เอแบคโพลล์: เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังและการให้บริการของกรมศุลกากรในทรรศนะของกลุ่มบริษัทนำเข้า-ส่งออก

ข่าวผลสำรวจ Tuesday July 12, 2005 11:51 —เอแบคโพลล์

ที่มาของโครงการ
จากสถานการณ์ค่าเงินบาทที่กำลังอ่อนค่าลงจนมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงทิศทางของ
เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง ซึ่งกลุ่มบุคคลที่น่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ค่าเงินบาทคือกลุ่มธุรกิจนำเข้า-
ส่งออก สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการศึกษาความคิดเห็น ความเชื่อมั่นของกลุ่มบริษัทนำ
เข้า-ส่งออกต่อสถานการณ์ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกและสภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง เพื่อสะท้อนข้อมูลทางสถิติศาสตร์
กลับไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขต่อไป
นอกจากนี้ หน่วยงานราชการแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจนำเข้า — ส่งออก ได้แก่
กรมศุลกากร เพราะเป็นหน่วยงานที่ให้บริการต่อกลุ่มบริษัทนำเข้า-ส่งออก ซึ่งหากการให้บริการของกรมศุลกากรมี
ปัญหาและมีการแสวงหาผลประโยชน์จากเงินค่าตอบแทนนอกระบบ ผลที่ตามมาคือความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดย
รวมของประเทศ และต่อภาพลักษณ์ในทางลบของกรมศุลกากรเอง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากกลุ่มบริษัทนำเข้า-ส่งออกต่อการให้บริการของกรมศุลกากร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บ
รวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของกลุ่มธุรกิจนำเข้า-ส่งออกต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในครึ่งปีหลัง
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจ และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ต่อการให้บริการของกรมศุลกากร
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกในอนาคต
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “เศรษฐกิจไทย
ครึ่งปีหลังและการให้บริการของกรมศุลกากรในทรรศนะของกลุ่มบริษัทนำเข้า-ส่งออก” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน — 11 กรกฎาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ บริษัทนำเข้า-ส่งออกทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเชิงระบบ (systematic sampling) จากบัญชี
รายชื่อในการเลือกตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 479 บริษัท
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.5 เป็นหญิง ร้อยละ 43.5 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 38.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 31.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ
15.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 14.4 อายุต่ำกว่า 30 ปี ตัวอย่างร้อยละ 76.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี ร้อยละ 14.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี และร้อยละ 9.7 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่า
ระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 82.3 ดำเนินธุรกิจทั้งนำเข้า-ส่งออก ร้อยละ 13.8 ดำเนินธุรกิจส่งออกอย่าง
เดียว และร้อยละ 3.9 ดำเนินธุรกิจนำเข้าอย่างเดียว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังและการให้
บริการของกรมศุลกากรในทรรศนะของกลุ่มบริษัทนำเข้า-ส่งออก” ในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากบริษัทนำ
เข้า-ส่งออกทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 479 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 20
มิถุนายน — 11 กรกฎาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 77.5 นำเข้าสินค้าทางทะเล ร้อยละ 72.5 นำเข้าสินค้าทางอากาศ
และร้อยละ 15.9 นำเข้าสินค้าทางบก ในขณะที่ร้อยละ 87.4 ส่งออกสินค้าทางทะเล ร้อยละ 74.7 ส่งออกสินค้า
ทางอากาศ และร้อยละ 28.6 ส่งออกสินค้าทางบก
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความถี่ที่ไปใช้บริการที่กรมศุลกากรนั้น พบว่า ร้อยละ 29.4 ระบุว่าติดต่อ
กรมศุลกากรทุกวัน ร้อยละ 24.9 ระบุว่าติดต่อ 1-2 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 23.7 ระบุว่าติดต่อ 3-4 วันต่อ
สัปดาห์ และร้อยละ 22.0 ระบุว่าติดต่อน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 59.3 ติดต่อผ่านบริษัท
ชิปปิ้ง ร้อยละ 54.4 ติดต่อโดยพนักงานบริษัท และร้อยละ 18.7 ติดต่อด้วยตนเอง สำหรับประเภทบริการที่ไปใช้
บริการจากกรมศุลกากร 3 อันดับแรก ได้แก่ ทำบัตรผ่านพิธีการ (ร้อยละ 89.6) บริการพิธีการเสียภาษี
(ร้อยละ 61.0) และขอคืนอากร (ร้อยละ 56.0) ตามลำดับ
ความพึงพอใจต่อการให้บริการของกรมศุลกากร ในด้านต่างๆ มีดังนี้
1. ด้านการบริการของเจ้าหน้าที่ โดยภาพรวมแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 61.5 ระบุปานกลาง ร้อยละ
22.2 ระบุไม่พอใจ-ไม่พอใจเลย และร้อยละ 16.3 ระบุพอใจ-พอใจมาก
2. ด้านอาคารสถานที่ โดยภาพรวมแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 51.6 ระบุปานกลาง ร้อยละ 28.6 ระบุ
พอใจ-พอใจมาก และร้อยละ 19.8 ระบุไม่พอใจ-ไม่พอใจเลย
3. ด้านขั้นตอนการให้บริการ โดยภาพรวมแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 56.4 ระบุปานกลาง ร้อยละ
21.8 ระบุพอใจ-พอใจมาก และร้อยละ 21.8 ระบุไม่พอใจ-ไม่พอใจเลย
4. ด้านการให้บริการข้อมูล/ข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต โดยภาพรวมแล้ว ตัวอย่างร้อยละ 57.4 ระบุ
ปานกลาง ร้อยละ 24.4 ระบุพอใจ-พอใจมาก และร้อยละ 18.2 ระบุไม่พอใจ-ไม่พอใจเลย
เมื่อพูดถึงโดยภาพรวมต่อการให้บริการของกรมศุลกากร พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 59.4 ระบุพอใจใน
ระดับปานกลาง ร้อยละ 27.0 ระบุไม่พอใจ-ไม่พอใจเลย และร้อยละ 13.6 ระบุพอใจ-พอใจมาก
สำหรับปัญหา-อุปสรรคจากการใช้บริการของกรมศุลกากรนั้น 3 อันดับแรก ได้แก่ เจ้าหน้าที่บริการล่า
ช้า (ร้อยละ 35.5) เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ ความสามารถในการให้ข้อมูลกับผู้ใช้บริการ (ร้อยละ 19.0) และเจ้า
หน้าที่ไม่เต็มใจในการให้บริการ (ร้อยละ 17.3)
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณา คือ ประสบการณ์ที่เคยถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ นั้น พบว่า
ตัวอย่างเกินครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 66.2 เคยถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ และร้อยละ 33.8 ไม่เคยมี
ประสบการณ์ดังกล่าว สำหรับช่วงเวลาที่ตัวอย่างเคยถูกเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะครั้งล่าสุด พบว่า ร้อยละ 37.0 ระบุ
นานกว่า 3 เดือน ร้อยละ 28.1 ระบุ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 12.0 ระบุ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ
12.0 ระบุ 1 เดือนที่ผ่านมา และร้อยละ 10.9 ระบุ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 92.0 เคยจ่ายเงินใต้
โต๊ะให้กับเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพราะ ต้องการได้รับบริการที่รวดเร็ว ไม่อยากเสียเวลา / เป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมา
ช้านาน / ไม่อยากมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ เป็นต้น และร้อยละ 8.0 ไม่จ่ายเงินใต้โต๊ะ เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการร้อง
เรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อถูกเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ พบว่า ร้อยละ 77.2 ไม่เคยร้อง
เรียน เพราะ ไม่มีประโยชน์ ไม่สามารถแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้ / กลัวจะถูกกลั่นแกล้ง และจะไม่ได้รับการบริการใน
ครั้งต่อไป / ไม่ทราบว่าจะต้องร้องเรียนที่ไหน เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 57.8 ระบุว่าผลการร้องเรียนนั้นไม่
สามารถจะแก้ไขได้ ร้อยละ 31.6 ระบุว่าเรื่องเงียบหายไป ร้อยละ 5.3 ระบุว่าแก้ไขได้ และร้อยละ 5.3 ระบุ
ว่าอยู่ในระหว่างดำเนินการ
ทั้งนี้ ตัวอย่างยังระบุข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการให้บริการของกรมศุลกากร 5 อันดับแรก ได้แก่ ควรมี
การลดขั้นตอนการทำงาน (ร้อยละ 26.9) เจ้าหน้าที่ควรมีความรู้ ความสามารถในการตอบคำถามให้กับผู้มาติดต่อ
มากกว่านี้ (ร้อยละ 26.9) ควรปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 23.1) เจ้าหน้าที่ควรบริการรวดเร็วกว่า
นี้ (ร้อยละ 14.4) และควรปรับปรุงรายละเอียดต่างๆ ในเว็ปไซด์ให้ชัดเจนกว่านี้ (ร้อยละ 12.5) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงยอดการนำเข้า-ส่งออกในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันใน
ปีที่ผ่านมา ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 40.0 ระบุว่ายอดส่งออกเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน ตัวอย่างร้อยละ 30.6 ระบุว่ายอดนำ
เข้าเท่าเดิม และเมื่อสอบถามถึงแนวโน้มของธุรกิจนำเข้า-ส่งออกในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ตัวอย่างเกือบครึ่ง
หนึ่ง หรือร้อยละ 48.2 ระบุว่ามีแนวโน้มทรงตัว ร้อยละ 37.4 ระบุว่าดีขึ้น และร้อยละ 14.4 ระบุว่าแย่ลง
อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของกลุ่มบริษัทนำเข้า - ส่งออกต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยใน
อีก 6 เดือนข้างหน้านั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 39.4 ระบุว่าดีขึ้น ร้อยละ 37.4 ระบุว่าทรงตัว และร้อยละ
23.2 ระบุว่าแย่ลง
ประเด็นสุดท้ายที่น่าพิจารณา คือ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือธุรกิจ
นำเข้า-ส่งออก จากผลสำรวจพบว่า 5 อันดับแรก ได้แก่ ควรจะลดอัตราภาษีนำเข้าและส่งออก (ร้อยละ 32.6)
ควรจะลดขั้นตอน/ระเบียบวิธีการ / พิธีการนำเข้า-ส่งออก (ร้อยละ 25.0) ควรจะเร่งหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ
มากกว่านี้ (ร้อยละ 15.2) ควรปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้ดีกว่านี้ / ไปติดต่อที่หนึ่งสามารถทำพิธีการได้ครบทุก
ขั้นตอน (ร้อยละ 14.1) และ ควรหามาตรการอย่างจริงจังในการปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 12.0) ตาม
ลำดับ
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ผลวิจัยครั้งนี้มีข้อมูลที่น่าพิจารณาอยู่อย่างน้อย 3 ส่วนด้วยกัน คือ 1)
สถานการณ์ธุรกิจนำเข้า — ส่งออก 2) การให้บริการของกรมศุลกากร และ 3) ความเชื่อมั่นในเสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งผลสำรวจพบว่า สถานการณ์ธุรกิจนำเข้า — ส่งออกโดยภาพรวมยังอยู่ใน
สภาวะปกติและมีทิศทางที่ดีขึ้นจากการสัมภาษณ์และสอบถามกลุ่มบริษัทนำเข้า-ส่งออก อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึง
ความพึงพอใจของกลุ่มธุรกิจนำเข้า-ส่งออกต่อการบริการของกรมศุลกากรโดยภาพรวมพบว่ามีความพึงพอใจในระดับ
ปานกลางเท่านั้น แต่ที่เป็นปัญหาสำคัญคือ แม้ว่านายกรัฐมนตรีเคยประกาศสงครามกับการทุจริตคอรัปชั่นแล้ว แต่ผล
สำรวจยังพบว่า กลุ่มบริษัทนำเข้าส่งออกส่วนใหญ่ ยังคงประสบปัญหาเงินใต้โต๊ะเช่นเดิม จึงเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาล
ต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วนตามนโยบายที่เคยประกาศไว้ต่อสังคม
สำหรับความเชื่อมั่นของกลุ่มบริษัทนำเข้า — ส่งออกต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งปี
หลัง ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากหรือร้อยละ 39.4 เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น เพราะเชื่อมั่นใน
มาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล เพราะปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศนี้เป็นเพียงระยะ
สั้น และเพราะปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจไทยยังมีอยู่ เช่น ประชาชนยังมีกำลังซื้อและกล้าจับจ่ายใช้สอยอยู่ ในขณะที่
ร้อยละ 37.4 เชื่อว่าจะทรงตัว อย่างไรก็ตามร้อยละ 23.2 เชื่อว่าจะแย่ลง เพราะปัญหาวิกฤตราคาน้ำมันกระทบ
เป็นลูกโซ่ เพราะค่าเงินบาทไม่มีเสถียรภาพ ประชาชนเริ่มชะลอการใช้จ่ายเงิน ไม่มีการลงทุนเพิ่มและเพราะการ
เมืองไม่นิ่ง ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอ เป็นต้น ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวตอนท้ายว่า จาก
ข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้พอจะมีสรุปจากความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มบริษัทนำเข้าส่งออกได้ว่า สภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศที่
กำลังเป็นอยู่ขณะนี้เป็นเพียงการปรับฐานของมันเท่านั้น เนื่องจากการตัดสินใจของรัฐบาลในช่วงก่อนการเลือกตั้งได้
ตรึงราคาน้ำมันเอาไว้ แต่ในขณะนี้รัฐบาลและหน่วยงานด้านพลังงานกำลังปล่อยให้มันเป็นไปตามความเป็นจริงแบบค่อย
เป็นค่อยไป ซึ่งก็น่าจะส่งผลกระทบเพียงระยะสั้นและหลังจากที่สภาวะเศรษฐกิจได้ปรับตัวตามความเป็นจริงของมัน
แล้ว ก็น่าจะทำให้เกิดเสถียรภาพมากขึ้น แต่รัฐบาลคงจะต้องเร่งหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเข้ามาเพื่อยกฐานที่ปรับ
ตัวตามความเป็นจริงของมันแล้วให้สูงขึ้นต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีที่บริษัทนำเข้าสินค้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีที่บริษัทนำเข้าสินค้า ค่าร้อยละ
1 ทางทะเล 77.5
2 ทางอากาศ 72.5
3 ทางบก 15.9
4 ไม่ได้ประกอบธุรกิจนำเข้า 13.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีที่บริษัทส่งออกสินค้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีที่บริษัทส่งออกสินค้า ค่าร้อยละ
1 ทางทะเล 87.4
2 ทางอากาศ 74.7
3 ทางบก 28.6
4 ไม่ได้ประกอบธุรกิจส่งออก 3.8
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการใช้บริการที่กรมศุลกากร
ลำดับที่ ความถี่ในการใช้บริการที่กรมศุลกากร ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน 29.4
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 24.9
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 22.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวิธีที่ติดต่อกรมศุลกากร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วิธีที่ติดต่อกรมศุลกากร ค่าร้อยละ
1 ติดต่อผ่านบริษัทชิ้ปปิ้ง 59.3
2 ติดต่อโดยพนักงานของบริษัท 54.4
3 ติดต่อด้วยตนเอง 18.7
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทบริการที่ใช้บริการจากกรมศุลกากร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทบริการที่ใช้บริการจากกรมศุลกากร ค่าร้อยละ
1 ทำบัตรผ่านพิธีการ 89.6
2 บริการพิธีการเสียภาษี 61.0
3 ขอคืนอากร 56.0
4 ปรึกษาขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออก 37.4
5 อบรมด้านพิธีการ 25.8
6 ดูสถิติการนำเข้า-ส่งออกของสินค้าแต่ละชนิด 22.0
7 อื่นๆ อาทิ รับเงินค่าชดเชย ภาษีอากรนำเข้าส่งออก ติดต่อคลังสินค้าทัณฑ์บน 10.4
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านต่างๆ ของกรมศุลกากร
ความพึงพอใจในด้านต่างๆ พอใจมาก พอใจ ปานกลาง ไม่พอใจ ไม่พอใจเลย รวมทั้งสิ้น
ด้านการบริการของเจ้าหน้าที่1. ความสุภาพของเจ้าหน้าที่ 1.8 22.8 61.1 9.0 5.3 100.0
2. ความรวดเร็วในการให้บริการ 1.7 19.8 43.6 25.6 9.3 100.0
3. ความรู้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ให้กับผู้ใช้บริการ 0.6 20.9 46.5 22.1 9.9 100.0
4. ความเสมอภาคในการให้บริการ 1.2 12.9 43.5 29.4 13.0 100.0
5. ความเพียงพอของจำนวนเจ้าหน้าที่ 2.4 16.9 44.0 33.1 3.6 100.0
6. ความถูกต้องในการให้ข้อมูล 1.2 22.4 55.9 14.1 6.4 100.0
7. ความกระตือรือร้นในการให้บริการ 1.2 11.2 42.0 32.0 13.6 100.0
8. การให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้บริการ 1.8 16.4 51.5 20.5 9.8 100.0
ความพึงพอใจโดยภาพรวมด้านเจ้าหน้าที่ 1.5 14.8 61.5 15.6 6.6 100.0
ด้านอาคารสถานที่
1. ความสะอาดภายในอาคาร 1.2 42.8 48.8 4.8 2.4 100.0
2. ป้ายบอกทาง 0.6 35.8 43.0 17.0 3.6 100.0
3. ความสะอาดของห้องน้ำ - 18.4 45.4 22.7 13.5 100.0
ตารางที่ 6 (ต่อ) แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการด้านต่างๆ
ของกรมศุลกากร
ความพึงพอใจในด้านต่างๆ พอใจมาก พอใจ ปานกลาง ไม่พอใจ ไม่พอใจเลย รวมทั้งสิ้น
ความพึงพอใจโดยภาพรวมด้านอาคารสถานที่ - 28.6 51.6 15.4 4.4 100.0
ด้านขั้นตอนการให้บริการ1. ความชัดเจนของเอกสารและแบบฟอร์มต่างๆ 1.2 31.8 54.1 12.4 0.5 100.0
2. การจัดเตรียมเอกสารที่ใช้ในการขอรับบริการ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน 0.6 20.7 50.3 23.7 4.7 100.0
3. ขั้นตอนการให้บริการตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการไม่ยุ่งยากซับซ้อน 1.2 19.5 48.5 26.0 4.8 100.0
4. การให้รายละเอียด / คำแนะนำเกี่ยวกับการ จัดเตรียมเอกสารที่จำเป็น 1.2 17.3 52.4 23.2 5.9 100.0
ความพึงพอใจโดยภาพรวมด้านขั้นตอนการบริการ - 21.8 56.4 19.8 2.0 100.0
ด้านการให้บริการข้อมูล/ข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต1. การจัดหมวดหมู่ของ MENU ต่างๆ 0.7 34.7 53.3 10.0 1.3 100.0
2. ความยาก/ง่ายในการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ 1.3 25.5 53.6 15.7 3.9 100.0
3. ความทันสมัยของข้อมูล/ข่าวสาร 2.6 28.6 46.1 16.9 5.8 100.0
4. ความครบถ้วนของข้อมูล/ข่าวสาร 1.3 18.8 51.9 22.1 5.9 100.0
5. การนำไปใช้ประโยชน์ได้ 1.9 27.3 52.6 14.9 3.3 100.0
ความพึงพอใจโดยภาพรวมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 0.9 23.5 57.4 15.7 2.5 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหา-อุปสรรคที่เคยประสบจากการใช้บริการของกรมศุลกากร
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหา-อุปสรรคจากการใช้บริการ ค่าร้อยละ
1 เจ้าหน้าที่บริการล่าช้า 35.5
2 เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ ความสามารถในการให้ข้อมูลกับผู้ใช้บริการ 19.0
3 เจ้าหน้าที่ไม่เต็มใจในการให้บริการ 17.3
4 เจ้าหน้าที่มีการเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ 12.4
5 เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารไม่เหมือนกัน 11.6
6 เจ้าหน้าที่บริการไม่สุภาพ 10.7
7 เจ้าหน้าที่แต่ละคนมีหลักเกณฑ์ในการทำงานไม่เหมือนกัน 10.7
8 มีขั้นตอนในการยื่นเอกสาร / พิธีการมาก 9.9
9 เจ้าหน้าที่ไม่ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ 8.3
10 อื่นๆ อาทิ เจ้าหน้าที่ไม่มีความเสมอภาคในการให้บริการ มีการเลือกปฏิบัติ/
เจ้าหน้าที่มีน้อยเกินไป / เจ้าหน้าที่เข้าทำงานไม่ตรงเวลา เข้าทำงานสาย เป็นต้น 16.5
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความพอใจโดยภาพรวมต่อการให้บริการของกรมศุลกากร
ลำดับที่ ความพอใจโดยภาพรวม ค่าร้อยละ
1 พอใจมาก 1.8
2 พอใจ 11.8
3 ปานกลาง 59.4
4 ไม่พอใจ 20.6
5 ไม่พอใจเลย 6.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ที่เคยถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ
ลำดับที่ ประสบการณ์ของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เคย 66.2
2 ไม่เคย 33.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงเวลาครั้งล่าสุดที่ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ
ลำดับที่ ช่วงเวลาครั้งล่าสุด ค่าร้อยละ
1 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 28.1
2 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา 12.0
3 1 เดือนที่ผ่านมา 12.0
4 2-3 เดือนที่ผ่านมา 10.9
5 นานกว่า 3 เดือน 37.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการตัดสินใจที่จ่ายหรือไม่จ่าย ถ้าเจ้าหน้าที่ศุลกากรเรียกเก็บ
เงินใต้โต๊ะ
ลำดับที่ การตัดสินใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 จ่าย 92.0
2 ไม่จ่าย 8.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตัวอย่างที่ระบุว่าจ่ายเงิน ถ้าเจ้าหน้าที่ศุลกากรเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ ได้ระบุเหตุผลว่า………………
1. ต้องการได้รับบริการที่รวดเร็ว / ไม่อยากเสียเวลา
2. เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาช้านาน
3. ไม่อยากมีปัญหากับเจ้าหน้าที่
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการร้องเรียนพฤติกรรมเรียกเงินใต้โต๊ะของเจ้าหน้าที่
กรมศุลกากรต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ลำดับที่ การร้องเรียนของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เคยร้องเรียน 22.8
2 ไม่เคยร้องเรียน 77.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
? ตัวอย่างที่ระบุว่าไม่เคยร้องเรียนพฤติกรรมเรียกเงินใต้โต๊ะของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ระบุเหตุผลว่า ……………………
1. ไม่มีประโยชน์ / ไม่สามารถแก้ปัญหาคอรัปชั่นได้
2. กลัวจะถูกกลั่นแกล้ง และจะไม่ได้รับการบริการในครั้งต่อไป
3. ไม่ทราบว่าต้องร้องเรียนที่ไหน
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลการร้องเรียนพฤติกรรมเรียกเงินใต้โต๊ะของเจ้าหน้าที่
กรมศุลกากร (เฉพาะตัวอย่างที่เคยถูกเรียกเงินใต้โต๊ะ และเคยร้องเรียน)
ลำดับที่ ผลการร้องเรียน ค่าร้อยละ
1 แก้ได้ 5.3
2 แก้ไม่ได้ 57.8
3 อยู่ในระหว่างดำเนินการ 5.3
4 เรื่องเงียบหายไป 31.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการให้บริการของกรมศุลกากร
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ
1 ควรมีการลดขั้นตอนการทำงาน 26.9
2 เจ้าหน้าที่ควรมีความรู้ ความสามารถในการตอบคำถามให้กับผู้มาติดต่อมากกว่านี้ 26.9
3 ควรปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น 23.1
4 เจ้าหน้าที่ควรบริการรวดเร็วกว่านี้ 14.4
5 ควรปรับปรุงรายละเอียดต่างๆ ในเว็ปไซด์ให้ชัดเจนกว่านี้ 12.5
6 ควรปรับปรุงเรื่องมารยาทการให้บริการของเจ้าหน้าที่ 9.6
7 ควรมีการอบรมจริยธรรมให้กับเจ้าหน้าที่ 5.8
8 ควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการทำงาน/ตรวจเอกสารให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 5.8
9 ควรมีเจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ๆ เข้ามาให้บริการบ้าง 4.8
10 อื่นๆ อาทิ ควรมีการปรับปรุงทัศนคติของเจ้าหน้าที่ / ควรปรับปรุงคอมพิวเตอร์ให้รวดเร็ว
ทันสมัยกว่านี้ /ควรให้เวลากับงานมากกว่าเรื่องส่วนตัว เป็นต้น 6.7
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นหรือลดลง ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ