ที่มาของโครงการ
ภายหลังจากเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่าน รัฐบาลภายใต้การนำ
ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ได้เดินหน้าร่างแผนงานการบริหารราชการแผ่นดินและแผนปฏิบัติ
งานของแต่ละกระทรวงเพื่อเร่งดำเนินการตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ อย่างไรก็ตามในช่วงเวลากว่า 3 เดือนที่
ผ่านมาของรัฐบาลนั้น มีเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ เกิดขึ้นมากมายที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดทักษิณ
2/1 และเป็นที่น่าจับตามองจากกลุ่มผู้ที่สนใจติดตามหลายฝ่าย ซึ่งประเด็นคำถามที่น่าพิจารณาคือตลอดระยะเวลาการ
เข้ามาดำรงตำแหน่งของรัฐมนตรีชุดนี้นั้น ผลงานของรัฐมนตรีในรายบุคคลได้สร้างความพอใจหรือไม่พอใจให้กับ
ประชาชนมากน้อยเพียงใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลงานของคณะ
รัฐมนตรีในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ด้วยการส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ ตัวอย่างที่
ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผลงานของคณะรัฐมนตรีในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อผลงานที่น่าประทับใจของกระทรวงต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงานราชการไทย
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิด
อย่างไรกับผลงานของคณะรัฐมนตรีในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 1-4 กรกฎาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,427 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.2 เป็นหญิง ร้อยละ 45.8 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 29.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 21.8
อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 17.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 6.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ
74.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 23.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 31.4 อาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว รองลงมาคือร้อย
ละ 21.7 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 22.9 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.6 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐ
วิสาหกิจ ร้อยละ 6.1 เป็นนักศึกษา/นักเรียน ร้อยละ 5.3 ระบุอื่นๆ อาทิ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อบุคคลในคณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ประชาชนพอใจต่อผลงานโดยภาพรวม
อันดับที่ รายชื่อคณะรัฐมนตรี ตำแหน่ง ร้อยละ
1 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รมว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 69.5
2 พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 65.8
3 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รมว. กระทรวงยุติธรรม 56.6
4 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี 55.1
5 นายประชา มาลีนนท์ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 54.1
6 นายกร ทัพพะรังสี รมว. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 53.1
7 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว. กระทรวงการคลัง 51.8
8 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี 50.6
9 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี 50.4
10 พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รมว. กระทรวงกลาโหม 48.5
11 นายอดิศัย โพธารามิก รมว. กระทรวงศึกษาธิการ 47.6
12 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา 45.9
13 นางอุไรวรรณ เทียนทอง รมว. กระทรวงวัฒนธรรม 45.3
14 พล.ต.อ. ชิดชัย วรรณสถิตย์ รมว. กระทรวงมหาดไทย 44.8
15 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 43.3
16 นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รมว. กระทรวงแรงงาน 42.6
17 นายสุรนันทน์เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 41.3
18 นายวราเทพ รัตนากร รมช. กระทรวงการคลัง 40.8
19 นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี 40.1
20 นายเนวิน ชิดชอบ รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 39.3
21 นายอดิศร เพียงเกษ รมช. กระทรวงคมนาคม 38.6
22 นายสมชาย สุนทรวัฒน์ รมช. กระทรวงมหาดไทย 38.2
23 นายทนง พิทยะ รมว. กระทรวงพาณิชย์ 37.1
24 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช. กระทรวงมหาดไทย 36.2
25 นายแพทย์สุชัย เจริญรัตนกุล รมว. กระทรวงสาธารณสุข 35.6
26 นายยงยุทธ ติยะไพรัช รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 34.1
27 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รมว. กระทรวงการต่างประเทศ 33.8
28 นายปรีชา เลาหะพงศ์ชนะ รมช. กระทรวงการต่างประเทศ 33.1
29 นายวัฒนา เมืองสุข รมว. กระทรวงอุตสาหกรรม 32.4
30 นายรุ่ง แก้วแดง รมช. กระทรวงศึกษาธิการ 31.1
31 นายวิเศษ จูภิบาล รมว. กระทรวงพลังงาน 28.8
32 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมช. กระทรวงสาธารณสุข 28.7
33 นายไชยยศ สะสมทรัพย์ รมช. กระทรวงการคลัง 28.3
34 นายภูมิธรรม เวชยชัย รมช. กระทรวงคมนาคม 27.3
35 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว. กระทรวงคมนาคม 27.1
36 นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน รมช. กระทรวงพาณิชย์ 26.2
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กระทรวงที่น่าประทับใจในการทำงานของข้าราชการประจำ
โดยภาพรวม (ตอบได้มากกว่า 1 กระทรวง)
ลำดับที่ รายชื่อกระทรวง ค่าร้อยละ
1 กระทรวงสาธารณสุข 36.6
2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 19.2
3 กระทรวงมหาดไทย 18.9
4 กระทรวงยุติธรรม 17.9
5 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 17.0
6 กระทรวงศึกษาธิการ 16.9
7 กระทรวงการคลัง 13.3
8 กระทรวงคมนาคม 11.0
9 กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา 9.2
10 อื่นๆอาทิกระทรวงการต่างประเทศ/กระทรวงกลาโหม/
กระทรวงแรงงาน/กระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น 19.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันควรปรับปรุง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันควรปรับปรุง ค่าร้อยละ
1 ความซื่อสัตย์สุจริต/ความโปร่งใสในการทำงาน 39.4
2 เร่งทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 26.2
3 แก้ปัญหาเรื่องราคาน้ำมัน 18.2
4 แก้ปัญหาความยากจนของประชาชน 15.5
5 แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด 11.1
6 แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 8.6
7 แก้ไขปัญหายาเสพติด 5.9
8 การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 4.2
9 ปัญหาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง 3.3
10 อื่นๆ อาทิ แก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและ
ทรัพย์สินของประชาชน /คุณสมบัติของรัฐมนตรี/ทำงาน
ให้มากขึ้นลดการสร้างภาพลง เป็นต้น 9.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับคณะรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับคณะรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ควร 48.6
2 ไม่ควร 16.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 35.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ภายหลังจากเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่าน รัฐบาลภายใต้การนำ
ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ได้เดินหน้าร่างแผนงานการบริหารราชการแผ่นดินและแผนปฏิบัติ
งานของแต่ละกระทรวงเพื่อเร่งดำเนินการตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้ อย่างไรก็ตามในช่วงเวลากว่า 3 เดือนที่
ผ่านมาของรัฐบาลนั้น มีเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ เกิดขึ้นมากมายที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลชุดทักษิณ
2/1 และเป็นที่น่าจับตามองจากกลุ่มผู้ที่สนใจติดตามหลายฝ่าย ซึ่งประเด็นคำถามที่น่าพิจารณาคือตลอดระยะเวลาการ
เข้ามาดำรงตำแหน่งของรัฐมนตรีชุดนี้นั้น ผลงานของรัฐมนตรีในรายบุคคลได้สร้างความพอใจหรือไม่พอใจให้กับ
ประชาชนมากน้อยเพียงใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลงานของคณะ
รัฐมนตรีในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ด้วยการส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ ตัวอย่างที่
ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผลงานของคณะรัฐมนตรีในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อผลงานที่น่าประทับใจของกระทรวงต่างๆ
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงานราชการไทย
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิด
อย่างไรกับผลงานของคณะรัฐมนตรีในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่ 1-4 กรกฎาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย
จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,427 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.2 เป็นหญิง ร้อยละ 45.8 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 29.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 21.8
อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 17.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 6.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ
74.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 23.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 31.4 อาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว รองลงมาคือร้อย
ละ 21.7 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 22.9 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.6 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐ
วิสาหกิจ ร้อยละ 6.1 เป็นนักศึกษา/นักเรียน ร้อยละ 5.3 ระบุอื่นๆ อาทิ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อบุคคลในคณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่ประชาชนพอใจต่อผลงานโดยภาพรวม
อันดับที่ รายชื่อคณะรัฐมนตรี ตำแหน่ง ร้อยละ
1 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รมว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 69.5
2 พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 65.8
3 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รมว. กระทรวงยุติธรรม 56.6
4 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี 55.1
5 นายประชา มาลีนนท์ รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 54.1
6 นายกร ทัพพะรังสี รมว. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 53.1
7 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รมว. กระทรวงการคลัง 51.8
8 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี 50.6
9 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี 50.4
10 พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รมว. กระทรวงกลาโหม 48.5
11 นายอดิศัย โพธารามิก รมว. กระทรวงศึกษาธิการ 47.6
12 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา 45.9
13 นางอุไรวรรณ เทียนทอง รมว. กระทรวงวัฒนธรรม 45.3
14 พล.ต.อ. ชิดชัย วรรณสถิตย์ รมว. กระทรวงมหาดไทย 44.8
15 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 43.3
16 นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รมว. กระทรวงแรงงาน 42.6
17 นายสุรนันทน์เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 41.3
18 นายวราเทพ รัตนากร รมช. กระทรวงการคลัง 40.8
19 นายพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี 40.1
20 นายเนวิน ชิดชอบ รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 39.3
21 นายอดิศร เพียงเกษ รมช. กระทรวงคมนาคม 38.6
22 นายสมชาย สุนทรวัฒน์ รมช. กระทรวงมหาดไทย 38.2
23 นายทนง พิทยะ รมว. กระทรวงพาณิชย์ 37.1
24 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช. กระทรวงมหาดไทย 36.2
25 นายแพทย์สุชัย เจริญรัตนกุล รมว. กระทรวงสาธารณสุข 35.6
26 นายยงยุทธ ติยะไพรัช รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 34.1
27 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รมว. กระทรวงการต่างประเทศ 33.8
28 นายปรีชา เลาหะพงศ์ชนะ รมช. กระทรวงการต่างประเทศ 33.1
29 นายวัฒนา เมืองสุข รมว. กระทรวงอุตสาหกรรม 32.4
30 นายรุ่ง แก้วแดง รมช. กระทรวงศึกษาธิการ 31.1
31 นายวิเศษ จูภิบาล รมว. กระทรวงพลังงาน 28.8
32 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมช. กระทรวงสาธารณสุข 28.7
33 นายไชยยศ สะสมทรัพย์ รมช. กระทรวงการคลัง 28.3
34 นายภูมิธรรม เวชยชัย รมช. กระทรวงคมนาคม 27.3
35 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว. กระทรวงคมนาคม 27.1
36 นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน รมช. กระทรวงพาณิชย์ 26.2
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กระทรวงที่น่าประทับใจในการทำงานของข้าราชการประจำ
โดยภาพรวม (ตอบได้มากกว่า 1 กระทรวง)
ลำดับที่ รายชื่อกระทรวง ค่าร้อยละ
1 กระทรวงสาธารณสุข 36.6
2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 19.2
3 กระทรวงมหาดไทย 18.9
4 กระทรวงยุติธรรม 17.9
5 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 17.0
6 กระทรวงศึกษาธิการ 16.9
7 กระทรวงการคลัง 13.3
8 กระทรวงคมนาคม 11.0
9 กระทรวงท่องเที่ยวและการกีฬา 9.2
10 อื่นๆอาทิกระทรวงการต่างประเทศ/กระทรวงกลาโหม/
กระทรวงแรงงาน/กระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น 19.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันควรปรับปรุง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันควรปรับปรุง ค่าร้อยละ
1 ความซื่อสัตย์สุจริต/ความโปร่งใสในการทำงาน 39.4
2 เร่งทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 26.2
3 แก้ปัญหาเรื่องราคาน้ำมัน 18.2
4 แก้ปัญหาความยากจนของประชาชน 15.5
5 แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด 11.1
6 แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 8.6
7 แก้ไขปัญหายาเสพติด 5.9
8 การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 4.2
9 ปัญหาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง 3.3
10 อื่นๆ อาทิ แก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและ
ทรัพย์สินของประชาชน /คุณสมบัติของรัฐมนตรี/ทำงาน
ให้มากขึ้นลดการสร้างภาพลง เป็นต้น 9.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับคณะรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับคณะรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ควร 48.6
2 ไม่ควร 16.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 35.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-