ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง สภาพแวดล้อมชุมชนและพฤติกรรมเสี่ยงในการ
ใช้ยาเสพติดในกลุ่มเด็กวัยทีน (Teenager) กรณีศึกษาเด็กเยาวชนอายุ 12 — 19 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,384
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
เด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ร้อยละ 53.3 เป็นหญิง ขณะที่ร้อยละ 46.7 เป็นชาย โดยเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.2 มีภูมิ
ลำเนาในต่างจังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ ขณะที่ร้อยละ 48.8 มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร เมื่อถามถึงลักษณะการพักอาศัยของเด็กและ
เยาวชนเหล่านี้โดยตอบได้มากกว่า 1 แห่ง พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.7 ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดาและญาติในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ร้อย
ละ 50.3 ระบุพักที่อื่นๆ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.4 ระบุแหล่งที่มาของรายได้คือพ่อแม่ผู้ปกครอง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เด็กมากกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ 68.6 ระบุความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับแม่เป็นปกติมีทะเลาะกันบ้างเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.5 ระบุความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับแม่ไม่ปกติเพราะทะเลาะกันบ่อย/แยกกันอยู่ ที่
เหลือร้อยละ 5.9 ระบุพ่อกับแม่ไม่ได้อยู่ด้วยกันเพราะฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงผลการเรียนเกรดเฉลี่ยเทอมล่าสุด พบว่า เด็กและเยาวชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.7 มีผลการเรียนดี (3.00 —
4.00) รองลงมาคือร้อยละ 25.6 มีผลการเรียนค่อนข้างดี (2.50 -2.99) ในขณะที่ร้อยละ 14.9 มีผลการเรียนไม่ค่อยดี (2.00 — 2.49) และ
ร้อยละ 5.8 มีผลการเรียนไม่ดี (0.00 — 1.99) แต่ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ในกลุ่มเด็กเรียนดีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.1 ไม่เคยหนีเรียนเลย แต่
ในกลุ่มเด็กที่มีผลการเรียนไม่ดีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.4 เคยหนีเรียน
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ได้กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ประเด็นอยู่ตรงที่ว่าเด็กหนีเรียนจึงทำให้เรียนได้ไม่ดี หรือเพราะเด็กมีผลการ
เรียนไม่ดีจึงหนีเรียน และมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและสังคม
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ระบุว่า สามารถเดินทางไปยังแหล่งซื้อขายเหล้าบุหรี่ได้ภายใน
เวลาประมาณ 7 นาที ในขณะที่ร้านเกม ร้านอินเตอร์เนต แหล่งการเล่นพนัน แหล่งมั่วสุมนั้น สามารถเดินทางไปถึงได้ภายในเวลาประมาณ 15
นาที แหล่งซื้อขายซีดี ดีวีดีลามก สถานบันเทิงและสถานบริการทางเพศได้ไม่เกิน 30 นาที ที่น่าสนใจคือเด็กและเยาวชนก็สามารถเดินทางไปยัง
วัด แหล่งทำบุญทำทานบริจาค ห้องสมุดและสวนสาธารณะได้ภายใน 15 ถึง 30 นาทีเช่นกัน
ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนจำนวนมากอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีทั้งที่บ้านพักอาศัยและที่สถานศึกษา โดยสำรวจบริเวณที่พัก
อาศัยในรัศมี 300 เมตร พบว่า ร้อยละ 73.7 ระบุมีคนดื่มเหล้าเมาเป็นประจำร้อยละ 56.6 ระบุมีการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์
ไฟฟ้า ร้อยละ 55.5 มีการพ่นสีสเปรย์ตามที่ต่างๆ ร้อยละ 53.0 มีกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น ร้อยละ 47.2 มีบ้านพักถูกทิ้งให้ร้างว่างเปล่า ร้อยละ 45.3
มีกลุ่มแกงค์ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 42.1 มีคนใช้ยาเสพติด ร้อยละ 41.3 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ ร้อยละ38.6 ระบุมีสถานบันเทิง ร้อยละ37.7
มีที่รกร้างว่างเปล่า ร้อยละ 31.7 มีร่องรอยงัดแงะที่พักอาศัย และร้อยละ 17.5 ระบุมีสถานบริการทางเพศ
เช่นเดียวกับสภาพแวดล้อมบริเวณรอบสถานศึกษาในรัศมี 300 เมตร พบว่า ร้อยละ 70.1 ระบุมีการพ่นสีสเปร์ยตามที่ต่างๆ ร้อยละ
65.4 ระบุมีการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ ไฟฟ้า ร้อยละ 64.0 มีกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น ร้อยละ 62.6 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ ร้อยละ
61.4 มีกลุ่มแกงค์ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 60.8 มีคนดื่มเหล้าเมาเป็นประจำ ร้อยละ 49.5 มีคนใช้ยาเสพติด ร้อยละ 48.7 มีที่รกร้างว่าง
เปล่า ร้อยละ 47.8 มีร่องรอยงัดแงะที่พักอาศัย ร้อยละ 46.5 ระบุมีบ้านพักที่ถูกทิ้ง ร้อยละ 37.0 มีสถานบันเทิง และร้อยละ 21.3 มีสถานบริการ
ทางเพศ
เมื่อประมาณการจำนวนเด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาจากจำนวนทั้งสิ้น 1,327,055 คน พบว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีเด็กและ
เยาวชนที่เคยหนีเรียนจำนวน 615,754 หรือร้อยละ 46.4 ของทั้งหมด รองลงมาคือ เด็กที่ชอบดูแข่งรถซิ่งมีจำนวน 484,375 คน หรือร้อยละ
36.5 เด็กเยาวชนที่เคยดื่มเหล้ามีจำนวน 480,394 คน หรือร้อยละ 36.2 เด็กเยาวชนที่เคยสูบบุหรี่มีจำนวน 230,908 คน หรือร้อยละ 17.4 และ
เด็กเยาวชนที่เคยใช้ยาเสพติดมีจำนวน 160,574 คน หรือร้อยละ 12.1
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่เกินกว่าล้านคนขึ้นไป เข้าวัดฟังเทศน์ ทำบุญ เข้าห้องสมุด อาสาทำงานเพื่อสังคม เล่นกีฬา และ
เห็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมของพ่อและแม่ทั้งในเรื่องการช่วยเหลือมีน้ำใจให้ผู้อื่นและพ่อแม่พากันเข้าวัดทำบุญทำทานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชนได้วิเคราะห์อิทธิพลของสภาพแวดล้อมชุมชนต่อเด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาในการใช้ยาเสพติดในช่วง 3 เดือน
ที่ผ่านมา พบว่า เด็กและเยาวชนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีบริเวณที่พักอาศัยมีโอกาสสูงสุดในการใช้ยาเสพติดประมาณ 3 เท่ามากกว่าเด็กที่อยู่ในสภาพ
แวดล้อมที่ดี หลังทดสอบด้วยค่า Odd Ratio ที่ค้นพบ 2.948 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001)
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สภาพแวดล้อมชุมชนและพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ยาเสพ
ติดในกลุ่มเด็กวัยเรียน กรณีศึกษาตัวอย่างเด็กและเยาวชนอายุ 12-19 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชนอายุ
12-19 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,384 ตัวอย่าง ช่วงความ
เชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ เพศของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ชาย 46.7
2 หญิง 53.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามภูมิลำเนา
ลำดับที่ ภูมิลำเนาของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร 48.8
2 มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ 51.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ที่พักอาศัยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ที่พักอาศัยของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พักบ้านของพ่อแม่ และญาติ 55.7
2 พักที่อื่นๆ เช่น หอพัก คอนโด อพาร์ตเมนท์ บ้านเช่า 50.3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งที่มาของรายได้
ลำดับที่ แหล่งที่มาของรายได้ ค่าร้อยละ
1 พ่อแม่ ผู้ปกครอง 85.4
2 ทำงานพิเศษ 8.0
3 ค้าขาย 4.3
4 อื่นๆ เงินกู้ยืม เงินเดือน คนใกล้ชิด เป็นต้น 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและแม่
ลำดับที่ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและแม่ ค่าร้อยละ
1 ปกติ (อยู่ด้วยกันทะเลาะกันบ้างเล็กน้อย) 68.6
2 ไม่ปกติ (ไม่ได้อยู่ด้วยกันเพราะทะเลาะกัน/ ทะเลาะกันบ่อย) 25.5
3 ไม่ได้อยู่ด้วยกันเพราะฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเกรดเฉลี่ยเทอมล่าสุด
ลำดับที่ เกรดเฉลี่ยเทอมล่าสุด ค่าร้อยละ
1 ผลการเรียนดี (3.00 — 4.00) 53.7
2 ผลการเรียนค่อนข้างดี (2.50 — 2.99) 25.6
3 เรียนไม่ค่อยดี (2.00 — 2.49) 14.9
4 เรียนไม่ดี (0.00 — 1.99) 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เกรดเฉลี่ยเทอมล่าสุด จำแนกตามพฤติกรรมหนีเรียนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ เกรดเฉลี่ยเทอมล่าสุด เคยหนีเรียน ไม่เคยหนีเรียน รวมทั้งสิ้น
1 ผลการเรียนดี (3.00 — 4.00) 36.9 63.1 100.0
2 ผลการเรียนค่อนข้างดี (2.50 — 2.99) 59.2 40.8 100.0
3 เรียนไม่ค่อยดี (2.00 — 2.49) 62.4 37.6 100.0
4 เรียนไม่ดี (0.00 — 1.99) 74.4 25.6 100.0
ตารางที่ 8 แสดงระยะเวลาเฉลี่ยในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ
ลำดับที่ สถานที่ต่างๆ ระยะเวลาเฉลี่ย (นาที)
1 แหล่งซื้อขาย เหล้า บุหรี่ 7.54
2 ร้านเกม 11.22
3 ร้านอินเตอร์เนต 12.10
4 สนามกีฬา 12.39
5 ห้องสมุด 14.03
6 สวนสาธารณะ ออกกำลังกาย 15.08
7 แหล่งเล่นพนัน 15.53
8 แหล่งนัดพบมั่วสุมของกลุ่มวัยรุ่น 15.55
9 แหล่งที่ทำบุญ ทำทานบริจาค 16.08
10 วัด 16.28
11 แหล่งซื้อขาย ซีดี ดีวีดี ภาพโป๊เปลือย 22.16
12 สถานบันเทิง เช่น ผับ บาร์ เทค 27.29
13 สถานบริการทางเพศ 28.12
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาพแวดล้อมเสี่ยงที่อยู่ไม่เกิน 300 เมตรจากที่พักอาศัย
ลำดับที่ สภาพแวดล้อมเสี่ยงที่อยู่ไม่เกิน 300 เมตรจากที่พักอาศัย ค่าร้อยละ
1 มีคนดื่มเหล้าเมาเป็นประจำ 73.7
2 มีการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ ไฟฟ้า 56.6
3 มีการพ่นสีสเปรย์ตามที่ต่างๆ 55.5
4 มีการจับกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น 53.0
5 มีบ้านพักถูกทิ้งให้รกร้าง 47.2
6 มีกลุ่มแกงค์ก่อความเดือดร้อนรำคาญ 45.3
7 มีคนใช้สารเสพติด 42.1
8 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ 41.3
9 มีสถานบันเทิง 38.6
10 มีที่รกร้างว่างเปล่า 37.7
11 มีร่องรอยงัดแงะที่พักอาศัย 31.7
12 มีสถานบริการทางเพศ 17.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาพแวดล้อมเสี่ยงที่อยู่ไม่เกิน 300 เมตรจากสถาบันการศึกษา
ลำดับที่ สภาพแวดล้อมเสี่ยงที่อยู่ไม่เกิน 300 เมตรจากสถาบันการศึกษา ค่าร้อยละ
1 มีการพ่นสีสเปรย์ตามที่ต่างๆ 70.1
2 มีการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ ไฟฟ้า 65.4
3 มีการจับกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น 64.0
4 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ 62.6
5 มีกลุ่มแกงค์ก่อความเดือดร้อนรำคาญ 61.4
6 มีคนดื่มเหล้าเมาเป็นประจำ 60.8
7 มีคนใช้ยาเสพติด 49.5
8 มีสนามหญ้ารกร้างว่างเปล่า 48.7
9 มีร่องรอยงัดแงะที่พักอาศัย 47.8
10 มีบ้านพักที่ถูกทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่า 46.5
11 มีสถานบันเทิง 37.0
12 มีสถานบริการทางเพศ 21.3
ตารางที่ 11 แสดงผลประมาณการจำนวนเด็กวัยทีนที่มี 5 พฤติกรรมเสี่ยงด้านต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ พฤติกรรมเสี่ยงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวนคน ค่าร้อยละ
1 หนีเรียน 615,754 46.4
2 ชอบดูแข่งรถซิ่ง 484,375 36.5
3 ดื่มเหล้า 480,394 36.2
4 สูบบุหรี่ 230,908 17.4
5 ใช้สารเสพติด (ไม่นับรวมเหล้าบุหรี่) 160,574 12.1
ตารางที่ 12 แสดงผลประมาณการจำนวนเด็กวัยทีนที่มีประสบการณ์ที่ดีด้านต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประสบการณ์ที่ดีด้านต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวนคน ค่าร้อยละ
1 เข้าวัดฟังเทศน์ ทำบุญ 1,130,651 85.2
2 เข้าห้องสมุดค้นคว้า 1,089,512 82.1
3 อาสาสมัครช่วยสังคม 1,146,576 86.4
4 เล่นกีฬา 1,215,582 91.6
5 รับรู้/เห็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมของพ่อและแม่ 1,258,948 94.8
6 รับรู้/เห็นพ่อแม่มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น 1,248,759 94.1
7 รับรู้/เห็นพ่อแม่เข้าวัดฟังเทศน์ ทำบุญ 1,133,305 85.4
หมายเหตุ ผลประมาณจำนวนเด็กอายุระหว่าง 12 — 19 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมทั้งสิ้น 1,327,055 คน
ตารางที่ 13 แสดงค่าอิทธิพลของสภาพแวดล้อมชุมชนต่อเด็กวัยทีนในการใช้ยาเสพติดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ พฤติกรรมใช้ยาเสพติดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา สภาพแวดล้อมที่ดี ค่อนข้างดี ไม่ค่อยดี ไม่ดี
1 เคยใช้ 11.4 8.7 14.5 20.2
2 ไม่เคยใช้ 88.6 91.3 85.5 79.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
***ค่าความเสี่ยงหลังทดสอบทางสถิติด้วยค่า Odd Ratio = 1.958 ค่าสูงสุดอยู่ที่ 2.948 ระดับนัยสำคัญ p = 0.001
หมายความว่า เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีมีโอกาสในการใช้ยาเสพติดสูงสุดประมาณสามเท่าของเด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง สภาพแวดล้อมชุมชนและพฤติกรรมเสี่ยงในการ
ใช้ยาเสพติดในกลุ่มเด็กวัยทีน (Teenager) กรณีศึกษาเด็กเยาวชนอายุ 12 — 19 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,384
ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 — 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบคือ
เด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ร้อยละ 53.3 เป็นหญิง ขณะที่ร้อยละ 46.7 เป็นชาย โดยเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.2 มีภูมิ
ลำเนาในต่างจังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ ขณะที่ร้อยละ 48.8 มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร เมื่อถามถึงลักษณะการพักอาศัยของเด็กและ
เยาวชนเหล่านี้โดยตอบได้มากกว่า 1 แห่ง พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.7 ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดาและญาติในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่ร้อย
ละ 50.3 ระบุพักที่อื่นๆ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.4 ระบุแหล่งที่มาของรายได้คือพ่อแม่ผู้ปกครอง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เด็กมากกว่า 2 ใน 3 หรือร้อยละ 68.6 ระบุความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับแม่เป็นปกติมีทะเลาะกันบ้างเล็กน้อย
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนประมาณ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.5 ระบุความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับแม่ไม่ปกติเพราะทะเลาะกันบ่อย/แยกกันอยู่ ที่
เหลือร้อยละ 5.9 ระบุพ่อกับแม่ไม่ได้อยู่ด้วยกันเพราะฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงผลการเรียนเกรดเฉลี่ยเทอมล่าสุด พบว่า เด็กและเยาวชนเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.7 มีผลการเรียนดี (3.00 —
4.00) รองลงมาคือร้อยละ 25.6 มีผลการเรียนค่อนข้างดี (2.50 -2.99) ในขณะที่ร้อยละ 14.9 มีผลการเรียนไม่ค่อยดี (2.00 — 2.49) และ
ร้อยละ 5.8 มีผลการเรียนไม่ดี (0.00 — 1.99) แต่ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ในกลุ่มเด็กเรียนดีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.1 ไม่เคยหนีเรียนเลย แต่
ในกลุ่มเด็กที่มีผลการเรียนไม่ดีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.4 เคยหนีเรียน
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน ได้กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ประเด็นอยู่ตรงที่ว่าเด็กหนีเรียนจึงทำให้เรียนได้ไม่ดี หรือเพราะเด็กมีผลการ
เรียนไม่ดีจึงหนีเรียน และมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและสังคม
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาครั้งนี้ระบุว่า สามารถเดินทางไปยังแหล่งซื้อขายเหล้าบุหรี่ได้ภายใน
เวลาประมาณ 7 นาที ในขณะที่ร้านเกม ร้านอินเตอร์เนต แหล่งการเล่นพนัน แหล่งมั่วสุมนั้น สามารถเดินทางไปถึงได้ภายในเวลาประมาณ 15
นาที แหล่งซื้อขายซีดี ดีวีดีลามก สถานบันเทิงและสถานบริการทางเพศได้ไม่เกิน 30 นาที ที่น่าสนใจคือเด็กและเยาวชนก็สามารถเดินทางไปยัง
วัด แหล่งทำบุญทำทานบริจาค ห้องสมุดและสวนสาธารณะได้ภายใน 15 ถึง 30 นาทีเช่นกัน
ที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนจำนวนมากอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีทั้งที่บ้านพักอาศัยและที่สถานศึกษา โดยสำรวจบริเวณที่พัก
อาศัยในรัศมี 300 เมตร พบว่า ร้อยละ 73.7 ระบุมีคนดื่มเหล้าเมาเป็นประจำร้อยละ 56.6 ระบุมีการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์
ไฟฟ้า ร้อยละ 55.5 มีการพ่นสีสเปรย์ตามที่ต่างๆ ร้อยละ 53.0 มีกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น ร้อยละ 47.2 มีบ้านพักถูกทิ้งให้ร้างว่างเปล่า ร้อยละ 45.3
มีกลุ่มแกงค์ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 42.1 มีคนใช้ยาเสพติด ร้อยละ 41.3 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ ร้อยละ38.6 ระบุมีสถานบันเทิง ร้อยละ37.7
มีที่รกร้างว่างเปล่า ร้อยละ 31.7 มีร่องรอยงัดแงะที่พักอาศัย และร้อยละ 17.5 ระบุมีสถานบริการทางเพศ
เช่นเดียวกับสภาพแวดล้อมบริเวณรอบสถานศึกษาในรัศมี 300 เมตร พบว่า ร้อยละ 70.1 ระบุมีการพ่นสีสเปร์ยตามที่ต่างๆ ร้อยละ
65.4 ระบุมีการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ ไฟฟ้า ร้อยละ 64.0 มีกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น ร้อยละ 62.6 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ ร้อยละ
61.4 มีกลุ่มแกงค์ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 60.8 มีคนดื่มเหล้าเมาเป็นประจำ ร้อยละ 49.5 มีคนใช้ยาเสพติด ร้อยละ 48.7 มีที่รกร้างว่าง
เปล่า ร้อยละ 47.8 มีร่องรอยงัดแงะที่พักอาศัย ร้อยละ 46.5 ระบุมีบ้านพักที่ถูกทิ้ง ร้อยละ 37.0 มีสถานบันเทิง และร้อยละ 21.3 มีสถานบริการ
ทางเพศ
เมื่อประมาณการจำนวนเด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษาจากจำนวนทั้งสิ้น 1,327,055 คน พบว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีเด็กและ
เยาวชนที่เคยหนีเรียนจำนวน 615,754 หรือร้อยละ 46.4 ของทั้งหมด รองลงมาคือ เด็กที่ชอบดูแข่งรถซิ่งมีจำนวน 484,375 คน หรือร้อยละ
36.5 เด็กเยาวชนที่เคยดื่มเหล้ามีจำนวน 480,394 คน หรือร้อยละ 36.2 เด็กเยาวชนที่เคยสูบบุหรี่มีจำนวน 230,908 คน หรือร้อยละ 17.4 และ
เด็กเยาวชนที่เคยใช้ยาเสพติดมีจำนวน 160,574 คน หรือร้อยละ 12.1
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่เกินกว่าล้านคนขึ้นไป เข้าวัดฟังเทศน์ ทำบุญ เข้าห้องสมุด อาสาทำงานเพื่อสังคม เล่นกีฬา และ
เห็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมของพ่อและแม่ทั้งในเรื่องการช่วยเหลือมีน้ำใจให้ผู้อื่นและพ่อแม่พากันเข้าวัดทำบุญทำทานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชนได้วิเคราะห์อิทธิพลของสภาพแวดล้อมชุมชนต่อเด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาในการใช้ยาเสพติดในช่วง 3 เดือน
ที่ผ่านมา พบว่า เด็กและเยาวชนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีบริเวณที่พักอาศัยมีโอกาสสูงสุดในการใช้ยาเสพติดประมาณ 3 เท่ามากกว่าเด็กที่อยู่ในสภาพ
แวดล้อมที่ดี หลังทดสอบด้วยค่า Odd Ratio ที่ค้นพบ 2.948 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001)
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง สภาพแวดล้อมชุมชนและพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ยาเสพ
ติดในกลุ่มเด็กวัยเรียน กรณีศึกษาตัวอย่างเด็กและเยาวชนอายุ 12-19 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชนอายุ
12-19 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,384 ตัวอย่าง ช่วงความ
เชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ เพศของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ชาย 46.7
2 หญิง 53.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างจำแนกตามภูมิลำเนา
ลำดับที่ ภูมิลำเนาของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร 48.8
2 มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดจากทุกภูมิภาคของประเทศ 51.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ที่พักอาศัยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ที่พักอาศัยของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พักบ้านของพ่อแม่ และญาติ 55.7
2 พักที่อื่นๆ เช่น หอพัก คอนโด อพาร์ตเมนท์ บ้านเช่า 50.3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งที่มาของรายได้
ลำดับที่ แหล่งที่มาของรายได้ ค่าร้อยละ
1 พ่อแม่ ผู้ปกครอง 85.4
2 ทำงานพิเศษ 8.0
3 ค้าขาย 4.3
4 อื่นๆ เงินกู้ยืม เงินเดือน คนใกล้ชิด เป็นต้น 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและแม่
ลำดับที่ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อและแม่ ค่าร้อยละ
1 ปกติ (อยู่ด้วยกันทะเลาะกันบ้างเล็กน้อย) 68.6
2 ไม่ปกติ (ไม่ได้อยู่ด้วยกันเพราะทะเลาะกัน/ ทะเลาะกันบ่อย) 25.5
3 ไม่ได้อยู่ด้วยกันเพราะฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเกรดเฉลี่ยเทอมล่าสุด
ลำดับที่ เกรดเฉลี่ยเทอมล่าสุด ค่าร้อยละ
1 ผลการเรียนดี (3.00 — 4.00) 53.7
2 ผลการเรียนค่อนข้างดี (2.50 — 2.99) 25.6
3 เรียนไม่ค่อยดี (2.00 — 2.49) 14.9
4 เรียนไม่ดี (0.00 — 1.99) 5.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เกรดเฉลี่ยเทอมล่าสุด จำแนกตามพฤติกรรมหนีเรียนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ เกรดเฉลี่ยเทอมล่าสุด เคยหนีเรียน ไม่เคยหนีเรียน รวมทั้งสิ้น
1 ผลการเรียนดี (3.00 — 4.00) 36.9 63.1 100.0
2 ผลการเรียนค่อนข้างดี (2.50 — 2.99) 59.2 40.8 100.0
3 เรียนไม่ค่อยดี (2.00 — 2.49) 62.4 37.6 100.0
4 เรียนไม่ดี (0.00 — 1.99) 74.4 25.6 100.0
ตารางที่ 8 แสดงระยะเวลาเฉลี่ยในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ
ลำดับที่ สถานที่ต่างๆ ระยะเวลาเฉลี่ย (นาที)
1 แหล่งซื้อขาย เหล้า บุหรี่ 7.54
2 ร้านเกม 11.22
3 ร้านอินเตอร์เนต 12.10
4 สนามกีฬา 12.39
5 ห้องสมุด 14.03
6 สวนสาธารณะ ออกกำลังกาย 15.08
7 แหล่งเล่นพนัน 15.53
8 แหล่งนัดพบมั่วสุมของกลุ่มวัยรุ่น 15.55
9 แหล่งที่ทำบุญ ทำทานบริจาค 16.08
10 วัด 16.28
11 แหล่งซื้อขาย ซีดี ดีวีดี ภาพโป๊เปลือย 22.16
12 สถานบันเทิง เช่น ผับ บาร์ เทค 27.29
13 สถานบริการทางเพศ 28.12
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาพแวดล้อมเสี่ยงที่อยู่ไม่เกิน 300 เมตรจากที่พักอาศัย
ลำดับที่ สภาพแวดล้อมเสี่ยงที่อยู่ไม่เกิน 300 เมตรจากที่พักอาศัย ค่าร้อยละ
1 มีคนดื่มเหล้าเมาเป็นประจำ 73.7
2 มีการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ ไฟฟ้า 56.6
3 มีการพ่นสีสเปรย์ตามที่ต่างๆ 55.5
4 มีการจับกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น 53.0
5 มีบ้านพักถูกทิ้งให้รกร้าง 47.2
6 มีกลุ่มแกงค์ก่อความเดือดร้อนรำคาญ 45.3
7 มีคนใช้สารเสพติด 42.1
8 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ 41.3
9 มีสถานบันเทิง 38.6
10 มีที่รกร้างว่างเปล่า 37.7
11 มีร่องรอยงัดแงะที่พักอาศัย 31.7
12 มีสถานบริการทางเพศ 17.5
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สภาพแวดล้อมเสี่ยงที่อยู่ไม่เกิน 300 เมตรจากสถาบันการศึกษา
ลำดับที่ สภาพแวดล้อมเสี่ยงที่อยู่ไม่เกิน 300 เมตรจากสถาบันการศึกษา ค่าร้อยละ
1 มีการพ่นสีสเปรย์ตามที่ต่างๆ 70.1
2 มีการทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ ไฟฟ้า 65.4
3 มีการจับกลุ่มมั่วสุมของวัยรุ่น 64.0
4 มีขยะปล่อยทิ้งไว้ 62.6
5 มีกลุ่มแกงค์ก่อความเดือดร้อนรำคาญ 61.4
6 มีคนดื่มเหล้าเมาเป็นประจำ 60.8
7 มีคนใช้ยาเสพติด 49.5
8 มีสนามหญ้ารกร้างว่างเปล่า 48.7
9 มีร่องรอยงัดแงะที่พักอาศัย 47.8
10 มีบ้านพักที่ถูกทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่า 46.5
11 มีสถานบันเทิง 37.0
12 มีสถานบริการทางเพศ 21.3
ตารางที่ 11 แสดงผลประมาณการจำนวนเด็กวัยทีนที่มี 5 พฤติกรรมเสี่ยงด้านต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ พฤติกรรมเสี่ยงในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวนคน ค่าร้อยละ
1 หนีเรียน 615,754 46.4
2 ชอบดูแข่งรถซิ่ง 484,375 36.5
3 ดื่มเหล้า 480,394 36.2
4 สูบบุหรี่ 230,908 17.4
5 ใช้สารเสพติด (ไม่นับรวมเหล้าบุหรี่) 160,574 12.1
ตารางที่ 12 แสดงผลประมาณการจำนวนเด็กวัยทีนที่มีประสบการณ์ที่ดีด้านต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ประสบการณ์ที่ดีด้านต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวนคน ค่าร้อยละ
1 เข้าวัดฟังเทศน์ ทำบุญ 1,130,651 85.2
2 เข้าห้องสมุดค้นคว้า 1,089,512 82.1
3 อาสาสมัครช่วยสังคม 1,146,576 86.4
4 เล่นกีฬา 1,215,582 91.6
5 รับรู้/เห็นแบบอย่างที่ดีมีคุณธรรมของพ่อและแม่ 1,258,948 94.8
6 รับรู้/เห็นพ่อแม่มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น 1,248,759 94.1
7 รับรู้/เห็นพ่อแม่เข้าวัดฟังเทศน์ ทำบุญ 1,133,305 85.4
หมายเหตุ ผลประมาณจำนวนเด็กอายุระหว่าง 12 — 19 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมทั้งสิ้น 1,327,055 คน
ตารางที่ 13 แสดงค่าอิทธิพลของสภาพแวดล้อมชุมชนต่อเด็กวัยทีนในการใช้ยาเสพติดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ พฤติกรรมใช้ยาเสพติดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา สภาพแวดล้อมที่ดี ค่อนข้างดี ไม่ค่อยดี ไม่ดี
1 เคยใช้ 11.4 8.7 14.5 20.2
2 ไม่เคยใช้ 88.6 91.3 85.5 79.8
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0
***ค่าความเสี่ยงหลังทดสอบทางสถิติด้วยค่า Odd Ratio = 1.958 ค่าสูงสุดอยู่ที่ 2.948 ระดับนัยสำคัญ p = 0.001
หมายความว่า เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีมีโอกาสในการใช้ยาเสพติดสูงสุดประมาณสามเท่าของเด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
--เอแบคโพลล์--
-พห-