ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สิ่งที่ประชาชนเห็นด้วย / ไม่เห็นด้วยในสถานการณ์ปัจจุบัน
ของประเทศไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,726 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่
3-8 มีนาคม พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และ
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.1 เห็นว่าปัญหาราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้นเป็นปัญหาสำคัญที่ประชาชนในประเทศกำลังประสบอยู่ขณะนี้ รองลงมาคือ ร้อยละ
69.4 ระบุปัญหายาเสพติด ร้อยละ 67.7 ระบุปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 66.3 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 58.3 ระบุปัญหาราคา
เชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ร้อยละ 54.6 ระบุปัญหาความแตกแยกของคนในสังคม ร้อยละ 52.8 ระบุปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน ร้อยละ 50.9 ระบุปัญหา
คุณภาพทางการศึกษา ร้อยละ 46.8 ระบุปัญหาแรงงาน และร้อยละ 44.5 ระบุปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.9 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข ร้อยละ 71.1 อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือคนมีรายได้
น้อย ร้อยละ 79.1 อยากให้รัฐบาลออกคูปองอาหารเลี้ยงดูเด็กยากจน แต่ร้อยละ 26.8 เท่านั้นที่จะยินดีให้รัฐบาลเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อนำเงินมาช่วยคน
ยากจน ในขณะที่ร้อยละ 59.6 เห็นว่าการช่วยเหลือคนยากจนเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ร้อยละ 11.8 เท่านั้นที่สนับสนุนกลุ่มชุมนุมประท้วงต่างๆ และร้อย
ละ 67.2 ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานไประยะหนึ่งก่อน
เช่นเดียวกับการสอบถามถึงการสนับสนุนของประชาชนต่อ นายสมัคร สุนทรเวช ในการทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายก
รัฐมนตรี พบ ร้อยละ 45.3 สนับสนุน ร้อยละ 32.3 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 22.4 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดขออยู่ตรงกลาง
ที่น่าสนใจคือ ร้อยละ 51.8 สนับสนุนแนวทางแก้ปัญหาสินค้าราคาสูงของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร้อย
ละ 26.9 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 21.3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ในขณะที่ ร้อยละ 50.7 สนับสนุน นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ
25.5 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 23.8 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.5 หันมาสนับสนุน ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทย ในแนวทางแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 28.0 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 16.5 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
แต่ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.3 เห็นว่าการเล่นการพนันเป็นเรื่องปกติธรรมดา อย่างไรก็ตาม จำนวนมากหรือร้อยละ
44.7 เห็นว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดา และเมื่อสอบถามถึงประสบการณ์การเล่นพนันในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ
35.0 เคยเล่น ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 ไม่เคยเล่น และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.4 ไม่สนับสนุนแนวคิดเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม เกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.9 สนับสนุน และร้อยละ 11.7 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลวิเคราะห์ทางสถิติวิจัยค่า Odds
Ratio พบว่ามีค่า 4.312 ค่าสูงสุดอยู่ที่ 5.160 ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.000 หมายความว่า คนที่เคยเล่นการพนันในช่วง 12 เดือนที่ผ่าน
มาสนับสนุนการเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมายสูงสุดประมาณห้าเท่าของคนที่ไม่เคยเล่นการพนัน โดยให้เหตุผลสนับสนุน เช่น เงินไม่ไหลออกนอก
ประเทศ จัดเก็บภาษีได้มากขึ้น ไม่ต้องหลบซ่อนเล่นพนัน มีผลดีต่อเศรษฐกิจ และดึงดูดนักท่องเที่ยว ในขณะที่คนไม่สนับสนุนระบุว่า มอมเมาเยาวชนและ
ประชาชน มั่วสุมอบายมุข ทำให้คนไม่รู้จักทำมาหากิน เกิดความวุ่นวายในสังคม ทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ และขัดกับหลักสอนของศาสนา
อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 39.3 ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานจนครบวาระ ในขณะที่ร้อยละ 23.8 ไม่ระบุ
เวลา ร้อยละ 17.5 ระบุ 1 ปี ร้อยละ 15.2 ระบุ 2 ปี และร้อยละ 4.2 ระบุ 3 ปี ตามลำดับ
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า สาธารณชนทั่วไปไม่ตอบรับการชุมนุมประท้วงที่อาจถูกคิดว่าจะนำไปสู่ความ
ขัดแย้งแตกแยกในสังคม แต่ประชาชนกำลังเริ่มตอบรับความพยายามและจุดตั้งต้นในแนวทางการทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดย
บรรดารัฐมนตรีที่ถูกศึกษาจนสามารถกล่าวได้ว่า นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง มีฐานสนับ
สนุนจากประชาชนอยู่ในโซน “บี” คือคะแนนเกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ นายสมัคร สุนทรเวช ยังคงมีฐาน
สนับสนุนจากประชาชนอยู่ในโซน “ซี” ซึ่งได้รับความนิยมต่ำกว่าร้อยละ 50 เวลาพูดอะไรทำอะไรจะพบกับแรงเสียดทานเสมอ โดยมีสาเหตุอย่างน้อย
สามประการคือ
ประการแรก บรรดารัฐมนตรีที่ถูกศึกษาอาจมีบทบาทและภารกิจชัดเจนในการทำงานแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่า ในขณะ
ที่นายกรัฐมนตรียังไม่แสดงให้สาธารณชนเห็นถึง “ภาพลักษณ์อันเป็นที่พึ่งหรือหวังได้” เท่าใดนัก ประการที่สอง แนวคิดเปิดบ่อนกาสิโนและการออกมา
แนะนำแก้ปัญหาหมูแพงด้วยการให้ประชาชนหันไปบริโภคเนื้อไก่อาจยิ่งทำให้ฐานสนับสนุนของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีลดลงไปอีกได้ และประการที่
สาม ขณะสำรวจวิจัยเรื่องนี้ ภาพลักษณ์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อาจโดดเด่นและอยู่ในใจของฐานเสียงพรรคพลังประชาชนมากกว่า แต่ถ้า พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ออกมาตอกย้ำบ่อยๆ ว่าสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช และเชื่อมั่นต่อนายสมัคร อาจทำให้ฐานนิยมของนายสมัครดีขึ้นโดยภาพรวมได้ ทางออก
คือ นายกรัฐมนตรีอาจมีความจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ในหมู่ประชาชนว่าตนเอง “นั่งหัวโต๊ะ” สั่งการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และเกาะ
ติดพื้นที่เข้าถึงประชาชนที่กำลังประสบปัญหาเดือดร้อนในขณะนี้ จนสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ลุล่วงไปได้ และไม่ควรแตะเรื่องที่ห่างไกลตัวประชาชนที่
อาจมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่อยากทำงานหากินในชีวิตประจำวันตามปกติสุข ไม่อยากเห็นความ
วุ่นวายขัดแย้งกันในสังคม อยากเห็นความรักความสามัคคีของคนในชาติ และยังให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป อย่างไรก็ตาม ยังคงเห็นว่าปัญหาสำคัญที่
คนไทยในประเทศกำลังประสบอยู่ขณะนี้อันดับต้นๆ คือ ปัญหาราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้น ปัญหายาเสพติด ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัญหา
ทุจริตคอรัปชั่น แต่ที่น่าพิจารณาคือ คนไทยอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือคนที่มีรายได้น้อย แต่กลับไม่ยอมจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อไปช่วยเหลือคนยากจน และมอง
ว่าเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาล ที่น่าสนใจคือ คนไทยส่วนใหญ่กำลังให้การสนับสนุน ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ในแนวทางแก้ปัญหายาเสพติด และ
จำนวนมากที่ต้องการให้รัฐบาลอยู่ครบวาระ อย่างไรก็ตามประเด็นร้อนที่รัฐบาลต้องระมัดระวังคือ การสนับสนุนให้เปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย
เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการ แต่คนที่อาจถูกเรียกว่า คอนักพนันสนับสนุนแนวคิดนี้มากถึงห้าเท่าของคนที่ไม่เคยเล่นการพนัน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญในแนวทางของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาของประชาชน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง สิ่งที่ประชาชนเห็นด้วย / ไม่เห็นด้วยในสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศ
ไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3-8 มีนาคม พ.
ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนา
ใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ตราด นครราชสีมา บุรีรัมย์
ขอนแก่น เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่ม
ตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการ
สำรวจ จำนวน 2,726 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/-
ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.6 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 21.0 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.4 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.2 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.8 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.5 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 35.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.4 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 6.1 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.6 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.1 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 1.5 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
ในขณะที่ ร้อยละ 4.7 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.7 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 43.2 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 13.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 9.4 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 15.0 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 55.4
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 20.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 13.8
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 5.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาสำคัญที่ประชาชนในประเทศกำลังประสบอยู่ขณะนี้
ลำดับที่ ปัญหาสำคัญของประเทศไทยขณะนี้ ร้อยละ
1 ปัญหาราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้น 78.1
2 ปัญหายาเสพติด 69.4
3 ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 67.7
4 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 66.3
5 ปัญหาราคาเชื้อเพลิง 58.3
6 ปัญหาความแตกแยกของคนในสังคม 54.6
7 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน 52.8
8 ปัญหาคุณภาพการศึกษา 50.9
9 ปัญหาแรงงาน 46.8
10 ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม 44.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย
ลำดับที่ ประเด็น เห็นด้วยร้อยละ ไม่เห็นด้วยร้อยละ ไม่มีความเห็นร้อยละ
1 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข 79.9 4.7 15.4
2 อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือคนมีรายได้น้อย 71.1 16.7 12.2
3 อยากให้รัฐบาลออกคูปองอาหารเลี้ยงดูเด็กยากจน 79.1 7.3 13.6
4 ยินดีให้รัฐบาลเก็บภาษีเพิ่มเพื่อนำเงินมาช่วยคนยากจน 26.8 39.2 34.0
5 การช่วยเหลือคนยากจนเป็นหน้าที่ของรัฐบาล 59.6 26.4 14.0
6 สนับสนุนกลุ่มชุมนุมประท้วง 11.8 59.4 28.8
7 ให้โอกาสรัฐบาลทำงานไประยะหนึ่งก่อน 67.2 20.2 12.6
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ไม่สนับสนุน 32.3
2 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 22.4
3 สนับสนุน 45.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาสินค้าราคาสูงโดยนายมิ่งขัวญ แสงสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ลำดับที่ การสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาสินค้าราคาสูงโดยนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ค่าร้อยละ
1 ไม่สนับสนุน 26.9
2 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 21.3
3 สนับสนุน 51.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยนายแพทย์สุรพงศ์ สืบวงศ์ลี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ลำดับที่ การสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ค่าร้อยละ
1 ไม่สนับสนุน 25.5
2 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 23.8
3 สนับสนุน 50.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหายาเสพติดโดย ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ลำดับที่ การสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหายาเสพติดโดย ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ค่าร้อยละ
1 ไม่สนับสนุน 28.0
2 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 16.5
3 สนับสนุน 55.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเล่นการพนัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการเล่นการพนัน ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา 55.3
2 ไม่ใช่ 44.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ในการเล่นการพนันในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการเล่นการพนันในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 เคยเล่น 35.0
2 ไม่เคยเล่น 65.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิดของรัฐบาลที่สนับสนุนการเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย
ลำดับที่ การสนับสนุนแนวคิดของรัฐบาลที่สนับสนุนการเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย ค่าร้อยละ
1 ไม่สนับสนุน 56.4
2 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 11.7
3 สนับสนุน 31.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิดของรัฐบาลที่สนับสนุนการเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย
ลำดับที่ การสนับสนุนแนวคิดของรัฐบาลที่สนับสนุนการเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย เคยเล่นพนันร้อยละ ไม่เคยเล่นร้อยละ รวมร้อยละ
1 ไม่สนับสนุน 36.2 67.3 56.4
2 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 12.9 10.8 11.7
3 สนับสนุน 50.9 21.9 31.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ : ผลทดสอบทางสถิติวิจัยด้วยค่า ODDs Ratio = 4.312 ค่าสูงสุดอยู่ที่ 5.160 ระดับนัยสำคัญ p = 0.000
หมายความว่า คนที่เคยเล่นการพนันในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมามีแนวคิดสนับสนุนการเปิดบ่อนกาสิโน
อย่างถูกกฎหมายสูงสุดประมาณห้าเท่าของคนที่ไม่เคยเล่นการพนัน
เหตุผลที่สนับสนุน
จะได้ทำให้ถูกกฎหมาย ให้เล่นได้ภายในประเทศไม่ต้องขนเงินออกไปเล่นนอกประเทศ/ เก็บภาษี /มีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น/ไม่ต้องหลบ
ซ่อนเล่นการพนัน/เล่นได้อย่างถูกกฎหมาย/มีผลดีต่อเศรษฐกิจ/ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น/เป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ
เหตุผลที่ไม่สนับสนุน
เป็นการมอมเมาประชาชน/มอมเมาเยาวชนให้มั่วสุมอบายมุข / สนับสนุนให้คนเล่นการพนันมากเกินไปโดยไม่รู้จักทำมาหากิน / ไม่ต้อง
การให้เกิดปัญหาความวุ่นวายในสังคมตามมาอีก / ไม่ใช่สิ่งที่จะสมควรทำให้ถูกกฎหมายเลย /ทำลายภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศชาติ / ขัดกับหลัก
คำสอนของศาสนา/ผิดศีลธรรมจริยธรรม
ตารางที่ 12 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่ให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานต่อไป
ลำดับที่ ระยะเวลาที่ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ค่าร้อยละ
1 1 ปี 17.5
2 2 ปี 15.2
3 3 ปี 4.2
4 4 ปีขึ้นไป 39.3
5 ไม่ระบุระยะเวลา 23.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สิ่งที่ประชาชนเห็นด้วย / ไม่เห็นด้วยในสถานการณ์ปัจจุบัน
ของประเทศไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,726 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่
3-8 มีนาคม พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในช่วง 30 วันที่ผ่านมา และ
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.1 เห็นว่าปัญหาราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้นเป็นปัญหาสำคัญที่ประชาชนในประเทศกำลังประสบอยู่ขณะนี้ รองลงมาคือ ร้อยละ
69.4 ระบุปัญหายาเสพติด ร้อยละ 67.7 ระบุปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 66.3 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 58.3 ระบุปัญหาราคา
เชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ร้อยละ 54.6 ระบุปัญหาความแตกแยกของคนในสังคม ร้อยละ 52.8 ระบุปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน ร้อยละ 50.9 ระบุปัญหา
คุณภาพทางการศึกษา ร้อยละ 46.8 ระบุปัญหาแรงงาน และร้อยละ 44.5 ระบุปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.9 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข ร้อยละ 71.1 อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือคนมีรายได้
น้อย ร้อยละ 79.1 อยากให้รัฐบาลออกคูปองอาหารเลี้ยงดูเด็กยากจน แต่ร้อยละ 26.8 เท่านั้นที่จะยินดีให้รัฐบาลเก็บภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อนำเงินมาช่วยคน
ยากจน ในขณะที่ร้อยละ 59.6 เห็นว่าการช่วยเหลือคนยากจนเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ร้อยละ 11.8 เท่านั้นที่สนับสนุนกลุ่มชุมนุมประท้วงต่างๆ และร้อย
ละ 67.2 ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานไประยะหนึ่งก่อน
เช่นเดียวกับการสอบถามถึงการสนับสนุนของประชาชนต่อ นายสมัคร สุนทรเวช ในการทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายก
รัฐมนตรี พบ ร้อยละ 45.3 สนับสนุน ร้อยละ 32.3 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 22.4 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดขออยู่ตรงกลาง
ที่น่าสนใจคือ ร้อยละ 51.8 สนับสนุนแนวทางแก้ปัญหาสินค้าราคาสูงของ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร้อย
ละ 26.9 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 21.3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ในขณะที่ ร้อยละ 50.7 สนับสนุน นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ
25.5 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 23.8 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.5 หันมาสนับสนุน ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทย ในแนวทางแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 28.0 ไม่สนับสนุน และร้อยละ 16.5 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
แต่ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.3 เห็นว่าการเล่นการพนันเป็นเรื่องปกติธรรมดา อย่างไรก็ตาม จำนวนมากหรือร้อยละ
44.7 เห็นว่าไม่ใช่เรื่องธรรมดา และเมื่อสอบถามถึงประสบการณ์การเล่นพนันในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า เกินกว่า 1 ใน 3 หรือร้อยละ
35.0 เคยเล่น ในขณะที่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.0 ไม่เคยเล่น และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.4 ไม่สนับสนุนแนวคิดเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม เกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.9 สนับสนุน และร้อยละ 11.7 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลวิเคราะห์ทางสถิติวิจัยค่า Odds
Ratio พบว่ามีค่า 4.312 ค่าสูงสุดอยู่ที่ 5.160 ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.000 หมายความว่า คนที่เคยเล่นการพนันในช่วง 12 เดือนที่ผ่าน
มาสนับสนุนการเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมายสูงสุดประมาณห้าเท่าของคนที่ไม่เคยเล่นการพนัน โดยให้เหตุผลสนับสนุน เช่น เงินไม่ไหลออกนอก
ประเทศ จัดเก็บภาษีได้มากขึ้น ไม่ต้องหลบซ่อนเล่นพนัน มีผลดีต่อเศรษฐกิจ และดึงดูดนักท่องเที่ยว ในขณะที่คนไม่สนับสนุนระบุว่า มอมเมาเยาวชนและ
ประชาชน มั่วสุมอบายมุข ทำให้คนไม่รู้จักทำมาหากิน เกิดความวุ่นวายในสังคม ทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ และขัดกับหลักสอนของศาสนา
อย่างไรก็ตาม ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 39.3 ต้องการให้โอกาสรัฐบาลทำงานจนครบวาระ ในขณะที่ร้อยละ 23.8 ไม่ระบุ
เวลา ร้อยละ 17.5 ระบุ 1 ปี ร้อยละ 15.2 ระบุ 2 ปี และร้อยละ 4.2 ระบุ 3 ปี ตามลำดับ
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า สาธารณชนทั่วไปไม่ตอบรับการชุมนุมประท้วงที่อาจถูกคิดว่าจะนำไปสู่ความ
ขัดแย้งแตกแยกในสังคม แต่ประชาชนกำลังเริ่มตอบรับความพยายามและจุดตั้งต้นในแนวทางการทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดย
บรรดารัฐมนตรีที่ถูกศึกษาจนสามารถกล่าวได้ว่า นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง มีฐานสนับ
สนุนจากประชาชนอยู่ในโซน “บี” คือคะแนนเกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ นายสมัคร สุนทรเวช ยังคงมีฐาน
สนับสนุนจากประชาชนอยู่ในโซน “ซี” ซึ่งได้รับความนิยมต่ำกว่าร้อยละ 50 เวลาพูดอะไรทำอะไรจะพบกับแรงเสียดทานเสมอ โดยมีสาเหตุอย่างน้อย
สามประการคือ
ประการแรก บรรดารัฐมนตรีที่ถูกศึกษาอาจมีบทบาทและภารกิจชัดเจนในการทำงานแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่า ในขณะ
ที่นายกรัฐมนตรียังไม่แสดงให้สาธารณชนเห็นถึง “ภาพลักษณ์อันเป็นที่พึ่งหรือหวังได้” เท่าใดนัก ประการที่สอง แนวคิดเปิดบ่อนกาสิโนและการออกมา
แนะนำแก้ปัญหาหมูแพงด้วยการให้ประชาชนหันไปบริโภคเนื้อไก่อาจยิ่งทำให้ฐานสนับสนุนของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีลดลงไปอีกได้ และประการที่
สาม ขณะสำรวจวิจัยเรื่องนี้ ภาพลักษณ์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อาจโดดเด่นและอยู่ในใจของฐานเสียงพรรคพลังประชาชนมากกว่า แต่ถ้า พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ออกมาตอกย้ำบ่อยๆ ว่าสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช และเชื่อมั่นต่อนายสมัคร อาจทำให้ฐานนิยมของนายสมัครดีขึ้นโดยภาพรวมได้ ทางออก
คือ นายกรัฐมนตรีอาจมีความจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ในหมู่ประชาชนว่าตนเอง “นั่งหัวโต๊ะ” สั่งการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และเกาะ
ติดพื้นที่เข้าถึงประชาชนที่กำลังประสบปัญหาเดือดร้อนในขณะนี้ จนสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ลุล่วงไปได้ และไม่ควรแตะเรื่องที่ห่างไกลตัวประชาชนที่
อาจมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่อยากทำงานหากินในชีวิตประจำวันตามปกติสุข ไม่อยากเห็นความ
วุ่นวายขัดแย้งกันในสังคม อยากเห็นความรักความสามัคคีของคนในชาติ และยังให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป อย่างไรก็ตาม ยังคงเห็นว่าปัญหาสำคัญที่
คนไทยในประเทศกำลังประสบอยู่ขณะนี้อันดับต้นๆ คือ ปัญหาราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้น ปัญหายาเสพติด ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัญหา
ทุจริตคอรัปชั่น แต่ที่น่าพิจารณาคือ คนไทยอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือคนที่มีรายได้น้อย แต่กลับไม่ยอมจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นเพื่อไปช่วยเหลือคนยากจน และมอง
ว่าเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาล ที่น่าสนใจคือ คนไทยส่วนใหญ่กำลังให้การสนับสนุน ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ในแนวทางแก้ปัญหายาเสพติด และ
จำนวนมากที่ต้องการให้รัฐบาลอยู่ครบวาระ อย่างไรก็ตามประเด็นร้อนที่รัฐบาลต้องระมัดระวังคือ การสนับสนุนให้เปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย
เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการ แต่คนที่อาจถูกเรียกว่า คอนักพนันสนับสนุนแนวคิดนี้มากถึงห้าเท่าของคนที่ไม่เคยเล่นการพนัน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญในแนวทางของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาของประชาชน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง สิ่งที่ประชาชนเห็นด้วย / ไม่เห็นด้วยในสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศ
ไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3-8 มีนาคม พ.
ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนา
ใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี ตราด นครราชสีมา บุรีรัมย์
ขอนแก่น เชียงใหม่ ลำปาง นครสวรรค์ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่ม
ตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการ
สำรวจ จำนวน 2,726 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/-
ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.6 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 21.0 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.4 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.2 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 21.8 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.5 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.6 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 35.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.4 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 6.1 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.6 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 11.1 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ร้อยละ 1.5 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
ในขณะที่ ร้อยละ 4.7 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.7 ระบุมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 43.2 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 13.7 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 9.4 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 15.0 ระบุมีรายได้มากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 55.4
2 3-4 วัน/สัปดาห์ 20.9
3 1-2 วัน/สัปดาห์ 13.8
4 น้อยกว่า 1 วัน/สัปดาห์ 5.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาสำคัญที่ประชาชนในประเทศกำลังประสบอยู่ขณะนี้
ลำดับที่ ปัญหาสำคัญของประเทศไทยขณะนี้ ร้อยละ
1 ปัญหาราคาสินค้าและบริการที่สูงขึ้น 78.1
2 ปัญหายาเสพติด 69.4
3 ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 67.7
4 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 66.3
5 ปัญหาราคาเชื้อเพลิง 58.3
6 ปัญหาความแตกแยกของคนในสังคม 54.6
7 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน 52.8
8 ปัญหาคุณภาพการศึกษา 50.9
9 ปัญหาแรงงาน 46.8
10 ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม 44.5
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย
ลำดับที่ ประเด็น เห็นด้วยร้อยละ ไม่เห็นด้วยร้อยละ ไม่มีความเห็นร้อยละ
1 อยากเห็นสังคมไทยสงบสุข 79.9 4.7 15.4
2 อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือคนมีรายได้น้อย 71.1 16.7 12.2
3 อยากให้รัฐบาลออกคูปองอาหารเลี้ยงดูเด็กยากจน 79.1 7.3 13.6
4 ยินดีให้รัฐบาลเก็บภาษีเพิ่มเพื่อนำเงินมาช่วยคนยากจน 26.8 39.2 34.0
5 การช่วยเหลือคนยากจนเป็นหน้าที่ของรัฐบาล 59.6 26.4 14.0
6 สนับสนุนกลุ่มชุมนุมประท้วง 11.8 59.4 28.8
7 ให้โอกาสรัฐบาลทำงานไประยะหนึ่งก่อน 67.2 20.2 12.6
ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ไม่สนับสนุน 32.3
2 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 22.4
3 สนับสนุน 45.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาสินค้าราคาสูงโดยนายมิ่งขัวญ แสงสุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ลำดับที่ การสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาสินค้าราคาสูงโดยนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ค่าร้อยละ
1 ไม่สนับสนุน 26.9
2 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 21.3
3 สนับสนุน 51.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยนายแพทย์สุรพงศ์ สืบวงศ์ลี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ลำดับที่ การสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ค่าร้อยละ
1 ไม่สนับสนุน 25.5
2 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 23.8
3 สนับสนุน 50.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหายาเสพติดโดย ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ลำดับที่ การสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหายาเสพติดโดย ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ค่าร้อยละ
1 ไม่สนับสนุน 28.0
2 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 16.5
3 สนับสนุน 55.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเล่นการพนัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการเล่นการพนัน ค่าร้อยละ
1 คิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา 55.3
2 ไม่ใช่ 44.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ในการเล่นการพนันในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประสบการณ์ในการเล่นการพนันในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 เคยเล่น 35.0
2 ไม่เคยเล่น 65.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิดของรัฐบาลที่สนับสนุนการเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย
ลำดับที่ การสนับสนุนแนวคิดของรัฐบาลที่สนับสนุนการเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย ค่าร้อยละ
1 ไม่สนับสนุน 56.4
2 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 11.7
3 สนับสนุน 31.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนแนวคิดของรัฐบาลที่สนับสนุนการเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย
ลำดับที่ การสนับสนุนแนวคิดของรัฐบาลที่สนับสนุนการเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย เคยเล่นพนันร้อยละ ไม่เคยเล่นร้อยละ รวมร้อยละ
1 ไม่สนับสนุน 36.2 67.3 56.4
2 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 12.9 10.8 11.7
3 สนับสนุน 50.9 21.9 31.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ : ผลทดสอบทางสถิติวิจัยด้วยค่า ODDs Ratio = 4.312 ค่าสูงสุดอยู่ที่ 5.160 ระดับนัยสำคัญ p = 0.000
หมายความว่า คนที่เคยเล่นการพนันในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมามีแนวคิดสนับสนุนการเปิดบ่อนกาสิโน
อย่างถูกกฎหมายสูงสุดประมาณห้าเท่าของคนที่ไม่เคยเล่นการพนัน
เหตุผลที่สนับสนุน
จะได้ทำให้ถูกกฎหมาย ให้เล่นได้ภายในประเทศไม่ต้องขนเงินออกไปเล่นนอกประเทศ/ เก็บภาษี /มีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น/ไม่ต้องหลบ
ซ่อนเล่นการพนัน/เล่นได้อย่างถูกกฎหมาย/มีผลดีต่อเศรษฐกิจ/ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น/เป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ
เหตุผลที่ไม่สนับสนุน
เป็นการมอมเมาประชาชน/มอมเมาเยาวชนให้มั่วสุมอบายมุข / สนับสนุนให้คนเล่นการพนันมากเกินไปโดยไม่รู้จักทำมาหากิน / ไม่ต้อง
การให้เกิดปัญหาความวุ่นวายในสังคมตามมาอีก / ไม่ใช่สิ่งที่จะสมควรทำให้ถูกกฎหมายเลย /ทำลายภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศชาติ / ขัดกับหลัก
คำสอนของศาสนา/ผิดศีลธรรมจริยธรรม
ตารางที่ 12 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่ให้โอกาสรัฐบาลในการทำงานต่อไป
ลำดับที่ ระยะเวลาที่ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป ค่าร้อยละ
1 1 ปี 17.5
2 2 ปี 15.2
3 3 ปี 4.2
4 4 ปีขึ้นไป 39.3
5 ไม่ระบุระยะเวลา 23.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-