เอยูโพล: ส่องเป๋าตังค์ GEN Z

ข่าวผลสำรวจ Friday August 26, 2022 15:38 —เอแบคโพลล์

ฝ่ายข่าวเศรษฐกิจ/การศึกษา

เอยูโพล (AU POLL) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง ?ส่องเป๋าตังค์ GEN Z? จากนักศึกษาปริญญาตรีทั่วประเทศจำนวน 3,211 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน ? 15 กรกฎาคม 2565 พบว่า
เกินครึ่งได้เงินจากพ่อแม่เพียงแหล่งเดียว
นักศึกษาเกินครึ่งหรือ 53.3 % ระบุว่าเงินที่ใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้มาจากผู้ปกครองเพียงแหล่งเดียวเท่านั้น ที่เหลืออีก 46.7% ได้จากแหล่งอื่นหรือหลายแหล่งรวมกัน ได้แก่ จากผู้ปกครอง การทำงาน ลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้ ทุนการศึกษา หรือการขายผลงาน
42.1 % ใช้เงินเดือนชนเดือนถึงไม่พอใช้ ...

พฤติกรรมการใช้เงินในแต่ละเดือนของนักศึกษาเกือบครึ่งหรือ 42.1 % มีเงินใช้แค่เดือนชนเดือนถึงไม่พอใช้ ที่เหลือ 57.9% ที่ระบุว่าต้องแบ่งเงินเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายหากเกิดกรณีจำเป็นหรือฉุกเฉิน 37 % ต้องหางานทำหากเงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือน

นอกจากนี้สิ่งที่ GEN Z ทำหากเงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือนคือ 80.5% ก็จะขอจากพ่อแม่เพิ่ม ทั้งนี้กว่า 1 ใน 3 ของนักศึกษาที่ใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยหรือ 36.9% ต้องทำงานเพื่อหาเงินใช้จ่ายในแต่ละเดือน ในขณะที่ 19.3% เลือกที่จะเป็นหนี้โดยการกู้ยืมจากเพื่อนหรือแหล่งเงินกู้ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการเป็นหนี้โดยกดจากบัตรกดเงินสดและจำนำของ ที่เหลือ 7.0% ใช้วิธีอื่นๆ เช่น โพสต์ขอความช่วยเหลือผ่านโซเชียลมีเดีย ให้เพื่อนเลี้ยง ใช้เงินเก็บ หรือการขายสมบัติหรือของที่ตัวเองมีเพื่อให้มีเงินใช้ในแต่ละเดือน 37.8% ใช้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดส่อหนี้ก้อนโต ในปัจจุบันหลายธนาคารเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ยังไม่มีรายได้สามารถทำบัตรเครดิตได้ด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้จ่ายและสอดรับกับสังคมในยุคปัจจุบันทำให้นักศึกษาจำนวนไม่น้อยคือ 37.8% ที่มีบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดใช้ จากผลสำรวจข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของนักศึกษา GEN Z ในยุคปัจจุบัน ไม่ได้ง่ายเลย ทั้งประสบการณ์การการเรียนออนไลน์ที่ยาวนานส่งผลต่อทักษะในการใช้ชีวิตตามวัยที่ควรจะเป็น ยิ่งไปกว่านั้นสภาวะหรือปัญหาต่างๆ ในสังคม โดยเฉพาะสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ส่งผลต่อสถานะทางการเงินของนักศึกษาและครอบครัว ส่วนหนึ่งทำให้รู้จักคุณค่า การวางแผนการเงินมากขึ้น และสามารถนำประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในการบริหารจัดการการเงินในอนาคตได้ แต่หากนักศึกษาไม่สามารถเรียนได้อย่างเต็มที่เพราะต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเรียนของตัวเอง รวมทั้งหากขาดทักษะในการบริหารการเงินที่ดีด้วยแล้วอาจส่งผลต่อการเรียนหรือเกิดปัญหาหนี้ก้อนโตตามมาในอนาคต

ที่มา: เอยูโพล


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ