เอแบคโพลล์: เปิดใจเยาวชนชายในสถานพินิจฯ และเยาวชนชายที่ถูกจับกุมที่สถานีตำรวจ : อะไรเป็นต้นเหตุให้ผมทำผิด

ข่าวผลสำรวจ Thursday October 6, 2005 13:50 —เอแบคโพลล์

ที่มาของโครงการ
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีข่าวที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนเกิดขึ้นแทบทุกสัปดาห์ มีทั้งเยาวชนที่สร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับสังคม แกงค์
รถซิ่งกวนเมือง การทะเลาวิวาทของนักเรียนอาชีวะจนถึงขั้นเสียชีวิต การ รุมข่มขืน และข่าวคราวที่เยาวชนเป็นผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงก็
มีเกิดขึ้นบ่อยครั้งด้วยเช่นกัน เหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมากในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่มีส่วน
เกี่ยวข้อง เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้น ดูเหมือนว่ากำลังทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างขึ้นทุกขณะทั้งที่ได้มีการพยายามแก้ไขปัญหามาโดย
ตลอด แต่ก็ไม่สามารถยุติความรุนแรงลงได้ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรร่วมกันพิจารณาอย่างเร่งด่วนในสภาวการณ์เช่นนี้ ก็คือการค้นหาแนวทาง
ในการป้องกันไม่ให้เด็กใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ด้วยการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เพื่อที่เราจะสามารถลดความรุนแรง ในสังคมลงได้
อย่างแท้จริง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผล
ทำให้เด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมที่รุนแรง โดยได้เริ่มดำเนินการศึกษากลุ่มเยาวชนชายในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ศูนย์ฝึกและอบรมเด็ก
และเยาวชน และเยาวชนชายที่ถูกจับกุมที่สถานีตำรวจในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบ
รวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการทำกิจกรรมต่างๆ ของเยาวชนก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในสถานพินิจฯ ต่อสภาพสังคมในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนในสถานพินิจฯ เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงต่างๆ
ที่เกิดขึ้นกับเยาวชนไทยในปัจจุบัน
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เปิดใจเยาวชนชายในสถานพินิจและเยาวชนชายที่ถูก
จับกุมที่สถานีตำรวจ :อะไรเป็นต้นเหตุให้ผมทำผิด” โดยมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 กันยายน -5 ตุลาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เยาวชนชายในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเยาวชน
ชายที่ถูกจับกุมที่สถานีตำรวจ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในการเข้าถึงตัวอย่างเยาวชนชายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและ
เยาวชน และเยาวชนชายที่ถูกจับกุมที่สถานีตำรวจ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 609 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้ดำเนินโครงการมหา
วิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นผู้สนับสนุน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
เมื่อพิจารณาตามช่วงอายุของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 93.3 ระบุอายุระหว่าง 15-25 ปี ร้อยละ 6.7 ระบุอายุระหว่าง 7- 14
ปี คณะผู้วิจัยทำการสำรวจเก็บข้อมูลเด็กและเยาวชนโดยแยกเป็น 2 ส่วน คือเก็บข้อมูลจากสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน คิดเป็นร้อยละ
81.5 และจากสถานีตำรวจคิดเป็นร้อยละ 18.5
ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 93.3 ระบุระดับการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุดคือต่ำกว่า ม.3 ร้อยละ 5.1 ระบุระดับการศึกษา ม.6/ปวช.
ร้อยละ 1.3 ระบุระดับการศึกษา ป.ว.ส./อนุปริญญา และร้อยละ 0.3 ระบุการศึกษาระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ศาสนาที่เด็กและเยาวชน
นับถือ พบว่า ร้อยละ 91.7 ระบุนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 7.9 ระบุนับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.4 ระบุนับถือศาสนาคริสต์
ตัวอย่างร้อยละ 40 ระบุบิดา/ผู้นำครอบครัวของตนมีอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 24.0 ระบุอาชีพค้าขายอิสระ/รายย่อย ร้อย
ละ 10.9 ระบุอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 7.8 ระบุอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.9 ระบุอาชีพผู้ประกอบการ/
เจ้าชองกิจการ ร้อยละ 2.8 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 2.2 ระบุอาชีพเกษตรกร และร้อยละ 6.2 ระบุอาชีพอื่น ๆ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “เปิดใจเยาวชนชายในสถานพินิจและเยาวชนชายที่ถูก
จับกุมที่สถานีตำรวจ :อะไรเป็นต้นเหตุให้ผมทำผิด” ในครั้งนี้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากเยาวชนอายุ 7-25 ปี ในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและ
เยาวชน ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน และเยาวชนชายที่ถูกจับกุมที่สถานีตำรวจในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นผู้ก่อคดีเกี่ยวกับ
ความรุนแรง เช่น การฆ่าคนตาย การพยายามฆ่า การก่อเหตุทะเลาะวิวาท คดีเกี่ยวกับการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ และคดีเกี่ยว
กับยาเสพติด จำนวนทั้งสิ้น 609 ตัวอย่าง มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 กันยายน- 5 ตุลาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
จากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลการสำรวจการพักอาศัยของตัวอย่างก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ/ก่อนที่จะถูกจับกุม พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 28.6 ระบุพักอาศัยอยู่
กับพ่อและแม่ รองลงมาคือร้อยละ 19.7 พักอาศัยอยู่กับญาติ/พี่น้อง ร้อยละ 18.8 พักอยู่กับแม่ ร้อยละ 12.9 อยู่กับพ่อ และร้อยละ 7.1 ระบุ
พักอาศัยอยู่กับเพื่อน ตามลำดับ
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการเข้าร่วมกิจกรรมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้นพบว่า กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ตัวอย่างระบุได้เข้า
ร่วมมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ การเล่นกีฬา (ร้อยละ 88.1) ทำงานหารายได้พิเศษ (ร้อยละ 71.3) และ ทานอาหารร่วมกันกับคนในครอบครัว
บ่อยๆ ประมาณ 4 วันขึ้นไปใน 1 สัปดาห์ (ร้อยละ 69.3) ในขณะที่กิจกรรมไม่สร้างสรรค์ที่ตัวอย่างระบุเข้าร่วมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาได้แก่
เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า (ร้อยละ 89.7) สูบบุหรี่ (ร้อยละ 85.1) การเที่ยวกลางคืน (ร้อยละ 78.3) ดูหนังสือ/อินเตอร์เน็ต/ภาพยนตร์ที่
ทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศหรือสื่อลามก (ร้อยละ 76.9) และการดื่มเหล้า (ร้อยละ 64.8) ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงพฤติกรรมการ
ดื่นเหล้าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.5 ระบุเคยดื่มเหล้าจนเมา (เกินกว่า 5 แก้วต่อวัน) ในขณะที่ร้อยละ 47.5 ระบุไม่
เคย
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมุ่งประเด็นถึงพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง คณะผู้วิจัยได้สอบถามข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆไป โดย
ได้เริ่มจากคำถามเกี่ยวกับระดับผลการเรียนของตัวอย่างในช่วง 12 เดือนก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 26.7 ระบุเกรด
เฉลี่ยไม่เกิน 2.00 ร้อยละ 25.1 ระบุเกรดเฉลี่ย 2.01-2.99 มีเพียงร้อยละ 7.8 เท่านั้นที่มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป ในขณะที่ตัวอย่าง
เกินกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 40.4 ไม่ได้เรียนหนังสือและเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงปัญหาที่ทำให้รู้สึกเครียด/กลุ้มใจ พบว่าร้อยละ
61.4 ระบุปัญหาเรื่องครอบครัว ตัวอย่างร้อยละ 39.4 ระบุปัญหาเรื่องแฟน/คู่รัก ร้อยละ 29.7 ปัญหาเรื่องเพื่อน ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถาม
ตัวอย่างถึงวิธีการในการหาทางออกให้กับปัญหากดดันคับข้องใจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 73.9 หาทางออกด้วยการฟังเพลง ร้อยละ 57.9 ปรึกษาพ่อ
แม่/ญาติผู้ใหญ่ ร้อยละ 54.8 ปรึกษาเพื่อน ร้อยละ 50.6 ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา และร้อยละ 50.3 ระบุอยู่ตามลำพังคนเดียว
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงการพบเห็นการทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรงภายในครอบครัวนั้นพบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 3.7 ระบุพบ
เห็นมากที่สุด/มาก ร้อยละ 7.3 ระบุพบเห็นค่อนข้างมาก ในขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุค่อนข้างน้อย และ ร้อยละ 58.4 ระบุน้อย/ไม่มีเลย
ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการถูกจับกุมดำเนินคดีของกลุ่มคนที่รู้จัก/สนิทสนมพบว่า “เพื่อน” คือคนใกล้ชิดที่ถูกจับกุมดำเนินคดี
มากที่สุด โดยร้อยละ 64.2 มีเพื่อนถูกจับกุมในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด ร้อยละ 53.0 คดีเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 50.9 คดีเกี่ยวกับ
การพกพาอาวุธ และร้อยละ 36.1 คดีเกี่ยวกับการลักทรัพย์
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึง สื่อที่คิดว่ามีผลกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบการกระทำที่รุนแรงของวัยรุ่นได้ นั้นพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 76.1 ระบุการชักจูงจากเพื่อน ร้อยละ 56.1 ระบุ ภาพยนตร์ร้อยละ 40.6 ระบุข่าวความรุนแรงที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ร้อยละ
32.7 ระบุรายการทีวี ร้อยละ 31.9 ระบุอินเตอร์เน็ต และร้อยละ 17.0 ระบุหนังสือนิยาย/การ์ตูน
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ได้แก่ การพบเห็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนพกพาอาวุธเข้ามาในโรงเรียน ซึ่งพบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 54.1 ระบุเคยเห็นเพื่อนพกมีดปลายแหลมมาโรงเรียน ร้อยละ 34.4 ระบุเคยเห็นเพื่อนพกปืนมาโรงเรียน ร้อยละ 19.9 เคย
เห็นเพื่อนพกระเบิดมาโรงเรียน และร้อยละ25.0 ระบุเคยเห็นเพื่อนพกอาวุธอื่น ๆ มาโรงเรียน เช่น คัตเตอร์/สนับมือ/ไม้หน้าสาม เป็นต้น
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความสามารถในการหาอาวุธปืนมาใช้เมื่อต้องการ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.9 ระบุคิดว่าสามารถหามาได้ ใน
ขณะที่ ร้อยละ 38.1 ระบุคิดว่าหาไม่ได้ และร้อยละ 5.9 ไม่แน่ใจว่าจะสามารถหาได้หรือไม่ ทั้งนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อถึงความคิดเห็น
กรณี จากข่าวนักเรียนใช้อาวุธปืนยิงคนอื่นที่ปรากฏออกมาในขณะนี้ มีผลทำให้ระมัดระวังเรื่องความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ ก็พบว่า ตัวอย่างร้อยละ
60.2 ระบุมีผลทำให้ระมัดระวังเรื่องความรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 35.5 ระบุไม่มีผล (ดำเนินชีวิตปกติเหมือนเดิม) และร้อยละ 4.3 ไม่
ระบุความคิดเห็นตามลำดับ
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งก็คือความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อชุมชนที่ตนเองพักอาศัยอยู่ในแง่มุมต่างๆ ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้เริ่ม
ต้นคำถามจากความคิดเห็นต่อฐานะทางการเงินของคนในชุมชน ซึ่งพบว่า ตัวอย่างเกินกว่ากึ่งหนึ่งคือร้อยละ 54.5 ระบุยากจน/ค่อนข้างยากจน ใน
ขณะที่ร้อยละ 45.5 ระบุค่อนข้างร่ำรวย/ร่ำรวย ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึง การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชน พบ
ว่าตัวอย่างร้อยละ 17.7 ระบุมีการให้ความช่วยเหลือกันมาก ร้อยละ 26.2 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 27.7 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อยละ 28.4
ระบุน้อย/ไม่ช่วยเหลือกันเลย สำหรับความเป็นมิตรต่อกันและกันของคนในชุมชน นั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 19.3 ระบุมีความเป็นมิตรต่อกันมาก ร้อย
ละ 27.1 ระบุค่อนข้างมาก ร้อยละ 35.4 ระบุค่อนข้างน้อย ร้อยละ 18.2 ระบุน้อย/ไม่เป็นมิตรกันเลย
สำหรับการรับรู้ของตัวอย่างต่อการกระทำผิดกฎหมายของผู้ใหญ่ในชุมชน นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ75.2 ระบุมีพบเห็นการทำผิดบ่อยๆ ใน
ขณะที่ร้อยละ 24.8 ระบุไม่บ่อย ทั้งนี้ เรื่องที่ผู้ใหญ่ในชุมชนทำผิดกฎหมายได้แก่ ยาเสพติด (ร้อยละ69.4 ) ลักทรัพย์ (ร้อยละ 26.7) และคดี
การใช้ความรุนแรง (ร้อยละ55.8 )
และที่สำคัญ คือเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความยากง่ายในการหายาเสพติดจากคนในชุมชนนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.3 ระบุ
หาซื้อได้ง่าย ร้อยละ 13.7 ระบุหาซื้อค่อนข้างง่าย ในขณะที่ร้อยละ 19.5 ระบุหาซื้อค่อนข้างยาก และร้อยละ 27.5 ระบุหาซื้อได้ยาก โดยเมื่อ
คณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงการใช้ยาเสพติดในช่วง 12เดือนก่อนเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ ก็พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 63.8 ระบุใช้ยาบ้า ร้อยละ 45.2
ระบุใช้กัญชา และร้อยละ 22.4 ระบุใช้สารระเหย/กาว/แล็ก ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วยก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ/
ก่อนที่จะถูกจับกุม
ลำดับที่ บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วยก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในสถานพินิจฯ/ก่อนที่จะถูกจับกุม ค่าร้อยละ
1 อยู่กับพ่อและแม่ 28.6
2 อยู่กับญาติ/พี่น้อง 19.7
3 อยู่กับแม่ 18.8
4 อยู่กับเพื่อน 12.9
5 อยู่กับพ่อ 7.1
6 อยู่คนเดียว 2.2
7 อยู่กับคนรู้จักที่ไม่ใช่ญาติพี่น้องและไม่ใช่เพื่อน 10.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเข้าร่วมกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ในช่วง 12 เดือนก่อนที่จะ
เข้ามาอยู่ที่สถานพินิจฯ /ก่อนที่จะถูกจับกุม
กิจกรรมที่ทำในช่วง 12 เดือนก่อนเข้ามาอยู่ที่นี่ ทำ ไม่ได้ทำ รวมทั้งสิ้น
1. เล่นกีฬา 88.1 11.9 100.0
2. ทำงานหารายได้พิเศษ 71.3 28.7 100.0
3. ทานอาหารร่วมกันกับคนในครอบครัวบ่อยๆ (ประมาณ 4 วันขึ้นไปใน 1 สัปดาห์) 69.3 30.7 100.0
4. ทำบุญ 64.5 35.5 100.0
5. ติดตามข่าวสารบ้านเมืองบ่อยๆ (ประมาณ 4 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์) 59.0 41.0 100.0
6. ตักบาตร 52.4 47.6 100.0
7. เรียนหนังสือ 47.7 52.3 100.0
8. เข้าห้องสมุด 45.6 54.4 100.0
9. ทำงานช่วยเหลือสังคม 45.3 54.7 100.0
10. เข้าวัดฟังธรรม 32.3 67.7 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเข้าร่วมกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ในช่วง 12 เดือน
ก่อนที่จะเข้ามาอยู่ที่สถานพินิจฯ/ก่อนที่จะถูกจับกุม
กิจกรรมที่ทำในช่วง 12 เดือนก่อนเข้ามาอยู่ที่นี่ ทำ ไม่ได้ทำ รวมทั้งสิ้น
1. เดินเที่ยวห้างสรรพสินค้า 89.7 10.3 100.0
2. สูบบุหรี่ 85.1 14.9 100.0
3. เที่ยวกลางคืน 78.3 21.7 100.0
4. ดูหนังสือ/อินเตอร์เน็ต/ภาพยนตร์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ (สื่อลามก) 76.9 23.1 100.0
5. ดื่มเหล้า 64.8 35.2 100.0
6. ใช้ยาเสพติด 64.8 35.2 100.0
7. ทะเลาะกับผู้อื่นโดยใช้กำลังตบ ตี ต่อย 56.6 43.4 100.0
8. เล่นเกมออนไลน์ 51.8 48.2 100.0
9. เล่นการพนัน 48.9 51.1 100.0
10. ทะเลาะกับผู้อื่นโดยใช้อาวุธ / สิ่งของ 47.1 52.9 100.0
11. ขาดเรียนเพราะเบื่อการเรียนหนังสือ 41.7 58.3 100.0
12. มีเพศสัมพันธ์กับหลายคน (โดยฝ่ายหญิงไม่ยินยอม) 31.8 68.2 100.0
13. ลักทรัพย์ 26.0 74.0 100.0
14. คิดจะฆ่าตัวตาย 17.8 82.2 100.0
15. ขว้างปา ทำลายสิ่งของสาธารณะต่างๆ 12.6 87.4 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยดื่นเหล้าจนเมา (เกินกว่า 5 แก้ว)ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การดื่นเหล้าจนเมา (เกินกว่า 5 แก้ว) ค่าร้อยละ
1 เคย 52.5
2 ไม่เคย 47.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับผลการเรียนของตนในช่วง 12 เดือนก่อนที่จะเข้ามา
อยู่ในสถานพินิจฯ/ก่อนที่จะถูกจับกุม
ลำดับที่ ระดับผลการเรียน ค่าร้อยละ
1 เกรดเฉลี่ยไม่เกิน 2.00 26.7
2 2.01-2.50 16.1
3 2.51-2.99 9.0
4 3.00 ขึ้นไป 7.8
5 ไม่ได้เรียนหนังสือ 40.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ทำให้รู้สึกเครียด/กลุ้มใจ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ทำให้รู้สึกเครียด/กลุ้มใจ ค่าร้อยละ
1 เรื่องครอบครัว 61.4
2 เรื่องแฟน/คู่รัก 39.4
3 เรื่องเพื่อน 29.7
4 เรื่องการเรียน 28.6
5 เรื่องการเงิน 25.5
6 เรื่องสุขภาพ 17.4
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีการในการหาทางออกให้กับปัญหากดดันคับข้องใจของตน
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีการในการหาทางออกให้กับปัญหากดดันคับข้องใจ ค่าร้อยละ
1 ฟังเพลง 73.9
2 ปรึกษาพ่อแม่/ญาติผู้ใหญ่ 57.9
3 ปรึกษาเพื่อน 54.8
4 ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา 50.6
5 อยู่ตามลำพังคนเดียว 50.3
6 ดูทีวี 50.0
7 เล่มเกมคอมพิวเตอร์ 37.3
8 ไปเที่ยวสถานบันเทิง 36.1
9 ไปดูภาพยนตร์ 33.9
10 ปรึกษาครู-อาจารย์ 29.7
11 อ่านหนังสือ 28.5
12 เล่นอินเตอร์เน็ต 24.5
13 นั่งสมาธิ/ไปวัด 10.6
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยพบเห็นการทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรงภายในครอบครัว
ลำดับที่ การพบเห็นการทะเลาะวิวาทอย่างรุนแรง ค่าร้อยละ
1 มากที่สุด/มาก 3.7
2 ค่อนข้างมาก 7.3
3 ค่อนข้างน้อย 30.6
4 น้อย/ไม่มีเลย 58.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการถูกจับกุมดำเนินคดีของกลุ่มคนที่รู้จัก/สนิทสนม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ประเภทคดี กลุ่มคนที่รู้จักสนิทสนมที่ถูกจับกุมดำเนินคดี
เพื่อน พ่อ แม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อนบ้าน
1.คดีเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย 53.0 1.8 0.6 3.9 5.2 7.9
2.คดีเกี่ยวกับการลักทรัพย์ 36.1 0.3 0.3 2.7 2.1 6.1
3. คดีเกี่ยวกับยาเสพติด 64.2 1.8 2.4 9.4 8.5 9.4
4.คดีเกี่ยวกับการพกพาอาวุธ 50.9 0.6 - 4.2 3.3 6.1
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสื่อที่คิดว่ามีผลกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบการกระทำที่
รุนแรงของวัยรุ่นได้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่คิดว่ามีผลกระตุ้นให้เกิดการเลียนแบบการกระทำที่รุนแรงของวัยรุ่นได้ ค่าร้อยละ
1 การชักจูงจากเพื่อน 76.1
2 ภาพยนตร์ 56.1
3 รายการทีวี 32.7
4 อินเตอร์เน็ต 31.9
5 หนังสือนิยาย/การ์ตูน 17.0
6 ข่าวความรุนแรงที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ 40.6
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนพกพาอาวุธเข้ามาในโรงเรียน
อาวุธที่พกพามาโรงเรียน เคยเห็น ไม่เคยเห็น รวมทั้งสิ้น
1. เคยเห็นเพื่อนพกปืนมาโรงเรียน 34.4 65.6 100.0
2. เคยเห็นเพื่อนพกระเบิดมาโรงเรียน 19.9 80.1 100.0
3. เคยเห็นเพื่อนพกมีดปลายแหลมมาโรงเรียน 54.1 45.9 100.0
4. เคยเห็นเพื่อนพกอาวุธอื่น ๆ มาโรงเรียน เช่น คัตเตอร์/ สนับมือ/ไม้หน้าสาม เป็นต้น 25.0 75.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสามารถในการหาอาวุธปืนมาใช้เมื่อต้องการ
ลำดับที่ ความสามารถในการหาอาวุธปืนมาใช้เมื่อต้องการ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าสามารถหามาได้ 55.9
2 คิดว่าหาไม่ได้ 38.1
3 ไม่แน่ใจ 6.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี จากข่าวนักเรียนใช้อาวุธปืนยิงคนอื่นที่
ปรากฏออกมาในขณะนี้ มีผลทำให้ระมัดระวังเรื่องความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 มีผลทำให้ระมัดระวังเรื่องความรุนแรงมากขึ้น 60.2
2 ไม่มีผล (ดำเนินชีวิตปกติเหมือนเดิม) 35.5
3 ไม่มีความเห็น 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อฐานะทางการเงินของคนในชุมชนที่ตนเองพักอาศัย
ลำดับที่ ฐานะทางการเงินของคนในชุมชนโดยส่วนใหญ่ ค่าร้อยละ
1 ร่ำรวย 4.0
2 ค่อนข้างร่ำรวย 41.5
3 ค่อนข้างยากจน 45.8
4 ยากจน 8.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชนที่ตนเองพักอาศัย
ลำดับที่ การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในชุมชน ค่าร้อยละ
1 มาก 17.7
2 ค่อนข้างมาก 26.2
3 ค่อนข้างน้อย 27.7
4 น้อย/ไม่ช่วยเหลือกันเลย 28.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเป็นมิตรต่อกันและกันของคนในชุมชนที่ตนเองพักอาศัย
ลำดับที่ ความเป็นมิตรต่อกันและกันของคนในชุมชน ค่าร้อยละ
1 มาก 19.3
2 ค่อนข้างมาก 27.1
3 ค่อนข้างน้อย 35.4
4 น้อย/ไม่เป็นมิตรกันเลย 18.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความบ่อยในการพบเห็นผู้ใหญ่ในชุมชนกระทำผิดกฎหมาย
ลำดับที่ ความบ่อยในการพบเห็นผู้ใหญ่ในชุมชนกระทำผิดกฎหมาย ค่าร้อยละ
1 บ่อย 75.2
2 ไม่บ่อย 24.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องที่ผู้ใหญ่ในชุมชนทำผิดกฎหมาย (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่ทำผิดกฎหมาย ค่าร้อยละ
1 การทะเลาะวิวาท 70.0
2 ยาเสพติด 69.4
3 การใช้ความรุนแรง 55.8
4 ทำร้ายร่างกาย 54.8
5 ฆ่าคนตาย 29.7
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ