ที่มาของโครงการ
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดภัยพิบัติทางทะเลที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง คือ คลื่นยักษ์สึนามิ อันเกิดจากแผ่นดิน
ไหวที่มีจุดศูนย์กลางจากเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เข้าถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ อันได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ตรัง สตูล และภูเก็ต ก่อ
ให้เกิดความเสียหายต่างๆ มากมาย เกินกว่าจะประมาณค่าได้ ซึ่งความเสียหายเหล่านี้ ไม่ได้หมายรวมแค่ความเสียหายทางด้านทรัพย์สินที่มี
มูลค่ามากกว่าหลายล้านบาท ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ในเวลาต่อมา แต่ยังหมายรวมถึงความเสียหายทางด้านร่างกายของผู้ประสบ
ภัย ความเสียหายทางด้านสภาพจิตใจ อันได้แก่ ความหวาดกลัว ความไม่มั่นคงทางจิตใจ สภาวะตึงเครียด ทั้งของตัวผู้ประสบภัยเองหรือแม้แต่
ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัยก็ตาม ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้ยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือใน
การฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่และสภาพจิตใจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ตระหนักถึงการดำเนินการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงทำ
การศึกษาวิจัยเพื่อสะท้อนสภาพความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ และจิตใจ เมื่อครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์สึนามิ ตลอดจนความคิดเห็นของผู้ประสบภัยและ
ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้ เพื่อนำเสนอต่อสังคมโดยรวม โดยทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ ด้วย
การส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลง พื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสภาพความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ และจิตใจ เมื่อครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์สึนามิ ของผู้ประสบภัยและประชาชนที่
อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้
2. เพื่อเปรียบเทียบระดับความคาดหวัง-ความต้องการกับการปฏิบัติงานจริงของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นการดำเนิน
การให้ความช่วยเหลือต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับการดำเนินการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สภาพความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ และจิตใจ เมื่อ
ครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์สึนามิ: กรณีศึกษาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจ ระหว่างวันที่ 13-21 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ ได้แก่ ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับ ผลกระทบทั้งทางด้านร่าง
กาย จิตใจ และทรัพย์สิน และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้ อันได้แก่ จังหวัดระนอง
พังงา กระบี่ ตรัง สตูล และภูเก็ต
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง คือ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิสองขั้น (Stratified two-stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,546 ตัวอย่าง จำแนกเป็นกลุ่มผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัย สึนามิ จำนวน 1,106
ตัวอย่าง และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 440 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ +/- ร้อยละ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.9 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 42.1 เป็นเพศชาย ตัวอย่างมากกว่าครึ่ง
หรือร้อยละ 50.4 มีอายุระหว่าง 30-49 ปี ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 14.6 อายุระหว่าง 50-59 ปี ร้อยละ 7.7 มีอายุ
ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 5.4 อายุระหว่าง 15-19 ปี ตัวอย่างร้อยละ 66.3 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 32.7 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อย
ละ 1.0 นับถือศาสนาคริสต์ ตัวอย่างร้อยละ 39.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษา ร้อยละ 17.8 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลายหรือเทียบเท่า ร้อยละ 17.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ร้อยละ 14.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ
9.8 สำเร็จการศึกษาระดับปวส. / อนุปริญญาหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ซึ่ง ตัวอย่างร้อยละ
33.8 ระบุอาชีพค้าขาย / กิจการส่วนตัว ร้อยละ 17.6 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 9.6 อาชีพประมง ร้อยละ 39.0 อาชีพอื่นๆ อาทิ
เกษตรกร พนักงานบริษัทเอกชน เป็นต้น
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “สภาพความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ และจิตใจ
ภายหลังครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์สึนามิ: กรณีศึกษาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิและประชาชน ทั่วไปในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้” ซึ่งได้ทำการ
เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิและ ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้น 1,546 ตัวอย่าง ใน
ระหว่างวันที่ 13-21 ธันวาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า การทำโพลล์ครั้งนี้แตกต่างไปจากการทำสำรวจครั้งที่ผ่านๆ มา เนื่อง
จากมีการนำค่าคะแนนเฉลี่ยที่คะแนนเต็ม 5 คะแนนมาประยุกต์ใช้เพื่อวัด “ความคาดหวัง-ความต้องการ” ของกลุ่มผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ
เปรียบเทียบกับ “การได้รับปฏิบัติการช่วยเหลือจริง” จาก หน่วยงานต่างๆ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ความคาดหวัง-ความต้องการของประชาชนสูงกว่าการ
ได้รับความช่วยเหลือด้านต่างๆ ในทุกเรื่อง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเยียวยาผู้รอดชีวิตและผู้ประสบภัยสึนามิยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง-ความ
ต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึงตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สภาพจิตใจของประชาชนผู้รอดชีวิตและผู้ประสบภัยสึนามิยังอยู่ในสภาพที่
ย่ำแย่ และมีปัญหาในหลายๆ ด้าน
อันดับที่หนึ่ง ได้แก่ เรื่องการเยียวยาช่วยเหลือด้านการเงินเป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง-ความต้องการของประชาชน
ผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิมากที่สุด เนื่องจากคะแนนเฉลี่ยความคาดหวัง-ความต้องการและคะแนนเฉลี่ยการได้รับการปฏิบัติการช่วย
เหลือเยียวยาด้านการเงิน (3.57 ต่อ 2.53) มีช่องว่างห่างกันมากที่สุด
อันดับที่สอง ได้แก่ เรื่องการเยียวยาช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในการประกอบอาชีพที่ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง-
ความต้องการของประชาชนได้ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.62 ต่อ 2.62
อันดับที่สาม ได้แก่เรื่องการจัดหางาน จัดหาแหล่งที่ดินทำกินที่ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง- ความต้องการของประชาชนได้
ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.60 ต่อ 2.63
อันดับที่สี่ ได้แก่ เรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง-ความต้องการของ ประชาชนได้ด้วยคะแนน
เฉลี่ย 3.66 ต่อ 2.99
อันดับที่ห้า ได้แก่ เรื่องการจัดตั้งระบบเตือนภัย เช่น การติดตั้งสัญญาณเตือนภัย ป้ายแสดงเส้นทางอพยพ ยังไม่สามารถตอบสนอง
ความคาดหวัง-ความต้องการของประชาชนได้ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.84 ต่อ 3.24
อันดับที่หก ได้แก่ เรื่องการซ่อมแซมและจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้ประสบภัยยังไม่สามารถตอบสนอง ความคาดหวัง-ความต้องการ
ของผู้รอดชีวิตได้ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.51 ของความคาดหวัง-ความต้องการของประชาชน ต่อ 2.92 ของการเห็นผลปฏิบัติจริง
และอันดับที่เจ็ด ได้แก่ เรื่องการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง-ความต้องการของประชาชนได้
ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.77 ของความคาดหวัง-ความต้องการของประชาชน ต่อ 3.19 ของการเห็นผลปฏิบัติจริง
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิส่วนใหญ่มีสภาพจิตใจที่ ย่ำแย่กว่าสภาพจิตใจของ
ประชาชนทั่วๆ ไปหลายประเด็น ซึ่งผลสำรวจพบว่า ผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัย สึนามิส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.2 รู้สึกว่าชีวิตเปลี่ยน
แปลงไปมาก ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มประชาชนทั่วไปในพื้นที่ ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้ที่มีอยู่ร้อยละ 51.6
ในขณะเดียวกันส่วนใหญ่ของผู้รอดชีวิตจากภัยสึนามิ (ร้อยละ 67.7) และประชาชนทั่วไป (ร้อยละ 60.6) ในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ 6
จังหวัดภาคใต้ต่างก็มีสภาพจิตใจไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ ยังคงรู้สึกเศร้า หดหู่แม้ว่า ครอบครัวจะคอยช่วยเหลือและให้กำลังใจ
ผลข้างเคียงด้านจิตใจที่เกิดขึ้นตามมาคือ ผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.1 รู้สึกตื่นเต้นและกระวน
กระวายใจมากกว่าปกติ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.6 ของกลุ่มผู้รอดชีวิตระบุว่า รู้สึกกลัวโดยไม่มีเหตุผลในบางครั้ง ในขณะที่กลุ่มผู้รอดชีวิต
จากภัยสึนามิจำนวนมากหรือร้อยละ 44.4 และเกินกว่า 1 ใน 3 เล็กน้อยหรือร้อยละ 35.5 ที่มักจะรู้สึกหงุดหงิดคับข้องใจได้ง่ายกว่าปกติและ
พูดคุยน้อยลงกว่าปกติ ตามลำดับ
นอกจากนี้ ด้านที่ตัวอย่างต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในวันครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์ สึนามิมากที่สุด 5 อันดับ
แรก คือ ด้านการประกอบอาชีพ เช่น จัดหางานให้ทำ จัดหาทุนในการประกอบอาชีพ จัดหาเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ จัดหาแหล่งที่ดินทำกิน
ร้อยละ 38.2 ด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เช่น รณรงค์ การท่องเที่ยว การโรงแรม ร้อยละ 22.7 ด้านการเงิน เช่น เงินชดเชย เงินทุน ร้อย
ละ 10.6 ด้านที่พักอาศัย เช่น การจัดสร้าง / จัดหา ร้อยละ 10.3 และด้านการศึกษา เช่น ทุนการศึกษา พัฒนาโรงเรียน ร้อยละ 10.2
สำหรับหน่วยงานที่ตัวอย่างระบุว่าพึงพอใจมากที่สุดในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ภายหลังเหตุการณ์ สึนามิ 3 อันดับแรก คือ
มูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิสิรินธร มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิศุภนิมิตร มูลนิธิสุพรรณนิมิต มูลนิธิบรรเทาสาธารณภัยในภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิคาทอลิก ร้อยละ
30.7 หน่วยงานรัฐบาล เช่น ศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย (ปภ.) ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลและชายฝั่ง (รสทช.) สถาบันนิติ
เวช ร้อยละ 28.7 อาสาสมัครและหน่วยกู้ภัย ร้อยละ 14.4 ตัวอย่างยังระบุถึงด้านการดำเนินงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่พอใจมากที่
สุด 5 อันดับแรก คือ ด้านที่พักอาศัย ร้อยละ 27.1 ด้านการให้ความช่วยเหลือภายหลังประสบภัย เช่น ความรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือ
เบื้องต้น การประสานงานค้นหาผู้สูญหาย การชันสูตรศพ ร้อยละ 14.4 ด้านสาธารณสุข เช่น การรักษาพยาบาล ร้อยละ 13.2 ด้านสิ่งของอุปโภค
บริโภค เช่น สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ร้อยละ 11.6 และด้านการเงิน เช่น เงินทุน เงินชดเชย ร้อยละ 7.9 นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ
11.2 ระบุว่าไม่พอใจการดำเนินงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านใดเลย
สำหรับสิ่งที่ตัวอย่างต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนเพิ่มเติม 5 อันดับแรก คือ ด้านการ
ประกอบอาชีพ เช่น จัดหาเครื่องมือทำมาหากิน จัดหาแหล่งที่ดิน ทำกิน จัดหาเงินทุน ร้อยละ 55.2 ด้านที่อยู่อาศัย เช่น การจัดหาและจัดสร้าง ร้อย
ละ 15.5 ด้านเศรษฐกิจ เช่น ค่าครองชีพ ร้อยละ 14.1 ด้าน การศึกษา เช่น ทุนการศึกษา การสนับสนุนการศึกษาเด็กกำพร้าที่สูญเสียพ่อแม่ ผู้
ปกครองไปในเหตุการณ์สึนามิ ร้อยละ 11.1 และด้านการท่องเที่ยว ร้อยละ 8.9
ประเด็นสุดท้ายที่น่าพิจารณาคือ เมื่อผู้วิจัยสอบถามถึงสภาพความเป็นอยู่ทั่วไปของตัวอย่างพบว่า รายได้โดยเฉลี่ยของตัวอย่างก่อนประสบ
ภัยสึนามิอยู่ที่ 15,337 บาทต่อเดือน หลังจากประสบภัยสึนามิอยู่ที่ 10,119 บาทต่อเดือน จะเห็นได้ว่ารายได้ของตัวอย่างภายหลังประสบภัยสึนามิลดลง
ถึง 5,218 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ยของผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิต่อความคาดหวังและการปฏิบัติงานจริง
ของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ (คะแนนเต็ม 5)
ประเด็นต่างๆ ผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิ
ความคาดหวัง การปฏิบัติงานจริง
1. ด้านการซ่อมแซมและจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้ประสบภัย 3.51 2.92
2. ด้านการซ่อมแซมและจัดสร้างสถานศึกษา เช่น โรงเรียน ห้องสมุด 3.75 3.47
3. ด้านการซ่อมแซมและจัดสร้างศาสนสถาน เช่น วัด โบสถ์ มัสยิด 3.50 3.05
4. ด้านการซ่อมแซมและจัดสร้างถนน / เส้นทางในการคมนาคม 3.72 3.22
5. ด้านสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ 3.72 3.21
6. ด้านสาธารณสุข เช่น ตรวจสุขภาพ รักษาพยาบาล 3.77 3.39
7. ด้านการฟื้นฟูสภาพจิตใจ เช่น การให้คำปรึกษา การให้คำแนะนำ 3.58 3.11
8. ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิ 3.77 3.19
9. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน 3.57 2.53
10. การให้ความช่วยเหลือด้านสิ่งของ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ในชีวิตประจำวัน 3.71 3.28
11. การให้กำลังใจจากคนภายในประเทศ 4.03 4.00
12. การให้ความช่วยเหลือจากอาสาสมัครต่างๆ 3.74 3.59
13. การจัดตั้งระบบเตือนภัย เช่น การติดตั้งสัญญาณเตือนภัยป้ายแสดงเส้นทางการอพยพ 3.84 3.24
14. ด้านจัดหางาน จัดหาแหล่งที่ดินทำกิน 3.60 2.63
15. ความช่วยเหลือด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการประกอบอาชีพ 3.62 2.62
16. การส่งเสริมการท่องเที่ยว 3.66 2.99
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสภาพจิตใจภายหลังเหตุการณ์สึนามิ
สภาพจิตใจ ผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิ ประชาชนทั่วไป
1. ท่านรู้สึกว่าชีวิตของท่านเปลี่ยนแปลงไปมาก 73.2 51.6
2. ท่านยังคงรู้สึกเศร้าและหดหู่ แม้ว่าครอบครัวหรือเพื่อน
จะคอยช่วยเหลือและให้กำลังใจ 67.7 60.6
3. ท่านรู้สึกตื่นเต้นและกระวนกระวายมากกว่าปกติ 67.1 58.5
4. ท่านรู้สึกกลัวโดยไม่มีเหตุผลในบางครั้ง 61.6 49.9
5. ท่านหลับง่ายและหลับสนิทตลอดคืน 57.6 73.7
6. ท่านรู้สึกว่าชีวิตมีความสุข 56.6 69.0
7. ท่านรู้สึกว่าทุกอย่างเรียบร้อยดีและไม่มีเรื่องร้ายเกิดขึ้น 51.5 63.2
8. ท่านมักจะรู้สึกหงุดหงิด / คับข้องใจได้ง่ายกว่าปกติ 44.4 32.0
9. ท่านพูดคุยน้อยลงกว่าปกติ 35.5 30.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุด้านที่ต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ในวันครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์สึนามิมากที่สุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ด้านที่ต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในวันครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์สึนามิ ค่าร้อยละ
1 ด้านการประกอบอาชีพ เช่น จัดหางานให้ทำ จัดหาทุนในการประกอบอาชีพ
จัดหาเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ จัดหาแหล่งที่ดินทำกิน 38.2
2 ด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เช่น รณรงค์การท่องเที่ยว การโรงแรม 22.7
3 ด้านการเงิน เช่น เงินชดเชย เงินทุน 10.6
4 ด้านที่พักอาศัย เช่น การจัดสร้าง / จัดหาที่พักอาศัย 10.3
5 ด้านการศึกษา เช่น ทุนการศึกษา / พัฒนาโรงเรียน 10.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อหน่วยงานที่ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อหน่วยงานที่ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ค่าร้อยละ
1 มูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิสิรินธร มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิศุภนิมิตร มูลนิธิสุพรรณนิมิต
มูลนิธิบรรเทาสาธารณภัยในภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิคาทอลิก 30.7
2 หน่วยงานรัฐบาล เช่น ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลและชายฝั่ง (รสทช.) สถาบันนิติเวช 28.7
3 อาสาสมัครและหน่วยกู้ภัย 14.4
4 หน่วยงานท้องถิ่น เช่น เทศบาล อำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 12.2
5 หน่วยงานต่างประเทศ 11.8
6 หน่วยงานสาธารณสุข เช่น สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.)
สภากาชาดไทย สำนักอนามัย กรมการแพทย์ 10.8
7 ประชาชนทั่วไป 1.9
8 อื่นๆ เช่น ประชาชนทั่วไป หน่วยงานผู้ด้อยโอกาส หน่วยงานอุตสาหกรรม 1.8
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อด้านการดำเนินงานของรัฐบาลหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวมากที่สุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยว ค่าร้อยละ
1 ด้านที่พักอาศัย 27.1
2 ด้านการให้ความช่วยเหลือภายหลังประสบภัย เช่น ความรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
การประสานงานค้นหาผู้สูญหาย การตรวจชันสูตรศพ 14.4
3 ด้านสาธารณสุข เช่น การรักษาพยาบาล 13.2
4 ด้านสิ่งของอุปโภค บริโภค เช่น สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม 11.6
5 ด้านการเงิน เช่น เงินทุน เงินชดเชย 7.9
6 ด้านการประกอบอาชีพ เช่น การจัดหางาน การจัดหาที่ดินทำมาหากิน
การจัดหาเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ 5.9
7 ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล 4.6
8 ด้านการศึกษา เช่น ทุนการศึกษา 4.0
9 ด้านการฟื้นฟูสภาพจิตใจ 3.1
10 อื่นๆ เช่น ด้านระบบป้องกันและการเตือนภัย ด้านการให้ความช่วยเหลือเด็กกำพร้าและผู้สูงอายุ 3.1
11 ไม่พอใจการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 11.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุด้านที่ต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้ความช่วยเหลือ / สนับสนุนเพิ่มเติม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ด้านที่ต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือ / สนับสนุนเพิ่มเติม ค่าร้อยละ
1 ด้านการประกอบอาชีพ เช่น จัดหาเครื่องมือทำมาหากิน จัดหาแหล่งที่ดิน ทำกิน จัดหาเงินทุน 55.2
2 ด้านที่อยู่อาศัย เช่น การจัดหาและจัดสร้าง 15.5
3 ด้านเศรษฐกิจ เช่น ค่าครองชีพ 14.1
4 ด้านการศึกษา เช่น ทุนการศึกษา การสนับสนุนการศึกษาเด็กกำพร้าที่สูญเสียพ่อแม่
ผู้ปกครองไปในเหตุการณ์สึนามิ 11.1
5 ด้านการท่องเที่ยว 8.9
6 ด้านการพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะธรรมชาติทางทะเล 3.8
7 ด้านการฟื้นฟูสภาพจิตใจ 3.8
8 อื่นๆ เช่น ด้านศาสนา ด้านการคมนาคม ด้านการดูแลผู้ประสบภัยระยะยาว
ผู้สูงอายุ เด็กกำพร้า คนพิการ 11.9
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดภัยพิบัติทางทะเลที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง คือ คลื่นยักษ์สึนามิ อันเกิดจากแผ่นดิน
ไหวที่มีจุดศูนย์กลางจากเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เข้าถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ อันได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ตรัง สตูล และภูเก็ต ก่อ
ให้เกิดความเสียหายต่างๆ มากมาย เกินกว่าจะประมาณค่าได้ ซึ่งความเสียหายเหล่านี้ ไม่ได้หมายรวมแค่ความเสียหายทางด้านทรัพย์สินที่มี
มูลค่ามากกว่าหลายล้านบาท ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ ในเวลาต่อมา แต่ยังหมายรวมถึงความเสียหายทางด้านร่างกายของผู้ประสบ
ภัย ความเสียหายทางด้านสภาพจิตใจ อันได้แก่ ความหวาดกลัว ความไม่มั่นคงทางจิตใจ สภาวะตึงเครียด ทั้งของตัวผู้ประสบภัยเองหรือแม้แต่
ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัยก็ตาม ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้ยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือใน
การฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่และสภาพจิตใจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ตระหนักถึงการดำเนินการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงทำ
การศึกษาวิจัยเพื่อสะท้อนสภาพความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ และจิตใจ เมื่อครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์สึนามิ ตลอดจนความคิดเห็นของผู้ประสบภัยและ
ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้ เพื่อนำเสนอต่อสังคมโดยรวม โดยทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ ด้วย
การส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลง พื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสภาพความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ และจิตใจ เมื่อครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์สึนามิ ของผู้ประสบภัยและประชาชนที่
อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้
2. เพื่อเปรียบเทียบระดับความคาดหวัง-ความต้องการกับการปฏิบัติงานจริงของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นการดำเนิน
การให้ความช่วยเหลือต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับการดำเนินการให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สภาพความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ และจิตใจ เมื่อ
ครบรอบ 1 ปี เหตุการณ์สึนามิ: กรณีศึกษาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งดำเนินโครงการ
สำรวจ ระหว่างวันที่ 13-21 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ ได้แก่ ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับ ผลกระทบทั้งทางด้านร่าง
กาย จิตใจ และทรัพย์สิน และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้ อันได้แก่ จังหวัดระนอง
พังงา กระบี่ ตรัง สตูล และภูเก็ต
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง คือ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิสองขั้น (Stratified two-stage Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,546 ตัวอย่าง จำแนกเป็นกลุ่มผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัย สึนามิ จำนวน 1,106
ตัวอย่าง และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 440 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ +/- ร้อยละ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.9 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 42.1 เป็นเพศชาย ตัวอย่างมากกว่าครึ่ง
หรือร้อยละ 50.4 มีอายุระหว่าง 30-49 ปี ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 14.6 อายุระหว่าง 50-59 ปี ร้อยละ 7.7 มีอายุ
ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 5.4 อายุระหว่าง 15-19 ปี ตัวอย่างร้อยละ 66.3 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 32.7 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อย
ละ 1.0 นับถือศาสนาคริสต์ ตัวอย่างร้อยละ 39.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษา ร้อยละ 17.8 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลายหรือเทียบเท่า ร้อยละ 17.1 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า ร้อยละ 14.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ
9.8 สำเร็จการศึกษาระดับปวส. / อนุปริญญาหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ซึ่ง ตัวอย่างร้อยละ
33.8 ระบุอาชีพค้าขาย / กิจการส่วนตัว ร้อยละ 17.6 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 9.6 อาชีพประมง ร้อยละ 39.0 อาชีพอื่นๆ อาทิ
เกษตรกร พนักงานบริษัทเอกชน เป็นต้น
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “สภาพความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ และจิตใจ
ภายหลังครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์สึนามิ: กรณีศึกษาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิและประชาชน ทั่วไปในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้” ซึ่งได้ทำการ
เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิและ ประชาชนทั่วไปในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้น 1,546 ตัวอย่าง ใน
ระหว่างวันที่ 13-21 ธันวาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวว่า การทำโพลล์ครั้งนี้แตกต่างไปจากการทำสำรวจครั้งที่ผ่านๆ มา เนื่อง
จากมีการนำค่าคะแนนเฉลี่ยที่คะแนนเต็ม 5 คะแนนมาประยุกต์ใช้เพื่อวัด “ความคาดหวัง-ความต้องการ” ของกลุ่มผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ
เปรียบเทียบกับ “การได้รับปฏิบัติการช่วยเหลือจริง” จาก หน่วยงานต่างๆ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ความคาดหวัง-ความต้องการของประชาชนสูงกว่าการ
ได้รับความช่วยเหลือด้านต่างๆ ในทุกเรื่อง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเยียวยาผู้รอดชีวิตและผู้ประสบภัยสึนามิยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง-ความ
ต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึงตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สภาพจิตใจของประชาชนผู้รอดชีวิตและผู้ประสบภัยสึนามิยังอยู่ในสภาพที่
ย่ำแย่ และมีปัญหาในหลายๆ ด้าน
อันดับที่หนึ่ง ได้แก่ เรื่องการเยียวยาช่วยเหลือด้านการเงินเป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง-ความต้องการของประชาชน
ผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิมากที่สุด เนื่องจากคะแนนเฉลี่ยความคาดหวัง-ความต้องการและคะแนนเฉลี่ยการได้รับการปฏิบัติการช่วย
เหลือเยียวยาด้านการเงิน (3.57 ต่อ 2.53) มีช่องว่างห่างกันมากที่สุด
อันดับที่สอง ได้แก่ เรื่องการเยียวยาช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในการประกอบอาชีพที่ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง-
ความต้องการของประชาชนได้ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.62 ต่อ 2.62
อันดับที่สาม ได้แก่เรื่องการจัดหางาน จัดหาแหล่งที่ดินทำกินที่ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง- ความต้องการของประชาชนได้
ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.60 ต่อ 2.63
อันดับที่สี่ ได้แก่ เรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง-ความต้องการของ ประชาชนได้ด้วยคะแนน
เฉลี่ย 3.66 ต่อ 2.99
อันดับที่ห้า ได้แก่ เรื่องการจัดตั้งระบบเตือนภัย เช่น การติดตั้งสัญญาณเตือนภัย ป้ายแสดงเส้นทางอพยพ ยังไม่สามารถตอบสนอง
ความคาดหวัง-ความต้องการของประชาชนได้ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.84 ต่อ 3.24
อันดับที่หก ได้แก่ เรื่องการซ่อมแซมและจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้ประสบภัยยังไม่สามารถตอบสนอง ความคาดหวัง-ความต้องการ
ของผู้รอดชีวิตได้ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.51 ของความคาดหวัง-ความต้องการของประชาชน ต่อ 2.92 ของการเห็นผลปฏิบัติจริง
และอันดับที่เจ็ด ได้แก่ เรื่องการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวัง-ความต้องการของประชาชนได้
ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.77 ของความคาดหวัง-ความต้องการของประชาชน ต่อ 3.19 ของการเห็นผลปฏิบัติจริง
ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิส่วนใหญ่มีสภาพจิตใจที่ ย่ำแย่กว่าสภาพจิตใจของ
ประชาชนทั่วๆ ไปหลายประเด็น ซึ่งผลสำรวจพบว่า ผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัย สึนามิส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.2 รู้สึกว่าชีวิตเปลี่ยน
แปลงไปมาก ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มประชาชนทั่วไปในพื้นที่ ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้ที่มีอยู่ร้อยละ 51.6
ในขณะเดียวกันส่วนใหญ่ของผู้รอดชีวิตจากภัยสึนามิ (ร้อยละ 67.7) และประชาชนทั่วไป (ร้อยละ 60.6) ในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ 6
จังหวัดภาคใต้ต่างก็มีสภาพจิตใจไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ ยังคงรู้สึกเศร้า หดหู่แม้ว่า ครอบครัวจะคอยช่วยเหลือและให้กำลังใจ
ผลข้างเคียงด้านจิตใจที่เกิดขึ้นตามมาคือ ผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.1 รู้สึกตื่นเต้นและกระวน
กระวายใจมากกว่าปกติ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.6 ของกลุ่มผู้รอดชีวิตระบุว่า รู้สึกกลัวโดยไม่มีเหตุผลในบางครั้ง ในขณะที่กลุ่มผู้รอดชีวิต
จากภัยสึนามิจำนวนมากหรือร้อยละ 44.4 และเกินกว่า 1 ใน 3 เล็กน้อยหรือร้อยละ 35.5 ที่มักจะรู้สึกหงุดหงิดคับข้องใจได้ง่ายกว่าปกติและ
พูดคุยน้อยลงกว่าปกติ ตามลำดับ
นอกจากนี้ ด้านที่ตัวอย่างต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในวันครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์ สึนามิมากที่สุด 5 อันดับ
แรก คือ ด้านการประกอบอาชีพ เช่น จัดหางานให้ทำ จัดหาทุนในการประกอบอาชีพ จัดหาเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ จัดหาแหล่งที่ดินทำกิน
ร้อยละ 38.2 ด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เช่น รณรงค์ การท่องเที่ยว การโรงแรม ร้อยละ 22.7 ด้านการเงิน เช่น เงินชดเชย เงินทุน ร้อย
ละ 10.6 ด้านที่พักอาศัย เช่น การจัดสร้าง / จัดหา ร้อยละ 10.3 และด้านการศึกษา เช่น ทุนการศึกษา พัฒนาโรงเรียน ร้อยละ 10.2
สำหรับหน่วยงานที่ตัวอย่างระบุว่าพึงพอใจมากที่สุดในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ภายหลังเหตุการณ์ สึนามิ 3 อันดับแรก คือ
มูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิสิรินธร มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิศุภนิมิตร มูลนิธิสุพรรณนิมิต มูลนิธิบรรเทาสาธารณภัยในภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิคาทอลิก ร้อยละ
30.7 หน่วยงานรัฐบาล เช่น ศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย (ปภ.) ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลและชายฝั่ง (รสทช.) สถาบันนิติ
เวช ร้อยละ 28.7 อาสาสมัครและหน่วยกู้ภัย ร้อยละ 14.4 ตัวอย่างยังระบุถึงด้านการดำเนินงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่พอใจมากที่
สุด 5 อันดับแรก คือ ด้านที่พักอาศัย ร้อยละ 27.1 ด้านการให้ความช่วยเหลือภายหลังประสบภัย เช่น ความรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือ
เบื้องต้น การประสานงานค้นหาผู้สูญหาย การชันสูตรศพ ร้อยละ 14.4 ด้านสาธารณสุข เช่น การรักษาพยาบาล ร้อยละ 13.2 ด้านสิ่งของอุปโภค
บริโภค เช่น สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ร้อยละ 11.6 และด้านการเงิน เช่น เงินทุน เงินชดเชย ร้อยละ 7.9 นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ
11.2 ระบุว่าไม่พอใจการดำเนินงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านใดเลย
สำหรับสิ่งที่ตัวอย่างต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนเพิ่มเติม 5 อันดับแรก คือ ด้านการ
ประกอบอาชีพ เช่น จัดหาเครื่องมือทำมาหากิน จัดหาแหล่งที่ดิน ทำกิน จัดหาเงินทุน ร้อยละ 55.2 ด้านที่อยู่อาศัย เช่น การจัดหาและจัดสร้าง ร้อย
ละ 15.5 ด้านเศรษฐกิจ เช่น ค่าครองชีพ ร้อยละ 14.1 ด้าน การศึกษา เช่น ทุนการศึกษา การสนับสนุนการศึกษาเด็กกำพร้าที่สูญเสียพ่อแม่ ผู้
ปกครองไปในเหตุการณ์สึนามิ ร้อยละ 11.1 และด้านการท่องเที่ยว ร้อยละ 8.9
ประเด็นสุดท้ายที่น่าพิจารณาคือ เมื่อผู้วิจัยสอบถามถึงสภาพความเป็นอยู่ทั่วไปของตัวอย่างพบว่า รายได้โดยเฉลี่ยของตัวอย่างก่อนประสบ
ภัยสึนามิอยู่ที่ 15,337 บาทต่อเดือน หลังจากประสบภัยสึนามิอยู่ที่ 10,119 บาทต่อเดือน จะเห็นได้ว่ารายได้ของตัวอย่างภายหลังประสบภัยสึนามิลดลง
ถึง 5,218 บาทต่อเดือน
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ยของผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิต่อความคาดหวังและการปฏิบัติงานจริง
ของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ (คะแนนเต็ม 5)
ประเด็นต่างๆ ผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิ
ความคาดหวัง การปฏิบัติงานจริง
1. ด้านการซ่อมแซมและจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้ประสบภัย 3.51 2.92
2. ด้านการซ่อมแซมและจัดสร้างสถานศึกษา เช่น โรงเรียน ห้องสมุด 3.75 3.47
3. ด้านการซ่อมแซมและจัดสร้างศาสนสถาน เช่น วัด โบสถ์ มัสยิด 3.50 3.05
4. ด้านการซ่อมแซมและจัดสร้างถนน / เส้นทางในการคมนาคม 3.72 3.22
5. ด้านสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ 3.72 3.21
6. ด้านสาธารณสุข เช่น ตรวจสุขภาพ รักษาพยาบาล 3.77 3.39
7. ด้านการฟื้นฟูสภาพจิตใจ เช่น การให้คำปรึกษา การให้คำแนะนำ 3.58 3.11
8. ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิ 3.77 3.19
9. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน 3.57 2.53
10. การให้ความช่วยเหลือด้านสิ่งของ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ในชีวิตประจำวัน 3.71 3.28
11. การให้กำลังใจจากคนภายในประเทศ 4.03 4.00
12. การให้ความช่วยเหลือจากอาสาสมัครต่างๆ 3.74 3.59
13. การจัดตั้งระบบเตือนภัย เช่น การติดตั้งสัญญาณเตือนภัยป้ายแสดงเส้นทางการอพยพ 3.84 3.24
14. ด้านจัดหางาน จัดหาแหล่งที่ดินทำกิน 3.60 2.63
15. ความช่วยเหลือด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการประกอบอาชีพ 3.62 2.62
16. การส่งเสริมการท่องเที่ยว 3.66 2.99
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสภาพจิตใจภายหลังเหตุการณ์สึนามิ
สภาพจิตใจ ผู้รอดชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิ ประชาชนทั่วไป
1. ท่านรู้สึกว่าชีวิตของท่านเปลี่ยนแปลงไปมาก 73.2 51.6
2. ท่านยังคงรู้สึกเศร้าและหดหู่ แม้ว่าครอบครัวหรือเพื่อน
จะคอยช่วยเหลือและให้กำลังใจ 67.7 60.6
3. ท่านรู้สึกตื่นเต้นและกระวนกระวายมากกว่าปกติ 67.1 58.5
4. ท่านรู้สึกกลัวโดยไม่มีเหตุผลในบางครั้ง 61.6 49.9
5. ท่านหลับง่ายและหลับสนิทตลอดคืน 57.6 73.7
6. ท่านรู้สึกว่าชีวิตมีความสุข 56.6 69.0
7. ท่านรู้สึกว่าทุกอย่างเรียบร้อยดีและไม่มีเรื่องร้ายเกิดขึ้น 51.5 63.2
8. ท่านมักจะรู้สึกหงุดหงิด / คับข้องใจได้ง่ายกว่าปกติ 44.4 32.0
9. ท่านพูดคุยน้อยลงกว่าปกติ 35.5 30.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุด้านที่ต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ในวันครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์สึนามิมากที่สุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ด้านที่ต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในวันครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์สึนามิ ค่าร้อยละ
1 ด้านการประกอบอาชีพ เช่น จัดหางานให้ทำ จัดหาทุนในการประกอบอาชีพ
จัดหาเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ จัดหาแหล่งที่ดินทำกิน 38.2
2 ด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เช่น รณรงค์การท่องเที่ยว การโรงแรม 22.7
3 ด้านการเงิน เช่น เงินชดเชย เงินทุน 10.6
4 ด้านที่พักอาศัย เช่น การจัดสร้าง / จัดหาที่พักอาศัย 10.3
5 ด้านการศึกษา เช่น ทุนการศึกษา / พัฒนาโรงเรียน 10.2
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อหน่วยงานที่ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อหน่วยงานที่ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ค่าร้อยละ
1 มูลนิธิต่างๆ เช่น มูลนิธิสิรินธร มูลนิธิชัยพัฒนา มูลนิธิศุภนิมิตร มูลนิธิสุพรรณนิมิต
มูลนิธิบรรเทาสาธารณภัยในภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิคาทอลิก 30.7
2 หน่วยงานรัฐบาล เช่น ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลและชายฝั่ง (รสทช.) สถาบันนิติเวช 28.7
3 อาสาสมัครและหน่วยกู้ภัย 14.4
4 หน่วยงานท้องถิ่น เช่น เทศบาล อำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 12.2
5 หน่วยงานต่างประเทศ 11.8
6 หน่วยงานสาธารณสุข เช่น สำนักงานกลางสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.)
สภากาชาดไทย สำนักอนามัย กรมการแพทย์ 10.8
7 ประชาชนทั่วไป 1.9
8 อื่นๆ เช่น ประชาชนทั่วไป หน่วยงานผู้ด้อยโอกาส หน่วยงานอุตสาหกรรม 1.8
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อด้านการดำเนินงานของรัฐบาลหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวมากที่สุด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยว ค่าร้อยละ
1 ด้านที่พักอาศัย 27.1
2 ด้านการให้ความช่วยเหลือภายหลังประสบภัย เช่น ความรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
การประสานงานค้นหาผู้สูญหาย การตรวจชันสูตรศพ 14.4
3 ด้านสาธารณสุข เช่น การรักษาพยาบาล 13.2
4 ด้านสิ่งของอุปโภค บริโภค เช่น สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม 11.6
5 ด้านการเงิน เช่น เงินทุน เงินชดเชย 7.9
6 ด้านการประกอบอาชีพ เช่น การจัดหางาน การจัดหาที่ดินทำมาหากิน
การจัดหาเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ 5.9
7 ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล 4.6
8 ด้านการศึกษา เช่น ทุนการศึกษา 4.0
9 ด้านการฟื้นฟูสภาพจิตใจ 3.1
10 อื่นๆ เช่น ด้านระบบป้องกันและการเตือนภัย ด้านการให้ความช่วยเหลือเด็กกำพร้าและผู้สูงอายุ 3.1
11 ไม่พอใจการทำงานของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 11.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุด้านที่ต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้ความช่วยเหลือ / สนับสนุนเพิ่มเติม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ด้านที่ต้องการให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือ / สนับสนุนเพิ่มเติม ค่าร้อยละ
1 ด้านการประกอบอาชีพ เช่น จัดหาเครื่องมือทำมาหากิน จัดหาแหล่งที่ดิน ทำกิน จัดหาเงินทุน 55.2
2 ด้านที่อยู่อาศัย เช่น การจัดหาและจัดสร้าง 15.5
3 ด้านเศรษฐกิจ เช่น ค่าครองชีพ 14.1
4 ด้านการศึกษา เช่น ทุนการศึกษา การสนับสนุนการศึกษาเด็กกำพร้าที่สูญเสียพ่อแม่
ผู้ปกครองไปในเหตุการณ์สึนามิ 11.1
5 ด้านการท่องเที่ยว 8.9
6 ด้านการพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะธรรมชาติทางทะเล 3.8
7 ด้านการฟื้นฟูสภาพจิตใจ 3.8
8 อื่นๆ เช่น ด้านศาสนา ด้านการคมนาคม ด้านการดูแลผู้ประสบภัยระยะยาว
ผู้สูงอายุ เด็กกำพร้า คนพิการ 11.9
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-