ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความตั้งใจ ลด ละ เลิก ของเด็กและ
เยาวชนในวันมาฆบูชา: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนอายุ 12 — 19 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,526 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะ
เวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา พบว่า
เด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.1 ระบุวันมาฆบูชาปีนี้ได้อย่างถูกต้องว่าตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 นี้
ในขณะที่ร้อยละ 40.9 ไม่ทราบและบางส่วนระบุวันไม่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่สามารถตอบคำถามแสดงความรู้ความเข้าใจเรื่องวันมาฆบูชาได้อย่างถูกต้อง ผลสำรวจพบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.9 ระบุวันมาฆบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ร้อยละ 81.2 ระบุองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศหลักธรรมคำสั่งสอน
ให้แก่พระอรหันต์ในวันมาฆบูชาเพื่อนำไปเผยแพร่ ร้อยละ 87.7 ระบุเป็นการชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายของพระภิกษุจำนวน 1250 รูป เกิดขึ้นในวัน
มาฆบูชา และร้อยละ 78.5 ทราบว่าวันมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการ
นอกจากนี้ เด็กและเยาวชนจำนวนมากหรือร้อยละ 43.4 ระบุหลักธรรมคำสอนที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชาคือ โอ
วาทปาฏิโมกข์ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 33.6 ไม่ทราบ ร้อยละ 12.7 ระบุเป็นธรรมจักกัปปวัตนสูตร ร้อยละ 7.9 ระบุเป็นจาตุรงคสันติบาตร และ
ร้อยละ 2.4 ระบุเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ค่าคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจของเด็กและเยาวชนที่จะทำกิจกรรมทางศาสนาในวันมาฆบูชา เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบ
ว่า เด็กและเยาวชนตั้งใจจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยค่าเฉลี่ย 5.71 ตั้งใจทำบุญตักบาตร ค่าเฉลี่ย 5.27 ตั้งใจเวียนเทียน
4.86 และตั้งใจฟังเทศน์ฟังธรรม 3.77 คะแนน
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึงสิ่งที่เด็กและเยาวชนตั้งใจจะ ลด-ละ-เลิก ในวันมาฆบูชาที่จะมาถึงนี้ และโอกาสที่อาจกลับไปทำผิดซ้ำอีก พบ
ว่า ร้อยละ 25.7 ระบุลดละเลิกทำบาป แต่มีค่าเฉลี่ยโอกาสที่จะกลับไปทำผิดซ้ำอีกถึง 7.32 คะแนน ร้อยละ 23.4 ระบุการดื่มเหล้า แต่โอกาสจะ
ดื่มซ้ำอีกสูงถึง 7.46 ร้อยละ 20.5 ระบุลดละเลิกการเที่ยวเตร่ เที่ยวกลางคืน แต่โอกาสจะไปเที่ยวอีกเฉลี่ย 6.21 ร้อยละ 20.4 ระบุเลิกเล่น
เกมส์คอมพิวเตอร์ เกมส์ออนไลน์ แต่โอกาสจะเล่นอีกเฉลี่ย 7.25 คะแนน ร้อยละ 16.7 ระบุไม่หนีเรียน แต่โอกาสที่จะหนีเรียนอีกเฉลี่ย 5.89 ร้อย
ละ 16.6 ระบุเลิกทำสิ่งที่พ่อแม่เสียใจ แต่โอกาสที่จะทำอีกเฉลี่ย 6.09 ร้อยละ 16.4 ระบุลดละเลิกการสูบบุหรี่ แต่โอกาสที่จะสูบอีกเฉลี่ย 7.01
คะแนน ร้อยละ 10.9 ระบุเลิกโกหก แต่โอกาสจะโกหกอีกเฉลี่ย 6.74 ร้อยละ 8.4 ระบุลดละเลิกการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่โอกาสจะใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
อีกเฉลี่ย 5.89 และร้อยละ 7.9 จะลดละเลิกการเที่ยวผู้หญิง เลิกแกล้งเพื่อน โอกาสจะทำอีกสูงถึง 7.75 คะแนน
สำหรับเหตุผลที่อาจทำผิดซ้ำอีก พบว่า อันดับแรกคือเรื่องสภาพแวดล้อมชุมชนและสถานศึกษา สื่อมวลชน การโฆษณา เพื่อน ความเคยชิน
ครอบครัว เหตุผลส่วนตัว ความมันส์ สะใจ ความอยาก ไม่มีอะไรทำ มีเวลาว่าง และไม่รู้จะทำอะไร เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า กลุ่มเด็กและเยาวชนที่ให้ความสำคัญกับ วันมาฆบูชา มากกว่า วันวาเลนไทน์ มีจำนวนมากกว่า กลุ่มเด็กที่ให้ความ
สำคัญกับวันวาเลนไทน์มากกว่าวันมาฆบูชา คือร้อยละ 41.0 ต่อร้อยละ 6.0 อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 28.6 ให้ความสำคัญเท่ากัน และร้อยละ 24.4
ไม่มีความเห็น
ผลสำรวจยังพบว่าเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้มีระดับความสุขมวลรวมเท่ากับ 6.94 คะแนนถือว่ามีความสุขค่อนข้างมากและมากกว่าความสุข
เฉลี่ยของผู้ใหญ่ที่เคยค้นพบในการสำรวจครั้งล่าสุดที่ได้ 6.47 คะแนน
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ความรู้ความเข้าใจของเด็กและเยาวชนอายุ 12 — 19 ปีกลุ่มนี้ต่อวัน
มาฆบูชาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่เมื่อพิจารณาด้านการประพฤติปฏิบัติตนทางศาสนาแล้วพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วงเพราะเด็กมีความตั้งใจน้อยมากในเรื่อง
การฟังเทศน์ ฟังธรรม และการทำบุญตักบาตร นอกจากนี้ เด็กบางส่วนตั้งใจจะลดละเลิกสิ่งที่ไม่ดีไม่งามในวันมาฆบูชา แต่ก็มีโอกาสสูงที่จะกลับไปทำผิด
ซ้ำอีก เพราะสภาพแวดล้อมชุมชน สถานศึกษา สื่อมวลชน การโฆษณา กลุ่มเพื่อน ความเคยชิน และครอบครัว เป็นปัจจัยชี้ชวนนำที่มีอิทธิพลสูงต่อการ
ตัดสินใจของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลชุดปัจจุบันที่มาจากการเลือกตั้งและผู้ใหญ่ในสังคมให้ความสำคัญกับระบบคุณธรรม หลักศาสนา
ของทุกศาสนา กระตุ้นให้เด็กและเยาวชนแปลงความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เสริมความตระหนักและจิตสำนึก สู่แนวทางปฏิบัติในกลุ่มเด็กและเยาวชน
อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสำรวจการรับรู้และความเข้าใจของเด็กและเยาวชนต่อวันมาฆบูชา
2. เพื่อสำรวจความตั้งใจของเยาวชนในการทำกิจกรรมต่างๆ ในวันมาฆบูชาที่จะมาถึงนี้
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR) 1มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความตั้งใจ ลด ละ เลิก ของเด็กและเยาวชนในวัน
มาฆบูชา: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนอายุ 12 — 19 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,526 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชนอายุ
12-19 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ 1,526 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่
ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 40.2 ระบุอายุ 12-14 ปี
ในขณะที่ ร้อยละ 59.8 ระบุอายุ 15-19 ปี
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามสถานภาพการศึกษาในปัจจุบันพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 94.4 ระบุมีสถานภาพเป็นนักเรียนและกำลังเรียนหนังสืออยู่ในปัจจุบัน
ในขณะที่ร้อยละ 5.6 ระบุมีสถานภาพอื่นๆ อาทิ ไม่ได้เรียนหนังสือเลย /เคยเรียนแต่เลิกเรียนแล้ว /เป็นนักเรียน
ที่อยู่ในระหว่างพักการเรียน/เรียนจบแล้ว
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 72.7 ระบุโดยส่วนใหญ่พักอาศัยกับพ่อแม่ในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา
ในขณะที่ร้อยละ 37.3 ระบุพักอาศัยอยู่กับคนอื่น อาทิ ญาติ/เพื่อน/คนรู้จัก
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบต่อวันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงนี้
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบ ค่าร้อยละ
1 ทราบว่าตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 59.1
2 ไม่ทราบ 40.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้ ความเข้าใจเรื่องวันมาฆบูชา
ลำดับที่ ความรู้ ความเข้าใจเรื่องวันมาฆบูชา ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 วันมาฆบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 83.9* 16.1 100
2 พระพุทธเจ้าประกาศหลักธรรม คำสั่งสอนให้แก่พระอรหันต์ 81.2* 18.8 100
ในวันมาฆบูชา เพื่อนำไปเผยแพร่
3 การมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายของพระภิกษุ 82.1* 17.9 100
จำนวน 1250 รูป เกิดขึ้นในวันมาฆบูชา
4 พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา 87.7* 12.3 100
และเวียนเทียนในวันมาฆบูชา
5 ประเพณีตักบาตรเทโว จัดขึ้นในวันมาฆบูชา 45.6 54.4* 100
6 วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการ 78.5* 21.5 100
7 พระรัตนตรัย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา 45.6 54.4* 100
หมายเหตุ * เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา
ลำดับที่ หลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ค่าร้อยละ
1 โอวาทปาฏิโมกข์ *** 43.4
2 ธรรมจักกัปปวัตนสูตร 12.7
3 จาตุรงคสันนิบาต 7.9
4 มัชฌิมาปฏิปทา 2.4
5 ไม่ทราบ 33.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ *** เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยของความตั้งใจจะทำกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ กิจกรรมทางศาสนาในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ค่าคะแนนเฉลี่ยเมื่อคะแนนเต็ม 10
1 ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว 5.71
2 ทำบุญ ตักบาตร 5.27
3 เวียนเทียน 4.86
4 ฟังเทศน์ ฟังธรรม 3.77
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ตั้งใจจะ ลด-ละ-เลิก ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ และค่าคะแนนเฉลี่ยโอกาส
ที่จะทำผิดซ้ำ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ สิ่งที่ตั้งใจจะ ลด-ละ-เลิก ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยโอกาสทำผิดซ้ำ(เต็ม 10 คะแนน)
1 การทำบาป 25.7 7.32
2 การดื่มเหล้า 23.4 7.46
3 การเที่ยวเตร่/เที่ยวกลางคืน 20.5 6.21
4 การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์/เกมส์ออนไลน์ 20.4 7.25
5 หนีเรียน 16.7 5.89
6 ทำสิ่งที่พ่อแม่เสียใจ 16.6 6.09
7 การสูบบุหรี่ 16.4 7.01
8 การโกหก 10.9 6.74
9 การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย 8.4 5.89
10 อาทิ เลิกเที่ยวผู้หญิง /เลิกมาโรงเรียน/เลิกแกล้งเพื่อน 7.9 7.75
หมายเหตุ สาเหตุสำคัญของการทำผิดซ้ำ ได้แก่
1. สภาพแวดล้อมชุมชน และสถานศึกษา
2. สื่อมวลชน การโฆษณา
3. เพื่อน
4. ความเคยชิน
5. ครอบครัว
6. เหตุผลส่วนตัว
7. ความมันส์ ความสะใจ ความอยาก และอื่นๆ
8. ไม่มีอะไรทำ มีเวลาว่าง ไม่รู้จะทำอะไร
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความสำคัญของวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์
ลำดับที่ การให้ความสำคัญ ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญกับ “วันมาฆบูชา” มากกว่า 41.0
2 ให้ความสำคัญกับ “วันวาเลนไทน์” มากกว่า 6.0
3 ให้ความสำคัญเท่ากัน 28.6
4 ไม่มีความเห็น 24.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสุขโดยภาพรวมของชีวิตในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความสุขโดยภาพรวมของชีวิตในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ไม่มีความสุขเลย 1.0
2 ไม่ค่อยมีความสุข 3.5
3 ไม่ทุกข์-ไม่สุข 35.8
4 ค่อนข้างมีความสุข 46.6
5 มีความสุขมากที่สุด 13.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
คะแนนความสุขโดยเฉลี่ยเท่ากับ 6.94 คะแนน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ความตั้งใจ ลด ละ เลิก ของเด็กและ
เยาวชนในวันมาฆบูชา: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนอายุ 12 — 19 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,526 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะ
เวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา พบว่า
เด็กและเยาวชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.1 ระบุวันมาฆบูชาปีนี้ได้อย่างถูกต้องว่าตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 นี้
ในขณะที่ร้อยละ 40.9 ไม่ทราบและบางส่วนระบุวันไม่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่สามารถตอบคำถามแสดงความรู้ความเข้าใจเรื่องวันมาฆบูชาได้อย่างถูกต้อง ผลสำรวจพบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.9 ระบุวันมาฆบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ร้อยละ 81.2 ระบุองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศหลักธรรมคำสั่งสอน
ให้แก่พระอรหันต์ในวันมาฆบูชาเพื่อนำไปเผยแพร่ ร้อยละ 87.7 ระบุเป็นการชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายของพระภิกษุจำนวน 1250 รูป เกิดขึ้นในวัน
มาฆบูชา และร้อยละ 78.5 ทราบว่าวันมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการ
นอกจากนี้ เด็กและเยาวชนจำนวนมากหรือร้อยละ 43.4 ระบุหลักธรรมคำสอนที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชาคือ โอ
วาทปาฏิโมกข์ อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 33.6 ไม่ทราบ ร้อยละ 12.7 ระบุเป็นธรรมจักกัปปวัตนสูตร ร้อยละ 7.9 ระบุเป็นจาตุรงคสันติบาตร และ
ร้อยละ 2.4 ระบุเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ค่าคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจของเด็กและเยาวชนที่จะทำกิจกรรมทางศาสนาในวันมาฆบูชา เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบ
ว่า เด็กและเยาวชนตั้งใจจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยค่าเฉลี่ย 5.71 ตั้งใจทำบุญตักบาตร ค่าเฉลี่ย 5.27 ตั้งใจเวียนเทียน
4.86 และตั้งใจฟังเทศน์ฟังธรรม 3.77 คะแนน
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึงสิ่งที่เด็กและเยาวชนตั้งใจจะ ลด-ละ-เลิก ในวันมาฆบูชาที่จะมาถึงนี้ และโอกาสที่อาจกลับไปทำผิดซ้ำอีก พบ
ว่า ร้อยละ 25.7 ระบุลดละเลิกทำบาป แต่มีค่าเฉลี่ยโอกาสที่จะกลับไปทำผิดซ้ำอีกถึง 7.32 คะแนน ร้อยละ 23.4 ระบุการดื่มเหล้า แต่โอกาสจะ
ดื่มซ้ำอีกสูงถึง 7.46 ร้อยละ 20.5 ระบุลดละเลิกการเที่ยวเตร่ เที่ยวกลางคืน แต่โอกาสจะไปเที่ยวอีกเฉลี่ย 6.21 ร้อยละ 20.4 ระบุเลิกเล่น
เกมส์คอมพิวเตอร์ เกมส์ออนไลน์ แต่โอกาสจะเล่นอีกเฉลี่ย 7.25 คะแนน ร้อยละ 16.7 ระบุไม่หนีเรียน แต่โอกาสที่จะหนีเรียนอีกเฉลี่ย 5.89 ร้อย
ละ 16.6 ระบุเลิกทำสิ่งที่พ่อแม่เสียใจ แต่โอกาสที่จะทำอีกเฉลี่ย 6.09 ร้อยละ 16.4 ระบุลดละเลิกการสูบบุหรี่ แต่โอกาสที่จะสูบอีกเฉลี่ย 7.01
คะแนน ร้อยละ 10.9 ระบุเลิกโกหก แต่โอกาสจะโกหกอีกเฉลี่ย 6.74 ร้อยละ 8.4 ระบุลดละเลิกการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แต่โอกาสจะใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
อีกเฉลี่ย 5.89 และร้อยละ 7.9 จะลดละเลิกการเที่ยวผู้หญิง เลิกแกล้งเพื่อน โอกาสจะทำอีกสูงถึง 7.75 คะแนน
สำหรับเหตุผลที่อาจทำผิดซ้ำอีก พบว่า อันดับแรกคือเรื่องสภาพแวดล้อมชุมชนและสถานศึกษา สื่อมวลชน การโฆษณา เพื่อน ความเคยชิน
ครอบครัว เหตุผลส่วนตัว ความมันส์ สะใจ ความอยาก ไม่มีอะไรทำ มีเวลาว่าง และไม่รู้จะทำอะไร เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า กลุ่มเด็กและเยาวชนที่ให้ความสำคัญกับ วันมาฆบูชา มากกว่า วันวาเลนไทน์ มีจำนวนมากกว่า กลุ่มเด็กที่ให้ความ
สำคัญกับวันวาเลนไทน์มากกว่าวันมาฆบูชา คือร้อยละ 41.0 ต่อร้อยละ 6.0 อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 28.6 ให้ความสำคัญเท่ากัน และร้อยละ 24.4
ไม่มีความเห็น
ผลสำรวจยังพบว่าเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้มีระดับความสุขมวลรวมเท่ากับ 6.94 คะแนนถือว่ามีความสุขค่อนข้างมากและมากกว่าความสุข
เฉลี่ยของผู้ใหญ่ที่เคยค้นพบในการสำรวจครั้งล่าสุดที่ได้ 6.47 คะแนน
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ความรู้ความเข้าใจของเด็กและเยาวชนอายุ 12 — 19 ปีกลุ่มนี้ต่อวัน
มาฆบูชาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่เมื่อพิจารณาด้านการประพฤติปฏิบัติตนทางศาสนาแล้วพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วงเพราะเด็กมีความตั้งใจน้อยมากในเรื่อง
การฟังเทศน์ ฟังธรรม และการทำบุญตักบาตร นอกจากนี้ เด็กบางส่วนตั้งใจจะลดละเลิกสิ่งที่ไม่ดีไม่งามในวันมาฆบูชา แต่ก็มีโอกาสสูงที่จะกลับไปทำผิด
ซ้ำอีก เพราะสภาพแวดล้อมชุมชน สถานศึกษา สื่อมวลชน การโฆษณา กลุ่มเพื่อน ความเคยชิน และครอบครัว เป็นปัจจัยชี้ชวนนำที่มีอิทธิพลสูงต่อการ
ตัดสินใจของเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลชุดปัจจุบันที่มาจากการเลือกตั้งและผู้ใหญ่ในสังคมให้ความสำคัญกับระบบคุณธรรม หลักศาสนา
ของทุกศาสนา กระตุ้นให้เด็กและเยาวชนแปลงความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เสริมความตระหนักและจิตสำนึก สู่แนวทางปฏิบัติในกลุ่มเด็กและเยาวชน
อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจสำรวจการรับรู้และความเข้าใจของเด็กและเยาวชนต่อวันมาฆบูชา
2. เพื่อสำรวจความตั้งใจของเยาวชนในการทำกิจกรรมต่างๆ ในวันมาฆบูชาที่จะมาถึงนี้
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community
Happiness Observation and Research, ANCHOR) 1มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความตั้งใจ ลด ละ เลิก ของเด็กและเยาวชนในวัน
มาฆบูชา: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนอายุ 12 — 19 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,526 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการ
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชนอายุ
12-19 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และ
กำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ 1,526 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่
ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 40.2 ระบุอายุ 12-14 ปี
ในขณะที่ ร้อยละ 59.8 ระบุอายุ 15-19 ปี
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตามสถานภาพการศึกษาในปัจจุบันพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 94.4 ระบุมีสถานภาพเป็นนักเรียนและกำลังเรียนหนังสืออยู่ในปัจจุบัน
ในขณะที่ร้อยละ 5.6 ระบุมีสถานภาพอื่นๆ อาทิ ไม่ได้เรียนหนังสือเลย /เคยเรียนแต่เลิกเรียนแล้ว /เป็นนักเรียน
ที่อยู่ในระหว่างพักการเรียน/เรียนจบแล้ว
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 72.7 ระบุโดยส่วนใหญ่พักอาศัยกับพ่อแม่ในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา
ในขณะที่ร้อยละ 37.3 ระบุพักอาศัยอยู่กับคนอื่น อาทิ ญาติ/เพื่อน/คนรู้จัก
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบต่อวันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงนี้
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบ ค่าร้อยละ
1 ทราบว่าตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 59.1
2 ไม่ทราบ 40.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้ ความเข้าใจเรื่องวันมาฆบูชา
ลำดับที่ ความรู้ ความเข้าใจเรื่องวันมาฆบูชา ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 วันมาฆบูชาตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 83.9* 16.1 100
2 พระพุทธเจ้าประกาศหลักธรรม คำสั่งสอนให้แก่พระอรหันต์ 81.2* 18.8 100
ในวันมาฆบูชา เพื่อนำไปเผยแพร่
3 การมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมายของพระภิกษุ 82.1* 17.9 100
จำนวน 1250 รูป เกิดขึ้นในวันมาฆบูชา
4 พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา 87.7* 12.3 100
และเวียนเทียนในวันมาฆบูชา
5 ประเพณีตักบาตรเทโว จัดขึ้นในวันมาฆบูชา 45.6 54.4* 100
6 วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการ 78.5* 21.5 100
7 พระรัตนตรัย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา 45.6 54.4* 100
หมายเหตุ * เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา
ลำดับที่ หลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ค่าร้อยละ
1 โอวาทปาฏิโมกข์ *** 43.4
2 ธรรมจักกัปปวัตนสูตร 12.7
3 จาตุรงคสันนิบาต 7.9
4 มัชฌิมาปฏิปทา 2.4
5 ไม่ทราบ 33.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ *** เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ตารางที่ 4 แสดงค่าเฉลี่ยของความตั้งใจจะทำกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ กิจกรรมทางศาสนาในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ค่าคะแนนเฉลี่ยเมื่อคะแนนเต็ม 10
1 ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว 5.71
2 ทำบุญ ตักบาตร 5.27
3 เวียนเทียน 4.86
4 ฟังเทศน์ ฟังธรรม 3.77
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ตั้งใจจะ ลด-ละ-เลิก ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ และค่าคะแนนเฉลี่ยโอกาส
ที่จะทำผิดซ้ำ เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ สิ่งที่ตั้งใจจะ ลด-ละ-เลิก ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยโอกาสทำผิดซ้ำ(เต็ม 10 คะแนน)
1 การทำบาป 25.7 7.32
2 การดื่มเหล้า 23.4 7.46
3 การเที่ยวเตร่/เที่ยวกลางคืน 20.5 6.21
4 การเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์/เกมส์ออนไลน์ 20.4 7.25
5 หนีเรียน 16.7 5.89
6 ทำสิ่งที่พ่อแม่เสียใจ 16.6 6.09
7 การสูบบุหรี่ 16.4 7.01
8 การโกหก 10.9 6.74
9 การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย 8.4 5.89
10 อาทิ เลิกเที่ยวผู้หญิง /เลิกมาโรงเรียน/เลิกแกล้งเพื่อน 7.9 7.75
หมายเหตุ สาเหตุสำคัญของการทำผิดซ้ำ ได้แก่
1. สภาพแวดล้อมชุมชน และสถานศึกษา
2. สื่อมวลชน การโฆษณา
3. เพื่อน
4. ความเคยชิน
5. ครอบครัว
6. เหตุผลส่วนตัว
7. ความมันส์ ความสะใจ ความอยาก และอื่นๆ
8. ไม่มีอะไรทำ มีเวลาว่าง ไม่รู้จะทำอะไร
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการให้ความสำคัญของวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์
ลำดับที่ การให้ความสำคัญ ค่าร้อยละ
1 ให้ความสำคัญกับ “วันมาฆบูชา” มากกว่า 41.0
2 ให้ความสำคัญกับ “วันวาเลนไทน์” มากกว่า 6.0
3 ให้ความสำคัญเท่ากัน 28.6
4 ไม่มีความเห็น 24.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสุขโดยภาพรวมของชีวิตในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความสุขโดยภาพรวมของชีวิตในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ไม่มีความสุขเลย 1.0
2 ไม่ค่อยมีความสุข 3.5
3 ไม่ทุกข์-ไม่สุข 35.8
4 ค่อนข้างมีความสุข 46.6
5 มีความสุขมากที่สุด 13.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
คะแนนความสุขโดยเฉลี่ยเท่ากับ 6.94 คะแนน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร. 0-27191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-