ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า หลังจากได้
ทำวิจัยความสุขคนไทยกับเครือข่ายวิชาการทั้งในและต่างประเทศมานานกว่า 2 ปี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงได้เปิด “ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน”
หรือชื่อเต็มว่า ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation
and Research, ANCHOR (อังกอร์)) โดย ดร.นพดล กรรณิกา เป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยฯ ร่วมกับคณะกรรมการเครือข่ายวิชาการที่ประกอบด้วย แกนนำ
ชุมชน เด็กเยาวชน อาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ โดยมีบทบาทสำคัญคือค้นหาปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนไทยมีความสุข เป็นข้อมูลเชิงนโยบายสาธารณะ
มากกว่าความสุขของปัจเจกบุคคล ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.siamhappiness.net
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยความสุขครั้งนี้ได้ดำเนินการศึกษากับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี
สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,246 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30 มกราคม
2551 — 2 กุมภาพันธ์ 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์ และพบว่า ประชาชนจำนวนมาก
หรือร้อยละ 46.2 หันมาใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงระดับมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 34.5 ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงระดับปานกลาง และร้อยละ
19.3 ใช้เพียงเล็กน้อยถึงไม่ใช้เลย
เมื่อสอบถามถึงความสุขโดยภาพรวม พบว่า ความสุขมวลรวม (GDH) ของคนไทยในพื้นที่ที่ถูกศึกษาครั้งนี้อยู่ที่ 6.47 คะแนน ซึ่งน้อยกว่า
ค่าคะแนนความสุขมวลรวมของคนทั้งประเทศที่เคยค้นพบที่ 6.90 ในเดือนตุลาคม 2550
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ค้นพบค่าความสุขสูงสุดคือ 9.31 คะแนนเป็นเรื่องความจงรักภักดี รองลงมาคือ 7.38 คะแนนคือบรรยากาศ
ภายในครอบครัว เช่น ความรัก ความอบอุ่น การร่วมทุกข์ร่วมสุข เข้าใจซึ่งกันและกัน และทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นต้น อันดับถัดมาได้คะแนนเท่ากันคือ
6.87 คะแนนได้แก่เรื่องความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณี เช่น วิถีชีวิตและแนวปฏิบัติของคนไทย และเรื่องสุขภาพกาย อันดับห้าคือ 6.76 เป็นเรื่องหน้าที่
การงาน ความพึงพอใจในงาน อันดับหกคือ 6.70 เป็นเรื่องสุขภาพใจ ความไม่เครียด ไม่วิตกกังวล ไม่ถูกกดดัน และความสบายใจ อันดับเจ็ดคือ
6.34 ได้แก่สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ความสะดวกด้านคมนาคม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อันดับแปดคือ 5.98
ได้แก่บรรยากาศภายในชุมชน เช่นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจให้แก่กัน เกื้อกูลกัน เป็นต้น อันดับเก้า คือ 5.29 ได้แก่ความเป็นธรรมในสังคม
และอันดับสิบ คือ 2.56 ได้แก่สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
แต่เมื่อใช้หลักสถิติวิเคราะห์เชิงลึกแล้ว พบว่า สิ่งที่จะทำให้คนไทยมีความสุขมากที่สุดคือ ความสุขใจสบายใจของประชาชน ส่วนสิ่งที่ทำให้
คนไทยไม่มีความสุขมากสุดคือ ปัญหาในที่ทำงาน ปัญหาในครอบครัว ความไม่เป็นธรรมในสังคมและสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลวิจัยยังพบด้วยว่า หญิงมีค่าคะแนนความสุขเฉลี่ยสูงกว่าชายคือ 6.53 ต่อ 6.40 และคนที่เป็นวัยรุ่น ที่อายุต่ำกว่า 20 ปีกับวัยสูงอายุ
ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขสูงกว่าวัยอื่นๆ คือประมาณ 6.67 และ 6.62 ที่น่าเป็นห่วงคือ คนในวัย 20 — 29 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ย
ความสุขต่ำสุดอยู่ที่ 6.21 และคนอายุระหว่าง 30 — 39 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขเท่ากับ 6.42 และคนวัย 40 — 49 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ยความ
สุขอยู่ที่ 6.57
ดร.นพดล กล่าวว่า คนในวัย 20 — 39 ปีมีความสุขน้อยกว่าคนวัยอื่น อาจเป็นเพราะมีระดับความตึงเครียดมากกว่าและยังไม่มีหลัก
ประกันที่มั่นคงในชีวิตเท่าที่ควร รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนกลุ่มนี้ เพราะเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม อาจต้องมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้
ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้เป็นพิเศษ เช่น วันเห็นคุณค่าของคนเฉพาะวัยแห่งชาติ กำหนดให้มีวันส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนวัยนี้ขึ้นในแต่ละปี
แต่ประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ผลวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า คนที่ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันระดับมากถึงมากที่
สุดมีค่าคะแนนความสุขสูงสุดคือ 6.99 ในขณะที่คนที่ใช้หลักเศรษฐกิจระดับปานกลางมีความสุขอยู่ที่ 6.06 และคนที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงน้อยถึงไม่ใช้
เลยมีความสุขอยู่ที่ 6.01 เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชี้ชัดหลายครั้งแล้วว่า คนที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมากก็สุขมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น รัฐบาลชุดใหม่จึงน่าจะ
สานต่อหลักปรัชญาและแนวปฏิบัติตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิดขึ้นจริงอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ยังได้ชี้ให้เห็นถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อจุดยืนของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะนำนโยบายของพรรคไทยรักไทย
ในอดีตมาต่อยอดในการบริหารประเทศครั้งนี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย เช่น ร้อยละ 95.8 เห็นด้วยกับนโยบายแก้ปัญหายาเสพติดของพรรค
ไทยรักไทยในอดีต ในมิติของความเอาจริงเอาจัง ที่ไม่ใช่การฆ่าตัดตอน ร้อยละ 94.5 เห็นด้วยกับงานพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน ร้อยละ 94.3 เห็นด้วย
กับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ร้อยละ 93.8 เห็นด้วยกับนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค ร้อยละ 88.9 เห็นด้วยกับการแก้
ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 83.2 เห็นด้วยกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ร้อยละ 77.4 เห็นด้วยกับการกระตุ้นการลง
ทุนในโครงการขนาดใหญ่ ร้อยละ 69.9 เห็นด้วยกับโครงการโคล้านตัว ร้อยละ 69.2 เห็นด้วยกับผู้ว่า ซีอีโอ ในขณะที่เห็นด้วยน้อยสุดแต่ยังถือว่าเป็น
ส่วนใหญ่คือร้อยละ 64.4 เห็นด้วยกับแนวคิดหวยบนดิน
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นหวยบนดินยังคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนทางสังคมในรัฐบาลชุดนี้ เพราะจะพบกับกระแสต่อต้านประมาณร้อยละ
35 — 40 เนื่องจากอาจถูกมองว่าขัดต่อระบบคุณธรรมและหลักศาสนาของสังคมไทย แม้คนไทยส่วนใหญ่อาจเห็นด้วยแต่กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยก็มีอยู่จำนวนมาก
ประเด็นที่น่าสนใจคือ แรงสนับสนุนจากสาธารณชนต่อ นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งพบว่า สัดส่วนของผู้ที่สนับสนุนเพิ่ม
ขึ้นจากร้อยละ 44.3 ในการสำรวจก่อนได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ มาอยู่ที่ร้อยละ 58.7 ในการสำรวจหลังจากได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ
และเมื่อจำแนกตามกลุ่มคนที่เคยเลือกพรรคการเมืองต่างๆ พบว่า สัดส่วนของผู้สนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช เพิ่มขึ้นในทุกพรรคการเมืองเช่นกัน แต่ที่
น่าพิจารณาคือ กลุ่มคนที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทยมีสัดส่วนของผู้ไม่สนับสนุนมากกว่ากลุ่มคนที่เลือกพรรคอื่นๆ ตาม
ลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวสรุปว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนให้โอกาสสนับสนุนพรรคร่วมรัฐบาลและนายสมัคร สุนทร
เวช เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่อายุรัฐบาลจะสั้นหรือยาวก็ขึ้นอยู่กับความแตกแยกหรือสามัคคีของคนในพรรคร่วมรัฐบาล จนอาจกล่าวได้ว่า ประชาชนให้
โอกาสสนับสนุนแล้วจะอยู่หรือไปนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับคนวงในพรรคร่วมรัฐบาลเอง และผลงานที่ต้องจับต้องได้โดนใจประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
เพราะหลังจากที่ประเทศไทยมีความชัดเจนทางการเมืองว่าใครเป็นรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีแล้ว ประชาชนที่ถูกวิจัยมีความสุขครั้งนี้อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้าง
ดี โดยมีสุขภาพใจเป็นปัจจัยตัวนำ ตามด้วยชีวิตการทำงาน บรรยากาศในครอบครัว บรรยากาศในชุมชน และความเป็นธรรมในสังคม ดังนั้นจึงขอให้
รัฐบาลได้พิจารณาปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่ค้นพบครั้งนี้นำไปหนุนเสริมแนวนโยบายสาธารณะเฝ้าระวังรักษาประโยชน์สุขของสาธารณชนต่อไป
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2551
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนไทยต่อสถานการณ์นโยบายและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (อังกอร์))มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทย
ประจำเดือนมกราคม 2551 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30
มกราคม 2551 — 2 กุมภาพันธ์ 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ ชลบุรี
ขอนแก่น และสงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,246 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบ
เขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 22.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 34.9 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 12.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 เป็นนักศึกษา/นักเรียน และ
ร้อยละ 3.5 ระบุว่างงาน ตามลำดับ
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวน้อยกว่า 5,000 บาท
ร้อยละ 33.7 มีรายได้ 5,001- 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 8.5 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.8 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 9.1 ระบุมีรายได้ มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 23.3 ไม่ระบุรายได้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 52.2
2 3-4 วัน 17.8
3 1-2 วัน 11.0
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 14.6
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน
ลำดับที่ ระดับการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน ค่าร้อยละ
1 มาก ถึง มากที่สุด 46.2
2 ปานกลาง 34.5
3 น้อย ถึง ไม่ใช้เลย 19.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนมกราคม 2551
จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (เต็ม 10)
1 ความจงรักภักดี 9.31
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.38
3 วัฒนธรรมประเพณี 6.87
4 สุขภาพทางกาย 6.87
5 หน้าที่การทำงาน 6.76
6 สุขภาพใจ 6.70
7 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 6.34
8 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 5.98
9 ความเป็นธรรมในสังคม 5.29
10 สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.56
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนมกราคม 2551 6.47
ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือน
มกราคม 2551 เปรียบเทียบกับช่วงเดือนตุลาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ต.ค.49 พ.ย.-ธ.ค.49 ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย.50 พ.ค.-ก.ค.50 ก.ย.50 ต.ค.50 ม.ค.51
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม
ของคนไทยภายใน ประเทศ
(Gross Domestic Happiness) 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.90 6.47*
*หมายเหตุ เป็นค่าความสุขของกลุ่มประชาชนเฉพาะในพื้นที่ กรุเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ค่าเฉลี่ยคะแนนความสุข เปรียบเทียบระหว่าง ชาย กับ หญิง
(เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ เพศ ค่าคะแนนความสุขเฉลี่ย
1 ชาย 6.40
2 หญิง 6.53
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ค่าเฉลี่ยคะแนนความสุข เปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มช่วงอายุ
(เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ กลุ่มช่วงอายุ ค่าคะแนนความสุขเฉลี่ย
1 ต่ำกว่า 20 ปี 6.67
2 20 — 29 ปี 6.21
3 30 — 39 ปี 6.42
4 40 — 49 ปี 6.57
5 50 ปีขึ้นไป 6.62
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ค่าเฉลี่ยคะแนนความสุข เมื่อจำแนกตามระดับการประยุกต์
ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ ระดับการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่าคะแนนความสุขเฉลี่ย
1 มากถึงมากที่สุด 6.99
2 ปานกลาง 6.06
3 น้อยถึงไม่ใช้เลย 6.01
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบายของพรรคไทยรักไทยในอดีตที่ประชาชนต้องการ
ให้พรรคพลังประชาชนนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสุขให้แก่ประชาชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นโยบายของพรรคไทยรักไทยในอดีต ค่าร้อยละ
1 แก้ปัญหายาเสพติด 95.8
2 งานพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน 94.5
3 กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 94.3
4 นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค 93.8
5 แก้ปัญหาความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 88.9
6 กองทุนหมู่บ้าน 83.2
7 กระตุ้นการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ 77.4
8 โคล้านตัว 69.9
9 ผู้ว่า ซีอีโอ 69.2
10 หวยบนดิน 64.4
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนรับตำแหน่ง หลังรับตำแหน่ง
1 สนับสนุน 44.3 58.7
2 ขออยู่ตรงกลาง 17.3 19.0
3 ไม่สนับสนุน 38.4 22.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่ในการบริหารประเทศใน
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามพรรคการเมืองที่เลือก ส.ส.แบบสัดส่วน ในการเลือกตั้งเมื่อ
วันที่ 23 ธ.ค. 50 ที่ผ่านมา
การสนับสนุน พรรคการเมืองที่เลือก ส.ส.แบบสัดส่วน
ประชา-ธิปัตย์ มัชฌิมาธิปไตย ชาติไทย ประชาราช เพื่อแผ่นดิน รวมใจไทยฯ พลังประชาชน อื่น ๆ
1. สนับสนุน 25.1 41.2 38.2 73.6 65.0 45.5 85.4 49.1
2. ขออยู่ตรงกลาง 25.2 23.5 30.9 14.3 20.0 27.3 11.1 24.6
3. ไม่สนับสนุน 49.7 35.3 30.9 12.1 15.0 27.2 3.5 26.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ทำวิจัยความสุขคนไทยกับเครือข่ายวิชาการทั้งในและต่างประเทศมานานกว่า 2 ปี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงได้เปิด “ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน”
หรือชื่อเต็มว่า ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community Happiness Observation
and Research, ANCHOR (อังกอร์)) โดย ดร.นพดล กรรณิกา เป็นหัวหน้าศูนย์วิจัยฯ ร่วมกับคณะกรรมการเครือข่ายวิชาการที่ประกอบด้วย แกนนำ
ชุมชน เด็กเยาวชน อาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ โดยมีบทบาทสำคัญคือค้นหาปัจจัยสำคัญที่จะทำให้คนไทยมีความสุข เป็นข้อมูลเชิงนโยบายสาธารณะ
มากกว่าความสุขของปัจเจกบุคคล ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.siamhappiness.net
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลวิจัยความสุขครั้งนี้ได้ดำเนินการศึกษากับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี
สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,246 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30 มกราคม
2551 — 2 กุมภาพันธ์ 2551 ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์ และพบว่า ประชาชนจำนวนมาก
หรือร้อยละ 46.2 หันมาใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงระดับมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 34.5 ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงระดับปานกลาง และร้อยละ
19.3 ใช้เพียงเล็กน้อยถึงไม่ใช้เลย
เมื่อสอบถามถึงความสุขโดยภาพรวม พบว่า ความสุขมวลรวม (GDH) ของคนไทยในพื้นที่ที่ถูกศึกษาครั้งนี้อยู่ที่ 6.47 คะแนน ซึ่งน้อยกว่า
ค่าคะแนนความสุขมวลรวมของคนทั้งประเทศที่เคยค้นพบที่ 6.90 ในเดือนตุลาคม 2550
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ค้นพบค่าความสุขสูงสุดคือ 9.31 คะแนนเป็นเรื่องความจงรักภักดี รองลงมาคือ 7.38 คะแนนคือบรรยากาศ
ภายในครอบครัว เช่น ความรัก ความอบอุ่น การร่วมทุกข์ร่วมสุข เข้าใจซึ่งกันและกัน และทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นต้น อันดับถัดมาได้คะแนนเท่ากันคือ
6.87 คะแนนได้แก่เรื่องความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณี เช่น วิถีชีวิตและแนวปฏิบัติของคนไทย และเรื่องสุขภาพกาย อันดับห้าคือ 6.76 เป็นเรื่องหน้าที่
การงาน ความพึงพอใจในงาน อันดับหกคือ 6.70 เป็นเรื่องสุขภาพใจ ความไม่เครียด ไม่วิตกกังวล ไม่ถูกกดดัน และความสบายใจ อันดับเจ็ดคือ
6.34 ได้แก่สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ความสะดวกด้านคมนาคม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อันดับแปดคือ 5.98
ได้แก่บรรยากาศภายในชุมชน เช่นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจให้แก่กัน เกื้อกูลกัน เป็นต้น อันดับเก้า คือ 5.29 ได้แก่ความเป็นธรรมในสังคม
และอันดับสิบ คือ 2.56 ได้แก่สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
แต่เมื่อใช้หลักสถิติวิเคราะห์เชิงลึกแล้ว พบว่า สิ่งที่จะทำให้คนไทยมีความสุขมากที่สุดคือ ความสุขใจสบายใจของประชาชน ส่วนสิ่งที่ทำให้
คนไทยไม่มีความสุขมากสุดคือ ปัญหาในที่ทำงาน ปัญหาในครอบครัว ความไม่เป็นธรรมในสังคมและสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลวิจัยยังพบด้วยว่า หญิงมีค่าคะแนนความสุขเฉลี่ยสูงกว่าชายคือ 6.53 ต่อ 6.40 และคนที่เป็นวัยรุ่น ที่อายุต่ำกว่า 20 ปีกับวัยสูงอายุ
ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขสูงกว่าวัยอื่นๆ คือประมาณ 6.67 และ 6.62 ที่น่าเป็นห่วงคือ คนในวัย 20 — 29 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ย
ความสุขต่ำสุดอยู่ที่ 6.21 และคนอายุระหว่าง 30 — 39 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขเท่ากับ 6.42 และคนวัย 40 — 49 ปี มีค่าคะแนนเฉลี่ยความ
สุขอยู่ที่ 6.57
ดร.นพดล กล่าวว่า คนในวัย 20 — 39 ปีมีความสุขน้อยกว่าคนวัยอื่น อาจเป็นเพราะมีระดับความตึงเครียดมากกว่าและยังไม่มีหลัก
ประกันที่มั่นคงในชีวิตเท่าที่ควร รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนกลุ่มนี้ เพราะเป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม อาจต้องมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้
ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้เป็นพิเศษ เช่น วันเห็นคุณค่าของคนเฉพาะวัยแห่งชาติ กำหนดให้มีวันส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนวัยนี้ขึ้นในแต่ละปี
แต่ประเด็นที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ผลวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า คนที่ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันระดับมากถึงมากที่
สุดมีค่าคะแนนความสุขสูงสุดคือ 6.99 ในขณะที่คนที่ใช้หลักเศรษฐกิจระดับปานกลางมีความสุขอยู่ที่ 6.06 และคนที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงน้อยถึงไม่ใช้
เลยมีความสุขอยู่ที่ 6.01 เท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลวิจัยชี้ชัดหลายครั้งแล้วว่า คนที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมากก็สุขมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น รัฐบาลชุดใหม่จึงน่าจะ
สานต่อหลักปรัชญาและแนวปฏิบัติตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิดขึ้นจริงอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ยังได้ชี้ให้เห็นถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อจุดยืนของรัฐบาลชุดใหม่ที่จะนำนโยบายของพรรคไทยรักไทย
ในอดีตมาต่อยอดในการบริหารประเทศครั้งนี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย เช่น ร้อยละ 95.8 เห็นด้วยกับนโยบายแก้ปัญหายาเสพติดของพรรค
ไทยรักไทยในอดีต ในมิติของความเอาจริงเอาจัง ที่ไม่ใช่การฆ่าตัดตอน ร้อยละ 94.5 เห็นด้วยกับงานพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน ร้อยละ 94.3 เห็นด้วย
กับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ร้อยละ 93.8 เห็นด้วยกับนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค ร้อยละ 88.9 เห็นด้วยกับการแก้
ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 83.2 เห็นด้วยกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ร้อยละ 77.4 เห็นด้วยกับการกระตุ้นการลง
ทุนในโครงการขนาดใหญ่ ร้อยละ 69.9 เห็นด้วยกับโครงการโคล้านตัว ร้อยละ 69.2 เห็นด้วยกับผู้ว่า ซีอีโอ ในขณะที่เห็นด้วยน้อยสุดแต่ยังถือว่าเป็น
ส่วนใหญ่คือร้อยละ 64.4 เห็นด้วยกับแนวคิดหวยบนดิน
ดร.นพดล กล่าวว่า ประเด็นหวยบนดินยังคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนทางสังคมในรัฐบาลชุดนี้ เพราะจะพบกับกระแสต่อต้านประมาณร้อยละ
35 — 40 เนื่องจากอาจถูกมองว่าขัดต่อระบบคุณธรรมและหลักศาสนาของสังคมไทย แม้คนไทยส่วนใหญ่อาจเห็นด้วยแต่กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยก็มีอยู่จำนวนมาก
ประเด็นที่น่าสนใจคือ แรงสนับสนุนจากสาธารณชนต่อ นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะนายกรัฐมนตรี ซึ่งพบว่า สัดส่วนของผู้ที่สนับสนุนเพิ่ม
ขึ้นจากร้อยละ 44.3 ในการสำรวจก่อนได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ มาอยู่ที่ร้อยละ 58.7 ในการสำรวจหลังจากได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ
และเมื่อจำแนกตามกลุ่มคนที่เคยเลือกพรรคการเมืองต่างๆ พบว่า สัดส่วนของผู้สนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวช เพิ่มขึ้นในทุกพรรคการเมืองเช่นกัน แต่ที่
น่าพิจารณาคือ กลุ่มคนที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทยมีสัดส่วนของผู้ไม่สนับสนุนมากกว่ากลุ่มคนที่เลือกพรรคอื่นๆ ตาม
ลำดับ
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวสรุปว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนให้โอกาสสนับสนุนพรรคร่วมรัฐบาลและนายสมัคร สุนทร
เวช เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่อายุรัฐบาลจะสั้นหรือยาวก็ขึ้นอยู่กับความแตกแยกหรือสามัคคีของคนในพรรคร่วมรัฐบาล จนอาจกล่าวได้ว่า ประชาชนให้
โอกาสสนับสนุนแล้วจะอยู่หรือไปนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับคนวงในพรรคร่วมรัฐบาลเอง และผลงานที่ต้องจับต้องได้โดนใจประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
เพราะหลังจากที่ประเทศไทยมีความชัดเจนทางการเมืองว่าใครเป็นรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีแล้ว ประชาชนที่ถูกวิจัยมีความสุขครั้งนี้อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้าง
ดี โดยมีสุขภาพใจเป็นปัจจัยตัวนำ ตามด้วยชีวิตการทำงาน บรรยากาศในครอบครัว บรรยากาศในชุมชน และความเป็นธรรมในสังคม ดังนั้นจึงขอให้
รัฐบาลได้พิจารณาปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่ค้นพบครั้งนี้นำไปหนุนเสริมแนวนโยบายสาธารณะเฝ้าระวังรักษาประโยชน์สุขของสาธารณชนต่อไป
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจค้นหาดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2551
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนไทยต่อสถานการณ์นโยบายและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน(Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR (อังกอร์))มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “รายงานดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทย
ประจำเดือนมกราคม 2551 : กรณีศึกษาประชาชนคนไทยกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30
มกราคม 2551 — 2 กุมภาพันธ์ 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ ชลบุรี
ขอนแก่น และสงขลา เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 3,246 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบ
เขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ
ร้อยละ 22.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 34.9 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 11.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 6.6 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 12.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.4 เป็นนักศึกษา/นักเรียน และ
ร้อยละ 3.5 ระบุว่างงาน ตามลำดับ
ตัวอย่าง ร้อยละ 18.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวน้อยกว่า 5,000 บาท
ร้อยละ 33.7 มีรายได้ 5,001- 10,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 8.5 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 6.8 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 9.1 ระบุมีรายได้ มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 23.3 ไม่ระบุรายได้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวสารโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน / เกือบทุกวัน 52.2
2 3-4 วัน 17.8
3 1-2 วัน 11.0
4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 14.6
5 ไม่ได้ติดตามเลย 4.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน
ลำดับที่ ระดับการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน ค่าร้อยละ
1 มาก ถึง มากที่สุด 46.2
2 ปานกลาง 34.5
3 น้อย ถึง ไม่ใช้เลย 19.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ ในช่วงเดือนมกราคม 2551
จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ประชาชนมีความสุข ค่าคะแนนดัชนีความสุขมวลรวมโดยเฉลี่ย (เต็ม 10)
1 ความจงรักภักดี 9.31
2 บรรยากาศภายในครอบครัว 7.38
3 วัฒนธรรมประเพณี 6.87
4 สุขภาพทางกาย 6.87
5 หน้าที่การทำงาน 6.76
6 สุขภาพใจ 6.70
7 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย 6.34
8 บรรยากาศภายในชุมชนที่พัก 5.98
9 ความเป็นธรรมในสังคม 5.29
10 สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.56
ค่าความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศประจำเดือนมกราคม 2551 6.47
ตารางที่ 4 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของประชาชนคนไทยภายในประเทศประจำเดือน
มกราคม 2551 เปรียบเทียบกับช่วงเดือนตุลาคม 2549 เมื่อคะแนนเต็ม 10
ต.ค.49 พ.ย.-ธ.ค.49 ม.ค.50 ก.พ.50 เม.ย.50 พ.ค.-ก.ค.50 ก.ย.50 ต.ค.50 ม.ค.51
ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวม
ของคนไทยภายใน ประเทศ
(Gross Domestic Happiness) 4.86 5.74 5.68 5.66 5.11 5.02 5.94 6.90 6.47*
*หมายเหตุ เป็นค่าความสุขของกลุ่มประชาชนเฉพาะในพื้นที่ กรุเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่
ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ค่าเฉลี่ยคะแนนความสุข เปรียบเทียบระหว่าง ชาย กับ หญิง
(เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ เพศ ค่าคะแนนความสุขเฉลี่ย
1 ชาย 6.40
2 หญิง 6.53
ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ค่าเฉลี่ยคะแนนความสุข เปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มช่วงอายุ
(เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ กลุ่มช่วงอายุ ค่าคะแนนความสุขเฉลี่ย
1 ต่ำกว่า 20 ปี 6.67
2 20 — 29 ปี 6.21
3 30 — 39 ปี 6.42
4 40 — 49 ปี 6.57
5 50 ปีขึ้นไป 6.62
ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ค่าเฉลี่ยคะแนนความสุข เมื่อจำแนกตามระดับการประยุกต์
ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ ระดับการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ค่าคะแนนความสุขเฉลี่ย
1 มากถึงมากที่สุด 6.99
2 ปานกลาง 6.06
3 น้อยถึงไม่ใช้เลย 6.01
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบายของพรรคไทยรักไทยในอดีตที่ประชาชนต้องการ
ให้พรรคพลังประชาชนนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสุขให้แก่ประชาชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นโยบายของพรรคไทยรักไทยในอดีต ค่าร้อยละ
1 แก้ปัญหายาเสพติด 95.8
2 งานพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน 94.5
3 กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 94.3
4 นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค 93.8
5 แก้ปัญหาความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 88.9
6 กองทุนหมู่บ้าน 83.2
7 กระตุ้นการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ 77.4
8 โคล้านตัว 69.9
9 ผู้ว่า ซีอีโอ 69.2
10 หวยบนดิน 64.4
ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช ทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่บริหารประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนรับตำแหน่ง หลังรับตำแหน่ง
1 สนับสนุน 44.3 58.7
2 ขออยู่ตรงกลาง 17.3 19.0
3 ไม่สนับสนุน 38.4 22.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสนับสนุนนายสมัคร สุนทรเวชทำหน้าที่ในการบริหารประเทศใน
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จำแนกตามพรรคการเมืองที่เลือก ส.ส.แบบสัดส่วน ในการเลือกตั้งเมื่อ
วันที่ 23 ธ.ค. 50 ที่ผ่านมา
การสนับสนุน พรรคการเมืองที่เลือก ส.ส.แบบสัดส่วน
ประชา-ธิปัตย์ มัชฌิมาธิปไตย ชาติไทย ประชาราช เพื่อแผ่นดิน รวมใจไทยฯ พลังประชาชน อื่น ๆ
1. สนับสนุน 25.1 41.2 38.2 73.6 65.0 45.5 85.4 49.1
2. ขออยู่ตรงกลาง 25.2 23.5 30.9 14.3 20.0 27.3 11.1 24.6
3. ไม่สนับสนุน 49.7 35.3 30.9 12.1 15.0 27.2 3.5 26.3
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-