ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความหวัง / ความกลัวของประชาชนต่อสถานการณ์ของ
ประเทศ และคนไทยกลุ่มไหนที่สนับสนุน / ไม่สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี: กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาใน
27 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,506 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 — 26 มกราคม พ.ศ. 2551 ประเด็น
สำคัญที่ค้นพบคือ
ปัญหาสำคัญ 10 อันดับแรก ที่ประชาชนผู้ถูกศึกษาต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ยกเป็นปัญหาหลักหรือที่เรียกว่าเป็นวาระแห่งชาติ ได้แก่ อันดับ
แรก ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.4 ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ยก ปัญหาราคาสินค้าและบริการในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้นเป็นปัญหาหลักหรือวาระแห่ง
ชาติ อันดับสองคือร้อยละ 68.3 ระบุปัญหายาเสพติด อันดับสามคือร้อยละ 65.2 ระบุปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ อันดับสี่คือร้อยละ
64.3 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น อันดับห้าคือร้อยละ 53.6 ระบุปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน อันดับหกคือร้อยละ 51.0 ปัญหาความแตกแยกในสังคม
อันดับเจ็ดคือร้อยละ 47.2 ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของประชาชน อันดับแปดคือร้อยละ 45.6 ปัญหาแรงงาน อันดับเก้าคือร้อยละ 45.5 ปัญหาสิ่ง
แวดล้อมและภาวะโลกร้อน และอันดับสิบคือร้อยละ 42.9 ปัญหาความไม่ยุติธรรมในสังคม ที่น่าพิจารณาคือ ปัญหาทางการเมืองเช่น การนิรโทษกรรม
111 อดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทย และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลับกลายเป็นปัญหาที่ประชาชนให้ความสนใจในอันดับท้ายๆ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.4 ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่แก้ปัญหาทันที ในขณะที่ร้อยละ 13.4 ยังให้เวลา
เตรียมตัว 1 — 3 เดือน ร้อยละ 19.6 ให้เวลา 3 — 6 เดือน และร้อยละ 11.6 เท่านั้นที่ให้เวลารัฐบาลชุดใหม่เตรียมตัวเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาเรื่องความหวังและความกลัวของประชาชนต่อสถานการณ์ประเทศไทย พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษามีจำนวน
ของผู้ที่มีความหวังที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 50.0 ในการสำรวจก่อนการเลือกตั้ง มาอยู่ที่ร้อยละ 53.5 ในการสำรวจหลังการ
เลือกตั้ง ในขณะที่ประชาชน ระบุ มี ความกลัวและกังวลใจต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทยลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 50.0 ในการสำรวจ ก่อน
การเลือกตั้งมาอยู่ที่ร้อยละ 46.5 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงระดับความเชื่อมั่นต่อประเด็นสำคัญของประเทศในรายละเอียด กลับพบว่า ค่าคะแนนความเชื่อมั่นโดยเฉลี่ย
ไม่ถึงครึ่งของค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยเฉพาะเรื่องความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เพียง 3.10 คะแนน เรื่องปัญหายาเสพติดจะหมด
ไปได้เพียง 3.39 คะแนน เรื่องความซื่อสัตย์ สุจริตของกลุ่มนักการเมืองได้เพียง 3.43 คะแนน เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของ
ประชาชนได้เพียง 4.11 คะแนน เรื่องรัฐบาลชุดใหม่จะอยู่จนครบวาระ ได้เพียง 4.22 คะแนน เรื่องกระบวนการยุติธรรมจะสามารถ ทำให้สถาบัน
การเมืองบริสุทธิ์ ได้เพียง 4.29 คะแนน เรื่องรัฐบาลชุดใหม่ จะทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ช่วงหาเสียง ได้เพียง 4.37 คะแนน เรื่องพรรคการ
เมืองต่างๆ จะช่วยกันจัดตั้งรัฐบาลได้ด้วยความเรียบร้อย ได้เพียง 4.49 คะแนน เรื่องเศรษฐกิจจะดีขึ้นได้เพียง 4.61 และเรื่องความรัก ความ
สามัคคีของคนในชาติ ได้เพียง 4.61 คะแนน ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนกลุ่มไหนที่สนับสนุน และไม่สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ
44.3 ให้การสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 38.4 ไม่ให้การสนับสนุน และร้อยละ 17.3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง)
เมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ พบว่า กลุ่มผู้สนับสนุนนายสมัคร นั้นเป็นกลุ่มผู้ชายร้อยละ 46.2 ต่อกลุ่มผู้หญิงร้อยละ 42.7 และ
เป็นกลุ่มอายุ 40 — 49 ปี และกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไปสนับสนุนนายสมัคร มากกว่ากลุ่มคนอายุช่วงอื่นคือร้อยละ 50.4 และร้อยละ 48.2 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อกำลังจะถึงวันตรุษจีน คณะผู้วิจัยจึงได้จำแนกให้เห็นการสนับสนุน นายสมัคร ในกลุ่มคนที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน
กับกลุ่มที่ไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน พบว่า กลุ่มที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนให้การสนับสนุนนายสมัคร น้อยกว่ากลุ่มอื่น คือร้อยละ 39.2 ต่อร้อยละ 46.3
และเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาของประชาชนที่เรียนจบมา พบประเด็นที่น่าสนใจคือ ยิ่งคนที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงขึ้นกลับให้การสนับ
สนุนนายสมัคร สุนทรเวช ในสัดส่วนที่น้อยลง คือ ร้อยละ 51.2 ของผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า สนับสนุนนายสมัคร ต่อร้อยละ 45.3 ของผู้ที่
จบอนุปริญญาหรือ ป.ว.ส. ร้อยละ 34.5 ของผู้ที่จบปริญญาตรี และร้อยละ 29.3 ของผู้ที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
เมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม พ่อบ้าน แม่บ้าน กลุ่มผู้เกษียณอายุ และกลุ่มผู้รับจ้างทั่ว
ไป สูงกว่า กลุ่มอาชีพอื่น คือ ร้อยละ 54.0 และร้อยละ 50.5 ตามลำดับ ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มที่ให้การสนับสนุน นายสมัคร น้อยสุดคือ กลุ่มอาชีพ
เกษตรกร ประมง และนักเรียนนักศึกษา ที่ได้ร้อยละ 22.7 และร้อยละ 32.6 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม กลุ่มประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ยังคงให้การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช สูงกว่ากลุ่ม
ประชาชนในภาคอื่นๆ คือ ร้อยละ 55.3 และร้อยละ 51.9 ในขณะที่ ประชาชนในภาคใต้มีร้อยละ 18.1 ที่สนับสนุน แต่เมื่อจำแนกตามกลุ่ม
ประชาชนที่ตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มคนที่เลือกพรรคพลังประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
75.0 สนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ในขณะที่ ประชาชนที่เลือกพรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนนายสมัคร น้อยกว่ากลุ่มคนที่เลือก
พรรคอื่นๆ คือร้อยละ 18.2 และร้อยละ 13.6 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 48.0 ต้องการให้พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาลนาน 3 ปีถึงจนครบวาระ มีเพียงร้อย
ละ 16.5 เท่านั้นที่ต้องการให้เป็นรัฐบาลไม่เกิน 6 เดือน
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนกำลังต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งแก้ไขปัญหาที่ใกล้ตัวประชาชนด้วยความรวด
เร็วฉับไว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนเกินครึ่งเล็กน้อยที่มีความหวังก้าวต่อไปข้างหน้าแต่ประชาชนจำนวนมากยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้า
ของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังพบว่าความเชื่อมั่นของประชาชนต่ำกว่าครึ่งในหลายเรื่องสำคัญของประเทศ เช่น เรื่องความรักความสามัคคีของคนใน
ชาติ เศรษฐกิจจะดีขึ้น พรรคการเมืองต่างๆ จะช่วยกันจัดตั้งรัฐบาลด้วยความเรียบร้อย ความซื่อสัตย์สุจริตของกลุ่มนักการเมือง และความเชื่อมั่นต่อ
กระบวนการยุติธรรมที่จะทำให้สถาบันการเมืองบริสุทธิ์
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า นายสมัคร สุนทรเวช ที่กำลังถูกคาดหมายจะได้รับการโหวตในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั้นมีจุดตั้งต้นของเสียงสนับ
สนุนจากประชาชนโดยภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 44.3 ในทางสถิติด้านการสำรวจความนิยมของประชาชนต่อผู้นำประเทศทั่วๆ ไปถือว่าอยู่ในโซน 2 คือ
ระหว่างร้อยละ 25 ถึงร้อยละ 50 เป็นฐานการสนับสนุนที่มีความหมายว่า เป็นตัวเลขที่ไม่ถึงกับแย่มากนัก นอกจากนี้การที่เข้ามาในช่วงบ้านเมืองไม่
ปกติจะหาบุคคลที่จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนได้อย่างท่วมท้นนั้นเป็นไปได้ยาก โดยทั่วไปถ้านายสมัครได้รับการโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรีจริง
ก็น่าจะสามารถบริหารประเทศได้แต่อาจประสบปัญหาการสื่อสารกับสาธารณชนในระยะแรก ที่จะพูดอะไร จะทำอะไร มักจะพบกับแรงเสียดทานจาก
สังคม ซึ่งกรณีนี้ทางออกที่ทำให้ผู้นำประเทศคนอื่นๆ สามารถเอาตัวรอดได้จากสภาวการณ์เช่นนี้คือ การมุ่งทำงานให้หนักตอบสนองความต้องการและ
แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวประชาชน ปล่อยให้ผลงานสื่อสารกับสาธารณะชนมากกว่าใช้คำพูดของตนเอง และมีนโยบายและขับเคลื่อนกลไก
ต่างๆ ของรัฐได้อย่างเป็นรูปธรรมโดนใจประชาชนแบบจับต้องได้ ซึ่งหากทำได้ตามที่กล่าวมา ก็อาจส่งผลทำให้มีฐานสนับสนุนสูงขึ้นเทียบชั้นกับความ
นิยมของประชาชนที่มีต่ออดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่เคยได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนในช่วงแรกของการเป็นรัฐบาลหลังการ
เลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ที่สูงถึงประมาณร้อยละ 80 เลยทีเดียว ซึ่งในช่วงเวลานั้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะพูดอะไร จะทำอะไร มักจะได้รับการสนับ
สนุนจากสาธารณะชน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อผู้บริหารและรัฐบาลชุดใหม่ในการแก้ไขปัญหา
ความเดือดร้อนของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความหวังและความกลัวของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจการสนับสนุนของประชาชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ความหวัง / ความกลัวของประชาชนต่อสถานการณ์ของประเทศ และคน
ไทยกลุ่มไหนที่สนับสนุน / ไม่สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี: กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดของ
ประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-26 มกราคม พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือก
ตั้งใน 27 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พิษณุโลก สระแก้ว ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ลำพูน เชียงใหม่ นครราชสีมา
ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา ลำปาง ตาก หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี สุโขทัย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครปฐม
สมุทรสาคร ราชบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,506 ตัวอย่าง ช่วงความ
เชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.5 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 30.9 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.2 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.8 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 15.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.7 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 35.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.8 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 6.5 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.3 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.6 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 6.8 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุเป็นคนไทยเชื้อสายจีน
ร้อยละ 20.8 ระบุไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน แต่ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบจีน
และร้อยละ 47.9 ระบุไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน และไม่ได้ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบจีน
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.4 ระบุมีรายได้ทุกคนในครอบครัวรวมกันน้อยกว่า 10,000 บาท
ร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 15.1 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 17.9 ระบุมีรายได้ 20,001 — 30,000 บาท
ร้อยละ 7.4 ระบุมีรายได้ 30,001 — 40,000 บาท
ร้อยละ 8.4 ระบุมีรายได้ 40,001 — 50,000 บาท
และร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ยกเป็นปัญหาหลักหรือวาระแห่งชาติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ต้องการให้ยกเป็นปัญหาหลัก หรือวาระแห่งชาติ ค่าร้อยละ
1 ปัญหาราคาสินค้าและบริการในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้น 75.4
2 ปัญหายาเสพติด 68.3
3 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ 65.2
4 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 64.3
5 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน 53.6
6 ปัญหาความแตกแยกในสังคม 51.0
7 ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของประชาชน 47.2
8 ปัญหาแรงงาน 45.6
9 ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน 45.5
10 ปัญหาความไม่ยุติธรรมของสังคม 42.9
11 ปํญหาการจราจร 37.4
12 ปํญหาด้านวัฒนธรรม จริยธรรมของคนไทย 35.2
13 ปํญหาที่อยู่อาศัย 34.6
14 ปํญหาสวัสดิการสังคม/การรักษาพยาบาล 33.1
15 ปํญหาด้านพลังงานทดแทน 32.8
16 ปํญหาคุณภาพการบริการของขนส่งมวลชน 29.4
17 การปรับปรุงเรื่องการท่องเที่ยวไทย 28.8
18 การนิรโทษกรรม 111 อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 24.7
19 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 20.9
20 การแก้กฎหมาย 12.8
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่ให้รัฐบาลชุดใหม่เตรียมตัวเพื่อแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของประชาชน
ลำดับที่ ระยะเวลาที่ให้รัฐบาลชุดใหม่เตรียมตัวในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ให้เวลาเตรียมตัวมากกว่า 6 เดือน 11.6
2 ให้เวลาเตรียมตัว 3 — 6 เดือน 19.6
3 ให้เวลาเตรียมตัว 1 — 3 เดือน 13.4
4 ต้องการให้แก้ปัญหาทันที 55.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เลือกระหว่างความหวังและความหวาดกลัวต่อเหตุการณ์ทางการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย
ลำดับที่ ทางเลือกของประชาชน ก่อนเลือกตั้งร้อยละ หลังเลือกตั้งร้อยละ
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 50.0 53.5
2 ยังกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 50.0 46.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นค่า
คะแนนเฉลี่ย จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ ประเด็นต่าง ๆ ภายหลังการเลือกตั้ง คะแนนเฉลี่ย เมื่อเต็ม 10 คะแนน
1 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 4.61
2 เศรษฐกิจจะดีขึ้น 4.61
3 พรรคการเมืองต่าง ๆ จะช่วยกันจัดตั้งรัฐบาลด้วยความเรียบร้อย 4.49
4 ความซื่อสัตย์สุจริตของกลุ่มนักการเมือง 3.43
5 กระบวนการยุติธรรมจะสามารถทำให้สถาบันการเมืองบริสุทธิ์ 4.29
6 รัฐบาลใหม่จะทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ช่วงหาเสียง 4.37
7 รัฐบาลใหม่จะอยู่บริหารประเทศได้นานจนครบวาระ 4.22
8 ความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะกลับคืนมา 3.10
9 ปัญหายาเสพติดจะหมดไป 3.39
10 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะมีมากขึ้น 4.11
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 44.3
2 ไม่สนับสนุน 38.4
3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 17.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศ
ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ การสนับสนุน เพศ
เพศชาย เพศหญิง
1 ไม่สนับสนุน 36.5 39.9
2 ขออยู่ตรงกลาง 17.3 17.4
3 สนับสนุน 46.2 42.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศใน
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามช่วงอายุ
การสนับสนุน ช่วงอายุ
ต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
1. ไม่สนับสนุน 44.0 38.5 39.5 32.8 39.7
2. ขออยู่ตรงกลาง 23.0 20.5 15.0 16.8 12.1
3. สนับสนุน 33.0 41.0 45.5 50.4 48.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศใน
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามการเป็นคนไทยเชื้อสายจีน
ลำดับที่ การสนับสนุน การเป็นคนไทยเชื้อสายจีน
เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ไม่ใช่แต่ยึดธรรมเนียมจีน ไม่ใช่และไม่ยึดธรรมเนียมจีน
1 ไม่สนับสนุน 45.8 35.7 35.1
2 ขออยู่ตรงกลาง 15.0 18.4 18.6
3 สนับสนุน 39.2 45.9 46.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศใน
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามระดับการศึกษา
การสนับสนุน ระดับการศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า มัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช. อนุปริญญา/ป.ว.ส. ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
1. ไม่สนับสนุน 32.6 38.0 38.2 48.1 51.2
2. ขออยู่ตรงกลาง 16.2 18.3 16.5 17.4 19.5
3. สนับสนุน 51.2 43.7 45.3 34.5 29.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศใน
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามอาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
การสนับสนุน อาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
ข้าราชการ/ พนักงาน ค้าขาย/ประกอบ นักเรียน/ รับจ้างทั่วไป แม่บ้าน/พ่อบ้าน/ เกษตรกร / ว่างงาน/
พนักงานรัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน กิจการส่วนตัว นักศึกษา เกษียณอายุ ชาวนา/ชาวประมง ไม่มีงานทำ
1. ไม่สนับสนุน 39.7 41.2 39.2 49.6 31.8 27.3 59.1 34.6
2. ขออยู่ตรงกลาง 19.1 17.3 16.4 17.8 17.7 18.7 18.2 23.1
3. สนับสนุน 41.2 41.5 44.4 32.6 50.5 54.0 22.7 42.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่ในการบริหารประเทศใน
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามภูมิภาคที่มีทะเบียนบ้านอยู่
การสนับสนุน ภูมิภาคที่มีทะเบียนบ้านอยู่
เหนือ กลาง ตะวันออก/เหนือ ใต้ กรุงเทพฯ
1. ไม่สนับสนุน 29.1 38.0 29.5 67.7 39.2
2. ขออยู่ตรงกลาง 19.0 17.9 15.2 14.2 17.5
3. สนับสนุน 51.9 44.1 55.3 18.1 43.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่ในการบริหารประเทศในตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี จำแนกตามพรรคการเมืองที่เลือก ส.ส.แบบสัดส่วน ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 50 ที่ผ่านมา
การสนับสนุน พรรคการเมืองที่เลือก ส.ส.แบบสัดส่วน
ประชา-ธิปัตย์ มัชฌิมาธิปไตย ชาติไทย ประชาราช เพื่อแผ่นดิน รวมใจไทยฯ พลังประชาชน อื่น ๆ
1. ไม่สนับสนุน 70.1 68.2 45.0 21.1 37.9 63.2 11.0 28.0
2. ขออยู่ตรงกลาง 16.3 13.6 20.0 31.5 24.2 5.2 14.0 29.4
3. สนับสนุน 13.6 18.2 35.0 47.4 37.9 31.6 75.0 42.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 13 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่ต้องการให้พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาล
ลำดับที่ ระยะเวลาที่ต้องการให้พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 6 เดือน 16.5
2 6 เดือน — 1 ปี 14.6
3 1 — 2 ปี 14.7
4 2 — 3 ปี 6.2
5 3 ปี - ครบวาระ 48.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความหวัง / ความกลัวของประชาชนต่อสถานการณ์ของ
ประเทศ และคนไทยกลุ่มไหนที่สนับสนุน / ไม่สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี: กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาใน
27 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,506 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 — 26 มกราคม พ.ศ. 2551 ประเด็น
สำคัญที่ค้นพบคือ
ปัญหาสำคัญ 10 อันดับแรก ที่ประชาชนผู้ถูกศึกษาต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ยกเป็นปัญหาหลักหรือที่เรียกว่าเป็นวาระแห่งชาติ ได้แก่ อันดับ
แรก ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.4 ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ยก ปัญหาราคาสินค้าและบริการในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้นเป็นปัญหาหลักหรือวาระแห่ง
ชาติ อันดับสองคือร้อยละ 68.3 ระบุปัญหายาเสพติด อันดับสามคือร้อยละ 65.2 ระบุปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ อันดับสี่คือร้อยละ
64.3 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น อันดับห้าคือร้อยละ 53.6 ระบุปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน อันดับหกคือร้อยละ 51.0 ปัญหาความแตกแยกในสังคม
อันดับเจ็ดคือร้อยละ 47.2 ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของประชาชน อันดับแปดคือร้อยละ 45.6 ปัญหาแรงงาน อันดับเก้าคือร้อยละ 45.5 ปัญหาสิ่ง
แวดล้อมและภาวะโลกร้อน และอันดับสิบคือร้อยละ 42.9 ปัญหาความไม่ยุติธรรมในสังคม ที่น่าพิจารณาคือ ปัญหาทางการเมืองเช่น การนิรโทษกรรม
111 อดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทย และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลับกลายเป็นปัญหาที่ประชาชนให้ความสนใจในอันดับท้ายๆ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.4 ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่แก้ปัญหาทันที ในขณะที่ร้อยละ 13.4 ยังให้เวลา
เตรียมตัว 1 — 3 เดือน ร้อยละ 19.6 ให้เวลา 3 — 6 เดือน และร้อยละ 11.6 เท่านั้นที่ให้เวลารัฐบาลชุดใหม่เตรียมตัวเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาเรื่องความหวังและความกลัวของประชาชนต่อสถานการณ์ประเทศไทย พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษามีจำนวน
ของผู้ที่มีความหวังที่จะก้าวต่อไปข้างหน้าสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 50.0 ในการสำรวจก่อนการเลือกตั้ง มาอยู่ที่ร้อยละ 53.5 ในการสำรวจหลังการ
เลือกตั้ง ในขณะที่ประชาชน ระบุ มี ความกลัวและกังวลใจต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทยลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 50.0 ในการสำรวจ ก่อน
การเลือกตั้งมาอยู่ที่ร้อยละ 46.5 ในการสำรวจครั้งล่าสุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงระดับความเชื่อมั่นต่อประเด็นสำคัญของประเทศในรายละเอียด กลับพบว่า ค่าคะแนนความเชื่อมั่นโดยเฉลี่ย
ไม่ถึงครึ่งของค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยเฉพาะเรื่องความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เพียง 3.10 คะแนน เรื่องปัญหายาเสพติดจะหมด
ไปได้เพียง 3.39 คะแนน เรื่องความซื่อสัตย์ สุจริตของกลุ่มนักการเมืองได้เพียง 3.43 คะแนน เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของ
ประชาชนได้เพียง 4.11 คะแนน เรื่องรัฐบาลชุดใหม่จะอยู่จนครบวาระ ได้เพียง 4.22 คะแนน เรื่องกระบวนการยุติธรรมจะสามารถ ทำให้สถาบัน
การเมืองบริสุทธิ์ ได้เพียง 4.29 คะแนน เรื่องรัฐบาลชุดใหม่ จะทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ช่วงหาเสียง ได้เพียง 4.37 คะแนน เรื่องพรรคการ
เมืองต่างๆ จะช่วยกันจัดตั้งรัฐบาลได้ด้วยความเรียบร้อย ได้เพียง 4.49 คะแนน เรื่องเศรษฐกิจจะดีขึ้นได้เพียง 4.61 และเรื่องความรัก ความ
สามัคคีของคนในชาติ ได้เพียง 4.61 คะแนน ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประชาชนกลุ่มไหนที่สนับสนุน และไม่สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ
44.3 ให้การสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 38.4 ไม่ให้การสนับสนุน และร้อยละ 17.3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง)
เมื่อจำแนกกลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ พบว่า กลุ่มผู้สนับสนุนนายสมัคร นั้นเป็นกลุ่มผู้ชายร้อยละ 46.2 ต่อกลุ่มผู้หญิงร้อยละ 42.7 และ
เป็นกลุ่มอายุ 40 — 49 ปี และกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไปสนับสนุนนายสมัคร มากกว่ากลุ่มคนอายุช่วงอื่นคือร้อยละ 50.4 และร้อยละ 48.2 ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อกำลังจะถึงวันตรุษจีน คณะผู้วิจัยจึงได้จำแนกให้เห็นการสนับสนุน นายสมัคร ในกลุ่มคนที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน
กับกลุ่มที่ไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน พบว่า กลุ่มที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนให้การสนับสนุนนายสมัคร น้อยกว่ากลุ่มอื่น คือร้อยละ 39.2 ต่อร้อยละ 46.3
และเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาของประชาชนที่เรียนจบมา พบประเด็นที่น่าสนใจคือ ยิ่งคนที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงขึ้นกลับให้การสนับ
สนุนนายสมัคร สุนทรเวช ในสัดส่วนที่น้อยลง คือ ร้อยละ 51.2 ของผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า สนับสนุนนายสมัคร ต่อร้อยละ 45.3 ของผู้ที่
จบอนุปริญญาหรือ ป.ว.ส. ร้อยละ 34.5 ของผู้ที่จบปริญญาตรี และร้อยละ 29.3 ของผู้ที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
เมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม พ่อบ้าน แม่บ้าน กลุ่มผู้เกษียณอายุ และกลุ่มผู้รับจ้างทั่ว
ไป สูงกว่า กลุ่มอาชีพอื่น คือ ร้อยละ 54.0 และร้อยละ 50.5 ตามลำดับ ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มที่ให้การสนับสนุน นายสมัคร น้อยสุดคือ กลุ่มอาชีพ
เกษตรกร ประมง และนักเรียนนักศึกษา ที่ได้ร้อยละ 22.7 และร้อยละ 32.6 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม กลุ่มประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ยังคงให้การสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช สูงกว่ากลุ่ม
ประชาชนในภาคอื่นๆ คือ ร้อยละ 55.3 และร้อยละ 51.9 ในขณะที่ ประชาชนในภาคใต้มีร้อยละ 18.1 ที่สนับสนุน แต่เมื่อจำแนกตามกลุ่ม
ประชาชนที่ตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มคนที่เลือกพรรคพลังประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ
75.0 สนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ในขณะที่ ประชาชนที่เลือกพรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนนายสมัคร น้อยกว่ากลุ่มคนที่เลือก
พรรคอื่นๆ คือร้อยละ 18.2 และร้อยละ 13.6 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 48.0 ต้องการให้พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาลนาน 3 ปีถึงจนครบวาระ มีเพียงร้อย
ละ 16.5 เท่านั้นที่ต้องการให้เป็นรัฐบาลไม่เกิน 6 เดือน
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนกำลังต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งแก้ไขปัญหาที่ใกล้ตัวประชาชนด้วยความรวด
เร็วฉับไว แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนเกินครึ่งเล็กน้อยที่มีความหวังก้าวต่อไปข้างหน้าแต่ประชาชนจำนวนมากยังคงกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้า
ของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังพบว่าความเชื่อมั่นของประชาชนต่ำกว่าครึ่งในหลายเรื่องสำคัญของประเทศ เช่น เรื่องความรักความสามัคคีของคนใน
ชาติ เศรษฐกิจจะดีขึ้น พรรคการเมืองต่างๆ จะช่วยกันจัดตั้งรัฐบาลด้วยความเรียบร้อย ความซื่อสัตย์สุจริตของกลุ่มนักการเมือง และความเชื่อมั่นต่อ
กระบวนการยุติธรรมที่จะทำให้สถาบันการเมืองบริสุทธิ์
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า นายสมัคร สุนทรเวช ที่กำลังถูกคาดหมายจะได้รับการโหวตในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั้นมีจุดตั้งต้นของเสียงสนับ
สนุนจากประชาชนโดยภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 44.3 ในทางสถิติด้านการสำรวจความนิยมของประชาชนต่อผู้นำประเทศทั่วๆ ไปถือว่าอยู่ในโซน 2 คือ
ระหว่างร้อยละ 25 ถึงร้อยละ 50 เป็นฐานการสนับสนุนที่มีความหมายว่า เป็นตัวเลขที่ไม่ถึงกับแย่มากนัก นอกจากนี้การที่เข้ามาในช่วงบ้านเมืองไม่
ปกติจะหาบุคคลที่จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนได้อย่างท่วมท้นนั้นเป็นไปได้ยาก โดยทั่วไปถ้านายสมัครได้รับการโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรีจริง
ก็น่าจะสามารถบริหารประเทศได้แต่อาจประสบปัญหาการสื่อสารกับสาธารณชนในระยะแรก ที่จะพูดอะไร จะทำอะไร มักจะพบกับแรงเสียดทานจาก
สังคม ซึ่งกรณีนี้ทางออกที่ทำให้ผู้นำประเทศคนอื่นๆ สามารถเอาตัวรอดได้จากสภาวการณ์เช่นนี้คือ การมุ่งทำงานให้หนักตอบสนองความต้องการและ
แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่ใกล้ตัวประชาชน ปล่อยให้ผลงานสื่อสารกับสาธารณะชนมากกว่าใช้คำพูดของตนเอง และมีนโยบายและขับเคลื่อนกลไก
ต่างๆ ของรัฐได้อย่างเป็นรูปธรรมโดนใจประชาชนแบบจับต้องได้ ซึ่งหากทำได้ตามที่กล่าวมา ก็อาจส่งผลทำให้มีฐานสนับสนุนสูงขึ้นเทียบชั้นกับความ
นิยมของประชาชนที่มีต่ออดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่เคยได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนในช่วงแรกของการเป็นรัฐบาลหลังการ
เลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ที่สูงถึงประมาณร้อยละ 80 เลยทีเดียว ซึ่งในช่วงเวลานั้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะพูดอะไร จะทำอะไร มักจะได้รับการสนับ
สนุนจากสาธารณะชน
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อผู้บริหารและรัฐบาลชุดใหม่ในการแก้ไขปัญหา
ความเดือดร้อนของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความหวังและความกลัวของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจการสนับสนุนของประชาชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ความหวัง / ความกลัวของประชาชนต่อสถานการณ์ของประเทศ และคน
ไทยกลุ่มไหนที่สนับสนุน / ไม่สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี: กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดของ
ประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-26 มกราคม พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือก
ตั้งใน 27 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พิษณุโลก สระแก้ว ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ลำพูน เชียงใหม่ นครราชสีมา
ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา ลำปาง ตาก หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี สุโขทัย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครปฐม
สมุทรสาคร ราชบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,506 ตัวอย่าง ช่วงความ
เชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.5 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 30.9 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.2 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.8 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 15.6 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.7 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 35.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.8 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท
ร้อยละ 6.5 ระบุนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 6.3 ระบุรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.6 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 6.8 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุเป็นคนไทยเชื้อสายจีน
ร้อยละ 20.8 ระบุไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน แต่ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบจีน
และร้อยละ 47.9 ระบุไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน และไม่ได้ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบจีน
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.4 ระบุมีรายได้ทุกคนในครอบครัวรวมกันน้อยกว่า 10,000 บาท
ร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 15.1 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 17.9 ระบุมีรายได้ 20,001 — 30,000 บาท
ร้อยละ 7.4 ระบุมีรายได้ 30,001 — 40,000 บาท
ร้อยละ 8.4 ระบุมีรายได้ 40,001 — 50,000 บาท
และร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ยกเป็นปัญหาหลักหรือวาระแห่งชาติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัญหาที่ต้องการให้ยกเป็นปัญหาหลัก หรือวาระแห่งชาติ ค่าร้อยละ
1 ปัญหาราคาสินค้าและบริการในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้น 75.4
2 ปัญหายาเสพติด 68.3
3 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ 65.2
4 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 64.3
5 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน 53.6
6 ปัญหาความแตกแยกในสังคม 51.0
7 ปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของประชาชน 47.2
8 ปัญหาแรงงาน 45.6
9 ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน 45.5
10 ปัญหาความไม่ยุติธรรมของสังคม 42.9
11 ปํญหาการจราจร 37.4
12 ปํญหาด้านวัฒนธรรม จริยธรรมของคนไทย 35.2
13 ปํญหาที่อยู่อาศัย 34.6
14 ปํญหาสวัสดิการสังคม/การรักษาพยาบาล 33.1
15 ปํญหาด้านพลังงานทดแทน 32.8
16 ปํญหาคุณภาพการบริการของขนส่งมวลชน 29.4
17 การปรับปรุงเรื่องการท่องเที่ยวไทย 28.8
18 การนิรโทษกรรม 111 อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 24.7
19 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 20.9
20 การแก้กฎหมาย 12.8
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่ให้รัฐบาลชุดใหม่เตรียมตัวเพื่อแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของประชาชน
ลำดับที่ ระยะเวลาที่ให้รัฐบาลชุดใหม่เตรียมตัวในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ให้เวลาเตรียมตัวมากกว่า 6 เดือน 11.6
2 ให้เวลาเตรียมตัว 3 — 6 เดือน 19.6
3 ให้เวลาเตรียมตัว 1 — 3 เดือน 13.4
4 ต้องการให้แก้ปัญหาทันที 55.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่เลือกระหว่างความหวังและความหวาดกลัวต่อเหตุการณ์ทางการเมือง
เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย
ลำดับที่ ทางเลือกของประชาชน ก่อนเลือกตั้งร้อยละ หลังเลือกตั้งร้อยละ
1 เลือกที่จะหวัง ก้าวต่อไปข้างหน้า 50.0 53.5
2 ยังกังวลและกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศไทย 50.0 46.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นค่า
คะแนนเฉลี่ย จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ ประเด็นต่าง ๆ ภายหลังการเลือกตั้ง คะแนนเฉลี่ย เมื่อเต็ม 10 คะแนน
1 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 4.61
2 เศรษฐกิจจะดีขึ้น 4.61
3 พรรคการเมืองต่าง ๆ จะช่วยกันจัดตั้งรัฐบาลด้วยความเรียบร้อย 4.49
4 ความซื่อสัตย์สุจริตของกลุ่มนักการเมือง 3.43
5 กระบวนการยุติธรรมจะสามารถทำให้สถาบันการเมืองบริสุทธิ์ 4.29
6 รัฐบาลใหม่จะทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ช่วงหาเสียง 4.37
7 รัฐบาลใหม่จะอยู่บริหารประเทศได้นานจนครบวาระ 4.22
8 ความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะกลับคืนมา 3.10
9 ปัญหายาเสพติดจะหมดไป 3.39
10 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะมีมากขึ้น 4.11
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 สนับสนุน 44.3
2 ไม่สนับสนุน 38.4
3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (ขออยู่ตรงกลาง) 17.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศ
ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ การสนับสนุน เพศ
เพศชาย เพศหญิง
1 ไม่สนับสนุน 36.5 39.9
2 ขออยู่ตรงกลาง 17.3 17.4
3 สนับสนุน 46.2 42.7
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศใน
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามช่วงอายุ
การสนับสนุน ช่วงอายุ
ต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
1. ไม่สนับสนุน 44.0 38.5 39.5 32.8 39.7
2. ขออยู่ตรงกลาง 23.0 20.5 15.0 16.8 12.1
3. สนับสนุน 33.0 41.0 45.5 50.4 48.2
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศใน
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามการเป็นคนไทยเชื้อสายจีน
ลำดับที่ การสนับสนุน การเป็นคนไทยเชื้อสายจีน
เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ไม่ใช่แต่ยึดธรรมเนียมจีน ไม่ใช่และไม่ยึดธรรมเนียมจีน
1 ไม่สนับสนุน 45.8 35.7 35.1
2 ขออยู่ตรงกลาง 15.0 18.4 18.6
3 สนับสนุน 39.2 45.9 46.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศใน
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามระดับการศึกษา
การสนับสนุน ระดับการศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า มัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช. อนุปริญญา/ป.ว.ส. ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
1. ไม่สนับสนุน 32.6 38.0 38.2 48.1 51.2
2. ขออยู่ตรงกลาง 16.2 18.3 16.5 17.4 19.5
3. สนับสนุน 51.2 43.7 45.3 34.5 29.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศใน
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามอาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
การสนับสนุน อาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
ข้าราชการ/ พนักงาน ค้าขาย/ประกอบ นักเรียน/ รับจ้างทั่วไป แม่บ้าน/พ่อบ้าน/ เกษตรกร / ว่างงาน/
พนักงานรัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน กิจการส่วนตัว นักศึกษา เกษียณอายุ ชาวนา/ชาวประมง ไม่มีงานทำ
1. ไม่สนับสนุน 39.7 41.2 39.2 49.6 31.8 27.3 59.1 34.6
2. ขออยู่ตรงกลาง 19.1 17.3 16.4 17.8 17.7 18.7 18.2 23.1
3. สนับสนุน 41.2 41.5 44.4 32.6 50.5 54.0 22.7 42.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่ในการบริหารประเทศใน
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามภูมิภาคที่มีทะเบียนบ้านอยู่
การสนับสนุน ภูมิภาคที่มีทะเบียนบ้านอยู่
เหนือ กลาง ตะวันออก/เหนือ ใต้ กรุงเทพฯ
1. ไม่สนับสนุน 29.1 38.0 29.5 67.7 39.2
2. ขออยู่ตรงกลาง 19.0 17.9 15.2 14.2 17.5
3. สนับสนุน 51.9 44.1 55.3 18.1 43.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่ในการบริหารประเทศในตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี จำแนกตามพรรคการเมืองที่เลือก ส.ส.แบบสัดส่วน ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 50 ที่ผ่านมา
การสนับสนุน พรรคการเมืองที่เลือก ส.ส.แบบสัดส่วน
ประชา-ธิปัตย์ มัชฌิมาธิปไตย ชาติไทย ประชาราช เพื่อแผ่นดิน รวมใจไทยฯ พลังประชาชน อื่น ๆ
1. ไม่สนับสนุน 70.1 68.2 45.0 21.1 37.9 63.2 11.0 28.0
2. ขออยู่ตรงกลาง 16.3 13.6 20.0 31.5 24.2 5.2 14.0 29.4
3. สนับสนุน 13.6 18.2 35.0 47.4 37.9 31.6 75.0 42.6
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 13 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่ต้องการให้พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาล
ลำดับที่ ระยะเวลาที่ต้องการให้พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 6 เดือน 16.5
2 6 เดือน — 1 ปี 14.6
3 1 — 2 ปี 14.7
4 2 — 3 ปี 6.2
5 3 ปี - ครบวาระ 48.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-