ที่มาของโครงการ
รถไฟฟ้าใต้ดินเป็นระบบขนส่งมวลชนทางเลือกใหม่ของคนกรุงเทพมหานคร ซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดให้บริการเมื่อไม่นานมานี้ แต่เหตุการณ์รถไฟฟ้าใต้ดินชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2548 ที่ผ่านมานั้น ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งมีประชาชนบาดเจ็บหลายสิบคน เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากประชาชนในกรุงเทพมหานครอย่างมาก และยังอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของประชาชนในการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินต่อไป เป็นที่น่าจับตามองว่าใครจะเป็นผู้ที่ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครถึงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้รถไฟฟ้าใต้ดินของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่ออุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่ออุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดิน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 17 มกราคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในการเข้าถึงตัวอย่างประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,423 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 55.9 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 44.1 เป็นเพศชาย
ซึ่งร้อยละ 43.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.1 ระบุอายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 13.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 13.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
และร้อยละ 7.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 55.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 39.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 5.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 36.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 17.5 ระบุอาชีพค้าขาย/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 6.5 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 23.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.1 ระบุอื่นๆ อาทิ แม่บ้าน เกษียณอายุ เกษตรกร
ในขณะที่ร้อยละ 0.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวการเกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน
ลำดับที่ การรับทราบข่าวการเกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 92.3
2 ไม่ทราบข่าว 7.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน
ลำดับที่ ความถี่ในการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ค่าร้อยละ
1 เคยบริการ 77.2
2 ไม่เคยใช้บริการเลย 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ในการใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในการใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน ค่าร้อยละ
1 มั่นใจในความปลอดภัย 30.2
2 ไม่มั่นใจ 49.1
3 ไม่มีความเห็น 20.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อกรณีการเกิดอุบัติเหตุของรถไฟฟ้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อกรณีการเกิดอุบัติเหตุของรถไฟฟ้า ค่าร้อยละ
1 มั่นใจว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุขึ้นอีก 19.3
2 ไม่มั่นใจ 68.2
3 ไม่มีความเห็น 12.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีความยากง่ายในการที่จะเกิด
การก่อวินาศกรรมบนรถไฟฟ้าใต้ดิน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีความยากง่ายในการ ค่าร้อยละ
ที่จะเกิดการก่อวินาศกรรมบนรถไฟฟ้าใต้ดิน
1 คิดว่าเกิดขึ้นได้ง่าย 40.8
2 คิดว่าเกิดขึ้นได้ยาก 39.1
3 ไม่มีความเห็น 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินถ้าหาก
รถไฟฟ้าใต้ดินเปิดให้บริการอีกครั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ค่าร้อยละ
ถ้าหากรถไฟฟ้าใต้ดินเปิดให้บริการอีกครั้ง
1 คิดว่าจะใช้บริการอีก..เพราะเชื่อว่าจะมีการแก้ไข 57.8
เรื่องความปลอดภัย/มีความจำเป็นต้องเดินทางใน
เส้นทางของรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นประจำ/มีความสะดวก
รวดเร็วในการเดินทาง และ คิดว่าเป็นอุบัติเหตุ
ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดใดๆ เป็นต้น
2 คิดว่าจะไม่ใช้บริการแล้ว 8.3
3 ยังไม่แน่ใจ 33.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินชนกันในครั้งนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินชนกันในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ความผิดพลาดของระบบการเดินรถ 69.7
2 ปัญหาการประสานงานในการเดินรถ 49.9
3 เป็นอุบัติเหตุ 38.4
4 ความประมาทของพนักงานขับรถ 8.4
5 ความขัดแย้งภายในองค์กร 5.6
6 การก่อวินาศกรรม 4.3
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่บริษัทต้องรับผิดชอบต่อการบาดเจ็บของผู้ใช้บริการ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่บริษัทต้องรับผิดชอบต่อการบาดเจ็บของผู้ใช้บริการ ค่าร้อยละ
1 รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล 83.0
2 ให้ค่าชดเชยกับผู้บาดเจ็บที่ไม่สามารถทำงานได้ 76.7
3 ให้เงินค่าทำขวัญ 56.9
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทำงานของหน่วยกู้ภัยที่พอใจ/ประทับใจ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การทำงานของหน่วยกู้ภัยที่พอใจ/ประทับใจ ค่าร้อยละ
1 ความรวดเร็วในการเข้าถึงที่เกิดเหตุ 59.5
2 ความทุ่มเทของเจ้าหน้าที่กู้ภัย 49.0
3 ความพร้อมของการปฐมพยาบาล 39.1
4 ความทันสมัยของอุปกรณ์ช่วยเหลือ 25.4
5 ความใหม่ของยานพาหนะที่ใช้ในการปฏิบัติงาน 16.1
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีผู้ใช้รถใช้ถนนควรการเปิดทางให้กับ
เจ้าหน้าที่กู้ภัยเมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆเกิดขึ้น
ลำดับที่ ผู้ใช้รถใช้ถนนควรเปิดทางให้กับเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค่าร้อยละ
เมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆเกิดขึ้นหรือไม่
1 ควร 94.2
2 ไม่ควร 2.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจควรเข้มงวดจับกุม
คนขับรถที่ไม่ยอมเปิดทางให้รถหน่วยกู้ภัยหรือรถพยาบาล
ลำดับที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจควรเข้มงวดจับกุมคนขับรถ ค่าร้อยละ
ที่ไม่ยอมเปิดทางให้รถหน่วยกู้ภัยหรือรถพยาบาล
1 ควรเข้มงวดจับกุม 63.8
2 ไม่ควร 17.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่ออุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดิน” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,423 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการใน วันที่ 17 มกราคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
คณะผู้วิจัยได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงการรับทราบข่าวการเกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน เมื่อตอนสายวันที่ 17 ที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 92.3 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 7.7 เท่านั้นที่ระบุยังไม่ทราบข่าว
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงประสบการณ์การใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 77.2 ระบุเคยใช้บริการ ในขณะที่ ร้อยละ 22.8 ระบุยังไม่เคยบริการรถไฟฟ้าใต้ดินเลย ซึ่งเมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.1 ระบุรู้สึกไม่มั่นใจในความปลอดภัย ในขณะที่ร้อยละ 30.2 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 20.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 19.3 ระบุมั่นใจว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุขึ้นอีก ในขณะที่ร้อยละ 68.2 ระบุไม่มั่นใจ และร้อยละ 12.5 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีความยากง่ายที่จะเกิดการก่อวินาศกรรมบนรถไฟฟ้าใต้ดินนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 40.8 ระบุคิดว่าเกิดขึ้นได้ง่าย ในขณะที่ร้อยละ 39.1 ระบุคิดว่าเกิดขึ้นได้ยาก และร้อยละ 20.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีการใช้บริการถ้ารถไฟฟ้าใต้ดินกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.8 ระบุคิดว่าจะใช้บริการอีก ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 8.3 ระบุคิดว่าจะไม่ใช้บริการอีกแล้ว และร้อยละ 33.9 ระบุยังไม่แน่ใจว่าจะใช้บริการอีกหรือไม่ ทั้งนี้ตัวอย่างที่ระบุว่าจะกลับมาใช้บริการอีกนั้น ได้ให้เหตุผลว่า เพราะเชื่อว่าจะมีการแก้ไขเรื่องความปลอดภัย /มีความจำเป็นต้องเดินทางในเส้นทางของรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นประจำ/มีความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง และ คิดว่าเป็นอุบัติเหตุไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดใดๆ เป็นต้น
ตัวอย่างร้อยละ 69.7 ระบุความผิดพลาดของระบบการเดินรถ คือสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 46.9 ระบุเกิดจากปัญหาการประสานงานในการเดินรถ ร้อยละ 38.4 ระบุเป็นอุบัติเหตุ ร้อยละ 8.4 ระบุเกิดจากความประมาทของพนักงานขับรถ ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 83.0 ระบุว่าบริษัทต้องรับผิดชอบต่อการบาดเจ็บของผู้ใช้บริการด้วยการรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ร้อยละ 76.7 ระบุให้บริษัทจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้บาดเจ็บที่ไม่สามารถทำงานได้ และร้อยละ 56.9 ระบุให้เงินค่าทำขวัญ
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการทำงานของหน่วยกู้ภัยนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.5 ระบุพอใจต่อความรวดเร็วในการเข้าถึงที่เกิดเหตุของหน่วยกู้ภัย ร้อยละ 49.0 ระบุพอใจในความทุ่มเทของเจ้าหน้าที่กู้ภัย ร้อยละ 39.1 พอใจในความพร้อมของการปฐมพยาบาล ตามลำดับ
นอกเหนือไปจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อกรณีที่ผู้ใช้รถใช้ถนนควรเปิดทางให้กับเจ้าหน้าที่กู้ภัยเมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ เกิดขึ้นหรือไม่ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 94.2 ระบุควรเปิดทางให้ ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 2.0 ที่ระบุไม่ควร และร้อยละ 3.8 ไม่ระบุความคิดเห็น ซึ่งในกรณีนี้ตัวอย่างร้อยละ 63.8 ระบุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจควรจะเข้มงวดจับกุมคนขับรถที่ไม่ยอมเปิดทางให้รถหน่วยกู้ภัยหรือรถพยาบาล ในขณะที่ร้อยละ 17.6 ระบุไม่ควร และร้อยละ 18.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
รถไฟฟ้าใต้ดินเป็นระบบขนส่งมวลชนทางเลือกใหม่ของคนกรุงเทพมหานคร ซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดให้บริการเมื่อไม่นานมานี้ แต่เหตุการณ์รถไฟฟ้าใต้ดินชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2548 ที่ผ่านมานั้น ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งมีประชาชนบาดเจ็บหลายสิบคน เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากประชาชนในกรุงเทพมหานครอย่างมาก และยังอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของประชาชนในการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินต่อไป เป็นที่น่าจับตามองว่าใครจะเป็นผู้ที่ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครถึงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้รถไฟฟ้าใต้ดินของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่ออุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่ออุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดิน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 17 มกราคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในการเข้าถึงตัวอย่างประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,423 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 55.9 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 44.1 เป็นเพศชาย
ซึ่งร้อยละ 43.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.1 ระบุอายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 13.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 13.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
และร้อยละ 7.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 55.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 39.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 5.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 36.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 17.5 ระบุอาชีพค้าขาย/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 6.5 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 23.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.1 ระบุอื่นๆ อาทิ แม่บ้าน เกษียณอายุ เกษตรกร
ในขณะที่ร้อยละ 0.4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบข่าวการเกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน
ลำดับที่ การรับทราบข่าวการเกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 92.3
2 ไม่ทราบข่าว 7.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน
ลำดับที่ ความถี่ในการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ค่าร้อยละ
1 เคยบริการ 77.2
2 ไม่เคยใช้บริการเลย 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ในการใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในการใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน ค่าร้อยละ
1 มั่นใจในความปลอดภัย 30.2
2 ไม่มั่นใจ 49.1
3 ไม่มีความเห็น 20.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อกรณีการเกิดอุบัติเหตุของรถไฟฟ้า
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อกรณีการเกิดอุบัติเหตุของรถไฟฟ้า ค่าร้อยละ
1 มั่นใจว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุขึ้นอีก 19.3
2 ไม่มั่นใจ 68.2
3 ไม่มีความเห็น 12.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีความยากง่ายในการที่จะเกิด
การก่อวินาศกรรมบนรถไฟฟ้าใต้ดิน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีความยากง่ายในการ ค่าร้อยละ
ที่จะเกิดการก่อวินาศกรรมบนรถไฟฟ้าใต้ดิน
1 คิดว่าเกิดขึ้นได้ง่าย 40.8
2 คิดว่าเกิดขึ้นได้ยาก 39.1
3 ไม่มีความเห็น 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินถ้าหาก
รถไฟฟ้าใต้ดินเปิดให้บริการอีกครั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อกรณีการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ค่าร้อยละ
ถ้าหากรถไฟฟ้าใต้ดินเปิดให้บริการอีกครั้ง
1 คิดว่าจะใช้บริการอีก..เพราะเชื่อว่าจะมีการแก้ไข 57.8
เรื่องความปลอดภัย/มีความจำเป็นต้องเดินทางใน
เส้นทางของรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นประจำ/มีความสะดวก
รวดเร็วในการเดินทาง และ คิดว่าเป็นอุบัติเหตุ
ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดใดๆ เป็นต้น
2 คิดว่าจะไม่ใช้บริการแล้ว 8.3
3 ยังไม่แน่ใจ 33.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินชนกันในครั้งนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินชนกันในครั้งนี้ ค่าร้อยละ
1 ความผิดพลาดของระบบการเดินรถ 69.7
2 ปัญหาการประสานงานในการเดินรถ 49.9
3 เป็นอุบัติเหตุ 38.4
4 ความประมาทของพนักงานขับรถ 8.4
5 ความขัดแย้งภายในองค์กร 5.6
6 การก่อวินาศกรรม 4.3
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่บริษัทต้องรับผิดชอบต่อการบาดเจ็บของผู้ใช้บริการ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่บริษัทต้องรับผิดชอบต่อการบาดเจ็บของผู้ใช้บริการ ค่าร้อยละ
1 รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล 83.0
2 ให้ค่าชดเชยกับผู้บาดเจ็บที่ไม่สามารถทำงานได้ 76.7
3 ให้เงินค่าทำขวัญ 56.9
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทำงานของหน่วยกู้ภัยที่พอใจ/ประทับใจ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การทำงานของหน่วยกู้ภัยที่พอใจ/ประทับใจ ค่าร้อยละ
1 ความรวดเร็วในการเข้าถึงที่เกิดเหตุ 59.5
2 ความทุ่มเทของเจ้าหน้าที่กู้ภัย 49.0
3 ความพร้อมของการปฐมพยาบาล 39.1
4 ความทันสมัยของอุปกรณ์ช่วยเหลือ 25.4
5 ความใหม่ของยานพาหนะที่ใช้ในการปฏิบัติงาน 16.1
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีผู้ใช้รถใช้ถนนควรการเปิดทางให้กับ
เจ้าหน้าที่กู้ภัยเมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆเกิดขึ้น
ลำดับที่ ผู้ใช้รถใช้ถนนควรเปิดทางให้กับเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค่าร้อยละ
เมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆเกิดขึ้นหรือไม่
1 ควร 94.2
2 ไม่ควร 2.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจควรเข้มงวดจับกุม
คนขับรถที่ไม่ยอมเปิดทางให้รถหน่วยกู้ภัยหรือรถพยาบาล
ลำดับที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจควรเข้มงวดจับกุมคนขับรถ ค่าร้อยละ
ที่ไม่ยอมเปิดทางให้รถหน่วยกู้ภัยหรือรถพยาบาล
1 ควรเข้มงวดจับกุม 63.8
2 ไม่ควร 17.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่ออุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดิน” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,423 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการใน วันที่ 17 มกราคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
คณะผู้วิจัยได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงการรับทราบข่าวการเกิดอุบัติเหตุรถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน เมื่อตอนสายวันที่ 17 ที่ผ่านมานั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 92.3 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 7.7 เท่านั้นที่ระบุยังไม่ทราบข่าว
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงประสบการณ์การใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 77.2 ระบุเคยใช้บริการ ในขณะที่ ร้อยละ 22.8 ระบุยังไม่เคยบริการรถไฟฟ้าใต้ดินเลย ซึ่งเมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.1 ระบุรู้สึกไม่มั่นใจในความปลอดภัย ในขณะที่ร้อยละ 30.2 ระบุมั่นใจ และร้อยละ 20.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ผลการสำรวจยังพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 19.3 ระบุมั่นใจว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุขึ้นอีก ในขณะที่ร้อยละ 68.2 ระบุไม่มั่นใจ และร้อยละ 12.5 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีความยากง่ายที่จะเกิดการก่อวินาศกรรมบนรถไฟฟ้าใต้ดินนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 40.8 ระบุคิดว่าเกิดขึ้นได้ง่าย ในขณะที่ร้อยละ 39.1 ระบุคิดว่าเกิดขึ้นได้ยาก และร้อยละ 20.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกรณีการใช้บริการถ้ารถไฟฟ้าใต้ดินกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 57.8 ระบุคิดว่าจะใช้บริการอีก ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 8.3 ระบุคิดว่าจะไม่ใช้บริการอีกแล้ว และร้อยละ 33.9 ระบุยังไม่แน่ใจว่าจะใช้บริการอีกหรือไม่ ทั้งนี้ตัวอย่างที่ระบุว่าจะกลับมาใช้บริการอีกนั้น ได้ให้เหตุผลว่า เพราะเชื่อว่าจะมีการแก้ไขเรื่องความปลอดภัย /มีความจำเป็นต้องเดินทางในเส้นทางของรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นประจำ/มีความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง และ คิดว่าเป็นอุบัติเหตุไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดใดๆ เป็นต้น
ตัวอย่างร้อยละ 69.7 ระบุความผิดพลาดของระบบการเดินรถ คือสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 46.9 ระบุเกิดจากปัญหาการประสานงานในการเดินรถ ร้อยละ 38.4 ระบุเป็นอุบัติเหตุ ร้อยละ 8.4 ระบุเกิดจากความประมาทของพนักงานขับรถ ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวอย่างร้อยละ 83.0 ระบุว่าบริษัทต้องรับผิดชอบต่อการบาดเจ็บของผู้ใช้บริการด้วยการรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด ร้อยละ 76.7 ระบุให้บริษัทจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้บาดเจ็บที่ไม่สามารถทำงานได้ และร้อยละ 56.9 ระบุให้เงินค่าทำขวัญ
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการทำงานของหน่วยกู้ภัยนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.5 ระบุพอใจต่อความรวดเร็วในการเข้าถึงที่เกิดเหตุของหน่วยกู้ภัย ร้อยละ 49.0 ระบุพอใจในความทุ่มเทของเจ้าหน้าที่กู้ภัย ร้อยละ 39.1 พอใจในความพร้อมของการปฐมพยาบาล ตามลำดับ
นอกเหนือไปจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อกรณีที่ผู้ใช้รถใช้ถนนควรเปิดทางให้กับเจ้าหน้าที่กู้ภัยเมื่อมีเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ เกิดขึ้นหรือไม่ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 94.2 ระบุควรเปิดทางให้ ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 2.0 ที่ระบุไม่ควร และร้อยละ 3.8 ไม่ระบุความคิดเห็น ซึ่งในกรณีนี้ตัวอย่างร้อยละ 63.8 ระบุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจควรจะเข้มงวดจับกุมคนขับรถที่ไม่ยอมเปิดทางให้รถหน่วยกู้ภัยหรือรถพยาบาล ในขณะที่ร้อยละ 17.6 ระบุไม่ควร และร้อยละ 18.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-