ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง มองเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมปัจจุบันผ่านหัวหน้าครัว
เรือน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนหัวหน้าครัวเรือนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,317 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
หัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวเศรษฐกิจเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเมื่อถามถึงสิ่งที่เห็นจริง
ในการลดราคาสินค้าอุปโภคในตลาดตามรายการที่รัฐบาลเคยประกาศผ่านสื่อมวลชน พบว่า มีประชาชนประมาณ 1 ใน 3 ระบุยังไม่เห็นลดราคา และ
ประมาณครึ่งหรือร้อยละ 50 ที่ไม่ทราบ มีเพียงร้อยละ 15 — 20 เท่านั้นที่เห็นว่ารายการสินค้าที่รัฐบาลได้ประกาศร่วมกับภาคเอกชนในการลดราคาได้
ลดราคาแล้วจริง ยิ่งไปกว่านั้น หัวหน้าครัวเรือนจำนวนมากหรือร้อยละ 41.1 ระบุว่ารายการสินค้าที่ประกาศลดราคานั้นช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เพียงเล็ก
น้อยถึงช่วยไม่ได้เลย ในขณะที่ร้อยละ 32.3 ระบุช่วยได้ปานกลาง และร้อยละ 26.6 ระบุช่วยได้มากถึงมากที่สุด
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจที่พบเช่นนี้อาจเป็นเพราะรายการสินค้าที่รัฐบาลร่วมกับภาคเอกชนผู้ประกอบการประกาศลดราคานั้น เป็น
สินค้าเฉพาะบางบริษัทหรือบางยี่ห้อของผู้ผลิตเท่านั้น และอาจเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีการใช้กันแพร่หลายในกลุ่มหัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้
ที่น่าพิจารณาคือ หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.5 เห็นว่าควรมีการลดราคาสินค้าอื่นๆ เพิ่ม โดยอันดับแรกได้แก่ แก๊สหุงต้ม /
เชื้อเพลิง ร้อยละ 37.8 อันดับสองคือ ของสด เช่น เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ ร้อยละ 23.3 อันดับสามได้แก่ อาหารจำพวกแป้ง อาทิ ข้าวสาร ข้าว
เหนียว ขนมปัง ร้อยละ 15.4 อันดับที่สี่ ได้แก่ สินค้าปรุงรส ร้อยละ 6.3 และอันดับที่ห้า ได้แก่ สินค้าสำเร็จรูป เช่น มาม่า อาหารแห้ง ร้อยละ
4.0 ตามลำดับ ที่เหลือระบุเป็นสินค้าประเภทอื่นๆ
ที่น่าเป็นห่วงคือ หัวหน้าครัวเรือนร้อยละ 46.7 ระบุรายได้เท่าเดิม ร้อยละ 40.6 ระบุรายได้ลดลง และเพียงร้อยละ 12.7 ระบุราย
ได้เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนตุลาคม — ธันวาคม ปี 2550 อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.3 ระบุรายจ่ายเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ
18.3 ระบุรายจ่ายเท่าเดิม และเพียงร้อยละ 7.4 เท่านั้นที่ระบุรายจ่ายลดลง โดยหัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 ระบุมีหนี้สิน และ
ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.8 กำลังมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.6 มองว่าสภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศกำลังแย่ลง
ร้อยละ 32.5 มองว่ากำลังทรงตัว และมีเพียงร้อยละ 8.9 เท่านั้นที่มองว่าสภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังดีขึ้น
ผลสำรวจยังพบ 10 อันดับสาเหตุที่ทำให้สภาวะเศรษฐกิจของประเทศแย่ลง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.6 ระบุราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ร้อยละ 86.4 ระบุราคาสินค้าที่สูงขึ้น ร้อยละ 48.6 ระบุการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 41.7 ระบุการเลิกจ้างแรงงาน ร้อยละ 38.4 ระบุราคาสินค้า
เกษตรตกต่ำ ร้อยละ 35.5 ระบุค่าเงินบาทแข็งตัว ร้อยละ 31.7 ระบุรูปแบบการบริหารงานของรัฐบาล ร้อยละ 29.3 ระบุเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอ
ตัว ร้อยละ 26.2 ระบุเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย และร้อยละ 26.0 ระบุการชุมนุมประท้วง ตามลำดับ นอกจากนี้ หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
59.3 มองว่าการว่างงานจะเพิ่มขึ้นในปี 2551 ในขณะที่ร้อยละ 16.9 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 9.2 ระบุลดลง และร้อยละ 14.6 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.6 เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า “ออกจากบ้าน ก็เสียตังค์ (เงิน) แล้ว” โดยเฉลี่ยของการ
เสียเงินแต่ละครั้งที่ออกนอกบ้านคือ 405 บาท 61 สตางค์ และเมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของหัวหน้าครัวเรือนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันในการแก้ปัญหา
เศรษฐกิจของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า เมื่อค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่าได้คะแนนต่ำกว่าครึ่งหรือ 4.33 คะแนน อย่างไรก็ตาม ผล
สำรวจพบประชาชนระบุการสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาสินค้าราคาสูงโดย นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมได้ 5.91
คะแนน และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับบริษัทเอกชน ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ในการลดราคาสินค้าให้กับประชาชนรวมได้ 6.85
คะแนน
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ร้อยละ 53.6 ระบุ เครือสหพัฒน์ฯ เป็นกลุ่มนายทุนที่หัวหน้าครัวเรือนในการศึกษาครั้งนี้นึกถึงหลังการประกาศลด
ราคาสินค้า รองลงมาคือ ร้อยละ 33.4 ระบุ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และร้อยละ 31.9 ระบุบริษัทยูนิลีเวอร์ ที่เหลือร้อยละ 18.4 ระบุอื่นๆ เช่น พรอค
เตอร์แอนด์แกมเบิล, เนสท์เล่, เสริมสุข เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อถามถึงห้างสรรพสินค้า / ร้านสะดวกซื้อ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.4 นึกถึง โล
ตัส ร้อยละ 52.9 นึกถึงบิ๊กซี ร้อยละ 23.2 นึกถึง คาร์ฟูร์ ร้อยละ 14.9 นึกถึงเซเว่นฯ ร้อยละ 11.9 ระบุแม็คโคร ที่เหลือร้อยละ 13.8 ระบุ
อื่นๆ เช่น ท็อป เดอะมอลล์ เซ็นทรัล เป็นต้น
เมื่อถามว่านึกถึงประเทศไทย นึกถึงอะไรในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 96.7 ระบุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ร้อยละ 93.1 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 76.3 สภาวะข้าวยาก หมากแพง ร้อยละ 74.3 ระบุปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด ร้อย
ละ 68.4 ระบุ สภาพบ้านป่า เมืองเถื่อน ร้อยละ 41.8 ระบุความรุนแรงที่ไม่คาดฝันในกรุงเทพมหานคร และร้อยละ 39.3 ระบุการปฏิวัติ รัฐ
ประหาร อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 73.3 ระบุยังจะรู้สึกอบอุ่นใจที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 71.7 ระบุนายกรัฐมนตรีจะยังคงชื่อ นายสมัคร
สุนทรเวช ร้อยละ 54.5 ระบุคนไทยยังคงรักสามัคคีกัน แต่เพียงร้อยละ 24.5 ระบุนึกถึงความสงบสุขของบ้านเมืองที่คนไทยส่วนใหญ่มีความสุข อย่าง
ไรก็ตาม เมื่อถามหัวหน้าครัวเรือนว่า อีกกี่ปีที่ประเทศไทยจะมีเสถียรภาพ ความมั่นคง โปร่งใส บริสุทธิ์ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม พบ
ว่า ค่าต่ำสุดอยู่ที่ 1 ปี ค่าสูงสุดอยู่ที่ 50 ปี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับประมาณ 8 ปี
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความหวัง กับ ความกลัว ในกลุ่มหัวหน้าครัวเรือน พบว่า แม้ประชาชนกำลังเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง
และสังคมที่มีปัญหามากมาย แต่หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.2 ยังคงเลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า ในขณะที่ร้อยละ 41.8 เลือกที่จะ
กลัวและกังวลต่อเหตุการณ์ต่างๆ ของประเทศ ซึ่งเคยสำรวจพบช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา พบว่า คนที่หวัง กับคนที่กลัวมีสัดส่วนร้อยละ 50
ต่อ 50 แต่ผลสำรวจครั้งนี้พบคนที่เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้ามีมากกว่าคนที่กลัวและกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศ โดยมีเหตุผลที่จะ
หวังและก้าวต่อไปคือ คิดว่าประเทศไทยจะดีขึ้น มั่นใจในระบอบการปกครอง ให้โอกาสรัฐบาล ประเทศไทยยังมีอะไรดีอีกมาก และชีวิตเป็นเรื่องที่ต้อง
สู้และอดทน ในขณะที่เหตุผลที่กลัวและกังวลคือ สถานการณ์การเมืองไม่แน่นอน ความสงบยังไม่มี เศรษฐกิจแย่ลงทุกวัน คนไทยยังทะเลาะกัน และยังมี
ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอยู่มาก
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศที่หัวหน้าครัวเรือนรับรู้หรือมองเห็นกำลังสอดคล้องตรงกับ
สภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือนที่พวกเขากำลังประสบปัญหาโดยก่อนหน้านี้เคยสำรวจพบว่าประชาชนมองภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่กว่าความ
เป็นจริงที่ระดับครัวเรือน และเมื่อพิจารณามุมมองของหัวหน้าครัวเรือนต่อเรื่องการเมืองและสังคมไทยปัจจุบันร่วมด้วย พบว่า คนไทยกำลังเผชิญกับ
สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงรอบด้านแต่คนส่วนใหญ่ยังมีความหวังและต้องการจะก้าวต่อไปข้างหน้า ดังนั้น แนวทางหนุนเสริมความหวังของประชาชนที่รัฐบาล
และประชาชนทั่วไปน่าจะนำมาพิจารณาคือ การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ไม่ใช่มีแต่เรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายในมิติของเศรษฐกิจเท่านั้น
แต่เป็นเรื่องของการคิดทบทวนและดำเนินชีวิตด้วยความรอบคอบได้ในทุกมิติของชีวิต มีสติสัมปชัญญะ โดยใช้เหตุใช้ผลมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก มีการ
ประกันความเสี่ยงให้กับตนเองและครอบครัว ชุมชนและสังคม มีการเก็บออม ลดภาระหนี้สินค่าใช้จ่ายลง และหลีกเลี่ยงการเล่นทายพนันกับอบายมุขทุก
ชนิด
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของหัวหน้าครอบครัวต่อสภาวะเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมไทย
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง มองเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมปัจจุบันผ่านหัวหน้าครอบครัว กรณีศึกษา
ตัวอย่างประชาชนหัวหน้าครัวเรือนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,317 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม พ.ศ. 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชาชนหัวหน้าครัวเรือนที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน
18 จังหวัดของประเทศ คือ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี อยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ตราด ชลบุรี บุรีรัมย์ นครราชสีมา
ขอนแก่น ลำปาง เชียงใหม่ นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ
หลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ใน
ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ
สอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
และคณะทำงานประกอบด้วย นางเนตรนภิศ ละเอียด ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย นายนิรันดร์ ปริญญาพล นักวิจัย นางสาวจิรวดี
พิศาลวัชรินทร์ และนายภานุพงศ์ ดินต่อแดน นักสถิติ นายภัทรวิชญ์ มั่งคั่ง นางสาวอรพินท์ พงษ์ประเสริฐ นางสาวสุวิมล วันทา นางสาว
อุบลรัตน์ ด่านพรประเสริญ นายสมเจตน์ เจ๊ะสนิ นายคำพัน ราศรี นายอัมราม อมรรุ่งรัศมี ผู้ช่วยนักวิจัย และนางสุภาภรณ์ เบ้าเทศ
เลขานุการโครงการ พร้อมด้วย พนักงานเก็บข้อมูล และ พนักงานประมวลผลข้อมูล จำนวน 133 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 41.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.4 ระบุอายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 26.9 ระบุอายุ 30-39
ร้อยละ 26.7 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 25.0 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.5 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.2 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 43.8 ระบุมีอาชีพค้าขาย
รองลงมาคือร้อยละ 30.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.2 ระบุมีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 7.3 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 10.1 ระบุอาชีพอื่นๆ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวเศรษฐกิจของประเทศไทย
ลำดับที่ การติดตามข่าวเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเฉลี่ย ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 47.7
2 3 - 4 วันต่อสัปดาห์ 22.6
3 1 - 2 วันต่อสัปดาห์ 17.7
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 6.2
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ สิ่งที่เห็นจริงต่อการลดราคาสินค้าอุปโภคในตลาด
ลำดับที่ สิ่งที่เห็นจริงต่อการลดราคาสินค้าอุปโภคในตลาด ลดแล้ว ยังไม่ลด ไม่ทราบ รวมทั้งสิ้น
1 นมผงสำหรับเด็ก 14.5 28.6 56.9 100.0
2 ผงซักฟอก 20.8 33.1 46.1 100.0
3 สบู่ 20.4 32.6 47.0 100.0
4 ผลิตภัณฑ์แชมพู 20.9 31.7 47.4 100.0
5 ครีมนวดผม 18.5 31.5 50.0 100.0
6 ยาสีฟัน 18.8 31.9 49.3 100.0
7 แปรงสีฟัน 13.7 31.4 54.9 100.0
8 แป้งโรยตัว 17.0 31.3 51.7 100.0
9 ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาน 16.9 33.5 49.6 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อการร่วมมือกันลดราคาของกลุ่มบริษัทเอกชน
นายทุน ครั้งนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว
ลำดับที่ การร่วมมือกันลดราคาของกลุ่มบริษัทเอกชน นายทุนครั้งนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 ช่วยได้มาก ถึงมากที่สุด 26.6
2 ปานกลาง 32.3
3 ช่วยได้น้อย ถึงช่วยไม่ได้เลย 41.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นว่า ควรจะมีการลดราคาสินค้าอื่นๆ เพิ่มเติม
นอกเหนือจากรายการสินค้าอุปโภคบริโภคที่ร่วมกันลดราคา
ลำดับที่ ควรจะมีการลดราคาสินค้าอื่นๆ เพิ่มเติม นอกเหนือจากรายการสินค้าอุปโภคบริโภคที่ร่วมกันลดราคา ค่าร้อยละ
1 ควรมีการลดราคาสินค้าอื่นๆ เพิ่ม 91.5
2 ไม่ควรมีการลดราคาสินค้าอื่นๆ เพิ่ม 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุสินค้าที่ควรลดราคาเพิ่ม นอกเหนือจากรายการสินค้าอุปโภค
บริโภคที่ร่วมกันลดราคามากที่สุด
ลำดับที่ สินค้าที่ควรลดราคาเพิ่มมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 แก๊สหุงต้ม / เชื้อเพลิง 37.8
2 ของสด เช่น เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ 23.3
3 อาหารจำพวกแป้ง อาทิ ข้าวสาร ข้าวเหนียว ขนมปัง 15.4
4 สินค้าปรุงแต่งรสอาหาร อาทิ น้ำตาลทราย เครื่องปรุงรสอาหาร 6.3
5 สินค้าสำเร็จรูป อาทิ มาม่า อาหารแห้ง 4.0
6 อาหารจำพวกน้ำดื่ม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้บรรจุกล่อง น้ำอัดลม นม 3.0
7 อาหารกระป๋องสำเร็จรูป อาทิ นมข้นหวาน ปลากระป๋อง อาหารกระป๋อง 2.7
8 สินค้า ประเภท เสื้อผ้า เครื่องสำอางค์ 2.4
9 ค่าสาธารณูปโภค อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ 2.2
10 อื่นๆ อาทิ อุปกรณ์ใช้ครัวเรือน ยารักษาโรค ผ้าอนามัยเป็นต้น 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุสภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน เปรียบเทียบกับช่วงเดือน
ตุลาคม — ธันวาคม 2550
ลำดับที่ การเปลี่ยนแปลง รายได้ค่าร้อยละ รายจ่ายค่าร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 12.7 74.3
2 เท่าเดิม 46.7 18.3
3 ลดลง 40.6 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ หัวหน้าครัวเรือนร้อยละ 71.2 ระบุมีหนี้สิน และประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.8 กำลังมีหนี้สินเพิ่มขึ้น
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุต่อความคิดเห็นว่า เศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไรในปัจจุบัน
ลำดับที่ เศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไรในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 8.9
2 ทรงตัว 32.5
3 แย่ลง 58.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดง 10 อันดับสาเหตุทำให้หัวหน้าครัวเรือนไทยรู้สึกทำให้เศรษฐกิจของประเทศแย่ลง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุต่างๆที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยให้แย่ลง ค่าร้อยละ
1 ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น 88.6
2 ราคาสินค้าที่สูงขึ้น 86.4
3 การทุจริตคอร์รัปชั่น 48.6
4 การเลิกจ้างแรงงาน 41.7
5 ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ 38.4
6 ค่าเงินบาทแข็งค่า 35.5
7 รูปแบบการบริหารของคณะรัฐบาล 31.7
8 เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว 29.3
9 เศรษฐกิจสหรัฐถดถอย 26.2
10 การชุมนุมประท้วง 26.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อ การว่างงานของประชาชนในปี 2551
ลำดับที่ การว่างงานของประชาชนในปี 2551 ค่าร้อยละ
1 เพิ่มมากขึ้น 59.3
2 เหมือนเดิม 16.9
3 ลดลง 9.2
4 ไม่มีความเห็น 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อคำพูดว่า “ออกจากบ้าน ก็เสียตังค์ (เสียเงิน) แล้ว”
ลำดับที่ ออกจากบ้าน ก็เสียตังค์(เสียเงิน) แล้ว ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งที่เท่ากับ 405.61 บาท 95.6
2 ไม่เห็นด้วย 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
เท่ากับ 4.33 คะแนน
ค่าเฉลี่ยของการสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาสินค้าราคาสูงโดย นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รมว.กระทรวงพาณิชย์
เท่ากับ 5.91 คะแนน
ค่าเฉลี่ยของการสนับสนุนการร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับบริษัทเอกชนและห้างสรรพสินค้าในการลดราคาสินค้า
เท่ากับ 6.85 คะแนน
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุเมื่อนึกถึงบริษัทที่เป็นกลุ่มนายทุน หลังการประกาศลดราคาสินค้า
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มนายทุน ที่หัวหน้าครัวเรือนนึกถึง หลังประกาศลดราคาสินค้า ค่าร้อยละ
1 เครือสหพัฒน์ 53.6
2 เครือเจริญโภคภัณฑ์ 33.4
3 บริษัทยูนิลีเวอร์ 31.9
4 อื่น ๆ เช่น พรอคเตอร์แอนด์แกมเบิล, เนสท์เล่, เสริมสุข เป็นต้น 18.4
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุเมื่อนึกถึง ห้างสรรพสินค้า / ร้านสะดวกซื้อ หลังการประกาศ
ลดราคาสินค้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ที่หัวหน้าครัวเรือนนึกถึง ค่าร้อยละ
1 โลตัส 71.4
2 Big —c 52.9
3 คาร์ฟูร์ 23.2
4 ร้าน 7-11 14.9
5 แม็คโคร 11.9
6 อื่น ๆ เช่น Top, The Mall, Central เป็นต้น 13.8
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ เมื่อนึกถึง ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ นึกถึงประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีอยู่ต่อไป 96.7 3.3 100.0
2 ปัญหาคอรัปชั่นยังคงมีอยู่ 93.1 6.9 100.0
3 เกิดสภาวะข้าวยาก หมากแพง 76.3 23.7 100.0
4 ปัญหาอาชญากรรม / ยาเสพติดรุนแรงมากขึ้น 74.3 25.7 100.0
5 รู้สึกอบอุ่นใจที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง 73.3 26.7 100.0
6 ยังมีนายกรัฐมนตรี ชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช 71.7 28.3 100.0
7 ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สภาวะ “บ้านป่าเมืองเถื่อน” 68.4 31.6 100.0
8 คนไทยส่วนใหญ่จะยังคงรักสามัคคีกัน 54.5 45.5 100.0
9 เกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่คาดฝันขึ้นในกรุงเทพมหานคร 41.8 58.2 100.0
10 บ้านเมืองสงบสุขแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (คนไทยส่วนใหญ่มีความสุข) 24.5 75.5 100.0
11 อาจเกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร 39.3 60.7 100.0
หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยจำนวนปีที่คิดว่าประเทศไทยจะมีเสถียรภาพ ความมั่นคง โปร่งใส บริสุทธิ์ ทั้งในด้านการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคม เท่ากับ 8.16 ปี โดยมีค่าต่ำสุด 1 ปี และสูงสุด 50 ปี
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ ระหว่าง ความหวัง กับ ความกลัว ต่อเหตุการณ์ทางการเมือง
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
ลำดับที่ ทางเลือกของหัวหน้าครัวเรือน ค่าร้อยละ
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 58.2
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 41.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลเลือกที่จะหวัง เพราะ..... คิดว่าประเทศไทยจะดีขึ้น / มั่นใจระบอบการปกครอง / ให้โอกาสรัฐบาล /
ประเทศไทยยังมีอะไรดีอีกมาก / ชีวิตต้องสู้
เหตุผลที่กลัว เพราะ............สถานการณ์การเมืองไม่แน่นอน / ความสงบยังไม่มี / เศรษฐกิจแย่ลงทุกวัน / คน
ไทยยังทะเลาะกัน / ยังมีปัญหาคอรัปชั่นอยู่มาก เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง มองเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมปัจจุบันผ่านหัวหน้าครัว
เรือน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนหัวหน้าครัวเรือนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,317 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
หัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวเศรษฐกิจเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเมื่อถามถึงสิ่งที่เห็นจริง
ในการลดราคาสินค้าอุปโภคในตลาดตามรายการที่รัฐบาลเคยประกาศผ่านสื่อมวลชน พบว่า มีประชาชนประมาณ 1 ใน 3 ระบุยังไม่เห็นลดราคา และ
ประมาณครึ่งหรือร้อยละ 50 ที่ไม่ทราบ มีเพียงร้อยละ 15 — 20 เท่านั้นที่เห็นว่ารายการสินค้าที่รัฐบาลได้ประกาศร่วมกับภาคเอกชนในการลดราคาได้
ลดราคาแล้วจริง ยิ่งไปกว่านั้น หัวหน้าครัวเรือนจำนวนมากหรือร้อยละ 41.1 ระบุว่ารายการสินค้าที่ประกาศลดราคานั้นช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เพียงเล็ก
น้อยถึงช่วยไม่ได้เลย ในขณะที่ร้อยละ 32.3 ระบุช่วยได้ปานกลาง และร้อยละ 26.6 ระบุช่วยได้มากถึงมากที่สุด
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจที่พบเช่นนี้อาจเป็นเพราะรายการสินค้าที่รัฐบาลร่วมกับภาคเอกชนผู้ประกอบการประกาศลดราคานั้น เป็น
สินค้าเฉพาะบางบริษัทหรือบางยี่ห้อของผู้ผลิตเท่านั้น และอาจเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีการใช้กันแพร่หลายในกลุ่มหัวหน้าครัวเรือนที่ถูกศึกษาครั้งนี้
ที่น่าพิจารณาคือ หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.5 เห็นว่าควรมีการลดราคาสินค้าอื่นๆ เพิ่ม โดยอันดับแรกได้แก่ แก๊สหุงต้ม /
เชื้อเพลิง ร้อยละ 37.8 อันดับสองคือ ของสด เช่น เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ ร้อยละ 23.3 อันดับสามได้แก่ อาหารจำพวกแป้ง อาทิ ข้าวสาร ข้าว
เหนียว ขนมปัง ร้อยละ 15.4 อันดับที่สี่ ได้แก่ สินค้าปรุงรส ร้อยละ 6.3 และอันดับที่ห้า ได้แก่ สินค้าสำเร็จรูป เช่น มาม่า อาหารแห้ง ร้อยละ
4.0 ตามลำดับ ที่เหลือระบุเป็นสินค้าประเภทอื่นๆ
ที่น่าเป็นห่วงคือ หัวหน้าครัวเรือนร้อยละ 46.7 ระบุรายได้เท่าเดิม ร้อยละ 40.6 ระบุรายได้ลดลง และเพียงร้อยละ 12.7 ระบุราย
ได้เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนตุลาคม — ธันวาคม ปี 2550 อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.3 ระบุรายจ่ายเพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ
18.3 ระบุรายจ่ายเท่าเดิม และเพียงร้อยละ 7.4 เท่านั้นที่ระบุรายจ่ายลดลง โดยหัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 ระบุมีหนี้สิน และ
ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.8 กำลังมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.6 มองว่าสภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศกำลังแย่ลง
ร้อยละ 32.5 มองว่ากำลังทรงตัว และมีเพียงร้อยละ 8.9 เท่านั้นที่มองว่าสภาวะเศรษฐกิจของประเทศกำลังดีขึ้น
ผลสำรวจยังพบ 10 อันดับสาเหตุที่ทำให้สภาวะเศรษฐกิจของประเทศแย่ลง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.6 ระบุราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ร้อยละ 86.4 ระบุราคาสินค้าที่สูงขึ้น ร้อยละ 48.6 ระบุการทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 41.7 ระบุการเลิกจ้างแรงงาน ร้อยละ 38.4 ระบุราคาสินค้า
เกษตรตกต่ำ ร้อยละ 35.5 ระบุค่าเงินบาทแข็งตัว ร้อยละ 31.7 ระบุรูปแบบการบริหารงานของรัฐบาล ร้อยละ 29.3 ระบุเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอ
ตัว ร้อยละ 26.2 ระบุเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย และร้อยละ 26.0 ระบุการชุมนุมประท้วง ตามลำดับ นอกจากนี้ หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
59.3 มองว่าการว่างงานจะเพิ่มขึ้นในปี 2551 ในขณะที่ร้อยละ 16.9 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 9.2 ระบุลดลง และร้อยละ 14.6 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.6 เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า “ออกจากบ้าน ก็เสียตังค์ (เงิน) แล้ว” โดยเฉลี่ยของการ
เสียเงินแต่ละครั้งที่ออกนอกบ้านคือ 405 บาท 61 สตางค์ และเมื่อสอบถามความเชื่อมั่นของหัวหน้าครัวเรือนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบันในการแก้ปัญหา
เศรษฐกิจของประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้า เมื่อค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่าได้คะแนนต่ำกว่าครึ่งหรือ 4.33 คะแนน อย่างไรก็ตาม ผล
สำรวจพบประชาชนระบุการสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาสินค้าราคาสูงโดย นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมได้ 5.91
คะแนน และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับบริษัทเอกชน ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ในการลดราคาสินค้าให้กับประชาชนรวมได้ 6.85
คะแนน
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ร้อยละ 53.6 ระบุ เครือสหพัฒน์ฯ เป็นกลุ่มนายทุนที่หัวหน้าครัวเรือนในการศึกษาครั้งนี้นึกถึงหลังการประกาศลด
ราคาสินค้า รองลงมาคือ ร้อยละ 33.4 ระบุ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และร้อยละ 31.9 ระบุบริษัทยูนิลีเวอร์ ที่เหลือร้อยละ 18.4 ระบุอื่นๆ เช่น พรอค
เตอร์แอนด์แกมเบิล, เนสท์เล่, เสริมสุข เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อถามถึงห้างสรรพสินค้า / ร้านสะดวกซื้อ พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.4 นึกถึง โล
ตัส ร้อยละ 52.9 นึกถึงบิ๊กซี ร้อยละ 23.2 นึกถึง คาร์ฟูร์ ร้อยละ 14.9 นึกถึงเซเว่นฯ ร้อยละ 11.9 ระบุแม็คโคร ที่เหลือร้อยละ 13.8 ระบุ
อื่นๆ เช่น ท็อป เดอะมอลล์ เซ็นทรัล เป็นต้น
เมื่อถามว่านึกถึงประเทศไทย นึกถึงอะไรในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 96.7 ระบุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ร้อยละ 93.1 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 76.3 สภาวะข้าวยาก หมากแพง ร้อยละ 74.3 ระบุปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด ร้อย
ละ 68.4 ระบุ สภาพบ้านป่า เมืองเถื่อน ร้อยละ 41.8 ระบุความรุนแรงที่ไม่คาดฝันในกรุงเทพมหานคร และร้อยละ 39.3 ระบุการปฏิวัติ รัฐ
ประหาร อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 73.3 ระบุยังจะรู้สึกอบอุ่นใจที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 71.7 ระบุนายกรัฐมนตรีจะยังคงชื่อ นายสมัคร
สุนทรเวช ร้อยละ 54.5 ระบุคนไทยยังคงรักสามัคคีกัน แต่เพียงร้อยละ 24.5 ระบุนึกถึงความสงบสุขของบ้านเมืองที่คนไทยส่วนใหญ่มีความสุข อย่าง
ไรก็ตาม เมื่อถามหัวหน้าครัวเรือนว่า อีกกี่ปีที่ประเทศไทยจะมีเสถียรภาพ ความมั่นคง โปร่งใส บริสุทธิ์ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม พบ
ว่า ค่าต่ำสุดอยู่ที่ 1 ปี ค่าสูงสุดอยู่ที่ 50 ปี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับประมาณ 8 ปี
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความหวัง กับ ความกลัว ในกลุ่มหัวหน้าครัวเรือน พบว่า แม้ประชาชนกำลังเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง
และสังคมที่มีปัญหามากมาย แต่หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.2 ยังคงเลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้า ในขณะที่ร้อยละ 41.8 เลือกที่จะ
กลัวและกังวลต่อเหตุการณ์ต่างๆ ของประเทศ ซึ่งเคยสำรวจพบช่วงก่อนการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา พบว่า คนที่หวัง กับคนที่กลัวมีสัดส่วนร้อยละ 50
ต่อ 50 แต่ผลสำรวจครั้งนี้พบคนที่เลือกที่จะหวังและก้าวต่อไปข้างหน้ามีมากกว่าคนที่กลัวและกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ของประเทศ โดยมีเหตุผลที่จะ
หวังและก้าวต่อไปคือ คิดว่าประเทศไทยจะดีขึ้น มั่นใจในระบอบการปกครอง ให้โอกาสรัฐบาล ประเทศไทยยังมีอะไรดีอีกมาก และชีวิตเป็นเรื่องที่ต้อง
สู้และอดทน ในขณะที่เหตุผลที่กลัวและกังวลคือ สถานการณ์การเมืองไม่แน่นอน ความสงบยังไม่มี เศรษฐกิจแย่ลงทุกวัน คนไทยยังทะเลาะกัน และยังมี
ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นอยู่มาก
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า สภาวะเศรษฐกิจระดับประเทศที่หัวหน้าครัวเรือนรับรู้หรือมองเห็นกำลังสอดคล้องตรงกับ
สภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือนที่พวกเขากำลังประสบปัญหาโดยก่อนหน้านี้เคยสำรวจพบว่าประชาชนมองภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่กว่าความ
เป็นจริงที่ระดับครัวเรือน และเมื่อพิจารณามุมมองของหัวหน้าครัวเรือนต่อเรื่องการเมืองและสังคมไทยปัจจุบันร่วมด้วย พบว่า คนไทยกำลังเผชิญกับ
สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงรอบด้านแต่คนส่วนใหญ่ยังมีความหวังและต้องการจะก้าวต่อไปข้างหน้า ดังนั้น แนวทางหนุนเสริมความหวังของประชาชนที่รัฐบาล
และประชาชนทั่วไปน่าจะนำมาพิจารณาคือ การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ไม่ใช่มีแต่เรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายในมิติของเศรษฐกิจเท่านั้น
แต่เป็นเรื่องของการคิดทบทวนและดำเนินชีวิตด้วยความรอบคอบได้ในทุกมิติของชีวิต มีสติสัมปชัญญะ โดยใช้เหตุใช้ผลมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก มีการ
ประกันความเสี่ยงให้กับตนเองและครอบครัว ชุมชนและสังคม มีการเก็บออม ลดภาระหนี้สินค่าใช้จ่ายลง และหลีกเลี่ยงการเล่นทายพนันกับอบายมุขทุก
ชนิด
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของหัวหน้าครอบครัวต่อสภาวะเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมไทย
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง มองเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมปัจจุบันผ่านหัวหน้าครอบครัว กรณีศึกษา
ตัวอย่างประชาชนหัวหน้าครัวเรือนที่มีภูมิลำเนาใน 18 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,317 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม พ.ศ. 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชาชนหัวหน้าครัวเรือนที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน
18 จังหวัดของประเทศ คือ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี อยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ตราด ชลบุรี บุรีรัมย์ นครราชสีมา
ขอนแก่น ลำปาง เชียงใหม่ นครสวรรค์ นครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ
หลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ใน
ระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ
สอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
และคณะทำงานประกอบด้วย นางเนตรนภิศ ละเอียด ผู้ช่วยหัวหน้าโครงการวิจัย นายนิรันดร์ ปริญญาพล นักวิจัย นางสาวจิรวดี
พิศาลวัชรินทร์ และนายภานุพงศ์ ดินต่อแดน นักสถิติ นายภัทรวิชญ์ มั่งคั่ง นางสาวอรพินท์ พงษ์ประเสริฐ นางสาวสุวิมล วันทา นางสาว
อุบลรัตน์ ด่านพรประเสริญ นายสมเจตน์ เจ๊ะสนิ นายคำพัน ราศรี นายอัมราม อมรรุ่งรัศมี ผู้ช่วยนักวิจัย และนางสุภาภรณ์ เบ้าเทศ
เลขานุการโครงการ พร้อมด้วย พนักงานเก็บข้อมูล และ พนักงานประมวลผลข้อมูล จำนวน 133 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 41.4 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.4 ระบุอายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 26.9 ระบุอายุ 30-39
ร้อยละ 26.7 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 25.0 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.5 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.2 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 43.8 ระบุมีอาชีพค้าขาย
รองลงมาคือร้อยละ 30.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.2 ระบุมีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 7.3 ระบุเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และร้อยละ 10.1 ระบุอาชีพอื่นๆ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวเศรษฐกิจของประเทศไทย
ลำดับที่ การติดตามข่าวเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเฉลี่ย ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 47.7
2 3 - 4 วันต่อสัปดาห์ 22.6
3 1 - 2 วันต่อสัปดาห์ 17.7
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 6.2
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ สิ่งที่เห็นจริงต่อการลดราคาสินค้าอุปโภคในตลาด
ลำดับที่ สิ่งที่เห็นจริงต่อการลดราคาสินค้าอุปโภคในตลาด ลดแล้ว ยังไม่ลด ไม่ทราบ รวมทั้งสิ้น
1 นมผงสำหรับเด็ก 14.5 28.6 56.9 100.0
2 ผงซักฟอก 20.8 33.1 46.1 100.0
3 สบู่ 20.4 32.6 47.0 100.0
4 ผลิตภัณฑ์แชมพู 20.9 31.7 47.4 100.0
5 ครีมนวดผม 18.5 31.5 50.0 100.0
6 ยาสีฟัน 18.8 31.9 49.3 100.0
7 แปรงสีฟัน 13.7 31.4 54.9 100.0
8 แป้งโรยตัว 17.0 31.3 51.7 100.0
9 ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาน 16.9 33.5 49.6 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อการร่วมมือกันลดราคาของกลุ่มบริษัทเอกชน
นายทุน ครั้งนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว
ลำดับที่ การร่วมมือกันลดราคาของกลุ่มบริษัทเอกชน นายทุนครั้งนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 ช่วยได้มาก ถึงมากที่สุด 26.6
2 ปานกลาง 32.3
3 ช่วยได้น้อย ถึงช่วยไม่ได้เลย 41.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นว่า ควรจะมีการลดราคาสินค้าอื่นๆ เพิ่มเติม
นอกเหนือจากรายการสินค้าอุปโภคบริโภคที่ร่วมกันลดราคา
ลำดับที่ ควรจะมีการลดราคาสินค้าอื่นๆ เพิ่มเติม นอกเหนือจากรายการสินค้าอุปโภคบริโภคที่ร่วมกันลดราคา ค่าร้อยละ
1 ควรมีการลดราคาสินค้าอื่นๆ เพิ่ม 91.5
2 ไม่ควรมีการลดราคาสินค้าอื่นๆ เพิ่ม 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุสินค้าที่ควรลดราคาเพิ่ม นอกเหนือจากรายการสินค้าอุปโภค
บริโภคที่ร่วมกันลดราคามากที่สุด
ลำดับที่ สินค้าที่ควรลดราคาเพิ่มมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 แก๊สหุงต้ม / เชื้อเพลิง 37.8
2 ของสด เช่น เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ 23.3
3 อาหารจำพวกแป้ง อาทิ ข้าวสาร ข้าวเหนียว ขนมปัง 15.4
4 สินค้าปรุงแต่งรสอาหาร อาทิ น้ำตาลทราย เครื่องปรุงรสอาหาร 6.3
5 สินค้าสำเร็จรูป อาทิ มาม่า อาหารแห้ง 4.0
6 อาหารจำพวกน้ำดื่ม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้บรรจุกล่อง น้ำอัดลม นม 3.0
7 อาหารกระป๋องสำเร็จรูป อาทิ นมข้นหวาน ปลากระป๋อง อาหารกระป๋อง 2.7
8 สินค้า ประเภท เสื้อผ้า เครื่องสำอางค์ 2.4
9 ค่าสาธารณูปโภค อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ 2.2
10 อื่นๆ อาทิ อุปกรณ์ใช้ครัวเรือน ยารักษาโรค ผ้าอนามัยเป็นต้น 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุสภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน เปรียบเทียบกับช่วงเดือน
ตุลาคม — ธันวาคม 2550
ลำดับที่ การเปลี่ยนแปลง รายได้ค่าร้อยละ รายจ่ายค่าร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 12.7 74.3
2 เท่าเดิม 46.7 18.3
3 ลดลง 40.6 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ หัวหน้าครัวเรือนร้อยละ 71.2 ระบุมีหนี้สิน และประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 31.8 กำลังมีหนี้สินเพิ่มขึ้น
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุต่อความคิดเห็นว่า เศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไรในปัจจุบัน
ลำดับที่ เศรษฐกิจไทยเป็นอย่างไรในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 8.9
2 ทรงตัว 32.5
3 แย่ลง 58.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดง 10 อันดับสาเหตุทำให้หัวหน้าครัวเรือนไทยรู้สึกทำให้เศรษฐกิจของประเทศแย่ลง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุต่างๆที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยให้แย่ลง ค่าร้อยละ
1 ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น 88.6
2 ราคาสินค้าที่สูงขึ้น 86.4
3 การทุจริตคอร์รัปชั่น 48.6
4 การเลิกจ้างแรงงาน 41.7
5 ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ 38.4
6 ค่าเงินบาทแข็งค่า 35.5
7 รูปแบบการบริหารของคณะรัฐบาล 31.7
8 เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว 29.3
9 เศรษฐกิจสหรัฐถดถอย 26.2
10 การชุมนุมประท้วง 26.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อ การว่างงานของประชาชนในปี 2551
ลำดับที่ การว่างงานของประชาชนในปี 2551 ค่าร้อยละ
1 เพิ่มมากขึ้น 59.3
2 เหมือนเดิม 16.9
3 ลดลง 9.2
4 ไม่มีความเห็น 14.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อคำพูดว่า “ออกจากบ้าน ก็เสียตังค์ (เสียเงิน) แล้ว”
ลำดับที่ ออกจากบ้าน ก็เสียตังค์(เสียเงิน) แล้ว ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งที่เท่ากับ 405.61 บาท 95.6
2 ไม่เห็นด้วย 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของชาติ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
เท่ากับ 4.33 คะแนน
ค่าเฉลี่ยของการสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหาสินค้าราคาสูงโดย นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รมว.กระทรวงพาณิชย์
เท่ากับ 5.91 คะแนน
ค่าเฉลี่ยของการสนับสนุนการร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับบริษัทเอกชนและห้างสรรพสินค้าในการลดราคาสินค้า
เท่ากับ 6.85 คะแนน
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุเมื่อนึกถึงบริษัทที่เป็นกลุ่มนายทุน หลังการประกาศลดราคาสินค้า
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มนายทุน ที่หัวหน้าครัวเรือนนึกถึง หลังประกาศลดราคาสินค้า ค่าร้อยละ
1 เครือสหพัฒน์ 53.6
2 เครือเจริญโภคภัณฑ์ 33.4
3 บริษัทยูนิลีเวอร์ 31.9
4 อื่น ๆ เช่น พรอคเตอร์แอนด์แกมเบิล, เนสท์เล่, เสริมสุข เป็นต้น 18.4
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุเมื่อนึกถึง ห้างสรรพสินค้า / ร้านสะดวกซื้อ หลังการประกาศ
ลดราคาสินค้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ที่หัวหน้าครัวเรือนนึกถึง ค่าร้อยละ
1 โลตัส 71.4
2 Big —c 52.9
3 คาร์ฟูร์ 23.2
4 ร้าน 7-11 14.9
5 แม็คโคร 11.9
6 อื่น ๆ เช่น Top, The Mall, Central เป็นต้น 13.8
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ เมื่อนึกถึง ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่ นึกถึงประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีอยู่ต่อไป 96.7 3.3 100.0
2 ปัญหาคอรัปชั่นยังคงมีอยู่ 93.1 6.9 100.0
3 เกิดสภาวะข้าวยาก หมากแพง 76.3 23.7 100.0
4 ปัญหาอาชญากรรม / ยาเสพติดรุนแรงมากขึ้น 74.3 25.7 100.0
5 รู้สึกอบอุ่นใจที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง 73.3 26.7 100.0
6 ยังมีนายกรัฐมนตรี ชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช 71.7 28.3 100.0
7 ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สภาวะ “บ้านป่าเมืองเถื่อน” 68.4 31.6 100.0
8 คนไทยส่วนใหญ่จะยังคงรักสามัคคีกัน 54.5 45.5 100.0
9 เกิดเหตุการณ์รุนแรงไม่คาดฝันขึ้นในกรุงเทพมหานคร 41.8 58.2 100.0
10 บ้านเมืองสงบสุขแบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (คนไทยส่วนใหญ่มีความสุข) 24.5 75.5 100.0
11 อาจเกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร 39.3 60.7 100.0
หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยจำนวนปีที่คิดว่าประเทศไทยจะมีเสถียรภาพ ความมั่นคง โปร่งใส บริสุทธิ์ ทั้งในด้านการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคม เท่ากับ 8.16 ปี โดยมีค่าต่ำสุด 1 ปี และสูงสุด 50 ปี
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ ระหว่าง ความหวัง กับ ความกลัว ต่อเหตุการณ์ทางการเมือง
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
ลำดับที่ ทางเลือกของหัวหน้าครัวเรือน ค่าร้อยละ
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 58.2
2 ยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 41.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลเลือกที่จะหวัง เพราะ..... คิดว่าประเทศไทยจะดีขึ้น / มั่นใจระบอบการปกครอง / ให้โอกาสรัฐบาล /
ประเทศไทยยังมีอะไรดีอีกมาก / ชีวิตต้องสู้
เหตุผลที่กลัว เพราะ............สถานการณ์การเมืองไม่แน่นอน / ความสงบยังไม่มี / เศรษฐกิจแย่ลงทุกวัน / คน
ไทยยังทะเลาะกัน / ยังมีปัญหาคอรัปชั่นอยู่มาก เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
-พห-