ที่มาของโครงการ
จากข่าวที่มีผู้แจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทสินเชื่อเงินด่วนแห่งหนึ่งในฐานเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ทำให้สังคมหัน
มาให้ความสนใจกับการให้สินเชื่อเงินด่วนกันมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีหลายองค์กรธุรกิจทั้งที่เป็นธนาคาร (Bank) และไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank)
ดำเนินธุรกิจให้กู้สินเชื่อเงินด่วน สินเชื่อเงินด่วนอาจเรียกแตกต่างกันไป อาทิ สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ (Ready Credit) สินเชื่อส่วนบุคคล
(Personal Loan / Personal Credit) สินเชื่อเงินด่วนนี้จะไม่ต้องนำหลักทรัพย์หรือบุคคลมาค้ำประกัน และโดยมากหากเป็นสถาบันเงินกู้ในระบบ
จะให้วงเงินสินเชื่อโดยคำนึงถึงรายได้ต่อเดือนของผู้กู้เช่นเดียวกับการให้วงเงินเครดิต จุดขายของธุรกิจนี้คือ ความสะดวกในการขอกู้ และความรวด
เร็วในการรับเงินสด จึงเอื้อให้คนเป็นหนี้กันมากขึ้นและง่ายขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆ ของสินเชื่อเงินด่วนจะสูง
มาก จึงเป็นที่น่าสนใจศึกษาว่าภาระจากการเป็นหนี้สินเงินด่วนนั้น นำมาสู่ปัญหาและความเดือดร้อนอย่างไรบ้าง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจภาวะการเป็นหนี้จากสินเชื่อเงินด่วน
2. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจของลูกหนี้ต่อรายละเอียดในการกู้เงินด่วน
3. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาและความเดือดร้อนของลูกหนี้สินเชื่อเงินด่วน
4. ผลการสำรวจที่ได้จะสะท้อนสภาพปัญหาสินเชื่อเงินด่วน เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความเดือดร้อนจากปัญหาการกู้สินเชื่อเงินด่วน :
กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 23 -24 พฤศจิกายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi Stage Sampling) จำแนกตามเขตกรุงเทพมหานคร
ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,469 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.3 เป็นหญิง ร้อยละ 45.7 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 30.2
อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 29.4 อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 23.0 อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 14.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 3.1 อายุต่ำกว่า
20 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 40.7 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.0 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. / มัธยมศึกษาตอน
ปลาย ร้อยละ 20.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 8.8 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / ปวท. / อนุปริญญา และร้อยละ 1.4 สำเร็จ
การศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 37.6 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 25.9 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ
16.0 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 6.5 เป็นนักศึกษา และ เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / ผู้เกษียณอายุ ร้อยละ 5.7 อาชีพข้าราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 1.8 ไม่ระบุอาชีพ รวมทั้งว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากการกู้สินเชื่อเงิน
ด่วน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,469 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 23-
24 พฤศจิกายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
จากการสอบถามประสบการณ์การกู้สินเชื่อเงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 32.2 กู้สินเชื่อเงินด่วน และร้อย
ละ 67.8 ไม่ได้กู้สินเชื่อเงินด่วน เฉพาะตัวอย่างที่กู้สินเชื่อเงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ระบุแหล่งเงินกู้ไว้ดังนี้ ร้อยละ 31.2 กู้จากอิออน รอง
ลงมาร้อยละ 29.6 กู้สินเชื่อนอกระบบ เช่น นายทุน เพื่อน เงินด่วนที่ประกาศตามเสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์ ข้างกำแพง ในชุมชนป้ายรถเมล์ เป็นต้น
และร้อยละ 20.3 กู้จากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ อาทิ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์ทเตอร์ ธนาคารซิติ้แบงค์ ธนาคารกรุงไทย ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวอย่างที่กู้
สินเชื่อเงินด่วนระบุวัตถุประสงค์ที่สำคัญไว้ดังนี้ ร้อยละ 39.7 นำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รองลงมาร้อยละ 32.5 เพื่อนำไปลงทุน / ค้าขาย และ
ร้อยละ 26.5 เพื่อนำไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า / มือถือ ตามลำดับ
จากการสอบถามยอดเงินกู้สินเชื่อเงินด่วนทั้งสิ้นในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วตัวอย่างเป็นหนี้ 40,068.32 บาท โดย
มีภาระผ่อนชำระโดยเฉลี่ย 3,177.13 บาท
เมื่อสอบถามถึงการอ่านสัญญาเงินกู้แล้ว พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่ง คือร้อยละ 60.4 ไม่ให้ความสำคัญกับการอ่านสัญญา จำแนกเป็น
ร้อยละ 42.6 ระบุว่าอ่านแต่ไม่ละเอียด และร้อยละ 17.8 ระบุว่าไม่ได้อ่านสัญญาเงินกู้เลย ดังนั้นจึงมีเพียงร้อยละ 39.6 เท่านั้นที่อ่านสัญญาโดย
ละเอียด และเมื่อสอบถามความเข้าใจในรายละเอียดของการขอกู้เงินด่วน พิจารณาในด้านที่ตัวอย่างมีความเข้าใจดี พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 86.3
ระบุด้านการผ่อนชำระต่องวด รองลงมาร้อยละ 85.9 ระบุด้านคุณสมบัติของผู้ขอกู้ และร้อยละ 83.1 ระบุด้านเอกสารประกอบการกู้ ตามลำดับ เมื่อ
กลับมาพิจารณาด้านที่ตัวอย่างยังไม่มีความเข้าใจดี พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.1 ระบุด้านรายการส่งเสริมการขายในขณะนั้น รองลงมาร้อย
ละ 38.9 ระบุด้านค่าธรรมเนียมต่างๆ และร้อยละ 32.9 ระบุด้านสิทธิประโยชน์จากการเป็นลูกค้าเงินกู้ ตามลำดับ
ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 43.2 เห็นว่าแหล่งเงินกู้ที่ตนไปกู้เงินด่วนมานั้น เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยไม่เป็นธรรม มีเพียงส่วนน้อยคือ ร้อยละ
31.0 ที่เห็นว่าเป็นธรรม และตัวอย่าง ร้อยละ 25.8 ไม่แน่ใจ เมื่อสอบถามถึงความเป็นธรรมในการเรียกเก็บอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ บ้าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 49.9 เห็นว่าไม่เป็นธรรม และไม่เพียงส่วนน้อยเช่นเดียวกัน คือร้อยละ 22.8 ที่เห็นว่าเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ
57.0 ก็ไม่เคยค้างชำระค่างวดเลย โดยร้อยละ 34.6 ค้างชำระค่างวดบ้างเป็นบางครั้ง และร้อยละ 8.4 ค้างชำระค่างวดบ่อยๆ
สำหรับการติดตามทวงหนี้ที่เกิดขึ้น ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 34.9 ระบุว่าถูกโทรศัพท์มาทวงบ่อยๆ รองลงมาร้อยละ 17.4 ถูกติดตามมา
ถึงที่บ้าน และร้อยละ 11.2 ถูกพูดจาข่มขู่ ด่าทอ ก้าวร้าว ตามลำดับ โดยที่ร้อยละ 50.3 ไม่เคยถูกติดตามทวงหนี้แต่อย่างใด ซึ่งตัวอย่างที่ถูกติดตาม
ทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรงก้าวร้าวมีทางออกคือ ร้อยละ 50.3 จะหลบหน้า รองลงมาร้อยละ 31.0 จะพยายามหาเงินมาใช้หนี้ และร้อยละ 22.2 จะ
ฟ้องต่อสื่อมวลชน ตามลำดับ ที่น่าสนใจคือ มีเพียงร้อยละ 5.3 เท่านั้นที่จะเข้าแจ้งความกับตำรวจ
จากการที่มีผู้แจ้งความดำเนินคดีกับสถาบันการเงินที่เอาเปรียบผู้บริโภคตามที่เป็นข่าวดังอยู่ในขณะนี้ ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 82.7 ระบุว่า
เห็นด้วย มีเพียงส่วนน้อยคือ ร้อยละ 8.8 ที่ไม่เห็นด้วย โดยร้อยละ 8.5 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามถึงความต้องการให้รัฐบาลดำเนินการต่อปัญหา
สินเชื่อเงินด่วน พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 35.9 เห็นว่า ควรลดดอกเบี้ยเงินกู้ / เก็บดอกเบี้ยเท่ากับธนาคาร รองลงมาร้อยละ 27.8 เห็นว่ารัฐบาล
ควรกำหนดกฎหมายให้ชัดเจน / กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจน และร้อยละ 23.0 เห็นว่าควรกำหนดให้มีการผ่อนผันมากกว่านี้ / อย่าให้เอาเปรียบ
ลูกหนี้ / ให้ความยุติธรรมกับลูกหนี้
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การมีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 มีประสบการณ์กู้เงินด่วน 32.2
2 ไม่มีประสบการณ์กู้เงินด่วน 67.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ระบุแหล่งเงินกู้ไว้ดังต่อไปนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
1) อิออน ร้อยละ 31.2
2) กู้สินเชื่อนอกระบบ เช่น นายทุน เพื่อน เงินด่วนที่ประกาศตามเสาไฟฟ้า
ตู้โทรศัพท์ ข้างกำแพง ในชุมชนป้ายรถเมล์ เป็นต้น ร้อยละ 29.6
3) กู้จากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ร้อยละ 20.3
อาทิ ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์ทเตอร์ ธนาคารซิติ้แบ็งค์
ธนาคารกรุงไทย
4) อีซี่บาย ร้อยละ 18.0
5) เฟิร์สช้อย ร้อยละ 11.8
6) แคปปิตอลโอเค ร้อยละ 11.6
7) ควิชแคช ร้อยละ 6.6
8) เซทเทเลม ร้อยละ 3.1
9) อื่นๆ อาทิ จีอี เพอร์ซัลนัลเครดิต เอไอจี ร้อยละ 3.8
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวัตถุประสงค์ของการกู้เงินด่วน
(เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วัตถุประสงค์ของการกู้เงินด่วน ค่าร้อยละ
1 เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 39.7
2 เพื่อการลงทุน / ค้าขาย 32.5
3 เพื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า / มือถือ 26.5
4 เพื่อนำไปชำระหนี้เก่า 17.6
5 เพื่อการศึกษาของบุตรหลาน 12.4
6 เพื่อนำไปช่วยเหลือญาติ /พี่น้อง 6.7
7 กู้แทนคนอื่นที่ไม่มีเครดิต 5.9
8 เพื่อรักษาพยาบาลตัวเอง / ครอบครัว 5.4
9 อื่นๆ อาทิ ซื้อรถ ซ่อมแซมบ้าน แต่งงาน 10.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยยอดเงินกู้ทั้งสิ้นต่อคน และภาระผ่อนชำระต่อเดือน (เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้
เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ รายการ ค่าเฉลี่ย (บาท)
1 ยอดเงินกู้ทั้งสิ้นต่อคน 40,068.32
2 ภาระผ่อนชำระต่อเดือน 3,177.13
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการอ่านสัญญา(เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ
12 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ การอ่านสัญญา ค่าร้อยละ
1 อ่านโดยละเอียด 39.6
2 ไม่ได้อ่านโดยละเอียด 42.6
3 ไม่ได้อ่านเลย 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเข้าใจในรายละเอียดการขอกู้เงินด่วน
(เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา)
รายละเอียดการกู้เงินด่วน เข้าใจ ค่อนข้างเข้าใจ ไม่ค่อยเข้าใจ ไม่เข้าใจ รวมทั้งสิ้น
1) คุณสมบัติผู้ขอกู้ 68.7 17.2 9.6 4.5 100.0
2) เอกสารประกอบการขอกู้ 68.9 14.2 11.9 5.0 100.0
3) อัตราดอกเบี้ย 46.0 21.1 25.3 7.6 100.0
4) ค่าธรรมเนียมต่างๆ 39.6 21.5 28.2 10.7 100.0
5) การผ่อนชำระต่องวด 63.5 22.8 10.5 3.2 100.0
6) สิทธิประโยชน์จากการเป็นลูกค้าเงินกู้ 41.0 24.9 23.3 10.8 100.0
7) รายการส่งเสริมการขายในขณะนั้น (โปรโมชั่น) 37.8 22.1 26.3 13.8 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมในการเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ย (เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมในการเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ย ค่าร้อยละ
1 เป็นธรรม 31.0
2 ไม่เป็นธรรม 43.2
3 ไม่แน่ใจ 25.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมในการเรียกเก็บอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ (เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมในการเรียกเก็บอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าร้อยละ
1 เป็นธรรม 22.8
2 ไม่เป็นธรรม 49.9
3 ไม่แน่ใจ 27.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการค้างค่างวด (เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วน
ในรอบ12 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ การค้างค่างวด ค่าร้อยละ
1 ค้างชำระค่างวดบ่อยๆ 8.4
2 ค้างชำระค่างวดบ้างเป็นบางครั้ง 34.6
3 ไม่เคยค้างชำระค่างวดเลย 57.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรูปแบบการติดตามทวงหนี้ที่เคยประสบ
(เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รูปแบบการติดตามทวงหนี้ที่เคยประสบ ค่าร้อยละ
1 โทรศัพท์มาทวงบ่อยๆ 34.9
2 ติดตามมาที่บ้าน 17.4
3 พูดจาข่มขู่ ด่าทอ ก้าวร้าว 11.2
4 แจ้งความดำเนินคดี 8.1
5 ประจานกับบุคคลรอบข้าง 5.5
6 ฟ้องเจ้านาย 4.4
7 ก่อกวนบุคคลรอบข้าง 3.7
8 ทำลายทรัพย์สิน 1.1
9 ทำร้ายร่างกาย 0.7
10 อื่นๆ อาทิ ส่งแฟกซ์ ส่งจดหมายมาทวงหนี้ 7.0
11 ไม่เคยถูกติดตามทวงหนี้ 50.3
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกหากถูกติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรง ก้าวร้าว
เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา และเคยถูกติดตามทวงหนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกหากถูกติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรง ก้าวร้าว ค่าร้อยละ
1 หลบหน้า 50.3
2 พยายามหาเงินมาใช้หนี้ 31.0
3 ฟ้องสื่อมวลชน 22.2
4 เจรจาขอผ่อนผัน 11.9
5 ตอบโต้กลับ 7.3
6 ทำใจ 7.0
7 แจ้งความกับตำรวจ 5.3
8 ร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.6
9 อื่นๆ อาทิ หนีไปเลย ไม่จ่าย 1.5
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นด้วยกับการแจ้งความดำเนินคดีกับสถาบันการเงินที่เอาเปรียบผู้บริโภค (เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความเห็นด้วยกับการแจ้งความดำเนินคดีกับสถาบันการเงินที่เอาเปรียบผู้บริโภค ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 82.7
2 ไม่เห็นด้วย 8.8
3 ไม่มีความเห็น 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการต่อปัญหาสินเชื่อเงินด่วน
(เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แนวทางที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการต่อปัญหาสินเชื่อเงินด่วน ค่าร้อยละ
1 ลดดอกเบี้ยเงินกู้ / เก็บดอกเบี้ยเท่ากับธนาคาร 35.9
2 กำหนดกฎหมายให้ชัดเจน / กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจน 27.8
3 กำหนดให้มีการผ่อนผันมากกว่านี้ / อย่าให้เอาเปรียบลูกหนี้ / ให้ความยุติธรรมกับลูกหนี้ 23.0
4 จัดตั้งธนาคารคนจน / จัดตั้งกองทุนสำรองเพื่อคนจน / หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อคนจน 15.5
5 ตรวจสอบ และจับกุมแหล่งเงินกู้ที่เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยแพงกว่าที่กฎหมายกำหนด 10.7
6 จัดระบบสินเชื่อเงินด่วนให้ดีขึ้น / ปรับโครงสร้างในการกู้สินเชื่อเงินด่วน 7.4
7 ให้ ปปง. ยึดทรัพย์แหล่งเงินกู้ที่กระทำผิดกฎหมาย / ปิดบริษัท 6.5
8 อื่นๆ อาทิ งดการจ่ายค่าธรรมเนียม , ดูแลวิธีการทวงหนี้ , ควบคุมโฆษณาชวนเชื่อ เป็นต้น 7.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
จากข่าวที่มีผู้แจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทสินเชื่อเงินด่วนแห่งหนึ่งในฐานเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ทำให้สังคมหัน
มาให้ความสนใจกับการให้สินเชื่อเงินด่วนกันมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีหลายองค์กรธุรกิจทั้งที่เป็นธนาคาร (Bank) และไม่ใช่ธนาคาร (Non Bank)
ดำเนินธุรกิจให้กู้สินเชื่อเงินด่วน สินเชื่อเงินด่วนอาจเรียกแตกต่างกันไป อาทิ สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ (Ready Credit) สินเชื่อส่วนบุคคล
(Personal Loan / Personal Credit) สินเชื่อเงินด่วนนี้จะไม่ต้องนำหลักทรัพย์หรือบุคคลมาค้ำประกัน และโดยมากหากเป็นสถาบันเงินกู้ในระบบ
จะให้วงเงินสินเชื่อโดยคำนึงถึงรายได้ต่อเดือนของผู้กู้เช่นเดียวกับการให้วงเงินเครดิต จุดขายของธุรกิจนี้คือ ความสะดวกในการขอกู้ และความรวด
เร็วในการรับเงินสด จึงเอื้อให้คนเป็นหนี้กันมากขึ้นและง่ายขึ้นด้วย ในขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆ ของสินเชื่อเงินด่วนจะสูง
มาก จึงเป็นที่น่าสนใจศึกษาว่าภาระจากการเป็นหนี้สินเงินด่วนนั้น นำมาสู่ปัญหาและความเดือดร้อนอย่างไรบ้าง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจภาวะการเป็นหนี้จากสินเชื่อเงินด่วน
2. เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจของลูกหนี้ต่อรายละเอียดในการกู้เงินด่วน
3. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาและความเดือดร้อนของลูกหนี้สินเชื่อเงินด่วน
4. ผลการสำรวจที่ได้จะสะท้อนสภาพปัญหาสินเชื่อเงินด่วน เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความเดือดร้อนจากปัญหาการกู้สินเชื่อเงินด่วน :
กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 23 -24 พฤศจิกายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi Stage Sampling) จำแนกตามเขตกรุงเทพมหานคร
ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,469 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.3 เป็นหญิง ร้อยละ 45.7 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 30.2
อายุ 30-39 ปี ร้อยละ 29.4 อายุ 40-49 ปี ร้อยละ 23.0 อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 14.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 3.1 อายุต่ำกว่า
20 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 40.7 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.0 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. / มัธยมศึกษาตอน
ปลาย ร้อยละ 20.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 8.8 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / ปวท. / อนุปริญญา และร้อยละ 1.4 สำเร็จ
การศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 37.6 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 25.9 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ
16.0 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 6.5 เป็นนักศึกษา และ เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / ผู้เกษียณอายุ ร้อยละ 5.7 อาชีพข้าราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 1.8 ไม่ระบุอาชีพ รวมทั้งว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากการกู้สินเชื่อเงิน
ด่วน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,469 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 23-
24 พฤศจิกายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
จากการสอบถามประสบการณ์การกู้สินเชื่อเงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 32.2 กู้สินเชื่อเงินด่วน และร้อย
ละ 67.8 ไม่ได้กู้สินเชื่อเงินด่วน เฉพาะตัวอย่างที่กู้สินเชื่อเงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ระบุแหล่งเงินกู้ไว้ดังนี้ ร้อยละ 31.2 กู้จากอิออน รอง
ลงมาร้อยละ 29.6 กู้สินเชื่อนอกระบบ เช่น นายทุน เพื่อน เงินด่วนที่ประกาศตามเสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์ ข้างกำแพง ในชุมชนป้ายรถเมล์ เป็นต้น
และร้อยละ 20.3 กู้จากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ อาทิ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์ทเตอร์ ธนาคารซิติ้แบงค์ ธนาคารกรุงไทย ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวอย่างที่กู้
สินเชื่อเงินด่วนระบุวัตถุประสงค์ที่สำคัญไว้ดังนี้ ร้อยละ 39.7 นำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รองลงมาร้อยละ 32.5 เพื่อนำไปลงทุน / ค้าขาย และ
ร้อยละ 26.5 เพื่อนำไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า / มือถือ ตามลำดับ
จากการสอบถามยอดเงินกู้สินเชื่อเงินด่วนทั้งสิ้นในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วตัวอย่างเป็นหนี้ 40,068.32 บาท โดย
มีภาระผ่อนชำระโดยเฉลี่ย 3,177.13 บาท
เมื่อสอบถามถึงการอ่านสัญญาเงินกู้แล้ว พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่ง คือร้อยละ 60.4 ไม่ให้ความสำคัญกับการอ่านสัญญา จำแนกเป็น
ร้อยละ 42.6 ระบุว่าอ่านแต่ไม่ละเอียด และร้อยละ 17.8 ระบุว่าไม่ได้อ่านสัญญาเงินกู้เลย ดังนั้นจึงมีเพียงร้อยละ 39.6 เท่านั้นที่อ่านสัญญาโดย
ละเอียด และเมื่อสอบถามความเข้าใจในรายละเอียดของการขอกู้เงินด่วน พิจารณาในด้านที่ตัวอย่างมีความเข้าใจดี พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 86.3
ระบุด้านการผ่อนชำระต่องวด รองลงมาร้อยละ 85.9 ระบุด้านคุณสมบัติของผู้ขอกู้ และร้อยละ 83.1 ระบุด้านเอกสารประกอบการกู้ ตามลำดับ เมื่อ
กลับมาพิจารณาด้านที่ตัวอย่างยังไม่มีความเข้าใจดี พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.1 ระบุด้านรายการส่งเสริมการขายในขณะนั้น รองลงมาร้อย
ละ 38.9 ระบุด้านค่าธรรมเนียมต่างๆ และร้อยละ 32.9 ระบุด้านสิทธิประโยชน์จากการเป็นลูกค้าเงินกู้ ตามลำดับ
ทั้งนี้ ตัวอย่างร้อยละ 43.2 เห็นว่าแหล่งเงินกู้ที่ตนไปกู้เงินด่วนมานั้น เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยไม่เป็นธรรม มีเพียงส่วนน้อยคือ ร้อยละ
31.0 ที่เห็นว่าเป็นธรรม และตัวอย่าง ร้อยละ 25.8 ไม่แน่ใจ เมื่อสอบถามถึงความเป็นธรรมในการเรียกเก็บอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ บ้าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 49.9 เห็นว่าไม่เป็นธรรม และไม่เพียงส่วนน้อยเช่นเดียวกัน คือร้อยละ 22.8 ที่เห็นว่าเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ
57.0 ก็ไม่เคยค้างชำระค่างวดเลย โดยร้อยละ 34.6 ค้างชำระค่างวดบ้างเป็นบางครั้ง และร้อยละ 8.4 ค้างชำระค่างวดบ่อยๆ
สำหรับการติดตามทวงหนี้ที่เกิดขึ้น ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 34.9 ระบุว่าถูกโทรศัพท์มาทวงบ่อยๆ รองลงมาร้อยละ 17.4 ถูกติดตามมา
ถึงที่บ้าน และร้อยละ 11.2 ถูกพูดจาข่มขู่ ด่าทอ ก้าวร้าว ตามลำดับ โดยที่ร้อยละ 50.3 ไม่เคยถูกติดตามทวงหนี้แต่อย่างใด ซึ่งตัวอย่างที่ถูกติดตาม
ทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรงก้าวร้าวมีทางออกคือ ร้อยละ 50.3 จะหลบหน้า รองลงมาร้อยละ 31.0 จะพยายามหาเงินมาใช้หนี้ และร้อยละ 22.2 จะ
ฟ้องต่อสื่อมวลชน ตามลำดับ ที่น่าสนใจคือ มีเพียงร้อยละ 5.3 เท่านั้นที่จะเข้าแจ้งความกับตำรวจ
จากการที่มีผู้แจ้งความดำเนินคดีกับสถาบันการเงินที่เอาเปรียบผู้บริโภคตามที่เป็นข่าวดังอยู่ในขณะนี้ ตัวอย่างสูงถึงร้อยละ 82.7 ระบุว่า
เห็นด้วย มีเพียงส่วนน้อยคือ ร้อยละ 8.8 ที่ไม่เห็นด้วย โดยร้อยละ 8.5 ไม่มีความเห็น เมื่อสอบถามถึงความต้องการให้รัฐบาลดำเนินการต่อปัญหา
สินเชื่อเงินด่วน พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 35.9 เห็นว่า ควรลดดอกเบี้ยเงินกู้ / เก็บดอกเบี้ยเท่ากับธนาคาร รองลงมาร้อยละ 27.8 เห็นว่ารัฐบาล
ควรกำหนดกฎหมายให้ชัดเจน / กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจน และร้อยละ 23.0 เห็นว่าควรกำหนดให้มีการผ่อนผันมากกว่านี้ / อย่าให้เอาเปรียบ
ลูกหนี้ / ให้ความยุติธรรมกับลูกหนี้
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การมีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 มีประสบการณ์กู้เงินด่วน 32.2
2 ไม่มีประสบการณ์กู้เงินด่วน 67.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ระบุแหล่งเงินกู้ไว้ดังต่อไปนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
1) อิออน ร้อยละ 31.2
2) กู้สินเชื่อนอกระบบ เช่น นายทุน เพื่อน เงินด่วนที่ประกาศตามเสาไฟฟ้า
ตู้โทรศัพท์ ข้างกำแพง ในชุมชนป้ายรถเมล์ เป็นต้น ร้อยละ 29.6
3) กู้จากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ร้อยละ 20.3
อาทิ ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์ทเตอร์ ธนาคารซิติ้แบ็งค์
ธนาคารกรุงไทย
4) อีซี่บาย ร้อยละ 18.0
5) เฟิร์สช้อย ร้อยละ 11.8
6) แคปปิตอลโอเค ร้อยละ 11.6
7) ควิชแคช ร้อยละ 6.6
8) เซทเทเลม ร้อยละ 3.1
9) อื่นๆ อาทิ จีอี เพอร์ซัลนัลเครดิต เอไอจี ร้อยละ 3.8
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวัตถุประสงค์ของการกู้เงินด่วน
(เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วัตถุประสงค์ของการกู้เงินด่วน ค่าร้อยละ
1 เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 39.7
2 เพื่อการลงทุน / ค้าขาย 32.5
3 เพื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า / มือถือ 26.5
4 เพื่อนำไปชำระหนี้เก่า 17.6
5 เพื่อการศึกษาของบุตรหลาน 12.4
6 เพื่อนำไปช่วยเหลือญาติ /พี่น้อง 6.7
7 กู้แทนคนอื่นที่ไม่มีเครดิต 5.9
8 เพื่อรักษาพยาบาลตัวเอง / ครอบครัว 5.4
9 อื่นๆ อาทิ ซื้อรถ ซ่อมแซมบ้าน แต่งงาน 10.4
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยยอดเงินกู้ทั้งสิ้นต่อคน และภาระผ่อนชำระต่อเดือน (เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้
เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ รายการ ค่าเฉลี่ย (บาท)
1 ยอดเงินกู้ทั้งสิ้นต่อคน 40,068.32
2 ภาระผ่อนชำระต่อเดือน 3,177.13
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการอ่านสัญญา(เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ
12 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ การอ่านสัญญา ค่าร้อยละ
1 อ่านโดยละเอียด 39.6
2 ไม่ได้อ่านโดยละเอียด 42.6
3 ไม่ได้อ่านเลย 17.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเข้าใจในรายละเอียดการขอกู้เงินด่วน
(เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา)
รายละเอียดการกู้เงินด่วน เข้าใจ ค่อนข้างเข้าใจ ไม่ค่อยเข้าใจ ไม่เข้าใจ รวมทั้งสิ้น
1) คุณสมบัติผู้ขอกู้ 68.7 17.2 9.6 4.5 100.0
2) เอกสารประกอบการขอกู้ 68.9 14.2 11.9 5.0 100.0
3) อัตราดอกเบี้ย 46.0 21.1 25.3 7.6 100.0
4) ค่าธรรมเนียมต่างๆ 39.6 21.5 28.2 10.7 100.0
5) การผ่อนชำระต่องวด 63.5 22.8 10.5 3.2 100.0
6) สิทธิประโยชน์จากการเป็นลูกค้าเงินกู้ 41.0 24.9 23.3 10.8 100.0
7) รายการส่งเสริมการขายในขณะนั้น (โปรโมชั่น) 37.8 22.1 26.3 13.8 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมในการเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ย (เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมในการเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ย ค่าร้อยละ
1 เป็นธรรม 31.0
2 ไม่เป็นธรรม 43.2
3 ไม่แน่ใจ 25.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมในการเรียกเก็บอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ (เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมในการเรียกเก็บอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่าร้อยละ
1 เป็นธรรม 22.8
2 ไม่เป็นธรรม 49.9
3 ไม่แน่ใจ 27.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการค้างค่างวด (เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วน
ในรอบ12 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ การค้างค่างวด ค่าร้อยละ
1 ค้างชำระค่างวดบ่อยๆ 8.4
2 ค้างชำระค่างวดบ้างเป็นบางครั้ง 34.6
3 ไม่เคยค้างชำระค่างวดเลย 57.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรูปแบบการติดตามทวงหนี้ที่เคยประสบ
(เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รูปแบบการติดตามทวงหนี้ที่เคยประสบ ค่าร้อยละ
1 โทรศัพท์มาทวงบ่อยๆ 34.9
2 ติดตามมาที่บ้าน 17.4
3 พูดจาข่มขู่ ด่าทอ ก้าวร้าว 11.2
4 แจ้งความดำเนินคดี 8.1
5 ประจานกับบุคคลรอบข้าง 5.5
6 ฟ้องเจ้านาย 4.4
7 ก่อกวนบุคคลรอบข้าง 3.7
8 ทำลายทรัพย์สิน 1.1
9 ทำร้ายร่างกาย 0.7
10 อื่นๆ อาทิ ส่งแฟกซ์ ส่งจดหมายมาทวงหนี้ 7.0
11 ไม่เคยถูกติดตามทวงหนี้ 50.3
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทางออกหากถูกติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรง ก้าวร้าว
เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา และเคยถูกติดตามทวงหนี้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทางออกหากถูกติดตามทวงหนี้ด้วยวิธีการรุนแรง ก้าวร้าว ค่าร้อยละ
1 หลบหน้า 50.3
2 พยายามหาเงินมาใช้หนี้ 31.0
3 ฟ้องสื่อมวลชน 22.2
4 เจรจาขอผ่อนผัน 11.9
5 ตอบโต้กลับ 7.3
6 ทำใจ 7.0
7 แจ้งความกับตำรวจ 5.3
8 ร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.6
9 อื่นๆ อาทิ หนีไปเลย ไม่จ่าย 1.5
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นด้วยกับการแจ้งความดำเนินคดีกับสถาบันการเงินที่เอาเปรียบผู้บริโภค (เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความเห็นด้วยกับการแจ้งความดำเนินคดีกับสถาบันการเงินที่เอาเปรียบผู้บริโภค ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 82.7
2 ไม่เห็นด้วย 8.8
3 ไม่มีความเห็น 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการต่อปัญหาสินเชื่อเงินด่วน
(เฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์กู้เงินด่วนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แนวทางที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการต่อปัญหาสินเชื่อเงินด่วน ค่าร้อยละ
1 ลดดอกเบี้ยเงินกู้ / เก็บดอกเบี้ยเท่ากับธนาคาร 35.9
2 กำหนดกฎหมายให้ชัดเจน / กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ชัดเจน 27.8
3 กำหนดให้มีการผ่อนผันมากกว่านี้ / อย่าให้เอาเปรียบลูกหนี้ / ให้ความยุติธรรมกับลูกหนี้ 23.0
4 จัดตั้งธนาคารคนจน / จัดตั้งกองทุนสำรองเพื่อคนจน / หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อคนจน 15.5
5 ตรวจสอบ และจับกุมแหล่งเงินกู้ที่เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยแพงกว่าที่กฎหมายกำหนด 10.7
6 จัดระบบสินเชื่อเงินด่วนให้ดีขึ้น / ปรับโครงสร้างในการกู้สินเชื่อเงินด่วน 7.4
7 ให้ ปปง. ยึดทรัพย์แหล่งเงินกู้ที่กระทำผิดกฎหมาย / ปิดบริษัท 6.5
8 อื่นๆ อาทิ งดการจ่ายค่าธรรมเนียม , ดูแลวิธีการทวงหนี้ , ควบคุมโฆษณาชวนเชื่อ เป็นต้น 7.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-