ที่มาของโครงการ
คงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าโทรศัพท์มือถือมีความสำคัญกับชีวิตเราไม่ต่างจากปัจจัย 4 ที่เรามีอยู่ หลังจากที่มี
ข่าวการลอบวางระเบิดในภาคใต้ด้วยวิธีการจุดชนวนระเบิดด้วยโทรศัพท์มือถือออกมาเป็นระยะ ทำให้เกิดความเสีย
หายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนหรือแม้แต่การทำเพื่อสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที มีแผนดำเนินการในการออกมาตรการให้ผู้จำหน่ายโทรศัพท์
มือถือแบบบัตรเติมเงินต้องให้ผู้ซื้อแสดงตัว สามารถตามตรวจสอบได้ในภายหลัง เพื่อป้องกันผู้ซื้อนำซิมการ์ดระบบนี้ไป
ใช้เป็นตัวจุดชนวนระเบิดโดยไม่สามารถตรวจสอบได้เหมือนในปัจจุบัน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากคน
ใช้โทรศัพท์มือถือ และประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ
พนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางของรัฐบาลในการจัดระเบียบซิมการ์ด
2. เพื่อสำรวจถึงผลกระทบต่อการจัดระเบียบซิมการ์ด
3. เพื่อสำรวจถึงความกลัวของตัวอย่าง ถ้ารัฐบาลออกกฏหมายจัดระเบียบซิมการ์ดเพื่อป้องกันปัญหา
การก่อการร้าย
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่าง
ไรต่อการจัดระเบียบซิมการ์ดมือถือ: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างคนใช้โทรศัพท์มือถือกับประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 17 - 18 เมษายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ คนใช้โทรศัพท์มือถือและประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ใน
การสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,278 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 45.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 18.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 11.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 19.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 28.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.3 ระบุพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 19.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 19.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.8 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ/เกษตรกร
ในขณะที่ร้อยละ 1.9 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการจัดระเบียบซิมการ์ดมือถือ” ในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากคนใช้
โทรศัพท์มือถือและประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,278 ตัวอย่าง ซึ่งได้
ดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 17 - 18 เมษายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 67.4 มีโทรศัพท์มือถือใช้ในบ้าน และร้อยละ 32.6 ไม่มีโทรศัพท์มือถือใช้
ในบ้าน ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 44.8 เป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเอง ร้อยละ 37.6 ไม่ได้เป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแต่คิดว่าจะ
ใช้ และร้อยละ 17.6 ไม่ได้เป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและไม่คิดว่าจะใช้ ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่างร้อยละ 78.2 คิดว่า
การมีบริการโทรศัพท์มือถือนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน ร้อยละ 14.4 มีความเห็นว่าไม่จำเป็น และร้อยละ 7.4
ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามต่อไปถึงการรับรู้/รับทราบข่าวการจัดระเบียบซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือนั้น พบว่า
ร้อยละ 95.3 ทราบข่าวการจัดระเบียบซิมการ์ด และร้อยละ 4.7 ไม่ทราบข่าวดังกล่าว ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 79.2
เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลในการจัดระเบียบซิมการ์ดเพื่อป้องกันปัญหาการก่อการร้าย และร้อยละ 20.8 ไม่
เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาล ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบต่อคนที่ตั้งใจจะซื้อโทรศัพท์มือถือถ้ามี
ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นในการซื้อโทรศัพท์มือถือนั้น พบว่า 1 ใน 5 หรือร้อยละ 21.4 ของตัวอย่างที่เป็น
ประชาชนทั่วไปคิดว่ามีผลกระทบ แต่หากพิจารณาในกลุ่มผู้ใช้มือถือ / ผู้ที่คิดว่าจะซื้อ พบว่า มีเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อย
ละ 48.9 คิดว่ามีผลกระทบ
สำหรับความมั่นใจต่อการจัดระเบียบซิมการ์ดว่าจะช่วยป้องกันปัญหาการก่อการร้ายได้นั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 47.8 มั่นใจว่าจะช่วยป้องกันได้แค่ระยะสั้นเท่านั้น ร้อยละ 21.2 มั่นใจว่าจะช่วยป้องกันได้ในระยะ
ยาว ร้อยละ 22.5 ไม่มั่นใจต่อการจัดระเบียบดังกล่าวเลย และร้อยละ 8.5 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบถามต่อไป
ถึงแนวทางในการแก้ปัญหาก่อการร้ายของรัฐบาลระหว่าง “การจัดระเบียบสารตั้งต้นในการทำระเบิด” กับ “การจัด
ระเบียบซิมการ์ด” นั้น พบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 48.6 เห็นว่าควรจัดระเบียบไปพร้อมๆ กัน ร้อย
ละ 32.9 เห็นด้วยกับการจัดระเบียบสารตั้งต้นทำระเบิดมากกว่า ร้อยละ 12.4 เห็นด้วยกับการจัดระเบียบซิมการ์ด
มากกว่า และร้อยละ 6.1 ไม่มีความคิดเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบ คือ ความกลัวของตัวอย่าง ถ้ารัฐบาลออกกฏหมายจัดระเบียบซิมการ์ดเพื่อ
ป้องกันปัญหาการก่อการร้ายนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 54.9 กลัวการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ร้อยละ 42.1 กลัว
โทรศัพท์มือถือถูกขโมย / หายกันมากขึ้น ร้อยละ 40.6 กลัวเลขบัตรประชาชนถูกขโมยนำไปใช้ ร้อยละ 39.4
กลัวความยุ่งยากซับซ้อนในการซื้อซิมการ์ด และร้อยละ 32.9 กลัวบัตรประชาชนถูกปลอมแปลง ในขณะที่ร้อยละ
41.7 ระบุว่าไม่กลัวเลย
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การมีโทรศัพท์มือถือใช้ในบ้าน
ลำดับที่ การมีโทรศัพท์มือถือใช้ ค่าร้อยละ
1 มี 67.4
2 ไม่มี 32.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเป็นเจ้าของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ
ลำดับที่ การเป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ค่าร้อยละ
1 เป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 44.8
2 ไม่ได้เป็นผู้ใช้โทรมือถือแต่คิดว่าจะใช้ 37.6
3 ไม่ได้เป็นผู้ใช้โทรมือถือและไม่คิดว่าจะใช้ 17.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความจำเป็นที่ต้องมีบริการโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจำเป็น 78.2
2 ไม่จำเป็น 14.4
3 ไม่มีความเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบข่าวการจัดระเบียบซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ
ลำดับที่ การรับทราบข่าวการจัดระเบียบซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ ค่าร้อยละ
1 ทราบ 95.3
2 ไม่ทราบ 4.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลในการจัดระเบียบซิมการ์ด
เพื่อป้องกันการก่อการร้ายหรือไม่
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 79.2
2 ไม่เห็นด้วย 20.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลกระทบต่อคนที่ตั้งใจจะซื้อมือถือถ้ามีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน
มากขึ้นในการซื้อ
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง กลุ่มผู้ใช้มือถือ/ผู้ที่คิดว่าจะซื้อ ประชาชนทั่วไป
1 คิดว่ากระทบต่อความตั้งใจจะซื้อของลูกค้า 48.9 21.4
2 ไม่กระทบ 32.6 35.9
3 ไม่มีความเห็น/ ไม่แน่ใจ 18.5 42.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อการจัดระเบียบซิมการ์ดว่าจะช่วยป้องกัน
ปัญหาการก่อการร้ายได้ผล
ลำดับที่ ความมั่นใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจว่าจะช่วยป้องกันได้แค่ระยะสั้นเท่านั้น 47.8
2 มั่นใจว่าจะช่วยป้องกันได้ในระยะยาว 21.2
3 ไม่มั่นใจเลย 22.5
4 ไม่มีความเห็น 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นชอบต่อแนวทางแก้ปัญหาก่อการร้ายของรัฐบาล
ระหว่างการจัดระเบียบสารตั้งต้นในการทำระเบิดกับการจัดระเบียบซิมการ์ด
ลำดับที่ ความเห็นชอบของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยกับการจัดระเบียบสารตั้งต้นทำระเบิดมากกว่า 32.9
2 เห็นด้วยกับการจัดระเบียบซิมการ์ดมากกว่า 12.4
3 เห็นว่าควรจัดระเบียบไปพร้อมๆ กัน 48.6
4 ไม่มีความเห็น 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ถ้ารัฐบาลออกกฎหมายจัดระเบียบ
ซิมการ์ดเพื่อป้องกันปัญหาการก่อการร้าย คุณกลัวอะไรบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความกลัวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 กลัวการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล 54.9
2 กลัวโทรศัพท์มือถือถูกขโมย / หายกันมากขึ้น 42.1
3 กลัวเลขบัตรประชาชนถูกขโมยนำไปใช้ 40.6
4 กลัวความยุ่งยากซับซ้อนในการซื้อซิมการ์ด 39.4
5 กลัวบัตรประชาชนถูกปลอมแปลง 32.9
6 กลัวราคาโทรศัพท์มือถือจะสูงขึ้น 28.1
7 กลัวค่าบริการมือถือจะสูงขึ้น 19.3
8 อื่นๆ อาทิ กลัวปัญหาจะยิ่งปานปลาย/
กลัววิธีการก่อการร้ายในรูปแบบใหม่ที่รุนแรงกว่า เป็นต้น 12.4
9 ไม่กลัวอะไรเลย 41.7
--เอแบคโพลล์--
-พห-
คงจะปฎิเสธไม่ได้ว่าโทรศัพท์มือถือมีความสำคัญกับชีวิตเราไม่ต่างจากปัจจัย 4 ที่เรามีอยู่ หลังจากที่มี
ข่าวการลอบวางระเบิดในภาคใต้ด้วยวิธีการจุดชนวนระเบิดด้วยโทรศัพท์มือถือออกมาเป็นระยะ ทำให้เกิดความเสีย
หายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนหรือแม้แต่การทำเพื่อสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที มีแผนดำเนินการในการออกมาตรการให้ผู้จำหน่ายโทรศัพท์
มือถือแบบบัตรเติมเงินต้องให้ผู้ซื้อแสดงตัว สามารถตามตรวจสอบได้ในภายหลัง เพื่อป้องกันผู้ซื้อนำซิมการ์ดระบบนี้ไป
ใช้เป็นตัวจุดชนวนระเบิดโดยไม่สามารถตรวจสอบได้เหมือนในปัจจุบัน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากคน
ใช้โทรศัพท์มือถือ และประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ
พนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางของรัฐบาลในการจัดระเบียบซิมการ์ด
2. เพื่อสำรวจถึงผลกระทบต่อการจัดระเบียบซิมการ์ด
3. เพื่อสำรวจถึงความกลัวของตัวอย่าง ถ้ารัฐบาลออกกฏหมายจัดระเบียบซิมการ์ดเพื่อป้องกันปัญหา
การก่อการร้าย
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่าง
ไรต่อการจัดระเบียบซิมการ์ดมือถือ: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างคนใช้โทรศัพท์มือถือกับประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 17 - 18 เมษายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ คนใช้โทรศัพท์มือถือและประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ใน
การสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,278 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 45.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 18.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 11.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.9 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 19.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 28.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.3 ระบุพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 19.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 19.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.8 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ/เกษตรกร
ในขณะที่ร้อยละ 1.9 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจ
เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการจัดระเบียบซิมการ์ดมือถือ” ในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากคนใช้
โทรศัพท์มือถือและประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,278 ตัวอย่าง ซึ่งได้
ดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 17 - 18 เมษายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 67.4 มีโทรศัพท์มือถือใช้ในบ้าน และร้อยละ 32.6 ไม่มีโทรศัพท์มือถือใช้
ในบ้าน ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 44.8 เป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเอง ร้อยละ 37.6 ไม่ได้เป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแต่คิดว่าจะ
ใช้ และร้อยละ 17.6 ไม่ได้เป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือและไม่คิดว่าจะใช้ ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่างร้อยละ 78.2 คิดว่า
การมีบริการโทรศัพท์มือถือนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน ร้อยละ 14.4 มีความเห็นว่าไม่จำเป็น และร้อยละ 7.4
ไม่ระบุความคิดเห็น
เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามต่อไปถึงการรับรู้/รับทราบข่าวการจัดระเบียบซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือนั้น พบว่า
ร้อยละ 95.3 ทราบข่าวการจัดระเบียบซิมการ์ด และร้อยละ 4.7 ไม่ทราบข่าวดังกล่าว ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 79.2
เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลในการจัดระเบียบซิมการ์ดเพื่อป้องกันปัญหาการก่อการร้าย และร้อยละ 20.8 ไม่
เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาล ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบต่อคนที่ตั้งใจจะซื้อโทรศัพท์มือถือถ้ามี
ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นในการซื้อโทรศัพท์มือถือนั้น พบว่า 1 ใน 5 หรือร้อยละ 21.4 ของตัวอย่างที่เป็น
ประชาชนทั่วไปคิดว่ามีผลกระทบ แต่หากพิจารณาในกลุ่มผู้ใช้มือถือ / ผู้ที่คิดว่าจะซื้อ พบว่า มีเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อย
ละ 48.9 คิดว่ามีผลกระทบ
สำหรับความมั่นใจต่อการจัดระเบียบซิมการ์ดว่าจะช่วยป้องกันปัญหาการก่อการร้ายได้นั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 47.8 มั่นใจว่าจะช่วยป้องกันได้แค่ระยะสั้นเท่านั้น ร้อยละ 21.2 มั่นใจว่าจะช่วยป้องกันได้ในระยะ
ยาว ร้อยละ 22.5 ไม่มั่นใจต่อการจัดระเบียบดังกล่าวเลย และร้อยละ 8.5 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบถามต่อไป
ถึงแนวทางในการแก้ปัญหาก่อการร้ายของรัฐบาลระหว่าง “การจัดระเบียบสารตั้งต้นในการทำระเบิด” กับ “การจัด
ระเบียบซิมการ์ด” นั้น พบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 48.6 เห็นว่าควรจัดระเบียบไปพร้อมๆ กัน ร้อย
ละ 32.9 เห็นด้วยกับการจัดระเบียบสารตั้งต้นทำระเบิดมากกว่า ร้อยละ 12.4 เห็นด้วยกับการจัดระเบียบซิมการ์ด
มากกว่า และร้อยละ 6.1 ไม่มีความคิดเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบ คือ ความกลัวของตัวอย่าง ถ้ารัฐบาลออกกฏหมายจัดระเบียบซิมการ์ดเพื่อ
ป้องกันปัญหาการก่อการร้ายนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 54.9 กลัวการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ร้อยละ 42.1 กลัว
โทรศัพท์มือถือถูกขโมย / หายกันมากขึ้น ร้อยละ 40.6 กลัวเลขบัตรประชาชนถูกขโมยนำไปใช้ ร้อยละ 39.4
กลัวความยุ่งยากซับซ้อนในการซื้อซิมการ์ด และร้อยละ 32.9 กลัวบัตรประชาชนถูกปลอมแปลง ในขณะที่ร้อยละ
41.7 ระบุว่าไม่กลัวเลย
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การมีโทรศัพท์มือถือใช้ในบ้าน
ลำดับที่ การมีโทรศัพท์มือถือใช้ ค่าร้อยละ
1 มี 67.4
2 ไม่มี 32.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเป็นเจ้าของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ
ลำดับที่ การเป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ค่าร้อยละ
1 เป็นผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 44.8
2 ไม่ได้เป็นผู้ใช้โทรมือถือแต่คิดว่าจะใช้ 37.6
3 ไม่ได้เป็นผู้ใช้โทรมือถือและไม่คิดว่าจะใช้ 17.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความจำเป็นที่ต้องมีบริการโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจำเป็น 78.2
2 ไม่จำเป็น 14.4
3 ไม่มีความเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบข่าวการจัดระเบียบซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ
ลำดับที่ การรับทราบข่าวการจัดระเบียบซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือ ค่าร้อยละ
1 ทราบ 95.3
2 ไม่ทราบ 4.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลในการจัดระเบียบซิมการ์ด
เพื่อป้องกันการก่อการร้ายหรือไม่
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 79.2
2 ไม่เห็นด้วย 20.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลกระทบต่อคนที่ตั้งใจจะซื้อมือถือถ้ามีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน
มากขึ้นในการซื้อ
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง กลุ่มผู้ใช้มือถือ/ผู้ที่คิดว่าจะซื้อ ประชาชนทั่วไป
1 คิดว่ากระทบต่อความตั้งใจจะซื้อของลูกค้า 48.9 21.4
2 ไม่กระทบ 32.6 35.9
3 ไม่มีความเห็น/ ไม่แน่ใจ 18.5 42.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อการจัดระเบียบซิมการ์ดว่าจะช่วยป้องกัน
ปัญหาการก่อการร้ายได้ผล
ลำดับที่ ความมั่นใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจว่าจะช่วยป้องกันได้แค่ระยะสั้นเท่านั้น 47.8
2 มั่นใจว่าจะช่วยป้องกันได้ในระยะยาว 21.2
3 ไม่มั่นใจเลย 22.5
4 ไม่มีความเห็น 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นชอบต่อแนวทางแก้ปัญหาก่อการร้ายของรัฐบาล
ระหว่างการจัดระเบียบสารตั้งต้นในการทำระเบิดกับการจัดระเบียบซิมการ์ด
ลำดับที่ ความเห็นชอบของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วยกับการจัดระเบียบสารตั้งต้นทำระเบิดมากกว่า 32.9
2 เห็นด้วยกับการจัดระเบียบซิมการ์ดมากกว่า 12.4
3 เห็นว่าควรจัดระเบียบไปพร้อมๆ กัน 48.6
4 ไม่มีความเห็น 6.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ถ้ารัฐบาลออกกฎหมายจัดระเบียบ
ซิมการ์ดเพื่อป้องกันปัญหาการก่อการร้าย คุณกลัวอะไรบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความกลัวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 กลัวการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล 54.9
2 กลัวโทรศัพท์มือถือถูกขโมย / หายกันมากขึ้น 42.1
3 กลัวเลขบัตรประชาชนถูกขโมยนำไปใช้ 40.6
4 กลัวความยุ่งยากซับซ้อนในการซื้อซิมการ์ด 39.4
5 กลัวบัตรประชาชนถูกปลอมแปลง 32.9
6 กลัวราคาโทรศัพท์มือถือจะสูงขึ้น 28.1
7 กลัวค่าบริการมือถือจะสูงขึ้น 19.3
8 อื่นๆ อาทิ กลัวปัญหาจะยิ่งปานปลาย/
กลัววิธีการก่อการร้ายในรูปแบบใหม่ที่รุนแรงกว่า เป็นต้น 12.4
9 ไม่กลัวอะไรเลย 41.7
--เอแบคโพลล์--
-พห-