ผศ. ดร. จุฑามาศ วิศาลสิงห์ ผู้อำนวยการโครงการบัณฑิตวิทยาลัยด้านการท่องเที่ยว ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์
วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and
Business Analysis) และนายจารุบุณณ์ ปาณานนท์ อดีตรองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แถลงผลสำรวจเรื่อง ประมาณการวงเงิน
สะพัดและความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีน ปี พ.ศ. 2551 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดทั่ว
ประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,506 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 - 30 มกราคม พ.ศ. 2551
ดร.นพดล ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคมฯ กล่าวว่า ผลประมาณการวงเงินสะพัดในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ทั่วประเทศจำนวนทั้ง
สิ้น 28,296,457,063.40 หรือประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อของเซ่นไหว้เฉลี่ยคนละ 459.33 บาท ประมาณวงเงินสะพัด
ของเซ่นไหว้ทั่วประเทศจำนวน 5,659,291,412.68 หรือประมาณ 5.6 พันล้านบาท เป็นค่าอั่งเปาเฉลี่ยคนละ 1,579.43 บาท วงเงินสะพัดค่าอั่ง
เปาทั่วประเทศประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ค่าท่องเที่ยวและอื่นๆ ช่วงตรุษจีนปีนี้เฉลี่ยคนละ 757.90 บาท วงเงินสะพัดค่าท่องเที่ยวและอื่นๆ ทั่ว
ประเทศประมาณ 9.3 พันล้านบาท
ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า คนไทยเชื้อสายจีนเกินกว่า 1 ใน 4 ระบุแนวโน้มการใช้จ่ายช่วงเทศกาลตรุษจีนจะลดลง โดยเฉพาะด้านการ
ท่องเที่ยวและอื่นๆ มีตัวอย่างร้อยละ 40.0 ที่ระบุลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับตรุษจีนปีที่แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่างประชาชนคนไทยทั่วไปของการสำรวจ
ครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.9 จะไม่ท่องเที่ยวที่ไหนช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ ในขณะที่ร้อยละ 21.1 ระบุว่าตั้งใจจะไป โดยในภาคเหนือประชาชน
ตั้งใจจะไป จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง เป็นต้น ภาคกลางประชาชนตั้งใจจะไป อยุธยา กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สุพรรณบุรี
กาญจนบุรี และนครปฐม เป็นต้น ภาคตะวันออก ประชาชนตั้งใจจะไปจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี เป็นต้น ภาคอีสาน ประชาชนตั้งใจจะไป
นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น หนองคาย ร้อยเอ็ด เป็นต้น ส่วนในภาคใต้ ประชาชนตั้งใจจะไปภูเก็ต สงขลา กระบี่ และพังงา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความตั้งใจจะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดช่วง เมษายน — พฤษภาคม ปีนี้ พบว่า ร้อยละ 55.2 จะไม่ไปไหนเลย
ในขณะที่จำนวนมากหรือร้อยละ 45.7 จะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด
ผศ.ดร.จุฑามาศ ผู้อำนวยการโครงการบัณฑิตวิทยาลัยด้านการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า ตรุษจีนปีนี้มีแนวโน้มว่าคนไทย
ส่วนใหญ่มีแผนจะใช้จ่ายลดลง ไม่มีแผนจะเดินทางท่องเที่ยวกว่าร้อยละ 70 ดังนั้นอาจก่อให้เกิดภาวะเงียบเหงา ส่งผลต่อเนื่องถึงช่วงสงกรานต์ แม้นัก
ท่องเที่ยวยังคงมุ่งไปในจังหวัดหลักในแต่ละภาค แต่โดยรวมต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น ธุรกิจควรเร่งรับมือ โดยเฉพาะธุรกิจที่เน้นตลาดนักท่องเที่ยว
ไทย อาจคาดการณ์ได้ว่า การเดินทางส่วนใหญ่จะเป็นเพียงในระยะทางใกล้ๆ เท่านั้น โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนอยู่เพียงประมาณกว่า 700 บาทเท่า
นั้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงเวลานี้น่าจะเป็นทางออกของธุรกิจท่องเที่ยวไทย
ขณะที่ ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นถึงความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในสินค้าตัวอื่นๆ เมื่อสอบถามถึงสินค้าราคาสูง
บางรายการที่ตั้งราคาไว้และถามถึงความสามารถในการซื้อและความสนใจที่จะซื้อหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า บ้านหลังใหม่ที่ประชาชนตั้งราคาไว้เฉลี่ยอยู่
ที่ 1.8 ล้านบาท แต่มีประชาชนเพียงร้อยละ 3.0 เท่านั้นที่มีเงินพอจะซื้อได้ ในขณะที่ร้อยละ 24.2 ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ
72.8 ไม่สนใจจะซื้อ
สำหรับรถยนต์คันใหม่ พบว่า ประชาชนตั้งราคาเฉลี่ยไว้ที่ 7 แสน 8 หมื่นกว่าบาท แต่มีประชาชนเพียงร้อยละ 3.7 เท่านั้นที่มีเงินพอจะ
ซื้อได้ ในขณะที่ร้อยละ 21.8 ไม่มีเงินพอที่จะซื้อ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.5 ยังไม่สนใจซื้อรถคันใหม่ตอนนี้
สำหรับโทรทัศน์เครื่องใหม่ พบว่า ประชาชนตั้งราคาเฉลี่ยไว้ที่ 1หมื่น 9 พันกว่าบาท แต่มี ประชาชนเพียงร้อยละ 10.2 ที่มีเงินจะซื้อได้
วันนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 8.9 ไม่มีเงินมากพอ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.9 ไม่สนใจจะซื้อ
สำหรับตู้เย็นหลังใหม่ พบว่า ประชาชนตั้งราคาเฉลี่ยไว้ที่ประมาณ 1 หมื่นบาท แต่มีประชาชนเพียงร้อยละ 7.2 ที่มีเงินพอจะซื้อได้ ร้อย
ละ 8.3 ไม่มีเงินมากพอ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.5 ไม่สนใจซื้อตู้เย็นหลังใหม่ในตอนนี้
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจชี้ให้เห็นจำนวนประชาชนในสัดส่วนที่พอๆ กันที่ระบุสถานะการเงินของตนเองอยู่ในสภาวะที่แย่ กับ
สภาวะที่ดี คือร้อยละ 39.4 ระบุสถานะการเงินของ ตนเองอยู่ ใน สภาวะที่ดี ในขณะที่ร้อยละ 39.1 ระบุว่าแย่ และที่เหลือร้อยละ 21.5 ยัง
ประเมินไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ความคิดเห็นของประชาชนที่มองภาพสภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศ พบว่าเกินกว่าครึ่ง หรือร้อยละ
53.9 ระบุสภาวะ เศรษฐกิจ ของ ประเทศอยู่ในสภาวะที่แย่ ขณะที่มีเพียงร้อยละ 25.4 ที่มองว่าเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในสภาวะที่ดี และร้อยละ
20.7 ระบุยังประเมินไม่ได้
ที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ ประชาชนระบุรายได้ครอบครัวเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 53.1
ระบุว่าเท่าเดิม แต่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.0 ระบุว่าลดลง มีเพียงร้อยละ 12.9 เท่านั้นที่ระบุว่าเพิ่มขึ้น
สำหรับสาเหตุของการที่มีรายได้ลดลง ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ร้อยละ 37.4 ระบุเป็นเพราะ เศรษฐกิจตกต่ำ รองลงมาคือร้อยละ
33.0 ระบุมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ร้อยละ 20.2 ขายของได้ยากขึ้น ไม่มีลูกค้ามาใช้บริการ เป็นต้น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.4 ระบุราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 5.0 เท่านั้นที่ระบุมีราคาเท่าเดิม
และมีเพียงร้อยละ 4.9 ระบุราคาถูกลง ที่เหลือร้อยละ 3.7 ระบุไม่ทราบ
และเมื่อถามถึงผลการประเมินความพอใจโดยรวมต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่เรื่องค่าใช้จ่ายของครอบครัว พบว่า ร้อยละ 49.3 ไม่พอใจ
มีเพียงร้อยละ 27.3 ที่พอใจ และร้อยละ 23.4 ยังประเมินไม่ได้
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจครั้งนี้ น่าจะสะท้อนให้รัฐบาลชุดใหม่และธุรกิจกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเห็นภาพว่า ประชาชนที่บอกว่า
สถานะการเงินของตนเองอยู่ในขั้นดีถึงดีขึ้นจากปีที่แล้วมีประมาณร้อยละ 40 ในขณะที่ประชาชนที่บอกว่าสถานะการเงินของตนเองอยู่ในขั้นแย่เหมือนเดิม
ถึงแย่ลง ประมาณร้อยละ 40 เท่ากัน ที่เหลือร้อยละ 20 ยังประเมินไม่ได้ แต่เมื่อพิจารณาสินค้าประเภท บ้าน รถยนต์ โทรทัศน์ ตู้เย็น พบว่าส่วนใหญ่
ยังไม่สนใจจะซื้อ เพราะยังขาดความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และในชีวิตประจำวันประสบกับราคาสินค้าและบริการที่มีแนวโน้มสูง
ขึ้น จึงทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่กล้าที่จะจับจ่ายใช้สอยทั้งที่สถานการเงินยังดีอยู่ ดังนั้น รัฐบาลชุดใหม่จึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในหมู่ประชาชน
ทั่วไป ด้วยความรวดเร็วฉับไวในการบรรเทาปัญหาเดือดร้อนของประชาชน เพราะประชาชนคนประมาณครึ่งหนึ่งไม่พอใจต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ด้าน
การจับจ่ายใช้สอยของครอบครัวในขณะนี้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อประมาณการวงเงินสะพัดและความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีน ปี พ.ศ. 2551
2. เพื่อสำรวจความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ประมาณการวงเงินสะพัดและความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของประชาชนใน
ช่วงเทศกาลตรุษจีน ปี พ.ศ. 2551 : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,506 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะ
เวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 - 30 มกราคม พ.ศ. 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทุกระดับชั้น
ของสังคมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของ
ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,306 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ
ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.5 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 32.9 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.2 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.8 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 13.6 ระบุอายุ 50 ปี ขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.7 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุเป็นคนไทยเชื้อสายจีน
ร้อยละ 20.8 ระบุไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน แต่ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบจีน
และร้อยละ 47.9 ระบุไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน และไม่ได้ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบจีน
ตัวอย่าง ร้อยละ 64.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวน้อยกว่า 10,000 บาท
ร้อยละ 13.3 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 8.8 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 7.2 ระบุมีรายได้ 20,001 — 30,000 บาท
ร้อยละ 1.7 ระบุมีรายได้ 30,001 — 40,000 บาท
ร้อยละ 2.5 ระบุมีรายได้ 40,001 — 50,000 บาท
และร้อยละ 1.9 ระบุมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.4 ระบุมีรายได้ทุกคนในครอบครัวรวมกันน้อยกว่า 10,000 บาท
ร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 15.1 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 17.9 ระบุมีรายได้ 20,001 — 30,000 บาท
ร้อยละ 7.4 ระบุมีรายได้ 30,001 — 40,000 บาท
ร้อยละ 8.4 ระบุมีรายได้ 40,001 — 50,000 บาท
และร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ การรับรู้เกี่ยวกับวันตรุษจีน
ลำดับที่ การรับรู้เกี่ยวกับวันตรุษจีน ค่าร้อยละ
1 ทราบ 64.7
2 ไม่ทราบ 35.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงผลการประมาณการวงเงินสะพัดและค่าเฉลี่ยการจับจ่ายใช้สอยในช่วงตรุษจีน ปี พ.ศ.2551
ลำดับที่ การใช่จ่ายในช่วงตรุษจีน ค่าเฉลี่ย(บาท) ผลประมาณการ(บาท)
1 วงเงินที่ประชาชนตั้งใจจะใช้จ่ายในช่วงตรุษจีนนี้ทั้งหมดเฉลี่ยต่อคน 2,796.66 28,296,457,063.40
2 ค่าใช้จ่ายในการซื้อของเซ่นไหว้ 459.33 5,659,291,412.68
3 อั่งเปา 1,579.43 13,299,334,819.80
4 ท่องเที่ยวและอื่นๆ 757.90 9,337,830,830.92
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างคนไทยเชื้อสายจีนที่ระบุ แนวโน้มการใช้จ่ายช่วงเทศกาลตรุษจีนเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2550
ลำดับที่ หมวดการใช้จ่าย เพิ่มขึ้น เหมือนเดิม ลดลง รวมทั้งสิ้น
1 ของเซ่นไหว้ 26.1 45.1 28.8 100.0
2 อั่งเปา 14.5 56.1 29.4 100.0
3 ท่องเที่ยวและอื่นๆ 21.1 38.9 40.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปท่องเที่ยวภาคต่างๆ ของประเทศ
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปท่องเที่ยวของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจจะไป 21.1
2 ไม่ไปไหน 78.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จังหวัดภาคเหนือที่ตั้งใจจะเดินทางไป
ลำดับที่ จังหวัดภาคเหนือที่ประชาชนตั้งใจจะเดินทางไป ค่าร้อยละ
1 เชียงใหม่ 4.3
2 เชียงราย 2.3
3 แม่ฮ่องสอน 0.9
4 ลำปาง 0.6
5 นครสวรรค์ 0.3
6 พิษณุโลก 0.4
7 อื่นๆ 1.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จังหวัดภาคกลางที่ตั้งใจจะเดินทางไป
ลำดับที่ จังหวัดภาคกลางที่ประชาชนตั้งใจจะเดินทางไป ค่าร้อยละ
1 อยุธยา 1.2
2 กรุงเทพมหานคร 1.0
3 ราชบุรี 0.8
4 สุพรรณบุรี 0.2
5 กาญจนบุรี 0.7
6 นครปฐม 0.4
7 สระบุรี 0.4
8 อื่นๆ 1.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จังหวัดภาคตะวันออกที่ตั้งใจจะเดินทางไป
ลำดับที่ จังหวัดภาคตะวันออกที่ประชาชนตั้งใจจะเดินทางไป ค่าร้อยละ
1 ชลบุรี 2.1
2 ระยอง 0.8
3 จันทบุรี 0.4
4 ตราด 0.4
5 อื่นๆ 1.7
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ตั้งใจจะเดินทางไป
ลำดับที่ จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ประชาชนตั้งใจจะเดินทางไป ค่าร้อยละ
1 นครราชสีมา 0.9
2 อุบลราชธานี 0.9
3 ขอนแก่น 0.8
4 หนองคาย 0.5
5 ร้อยเอ็ด 0.5
6 บุรีรัมย์ 0.4
7 เลย 0.4
8 ยโสธร 0.2
9 อื่นๆ 1.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จังหวัดภาคใต้ที่ตั้งใจจะเดินทางไป
ลำดับที่ จังหวัดภาคใต้ที่ประชาชนตั้งใจจะเดินทางไป ค่าร้อยละ
1 ภูเก็ต 1.3
2 สงขลา 0.6
3 กระบี่ 0.6
4 พังงา 0.5
5 ยะลา 0.5
6 ตรัง 0.4
7 ปัตตานี 0.3
8 สุราษฎร์ธานี 0.2
9 อื่นๆ 1.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดช่วง เมษายน — พฤษภาคม 2551
ลำดับที่ ความตั้งใจจะท่องเที่ยวต่างจังหวัดช่วง เมษายน — พฤษภาคม ค่าร้อยละ
1 จะไม่ไปไหนเลย 55.2
2 ไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด 45.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สินค้าราคาสูงที่คิดฝันอยากซื้อในช่วงเทศกาลตรุษจีน ปี 2551
ลำดับที่ สินค้าราคาสูง ราคาเฉลี่ยที่ตั้งไว้(บาท) มีเงินมาพอจะซื้อได้(ร้อยละ) ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อ(ร้อยละ) ไม่สนใจจะซื้อ(ร้อยละ)
1 บ้านหลังใหม่ 1,826,471.00 3.0 24.2 72.8
2 รถยนต์คันใหม่ 786,240.13 3.7 21.8 74.5
3 โทรทัศน์เครื่องใหม่ 19,045.88 10.2 8.9 80.9
4 ตู้เย็นหลังใหม่ 10,386.36 7.2 8.3 84.5
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อสถานะทางการเงินเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2550
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อสถานะทางการเงินเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้นกว่าเดิม 18.4
2 ดีเหมือนเดิม 21.0
3 แย่เหมือนเดิม 18.2
4 แย่ลง 20.9
5 ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น 21.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2550
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้นกว่าเดิม 16.9
2 ดีเหมือนเดิม 8.5
3 แย่เหมือนเดิม 28.1
4 แย่ลง 25.8
5 ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น 20.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุรายได้ครอบครัวเปรียบเทียบกับช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2550
ลำดับที่ รายได้ครอบครัวเปรียบเทียบกับช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2550 ค่าร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 12.9
2 เท่าเดิม 53.1
3 ลดลง 34.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุสาเหตุของการลดลงของรายได้ครอบครัวเปรียบเทียบกับ
ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2550
ลำดับที่ สาเหตุของการลดลงของรายได้ ค่าร้อยละ
1 เศรษฐกิจตกต่ำ 37.4
2 มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น 33.0
3 ขายของยากขึ้น/ไม่มีลูกค้ามาใช้บริการ 20.2
4 การเปลี่ยนงานบ่อย 3.5
5 การเมืองและการบริหารประเทศยังวุ่นวาย 3.1
6 ประหยัด 1.6
7 ว่างงาน 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวโน้มราคาสินค้าทั่วๆไป
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวโน้มราคาสินค้าทั่วๆไป ค่าร้อยละ
1 ราคาสูงขึ้น 86.4
2 เท่าเดิม 5.0
3 ราคาถูกลง 4.9
4 ไม่ทราบ 3.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 8.0
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 14.5
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 37.6
4 ไม่เชื่อมั่น 20.1
5 ไม่มีความเห็น 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ประเมินความพอใจโดยรวม ต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่เรื่องค่าใช้จ่าย
ของครอบครัว
ลำดับที่ ผลการประเมินความพอใจ ต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่เรื่องค่าใช้จ่ายของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 พอใจ 27.3
2 ไม่พอใจ 49.3
3 ยังประเมินไม่ได้ 23.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social Innovation in Management and
Business Analysis) และนายจารุบุณณ์ ปาณานนท์ อดีตรองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แถลงผลสำรวจเรื่อง ประมาณการวงเงิน
สะพัดและความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีน ปี พ.ศ. 2551 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดทั่ว
ประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,506 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 - 30 มกราคม พ.ศ. 2551
ดร.นพดล ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคมฯ กล่าวว่า ผลประมาณการวงเงินสะพัดในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ทั่วประเทศจำนวนทั้ง
สิ้น 28,296,457,063.40 หรือประมาณ 2.8 หมื่นล้านบาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อของเซ่นไหว้เฉลี่ยคนละ 459.33 บาท ประมาณวงเงินสะพัด
ของเซ่นไหว้ทั่วประเทศจำนวน 5,659,291,412.68 หรือประมาณ 5.6 พันล้านบาท เป็นค่าอั่งเปาเฉลี่ยคนละ 1,579.43 บาท วงเงินสะพัดค่าอั่ง
เปาทั่วประเทศประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ค่าท่องเที่ยวและอื่นๆ ช่วงตรุษจีนปีนี้เฉลี่ยคนละ 757.90 บาท วงเงินสะพัดค่าท่องเที่ยวและอื่นๆ ทั่ว
ประเทศประมาณ 9.3 พันล้านบาท
ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า คนไทยเชื้อสายจีนเกินกว่า 1 ใน 4 ระบุแนวโน้มการใช้จ่ายช่วงเทศกาลตรุษจีนจะลดลง โดยเฉพาะด้านการ
ท่องเที่ยวและอื่นๆ มีตัวอย่างร้อยละ 40.0 ที่ระบุลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับตรุษจีนปีที่แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่างประชาชนคนไทยทั่วไปของการสำรวจ
ครั้งนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.9 จะไม่ท่องเที่ยวที่ไหนช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ ในขณะที่ร้อยละ 21.1 ระบุว่าตั้งใจจะไป โดยในภาคเหนือประชาชน
ตั้งใจจะไป จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง เป็นต้น ภาคกลางประชาชนตั้งใจจะไป อยุธยา กรุงเทพมหานคร ราชบุรี สุพรรณบุรี
กาญจนบุรี และนครปฐม เป็นต้น ภาคตะวันออก ประชาชนตั้งใจจะไปจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี เป็นต้น ภาคอีสาน ประชาชนตั้งใจจะไป
นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น หนองคาย ร้อยเอ็ด เป็นต้น ส่วนในภาคใต้ ประชาชนตั้งใจจะไปภูเก็ต สงขลา กระบี่ และพังงา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความตั้งใจจะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดช่วง เมษายน — พฤษภาคม ปีนี้ พบว่า ร้อยละ 55.2 จะไม่ไปไหนเลย
ในขณะที่จำนวนมากหรือร้อยละ 45.7 จะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด
ผศ.ดร.จุฑามาศ ผู้อำนวยการโครงการบัณฑิตวิทยาลัยด้านการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า ตรุษจีนปีนี้มีแนวโน้มว่าคนไทย
ส่วนใหญ่มีแผนจะใช้จ่ายลดลง ไม่มีแผนจะเดินทางท่องเที่ยวกว่าร้อยละ 70 ดังนั้นอาจก่อให้เกิดภาวะเงียบเหงา ส่งผลต่อเนื่องถึงช่วงสงกรานต์ แม้นัก
ท่องเที่ยวยังคงมุ่งไปในจังหวัดหลักในแต่ละภาค แต่โดยรวมต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น ธุรกิจควรเร่งรับมือ โดยเฉพาะธุรกิจที่เน้นตลาดนักท่องเที่ยว
ไทย อาจคาดการณ์ได้ว่า การเดินทางส่วนใหญ่จะเป็นเพียงในระยะทางใกล้ๆ เท่านั้น โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนอยู่เพียงประมาณกว่า 700 บาทเท่า
นั้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงเวลานี้น่าจะเป็นทางออกของธุรกิจท่องเที่ยวไทย
ขณะที่ ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นถึงความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในสินค้าตัวอื่นๆ เมื่อสอบถามถึงสินค้าราคาสูง
บางรายการที่ตั้งราคาไว้และถามถึงความสามารถในการซื้อและความสนใจที่จะซื้อหรือไม่ ผลสำรวจพบว่า บ้านหลังใหม่ที่ประชาชนตั้งราคาไว้เฉลี่ยอยู่
ที่ 1.8 ล้านบาท แต่มีประชาชนเพียงร้อยละ 3.0 เท่านั้นที่มีเงินพอจะซื้อได้ ในขณะที่ร้อยละ 24.2 ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ
72.8 ไม่สนใจจะซื้อ
สำหรับรถยนต์คันใหม่ พบว่า ประชาชนตั้งราคาเฉลี่ยไว้ที่ 7 แสน 8 หมื่นกว่าบาท แต่มีประชาชนเพียงร้อยละ 3.7 เท่านั้นที่มีเงินพอจะ
ซื้อได้ ในขณะที่ร้อยละ 21.8 ไม่มีเงินพอที่จะซื้อ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.5 ยังไม่สนใจซื้อรถคันใหม่ตอนนี้
สำหรับโทรทัศน์เครื่องใหม่ พบว่า ประชาชนตั้งราคาเฉลี่ยไว้ที่ 1หมื่น 9 พันกว่าบาท แต่มี ประชาชนเพียงร้อยละ 10.2 ที่มีเงินจะซื้อได้
วันนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 8.9 ไม่มีเงินมากพอ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.9 ไม่สนใจจะซื้อ
สำหรับตู้เย็นหลังใหม่ พบว่า ประชาชนตั้งราคาเฉลี่ยไว้ที่ประมาณ 1 หมื่นบาท แต่มีประชาชนเพียงร้อยละ 7.2 ที่มีเงินพอจะซื้อได้ ร้อย
ละ 8.3 ไม่มีเงินมากพอ และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.5 ไม่สนใจซื้อตู้เย็นหลังใหม่ในตอนนี้
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจชี้ให้เห็นจำนวนประชาชนในสัดส่วนที่พอๆ กันที่ระบุสถานะการเงินของตนเองอยู่ในสภาวะที่แย่ กับ
สภาวะที่ดี คือร้อยละ 39.4 ระบุสถานะการเงินของ ตนเองอยู่ ใน สภาวะที่ดี ในขณะที่ร้อยละ 39.1 ระบุว่าแย่ และที่เหลือร้อยละ 21.5 ยัง
ประเมินไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ความคิดเห็นของประชาชนที่มองภาพสภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศ พบว่าเกินกว่าครึ่ง หรือร้อยละ
53.9 ระบุสภาวะ เศรษฐกิจ ของ ประเทศอยู่ในสภาวะที่แย่ ขณะที่มีเพียงร้อยละ 25.4 ที่มองว่าเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในสภาวะที่ดี และร้อยละ
20.7 ระบุยังประเมินไม่ได้
ที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่งคือ ประชาชนระบุรายได้ครอบครัวเปรียบเทียบกับช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 53.1
ระบุว่าเท่าเดิม แต่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 34.0 ระบุว่าลดลง มีเพียงร้อยละ 12.9 เท่านั้นที่ระบุว่าเพิ่มขึ้น
สำหรับสาเหตุของการที่มีรายได้ลดลง ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ร้อยละ 37.4 ระบุเป็นเพราะ เศรษฐกิจตกต่ำ รองลงมาคือร้อยละ
33.0 ระบุมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ร้อยละ 20.2 ขายของได้ยากขึ้น ไม่มีลูกค้ามาใช้บริการ เป็นต้น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.4 ระบุราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 5.0 เท่านั้นที่ระบุมีราคาเท่าเดิม
และมีเพียงร้อยละ 4.9 ระบุราคาถูกลง ที่เหลือร้อยละ 3.7 ระบุไม่ทราบ
และเมื่อถามถึงผลการประเมินความพอใจโดยรวมต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่เรื่องค่าใช้จ่ายของครอบครัว พบว่า ร้อยละ 49.3 ไม่พอใจ
มีเพียงร้อยละ 27.3 ที่พอใจ และร้อยละ 23.4 ยังประเมินไม่ได้
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จากผลสำรวจครั้งนี้ น่าจะสะท้อนให้รัฐบาลชุดใหม่และธุรกิจกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเห็นภาพว่า ประชาชนที่บอกว่า
สถานะการเงินของตนเองอยู่ในขั้นดีถึงดีขึ้นจากปีที่แล้วมีประมาณร้อยละ 40 ในขณะที่ประชาชนที่บอกว่าสถานะการเงินของตนเองอยู่ในขั้นแย่เหมือนเดิม
ถึงแย่ลง ประมาณร้อยละ 40 เท่ากัน ที่เหลือร้อยละ 20 ยังประเมินไม่ได้ แต่เมื่อพิจารณาสินค้าประเภท บ้าน รถยนต์ โทรทัศน์ ตู้เย็น พบว่าส่วนใหญ่
ยังไม่สนใจจะซื้อ เพราะยังขาดความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และในชีวิตประจำวันประสบกับราคาสินค้าและบริการที่มีแนวโน้มสูง
ขึ้น จึงทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่กล้าที่จะจับจ่ายใช้สอยทั้งที่สถานการเงินยังดีอยู่ ดังนั้น รัฐบาลชุดใหม่จึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในหมู่ประชาชน
ทั่วไป ด้วยความรวดเร็วฉับไวในการบรรเทาปัญหาเดือดร้อนของประชาชน เพราะประชาชนคนประมาณครึ่งหนึ่งไม่พอใจต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ด้าน
การจับจ่ายใช้สอยของครอบครัวในขณะนี้
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อประมาณการวงเงินสะพัดและความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีน ปี พ.ศ. 2551
2. เพื่อสำรวจความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีน
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (The ABAC Social
Innovation in Management and Business Analysis) เรื่อง ประมาณการวงเงินสะพัดและความตั้งใจจับจ่ายใช้สอยของประชาชนใน
ช่วงเทศกาลตรุษจีน ปี พ.ศ. 2551 : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีภูมิลำเนาใน 27 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 3,506 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะ
เวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 - 30 มกราคม พ.ศ. 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทุกระดับชั้น
ของสังคมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของ
ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 3,306 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ
ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบ
ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 56.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 43.9 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.5 ระบุอายุระหว่าง 18-19 ปี
ร้อยละ 32.9 ระบุอายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 27.2 ระบุอายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.8 ระบุอายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 13.6 ระบุอายุ 50 ปี ขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.7 ระบุระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.3 ระบุสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.3 ระบุเป็นคนไทยเชื้อสายจีน
ร้อยละ 20.8 ระบุไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน แต่ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบจีน
และร้อยละ 47.9 ระบุไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน และไม่ได้ยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบจีน
ตัวอย่าง ร้อยละ 64.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวน้อยกว่า 10,000 บาท
ร้อยละ 13.3 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 8.8 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 7.2 ระบุมีรายได้ 20,001 — 30,000 บาท
ร้อยละ 1.7 ระบุมีรายได้ 30,001 — 40,000 บาท
ร้อยละ 2.5 ระบุมีรายได้ 40,001 — 50,000 บาท
และร้อยละ 1.9 ระบุมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.4 ระบุมีรายได้ทุกคนในครอบครัวรวมกันน้อยกว่า 10,000 บาท
ร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 15.1 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 17.9 ระบุมีรายได้ 20,001 — 30,000 บาท
ร้อยละ 7.4 ระบุมีรายได้ 30,001 — 40,000 บาท
ร้อยละ 8.4 ระบุมีรายได้ 40,001 — 50,000 บาท
และร้อยละ 13.9 ระบุมีรายได้มากกว่า 50,000 บาท
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุ การรับรู้เกี่ยวกับวันตรุษจีน
ลำดับที่ การรับรู้เกี่ยวกับวันตรุษจีน ค่าร้อยละ
1 ทราบ 64.7
2 ไม่ทราบ 35.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงผลการประมาณการวงเงินสะพัดและค่าเฉลี่ยการจับจ่ายใช้สอยในช่วงตรุษจีน ปี พ.ศ.2551
ลำดับที่ การใช่จ่ายในช่วงตรุษจีน ค่าเฉลี่ย(บาท) ผลประมาณการ(บาท)
1 วงเงินที่ประชาชนตั้งใจจะใช้จ่ายในช่วงตรุษจีนนี้ทั้งหมดเฉลี่ยต่อคน 2,796.66 28,296,457,063.40
2 ค่าใช้จ่ายในการซื้อของเซ่นไหว้ 459.33 5,659,291,412.68
3 อั่งเปา 1,579.43 13,299,334,819.80
4 ท่องเที่ยวและอื่นๆ 757.90 9,337,830,830.92
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างคนไทยเชื้อสายจีนที่ระบุ แนวโน้มการใช้จ่ายช่วงเทศกาลตรุษจีนเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2550
ลำดับที่ หมวดการใช้จ่าย เพิ่มขึ้น เหมือนเดิม ลดลง รวมทั้งสิ้น
1 ของเซ่นไหว้ 26.1 45.1 28.8 100.0
2 อั่งเปา 14.5 56.1 29.4 100.0
3 ท่องเที่ยวและอื่นๆ 21.1 38.9 40.0 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปท่องเที่ยวภาคต่างๆ ของประเทศ
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปท่องเที่ยวของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจจะไป 21.1
2 ไม่ไปไหน 78.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จังหวัดภาคเหนือที่ตั้งใจจะเดินทางไป
ลำดับที่ จังหวัดภาคเหนือที่ประชาชนตั้งใจจะเดินทางไป ค่าร้อยละ
1 เชียงใหม่ 4.3
2 เชียงราย 2.3
3 แม่ฮ่องสอน 0.9
4 ลำปาง 0.6
5 นครสวรรค์ 0.3
6 พิษณุโลก 0.4
7 อื่นๆ 1.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จังหวัดภาคกลางที่ตั้งใจจะเดินทางไป
ลำดับที่ จังหวัดภาคกลางที่ประชาชนตั้งใจจะเดินทางไป ค่าร้อยละ
1 อยุธยา 1.2
2 กรุงเทพมหานคร 1.0
3 ราชบุรี 0.8
4 สุพรรณบุรี 0.2
5 กาญจนบุรี 0.7
6 นครปฐม 0.4
7 สระบุรี 0.4
8 อื่นๆ 1.2
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จังหวัดภาคตะวันออกที่ตั้งใจจะเดินทางไป
ลำดับที่ จังหวัดภาคตะวันออกที่ประชาชนตั้งใจจะเดินทางไป ค่าร้อยละ
1 ชลบุรี 2.1
2 ระยอง 0.8
3 จันทบุรี 0.4
4 ตราด 0.4
5 อื่นๆ 1.7
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ตั้งใจจะเดินทางไป
ลำดับที่ จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ประชาชนตั้งใจจะเดินทางไป ค่าร้อยละ
1 นครราชสีมา 0.9
2 อุบลราชธานี 0.9
3 ขอนแก่น 0.8
4 หนองคาย 0.5
5 ร้อยเอ็ด 0.5
6 บุรีรัมย์ 0.4
7 เลย 0.4
8 ยโสธร 0.2
9 อื่นๆ 1.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จังหวัดภาคใต้ที่ตั้งใจจะเดินทางไป
ลำดับที่ จังหวัดภาคใต้ที่ประชาชนตั้งใจจะเดินทางไป ค่าร้อยละ
1 ภูเก็ต 1.3
2 สงขลา 0.6
3 กระบี่ 0.6
4 พังงา 0.5
5 ยะลา 0.5
6 ตรัง 0.4
7 ปัตตานี 0.3
8 สุราษฎร์ธานี 0.2
9 อื่นๆ 1.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดช่วง เมษายน — พฤษภาคม 2551
ลำดับที่ ความตั้งใจจะท่องเที่ยวต่างจังหวัดช่วง เมษายน — พฤษภาคม ค่าร้อยละ
1 จะไม่ไปไหนเลย 55.2
2 ไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด 45.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สินค้าราคาสูงที่คิดฝันอยากซื้อในช่วงเทศกาลตรุษจีน ปี 2551
ลำดับที่ สินค้าราคาสูง ราคาเฉลี่ยที่ตั้งไว้(บาท) มีเงินมาพอจะซื้อได้(ร้อยละ) ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อ(ร้อยละ) ไม่สนใจจะซื้อ(ร้อยละ)
1 บ้านหลังใหม่ 1,826,471.00 3.0 24.2 72.8
2 รถยนต์คันใหม่ 786,240.13 3.7 21.8 74.5
3 โทรทัศน์เครื่องใหม่ 19,045.88 10.2 8.9 80.9
4 ตู้เย็นหลังใหม่ 10,386.36 7.2 8.3 84.5
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อสถานะทางการเงินเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2550
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อสถานะทางการเงินเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้นกว่าเดิม 18.4
2 ดีเหมือนเดิม 21.0
3 แย่เหมือนเดิม 18.2
4 แย่ลง 20.9
5 ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น 21.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2550
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้นกว่าเดิม 16.9
2 ดีเหมือนเดิม 8.5
3 แย่เหมือนเดิม 28.1
4 แย่ลง 25.8
5 ไม่ทราบ/ไม่มีความเห็น 20.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุรายได้ครอบครัวเปรียบเทียบกับช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2550
ลำดับที่ รายได้ครอบครัวเปรียบเทียบกับช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2550 ค่าร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 12.9
2 เท่าเดิม 53.1
3 ลดลง 34.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุสาเหตุของการลดลงของรายได้ครอบครัวเปรียบเทียบกับ
ช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. 2550
ลำดับที่ สาเหตุของการลดลงของรายได้ ค่าร้อยละ
1 เศรษฐกิจตกต่ำ 37.4
2 มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น 33.0
3 ขายของยากขึ้น/ไม่มีลูกค้ามาใช้บริการ 20.2
4 การเปลี่ยนงานบ่อย 3.5
5 การเมืองและการบริหารประเทศยังวุ่นวาย 3.1
6 ประหยัด 1.6
7 ว่างงาน 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวโน้มราคาสินค้าทั่วๆไป
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อแนวโน้มราคาสินค้าทั่วๆไป ค่าร้อยละ
1 ราคาสูงขึ้น 86.4
2 เท่าเดิม 5.0
3 ราคาถูกลง 4.9
4 ไม่ทราบ 3.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 8.0
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 14.5
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 37.6
4 ไม่เชื่อมั่น 20.1
5 ไม่มีความเห็น 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง ที่ประเมินความพอใจโดยรวม ต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่เรื่องค่าใช้จ่าย
ของครอบครัว
ลำดับที่ ผลการประเมินความพอใจ ต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่เรื่องค่าใช้จ่ายของครอบครัว ค่าร้อยละ
1 พอใจ 27.3
2 ไม่พอใจ 49.3
3 ยังประเมินไม่ได้ 23.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-