สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องความเครียดของคนกรุงฯ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 จำนวนทั้งสิ้น 1,216 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1–30 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา พบว่า
ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 51.9 เป็นหญิง และร้อยละ 48.1 เป็นชาย เมื่อจำแนกออกเป็นช่วงอายุ พบว่า ร้อยละ 17.7 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 21.8 มีอายุ 25-35 ปี ร้อยละ 33.5 มีอายุ 36-50 ปี และร้อยละ 27.0 มีอายุมากกว่า 50 ปี ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.2 สมรสแล้ว ร้อยละ 42.1 เป็นโสด และร้อยละ 7.7 เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 32.2 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 6.3 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 22.3 มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 43.7 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 22.1 มีรายได้ 20,001-30,000 บาท และร้อยละ 11.9 มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท สำหรับอาชีพ 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้อยละ 27.1 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รองลงมาคือร้อยละ 26.3 อาชีพค้าขาย และร้อยละ 11.3 อาชีพค้าขายและนักเรียนนักศึกษาในสัดส่วนที่เท่ากัน ? คนกรุงฯ กว่าร้อยละ 80 เครียดภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ...
ผลสำรวจดัชนีความเครียดประจำเดือนมิถุนายน 2563 ในภาพรวม พบว่า คนกรุงฯ ร้อยละ 83.1 มีความเครียดเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์โควิด-19 โดยความเครียดมาจากสาเหตุ
- ร้อยละ 75.8 เครียดกับเรื่องรายได้และหน้าที่การงาน
- ร้อยละ 69.4 กลัวว่าจะติดโรคโควิด-19
- ร้อยละ 46.1 ความเครียดเรื่องสุขภาพ
- นอกจากนี้ความเครียดที่เกิดขึ้นเกิดจากความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การเรียนออนไลน์ การทำงานในรูปแบบใหม่ Work from home ตลอดจน
ปัญหาครอบครัวที่เกิดขึ้น
จากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนกรุงฯ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องปากท้องของประชาชน โดยผลที่ได้รับจากสภาวะ เศรษฐกิจปัจจุบันคือ ทำให้รายได้ลดลง (ร้อยละ 45.2) ธุรกิจได้รับผลกระทบ (ร้อยละ 16.1) ไม่มีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (ร้อยละ 11.6) เป็นหนี้มากขึ้น (ร้อยละ 10.2) และไม่มีงานทำ (ร้อยละ 7.7)
เมื่อพิจารณาความเครียดในแต่ละวัย พบว่า คนกรุงฯ ในช่วงวัยทำงานมีความเครียดเรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน การงาน มากกว่าช่วงวัยอื่นๆ ส่วน GEN Z (ช่วงอายุ 15-18 ปี) เครียดว่าจะติดโรคโควิด-19 และเครียดเกี่ยวกับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คนรัก หรือเพื่อน มากกว่าเรื่องอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ ด้านสุขภาพ GEN B (อายุมากกว่า 50 ปี) เครียดเรื่องสุขภาพมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ ส่วนการใช้รูปแบบการดำเนินชีวิตที่ต่างจากเดิมหรือ New Normal ทุกช่วงวัยไม่ได้เครียด กับเรื่องดังกล่าวมากนัก เพราะทุกคนได้ยึดถือปฏิบัติตามแนวนโยบายของรัฐบาลมาระยะหนึ่งจนเกิดความเคยชินและถือว่าเป็นการใช้ชีวิตแบบปกติไปแล้ว
จากผลการสำรวจพบว่า การวางแผนชีวิตในอนาคตข้างหน้าภายใต้สถานการณ์โควิด-19 คนกรุงฯ ส่วนใหญ่จะใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น (ร้อยละ 53.7) ใช้จ่ายประหยัด ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 50.2) นอกจากนี้จะวางแผนการใช้เงินอย่างมีระบบ (ร้อยละ 49.2) ไม่ประมาท ไม่ไปสถานที่มีความเสี่ยง (ร้อยละ 40.1) และติดตามข่าวสารสถานการณ์ต่างๆ (ร้อยละ 35.9) นอกจากนี้ยังต้องหารายได้เพิ่ม ลด/ปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน หรืออาจกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ ตลอดจนกลับไปทำงานที่ภูมิลำเนา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตต่อได้ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเครียด ร้อยละ 1 เครียดมาก-มากที่สุด 31.1 2 เครียดปานกลาง 28.1 3 เครียดน้อย-น้อยที่สุด 23.9 4 ไม่เครียดเลย 16.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเครียดในแต่ละด้าน จำแนกตาม Generation ลำดับที่ ความเครียด Generation ภาพรวม Gen Z Gen M Gen Y Gen X Gen B 1 เศรษฐกิจ การเงิน การงาน 48.6 68.1 79.6 82.1 74.4 75.8 2 กลัวว่าจะติดโรคโควิด-19 81.5 72.6 60.8 70.1 71.9 69.4 3 สุขภาพ 50.0 44.7 44.9 43.2 50.3 46.1 4 คนรอบข้าง ครอบครัว เพื่อน คนรัก 52.7 48.2 46.8 42.8 34.5 42.6 5 รูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป (New Normal) 32.3 28.2 43.1 36.3 39.0 37.3 ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการวางแผนชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ การวางแผนชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 ร้อยละ 1 ใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น 53.7 2 ประหยัด ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง 50.2 3 วางแผนการใช้เงินอย่างมีระบบ 49.2 4 ไม่ประมาท ไม่ไปสถานที่สุ่มเสี่ยง 40.1 5 ติดตามข่าวสารสถานการณ์ต่างๆ 35.9 6 หารายได้เพิ่ม 28.0 7 ลด/ปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน 5.5 8 กู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ 5.0 9 กลับไปทำงานที่ภูมิลำเนา/ต่างจังหวัด 4.1
เอยูโพลมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
โทร. 0-2723-2163-8
ที่มา: เอยูโพล