ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช ใน
ฐานะนายกรัฐมนตรีต่อการแก้ไขประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศ และลักษณะของรัฐมนตรีที่พึงประสงค์ในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,506 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 — 30
มกราคม พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในรอบ 30 วันที่ผ่านมาก่อนการสัมภาษณ์
และเมื่อสอบถามประชาชนถึงคุณลักษณะของรัฐมนตรีที่พึงประสงค์ในสายตาประชาชน พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 82.1 ต้องการคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต
อันดับที่สอง ร้อยละ 71.7 ระบุต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถ อันดับที่สาม ร้อยละ 69.5 ต้องการคนที่รวดเร็วฉับไวในการแก้ไขปัญหาประชาชน
อันดับที่สี่ ร้อยละ 64.6 ต้องการคนที่กล้าตัดสินใจ อันดับที่ห้า ร้อยละ 61.4 ต้องการคนที่มีความรับผิดชอบ อันดับที่หก ร้อยละ 59.4 ต้องการคนที่เสีย
สละ อันดับที่เจ็ด ร้อยละ 52.0 ต้องการคนที่จริงใจ อันดับที่แปด ร้อยละ 45.3 ต้องการคนที่ไม่กร่าง ไม่ข่มขู่ใคร อันดับที่เก้า ร้อยละ 44.8 ต้อง
การคนที่ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน และอันดับที่สิบ ร้อยละ 44.2 ต้องการคนที่อดทน อดกลั้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ 10 อันดับแรกแบบอย่างของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่น่าประทับใจและอยากให้รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่เอา
เป็นแบบอย่าง ได้แก่ อันดับแรก ร้อยละ 46.4 ระบุแก้ปัญหารวดเร็ว กล้าตัดสินใจ อันดับสอง ร้อยละ 26.6 ระบุการแก้ไขปัญหายาเสพติด อันดับ
สาม ร้อยละ 21.8 ระบุการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ อันดับสี่ ร้อยละ 18.5 ระบุความรู้ความสามารถด้านบริหารจัดการ อันดับห้า ร้อยละ 13.6 ระบุการ
ช่วยเหลือเงินทุนการศึกษา อันดับหก ร้อยละ 10.4 ระบุการเข้าถึงประชาชน ไม่ถือตัว อันดับเจ็ด ร้อยละ 8.6 ระบุการพูดจริงทำจริงตามนโยบายที่
ประกาศไว้ อันดับแปด ร้อยละ 6.8 ระบุให้สวัสดิการสังคมหลายอย่างแก่ประชาชน อันดับเก้า ร้อยละ 6.5 ระบุช่วยแก้ปัญหาความยากจนของ
ประชาชน และอันดับสิบ ร้อยละ 10.4 อื่นๆ เช่น มีวิสัยทัศน์กว้างไกล / ความเป็นผู้นำ / มีความเป็นมืออาชีพ เป็นต้น
ในขณะที่ 10 อันดับแรกแบบอย่างของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ประชาชนประทับใจ คือ อันดับแรก ร้อยละ 45.3 ระบุความซื่อสัตย์
สุจริต อันอับสอง ร้อยละ 28.8 ระบุความสุขุม ควบคุมอารมณ์ได้ดี อันดับสาม ร้อยละ 25.3 ระบุเป็นคนดี จิตใจดี มีเมตตา อันดับสาม ร้อยละ
อันดับสี่ ร้อยละ 13.7 ระบุ มีความอดทน เข้มแข็ง อันดับห้า ร้อยละ 12.5 ระบุมีความรู้ กล้าตัดสินใจ อันดับหก ร้อยละ 10.0 มีความรับผิดชอบ
อันดับเจ็ด ร้อยละ 8.8 มีความจงรักภักดี อันดับแปด ร้อยละ 6.2 ไม่โอ้อวด ไม่ข่มขู่ใคร อันดับเก้า ร้อยละ 5.8 ใช้ชีวิตพอเพียง และอันดับสิบ
ร้อยละ 9.1 มีความยุติธรรม เป็นกลาง ประนีประนอมกับทุกฝ่าย
นอกจากนี้ ผลสำรวจยับพบ 10 อันดับ สิ่งที่ประชาชนทั่วไปควรทำเพื่อประเทศไทยจะพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ คือ อันดับแรก ร้อยละ 72.2
ซื่อสัตย์สุจริต อันดับสอง ร้อยละ 67.1 รักและสามัคคี อันดับสาม ร้อยละ 65.9 อยู่อย่างพอเพียง อันดับสี่ ร้อยละ 60.8 ยึดมั่นในกฎหมายตาม
กระบวนการยุติธรรม อันดับห้า ร้อยละ 59.0 มีความรักชาติ อันดับหก ร้อยละ 51.5 ให้อภัยกัน อันดับเจ็ด ร้อยละ 50.9 มีความรับผิดชอบ อันดับ
แปด ร้อยละ 50.5 มีความเสียสละ อันดับเก้า ร้อยละ 46.5 เกื้อกูลกัน และอันดับสิบ ร้อยละ 44.1 มีความขยันหมั่นเพียร ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นระหว่างประชาชนสองกลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ตัดสินใจเลือกพรรคร่วม
รัฐบาล และกลุ่มที่ตัดสินใจเลือกพรรคฝ่ายค้าน ต่อประเด็นสำคัญของประเทศ ซึ่งพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยเมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนนในกลุ่มประชาชนที่
เลือกพรรคร่วมรัฐบาล สูงกว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยในกลุ่มประชาชนที่เลือกพรรคฝ่ายค้านในทุกประเด็นที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในสังคมไทย ดังนี้
เรื่องความรักความสามัคคีกันของคนในชาติ คนที่เลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 4.99 คะแนน คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 4.13 คะแนน
เรื่องเศรษฐกิจจะดีขึ้น คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 5.15 คะแนน คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 3.96 คะแนน
เรื่องความซื่อสัตย์สุจริตของกลุ่มนักการเมือง คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 5.15 คะแนน คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 2.54 คะแนน
เรื่องกระบวนการยุติธรรมจะสามารถทำให้สถาบันการเมืองบริสุทธิ์ พบว่า คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 5.08 คะแนน คนที่เลือกพรรค
ฝ่ายค้านให้ 3.81 คะแนน
เรื่อง รัฐบาลใหม่จะทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ พบว่า คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 4.09 คะแนน คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 3.30
คะแนน
เรื่องรัฐบาลใหม่จะอยู่บริหารประเทศได้นานจนครบวาระ พบว่า คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 4.70 คะแนน คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้
3.06 คะแนน
เรื่องความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 5.16 คะแนน คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 2.48 คะแนน
เรื่องปัญหายาเสพติดจะหมดไป พบว่า คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 5.05 คะแนน ในขณะที่คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 2.57 คะแนน
ประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ เรื่องของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พบค่าคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกันนักคือ คน
เลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 3.58 คะแนน และคนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 3.36 คะแนน
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะนายกรัฐมนตรี ต่อการแก้ปัญหาต่างๆ ที่สำคัญของ
ประเทศ (ถามก่อนการเข้ารับตำแหน่ง) พบระดับความเชื่อมั่นของประชาชนกระจายไปอยู่ในกลุ่มที่เชื่อมั่น กลุ่มที่ไม่เชื่อมั่น และกลุ่มที่ขออยู่ตรงกลางใน
สัดส่วนที่พอๆ กัน ทั้งในเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด ปัญหาเศรษฐกิจ และคุณภาพที่ดีของเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม ปัญหาของประเทศที่พบว่า
ประชาชนไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นจะอยู่ในเรื่อง ความรักความสามัคคีของคนในชาติ การแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน การบรรเทาปัญหาราคาสินค้าที่สูง
ขึ้น และปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ประเด็นสำคัญสุดท้าย คือ ผลการเปรียบเทียบระหว่าง ความต้องการของประชาชน กับ การคาดการณ์ของประชาชนต่ออายุการทำงาน
ของรัฐบาลชุดใหม่ พบว่า ประชาชนร้อยละ 48.0 ต้องการให้พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาลทำงานนาน 3 ปี ถึง ครบวาระ โดยให้เหตุผลว่า เป็น
พรรคการเมืองที่ดีที่สุด เพราะชอบพรรคนี้ คนของพรรคมีความรู้ความสามารถ ต้องการให้ปัญหาการเมืองยุติ เพราะชอบหัวหน้าพรรค มีความจริงใจ
และจริงจังแก้ปัญหาของประชาชน ต้องการให้โอกาสทำงาน มีอุดมการณ์เหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และมีความเชื่อมั่นต่อพรรคพลังประชาชน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประกอบด้วยพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรค จึงพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.5 คาดการณ์ว่ารัฐบาลจะ
อยู่ไม่เกิน 2 ปี เพราะ จะเกิดความแตกแยกระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล พรรคการเมืองบางพรรคอาจถูกยุบตามกระบวนการยุติธรรม เกิดปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ตลอด เกิดการชุมนุมประท้วงขัดแย้งรุนแรง ไม่เชื่อมั่นต่อพรรคร่วมรัฐบาล และอาจเกิดการปฏิวัติ รัฐประหารได้
อีก
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะนายกรัฐมนตรี
ต่อการแก้ไขประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศ และลักษณะของรัฐมนตรีที่พึงประสงค์ในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีภูมิลำเนา
ใน 27 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-30 มกราคม พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือก
ตั้งใน 27 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พิษณุโลก สระแก้ว ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ลำพูน เชียงใหม่ นครราชสีมา
ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา ลำปาง ตาก หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี สุโขทัย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครปฐม
สมุทรสาคร ราชบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,506 ตัวอย่าง ช่วงความ
เชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.5 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 32.9 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.2 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.8 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 13.6 ระบุอายุ 50 ปี ขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.7 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุเป็นคนไทยเชื้อสายจีน
ร้อยละ 20.8 ระบุไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน แต่ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบจีน
และร้อยละ 47.9 ระบุไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน และไม่ได้ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบจีน
ตัวอย่าง ร้อยละ 64.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวน้อยกว่า 10,000 บาท
ร้อยละ 13.3 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 8.8 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 7.2 ระบุมีรายได้ 20,001 — 30,000 บาท
ร้อยละ 1.7 ระบุมีรายได้ 30,001 — 40,000 บาท
ร้อยละ 2.5 ระบุมีรายได้ 40,001 — 50,000 บาท
และร้อยละ 1.9 ระบุมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.4 ระบุมีรายได้ทุกคนในครอบครัวรวมกันน้อยกว่า 10,000 บาท
ร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 15.1 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 17.9 ระบุมีรายได้ 20,001 — 30,000 บาท
ร้อยละ 7.4 ระบุมีรายได้ 30,001 — 40,000 บาท
ร้อยละ 8.4 ระบุมีรายได้ 40,001 — 50,000 บาท
และร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 55.4
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 21.1
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 13.8
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 4.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดง 10 อันกับ คุณสมบัติของรัฐมนตรี ที่ประชาชนต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของรัฐมนตรีที่ต้องการ ค่าร้อยละ
1 มีความซื่อสัตย์สุจริต 82.1
2 มีความรู้ความสามารถ 71.7
3 มีความรวดเร็วฉับไวแก้ไขปัญหาประชาชน 69.5
4 กล้าตัดสินใจ 64.6
5 มีความรับผิดชอบ 61.4
6 มีความเสียสละ 59.4
7 จริงใจ 52.0
8 ไม่กร่าง ไม่โอ้อวด ไม่ข่มขู่ใคร 45.3
9 ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน 44.8
10 มีความอดทน อดกลั้น 44.2
ตารางที่ 3 แสดง 10 อันดับ แบบอย่างของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ประชาชนประทับใจและอยากให้รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่เอาเป็นแบบอย่าง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แบบอย่างที่ดีน่าประทับใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่ต้องการให้รัฐมนตรีชุดใหม่เอาเป็นแบบอย่าง ค่าร้อยละ
1 แก้ปัญหารวดเร็ว/กล้าตัดสินใจ 46.4
2 การแก้ไขปัญหายาเสพติด 26.6
3 แก้ปัญหาการเศรษฐกิจ/เศรษฐกิจดีขึ้น/ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในลักษณะการเป็นต่อในการค้า 21.8
4 มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบริหาร 18.5
5 ช่วยเหลือเงินทุนการศึกษา/เรียนฟรี 13.6
6 เข้าถึงประชาชน /ไม่ถือตัว 10.4
7 พูดจริงทำจริง ทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ได้จริง 8.6
8 ให้สวัสดิการสังคมหลายอย่างกับประชาชน อาทิ 30 บาทรักษาทุกโรค/บ้านเอื้ออาทร 6.8
9 ช่วยแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนหลากอย่างจริงจัง อาทิ การสนับสนุนเงินกู้จากธนาคาร /กองทุนหมู่บ้าน/
การช่วยเหลือเกษตรกร 6.5
10 อื่นๆ อาทิ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล /ความเป็นผู้นำ/มีความเป็นมืออาขีพ /รักครอบครัว 10.4
ตารางที่ 4 แสดง 10 อันดับแบบอย่างของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ประชาชนประทับใจและอยากให้รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่เอาเป็นแบบอย่าง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แบบอย่างที่ดีน่าประทับใจของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ที่ต้องการให้รัฐมนตรีชุดใหม่เอาเป็นแบบอย่าง ค่าร้อยละ
1 ความชื่อสัตย์/สุจริต /จริงใจ 45.3
2 ความสุขุม ควบคุมอารมณ์ได้ดี 28.8
3 เป็นคนดี/จิตใจดี/มีเมตตา /คุณธรรมอ/เสียสละ 25.3
4 มีความอดทน /เข้มแข็ง /กล้าหาญ 13.7
5 มีความรู้ /กล้าตัดสินใจ /แก้ปัญหาได้ดี 12.5
6 มีความรับผิดชอบ /มีระเบียบ /ผู้นำ 10.0
7 มีความจงรักภักดีสูง 8.8
8 ไม่โอ้อ้วด ไม่ข่มขู่ใคร 6.2
9 ใช้ชีวิตพอเพียง 5.8
10 อื่นๆ มีความยุติธรรม /เป็นกลาง/มีความประณีประณอมเข้าใจทุกฝ่าย 9.1
ตารางที่ 5 แสดง 10 อันดับสิ่งที่ประชาชนควรทำเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่าง ๆ ไปได้(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประชาชนควรทำเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่าง ๆ ไปได้ ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 72.2
2 รักและสามัคคีกัน 67.1
3 อยู่อย่างพอเพียง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 65.9
4 ยึดมั่นในกติกา กฎหมาย ในกระบวนการยุติธรรม 60.8
5 มีความรักชาติ 59.0
6 ให้อภัยกัน 51.5
7 รับผิดชอบ 50.9
8 เสียสละ 50.5
9 เกื้อกูลกัน 46.5
10 มีความขยันหมั่นเพียร 44.1
ตารางที่ 6 แสดงคะแนนเฉลี่ยความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) จำแนก
ตามพรรคการเมืองที่เลือก ส.ส.แบบสัดส่วน
ลำดับที่ ประเด็นต่าง ๆ ภายหลังการเลือกตั้ง เลือกพรรคร่วมรัฐบาล เลือกพรรคฝ่ายค้าน
1 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 4.99 4.13
2 เศรษฐกิจจะดีขึ้น 5.15 3.96
3 พรรคการเมืองต่าง ๆ จะช่วยกันจัดตั้งรัฐบาลด้วยความเรียบร้อย 4.99 3.78
4 ความซื่อสัตย์สุจริตของกลุ่มนักการเมือง 5.15 2.54
5 กระบวนการยุติธรรมจะสามารถทำให้สถาบันการเมืองบริสุทธิ์ 5.08 3.81
6 รัฐบาลใหม่จะทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ช่วงหาเสียง 4.09 3.30
7 รัฐบาลใหม่จะอยู่บริหารประเทศได้นานจนครบวาระ 4.70 3.06
8 ความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะกลับคืนมา 5.16 2.48
9 ปัญหายาเสพติดจะหมดไป 5.05 2.57
10 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะมีมากขึ้น 3.58 3.36
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อนายสมัคร สุนทรเวช ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ (หากได้รับ
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจริง)
ปัญหาต่างๆ ที่เชื่อมั่นว่า นายสมัคร สุนทรเวช จะทำได้ดี เชื่อมั่น กลางๆ ไม่เชื่อมั่น รวมทั้งสิ้น
1. แก้ปัญหายาเสพติด 30.4 34.4 35.2 100.0
2. แก้ปัญหาเศรษฐกิจ 33.0 34.7 32.3 100.0
3. ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 23.9 34.4 41.7 100.0
4. แก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน 21.6 36.4 42.0 100.0
5. การบรรเทาปัญหาสินค้าราคาสูงขึ้น 26.1 33.1 40.8 100.0
6. ความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 16.6 25.2 58.2 100.0
7. คุณภาพที่ดีของเด็กและเยาวชน 28.6 36.5 34.9 100.0
ตารางที่ 8 แสดงการเปรียบเทียบความต้องการและการคาดการณ์ของประชาชนต่ออายุการทำงานของรัฐบาลชุดใหม่
ลำดับที่ ระยะเวลาที่ต้องการให้พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาล สิ่งที่ต้องการค่าร้อยละ คาดการณ์ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 2 ปี 45.8 58.5
2 2 — 3 ปี 6.2 9.6
3 3 ปี — ครบวาระ 48.0 31.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ
เหตุผลที่ตัวอย่างประชาชนต้องการให้ พรรคพลังประชาชนทำงานจนครบวาระ คือ
1) เป็นพรรคที่ทำงานให้ประชาชนได้ดีที่สุด
2) เพราะชอบพรรคนี้
3) คนของพรรคมีความรู้ความสามารถ
4) ต้องการให้ปัญหาการเมืองยุติ มีความมั่นคง มีเสถียรภาพ
5) เพราะชอบหัวหน้าพรรค
6) จริงใจและจริงจังแก้ปัญหาของประชาชน
7) ให้โอกาสทำงาน
8) มีอุดมการณ์เหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
9) มีความเชื่อมั่นต่อพรรคการเมืองนี้
คาดการณ์ว่า อายุรัฐบาลจะอยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี คือ
1) เกิดความแตกแยกระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล
2) พรรคการเมืองบางพรรคถูกยุบตามกระบวนการยุติธรรม
3) เกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในหมู่นักการเมือง
4) มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ตลอด
5) เกิดการชุมนุมประท้วง ขัดแย้งรุนแรง
6) ไม่เชื่อมั่นต่อพรรคร่วมรัฐบาล
7) เกิดปฏิวัติ รัฐประหาร
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Innovation in Management and Business Analysis) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช ใน
ฐานะนายกรัฐมนตรีต่อการแก้ไขประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศ และลักษณะของรัฐมนตรีที่พึงประสงค์ในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,506 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 — 30
มกราคม พ.ศ. 2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
ตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในรอบ 30 วันที่ผ่านมาก่อนการสัมภาษณ์
และเมื่อสอบถามประชาชนถึงคุณลักษณะของรัฐมนตรีที่พึงประสงค์ในสายตาประชาชน พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 82.1 ต้องการคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต
อันดับที่สอง ร้อยละ 71.7 ระบุต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถ อันดับที่สาม ร้อยละ 69.5 ต้องการคนที่รวดเร็วฉับไวในการแก้ไขปัญหาประชาชน
อันดับที่สี่ ร้อยละ 64.6 ต้องการคนที่กล้าตัดสินใจ อันดับที่ห้า ร้อยละ 61.4 ต้องการคนที่มีความรับผิดชอบ อันดับที่หก ร้อยละ 59.4 ต้องการคนที่เสีย
สละ อันดับที่เจ็ด ร้อยละ 52.0 ต้องการคนที่จริงใจ อันดับที่แปด ร้อยละ 45.3 ต้องการคนที่ไม่กร่าง ไม่ข่มขู่ใคร อันดับที่เก้า ร้อยละ 44.8 ต้อง
การคนที่ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน และอันดับที่สิบ ร้อยละ 44.2 ต้องการคนที่อดทน อดกลั้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ 10 อันดับแรกแบบอย่างของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่น่าประทับใจและอยากให้รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่เอา
เป็นแบบอย่าง ได้แก่ อันดับแรก ร้อยละ 46.4 ระบุแก้ปัญหารวดเร็ว กล้าตัดสินใจ อันดับสอง ร้อยละ 26.6 ระบุการแก้ไขปัญหายาเสพติด อันดับ
สาม ร้อยละ 21.8 ระบุการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ อันดับสี่ ร้อยละ 18.5 ระบุความรู้ความสามารถด้านบริหารจัดการ อันดับห้า ร้อยละ 13.6 ระบุการ
ช่วยเหลือเงินทุนการศึกษา อันดับหก ร้อยละ 10.4 ระบุการเข้าถึงประชาชน ไม่ถือตัว อันดับเจ็ด ร้อยละ 8.6 ระบุการพูดจริงทำจริงตามนโยบายที่
ประกาศไว้ อันดับแปด ร้อยละ 6.8 ระบุให้สวัสดิการสังคมหลายอย่างแก่ประชาชน อันดับเก้า ร้อยละ 6.5 ระบุช่วยแก้ปัญหาความยากจนของ
ประชาชน และอันดับสิบ ร้อยละ 10.4 อื่นๆ เช่น มีวิสัยทัศน์กว้างไกล / ความเป็นผู้นำ / มีความเป็นมืออาชีพ เป็นต้น
ในขณะที่ 10 อันดับแรกแบบอย่างของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ประชาชนประทับใจ คือ อันดับแรก ร้อยละ 45.3 ระบุความซื่อสัตย์
สุจริต อันอับสอง ร้อยละ 28.8 ระบุความสุขุม ควบคุมอารมณ์ได้ดี อันดับสาม ร้อยละ 25.3 ระบุเป็นคนดี จิตใจดี มีเมตตา อันดับสาม ร้อยละ
อันดับสี่ ร้อยละ 13.7 ระบุ มีความอดทน เข้มแข็ง อันดับห้า ร้อยละ 12.5 ระบุมีความรู้ กล้าตัดสินใจ อันดับหก ร้อยละ 10.0 มีความรับผิดชอบ
อันดับเจ็ด ร้อยละ 8.8 มีความจงรักภักดี อันดับแปด ร้อยละ 6.2 ไม่โอ้อวด ไม่ข่มขู่ใคร อันดับเก้า ร้อยละ 5.8 ใช้ชีวิตพอเพียง และอันดับสิบ
ร้อยละ 9.1 มีความยุติธรรม เป็นกลาง ประนีประนอมกับทุกฝ่าย
นอกจากนี้ ผลสำรวจยับพบ 10 อันดับ สิ่งที่ประชาชนทั่วไปควรทำเพื่อประเทศไทยจะพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ คือ อันดับแรก ร้อยละ 72.2
ซื่อสัตย์สุจริต อันดับสอง ร้อยละ 67.1 รักและสามัคคี อันดับสาม ร้อยละ 65.9 อยู่อย่างพอเพียง อันดับสี่ ร้อยละ 60.8 ยึดมั่นในกฎหมายตาม
กระบวนการยุติธรรม อันดับห้า ร้อยละ 59.0 มีความรักชาติ อันดับหก ร้อยละ 51.5 ให้อภัยกัน อันดับเจ็ด ร้อยละ 50.9 มีความรับผิดชอบ อันดับ
แปด ร้อยละ 50.5 มีความเสียสละ อันดับเก้า ร้อยละ 46.5 เกื้อกูลกัน และอันดับสิบ ร้อยละ 44.1 มีความขยันหมั่นเพียร ตามลำดับ
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นระหว่างประชาชนสองกลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ตัดสินใจเลือกพรรคร่วม
รัฐบาล และกลุ่มที่ตัดสินใจเลือกพรรคฝ่ายค้าน ต่อประเด็นสำคัญของประเทศ ซึ่งพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยเมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนนในกลุ่มประชาชนที่
เลือกพรรคร่วมรัฐบาล สูงกว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยในกลุ่มประชาชนที่เลือกพรรคฝ่ายค้านในทุกประเด็นที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในสังคมไทย ดังนี้
เรื่องความรักความสามัคคีกันของคนในชาติ คนที่เลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 4.99 คะแนน คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 4.13 คะแนน
เรื่องเศรษฐกิจจะดีขึ้น คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 5.15 คะแนน คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 3.96 คะแนน
เรื่องความซื่อสัตย์สุจริตของกลุ่มนักการเมือง คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 5.15 คะแนน คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 2.54 คะแนน
เรื่องกระบวนการยุติธรรมจะสามารถทำให้สถาบันการเมืองบริสุทธิ์ พบว่า คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 5.08 คะแนน คนที่เลือกพรรค
ฝ่ายค้านให้ 3.81 คะแนน
เรื่อง รัฐบาลใหม่จะทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ พบว่า คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 4.09 คะแนน คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 3.30
คะแนน
เรื่องรัฐบาลใหม่จะอยู่บริหารประเทศได้นานจนครบวาระ พบว่า คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 4.70 คะแนน คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้
3.06 คะแนน
เรื่องความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 5.16 คะแนน คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 2.48 คะแนน
เรื่องปัญหายาเสพติดจะหมดไป พบว่า คนเลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 5.05 คะแนน ในขณะที่คนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 2.57 คะแนน
ประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ เรื่องของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พบค่าคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกันนักคือ คน
เลือกพรรคร่วมรัฐบาลให้ 3.58 คะแนน และคนเลือกพรรคฝ่ายค้านให้ 3.36 คะแนน
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะนายกรัฐมนตรี ต่อการแก้ปัญหาต่างๆ ที่สำคัญของ
ประเทศ (ถามก่อนการเข้ารับตำแหน่ง) พบระดับความเชื่อมั่นของประชาชนกระจายไปอยู่ในกลุ่มที่เชื่อมั่น กลุ่มที่ไม่เชื่อมั่น และกลุ่มที่ขออยู่ตรงกลางใน
สัดส่วนที่พอๆ กัน ทั้งในเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติด ปัญหาเศรษฐกิจ และคุณภาพที่ดีของเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม ปัญหาของประเทศที่พบว่า
ประชาชนไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นจะอยู่ในเรื่อง ความรักความสามัคคีของคนในชาติ การแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน การบรรเทาปัญหาราคาสินค้าที่สูง
ขึ้น และปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ประเด็นสำคัญสุดท้าย คือ ผลการเปรียบเทียบระหว่าง ความต้องการของประชาชน กับ การคาดการณ์ของประชาชนต่ออายุการทำงาน
ของรัฐบาลชุดใหม่ พบว่า ประชาชนร้อยละ 48.0 ต้องการให้พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาลทำงานนาน 3 ปี ถึง ครบวาระ โดยให้เหตุผลว่า เป็น
พรรคการเมืองที่ดีที่สุด เพราะชอบพรรคนี้ คนของพรรคมีความรู้ความสามารถ ต้องการให้ปัญหาการเมืองยุติ เพราะชอบหัวหน้าพรรค มีความจริงใจ
และจริงจังแก้ปัญหาของประชาชน ต้องการให้โอกาสทำงาน มีอุดมการณ์เหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และมีความเชื่อมั่นต่อพรรคพลังประชาชน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประกอบด้วยพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรค จึงพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.5 คาดการณ์ว่ารัฐบาลจะ
อยู่ไม่เกิน 2 ปี เพราะ จะเกิดความแตกแยกระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล พรรคการเมืองบางพรรคอาจถูกยุบตามกระบวนการยุติธรรม เกิดปัญหาทุจริต
คอรัปชั่น มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ตลอด เกิดการชุมนุมประท้วงขัดแย้งรุนแรง ไม่เชื่อมั่นต่อพรรคร่วมรัฐบาล และอาจเกิดการปฏิวัติ รัฐประหารได้
อีก
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อนายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะนายกรัฐมนตรี
ต่อการแก้ไขประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศ และลักษณะของรัฐมนตรีที่พึงประสงค์ในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีภูมิลำเนา
ใน 27 จังหวัดของประเทศ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-30 มกราคม พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือก
ตั้งใน 27 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พิษณุโลก สระแก้ว ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ลำพูน เชียงใหม่ นครราชสีมา
ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา ลำปาง ตาก หนองคาย ร้อยเอ็ด อุดรธานี สุโขทัย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครปฐม
สมุทรสาคร ราชบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,506 ตัวอย่าง ช่วงความ
เชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.5 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 32.9 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.2 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.8 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 13.6 ระบุอายุ 50 ปี ขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.7 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุเป็นคนไทยเชื้อสายจีน
ร้อยละ 20.8 ระบุไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน แต่ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบจีน
และร้อยละ 47.9 ระบุไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน และไม่ได้ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบจีน
ตัวอย่าง ร้อยละ 64.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวน้อยกว่า 10,000 บาท
ร้อยละ 13.3 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 8.8 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 7.2 ระบุมีรายได้ 20,001 — 30,000 บาท
ร้อยละ 1.7 ระบุมีรายได้ 30,001 — 40,000 บาท
ร้อยละ 2.5 ระบุมีรายได้ 40,001 — 50,000 บาท
และร้อยละ 1.9 ระบุมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.4 ระบุมีรายได้ทุกคนในครอบครัวรวมกันน้อยกว่า 10,000 บาท
ร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 15.1 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 17.9 ระบุมีรายได้ 20,001 — 30,000 บาท
ร้อยละ 7.4 ระบุมีรายได้ 30,001 — 40,000 บาท
ร้อยละ 8.4 ระบุมีรายได้ 40,001 — 50,000 บาท
และร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมืองต่อสัปดาห์ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 55.4
2 3 — 4 วันต่อสัปดาห์ 21.1
3 1 — 2 วันต่อสัปดาห์ 13.8
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 4.3
5 ไม่ได้ติดตามเลย 5.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดง 10 อันกับ คุณสมบัติของรัฐมนตรี ที่ประชาชนต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติของรัฐมนตรีที่ต้องการ ค่าร้อยละ
1 มีความซื่อสัตย์สุจริต 82.1
2 มีความรู้ความสามารถ 71.7
3 มีความรวดเร็วฉับไวแก้ไขปัญหาประชาชน 69.5
4 กล้าตัดสินใจ 64.6
5 มีความรับผิดชอบ 61.4
6 มีความเสียสละ 59.4
7 จริงใจ 52.0
8 ไม่กร่าง ไม่โอ้อวด ไม่ข่มขู่ใคร 45.3
9 ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชน 44.8
10 มีความอดทน อดกลั้น 44.2
ตารางที่ 3 แสดง 10 อันดับ แบบอย่างของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ประชาชนประทับใจและอยากให้รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่เอาเป็นแบบอย่าง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แบบอย่างที่ดีน่าประทับใจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่ต้องการให้รัฐมนตรีชุดใหม่เอาเป็นแบบอย่าง ค่าร้อยละ
1 แก้ปัญหารวดเร็ว/กล้าตัดสินใจ 46.4
2 การแก้ไขปัญหายาเสพติด 26.6
3 แก้ปัญหาการเศรษฐกิจ/เศรษฐกิจดีขึ้น/ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในลักษณะการเป็นต่อในการค้า 21.8
4 มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบริหาร 18.5
5 ช่วยเหลือเงินทุนการศึกษา/เรียนฟรี 13.6
6 เข้าถึงประชาชน /ไม่ถือตัว 10.4
7 พูดจริงทำจริง ทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ได้จริง 8.6
8 ให้สวัสดิการสังคมหลายอย่างกับประชาชน อาทิ 30 บาทรักษาทุกโรค/บ้านเอื้ออาทร 6.8
9 ช่วยแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนหลากอย่างจริงจัง อาทิ การสนับสนุนเงินกู้จากธนาคาร /กองทุนหมู่บ้าน/
การช่วยเหลือเกษตรกร 6.5
10 อื่นๆ อาทิ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล /ความเป็นผู้นำ/มีความเป็นมืออาขีพ /รักครอบครัว 10.4
ตารางที่ 4 แสดง 10 อันดับแบบอย่างของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ประชาชนประทับใจและอยากให้รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่เอาเป็นแบบอย่าง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แบบอย่างที่ดีน่าประทับใจของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ที่ต้องการให้รัฐมนตรีชุดใหม่เอาเป็นแบบอย่าง ค่าร้อยละ
1 ความชื่อสัตย์/สุจริต /จริงใจ 45.3
2 ความสุขุม ควบคุมอารมณ์ได้ดี 28.8
3 เป็นคนดี/จิตใจดี/มีเมตตา /คุณธรรมอ/เสียสละ 25.3
4 มีความอดทน /เข้มแข็ง /กล้าหาญ 13.7
5 มีความรู้ /กล้าตัดสินใจ /แก้ปัญหาได้ดี 12.5
6 มีความรับผิดชอบ /มีระเบียบ /ผู้นำ 10.0
7 มีความจงรักภักดีสูง 8.8
8 ไม่โอ้อ้วด ไม่ข่มขู่ใคร 6.2
9 ใช้ชีวิตพอเพียง 5.8
10 อื่นๆ มีความยุติธรรม /เป็นกลาง/มีความประณีประณอมเข้าใจทุกฝ่าย 9.1
ตารางที่ 5 แสดง 10 อันดับสิ่งที่ประชาชนควรทำเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่าง ๆ ไปได้(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประชาชนควรทำเพื่อให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่าง ๆ ไปได้ ค่าร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 72.2
2 รักและสามัคคีกัน 67.1
3 อยู่อย่างพอเพียง ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 65.9
4 ยึดมั่นในกติกา กฎหมาย ในกระบวนการยุติธรรม 60.8
5 มีความรักชาติ 59.0
6 ให้อภัยกัน 51.5
7 รับผิดชอบ 50.9
8 เสียสละ 50.5
9 เกื้อกูลกัน 46.5
10 มีความขยันหมั่นเพียร 44.1
ตารางที่ 6 แสดงคะแนนเฉลี่ยความเป็นไปได้ของการเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) จำแนก
ตามพรรคการเมืองที่เลือก ส.ส.แบบสัดส่วน
ลำดับที่ ประเด็นต่าง ๆ ภายหลังการเลือกตั้ง เลือกพรรคร่วมรัฐบาล เลือกพรรคฝ่ายค้าน
1 ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 4.99 4.13
2 เศรษฐกิจจะดีขึ้น 5.15 3.96
3 พรรคการเมืองต่าง ๆ จะช่วยกันจัดตั้งรัฐบาลด้วยความเรียบร้อย 4.99 3.78
4 ความซื่อสัตย์สุจริตของกลุ่มนักการเมือง 5.15 2.54
5 กระบวนการยุติธรรมจะสามารถทำให้สถาบันการเมืองบริสุทธิ์ 5.08 3.81
6 รัฐบาลใหม่จะทำตามนโยบายที่ประกาศไว้ช่วงหาเสียง 4.09 3.30
7 รัฐบาลใหม่จะอยู่บริหารประเทศได้นานจนครบวาระ 4.70 3.06
8 ความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะกลับคืนมา 5.16 2.48
9 ปัญหายาเสพติดจะหมดไป 5.05 2.57
10 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะมีมากขึ้น 3.58 3.36
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อนายสมัคร สุนทรเวช ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ (หากได้รับ
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจริง)
ปัญหาต่างๆ ที่เชื่อมั่นว่า นายสมัคร สุนทรเวช จะทำได้ดี เชื่อมั่น กลางๆ ไม่เชื่อมั่น รวมทั้งสิ้น
1. แก้ปัญหายาเสพติด 30.4 34.4 35.2 100.0
2. แก้ปัญหาเศรษฐกิจ 33.0 34.7 32.3 100.0
3. ความรักความสามัคคีของคนในชาติ 23.9 34.4 41.7 100.0
4. แก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน 21.6 36.4 42.0 100.0
5. การบรรเทาปัญหาสินค้าราคาสูงขึ้น 26.1 33.1 40.8 100.0
6. ความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 16.6 25.2 58.2 100.0
7. คุณภาพที่ดีของเด็กและเยาวชน 28.6 36.5 34.9 100.0
ตารางที่ 8 แสดงการเปรียบเทียบความต้องการและการคาดการณ์ของประชาชนต่ออายุการทำงานของรัฐบาลชุดใหม่
ลำดับที่ ระยะเวลาที่ต้องการให้พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาล สิ่งที่ต้องการค่าร้อยละ คาดการณ์ค่าร้อยละ
1 ไม่เกิน 2 ปี 45.8 58.5
2 2 — 3 ปี 6.2 9.6
3 3 ปี — ครบวาระ 48.0 31.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
หมายเหตุ
เหตุผลที่ตัวอย่างประชาชนต้องการให้ พรรคพลังประชาชนทำงานจนครบวาระ คือ
1) เป็นพรรคที่ทำงานให้ประชาชนได้ดีที่สุด
2) เพราะชอบพรรคนี้
3) คนของพรรคมีความรู้ความสามารถ
4) ต้องการให้ปัญหาการเมืองยุติ มีความมั่นคง มีเสถียรภาพ
5) เพราะชอบหัวหน้าพรรค
6) จริงใจและจริงจังแก้ปัญหาของประชาชน
7) ให้โอกาสทำงาน
8) มีอุดมการณ์เหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
9) มีความเชื่อมั่นต่อพรรคการเมืองนี้
คาดการณ์ว่า อายุรัฐบาลจะอยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี คือ
1) เกิดความแตกแยกระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล
2) พรรคการเมืองบางพรรคถูกยุบตามกระบวนการยุติธรรม
3) เกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในหมู่นักการเมือง
4) มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ตลอด
5) เกิดการชุมนุมประท้วง ขัดแย้งรุนแรง
6) ไม่เชื่อมั่นต่อพรรคร่วมรัฐบาล
7) เกิดปฏิวัติ รัฐประหาร
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-