สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องความเครียด/กังวลต่อปัญหาฝุ่นละอองและไวรัสโควิด-19 : ตัวอย่างประชาชนทั่วไป ในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,004 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1–25 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา พบว่า
ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 58.68 เป็นหญิง และร้อยละ 41.32 เป็นชาย เมื่อจำแนกออกเป็นช่วงอายุ พบว่า ร้อยละ 7.04 มีอายุ 15-18 ปี ร้อยละ 13.07 มีอายุ 19-24 ปี ร้อยละ 22.15 มีอายุ 25-35 ปี ร้อยละ 32.04 มีอายุ 36-50 ปี และร้อยละ 25.70 มีอายุ 51-69 ปี ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.71 สมรสแล้ว ร้อยละ 44.71 เป็นโสด ในขณะที่ร้อยละ 7.98 เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.66 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 47.06 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 9.28 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 21.26 มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 36.33 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 24.70 มีรายได้ 20,001-30,000 บาท และ ร้อยละ 17.71 มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท สำหรับอาชีพ พบว่า ร้อยละ 28.69 อาชีพพนักงาน/บริษัทเอกชน ร้อยละ 23.85 รับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.42 เป็นนักเรียน-นักศึกษา ร้อยละ 15.86 ประกอบธุรกิจส่วนตัว/อาชีพค้าขาย ร้อยละ 6.79 อาชีพรับจ้างทั่วไป และร้อยละ 10.39 ประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษตรกร เกษียณอายุ ว่างงาน เป็นต้น
ผลสำรวจต่อสถานการณ์เรื่องปัญหาฝุ่นละอองและไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน พบว่า คนไทยเครียด/กังวลต่อสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 มากกว่าปัญหาฝุ่นละออง เล็กน้อย (ร้อยละ 95.01 เครียด/กังวลต่อสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในขณะที่ร้อยละ 94.76 เครียด/กังวลต่อปัญหาฝุ่นละออง) ทั้งนี้คนกรุงฯ เครียด/กังวล ต่อปัญหา ฝุ่นละออง และไวรัสโควิด-19 มากกว่าคนต่างจังหวัด
ปัญหาฝุ่นละอองคนกรุงฯ เครียด/กังวล ร้อยละ 98.98 ในขณะที่คนต่างจังหวัดเครียด/กังวล ร้อยละ 89.90
ไวรัสโควิด-19 คนกรุงฯ เครียด/กังวล ร้อยละ 98.79 ในขณะที่คนต่างจังหวัดเครียด/กังวล ร้อยละ 90.66
เมื่อสอบถามถึงความเครียด/กังวลที่มีต่อไวรัสโควิด-19 และปัญหาฝุ่นละลองในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เครียด/กังวลต่อปัญหาดังกล่าวพอๆ กัน (ร้อยละ 50.00) ทั้งนี้คนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดมีความเครียด/กังวลเรื่องไวรัสโควิด-19 มากกว่าปัญหาฝุ่นละอองสูงเกือบ 3 เท่า
ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าภายใต้สถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก (ร้อยละ 95.26 ส่งผลต่อสุขภาพ) โดยส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพในระดับมาก-มากที่สุด (ร้อยละ 35.53) ส่งผลระดับปานกลาง (ร้อยละ 36.43) และส่งผลในระดับน้อย-น้อยที่สุด (ร้อยละ 23.30) ทั้งนี้ปัญหาฝุ่นละอองมีผล กระทบต่อสุขภาพของคนกรุงเทพฯ มากกว่าคนต่างจังหวัดอย่างเห็นได้ชัด
ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันสิ่งที่ประชาชนทำได้คือการดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาฝุ่นละอองและไวรัสโควิด-19 ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และ ติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้การดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงไวรัสโควิด-19 นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นสิ่งที่ประชาชนทำคือการหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านและ ไม่ออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น ตลอดจนการหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
ลำดับที่ ระดับความเครียด/กังวล กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด ภาพรวม 1 เครียด/กังวล 98.98 89.90 94.76 2 ไม่เครียด/ไม่กังวล 1.02 10.10 5.24 รวมทั้งสิ้น 100.00 100.00 100.00 ตารางที่ 2 ค่าร้อยละระดับความเครียด/กังวลต่อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ลำดับที่ ระดับความเครียด/กังวล กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด ภาพรวม 1 เครียด/กังวล 98.79 90.66 95.01 2 ไม่เครียด/ไม่กังวล 1.21 9.34 4.99 รวมทั้งสิ้น 100.00 100.00 100.00 ตารางที่ 3 ค่าร้อยละความกังวลต่อสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 และปัญหาฝุ่นละอองในปัจจุบัน ลำดับที่ ความเครียด/กังวล กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด ภาพรวม 1 เครียด/กังวลเรื่องฝุ่นละอองมากกว่า 14.17 13.00 13.62 2 เครียด/กังวลเรื่องไวรัสโควิด-19 มากกว่า 33.08 40.17 36.38 3 เครียด/กังวลพอๆ กัน 52.75 46.83 50.00 รวมทั้งสิ้น 100.00 100.00 100.00 ตารางที่ 4 ค่าร้อยละระดับผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากปัญหาฝุ่นละอองในปัจจุบัน ลำดับที่ ระดับผลกระทบต่อสุขภาพ กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด ภาพรวม 1 มากที่สุด 11.00 5.37 8.38 2 มาก 31.03 22.66 27.15 3 ปานกลาง 40.17 32.12 36.43 4 น้อย 13.42 15.36 14.32 5 น้อยที่สุด 3.91 14.82 8.98 6 ไม่ส่งผลต่อสุขภาพ 0.47 9.67 4.74 รวมทั้งสิ้น 100.00 100.00 100.00 ตารางที่ 5 ค่าร้อยละวิธีการดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาฝุ่นละอองและไวรัสโควิด-19 ลำดับที่ วิธีการดูแลตัวเอง ฝุ่นละออง ไวรัสโควิด-19 1 ใส่หน้ากากอนามัย 84.13 84.53 2 ล้างมือบ่อยๆ 45.41 67.56 3 ติดตามข้อมูลข่าวสาร 32.14 50.55 4 หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน 22.90 52.15 5 ไม่ออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น 25.80 32.29 6 หาความรู้เพิ่มเติม 15.87 26.35 7 อื่นๆ เช่น ใช้เครื่องฟอกอากาศ ย้ายที่อยู่อาศัย 1.25 1.05
เอยูโพลมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร. 0-2723-2163-8
ที่มา: เอยูโพล