ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการทำเอ็กซิทโพลล์ (Exit Poll) กรณีการเลือกตั้งใหม่ของ 17 ส.ส. ใบแดง — ใบเหลืองใน 7 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง แพร่ เพชรบูรณ์ อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา และนครนายก
ที่จังหวัดลำปาง เขต 1 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 364,089 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 1,532 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.42 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลำปาง อำเภองาว อำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม อำเภอห้างฉัตร และอำเภอเมืองปาน
จังหวัดแพร่ เขต 1 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 366,944 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 5,458 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองแพร่ อำเภอร้องกวาง อำเภอลอง อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย อำเภอสอง อำเภอวังชิ้น และอำเภอหนองม่วงไข่
จังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 1 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 361,072 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 2,120 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.59 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอน้ำหนาว อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า และอำเภอเขาค้อ
จังหวัดอุดรธานี เขต 1 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 319,215 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 3,899 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.22 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 2 อำเภอและ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองแสง และกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม
จังหวัดอุดรธานี เขต 2 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 329,456 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 3,864 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.17 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอโนนสะอาด อำเภอศรีธาตุ อำเภอวังสามหมอ อำเภอไชยวาน และอำเภอกู่แก้ว
จังหวัดอุดรธานี เขต 3 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 224,581 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 3,095 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.38 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเพ็ญ อำเภอสร้างคอม อำเภอบ้านดุง อำเภอทุ่งฝน และอำเภอพิบูลย์รักษ์
จังหวัดสกลนคร เขต 1 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 344,859 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 1,424 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเต่างอย อำเภอภูพาน อำเภอกุดบาก และอำเภอพรรณนานิคม
จังหวัดนครราชสีมา เขต 6 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 228,717 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 6,510 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 2.85 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโชคชัย อำเภอหนองบุญมาก อำเภอจักราช อำเภอห้วยแถลง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
และจังหวัดนครนายก เขต 1 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 186,031 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 1,070 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.58 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา และอำเภอองครักษ์
สำหรับแผนการสุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ 2 ขั้น (Systematic Two-stage Sampling) โดยมีหน่วยเลือกตั้ง เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง และผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ค่าความคลาดเคลื่อนโดยภาพรวมอยู่ที่บวกลบร้อยละ 3 โดยมีช่วงความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 95 หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ได้ทำหนังสือหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้งกลาง (กกต.) และคณะผู้วิจัยได้นำหนังสือตอบข้อหารือจาก กกต. ที่ระบุว่าคณะผู้วิจัยของศูนย์วิจัยฯ สามารถทำงานวิจัยแบบเอ็กซิทโพลล์ติดตัวพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเวลาของการทำวิจัยด้วย
ผลการสำรวจเอ็กซิทโพลล์ (Exit Poll) ทำนายผลการเลือกตั้งครั้งใหม่ของ 17 ส.ส. วันที่ 20 มกราคม 2551 ปรากฎในตารางข้างล่างนี้ (ขอบเขตค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3%)
จังหวัดลำปาง เขต 1 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 1 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 ธนาธร โล่ห์สุนทร พลังประชาชน 47.52 ได้
2 มัธยม นิภาเกษม ประชาธิปัตย์ 29.24 ไม่ได้
จังหวัดแพร่ เขต 1 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 3 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 ปานหทัย เสรีรักษ์ พลังประชาชน 25.87 ได้
2 นิยม วิวรรณธนติฐกุล พลังประชาชน 25.82 ได้
3 วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล พลังประชาชน 25.80 ได้
จังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 1 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 1 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 ณรงค์กร ชวาลสันตติ พลังประชาชน 38.87 ได้
2 สุทัศน์ จันทร์แสงศรี ประชาธิปัตย์ 21.42 ไม่ได้
จังหวัดอุดรธานี เขต 1 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 3 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 สุรทิน พิมานเมฆินทร์ พลังประชาชน 20.85 ได้
2 อนันต์ ศรีพันธุ์ พลังประชาชน 20.39 ได้
3 เชิดชัย วิเชียรวรรณ พลังประชาชน 19.24 ได้
จังหวัดอุดรธานี เขต 2 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 3 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 ธีระชัย แสนแก้ว พลังประชาชน 27.33 ได้
2 ทองดี มนิสสาร พลังประชาชน 25.65 ได้
3 ต่อพงษ์ ไชยสาส์น พลังประชาชน 24.20 ได้
จังหวัดอุดรธานี เขต 3 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 2 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 จักรพรรดิ ไชยสาส์น พลังประชาชน 30.02 ได้
2 ไชยยศ จิรเมธากร เพื่อแผ่นดิน 24.30 ได้
3 หรั่ง ธุระพล ชาติไทย 22.78 อาจจะได้
จังหวัดสกลนคร เขต 1 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 1 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 เฉลิมชาติ การุญ พลังประชาชน 64.89 ได้
2 อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย เพื่อแผ่นดิน 16.71 ไม่ได้
จังหวัดนครราชสีมา เขต 6 *** ไม่สามารถกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนได้ (พิจารณาเหตุผลใต้ตาราง)
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 พลพีร์ สุวรรณฉวี เพื่อแผ่นดิน 29.25 ได้
2 บุญจง วงศไตรรัตน์ พลังประชาชน 26.74 อาจจะได้
3 มีชัย จิตต์พิพัฒน์ เพื่อแผ่นดิน 26.27 อาจจะได้
มี ส.ส. ได้ 2 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งนี้
***หมายเหตุ การสำรวจเอ็กซิทโพลล์ (Exit Poll) ในเขตเลือกตั้งที่ 6 จังหวัดนครราชสีมา ประสบปัญหามากที่สุดในทุกอำเภอ ได้แก่ อำเภอโชคชัย อำเภอหนองบุญมาก อำเภอจักราช อำเภอห้วยแถลง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ คณะผู้วิจัยรายงานว่าถูกสกัดกั้นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกหน่วยเลือกตั้งทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเช่น นายอำเภอ และตำรวจชั้นผู้ใหญ่ในพื้นที่ และมีการข่มขู่สร้างความหวาดกลัวกับคณะผู้วิจัยและชาวบ้านทั่วไป ดังนั้นผลสำรวจที่ทำวิจัยได้ครั้งนี้จึงอาจเกิดความคลาดเคลื่อนสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ เพราะคณะผู้วิจัยไม่สามารถทำงานได้ตามระเบียบวิธีวิจัยที่วางแผนไว้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 6 สกัดกั้นทุกวิถีทางในการทำวิจัยครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยขอขอบคุณชาวบ้านในพื้นที่ที่ยังให้ความกรุณาร่วมมือกับคณะผู้วิจัย
จังหวัดนครนายก เขต 1 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 1 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 ชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ประชาธิปัตย์ 31.68 อาจจะได้
2 เกรียงไกร กิติธเนศวร พลังประชาชน 31.03 อาจจะได้
ตารางสรุปผลสำรวจ Exit Poll จำนวนผู้ที่คาดว่าจะได้เป็น ส.ส.จำแนกตามพรรคการเมือง
อันดับที่ พรรคการเมือง จำนวน ส.ส. ผล Exit Poll จำนวน ส.ส. ผล Exit Pollจำนวน ส.ส.
ที่โดนใบเหลือง - แดง ที่คาดว่าจะได้ (สูตร 1) ที่คาดว่าจะได้ (สูตร 2)
1 พลังประชาชน 12 เหลือง 1 แดง 13 — 15 15
2 เพื่อแผ่นดิน 2 เหลือง 1 — 3 2
3 ประชาธิปัตย์ 2 เหลือง 0 - 1 0
4 ชาติไทย - 0 - 1 0
รวมทั้งสิ้น 17 17 17
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ผลสำรวจ Exit Poll ชี้ให้เห็นว่า พรรคพลังประชาชนที่โดน 12 ใบเหลือง กับ 1 ใบแดงรวม 13 ที่นั่งนั้น แต่การเลือกตั้งครั้งใหม่วันที่ 20 มกราคมนี้ พรรคพลังประชาชนมีโอกาสจะได้จำนวนที่นั่ง ส.ส. กลับเข้ามาเหมือนเดิมและคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 13 ที่นั่งเพราะมีโอกาสชนะในเขตเลือกตั้งอื่นเพิ่มเข้ามาอีกประมาณ 2 — 3 ที่นั่ง
สามารถ download การนำเสนอ powerpoint ได้ที่ www.abacpoll.com
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ที่จังหวัดลำปาง เขต 1 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 364,089 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 1,532 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.42 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลำปาง อำเภองาว อำเภอวังเหนือ อำเภอแจ้ห่ม อำเภอห้างฉัตร และอำเภอเมืองปาน
จังหวัดแพร่ เขต 1 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 366,944 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 5,458 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองแพร่ อำเภอร้องกวาง อำเภอลอง อำเภอสูงเม่น อำเภอเด่นชัย อำเภอสอง อำเภอวังชิ้น และอำเภอหนองม่วงไข่
จังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 1 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 361,072 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 2,120 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.59 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอน้ำหนาว อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า และอำเภอเขาค้อ
จังหวัดอุดรธานี เขต 1 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 319,215 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 3,899 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.22 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 2 อำเภอและ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุดรธานี อำเภอหนองแสง และกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม
จังหวัดอุดรธานี เขต 2 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 329,456 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 3,864 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.17 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกุมภวาปี อำเภอหนองหาน อำเภอโนนสะอาด อำเภอศรีธาตุ อำเภอวังสามหมอ อำเภอไชยวาน และอำเภอกู่แก้ว
จังหวัดอุดรธานี เขต 3 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 224,581 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 3,095 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 1.38 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเพ็ญ อำเภอสร้างคอม อำเภอบ้านดุง อำเภอทุ่งฝน และอำเภอพิบูลย์รักษ์
จังหวัดสกลนคร เขต 1 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 344,859 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 1,424 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอเต่างอย อำเภอภูพาน อำเภอกุดบาก และอำเภอพรรณนานิคม
จังหวัดนครราชสีมา เขต 6 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 228,717 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 6,510 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 2.85 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโชคชัย อำเภอหนองบุญมาก อำเภอจักราช อำเภอห้วยแถลง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
และจังหวัดนครนายก เขต 1 ในเขตเลือกตั้งนี้มีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนทั้งสิ้น 186,031 คน คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 1,070 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.58 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา และอำเภอองครักษ์
สำหรับแผนการสุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ 2 ขั้น (Systematic Two-stage Sampling) โดยมีหน่วยเลือกตั้ง เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง และผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ค่าความคลาดเคลื่อนโดยภาพรวมอยู่ที่บวกลบร้อยละ 3 โดยมีช่วงความเชื่อมั่นอยู่ที่ร้อยละ 95 หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ได้ทำหนังสือหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้งกลาง (กกต.) และคณะผู้วิจัยได้นำหนังสือตอบข้อหารือจาก กกต. ที่ระบุว่าคณะผู้วิจัยของศูนย์วิจัยฯ สามารถทำงานวิจัยแบบเอ็กซิทโพลล์ติดตัวพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเวลาของการทำวิจัยด้วย
ผลการสำรวจเอ็กซิทโพลล์ (Exit Poll) ทำนายผลการเลือกตั้งครั้งใหม่ของ 17 ส.ส. วันที่ 20 มกราคม 2551 ปรากฎในตารางข้างล่างนี้ (ขอบเขตค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3%)
จังหวัดลำปาง เขต 1 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 1 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 ธนาธร โล่ห์สุนทร พลังประชาชน 47.52 ได้
2 มัธยม นิภาเกษม ประชาธิปัตย์ 29.24 ไม่ได้
จังหวัดแพร่ เขต 1 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 3 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 ปานหทัย เสรีรักษ์ พลังประชาชน 25.87 ได้
2 นิยม วิวรรณธนติฐกุล พลังประชาชน 25.82 ได้
3 วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล พลังประชาชน 25.80 ได้
จังหวัดเพชรบูรณ์ เขต 1 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 1 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 ณรงค์กร ชวาลสันตติ พลังประชาชน 38.87 ได้
2 สุทัศน์ จันทร์แสงศรี ประชาธิปัตย์ 21.42 ไม่ได้
จังหวัดอุดรธานี เขต 1 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 3 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 สุรทิน พิมานเมฆินทร์ พลังประชาชน 20.85 ได้
2 อนันต์ ศรีพันธุ์ พลังประชาชน 20.39 ได้
3 เชิดชัย วิเชียรวรรณ พลังประชาชน 19.24 ได้
จังหวัดอุดรธานี เขต 2 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 3 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 ธีระชัย แสนแก้ว พลังประชาชน 27.33 ได้
2 ทองดี มนิสสาร พลังประชาชน 25.65 ได้
3 ต่อพงษ์ ไชยสาส์น พลังประชาชน 24.20 ได้
จังหวัดอุดรธานี เขต 3 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 2 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 จักรพรรดิ ไชยสาส์น พลังประชาชน 30.02 ได้
2 ไชยยศ จิรเมธากร เพื่อแผ่นดิน 24.30 ได้
3 หรั่ง ธุระพล ชาติไทย 22.78 อาจจะได้
จังหวัดสกลนคร เขต 1 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 1 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 เฉลิมชาติ การุญ พลังประชาชน 64.89 ได้
2 อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย เพื่อแผ่นดิน 16.71 ไม่ได้
จังหวัดนครราชสีมา เขต 6 *** ไม่สามารถกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนได้ (พิจารณาเหตุผลใต้ตาราง)
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 พลพีร์ สุวรรณฉวี เพื่อแผ่นดิน 29.25 ได้
2 บุญจง วงศไตรรัตน์ พลังประชาชน 26.74 อาจจะได้
3 มีชัย จิตต์พิพัฒน์ เพื่อแผ่นดิน 26.27 อาจจะได้
มี ส.ส. ได้ 2 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งนี้
***หมายเหตุ การสำรวจเอ็กซิทโพลล์ (Exit Poll) ในเขตเลือกตั้งที่ 6 จังหวัดนครราชสีมา ประสบปัญหามากที่สุดในทุกอำเภอ ได้แก่ อำเภอโชคชัย อำเภอหนองบุญมาก อำเภอจักราช อำเภอห้วยแถลง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ คณะผู้วิจัยรายงานว่าถูกสกัดกั้นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกหน่วยเลือกตั้งทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเช่น นายอำเภอ และตำรวจชั้นผู้ใหญ่ในพื้นที่ และมีการข่มขู่สร้างความหวาดกลัวกับคณะผู้วิจัยและชาวบ้านทั่วไป ดังนั้นผลสำรวจที่ทำวิจัยได้ครั้งนี้จึงอาจเกิดความคลาดเคลื่อนสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ เพราะคณะผู้วิจัยไม่สามารถทำงานได้ตามระเบียบวิธีวิจัยที่วางแผนไว้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดนครราชสีมา เขตเลือกตั้งที่ 6 สกัดกั้นทุกวิถีทางในการทำวิจัยครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยขอขอบคุณชาวบ้านในพื้นที่ที่ยังให้ความกรุณาร่วมมือกับคณะผู้วิจัย
จังหวัดนครนายก เขต 1 ค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง +/- 3% มี ส.ส. ได้ 1 ที่นั่ง
อันดับที่ ชื่อผู้สมัคร พรรค 20 ม.ค. 51ร้อยละ ผล Exit Poll ล่าสุดคาดว่าจะได้
1 ชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ประชาธิปัตย์ 31.68 อาจจะได้
2 เกรียงไกร กิติธเนศวร พลังประชาชน 31.03 อาจจะได้
ตารางสรุปผลสำรวจ Exit Poll จำนวนผู้ที่คาดว่าจะได้เป็น ส.ส.จำแนกตามพรรคการเมือง
อันดับที่ พรรคการเมือง จำนวน ส.ส. ผล Exit Poll จำนวน ส.ส. ผล Exit Pollจำนวน ส.ส.
ที่โดนใบเหลือง - แดง ที่คาดว่าจะได้ (สูตร 1) ที่คาดว่าจะได้ (สูตร 2)
1 พลังประชาชน 12 เหลือง 1 แดง 13 — 15 15
2 เพื่อแผ่นดิน 2 เหลือง 1 — 3 2
3 ประชาธิปัตย์ 2 เหลือง 0 - 1 0
4 ชาติไทย - 0 - 1 0
รวมทั้งสิ้น 17 17 17
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ผลสำรวจ Exit Poll ชี้ให้เห็นว่า พรรคพลังประชาชนที่โดน 12 ใบเหลือง กับ 1 ใบแดงรวม 13 ที่นั่งนั้น แต่การเลือกตั้งครั้งใหม่วันที่ 20 มกราคมนี้ พรรคพลังประชาชนมีโอกาสจะได้จำนวนที่นั่ง ส.ส. กลับเข้ามาเหมือนเดิมและคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 13 ที่นั่งเพราะมีโอกาสชนะในเขตเลือกตั้งอื่นเพิ่มเข้ามาอีกประมาณ 2 — 3 ที่นั่ง
สามารถ download การนำเสนอ powerpoint ได้ที่ www.abacpoll.com
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-