ที่มาของโครงการ
รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หมดวาระลงภายหลังได้บริหารราชการแผ่นดินมาครบ 4 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ พรรคไทยรักไทยได้ประกาศว่าเป็นช่วงเวลาของ 4 ปีซ่อม ในขณะที่ผลการเลือกตั้งที่ออกมาอย่างไม่เป็นทางการเป็นไปตามความคาดหมายของหลายๆฝ่ายว่า พรรคไทยรักไทยน่าจะสามารถจัดตั้งเป็นรัฐบาลพรรคเดียวได้ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะบริหารราชการแผ่นดินต่อไปอีก 4 ปีข้างหน้าตามที่พรรคไทยรักไทยประกาศไว้ว่าจะเป็นช่วงเวลาของ 4 ปีสร้าง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สนใจดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในลักษณะของการประเมินผลการทำงานของรัฐบาลในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาและสำรวจความคิดเห็นต่อ 4 ปีข้างหน้าของรัฐบาลทักษิณ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่
2. เพื่อสำรวจความคาดหวังของประชาชนต่อรัฐบาลชุดใหม่ในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ปิดฉาก 4 ปีซ่อม มอง 4 ปีสร้างของรัฐบาลทักษิณในทรรศนะของประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2-7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโนในเขตเลือกตั้งต่างๆ จาก 25 จังหวัดของทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงราย เชียงใหม่ นครนายก เพชรบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี เลย กาฬสินธุ์ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา ระนอง ชุมพร ตรัง และนครศรีธรรมราช
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 5,724 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.5 ระบุเป็นเพศชาย ในขณะที่ ร้อยละ 48.5 ระบุเป็นเพศหญิง ร้อยละ 25.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 23.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี ร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 7.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 76.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 2.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 47.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 15.6 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 4.5 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 2.2 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุการณ์ที่ทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลภายใต้การนำ
ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาลทักษิณ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่ทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 55.1
2 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 53.9
3 ปัญหาสินค้าราคาแพง 49.0
4 ปัญหาการว่างงาน 29.2
5 ปัญหาสินค้าการเกษตรตกต่ำ 28.7
6 การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก และโรคซาร์ 23.9
7 ปัญหาผู้มีอิทธิพล 23.8
8 ปัญหาความขัดแย้งภายในรัฐบาล 20.4
9 ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนักวิชาการ
ผู้ออกมาตอบโต้รัฐบาล 19.9
10 การแพร่ระบาดของยาเสพติด 16.1
11 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 15.3
12 การละเมิดสิทธิเสรีภาพและการแทรกแซง
การทำงานของสื่อมวลชน 14.7
13 ปัญหาในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 14.3
14 ปัญหาในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 12.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อผลงานของรัฐบาลตลอดระยะเวลา 4 ปี
ที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานของรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 การแก้ปัญหายาเสพติด 87.6
2 โครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ ต่อ 1 ตำบล 85.4
3 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 83.8
4 การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท 77.9
5 การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย 73.4
6 การจัดตั้งธนาคารประชาชน 60.8
7 การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 57.7
8 การพัฒนารัฐวิสาหกิจ 46.3
9 การจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลาง/เล็ก 39.6
10 การจัดตั้งทีเอเอ็มซีแห่งชาติ (TAMC) 33.6
ตารางที่ 3 แสดงการจัด 10 อันดับ กระทรวง/หน่วยงานราชการที่มีผลงานน่าประทับใจในรอบ 4 ปี
ที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กระทรวง/หน่วยงานราชการ ค่าร้อยละ
1 กระทรวงสาธารณสุข 34.7
2 กระทรวงมหาดไทย 23.3
3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 14.3
4 โรงพยาบาลประจำจังหวัด/สถานีอนามัย 14.1
5 กระทรวงยุติธรรม 11.4
6 ที่ว่าการอำเภอ 8.5
7 กระทรวงการคลัง 7.0
8 สถานีตำรวจในพื้นที่ 7.0
9 กระทรวงคมนาคม 5.8
10 อื่นๆ อาทิ กระทรวงกลาโหม / กระทรวง
การท่องเที่ยวและการกีฬา /อบต. /
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม /
กระทรวงพาณิชย์/กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น 10.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกถ้าพรรคไทยรักไทยได้จัดตั้งเป็นรัฐบาลต่อไป
ลำดับที่ ความรู้สึกของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รู้สึกดีใจ 73.8
2 เศร้าใจ 5.1
3 ไม่มีความเห็น 21.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “พรรคไทยรักไทยควรจัดตั้งเป็น
รัฐบาลพรรคเดียว”
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรเป็นรัฐบาลพรรคเดียว 45.1
2 ไม่ควร 30.8
3 ไม่มีความเห็น 24.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ระบุว่าพรรคไทยรักไทยควรจัดตั้งเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ให้เหตุผลต่างๆ อาทิ
- เพื่อให้รัฐบาลมีความเป็นเอกภาพในการทำงานบริหารประเทศ
- เชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรี
- พรรคไทยรักไทยมีผลงานที่ผ่านมาน่าประทับใจ
- อยากให้สานงานต่อจากสมัยที่แล้ว
- สามารถตัดสินใจได้เด็ดขาด
- สามารถดำเนินงานตามนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฯลฯ เป็นต้น
ตัวอย่างที่ระบุว่าพรรคไทยรักไทยไม่ควรจัดตั้งเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ให้เหตุผลต่างๆอาทิ
- ต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจกัน
- จะได้ระดมความคิดเห็นจากหลายๆพรรค
- จะได้มีหลายๆ พรรคทำงานร่วมกัน
- ถ้ามีพรรคเดียวจะเป็นเผด็จการมากเกินไป
- จะได้มีการตรวจสอบการทำงานซึ่งกันและกัน ฯลฯ เป็นต้น
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลทักษิณทำอย่างเร่งด่วนในช่วงเวลา 4 ปี
ข้างหน้า (4 ปีแห่งการสร้างที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลทำ) :ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ
ลำดับที่ สิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลทำอย่างเร่งด่วนในช่วง 4 ปีข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 ลูกหลานไทยเรียนไม่ต้องจ่ายเงินจนถึงมหาวิทยาลัย 89.4
2 ทำสงครามกับยาเสพติดไม่หยุดยั้ง 80.2
3 เกษตรกรกู้สร้างอาชีพ 79.7
4 ประชาชนที่มีรายได้จะต้องมีบ้านเป็นของตนเอง 78.5
5 คาราวานแก้จนบุกทุกหลังคาเรือน 72.4
6 ลดภาษีให้ลูกที่เลี้ยงพ่อแม่รวมทั้งพ่อตาแม่ยาย 71.1
7 จัดสรรงบ 1 ล้านล้านบาทสร้างระบบรถไฟฟ้า 69.8
8 ติดคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนตทุกโรงเรียนทั่วประเทศ 64.8
9 แปลงกองทุนหมู่บ้านที่มีความพร้อมให้เป็นธนาคารหมู่บ้าน 64.0
10 โครงการประปาหมู่บ้านให้ทุกหมู่บ้านและทุกหลังคาต้องมีไฟฟ้า 55.7
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “รัฐบาลใหม่จะอยู่ครบเทอมนานถึง
4 ปีหรือไม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าอยู่ครบเทอม 4 ปี 64.3
2 ไม่คิดว่าจะอยู่ครบเทอม 14.9
3 ไม่มีความเห็น 20.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ต้องการ(ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของ ครม.ชุดใหม่ที่ต้องการ ค่าร้อยละ
1 มีความซื่อสัตย์/ไม่โกงกิน 79.1
2 ทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ตอนหาเสียง 66.4
3 มีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา 60.7
4 ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง 59.9
5 เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย/ทำงานอย่างต่อเนื่อง 55.6
6 ตั้งใจทำงานเพื่อประชาชน 49.1
7 กล้าคิด กล้าตัดสินใจ 44.8
8 มีนโยบายการทำงานที่ชัดเจน 37.5
9 อื่นๆ อาทิ มีวิสัยทัศน์ /มีความเป็นผู้นำ /
มีการศึกษาดี /เป็นคนดี เป็นต้น 22.7
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อกรณี “ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งจะไม่ถอนทุนคืน”
ลำดับที่ ความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 23.2
2 ไม่มั่นใจ 59.5
3 ไม่มีความเห็น 17.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “ส.ส. ในรัฐบาลชุดใหม่จะมีการแก่งแย่ง
ตำแหน่งทางการเมืองกันหรือไม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะมีการแก่งแย่งตำแหน่งกัน 66.4
2 ไม่คิดว่าจะมี 20.7
3 ไม่มีความเห็น 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อกรณี “รัฐบาลชุดใหม่จะสามารถทำตามนโยบายที่
ได้ประกาศไว้ก่อนวันเลือกตั้ง”
ลำดับที่ ความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 52.7
2 ไม่มั่นใจ 37.6
3 ไม่มีความเห็น 9.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงอันดับปัญหาสำคัญที่กำลังรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาแก้ไขให้สำเร็จตามความต้องการของ
ประชาชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ปัญหาสำคัญที่กำลังรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาแก้ไข ค่าร้อยละ
1 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 81.4
2 ปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 80.7
3 ปัญหาสินค้าราคาแพง 79.2
4 ปัญหาราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ 76.6
5 การกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด 74.3
6 ปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภค 67.1
7 ปัญหาการว่างงาน 62.1
8 ปัญหาผู้มีอิทธิพล 61.4
9 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 60.2
10 การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก 53.5
แผนภาพแสดงแนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่
บริหารราชการแผ่นดิน (เมษายน 2544 —กุมภาพันธ์ 2548)
คะแนนนิยม เมษายน2544 พฤษภาคม2544 สิงหาคม2544 ธันวาคม2544
ร้อยละ 51.0 71.9 52.3 48.2
คะแนนนิยม มีนาคม2546 สิงหาคม2546 ธันวาคม2546 กุมภาพันธ์2547
ร้อยละ 53.9 56.6 64.6 60.1
คะแนนนิยม กุมภาพันธ์2545 มิถุนายน2545 สิงหาคม2545
ร้อยละ 40.9 39.9 44.2
คะแนนนิยม กรกฎาคม2547 กันยายน2547 กุมภาพันธ์2548
ร้อยละ 61.6 48.1 77.5
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง “ปิดฉาก 4 ปีซ่อม มอง 4 ปีสร้างของรัฐบาลทักษิณในทรรศนะของประชาชน: กรณีศึกษา ตัวอย่างประชาชนทั่วไปจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 5,724 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการใน วันที่ 2-7 กุมภาพันธ์ 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างต่อเหตุการณ์ที่ทำลายความน่าเชื่อของรัฐบาลพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 55.1 ระบุปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 53.9 ระบุปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 49.0 ปัญหาสินค้าราคาแพง ร้อยละ 29.2 ระบุปัญหาการว่างงาน และ ร้อยละ 28.7 ระบุปัญหาสินค้าการเกษตรตกต่ำ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความพึงพอใจต่อผลงานของรัฐบาลตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาพบว่า ผลงานของรัฐบาลที่ประชาชนพึงพอใจมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ ผลงานในการแก้ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 87.6) รองลงมาคือโครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ ต่อ 1 ตำบล (ร้อยละ 85.4) โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค (ร้อยละ 83.8) การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท (77.9) และ การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย (ร้อยละ 73.4)
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึง กระทรวง/หน่วยงานราชการที่มีผลงานน่าประทับใจในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 34.7 ระบุกระทรวงสาธารณสุข รองมาคือร้อยละ 23.3 ระบุกระทรวงมหาดไทย และ ร้อยละ 14.3 ระบุกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์กรณีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของพรรคไทยรักไทย พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 73.8 ระบุรู้สึกดีใจถ้าพรรคไทยรักไทยได้จัดตั้งเป็นรัฐบาลต่อไป ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 5.1 ที่ระบุรู้สึกเศร้าใจ และร้อยละ 21.1 ไม่ระบุความคิดเห็น และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความคิดเห็นกรณี พรรคไทยรักไทยควรจัดตั้งเป็นรัฐบาลเดียวหรือไม่นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.1 ระบุควรเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ร้อยละ 30.8 ระบุไม่ควร และร้อยละ 24.1 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างที่ระบุว่าควรจัดตั้งเป็นรัฐบาลพรรคเดียวได้ให้เหตุผลต่างๆ อาทิ อยากให้สานงานต่อจากสมัยที่แล้ว/ 4ปีที่ผ่านมาพรรคไทยรักไทยมีผลงานน่าประทับใจ สามารถดำเนินงานตามนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ในขณะที่ตัวอย่างที่ระบุไม่ควรตั้งเป็นรัฐบาลพรรคเดียวได้ให้เหตุผลว่า ต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจกัน /ถ้ามีพรรคเดียวจะเป็นเผด็จการมากเกินไป และต้องการให้มีการระดมควมคิดเห็นจากหลายๆพรรคในการทำงานเพื่อประเทศชาติ เป็นต้น
สำหรับสิ่งที่ตัวอย่างระบุว่าต้องการให้รัฐบาลทำอย่างเร่งด่วนในช่วงเวลา 4 ปี ข้างหน้า ซึ่งเป็น 4 ปีแห่งการสร้างนั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 89.4 ระบุต้องการให้ลูกหลานไทยเรียนหนังสือโดยไม่ต้องจ่ายเงินจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 80.2 ระบุต้องการให้ทำสงครามกับยาเสพติดต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ร้อยละ 79.7 ระบุเกษตรกรกู้สร้างอาชีพ ร้อยละ 78.5 ระบุประชาชนที่มีรายได้จะต้องมีบ้านเป็นของตนเอง และร้อยละ 72.4 ระบุต้องการให้มีคาราวานแก้จนบุกทุกหลังคาเรือน ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อรัฐบาลชุดใหม่ในประเด็นสำคัญต่างๆนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 64.3 ระบุคิดว่ารัฐบาลชุดใหม่จะอยู่ครบเทอมนานถึง 4 ปี ในขณะที่ ร้อยละ 14.9 ระบุไม่คิดว่าจะอยู่ครบเทอม และร้อยละ 20.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงคุณสมบัติของคณะรัฐมนตรีที่ต้องการนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 79.1 ระบุต้องมีความซื่อสัตย์/ไม่โกงกิน ร้อยละ 66.4 ระบุต้องทำตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ตอนหาเสียง ร้อยละ 60.7 ระบุต้องมีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา ร้อยละ 59.9 ระบุต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง และร้อยละ 55.6 ระบุต้องเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายและตั้งใจทำงานอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างกรณีมั่นใจหรือไม่ว่า ส.ส. ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาจะไม่ถอนทุนคืนนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 23.2 ระบุมั่นใจว่าจะไม่ถอนทุนคืน ในขณะที่ตัวอย่างกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 59.5 ระบุไม่มั่นใจ และร้อยละ 17.3 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึง ความคิดเห็นกรณีการแก่งแย่งตำแหน่งทางการเมืองกันของ ส.ส. ในรัฐบาลชุดใหม่นั้นก็พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 66.4 ระบุคิดว่า ส.ส.ในรัฐบาลชุดใหม่จะมีการแก่งแย่งตำแหน่งทางการเมืองกัน ในขณะที่ร้อยละ 20.7 ระบุไม่คิดว่าจะมี และร้อยละ 12.9 ไม่ระบุความคิดเห็นอย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างกรณี มั่นใจหรือไม่ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถทำตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ก่อนวันเลือกตั้งได้ นั้นกลับพบว่า ตัวอย่างกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 52.7 ระบุมั่นใจว่าสามารถทำได้ ในขณะที่ร้อยละ 37.6 ระบุไม่มั่นใจ และร้อยละ 9.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อปัญหาสำคัญที่กำลังรอรัฐบาลชุดใหม่ให้เข้ามาแก้ไข ให้สำเร็จตามความต้องการของประชาชน ซึ่งพบว่า ร้อยละ 81.4 ระบุปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 80.7 ระบุปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 79.2 ระบุปัญหาสินค้าราคาแพง ร้อยละ 76.6 ระบุปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และ ร้อยละ 74.3 ระบุปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หมดวาระลงภายหลังได้บริหารราชการแผ่นดินมาครบ 4 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ พรรคไทยรักไทยได้ประกาศว่าเป็นช่วงเวลาของ 4 ปีซ่อม ในขณะที่ผลการเลือกตั้งที่ออกมาอย่างไม่เป็นทางการเป็นไปตามความคาดหมายของหลายๆฝ่ายว่า พรรคไทยรักไทยน่าจะสามารถจัดตั้งเป็นรัฐบาลพรรคเดียวได้ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะบริหารราชการแผ่นดินต่อไปอีก 4 ปีข้างหน้าตามที่พรรคไทยรักไทยประกาศไว้ว่าจะเป็นช่วงเวลาของ 4 ปีสร้าง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สนใจดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในลักษณะของการประเมินผลการทำงานของรัฐบาลในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาและสำรวจความคิดเห็นต่อ 4 ปีข้างหน้าของรัฐบาลทักษิณ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่
2. เพื่อสำรวจความคาดหวังของประชาชนต่อรัฐบาลชุดใหม่ในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ปิดฉาก 4 ปีซ่อม มอง 4 ปีสร้างของรัฐบาลทักษิณในทรรศนะของประชาชน: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2-7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโนในเขตเลือกตั้งต่างๆ จาก 25 จังหวัดของทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงราย เชียงใหม่ นครนายก เพชรบุรี สระแก้ว กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี เลย กาฬสินธุ์ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา ระนอง ชุมพร ตรัง และนครศรีธรรมราช
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 5,724 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.5 ระบุเป็นเพศชาย ในขณะที่ ร้อยละ 48.5 ระบุเป็นเพศหญิง ร้อยละ 25.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 23.3 อายุระหว่าง 40—49 ปี ร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 7.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 76.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 2.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 47.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 15.6 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 13.6 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 4.5 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 2.2 ระบุว่างงาน/ไม่มีงานทำ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุการณ์ที่ทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลภายใต้การนำ
ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาของรัฐบาลทักษิณ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่ทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 55.1
2 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 53.9
3 ปัญหาสินค้าราคาแพง 49.0
4 ปัญหาการว่างงาน 29.2
5 ปัญหาสินค้าการเกษตรตกต่ำ 28.7
6 การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก และโรคซาร์ 23.9
7 ปัญหาผู้มีอิทธิพล 23.8
8 ปัญหาความขัดแย้งภายในรัฐบาล 20.4
9 ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนักวิชาการ
ผู้ออกมาตอบโต้รัฐบาล 19.9
10 การแพร่ระบาดของยาเสพติด 16.1
11 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 15.3
12 การละเมิดสิทธิเสรีภาพและการแทรกแซง
การทำงานของสื่อมวลชน 14.7
13 ปัญหาในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 14.3
14 ปัญหาในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 12.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อผลงานของรัฐบาลตลอดระยะเวลา 4 ปี
ที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลงานของรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 การแก้ปัญหายาเสพติด 87.6
2 โครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ ต่อ 1 ตำบล 85.4
3 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 83.8
4 การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท 77.9
5 การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย 73.4
6 การจัดตั้งธนาคารประชาชน 60.8
7 การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 57.7
8 การพัฒนารัฐวิสาหกิจ 46.3
9 การจัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลาง/เล็ก 39.6
10 การจัดตั้งทีเอเอ็มซีแห่งชาติ (TAMC) 33.6
ตารางที่ 3 แสดงการจัด 10 อันดับ กระทรวง/หน่วยงานราชการที่มีผลงานน่าประทับใจในรอบ 4 ปี
ที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กระทรวง/หน่วยงานราชการ ค่าร้อยละ
1 กระทรวงสาธารณสุข 34.7
2 กระทรวงมหาดไทย 23.3
3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 14.3
4 โรงพยาบาลประจำจังหวัด/สถานีอนามัย 14.1
5 กระทรวงยุติธรรม 11.4
6 ที่ว่าการอำเภอ 8.5
7 กระทรวงการคลัง 7.0
8 สถานีตำรวจในพื้นที่ 7.0
9 กระทรวงคมนาคม 5.8
10 อื่นๆ อาทิ กระทรวงกลาโหม / กระทรวง
การท่องเที่ยวและการกีฬา /อบต. /
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม /
กระทรวงพาณิชย์/กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น 10.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกถ้าพรรคไทยรักไทยได้จัดตั้งเป็นรัฐบาลต่อไป
ลำดับที่ ความรู้สึกของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รู้สึกดีใจ 73.8
2 เศร้าใจ 5.1
3 ไม่มีความเห็น 21.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “พรรคไทยรักไทยควรจัดตั้งเป็น
รัฐบาลพรรคเดียว”
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ควรเป็นรัฐบาลพรรคเดียว 45.1
2 ไม่ควร 30.8
3 ไม่มีความเห็น 24.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ระบุว่าพรรคไทยรักไทยควรจัดตั้งเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ให้เหตุผลต่างๆ อาทิ
- เพื่อให้รัฐบาลมีความเป็นเอกภาพในการทำงานบริหารประเทศ
- เชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรี
- พรรคไทยรักไทยมีผลงานที่ผ่านมาน่าประทับใจ
- อยากให้สานงานต่อจากสมัยที่แล้ว
- สามารถตัดสินใจได้เด็ดขาด
- สามารถดำเนินงานตามนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฯลฯ เป็นต้น
ตัวอย่างที่ระบุว่าพรรคไทยรักไทยไม่ควรจัดตั้งเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ให้เหตุผลต่างๆอาทิ
- ต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจกัน
- จะได้ระดมความคิดเห็นจากหลายๆพรรค
- จะได้มีหลายๆ พรรคทำงานร่วมกัน
- ถ้ามีพรรคเดียวจะเป็นเผด็จการมากเกินไป
- จะได้มีการตรวจสอบการทำงานซึ่งกันและกัน ฯลฯ เป็นต้น
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลทักษิณทำอย่างเร่งด่วนในช่วงเวลา 4 ปี
ข้างหน้า (4 ปีแห่งการสร้างที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลทำ) :ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ
ลำดับที่ สิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลทำอย่างเร่งด่วนในช่วง 4 ปีข้างหน้า ค่าร้อยละ
1 ลูกหลานไทยเรียนไม่ต้องจ่ายเงินจนถึงมหาวิทยาลัย 89.4
2 ทำสงครามกับยาเสพติดไม่หยุดยั้ง 80.2
3 เกษตรกรกู้สร้างอาชีพ 79.7
4 ประชาชนที่มีรายได้จะต้องมีบ้านเป็นของตนเอง 78.5
5 คาราวานแก้จนบุกทุกหลังคาเรือน 72.4
6 ลดภาษีให้ลูกที่เลี้ยงพ่อแม่รวมทั้งพ่อตาแม่ยาย 71.1
7 จัดสรรงบ 1 ล้านล้านบาทสร้างระบบรถไฟฟ้า 69.8
8 ติดคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนตทุกโรงเรียนทั่วประเทศ 64.8
9 แปลงกองทุนหมู่บ้านที่มีความพร้อมให้เป็นธนาคารหมู่บ้าน 64.0
10 โครงการประปาหมู่บ้านให้ทุกหมู่บ้านและทุกหลังคาต้องมีไฟฟ้า 55.7
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “รัฐบาลใหม่จะอยู่ครบเทอมนานถึง
4 ปีหรือไม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าอยู่ครบเทอม 4 ปี 64.3
2 ไม่คิดว่าจะอยู่ครบเทอม 14.9
3 ไม่มีความเห็น 20.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคุณสมบัติของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ต้องการ(ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของ ครม.ชุดใหม่ที่ต้องการ ค่าร้อยละ
1 มีความซื่อสัตย์/ไม่โกงกิน 79.1
2 ทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ตอนหาเสียง 66.4
3 มีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา 60.7
4 ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง 59.9
5 เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย/ทำงานอย่างต่อเนื่อง 55.6
6 ตั้งใจทำงานเพื่อประชาชน 49.1
7 กล้าคิด กล้าตัดสินใจ 44.8
8 มีนโยบายการทำงานที่ชัดเจน 37.5
9 อื่นๆ อาทิ มีวิสัยทัศน์ /มีความเป็นผู้นำ /
มีการศึกษาดี /เป็นคนดี เป็นต้น 22.7
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อกรณี “ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งจะไม่ถอนทุนคืน”
ลำดับที่ ความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 23.2
2 ไม่มั่นใจ 59.5
3 ไม่มีความเห็น 17.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “ส.ส. ในรัฐบาลชุดใหม่จะมีการแก่งแย่ง
ตำแหน่งทางการเมืองกันหรือไม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะมีการแก่งแย่งตำแหน่งกัน 66.4
2 ไม่คิดว่าจะมี 20.7
3 ไม่มีความเห็น 12.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อกรณี “รัฐบาลชุดใหม่จะสามารถทำตามนโยบายที่
ได้ประกาศไว้ก่อนวันเลือกตั้ง”
ลำดับที่ ความมั่นใจ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 52.7
2 ไม่มั่นใจ 37.6
3 ไม่มีความเห็น 9.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงอันดับปัญหาสำคัญที่กำลังรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาแก้ไขให้สำเร็จตามความต้องการของ
ประชาชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
อันดับที่ ปัญหาสำคัญที่กำลังรอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาแก้ไข ค่าร้อยละ
1 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 81.4
2 ปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 80.7
3 ปัญหาสินค้าราคาแพง 79.2
4 ปัญหาราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ 76.6
5 การกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด 74.3
6 ปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภค 67.1
7 ปัญหาการว่างงาน 62.1
8 ปัญหาผู้มีอิทธิพล 61.4
9 ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 60.2
10 การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก 53.5
แผนภาพแสดงแนวโน้มความนิยมของประชาชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่
บริหารราชการแผ่นดิน (เมษายน 2544 —กุมภาพันธ์ 2548)
คะแนนนิยม เมษายน2544 พฤษภาคม2544 สิงหาคม2544 ธันวาคม2544
ร้อยละ 51.0 71.9 52.3 48.2
คะแนนนิยม มีนาคม2546 สิงหาคม2546 ธันวาคม2546 กุมภาพันธ์2547
ร้อยละ 53.9 56.6 64.6 60.1
คะแนนนิยม กุมภาพันธ์2545 มิถุนายน2545 สิงหาคม2545
ร้อยละ 40.9 39.9 44.2
คะแนนนิยม กรกฎาคม2547 กันยายน2547 กุมภาพันธ์2548
ร้อยละ 61.6 48.1 77.5
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง “ปิดฉาก 4 ปีซ่อม มอง 4 ปีสร้างของรัฐบาลทักษิณในทรรศนะของประชาชน: กรณีศึกษา ตัวอย่างประชาชนทั่วไปจาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 5,724 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการใน วันที่ 2-7 กุมภาพันธ์ 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างต่อเหตุการณ์ที่ทำลายความน่าเชื่อของรัฐบาลพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 55.1 ระบุปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 53.9 ระบุปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 49.0 ปัญหาสินค้าราคาแพง ร้อยละ 29.2 ระบุปัญหาการว่างงาน และ ร้อยละ 28.7 ระบุปัญหาสินค้าการเกษตรตกต่ำ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความพึงพอใจต่อผลงานของรัฐบาลตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมาพบว่า ผลงานของรัฐบาลที่ประชาชนพึงพอใจมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ ผลงานในการแก้ปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 87.6) รองลงมาคือโครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ ต่อ 1 ตำบล (ร้อยละ 85.4) โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค (ร้อยละ 83.8) การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท (77.9) และ การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย (ร้อยละ 73.4)
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึง กระทรวง/หน่วยงานราชการที่มีผลงานน่าประทับใจในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 34.7 ระบุกระทรวงสาธารณสุข รองมาคือร้อยละ 23.3 ระบุกระทรวงมหาดไทย และ ร้อยละ 14.3 ระบุกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์กรณีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของพรรคไทยรักไทย พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 73.8 ระบุรู้สึกดีใจถ้าพรรคไทยรักไทยได้จัดตั้งเป็นรัฐบาลต่อไป ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 5.1 ที่ระบุรู้สึกเศร้าใจ และร้อยละ 21.1 ไม่ระบุความคิดเห็น และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงความคิดเห็นกรณี พรรคไทยรักไทยควรจัดตั้งเป็นรัฐบาลเดียวหรือไม่นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.1 ระบุควรเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ร้อยละ 30.8 ระบุไม่ควร และร้อยละ 24.1 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างที่ระบุว่าควรจัดตั้งเป็นรัฐบาลพรรคเดียวได้ให้เหตุผลต่างๆ อาทิ อยากให้สานงานต่อจากสมัยที่แล้ว/ 4ปีที่ผ่านมาพรรคไทยรักไทยมีผลงานน่าประทับใจ สามารถดำเนินงานตามนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ในขณะที่ตัวอย่างที่ระบุไม่ควรตั้งเป็นรัฐบาลพรรคเดียวได้ให้เหตุผลว่า ต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจกัน /ถ้ามีพรรคเดียวจะเป็นเผด็จการมากเกินไป และต้องการให้มีการระดมควมคิดเห็นจากหลายๆพรรคในการทำงานเพื่อประเทศชาติ เป็นต้น
สำหรับสิ่งที่ตัวอย่างระบุว่าต้องการให้รัฐบาลทำอย่างเร่งด่วนในช่วงเวลา 4 ปี ข้างหน้า ซึ่งเป็น 4 ปีแห่งการสร้างนั้นพบว่าตัวอย่างร้อยละ 89.4 ระบุต้องการให้ลูกหลานไทยเรียนหนังสือโดยไม่ต้องจ่ายเงินจนถึงระดับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 80.2 ระบุต้องการให้ทำสงครามกับยาเสพติดต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ร้อยละ 79.7 ระบุเกษตรกรกู้สร้างอาชีพ ร้อยละ 78.5 ระบุประชาชนที่มีรายได้จะต้องมีบ้านเป็นของตนเอง และร้อยละ 72.4 ระบุต้องการให้มีคาราวานแก้จนบุกทุกหลังคาเรือน ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อรัฐบาลชุดใหม่ในประเด็นสำคัญต่างๆนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 64.3 ระบุคิดว่ารัฐบาลชุดใหม่จะอยู่ครบเทอมนานถึง 4 ปี ในขณะที่ ร้อยละ 14.9 ระบุไม่คิดว่าจะอยู่ครบเทอม และร้อยละ 20.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงคุณสมบัติของคณะรัฐมนตรีที่ต้องการนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 79.1 ระบุต้องมีความซื่อสัตย์/ไม่โกงกิน ร้อยละ 66.4 ระบุต้องทำตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ตอนหาเสียง ร้อยละ 60.7 ระบุต้องมีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหา ร้อยละ 59.9 ระบุต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง และร้อยละ 55.6 ระบุต้องเป็นคนเสมอต้นเสมอปลายและตั้งใจทำงานอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างกรณีมั่นใจหรือไม่ว่า ส.ส. ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาจะไม่ถอนทุนคืนนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 23.2 ระบุมั่นใจว่าจะไม่ถอนทุนคืน ในขณะที่ตัวอย่างกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 59.5 ระบุไม่มั่นใจ และร้อยละ 17.3 ไม่ระบุความคิดเห็น นอกจากนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึง ความคิดเห็นกรณีการแก่งแย่งตำแหน่งทางการเมืองกันของ ส.ส. ในรัฐบาลชุดใหม่นั้นก็พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 66.4 ระบุคิดว่า ส.ส.ในรัฐบาลชุดใหม่จะมีการแก่งแย่งตำแหน่งทางการเมืองกัน ในขณะที่ร้อยละ 20.7 ระบุไม่คิดว่าจะมี และร้อยละ 12.9 ไม่ระบุความคิดเห็นอย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างกรณี มั่นใจหรือไม่ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถทำตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ก่อนวันเลือกตั้งได้ นั้นกลับพบว่า ตัวอย่างกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 52.7 ระบุมั่นใจว่าสามารถทำได้ ในขณะที่ร้อยละ 37.6 ระบุไม่มั่นใจ และร้อยละ 9.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อปัญหาสำคัญที่กำลังรอรัฐบาลชุดใหม่ให้เข้ามาแก้ไข ให้สำเร็จตามความต้องการของประชาชน ซึ่งพบว่า ร้อยละ 81.4 ระบุปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 80.7 ระบุปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 79.2 ระบุปัญหาสินค้าราคาแพง ร้อยละ 76.6 ระบุปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และ ร้อยละ 74.3 ระบุปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-