แท็ก
เอแบคโพลล์
ที่มาของโครงการ
ความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานี้ เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศ
ชาติกำลังเผชิญกับปัญหารุมเร้าในหลายๆ ด้าน ซึ่งได้มีผู้ที่สนใจและติดตามการเมืองหลายฝ่าย ได้ออกมาแสดงทรรศนะต่อเรื่องดังกล่าวในมุมมองที่
แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายต่างมุ่งหวังให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อหาข้อยุติในปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นโดยเร็ว ซึ่งปัญหา
ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถคลี่คลายลงได้ถ้าหากรัฐบาล ฝ่ายค้าน และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจังในการแก้ไข เพื่อ
ประโยชน์ส่วนใหญ่ของชาติและประชาชน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสะท้อนถึงความคิดเห็นของประชาชน
ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อสถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์เจ้าหน้าที่และพนักงาน
เก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อเรื่องสำคัญเร่งด่วนของชาติที่ทุกฝ่ายต้องเร่งดำเนินการ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของพรรคการเมืองฝ่ายค้านในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้โอกาสนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ทำงานต่อไป
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปรับคณะรัฐมนตรี
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชน คิดอย่างไรต่อแนวโน้มปัญหาการ
เมืองหลัง 4 ธันวาคม: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณทล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 5 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,387 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.8 เป็นหญิง ร้อยละ 46.2 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 33.1 อายุ
ระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 17.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี และ
ร้อยละ 8.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ 72.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 23.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี และร้อยละ 4.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 28.1 อาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.9 เป็นพนักงานบริษัท
เอกชน ร้อยละ 21.1 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.6 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อย
ละ 6.3 เป็นนักศึกษา/นักเรียน ร้อยละ 4.8 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เผยว่าผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อแนวโน้มปัญหาการเมืองหลัง 4
ธันวาคม” ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในวันที่ 5 ธันวาคม
2548 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 1,387 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามรายการพิเศษที่นักการเมือง ข้าราชการ และประชาชนเฝ้าถวายพระพร ในหลวงเมื่อวัน
ที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 88.2 ระบุติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 11.8 ระบุไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิด
เห็นของตัวอย่างที่มีต่อกลุ่มบุคคลที่ต้องนำพระราชดำรัสไปปฏิบัติอย่างจริงจังนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.8 ระบุทุกฝ่ายต้องนำไปปฏิบัติอย่างจริง
จัง รองลงมาคือร้อยละ 20.6 ระบุฝ่ายรัฐบาล ร้อยละ 11.7 ระบุฝ่ายค้าน ร้อยละ 8.6 ระบุฝ่ายข้าราชการประจำ ในขณะที่ร้อยละ 5.3 ไม่
ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องรีบนำไปปฏิบัตินั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 75.3
ระบุโครงการพระราชดำริต่างๆ ร้อยละ 72.1 ระบุแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง ร้อยละ 70.8 นายกรัฐมนตรีต้องไม่ตอบโต้คนที่ออกมาวิพากษ์
วิจารณ์ และ ร้อยละ 68.9 ระบุ ระบุการประหยัดพลังงานและหาพลังงานทดแทน และร้อยละ 54.3 ระบุการแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงบรรยากาศการเมืองที่ควรจะเป็นภายหลังวันที่ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งผลสำรวจพบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.1 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 31.1 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 7.6 ระบุแย่ลง และร้อยละ 9.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อบทบาทของฝ่ายค้านที่ควรจะเป็นนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.2 ระบุต้องการให้ฝ่ายค้านมีบทบาทที่
เน้นการมีส่วนร่วมกับฝ่ายรัฐบาลในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน รองลงมาคือร้อยละ 43.1 ระบุให้ตั้งใจทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชน
39.9 ระบุให้คำแนะนำปรึกษา/ให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล ร้อยละ 37.5 ระบุลงพื้นที่ค้นหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างทั่วถึง และร้อยละ
34.0 ปฏิรูป การทำงานใหม่ ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการชุมนุมประท้วงต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนี้ นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.7 ระบุ
เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า เพราะเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยแต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น/ เพราะรัฐบาลทำงานล้มเหลว เป็นต้น
ในขณะที่ร้อยละ 40.8 ระบุไม่เห็นด้วยกับการประท้วง และร้อยละ 16.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์กรณีการให้โอกาส พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรทำงานต่อไปนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.4 ระบุควรให้โอกาสทำ
งานต่อไป ในขณะที่ร้อยละ 20.8 ระบุไม่ควรให้โอกาส และร้อยละ 22.8 ไม่ระบุความคิดเห็นตามลำดับ
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 45.4 ระบุควรปรับคณะรัฐมนตรี โดยระบุเหตุผลว่ารัฐมนตรีบางคนมีพฤติกรรมและคำพูดกระทบความรู้สึกประชาชน/มีปัญหาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ/ไม่มีผลงาน/มีแนวคิดขัดกับความรู้สึกของประชาชน/ บางตำแหน่งไม่เหมาะสม เป็นต้น อย่างไรก็ตามตัวอย่างร้อยละ 32.9
ระบุไม่ควรปรับ เพราะทำงานมาดีแล้ว / เหมาะสมทุกตำแหน่งแล้ว/ จะกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 21.7 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามรายการพิเศษที่นักการเมือง ข้าราชการและ
ประชาชนเข้าเฝ้าถวายพระพรในหลวงวันที่ 4 ธันวาคม
ลำดับที่ การติดตาม ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 88.2
2 ไม่ได้ติดตาม 11.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มบุคคลที่ต้องนำพระราชดำรัสไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ติดตามรายการวันที่ 4 ธันวาคม)
ลำดับที่ กลุ่มบุคคลในทรรศนะของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ฝ่ายรัฐบาล 20.6
2 ฝ่ายค้าน 11.7
3 ฝ่ายข้าราชการประจำ 8.6
4 ทุกฝ่าย 53.8
5 ไม่มีความเห็น 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เรื่องที่คิดว่าสำคัญเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องรีบนำไป
ปฏิบัติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่ตัวอย่างเห็นว่าสำคัญเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องรีบนำไปปฏิบัติ ค่าร้อยละ
1 โครงการพระราชดำริ 75.3
2 แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 72.1
3 นายกรัฐมนตรีต้องไม่ตอบโต้คนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ 70.8
4 การประหยัดพลังงานและหาพลังงานทดแทน 68.9
5 การแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต 54.3
6 อื่นๆ อาทิ ไม่ใช่สื่อมวลชนของรัฐเพื่อประชาสัมพันธ์เกินไป/
การใช้เครื่องบินส่วนตัว/ การไม่มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น เป็นต้น 38.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบรรยายกาศการเมืองที่ควรจะเป็นนับจากหลังวันที่ 4 ธันวาคม
ที่ผ่านมา
ลำดับที่ บรรยายกาศการเมืองที่ควรจะเป็นหลัง 4 ธันวาคม ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 52.1
2 เหมือนเดิม 31.1
3 แย่ลง 7.6
4 ไม่มีความเห็น 9.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บทบาทของฝ่ายค้านที่ควรจะเป็น
ลำดับที่ บทบาทของฝ่ายค้าน ค่าร้อยละ
1 การมีส่วนร่วมกับฝ่ายรัฐบาลในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน 47.2
2 ตั้งใจทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชน 43.1
3 ให้คำแนะนำปรึกษา/ให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล 39.9
4 ลงพื้นที่ค้นหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างทั่วถึง 37.5
5 ปฏิรูปการทำงานใหม่ 34.0
6 เร่งสร้างนโยบายที่ตรงความต้องการของประชาชน 31.1
7 พัฒนาคุณภาพของ ส.ส.ฝ่ายค้านให้ดียิ่งขึ้น 28.8
8 ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 27.9
9 อื่นๆ อาทิ ค้นหาหลักฐานการบริหารงานผิดพลาดของรัฐบาล/
ปล่อยให้รัฐบาลทำงานอย่างเต็มที่/ เป็นหูเป็นตาแทนประชาชน เป็นต้น 15.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการชุมนุมประท้วง
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะเป็นประชาธิปไตยแต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น/
รัฐบาลทำงานล้มเหลว/เป็นการสะท้อนความต้องการของกลุ่มต่างๆ ให้สังคมรับทราบ/ 42.7
2 ไม่เห็นด้วย 40.8
3 ไม่มีความเห็น 16.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้โอกาส พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรให้โอกาส 56.4
2 ไม่ควรให้โอกาส 20.8
3 ไม่มีความเห็น 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรปรับ เพราะ รัฐมนตรีมีพฤติกรรมและคำพูดกระทบความรู้สึกประชาชน/มีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ/
ไม่มีผลงาน/มีแนวคิดขัดกับความรู้สึกของประชาชน/ บางตำแหน่งไม่เหมาะสม เป็นต้น 45.4
2 ไม่ควรปรับ เพราะ ทำงานมาดีแล้ว / เหมาะสมทุกตำแหน่งแล้ว/ จะกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล เป็นต้น 32.9
3 ไม่มีความเห็น 21.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานี้ เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศ
ชาติกำลังเผชิญกับปัญหารุมเร้าในหลายๆ ด้าน ซึ่งได้มีผู้ที่สนใจและติดตามการเมืองหลายฝ่าย ได้ออกมาแสดงทรรศนะต่อเรื่องดังกล่าวในมุมมองที่
แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายต่างมุ่งหวังให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อหาข้อยุติในปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นโดยเร็ว ซึ่งปัญหา
ต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถคลี่คลายลงได้ถ้าหากรัฐบาล ฝ่ายค้าน และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจังในการแก้ไข เพื่อ
ประโยชน์ส่วนใหญ่ของชาติและประชาชน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อสะท้อนถึงความคิดเห็นของประชาชน
ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อสถานการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์เจ้าหน้าที่และพนักงาน
เก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อเรื่องสำคัญเร่งด่วนของชาติที่ทุกฝ่ายต้องเร่งดำเนินการ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของพรรคการเมืองฝ่ายค้านในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้โอกาสนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ทำงานต่อไป
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปรับคณะรัฐมนตรี
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชน คิดอย่างไรต่อแนวโน้มปัญหาการ
เมืองหลัง 4 ธันวาคม: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณทล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 5 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,387 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.8 เป็นหญิง ร้อยละ 46.2 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 33.1 อายุ
ระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 17.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี และ
ร้อยละ 8.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ 72.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 23.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี และร้อยละ 4.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 28.1 อาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.9 เป็นพนักงานบริษัท
เอกชน ร้อยละ 21.1 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.6 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อย
ละ 6.3 เป็นนักศึกษา/นักเรียน ร้อยละ 4.8 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เผยว่าผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อแนวโน้มปัญหาการเมืองหลัง 4
ธันวาคม” ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในวันที่ 5 ธันวาคม
2548 โดยมีขนาดตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 1,387 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการติดตามรายการพิเศษที่นักการเมือง ข้าราชการ และประชาชนเฝ้าถวายพระพร ในหลวงเมื่อวัน
ที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 88.2 ระบุติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 11.8 ระบุไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิด
เห็นของตัวอย่างที่มีต่อกลุ่มบุคคลที่ต้องนำพระราชดำรัสไปปฏิบัติอย่างจริงจังนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.8 ระบุทุกฝ่ายต้องนำไปปฏิบัติอย่างจริง
จัง รองลงมาคือร้อยละ 20.6 ระบุฝ่ายรัฐบาล ร้อยละ 11.7 ระบุฝ่ายค้าน ร้อยละ 8.6 ระบุฝ่ายข้าราชการประจำ ในขณะที่ร้อยละ 5.3 ไม่
ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องรีบนำไปปฏิบัตินั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 75.3
ระบุโครงการพระราชดำริต่างๆ ร้อยละ 72.1 ระบุแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง ร้อยละ 70.8 นายกรัฐมนตรีต้องไม่ตอบโต้คนที่ออกมาวิพากษ์
วิจารณ์ และ ร้อยละ 68.9 ระบุ ระบุการประหยัดพลังงานและหาพลังงานทดแทน และร้อยละ 54.3 ระบุการแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงบรรยากาศการเมืองที่ควรจะเป็นภายหลังวันที่ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมา ซึ่งผลสำรวจพบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.1 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 31.1 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 7.6 ระบุแย่ลง และร้อยละ 9.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อบทบาทของฝ่ายค้านที่ควรจะเป็นนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.2 ระบุต้องการให้ฝ่ายค้านมีบทบาทที่
เน้นการมีส่วนร่วมกับฝ่ายรัฐบาลในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน รองลงมาคือร้อยละ 43.1 ระบุให้ตั้งใจทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชน
39.9 ระบุให้คำแนะนำปรึกษา/ให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล ร้อยละ 37.5 ระบุลงพื้นที่ค้นหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างทั่วถึง และร้อยละ
34.0 ปฏิรูป การทำงานใหม่ ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการชุมนุมประท้วงต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนี้ นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.7 ระบุ
เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า เพราะเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยแต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น/ เพราะรัฐบาลทำงานล้มเหลว เป็นต้น
ในขณะที่ร้อยละ 40.8 ระบุไม่เห็นด้วยกับการประท้วง และร้อยละ 16.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์กรณีการให้โอกาส พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรทำงานต่อไปนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.4 ระบุควรให้โอกาสทำ
งานต่อไป ในขณะที่ร้อยละ 20.8 ระบุไม่ควรให้โอกาส และร้อยละ 22.8 ไม่ระบุความคิดเห็นตามลำดับ
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 45.4 ระบุควรปรับคณะรัฐมนตรี โดยระบุเหตุผลว่ารัฐมนตรีบางคนมีพฤติกรรมและคำพูดกระทบความรู้สึกประชาชน/มีปัญหาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ/ไม่มีผลงาน/มีแนวคิดขัดกับความรู้สึกของประชาชน/ บางตำแหน่งไม่เหมาะสม เป็นต้น อย่างไรก็ตามตัวอย่างร้อยละ 32.9
ระบุไม่ควรปรับ เพราะทำงานมาดีแล้ว / เหมาะสมทุกตำแหน่งแล้ว/ จะกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 21.7 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามรายการพิเศษที่นักการเมือง ข้าราชการและ
ประชาชนเข้าเฝ้าถวายพระพรในหลวงวันที่ 4 ธันวาคม
ลำดับที่ การติดตาม ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 88.2
2 ไม่ได้ติดตาม 11.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มบุคคลที่ต้องนำพระราชดำรัสไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
(ค่าร้อยละเฉพาะกลุ่มที่ติดตามรายการวันที่ 4 ธันวาคม)
ลำดับที่ กลุ่มบุคคลในทรรศนะของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ฝ่ายรัฐบาล 20.6
2 ฝ่ายค้าน 11.7
3 ฝ่ายข้าราชการประจำ 8.6
4 ทุกฝ่าย 53.8
5 ไม่มีความเห็น 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เรื่องที่คิดว่าสำคัญเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องรีบนำไป
ปฏิบัติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่ตัวอย่างเห็นว่าสำคัญเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องรีบนำไปปฏิบัติ ค่าร้อยละ
1 โครงการพระราชดำริ 75.3
2 แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 72.1
3 นายกรัฐมนตรีต้องไม่ตอบโต้คนที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ 70.8
4 การประหยัดพลังงานและหาพลังงานทดแทน 68.9
5 การแก้ไขข้อผิดพลาดในอดีต 54.3
6 อื่นๆ อาทิ ไม่ใช่สื่อมวลชนของรัฐเพื่อประชาสัมพันธ์เกินไป/
การใช้เครื่องบินส่วนตัว/ การไม่มีอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น เป็นต้น 38.1
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบรรยายกาศการเมืองที่ควรจะเป็นนับจากหลังวันที่ 4 ธันวาคม
ที่ผ่านมา
ลำดับที่ บรรยายกาศการเมืองที่ควรจะเป็นหลัง 4 ธันวาคม ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 52.1
2 เหมือนเดิม 31.1
3 แย่ลง 7.6
4 ไม่มีความเห็น 9.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บทบาทของฝ่ายค้านที่ควรจะเป็น
ลำดับที่ บทบาทของฝ่ายค้าน ค่าร้อยละ
1 การมีส่วนร่วมกับฝ่ายรัฐบาลในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน 47.2
2 ตั้งใจทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชน 43.1
3 ให้คำแนะนำปรึกษา/ให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล 39.9
4 ลงพื้นที่ค้นหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างทั่วถึง 37.5
5 ปฏิรูปการทำงานใหม่ 34.0
6 เร่งสร้างนโยบายที่ตรงความต้องการของประชาชน 31.1
7 พัฒนาคุณภาพของ ส.ส.ฝ่ายค้านให้ดียิ่งขึ้น 28.8
8 ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 27.9
9 อื่นๆ อาทิ ค้นหาหลักฐานการบริหารงานผิดพลาดของรัฐบาล/
ปล่อยให้รัฐบาลทำงานอย่างเต็มที่/ เป็นหูเป็นตาแทนประชาชน เป็นต้น 15.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการชุมนุมประท้วง
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะเป็นประชาธิปไตยแต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น/
รัฐบาลทำงานล้มเหลว/เป็นการสะท้อนความต้องการของกลุ่มต่างๆ ให้สังคมรับทราบ/ 42.7
2 ไม่เห็นด้วย 40.8
3 ไม่มีความเห็น 16.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้โอกาส พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ทำงานต่อไป
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรให้โอกาส 56.4
2 ไม่ควรให้โอกาส 20.8
3 ไม่มีความเห็น 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรปรับ เพราะ รัฐมนตรีมีพฤติกรรมและคำพูดกระทบความรู้สึกประชาชน/มีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ/
ไม่มีผลงาน/มีแนวคิดขัดกับความรู้สึกของประชาชน/ บางตำแหน่งไม่เหมาะสม เป็นต้น 45.4
2 ไม่ควรปรับ เพราะ ทำงานมาดีแล้ว / เหมาะสมทุกตำแหน่งแล้ว/ จะกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล เป็นต้น 32.9
3 ไม่มีความเห็น 21.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-