17.4
2 ไม่ได้แจ้งความ 82.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่เคยแจ้งความกับตำรวจเพื่อดำเนินคดีระบุ การทำงานของตำรวจ
ภายหลังการแจ้งความ
ลำดับที่ การทำงานของตำรวจภายหลังแจ้งความ ค่าร้อยละ
1 รับแจ้งความแต่ไม่สามารถดำเนินการใดๆ กับคนทำผิดได้ 48.2
2 รับแจ้งความแล้วจับคนทำผิดได้ 8.9
3 ไม่ยอมรับแจ้งความ โดยบอกว่าเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ 28.9
4 ไม่ยอมรับแจ้งความแล้วยังพูดเสียดสีซ้ำเติมอื่นๆ 14.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า กลัวอะไรมากกว่ากันระหว่าง
“ถูกลวนลาม” กับ “การก่อการร้าย” ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้
ลำดับที่ ความกลัวของผู้หญิงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 กลัวถูกลวนลามจากพวกฉวยโอกาส 42.8
2 กลัวการก่อการร้าย 34.6
3 ไม่กลัวอะไรเลย 22.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในการช่วยเหลือทันเหตุการณ์
เมื่อเกิดเหตุลวนลามขณะเล่นสงกรานต์
ลำดับที่ ความมั่นใจของผู้หญิงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 33.7
2 ไม่มั่นใจ 55.9
3 ไม่มีความเห็น 10.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า คุณมองว่าพฤติกรรมของผู้ชาย
ในการเล่นสงกรานต์ปีนี้จะดีขึ้น (สุภาพมากขึ้นตามประเพณีไทยที่ดีงาม) หรือแย่งลงกว่าปีที่แล้ว
ลำดับที่ พฤติกรรมของผู้ชายในการเล่นสงกรานต์ ค่าร้อยละ
1 พฤติกรรมของผู้ชายจะดีขึ้น (สุภาพมากขึ้นตามประเพณีไทยที่ดีงาม) 39.2
2 พฤติกรรมของผู้ชายจะแย่กว่าปีที่แล้ว 47.1
3 ไม่มีความเห็น 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเอาจริงเอาจังในแก้ปัญหากับ
ผู้ชายที่ฉวยโอกาสล่วงเกินผู้หญิงในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ ความต้องการของผู้หญิงต่อการแก้ปัญหา ค่าร้อยละ
1 ต้องการ 81.9
2 ไม่ต้องการ 7.4
3 ไม่มีความเห็น 10.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อปัญหาสตรีถูกคุกคามทางเพศเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 68.3
2 ลดลง 13.9
3 ไม่มีความเห็น 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความจริงใจของรัฐบาลในการแก้ปัญหาผู้หญิงถูกคุกคามทางเพศ
ลำดับที่ ความจริงใจของรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 จริงใจ 31.8
2 ไม่จริงใจ 54.6
3 ไม่มีความเห็น 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--