ผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานภาพคุณธรรมในทรรศนะและแนวทางปฏิบัติของประชาชนคนไทยในสังคม(27 มกราคม พ.ศ. 2551)
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สำรวจสถานภาพคุณธรรมในทรรศนะและแนวทางปฏิบัติของประชาชนคนไทยในสังคม ว่า การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่ 18 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,753 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินการสำรวจในระหว่างวันที่ 10-24 พฤศจิกายน 2550 โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือศูนย์คุณธรรม ซึ่งผลการสำรวจพบว่า
ประชาชนที่ถูกศึกษามีค่าคะแนนคุณธรรม 6 ด้าน ได้แก่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต สติสัมปชัญญะ จิตอาสา และความขยันหมั่นเพียร โดยรวมเท่ากับ 68.3 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณธรรมที่ตัวอย่างมีคะแนนสูงกว่าคุณธรรมด้านอื่น ๆ ซึ่งเท่ากับ 71.3 คะแนน และสติสัมปชัญญะเป็นคุณธรรมที่ตัวอย่างมีคะแนนต่ำกว่าคุณธรรมด้านอื่น ๆ ซึ่งเท่ากับ 63.6 คะแนน
อย่างไรก็ตามเมื่อคณะผู้วิจัยนำคุณธรรมความรักชาติเข้ามาศึกษาร่วมด้วย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนคุณธรรม 7 ด้าน ซึ่งได้แก่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต สติสัมปชัญญะ จิตอาสา ความขยันหมั่นเพียร และความรักชาติ โดยรวมเท่ากับ 71.2 คะแนน โดยความรักชาติเป็นคุณธรรมที่ตัวอย่างมีคะแนนสูงกว่าคุณธรรมด้านอื่น ๆ ซึ่งเท่ากับ 78.6 คะแนน และสติสัมปชัญญะเป็นคุณธรรมที่ตัวอย่างมีคะแนนต่ำกว่าคุณธรรมด้านอื่น ๆ ซึ่งเท่ากับ 63.6 คะแนน
ผลสำรวจในประเด็นสำคัญที่ค้นพบของคุณธรรมในแต่ละด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ถูกศึกษาคุณธรรมด้านความมีวินัยร้อยละ 86.1 มีความเอนเอียงที่จะไม่ยอมให้ข้อห้าม ข้อบังคับเล็กๆน้อยๆ ของสังคม มาเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ร้อยละ 65.3 มีความเอนเอียงที่คิดว่ากฎระเบียบของสังคมเป็นสิ่งที่ฝ่าฝืนได้ และร้อยละ 76.6 มีความเอนเอียงที่จะบอกว่าตนเองเป็นคนที่ทำอะไรตามใจคือไทยแท้
คุณธรรมด้านความรับผิดชอบ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 69.1 มีความเอนเอียงที่จะร่วมหาผู้รับผิดชอบให้ได้หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นโดยยกเว้นตัวเอง และกว่าร้อยละ 84.5 มีความเอนเอียงที่จะแก้ไขสิ่งที่ผิดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
คุณธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.5 มีความเอนเอียงที่จะยอมรับได้หากรัฐบาลชุดใดโกงกินแล้วทำให้ตนเองอยู่ดีมีสุข ร้อยละ 48.3 มีความเอนเอียงที่จะยอมรับได้เรื่องการกินตามน้ำ/กินหัวคิว และร้อยละ 62.9 มีความเอนเอียงที่อาจจะไม่ซื่อสัตย์ต่ออาชีพของตนเองบ้างหากมีความจำเป็น
คุณธรรมด้านสติสัมปชัญญะ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 83.7 มีความเอนเอียงที่จะไม่คิดไตร่ตรองอะไรให้ละเอียดถี่ถ้วนเพราะอาจจะทำให้เสียโอกาสดีๆไป ร้อยละ 78.1 มีความเอนเอียงที่จะทำสิ่งต่างๆ ตามกระแสสังคมในทุกเรื่อง และร้อยละ 62.6 มีความเอนเอียงที่จะใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้าเข้ามา
คุณธรรมด้านจิตอาสา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.1มีความเอนเอียงที่คิดว่าการช่วยเหลือผู้อื่นไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง ร้อยละ 85.2 มีความเอนเอียงที่อยากให้คนอื่นรับรู้ว่าตนเองได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม และร้อยละ 61.8 มีความเอนเอียงที่จะ รู้สึกเขินอายเมื่อช่วยเหลือผู้อื่น
คุณธรรมด้านความขยันหมั่นเพียร พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 68.2 มีความเอนเอียงที่จะเป็นคนประเภททำงานตามอารมณ์และคุณธรรมด้านความรักชาติ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 70.7 มีความเอนเอียงที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้งไม่เคยขาด ร้อยละ 75.0 มีความเอนเอียงที่จะไม่เข้าร่วมกระบวนการใด ๆ ที่ทำความเสียหายต่อประเทศชาติ ส่วนร้อยละ 44.8 มีความเอนเอียง ที่คิดว่าปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องของคนใต้ไม่เกี่ยวกับตนเอง
นอกจากนี้จากผลสำรวจยังพบว่า ตัวอย่างที่อาศัยในพื้นที่ต่างจังหวัดมีคุณธรรมโดยรวมสูงกว่าตัวอย่างที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑล คิดเป็นค่าคะแนน 71.5 และ 69.2 คะแนน ตามลำดับ ส่วนตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลมีระดับคุณธรรมโดยรวมต่างกันเพียงเล็กน้อย คิดเป็นค่าคะแนน 71.0 และ 71.2 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาคุณธรรมในแต่ละภูมิภาค พบว่า ตัวอย่างภาคใต้มีคุณธรรมโดยรวมสูงกว่าภาคอื่น ๆ รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และกรุงเทพ ฯ/ปริมณฑล ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้เป็นครั้งที่สามของการศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสอดคล้องของข้อมูลว่า คุณธรรมในทรรศนะและแนวปฏิบัติของประชาชนส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีถึงดีมาก โดยเฉพาะในเรื่องความมีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมเมื่อตนเองรับรู้ว่าผู้อื่นและสังคมกำลังเดือดร้อน และคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบของประชาชนเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณธรรมที่อยู่ในระดับท้ายๆ ของทุกครั้งที่ทำการศึกษาวิจัยคือคุณธรรมด้านความมีสติสัมปชัญญะและความมีวินัย จนอาจกล่าวได้ว่า ในกลุ่มคุณธรรมที่ศึกษาครั้งนี้ คุณธรรมด้านความมีสติสัมปชัญญะและด้านความมีวินัยเป็นคุณธรรมที่ต้องให้คนไทยในสังคมช่วยกันพิจารณาและนำไปปฏิบัติให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นต่อไปโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนคนรุ่นต่อไปเนื่องจากผลวิจัยชี้ให้เห็นว่ามีระดับคุณธรรมที่ต่ำกว่ากลุ่มคนอายุอื่นในหลายด้าน เช่น ความไม่มีสติสัมปชัญญะ ความไม่มีวินัย ความไม่รับผิดชอบ และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ กลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่กำลังมีความเอนเอียงที่จะยอมรับรัฐบาลที่โกงกินแต่ทำให้ตนเองอยู่ดีกินดีและยอมรับวัฒนธรรม “กินตามน้ำ/ กินหัวคิว” เป็นต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง สำรวจสถานภาพคุณธรรมในทรรศนะและแนวทางปฏิบัติของประชาชนคนไทยในสังคม ว่า การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่ 18 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,753 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินการสำรวจในระหว่างวันที่ 10-24 พฤศจิกายน 2550 โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม หรือศูนย์คุณธรรม ซึ่งผลการสำรวจพบว่า
ประชาชนที่ถูกศึกษามีค่าคะแนนคุณธรรม 6 ด้าน ได้แก่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต สติสัมปชัญญะ จิตอาสา และความขยันหมั่นเพียร โดยรวมเท่ากับ 68.3 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณธรรมที่ตัวอย่างมีคะแนนสูงกว่าคุณธรรมด้านอื่น ๆ ซึ่งเท่ากับ 71.3 คะแนน และสติสัมปชัญญะเป็นคุณธรรมที่ตัวอย่างมีคะแนนต่ำกว่าคุณธรรมด้านอื่น ๆ ซึ่งเท่ากับ 63.6 คะแนน
อย่างไรก็ตามเมื่อคณะผู้วิจัยนำคุณธรรมความรักชาติเข้ามาศึกษาร่วมด้วย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนคุณธรรม 7 ด้าน ซึ่งได้แก่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์สุจริต สติสัมปชัญญะ จิตอาสา ความขยันหมั่นเพียร และความรักชาติ โดยรวมเท่ากับ 71.2 คะแนน โดยความรักชาติเป็นคุณธรรมที่ตัวอย่างมีคะแนนสูงกว่าคุณธรรมด้านอื่น ๆ ซึ่งเท่ากับ 78.6 คะแนน และสติสัมปชัญญะเป็นคุณธรรมที่ตัวอย่างมีคะแนนต่ำกว่าคุณธรรมด้านอื่น ๆ ซึ่งเท่ากับ 63.6 คะแนน
ผลสำรวจในประเด็นสำคัญที่ค้นพบของคุณธรรมในแต่ละด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ถูกศึกษาคุณธรรมด้านความมีวินัยร้อยละ 86.1 มีความเอนเอียงที่จะไม่ยอมให้ข้อห้าม ข้อบังคับเล็กๆน้อยๆ ของสังคม มาเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต ร้อยละ 65.3 มีความเอนเอียงที่คิดว่ากฎระเบียบของสังคมเป็นสิ่งที่ฝ่าฝืนได้ และร้อยละ 76.6 มีความเอนเอียงที่จะบอกว่าตนเองเป็นคนที่ทำอะไรตามใจคือไทยแท้
คุณธรรมด้านความรับผิดชอบ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 69.1 มีความเอนเอียงที่จะร่วมหาผู้รับผิดชอบให้ได้หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นโดยยกเว้นตัวเอง และกว่าร้อยละ 84.5 มีความเอนเอียงที่จะแก้ไขสิ่งที่ผิดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
คุณธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.5 มีความเอนเอียงที่จะยอมรับได้หากรัฐบาลชุดใดโกงกินแล้วทำให้ตนเองอยู่ดีมีสุข ร้อยละ 48.3 มีความเอนเอียงที่จะยอมรับได้เรื่องการกินตามน้ำ/กินหัวคิว และร้อยละ 62.9 มีความเอนเอียงที่อาจจะไม่ซื่อสัตย์ต่ออาชีพของตนเองบ้างหากมีความจำเป็น
คุณธรรมด้านสติสัมปชัญญะ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 83.7 มีความเอนเอียงที่จะไม่คิดไตร่ตรองอะไรให้ละเอียดถี่ถ้วนเพราะอาจจะทำให้เสียโอกาสดีๆไป ร้อยละ 78.1 มีความเอนเอียงที่จะทำสิ่งต่างๆ ตามกระแสสังคมในทุกเรื่อง และร้อยละ 62.6 มีความเอนเอียงที่จะใช้อารมณ์เป็นที่ตั้งในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้าเข้ามา
คุณธรรมด้านจิตอาสา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.1มีความเอนเอียงที่คิดว่าการช่วยเหลือผู้อื่นไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง ร้อยละ 85.2 มีความเอนเอียงที่อยากให้คนอื่นรับรู้ว่าตนเองได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม และร้อยละ 61.8 มีความเอนเอียงที่จะ รู้สึกเขินอายเมื่อช่วยเหลือผู้อื่น
คุณธรรมด้านความขยันหมั่นเพียร พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 68.2 มีความเอนเอียงที่จะเป็นคนประเภททำงานตามอารมณ์และคุณธรรมด้านความรักชาติ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 70.7 มีความเอนเอียงที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้งไม่เคยขาด ร้อยละ 75.0 มีความเอนเอียงที่จะไม่เข้าร่วมกระบวนการใด ๆ ที่ทำความเสียหายต่อประเทศชาติ ส่วนร้อยละ 44.8 มีความเอนเอียง ที่คิดว่าปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเรื่องของคนใต้ไม่เกี่ยวกับตนเอง
นอกจากนี้จากผลสำรวจยังพบว่า ตัวอย่างที่อาศัยในพื้นที่ต่างจังหวัดมีคุณธรรมโดยรวมสูงกว่าตัวอย่างที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑล คิดเป็นค่าคะแนน 71.5 และ 69.2 คะแนน ตามลำดับ ส่วนตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลมีระดับคุณธรรมโดยรวมต่างกันเพียงเล็กน้อย คิดเป็นค่าคะแนน 71.0 และ 71.2 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาคุณธรรมในแต่ละภูมิภาค พบว่า ตัวอย่างภาคใต้มีคุณธรรมโดยรวมสูงกว่าภาคอื่น ๆ รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และกรุงเทพ ฯ/ปริมณฑล ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้เป็นครั้งที่สามของการศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสอดคล้องของข้อมูลว่า คุณธรรมในทรรศนะและแนวปฏิบัติของประชาชนส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีถึงดีมาก โดยเฉพาะในเรื่องความมีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมเมื่อตนเองรับรู้ว่าผู้อื่นและสังคมกำลังเดือดร้อน และคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตและความรับผิดชอบของประชาชนเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณธรรมที่อยู่ในระดับท้ายๆ ของทุกครั้งที่ทำการศึกษาวิจัยคือคุณธรรมด้านความมีสติสัมปชัญญะและความมีวินัย จนอาจกล่าวได้ว่า ในกลุ่มคุณธรรมที่ศึกษาครั้งนี้ คุณธรรมด้านความมีสติสัมปชัญญะและด้านความมีวินัยเป็นคุณธรรมที่ต้องให้คนไทยในสังคมช่วยกันพิจารณาและนำไปปฏิบัติให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นต่อไปโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนคนรุ่นต่อไปเนื่องจากผลวิจัยชี้ให้เห็นว่ามีระดับคุณธรรมที่ต่ำกว่ากลุ่มคนอายุอื่นในหลายด้าน เช่น ความไม่มีสติสัมปชัญญะ ความไม่มีวินัย ความไม่รับผิดชอบ และที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ กลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่กำลังมีความเอนเอียงที่จะยอมรับรัฐบาลที่โกงกินแต่ทำให้ตนเองอยู่ดีกินดีและยอมรับวัฒนธรรม “กินตามน้ำ/ กินหัวคิว” เป็นต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-